consumer.pantown.com
Thai Iatrogenic Network รวมกระทู้เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ <<
กลับไปหน้าแรก
ได้ไม่เท่าเสีย
โดย สุนทร นาคประดิษฐ์
ข่าวเรื่องแพทย์รักษาผู้ป่วยถูกร้องเรียนหรือถูกกล่าวหาว่าทำการรักษาสะเพร่าหรือประมาทจนเกิดความเสียหายกับผู้ป่วยและมีข่าวว่าจะมีการเรียกร้องให้รัฐออกกฎหมายจะฟ้องแพทย์ที่เป็นผู้รักษาผู้ป่วยให้รับโทษทางอาญา ซึ่งเป็นข่าวเกรียวกราวในขณะนี้นั้น
สร้างความปั่นป่วนให้กับวงการแพทย์พอสมควร
วิธีบริหารผู้ป่วย
ผู้เขียนในฐานะเป็นผู้ที่เคยทำงานในสถาบันการศึกษาซึ่งมีหน้าที่บริการผู้ป่วย คือ โรงพยาบาลในมหาวิทยาลัย คำว่าโรงเรียนแพทย์เป็นชื่อเฉพาะเรียกภายในหมู่ผู้ผลิตแพทย์ นั่นคือ มหาวิทยาลัยที่มีโรงเรียนแพทย์นั่นเอง ผู้เขียนมีความรู้สึกว่าข่าวที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องน่าเป็นห่วงแพทย์ไทยที่ต้องติดคุก เพราะช่วยเหลือผู้ป่วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อสังคมเริ่มมองแพทย์ด้านเดียวคือความผิดพลาดทางการรักษา และพยายามจะให้แพทย์รับโทษ และชดใช้ค่าเสียหายเหมือนกับบางประเทศ
แต่ประเทศเราจะมีแพทย์สักกี่คน หรือมีผู้ป่วยกี่คนที่จ่ายเงินให้แพทย์ในอัตราสูงเหมือนต่างประเทศ
ผู้ป่วยในชนบทส่วนใหญ่โรงพยาบาลต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลให้ผู้ป่วย โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลก็มีมาก บางรายเป็นแสนหรือหลายแสนก็มี
จำได้ว่ามีผู้ป่วยมาที่โรงพยาบาลที่ผู้เขียนทำงานอยู่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อนานมาแล้ว มีผู้ป่วยคนหนึ่งดื่มน้ำส้มยาง (น้ำกรด) มารักษาที่โรงพยาบาลต้องเสียค่ารักษาหลายแสนบาท เพราะต้องผ่าตัดหลายครั้ง
เรื่องนี้ต้องเข้าที่ประชุมใหญ่ฝ่ายบริหาร เพราะเป็นเรื่องที่ต้องปรึกษาว่าเป็นเรื่องที่ควรทำหรือไม่ควรทำ
ได้พูดกันมาก คำตอบว่าถูกหรือผิดมันอยู่ที่มองว่า เมื่อเป็นแพทย์ผู้รักษาต้องช่วยคนให้รอดตาย ซึ่งเป็นอุดมการณ์ของแพทย์แต่ละคนที่ฝังลึกอยู่ในใจ แม้ว่ารัฐจะเสียเงินเท่าไหร่ก็ไม่เกี่ยว เพราะตัวเองต้องรักษาคนให้หายและได้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนค่าใช้จ่ายเป็นเรื่องของผู้บริหารที่ต้องรับผิดชอบ
ภายหลังกรรมการคณะจึงได้ตั้งกรรมการดูแลความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายแต่ละรายว่าคุ้มกับเงินที่จ่ายออกไป เพราะบางรายรักษาแล้วได้คนไม่สมบูรณ์กลับมาทำงานอะไรก็ไม่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องน่าคิดว่าการทำแบบนี้ถูกหรือผิด
นี่เป็นตัวอย่างชี้ให้เห็นว่า แพทย์ก็ต้องดูแลผู้ป่วยที่ตัวเองรับผิดชอบให้ดีที่สุด
คำว่าแพทย์เลี้ยงไข้เราได้ยินบ่อยๆ แต่ผู้เขียนไม่เคยเห็นแพทย์คนไหนจะเลี้ยงไข้ เพราะการรักษาคนไข้ของแพทย์ถ้าคนไข้หายแพทย์ก็จะมีความสุขและดีใจ แต่ถ้าไม่หายหรือคนไข้ตายก็ท้อใจในฝีมือตัวเอง
ระบบการรักษา
การที่ผู้ป่วยรักษาไม่หาย หรือบางรายเสียชีวิตกะทันหันโดยไม่รู้สาเหตุตามที่มีข่าวอยู่เป็นระยะๆ
ซึ่งสังคมหรือกลุ่มสื่อต่างๆ ก็ผลักให้เป็นความผิดของแพทย์ เพราะไม่ทราบข้อเท็จจริง
การโจมตีการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนควรจะดูให้รอบคอบ
เพราะความเสียหายไปเกิดที่แพทย์ผู้เป็นเจ้าของไข้เพียงคนเดียวทั้งๆ ที่ผู้ป่วย 1 คนมีผู้เกี่ยวข้องครึ่งโรงพยาบาลก็ว่าได้
แต่สื่อไม่เข้าใจก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะเรื่องการบริหารผู้ป่วยเป็นระบบสลับซับซ้อนมาก
ไม่เป็นสองรองใคร
ผู้เขียนไม่ใช่แพทย์แต่เป็นบุคลากรที่ทำงานในโรงเรียนแพทย์ ได้เห็นการทำงานและการตัดสินใจของแพทย์แต่ละสาขา ซึ่งไม่เหมือนกัน ที่นำเรื่องนี้มาเขียนเพราะเห็นว่าสังคมกำลังคิดทำลายระบบแพทย์ที่ถูกสร้างไว้อย่างดีมานานแล้ว
ขอเรียนข้อเท็จจริงให้ทราบว่า หลายคนไม่รู้ว่าแพทย์ไทยนั้นเป็นแพทย์ที่มีฝีมือในการรักษาผู้ป่วย ไม่เป็นสองรองใครในโลกนี้
เพราะระบบและวิธีการรักษาตลอดจนหลักสูตรการเรียนการสอนเอามาจากประเทศที่เจริญแล้ว คือ ยุโรปและอเมริกา แพทย์รุ่นเก่าๆ จะจบจากอังกฤษ เยอรมนี และอเมริกาเป็นส่วนใหญ่
การผลิตแพทย์ในประเทศไทยยังไม่เพียงพอเนื่องจากแพทย์ที่จบมาไปอยู่ในโรงพยาบาลเอกชนและทำคลีนิคในต่างประเทศ ที่เหลืออยู่ในประเทศไทยขณะนี้มีแพทย์อยู่ทั้งสิ้นประมาณ 26,380 คน ทำงานทั้งในภาครัฐและเอกชน เฉลี่ยจำนวนแพทย์ต่อประชากร 1 : 2,350 คน ค่าเฉลี่ยองค์การอนามัยโลก 1 : 1,500 คน คือ 1,500 คน ต้องมีแพทย์ 1 คน
ในขณะนี้เรายังผลิตไม่พอเพราะต้องผลิตเผื่อประเทศอเมริกา ยุโรป และประเทศอื่นๆ ที่ร่ำรวยด้วย
ผู้เขียนคิดว่าคนเป็นแพทย์งานหลักมาก ต้องทำงานเช้ามืดจนดึกดื่น
การเรียนการสอนแพทย์
ปัจจุบันมีโรงเรียนแพทย์หรือมหาวิทยาลัยที่มีคณะแพทย์ทั้งสิ้น 17 แห่ง สามารถผลิตแพทย์ได้ปีละ 2,282 คน ซึ่งการผลิตขณะนี้ถือว่าสูงสุด การผลิตแพทย์หรือการสอนนักศึกษาแพทย์ บางวิชาเหมือนการสอนนักบิน เพราะต้องสอนตัวต่อตัว ค่าใช้จ่ายในการแพทย์สูงมาก ตกหัวละเกือบ 2 ล้านบาท/คน แต่เดิมแพทย์พอจบการศึกษาในประเทศไทยก็หาทางไปเรียนต่อเพื่อเพิ่มดีกรีจากต่างประเทศ
ในยุคปัจจุบันสังคมที่เต็มไปด้วยอุบัติเหตุทางจราจร และการทำร้ายร่างกาย รวมทั้งอุบัติภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นบ่อย สังคมปัจจุบันเป็นยุคที่มีสื่อเป็นตัวชี้ขาดความผิดถูกของสังคม ทำให้อาชีพแพทย์อยู่ยากเพราะการรักษาผู้ป่วยแต่ละคนมีเงื่อนไขหลายอย่างเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก เป็นสาเหตุให้เกิดการฟ้องร้อง เพราะคนรู้กฎหมายจึงฟ้องร้องง่ายขึ้น
แพทย์มีสิทธิถูกฟ้องและติดคุกได้ทุกคน
การรักษาผู้ป่วยต้องเสี่ยงตลอดเวลา ถ้าการฟ้องแพทย์ทำได้จริงๆ การแพทย์ของประเทศไทยเราต้องถอยหลังเข้าคลองและเสียหายอย่างยับเยิน
ผู้เขียนขอยกตัวอย่างให้ผู้อ่านได้เห็นภาพว่าแพทย์จะมีปัญหาตรงไหน ขอยกตัวอย่างคนไข้ฉุกเฉินก็แล้วกัน
ปกติการรักษาผู้ป่วยหรือการทำงานในโรงพยาบาลเป็นการทำงานเป็นทีม ไม่ใช่เป็นการทำงานแบบตัวใครตัวมันทุกอย่างจะต้องเชื่อมต่อกันเป็นวงจรเดียวกันหมด มีเป้าหมายรักษาผู้ป่วยให้หายจากโรคทุกคนจะต้องรู้วัตถุประสงค์นี้ ตั้งแต่ผู้อำนวยการไปจนถึงคนเข็นแปล ยามรักษาการและคนสวนก็ต้องรู้วัตถุประสงค์ กลไกแต่ละส่วนต้องเดินอย่างเป็นปกติไม่มีสะดุด หากมีปัญหาเกิดขึ้นจะกระทบกับคนไข้ทันที
ด้วยระบบดังกล่าวเป็นต้นว่าห้องปฏิบัติการต่างๆ ห้องยา และงานอื่นๆ ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด แพทย์ที่เป็นเจ้าของไข้มีหน้าที่เพียงใช้ระบบที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์กับคนไข้มากที่สุด
เช่น การตัดสินใจว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ต้องอาศัยห้องปฏิบัติการต่างๆ ตั้งแต่ X-ray และผลของการตรวจแต่ละคน เมื่อได้ข้อมูลต่างๆ มาแล้วแพทย์จึงตัดสินใจสั่งการรักษา
จะเห็นได้ว่าคนไข้เข้าไป 1 คนมีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมากหลายหน่วยงาน ซึ่งแพทย์เป็นผู้บริหารคนป่วยให้หายจากโรคเท่านั้น
การฟ้องเรียกค่าเสียหายผู้เขียนเห็นด้วยแต่การฟ้องทางอาญาน่าจะไม่ถูกต้อง ควรจะได้มีการทบทวนและตรึกตรองให้ดี เพราะแพทย์ไม่ใช่คนเดียวที่ต้องรับผิดชอบ ผู้เกี่ยวข้องที่กล่าวถึงมีส่วนร่วมทั้งหมด
ปัญหาจะเกิดขึ้นกับโรงพยาบาล แน่นอนที่สุดที่หนีไม่พ้นคือ
1.แพทย์ที่อยู่ฉุกเฉินของทุกโรงพยาบาล จะดูแลคนไข้ฉุกเฉินอย่างรอบคอบเกินความจำเป็น ทางด้านการรักษา จะไม่เสี่ยงตัดสินใจถ้าไม่ได้ผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการมายืนยัน โดยเฉพาะด้านกฎหมายจะต้องรอบคอบอย่างมาก กล่าวคือ จะตัดสินใจรักษาใครก็ต้องได้รับการยินยอมจากคนไข้หรือญาติเสียก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ป่วยก็จะต้องนอนรอการรักษา จนกว่าแพทย์จะเชื่อมั่นว่าปลอดภัยในการรักษาผู้ป่วย ท่านลองคิดดูว่า คนป่วยฉุกเฉินจะได้รับการรักษาอย่างไร
ปกติการรักษาฉุกเฉินเป็นการเสี่ยงกันทั้ง 2 ฝ่าย ผู้ป่วยก็เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย เพราะการมาโรงพยาบาลฉุกเฉินก็ต้องมาที่ห้องฉุกเฉิน บางรายเป็นตายเท่ากัน ด้านแพทย์ก็ต้องเสี่ยงรักษา โดยมิอาจรู้ได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคติดต่อหรือไม่ และถ้าผู้ป่วยตายลงก็ต้องเสี่ยงกับการถูกญาติว่า แต่ปัจจุบันนี้ยังไม่มีการฟ้องแพทย์ก็ยอมเสี่ยงช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิน มุ่งแต่ให้ผู้ป่วยหายและมีความสุขกับการได้ดูแลรักษาผู้ป่วยจนหาย
2.รากฐานการแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์ไทยที่เจริญมานี้เนื่องมาจากสายพระเนตรอันยาวไกลของกรมหลวงสงขลานครินทร์พระบรมราชชนก ได้เห็นว่าการแพทย์ของเราในสมัยนั้นล้าหลังประเทศตะวันตกและยุโรป จึงได้ทรงทุ่มเท เสียสละโดยพระองค์ทรงตั้งพระทัยไปเรียนแพทย์ด้วยพระองค์เอง พร้อมทั้งสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงเรียนการพยาบาลจากสหรัฐอเมริกามา ทั้งสองพระองค์ได้ทรงวางรากฐานการแพทย์ไทยที่เราเรียกว่าแพทย์แผนปัจจุบัน จนสิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชนมายุ 36 พรรษา
แต่ก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงวางรากฐานการแพทย์ไว้อย่างมั่นคงมาจนทุกวันนี้
เราจะเห็นได้ว่า โรคหลายอย่างที่เคยระบาด เช่น โรคห่า โรคเรื้อน โรคเท้าช้าง และโรคอื่นๆ อีกมากได้หายไปจากประเทศไทย จนพระองค์ทรงได้รับสมัญญานามว่า "พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย"
"ได้ไม่เท่าเสีย" หมายความว่าหากมีการฟ้องแพทย์ให้ได้รับโทษทางอาญา เมื่อเกิดรักษาผู้ป่วยผิดพลาดจะโดยประมาทหรือไม่ก็ตาม ย่อมทำให้กระเทือนวงการแพทย์และกระทบกับคนไทยทุกคน สร้างความเสียหายให้กับคนส่วนใหญ่ของประเทศที่ไม่มีเงินและต้องพึ่งแพทย์ให้ดูแลชีวิตโดยเฉพาะกลุ่มคนในชนบท ต้องมารับเคราะห์กรรมจากการคิดควบคุมแพทย์โดยใช้กฎหมายอาญาให้แพทย์อยู่ในกติกาเหมือนกับอาชีพอื่น
ความจริงก็ถูก ในแนวคิดที่แพทย์จะต้องรับผิดชอบต่อสังคม แต่สังคมมองเฉพาะกลุ่มแพทย์ที่อยู่ในโรงพยาบาลที่มีรายได้สูงและมองตัวเงินเป็นหลัก
สังคมไม่หันมามองกลุ่มแพทย์ที่อยู่ในโรงพยาบาลของรัฐ โดยเฉพาะในชนบทต้องรับผิดชอบชีวิตคนสูงมากแต่มีแพทย์น้อย และต้องทำงานหนักตลอดเวลา บางวันแทบไม่ได้นอนก็มี แพทย์บางคนอยากจะพักผ่อนมากกว่าอยากจะได้เงิน
นอกจากแพทย์แล้วพยาบาลยังต้องทำงานหนักไม่มีเวลาหยุดพัก การเฝ้าไข้โดยการจ้างพยาบาลพิเศษจะหาได้ยากขึ้นทุกวัน การเรียนพยาบาลก็เริ่มลดลงทุกวัน
จากการที่ทำงานในโรงเรียนแพทย์ได้เห็นได้สัมผัสและได้รู้จักกับแพทย์ อาจารย์แพทย์ และนักศึกษาแพทย์ หรือรู้วิถีแพทย์อย่างดี และได้พบว่าวงการแพทย์มีทั้งคนดีและไม่ดี แต่ที่ไม่ดีมีน้อยนิดไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของแพทย์ทั้งหมด
การจะฟ้องร้องแพทย์ให้ได้รับโทษทางอาญา ย่อมกระทบกับแพทย์ดีที่มีอยู่จำนวนมาก ย่อมไม่เป็นผลดีกับประเทศ
แพทย์บางสาขาจะไม่มีคนเรียน และแพทย์จะเฉยเมยต่อผู้ป่วยไม่กระตือรือร้นจะช่วยผู้ป่วย เพราะกลัวจะรับเคราะห์กับการทำงานเช่นเดียวกับรถที่ช่วยเหลือผู้ถูกรถชนมาส่งโรงพยาบาล
และถูกข้อหาว่าเป็นผู้ชนเอง เดี๋ยวนี้เลยไม่ค่อยมีคนอยากช่วยผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน
ที่เขียนมานี้เพียงจะบอกท่านผู้เกี่ยวข้องที่จะกำหนดกฎเกณฑ์ให้มีการฟ้องแพทย์ได้ ควรจะรู้ว่าคนที่เรียนแพทย์จะต้องรู้จรรยาแพทย์และมีแพทยสภาควบคุมกลุ่มแพทย์โดยตรงแล้ว แต่ละปีมีการทำโทษแพทย์มาก แต่สังคมไม่รู้
หวังอย่างยิ่งว่า บทความนี้ช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจแพทย์
แพทย์ที่รักษาผู้ป่วยไม่หายจนถึงขั้นผู้ป่วยเสียชีวิตเขาก็เสียใจพออยู่แล้ว อย่าฟ้องเขาให้ต้องโทษทางอาญาอีก เลยเพราะสิ่งที่ได้ไม่เท่าเสีย
โดย: คนเก่า [9 มี.ค. 52 10:01] ( IP A:125.26.72.216 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
เป็นบทความที่บิดเบือนจากความเป็นจริง
ผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าความรับผิด
จากหน่วยงานต้นสังกัด
กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลหลังจากมีการตายและพิการเกิดขึ้นจากการรักษาที่ขาดการเอาใจใส่
แต่ผู้เสียหายส่วนใหญ่ก็มักจะเจอกับการเล่นเล่ห์เพทุบายสารพัด จนถึงขั้นเอาอิทธิพลตำรวจ อิทธิพลท้องถิ่น แพทยสภา ชุดอายเตี้ยก็ลงมาเล่นด้วย สุดท้ายผู้สูญเสียทนไม่ไหวต้องประกาศศึกคดีอาญา
เชื่อไม่เชื่อก็ไปถามคุณศิริมาศ คุณจีเอ็น คุณอุ้ย คุณ ฯลฯ ได้
โดย: นี่ตังหากเรื่องจริง [9 มี.ค. 52 10:20] ( IP A:210.86.181.20 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
คนเขียนนี่ฉลาดเชิงลึก แต่โง่เชิงกว้าง
ไม่เข้าใจความเป็นไปในสังคม โลกแคบแถมสะเออะเขียน
บทความที่ประจานตัวเอง ถ้าจะให้ดีต้องเขียนด่าพวกกันเอง
บ้าง ว่าง ๆ ลองไปนั่งขุดคุ้ยใต้พรมที่แพทยสภาดูซะบ้าง จากนั้น
ค่อย ๆ ปรับสภาพจิตใจให้เป็นธรรมมากกว่านี้ แล้วค่อยมาเขียน
อะไรให้คนเขาอ่าน
โดย: วงการแพทย์ ถ้าดีทั้งหมดไม่มีคนเขาฟ้องหรือด่าจนเสียคนแบบนี้หรอก [9 มี.ค. 52 10:46] ( IP A:58.9.222.61 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
เบื่อพวกบัวใต้ตมจริงๆ
โดย: คนเก่า [9 มี.ค. 52 12:55] ( IP A:125.26.72.216 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
เบื่อพวกที่คิดว่าตนเองโผล่พ้นตม
แต่แท้จริงแล้วอยู่ในกะลาครอบถูกทับด้วยอคติ
และชอบหลงตนเองว่าฉลาดทั้งที่โง่บัดซบ
โดย: เหอะ ๆ [9 มี.ค. 52 13:06] ( IP A:58.9.198.114 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
แหม คุณคนเก่า
อย่าคิดว่าเป็นหมอแก่วิชา เป็นผู้คงแก่เรียน แล้ว
พูดคำ สำรอกอีกหลายๆคำแบบสวยหรู แล้วชาวบ้านเขาคิดไม่เป็น ตรองไม่เป็นซิ
พูดหลายคำ หลายประโยคก็สอดแทรกถ้อยคำเชิงโน้มน้าว
ทำนอง หมู่คนไข้เลวมั่ง คาดหวังสูงมั่ง จ้องหาเรื่องหมอมั่ง
ทำนองทางหนึ่งก็ทำความเข้าใจ (เชิงขู่อย่างแนบเนียน) กับฝั่งคนไข้ อีกทางหนึ่งก็ "ฝัง" การรับรู้ที่ผิดๆ ที่ไม่ครบถ้วนตามความเป็นจริงให้กับฝั่ง "หมอ" ให้ระแวงคนไข้ แหมตรงนี้ขอชม ขอชมอีกที ว่าท่านนี่ตีบทแตก เขียนได้น่าเลื่อมใส น่าเลื่อมใส สำหรับคนที่ไร้เดียงสาไม่คิดอะไร ไม่เห็นตัวท่าน ไม่รู้ว่าท่าน "เป็นใคร" ผมก็ว่ายังคงมีคนที่ "เคลิ้มๆ" เชื่อท่านอยู่นะ
นี่มัง เป็นวิธีที่ท่านประสบความสำเร็จในการยุยงให้เปอร์เซ็นต์ของหมอส่งต่อเคส "ผ่าตัด" พุ่งขึ้นกันเป็นแถว
เวรกรรมน่ะ มีจริงนะครับ นายกฯ ประเทศไทยที่ตอแหลแอบจิต ที่ตอแหลขายชาติรายวัน และที่ตอแหลฆ่าหมู่ประชาชนนิ่มๆ ก็โดนประชาชนที่เขาจับได้ไล่ทัน เฉดหัวจนไม่มีที่จะยืนแล้ว ณ. วันนี้ ตอนนี้บรรดาประชาชน "ผู้เสียหายทางการแพทย์" กำลังรอดูคิวต่อไป ที่แพทยสภานะจ้าวนาย
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [11 มี.ค. 52 10:12] ( IP A:58.8.107.154 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
สำหรับคุณ สุนทร นาคประดิษฐ์
หากข้อเขียนซึ่งถูกอ้างว่าเป็นของท่าน "ทุกถ้อยความ" นี้ตรงตามที่เป็นจริง
ก็ต้องขอแสดงความเห็นว่า ข้อมูลที่ท่านเขียนมาทั้งหมด "แค่มองเห็นเสี้ยวหนึ่ง" ของวงการแพทย์ในประเทศนี้ "ที่ยังดีหลงเหลืออยู่" เท่านั้น
ข้อเขียนของคุณนั้น ไม่ได้สร้างสรรค์หรือเสริมการรับรู้หรือความเข้าใจที่ดีขึ้นและถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงระหว่าง "หมอ" กับ "คนไข้ผู้เสียหายทางการแพทย์" ในประเทศนี้เลย
ไม่ทราบว่าคุณมีเจตนาดีโดยพื้นฐานในการเขียนบทความชิ้นนี้หรือไม่? แต่คนที่อ้างอิงบทความของคุณมาแสดงไว้ ณ. ที่นี้นั้น ไม่ได้มีเจตนาที่ดีแน่นอน และเมื่อพิจารณษใจความเนื้อแท้ของบทความนั้น ผมก็ยังยืนยันความเห็นตามที่ว่าไป เท่านั้น!
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [11 มี.ค. 52 10:25] ( IP A:58.8.107.154 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
แม่หนูตาย หนูไม่เคยคิดจะฟ้องหมอเลยเพราะเรารู้ว่าหมอเสียใจจริง
แต่หนูอยากฟ้องโรงพยาบาล เพราะระบบการรักษามันห่วย
1.เอาหมอจบใหม่มาเป็นเจ้าของไข้
2.เอาหมอจบไม่นานมาเป็นคนสอนหมอใหม่อีกที
3.เอาหมอฝึกหัดกับหมอใหม่ มาอยู่ประจำห้องฉุกเฉิน
4.พยาบาลห้องฉุกเฉินไม่เอาใจใส่คนไข้ ไม่ตามหมอตอนกลางคืนเมื่อคนไข้มีอาการผิดปกติ
5.วันเสาร์อาทิตย์ปิดทำการ (ไม่มีเอ็กซเรย์แม้จะสงสัยว่าเป็นมะเร็ง)
6.หมอใหญ่กว่าจะมาก็คืออาการคนไข้แย่ลงมาก รักษาไม่ทันคนไข้ก็ตาย
ฯลฯ
แน่นอนว่านี่คือรพ.รัฐบาล และเป็นรพ.สอนหมอ
ผู้เขียนไม่ใช่แพทย์แต่เป็นบุคลากรที่ทำงานในโรงเรียนแพทย์ ได้เห็นการทำงานและการตัดสินใจของแพทย์แต่ละสาขา ซึ่งไม่เหมือนกัน ที่นำเรื่องนี้มาเขียนเพราะเห็นว่าสังคมกำลังคิดทำลายระบบแพทย์ที่ถูกสร้างไว้อย่างดีมานานแล้ว
ขอเรียนข้อเท็จจริงให้ทราบว่า หลายคนไม่รู้ว่าแพทย์ไทยนั้นเป็นแพทย์ที่มีฝีมือในการรักษาผู้ป่วย ไม่เป็นสองรองใครในโลกนี้
นี่หรือระบบแพทย์ที่ถูกสร้างมาอย่างดีกับมีฝีมือในการรักษาไม่เป็นสองรองใคร
โดย: เจอมาแล้วถึงกล้าพูด [14 มี.ค. 52 17:45] ( IP A:124.121.241.197 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
ความเห็นที่9 จ่ายภาษีเยอะขึ้น 5 เท่าเพื่อเอาเงินมาจ้างคนทำงานและเครื่องไม้เครื่องมือเพิ่ม แค่นี้ก็จะได้ระบบที่ดีกว่านี้
หรือไม่ก็เอาเงินทั้งหมดมาผลาญที่โรงบาล ให้กระทรวงสาธารณสุข 50 เปอร์เซนของงบปรมาณแผ่นดินที่เหลือค่อยแบ่งให้กระทรวงอื่นก็จะได้ระบบที่ดีขึ้น
จำไว้ว่าประเทศเราจนเราก็ต้องอยู่แบบจนจน X-ray หามะเร็งวันหยุดคงไม่คุ้มกับการลงทุนมั้งครับ
โดย: คนเก่า [14 เม.ย. 52 16:23] ( IP A:125.26.69.8 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน