consumer.pantown.com
Thai Iatrogenic Network รวมกระทู้เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ <<
กลับไปหน้าแรก
หมอ-พยาบาลรัฐถูกฟ้อง73ราย จี้เลิกฟ้องอาญา-ตั้งศาลด้านสธ.
หมอ-พยาบาลรัฐถูกฟ้อง73ราย จี้เลิกฟ้องอาญา-ตั้งศาลด้านสธ.
หมอ-พยาบาลภาครัฐถูกฟ้องแพ่ง-อาญา 73 ราย เอกชน 128 เรื่อง แนวโน้มพุ่งขึ้น ข้อหารักษาผิดพลาดมากที่สุด จี้เลิกฟ้องอาญา ชงตั้งศาลสาธารณสุข
เมื่อวันที่ 14 มกราคม ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข (กมธ.สธ.) วุฒิสภา จัดสัมมนา “ความประมาททางอาญาในการประกอบอาชีพเวชกรรม” โดย นพ.วิรัติ พาณิชย์พงษ์ ประธานคณะอนุกมธ.ศึกษาประกอบวิชาชีพเวชกรรมกับกระบวนการยุติธรรม กล่าวว่า การฟ้องร้องแพทย์ทั้งทางแพ่งและอาญา ทำให้แพทย์ต้องลด เลี่ยง และเลิกประกอบอาชีพ และมีแนวโน้มฟ้องมากขึ้นทุกปี ทั้งนี้ คดีฟ้องแพทย์เป็นเรื่องเฉพาะจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมเพื่อเสนอข้อมู ลพิจารณาวินิจฉัยคดี และมีศาลสาธารณสุขเพื่อพิจารณาคดีด้านสาธารณสุขหรือฟ้องแพทย์ จะเสนอ รมว.ยุติธรรมพิจารณาเป็นพิเศษ
สถิติฟ้องร้องแพทย์ต่อแพทยสภา และศาล ปี 2539-2551 เฉพาะโจทก์ที่ยื่นฟ้องสธ. คดีแพ่งมี 76 คดี ทุนทรัพย์ที่ฟ้อง 426 ล้านบาท สธ.ชำระตามคำพิพากษาไปแล้ว 7.4 ล้านบาท คดีอาญามี 12 คดี สาเหตุหลักรักษาผิดพลาด ทำคลอด วินิจฉัยผิดพลาด ซึ่งมีแพทย์ถูกฟ้องคดีแพ่ง 55 ราย พยาบาล 11 ราย คดีอาญามีแพทย์ถูกฟ้อง 5 ราย และพยาบาล 2 ราย เพราะกฎหมายใหม่ที่ให้สิทธิผู้รับบริการฟ้อง ส่วนคดีฟ้องเอกชนปี 2549-2550 มี 128 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นคดีแพ่งที่เกิดจากโครงการ 30 บาท และคดีทำศัลยกรรมความงาม
นอกจากนี้ ในที่ประชุมได้ขอให้แพทย์ร่วมกันลงชื่อผลักดันกฎหมายคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ วิชาชีพสุขภาพเป็นบัญชีรายชื่อในศาล เพื่อร่วมพิจารณาคดีการรักษาของแพทย์ และกฎหมายที่ไม่สามารถเอาผิดอาญากับแพทย์ได้ ถ้าไม่มีเจตนา มีผู้พิพากษาสมทบเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแพทย์ร่วมพิจารณาคดี
รศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ ผอ.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จะทำหนังสือในนามของคณะเสนอข้อมูลผลเสียนโยบายศูนย์กลางทางการแพทย์ หรือเมดิคอลฮับแก่ รมว.สาธารณสุข เพื่อทบทวน และจะเสนอรัฐบาล ได้แก่ 1.โรงพยาบาลเอกชนต้องกำหนดรับต่างชาติและคนไทยสัดส่วนเท่าใด 2.กำไรรักษาต่างชาติต้องนำมาพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขในภาพรวมทั้งประเทศ และ 3.มีเมดิคอลฮับสำหรับสถานพยาบาลรัฐที่มีศักยภาพพอ
โดย: ใใ [15 ม.ค. 52 19:18] ( IP A:58.147.45.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
มีอะไรก็แสดงออกให้หมด
ว่าประเทศนี้มีแต่พวกเอ็งเท่านั้นที่เป็นใหญ่
โดยเฉพาะนพ.วิรัติคนนี้
อยากรู้ว่าที่บ้านเขากินข้าวกับอะไร
ถึงได้ใจดำ ไม่มีเมตตาคนไข้ออกจากปากหมอคนนี้
ความเป็นธรรมในสังคมไม่เคยพูดถึง
ว่าจะช่วยเหลือผู้เสียหายอย่างไร
ถึงจะไม่ให้เขาไปฟ้องหมอ
คนเขามีทางออก เขาก็คงไม่ฟ้องหมอ
ก็คนอย่างหมอวิรัติไม่ใช่หรือที่เป็นแพทยสภา
ปิดทางคนไข้หมดเลย แถมตัวเองไปเป็นวุฒิสมาชิกอีก
ก็ใช้อำนาจในทางผิด ๆ อีกแล้ว
ประเทศไทยอะไร ๆ ก็ดี
เสียอย่างคือมีหมอแบบนี้และดันมีอำนาจ
โดย: เซ็ง [15 ม.ค. 52 21:56] ( IP A:61.90.110.12 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
ในเมื่อเป็นคณะกรรมธิการสาธารณสุขของวุฒิสภา
ก็ย่อมมีหน้าที่โดยพื้นฐานที่ ตรวจสอบติดตามกระบวนงานด้านสาธารณสุขให้เป็นไปอย่างถูกต้อง+ชอบธรรม+เพื่อประโยชน์ของ
"มวลชนซึ่งมีทั้งหมดกว่า 60 ล้านคน และไม่ใช่มีเพียงกว่าสามหมื่นคนของวงวิชาชีพแพทย์"
พวกท่านจัดสัมนาในหัวข้อ "ความประมาททางอาญาในการประกอบอาชีพเวชกรรม โดยเน้นที่การคุกคามสวัสดิภาพในการประกอบวิชาชีพแพทย์อันเนื่องมาจากความผิดพลาดในกระบวนงานวิชาชีพเอง
แต่
พวกท่านอาจไร้เดียงสา หรือไม่มีสำนึกรู้ที่จะมองเห็นหรือว่า กระบวนงานของวิชาชีพนี้ ส่งผลด้านที่ผิดพลาดต่อ "ความเป็น/ตายที่ทันตาเห็นต่อคนไข้นับล้านๆคนต่อวัน" พวกท่านกลับไม่แตะไม่พูดถึง แล้วก็ดูเหมือนจงใจที่จะไม่รับรู้ว่า มีคนไข้ตายและชิบหายต่อเนื่องจากความผิดพลาดทางการแพทย์ที่ป้องกันได้ปีละนับหมื่นๆคน
ถ้าพวกท่านในฐานะกรรมาธิการสาธารณสุขมองตรงนี้ไม่ออก หรือไม่สามารถไตร่ตรองหรือสำนึกรู้ประเด็นง่ายๆตรงนี้ได้
ขอเชิญพวกท่านลาออกไปเทอะ อยู่ทำงานไปก็เสียข้าวสุข สิ้นเปลืองงบประมาณของแผ่นดินไปเปล่าๆปลี้ๆ
งานสัมนาหัวข้อแบบนี้ เด็ก ม.6 ที่เขาแค่ติดตามข่าวสารบ้านเมืองก็มองออกว่า
ชงเรื่องตั้งประเด็นสาธารณะเพื่ออ้างเหตุที่จะละเว้นอาชีพหมอออกจากการรับผิดทางคดีอาญา
ที่น่าเซ็งและน่าสมเพชมากๆก็ตรงที่ คนที่ทำงานในตำแหน่งที่ต้องรับผิดชอบผลประโยชน์สาธารณะทั้งหลาย ต่างไร้เดียงสาและไร้กึ๋นพอที่จะรับรู้ว่า มวลชนของประเทศไทยเรายุคนี้ภายใต้บารมีขององค์พ่อหลวงเรา ต่างมีความรู้และฉลาดเกินจากที่หมู่ชนอย่างแพทยสภาหรืออย่างสมาชิกสภาทั้งสองสภาบางกลุ่มจะรับรู้ได้ไปตั้งนานนมแล้ว เฮ้อ
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [16 ม.ค. 52 8:19] ( IP A:58.8.104.176 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน