ความคิดเห็นที่ 1 เอ้า!!!!
ขอเถียงคุณหมอเชิดชูหน่อยนะ ในฐานะ "ผู้เสียหายทางการแพทย์" และ "ประชาชนธรรมดาที่ไม่ใช่หมอ และมีส่วนได้ส่วนเสีย" กับข้อมูลความจริงที่คุณหมอเชิดชู "ไม่พูดถึง" ในบทความของท่านที่ถูกเชื่อมโยงมา ณ. ที่นี้
ก่อนอื่น ต้องขอชี้ว่า ตัวคุณหมอเชิดชูเอง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในโรงพยาบาลเอกชนอย่างน้อยหนึ่งแห่งซึ่งตั้งอยู่มาช้านาน และเป็นหนึ่งในกรรมการแพทยสภาที่ "ได้" ตำแหน่งมาจากการเลือกตั้งหลายครั้ง และเป็นผู้หนึ่งที่ต่อต้าน "เครือข่ายฯนี้" มาโดยตลอด
ประเด็นแรก
เรื่องหมอขาดแคลนนั้น ไม่ได้เพิ่งมี และก็ไม่ได้เพิ่งรู้กัน แต่กระทรวง ส.ธ. ซึ่งเรา/ท่านคนธรรมดาก็รู้กันอยู่ว่า เป็นกระทรวงหนึ่งเดียวที่พิเศษเฉพาะว่าเกือบทั้งหมดตั้งแต่ ร.ม.ต. เรื่องไปถึงหัวหน้ากอง "เป็นหมอ" โดยอาชีพอยู่ก่อน
ฉะนั้น ความเป็นไปง่ายๆที่รับรู้กันได้ก็คือ ประชากรของประเทศเพิ่ม จำนวนแพทย์และบุคคลากรที่เกี่ยวเนื่อง "ก็ต้องเพิ่มอยู่แล้ว" ปัญหาการขาดแคลน "แพทย์" ย่อมเล็งเห็นได้และต้องวางแผนกันล่วงหน้าโดยผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงคือ ส.ธ. และแพทยสภา และควรมีแผนแม่บทที่ไม่ต้องขึ้นกับการเมืองในการผลิตแพทย์ไว้ล่วงหน้าเป็นสิบปี ซึ่งต้องเป็นอย่างนี้กันทั่วโลก ไม่เฉพาะประเทศไทย
การอ้างว่าแพทยขาดแคลนเพราะ "กลัวการถูกฟ้องร้อง" และ "บีบโดยเหตุการณ์รอบข้าง" ให้ไปอยู่เอกชน ย่อมเป็นการพูด "ด้านเดียว"
อีกด้านหนึ่งที่ "ไม่ได้พูดออกมา" ก็คือ การดำเนินนโยบายทางการเมืองทางอำนาจรัฐในการส่งเสริมเมดิคอลฮับให้เจริญเติบโต ที่หมายถึงผลประโยชน์มหาศาล โดยมองข้ามปัญหาการขาดแคลนแพทย์และบุคคลาการที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งไม่ได้มีการ "ดำเนินการรองรับไว้ให้ทัน" (แผนคงมีอยู่ แต่นโยบายธุรกิจการเมืองอาจจงใจซุกเก็บไว้) จึงทำให้เมดิคอลฮับต้องเติบโตขึ้นโดยการแย่งหมอและบุคลากรไปจากระบบ ส.ธ. ของรัฐ เนื่องจากรายได้ดีกว่า งานเบากว่า และถูก "หลอก" ในเบื้องต้นว่า "เสี่ยงและรับผิดชอบน้อยกว่า" หากโดนคนไข้ฟ้อง ซึ่งวันนี้เรา/ท่านก็เห็นกันแล้วว่า "ไม่จริง" ซึ่ง "หมอที่ด้อยวุฒิภาวะกว่า ขาดการตรวจสอบให้แน่แท้" ก็เข้าใจอะไรผิดๆได้เหมือนกัน
ประเด็นที่สอง ------> ต่อ คห. ถัดไป |