แพทยสภาชี้ขริบอวัยวะเพศ"หมอ"ไม่ผิด
   จากกรณีที่นางรัตนาพร มนัสชื้น อายุ 45 ปี มารดา ด.ช.เอ (นามสมมุติ) อายุ 12 ปี เดินทางมาร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เนื่องจากการพาด.ช.เอไปเข้ารับการรักษาอาการฝีในปากที่คลิกนิกเอกชนที่เข้าร่วมในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองแห่งหนึ่งในอ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ แต่การรักษากลับกลายเป็นการขริบอวัยวะเพศเด็ก และสธ.ได้ส่งเจ้าหน้าที่จากกองการประกอบโรคศิลปะลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)นั้น

ล่าสุด ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่เลขา รักษาการนายกแพทยสภา กล่าวว่า จากการได้รับรายงานข้อมูลเบื้องต้น ปรากฏว่ากรณีนี้เกิดการผิดพลาดในการรักษาเนื่องจากการติดต่อสื่อสารผิดพลาดทั้งที่แพทย์ดำเนินการและเขียนสั่งถูกต้องทุกอย่าง โดยแพทย์เขียนคำวิธีการรักษาเป็นภาษาอังกฤษที่มีความหมายว่า “ให้ตัดเอาออก” ซึ่งหมายถึงให้ตัดเอาฝีในปากออก แต่เจ้าหน้าที่ที่รับหน้าที่ในการดำเนินการเข้าใจผิดว่าแพทย์สั่งให้ขริบอวัยวะเพศเด็ก เพราะโดยปกติการเป็นฝีที่ปากจะไม่มีใครตัดออกจะปล่อยให้แตกเอง กอรปกับเมื่อเจ้าหน้าที่เปิดดูอวัยวะเพศเด็ก ปรากฏว่ามีปัญหาหนังหุ้มปลายรูดไม่สุด เจ้าหน้าที่จึงมั่นใจว่าแพทย์สั่งให้ขริบปลายอวัยวะเพศ และเมื่อดำเนินการแล้วเด็กร้องทัก ก็เข้าใจว่าเด็กอาย จึงพยาบาลบอกให้เด็กไม่ต้องอาย

จากข้อมูลที่ได้รับในขณะนี้เห็นว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นไม่ได้เจตนา แต่เป็นผลจากการติดต่อสื่อสารที่ผิดพลาด จึงสามารถบอกได้ในเบื้องต้นว่าแพทย์ไม่ผิด เพราะดำเนินการถูกต้องทุกอย่าง อย่างไรก็ตาม แม้แพทย์จะไม่ผิดก็จำเป็นต้องจะส่งเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของอนุกรรมการจริยธรรมแพทยสภา เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและสรุปผลอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง การผ่าตัดนี้ไม่ใช่การผ่าตัดใหญ่แต่เป็นการผ่าตัดย่อย ที่แพทย์สามารถมอบหมายให้พยาบาลทำได้ โดยส่วนใหญ่การเย็บแผล ล้างแผล หรือตกแต่งแผลพยาบาลก็ทำทั้งนั้น หากให้แพทย์ทำหมดก็ไม่รู้จะมีผู้ช่วยไว้ทำไม ซึ่งในเรื่องเหล่านี้พยาบาลบางคนเก่งกว่าแพทย์ เพราะมีความชำนาญ

การขริบปลายอวัยวะเพศเด็กไม่มีข้อเสียแต่กลับเป็นประโยชน์ต่อเด็ก ทำให้โอกาสในการเป็นโรคมะเร็งและกามโรคน้อยลง ซึ่งหลายประเทศให้เด็กขริบหมด แต่ประเทศไทยไม่นิยม โดยเฉพาะเด็กรายนี้จะเป็นประโยชน์มาก เนื่องจากเด็กมีปัญหาหนังหุ้มปลายถลกไม่สุด หากปล่อยไว้จะทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค จนอาจนำสู่การก่อมะเร็ง เพียงแต่กรณีนี้ผิดเจตนารมณ์ของผู้ป่วย

การสื่อสารผิดพลาดในวงการแพทย์เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทั้งการาหยิบยาผิด การฟังคำวินิจฉัยโรคผิดพลาด ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใช้คำภาษาอังกฤษที่มีความใกล้เคียงกัน ซึ่งขณะนี้แพทยสภา สภาเภสัชกรรมและสภาการพยาบาล กำลังดำเนินการแก้ปัญหาร่วมกัน โดยการรวบรวมข้อมูลความผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งจากแพทย์ พยาบาล เภสัชกรทั่วประเทศ ก่อนนำมาจัดทำเป็นคู่มือส่งให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขาวิชาชีพรับรู้ข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำไหนที่ห้ามพูดสื่อสารทางโทรศัพท์ และคำไหนที่ใกล้เคียงกันให้เขียนตัวใหญ่ในส่วนที่แตกต่างกัน เป็นต้น
โดย: เยี่ยม [23 ม.ค. 52 16:31] ( IP A:58.8.8.224 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   แจะปากคับ ไม่ได้แจะจู๋

โดย: สื่อสารผิดพลาดหรือหูทวนลม [23 ม.ค. 52 17:24] ( IP A:58.8.212.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   มีเหตุเค้าคงชดใช้ให้แหละครับ งานนี้ หรือ ต้องใล่หมออก ยึดใบ ท่านถึงจะพอใจ
โดย: ผิดพลาดจริง [23 ม.ค. 52 19:46] ( IP A:125.26.106.244 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   เครือข่ายฯ เห็นว่างานนี้หมอยอมรับว่าผิดพลาดจริง
ก็น่าชื่นชม ที่กล้าแหกกรอบเดิม ๆ ที่แพทยสภาตั้งเอาไว้
นี่ถ้าเชื่อแพทยสภา อย่ายอมรับ ให้สู้ละก้อ.....
งานนี้เครือข่ายฯ เหนื่อยอีกแล้วววววววววว
โดย: ชืนชมหมอที่กล้ายอมรับ [23 ม.ค. 52 23:43] ( IP A:58.9.202.37 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ฟังชาวบ้านเขาสวดชยันโต
https://news.sanook.com/social/social_338474.php
โดย: ก็แล้วแต่ว่ะ ยืม อจ สมเกียรติมาใช้ [24 ม.ค. 52] ( IP A:58.8.2.228 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน