กะเทยบุกสธ.เคลียร์ข้อบังคับแปลงเพศ
   เมื่อวันที่ 30 ม.ค. นายยลลดา เกริกก้องสวนยศ ประธานกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศแห่งประเทศไทย และกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศ ประมาณ 20 คน เดินทางเข้าพบนายวิทยา แก้วภราดัย รมว.กระทรวงสาธารณสุข เพื่อขอให้พิจารณาทบทวนข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม เรื่อง เกณฑ์การรักษาเพื่อแปลงเพศ พ.ศ.2552 ซึ่งนายวิทยา รับฟังปัญหาก่อนที่จะมอบหมายให้แพทยสภาเป็นผู้ดำเนินการชี้แจงและทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศฯ โดยใช้เวลานานกว่า 2 ชั่วโมง

โดยนายยลลดากล่าวว่า กลุ่มผู้หญิงข้ามเพศฯ ไม่เห็นด้วยกับข้อบังคับของแพทยสภาในเรื่องนี้ 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.ไม่เห็นด้วยกับการที่กำหนดให้ผู้ที่จะแปลงเพศได้ต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปี เพราะส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะแปลงเพศมาตั้งแต่อายุน้อยกว่า 18 ปีหรือตั้งแต่เกิด และ 2.ไม่เห็นด้วยที่กำหนดให้ผู้ที่จะกระทำการแปลงเพศต้องได้รับการรับรองจากจิตแพทย์จำนวน 2 ท่าน โดยมองว่าจะทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมากขึ้นในการแปลงเพศ แต่ควรให้อยู่ในดุลพินิจของจิตแพทย์เป็นรายกรณีว่าผู้ป่วยควรได้รับคำรับรองจากจิตแพทย์กี่ท่าน

นายยลลดากล่าวว่า หลังฟังคำชี้แจงและทำความเข้าใจกับแพทยสภาแล้ว พวกเรายอมรับได้ที่จะให้มีการออกข้อบังคับฉบับนี้ตามเดิม จึงอยากให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเร่งลงนามในข้อบังคับนี้โดยเร็ว เพราะเห็นว่าข้อบังคับนี้จะเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของพวกเรา และเป็นการยกระดับมาตรฐานทางการแพทย์ของไทย

"สิ่งที่พวกเราเป็นเป็นอาการของโรค โดยมีความผิดปกติทางร่างกายที่มีอวัยวะเพศชายงอกออกมาเท่านั้น เมื่อได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแปลงเพศแล้ว ก็ถือว่าหายจากอาการป่วย เหมือนกับการเป็นหวัดที่สามารถหายได้เมื่อได้รับการรักษา จึงไม่อยากให้สังคมมองเราอย่างรังเกียจ และหวังว่าในอนาคตกฎหมายฉบับนี้จะช่วยให้พวกเรานำไปใช้อ้างอิงในการเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายอื่นๆ" นายยลลดากล่าว

น.อ.(พ.)น.พ.อิทธพร คณะเจริญ กรรมการแพทยสภา กล่าวว่า หลังจากกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศฯได้ฟังคำชี้แจงรายละเอียดข้อบังคับจากแพทยสภาแล้วก็มีความเข้าใจตรงกัน เกิดการสมานฉันท์ เนื่องจากแพทยสภาออกข้อบังคับนี้ด้วยเจตนารมณ์ที่ดี ต้องการให้เป็นกฎหมายฉบับแรกที่รับรองสิทธิของกลุ่มคนที่แปลงเพศ เพื่อนำไปสู่การยอมรับสิทธิของคนกลุ่มนี้ในกฎหมายอื่นๆ เช่น การเกณฑ์ทหาร การใช้คำนำหน้าบุคคล และการแต่งงานกับเพศชาย อีกทั้งการออกข้อบังคับนี้จะทำให้แพทย์กล้าที่จะทำการผ่าตัดแปลงเพศมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องหวั่นเกรงว่าจะถูกฟ้องร้องข้อหาทำร้ายร่างกายจากการตัดอัณฑะตามที่กฎหมายอาญากำหนด จะเกิดประโยชน์ทั้งผู้ป่วยและแพทย์
โดย: จากนสพ.ข่าวสด 31 มค.52 [1 ก.พ. 52] ( IP A:58.9.197.36 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   มีให้เห็นไม่มากนะครับ ที่ประชาชนจะเข้าใจแพทยสภาอย่างนี้
โดย: ex-man [1 ก.พ. 52 15:18] ( IP A:203.118.92.202 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   สาวประเภท2บุกสธ.ค้านหลักเกณฑ์แปลงเพศ [30 ม.ค. 52 - 16:23>



นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าววันนี้ (30 ม.ค.) ภายหลังกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศแห่งประเทศไทย ยื่นหนังสือขอให้พิจารณาระงับการลงนามใน (ร่าง) ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทำศัลยกรรมแปลงเพศ ไว้เป็นการชั่วคราว เนื่องจากเห็นว่า รายละเอียดของหลักเกณฑ์ดังกล่าว ถูกกำหนดขึ้นบนพื้นฐานของความไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ หากมีการบังคับใช้จะเกิดผลกระทบต่อกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศได้ ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนและเป็นการมองคนละมุม โดยปัจจุบันแพทย์ค่อนข้างจะอยู่ในกรอบที่ระมัดระวัง เพราะการกระทำบางอย่างเป็นเรื่องที่ล่อแหลมและเสี่ยงเกิดอันตรายต่อผู้รับบริการ เช่น การแปลงเพศ ได้มอบนโยบายให้แพทยสภารับฟังข้อเสนอต่าง ๆ ของทางกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศ ทำความเข้าใจกัน และหาข้อตกลงที่เหมาะสมกับทุกฝ่าย

รมว.สธ. กล่าวว่า การที่ประชาชนมีการเรียกร้องในเรื่องของสิทธิมากขึ้น บางครั้งอาจก้าวล่วงไปถึงการทำงานของแพทย์ จนกลายเป็นความขัดแย้งตามมาได้ ทั้งนี้ เชื่อว่าไม่มีแพทย์คนใดอยากให้เกิดความผิดพลาดในการรักษา แต่ในความเป็นมนุษย์ธรรมดาก็อาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งต้องมีการปรับปรุงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย รวมถึงคุณธรรมในการรักษาพยาบาลและการใช้บริการด้วย


ทั้งนี้ กลุ่มผู้หญิงข้ามเพศแห่งประเทศไทยได้ยื่นข้อเสนอให้แพทยสภาดำเนินการ 4 เรื่อง ได้แก่ คือ 1.ระบุและชี้แจงรายละเอียดให้ชัดเจนว่า การผ่าตัดเปลี่ยนเพศของบุคคลที่ต้องการผ่าตัดเปลี่ยนเพศ เป็นภาวะอาการป่วยหรือไม่ อย่างไร เพื่อความเหมาะสมในการกำหนดแนวทางปฏิบัติทางการแพทย์ที่ถูกต้องและมีมาตรฐานสากล รวมถึงต้องแสดงข้อเท็จจริงทั้งหมดต่อสาธารณะด้ว 2.นำข้อบังคับจาก (ร่าง) ข้อบังคับฯ เดิม มาเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติทางการแพทย์ เกี่ยวกับมาตรฐานในการตรวจสอบ วินิจฉัยและประเมินบุคคลที่ต้องการผ่าตัดเปลี่ยนเพศ เพื่อการออกเอกสารรับรองการให้ผ่าตัดเปลี่ยนเพศอย่างยืดหยุ่นและเป็นปัจเจก 3.จัดตั้งศูนย์ฯ เพื่อรองรับการขอเอกสารการรับรองให้ผ่าตัดแปลงเพศแก่หญิงข้ามเพศ และต้องประกาศข่าวสู่สาธารณะ และ 4.ดำเนินการออก (ร่าง) ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยหลักเกณฑ์การขอเอกสารการรับรองให้ผ่าตัดเปลี่ยนเพศ
โดย: อันไหนจริง [1 ก.พ. 52 18:06] ( IP A:58.8.14.187 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ใครหลงเชื่อก็โมเมว่าเขาเข้าใจ
คนในเครือข่ายฯ หลงเชื่อแพทยสภา
มารู้ทีหลังเลยไม่เชื่อกันอีก ก็เลยถูก
เหมาว่าไม่เคยเข้าใจแพทยสภา
ใช่พวกเราไม่เข้าใจว่าทำไมพวกคุณส่วนใหญ่
ถึงได้ใจดำกับชาวบ้านที่เดือดร้อนกันนัก
โดย: ไม่เข้าใจแพทยสภา [1 ก.พ. 52 20:41] ( IP A:58.9.205.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ขอให้ผู้เกี่ยวข้องรีบดำเนินการด้วยอย่าได้ช้าเลย ต่างประเทศเค้าก็มีไม่มีใครตำหนิหรอก
โดย: ชุติกาญจน์ สดากร [26 มี.ค. 52 20:20] ( IP A:118.175.126.192 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน