[มติชน] ข้อพิพาทหมอ-คนไข้ "แผลเรื้อรัง"ที่รอการรักษา
   ข้อพิพาทหมอ-คนไข้ "แผลเรื้อรัง"ที่รอการรักษา

ปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์กับคนไข้ เป็นปัญหาเรื้อรังของระบบสาธารณสุขมานาน นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากภาครัฐที่เกี่ยวข้องยังไม่สนใจแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างแพทย์กับคนไข้ มีหลายสาเหตุ โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากความผิดพลาดของการรักษาพยาบาล หรือความไม่พึงพอใจในการรับบริการทางการแพทย์ เป็นชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหากระทบกระทั่งระหว่างแพทย์และคนไข้ตามมา เพราะเมื่อเกิดปัญหาหรือความผิดพลาดขึ้นแล้ว ทั้งแพทย์ และคนไข้จะทำตัวไม่ถูก ไม่รู้ว่าควรจะดำเนินการแก้ไขอย่างไรต่อไป

แพทย์ย่อมกังวลเรื่องการรับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพราะมีคดีความฟ้องหมอจนขึ้นโรงขึ้นศาลให้เห็นบ่อยๆ ขณะเดียวกันทางคนไข้ ญาติผู้เสียหาย จะเกิดความรู้สึกผิดหวัง หรือโกรธ เสียใจ แต่จะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น สูญเสียอวัยวะ พิการ หรือเสียชีวิต และท่าทีการแสดงความรับผิดชอบของแพทย์

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ทั้งแพทย์และคนไข้ มีช่องว่างในการสื่อสาร ชี้แจงความเข้าใจระหว่างกันให้ดีพอ ทั้งที่การสื่อสารเป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาการฟ้องร้องลงได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดปัญหาขึ้น คงยากที่แพทย์จะปฏิเสธความรับผิดชอบได้ทั้งหมด

"ศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข" กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นผู้ดูแลการเจรจาหรือที่เรียกว่า "การไกล่เกลี่ย" ระหว่างแพทย์กับคนไข้ ซึ่งจะมีนักไกล่เกลี่ยที่มีประสบการณ์นับพันคน เป็นคนกลางช่วยเจรจาและเยียวยาความเสียหายเบื้องต้นให้กับคนไข้

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมา ผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข อธิบายว่า กระบวนการไกล่เกลี่ยจะเริ่มขึ้นได้เมื่อมีผู้ร้องเรียนเข้ามาที่ศูนย์สันติวิธีฯ ซึ่งมีอยู่ตามโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทั่วประเทศ โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ โดยมีนักไกล่เกลี่ยเป็นตัวกลางในการเจรจาชี้แจงข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งฝ่ายแพทย์และคนไข้

นพ.สุพรรณกล่าวว่า เป้าหมายหลักในการเจรจาคือ การให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายคนไข้ที่เป็นผู้เสียหาย ทาง สธ.จะเร่งให้ความช่วยเหลือเยียวยาเบื้องต้น เพื่อให้ผู้เสียหายรู้สึกว่าได้รับความเป็นธรรม ได้รับความดูแลใส่ใจจากหน่วยงานรัฐ ซึ่งการเยียวยาจะมีทั้งการให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น การดูแลรักษาพยาบาลต่อเนื่อง หากเป็นรายที่เสียชีวิต ทาง สธ.จะรับผิดชอบค่าฌาปนกิจศพด้วย

"กระบวนการไกล่เกลี่ยที่เกิดขึ้นไม่ได้หมายความว่า ผู้เสียหายที่เข้าสู่กระบวนการนี้ รวมถึงผู้ที่ได้รับเงินชดเชยหรือการเยียวยาอื่นๆ ที่ สธ.จัดให้จะไม่สามารถยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อศาลได้อีก หากผู้เสียหายยังรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมอยู่ ก็สามารถฟ้องร้องต่อศาลได้อีก แต่ศูนย์สันติวิธีฯจะพยายามให้ความเป็นธรรมให้มากที่สุด" นพ.สุพรรณกล่าว

นพ.สุพรรณกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า ผู้เสียหาย ญาติ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องเงินเป็นหลัก แต่ต้องการเพียงคำชี้แจงเหตุผลของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากทางแพทย์เจ้าของไข้ การแสดงความเสียใจ หรือคำขอโทษอย่างจริงใจจากแพทย์เท่านั้น รวมถึงให้แพทย์งานศพเพื่อเป็นการให้เกียรติกับคนไข้

แต่ปัญหาคือ ที่ผ่านมา กระบวนการเหล่านี้ ไม่ได้รับความสนใจ ปัญหาความไม่พอใจของผู้เสียหายจึงบานปลาย และจบลงด้วยการฟ้องร้องต่อศาลทั้งคดีแพ่ง และอาญา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

สำหรับเงินชดเชยเบื้องต้น ผู้เสียหายจะได้รับจาก 3 กองทุนหลักคือ 1.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตามมาตรา 41 ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ ที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ แต่ครอบคลุมเฉพาะผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยแนวทางนี้ไม่มีการพิสูจน์ถูกผิด แต่การเยียวยาในลักษณะนี้ได้ช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่ฟ้องร้องแพทย์ได้ เพราะประชาชนรู้สึกว่าได้รับการช่วยเหลือ 2.กองทุนชดเชยผู้ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลของ สธ. จะมีคณะกรรมการพิจารณาว่าจะช่วยเหลืออย่างไร และ 3.กองทุนสวัสดิการ และหน่วยบริการของโรงพยาบาลต่างๆ

ในกรณีที่ผู้เสียหายที่รู้สึกว่ายังไม่ได้รับความเป็นธรรม ยังสามารถร้องเรียนไปยังแพทยสภา เพื่อตรวจสอบลงโทษเกี่ยวกับด้านจริยธรรม วิชาชีพแพทย์ พยาบาล รวมถึงร้องเรียนผ่านสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และที่พึ่งสุดท้ายคือ การฟ้องร้องศาลแพ่ง และอาญา

ซึ่งเมื่อปลายปี 2550 ที่ผ่านมา ได้เกิดคดีประวัติศาสตร์ ที่ศาลจังหวัดทุ่งสง พิพากษาให้ พญ.สุทธิพร ไกรมาก แพทย์ประจำโรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช มีความผิดจำคุกเป็นเวลา 3 ปีโดยไม่รอลงอาญา ในคดีที่ถูก น.ส.ศิริมาศ แก้วคงจันทร์ บุตรสาวนางสมควร แก้วคงจันทร์ ซึ่งเสียชีวิตฟ้องหมอที่ผ่าตัดไส้ติ่ง เมื่อพ.ศ. 2545

จากคดีนี้เอง เป็นเหตุทำให้ สธ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตื่นตัว เร่งแก้ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้อย่างเร่งด่วน เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ สถานการณ์จะยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น จะมีคดีคนไข้ฟ้องร้องแพทย์มากขึ้น

โดยในรอบ 12 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2539-2551 สธ. ถูกฟ้องร้องตกเป็นจำเลยทั้งหมด 98 คดี เป็นคดีแพ่ง 86 คดี คดีอาญา 12 คดี ถูกเรียกค่าเสียหายรวม 456 ล้านบาท ขณะนี้ชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาไปแล้ว 7.4 ล้านบาท สาเหตุที่ฟ้องสูงสุด 3 สาเหตุ ได้แก่ 1.รักษาผิดพลาดไม่ได้มาตรฐาน 38 เรื่อง 2.ทำคลอด 18 เรื่อง และ 3.วินิจฉัยผิดพลาด 12 เรื่อง โดยโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปถูกฟ้อง 41 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 30 แห่ง

ในอนาคตแนวโน้มการฟ้องจะสูงขึ้น จาก ปี 2548 มีคดีแพ่ง 6 คดี ปี 2549 มี 16 คดี ปี 2550 มี 19 คดี และ 11 เดือนในปีนี้ฟ้องแล้ว 21 คดี และการเรียกค่าเสียหายจะสูงขึ้นตามด้วย เช่นที่โรงพยาบาลขอนแก่น ผู้ฟ้องเรียกค่าเสียหายถึง 22 ล้านบาท

กระบวนการไกล่เกลี่ย หรือเยียวยาความเสียหายของทั้งแพทย์ และผู้ป่วยในอนาคต เป็นสิ่งที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง เพราะหลายฝ่ายเริ่มหันมาให้ความสนใจอย่างจริงจัง เพื่อแก้ปัญหาที่นับวันดูเหมือนจะรุนแรงมากขึ้นทุกที

จึงนำมาสู่การผลักดัน พ.ร.บ.กองทุนชดเชยความเสียหายจากการใช้บริการสาธารณสุข ในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ โดย นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีสาธารณสุข ซึ่งนับจนถึงขณะนี้ก็ยังอยู่ระหว่างการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งใกล้จะสิ้นสุดการพิจารณาแล้ว รอเพียงว่ารัฐบาลใหม่ที่นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และมีนายวิทยา แก้วภราดัย ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีสาธารณสุข จะมีเวลาให้ความสำคัญหรือสนใจมากน้อยเพียงใด

ข้อพิพาทระหว่างแพทย์กับคนไข้จะดีขึ้นหรือเลวร้ายลงไปอีกขึ้นอยู่กับกฎหมายฉบับนี้

https://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01lif02311251§ionid=0132&day=2008-12-31
โดย: 0000 [1 ม.ค. 52 10:29] ( IP A:58.8.93.245 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ผมคิดว่าข้อพิพาทระหว่างแพทย์กับคนไข้จะดีขึ้นหรือเลวร้ายลง คงไม่ขึ้นอยู่แค่กฏหมายฉบันี้อย่างเดียวอย่างที่เคยพูดๆกันมาแล้ว เราก็คงพายเรืออยู่ในอ่าง ที่ผมออกความเห็นใช่ว่าจะคัดค้านกฏหมายผมเห็นด้วย ถ้าจะทำให้หลายอย่างดีขึ้น แค่อยากจะเสริมว่าเราอย่าลืมการกระทำที่เรียกว่าจริยธรรม ผมเข้าใจดีการเรียนหมอนั้นยากเป็นอาชีพที่มีเกียรติผมเข้าใจในตัวเองว่าถ้าผมเป็นหมอเมื่อเกิดความผิดพลาดผมคงต้องปกปิด เพราะกลัวมีประวัติเสียและอีกหลายอย่างที่จะตามมา เราน่าจะเปลี่ยนความคิดและทัศนคติต่างเหล่านี้ได้ไหม เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นแพทย์แสดงออกด้วยความจริงใจโดยการพูดคุยกับญาติหรือคนไข้อธิบายวิธีการรักษา รีบเร่งตรวจสอบหาสาเหตุของความผิดพลาด ยอมรับและเสนอการเยียวยาด้วยตนเอง ผมคิดว่ามันคงเป็นไปไม่ได้ เพราะผมไม่ใช่หมอ และความคิดนีเป็นความคิดที่ที่สละแล้วซึ่ง ลาภยศ เงินตรา ชื่อเสียง อนาคตมิมีทางให้เลือกมากนักแต่อย่างน้อยเรายังได้เลือก เมื่อมาถึงจุดหนึ่งของปลายทางจะต้องมีทางเลือกการตัดสินใจจะเป็นคำตอบสุดท้าย
โดย: อนาคตมีทางเลือกเสมอ [1 ม.ค. 52 22:25] ( IP A:222.123.212.163 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ไม่ให้มีข้อพิพาท ปรับเปลี่ยนคนทำงานใหม่ซิ

เปลี่ยนคน ไม่ใช่เปลี่ยนกฎ เชื่อว่ากฎตั้งมาให้คนปฎิบัติตาม

แต่คนไม่ปฎิบัติตามกฎมักแหกกฎกันเสมอ เพื่อได้มาซึ่งชัยชนะ

ของกลุ่มตัวเอง เพราะฉะนั้น ยาก ที่จะเปลี่ยนมุมมองใหม่ๆ ได้

เมื่อเกิดปัญหา ตราบใด คนเดิมๆ หน้าเดิม ๆ ปกครองคนจน ปกครองผู้เสียหาย เรามีหน้าที่เดินตามเขาไม่ได้มีหน้าที่ไปเอาผิด เอาความเขา บอกตัวเองอย่างนี้จะดีกว่า ใครที่คิดเอาเรื่องเอาความถือว่า คนนั้น แหกกฎ เพื่อได้มาซึ่งความถูกต้องและความเป็นธรรม

ใครบ้างกล้าแหกกฎกับคนกลุ่มนี้ ถ้ากล้าก็แสดงว่า มันถึงจุดสูงสุดที่โดนกระทำแล้วทั้งนั้น .....


ไม่มีใครอยากมีเรื่องกับใคร
โดยเฉพาะเหตุการณ์บ้านเมืองแบบนี้
ก้มหน้า ก้มตาทำมาหากินตั้งแต่เช้ายันค่ำ
บอกตรง ๆว่ายังไม่พอกินเลย ....

แล้วใครหน้าไหนมันอยากแหกกฎหาเรื่องคนอื่น
และเมื่อคนคนนั้นมันคิดแหกกฎหล่ะก็ มันทนไม่ได้สุดสุดแล้วเช่นกัน

จบข่าว ...
โดย: บางทีอนาคตมันก็ไม่มีให้เลือก...เช่นกัน [2 ม.ค. 52 13:18] ( IP A:117.47.122.208 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   นพ.สุพรรณกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า ผู้ เสียหาย ญาติ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องเงินเป็นหลัก แต่ต้องการเพียงคำชี้แจงเหตุผลของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากทางแพทย์เจ้าของไข้ การแสดงความเสียใจ หรือคำขอโทษอย่างจริงใจจากแพทย์เท่านั้น รวมถึงให้แพทย์งานศพเพื่อเป็นการให้เกียรติกับคนไข้

ท่านเข้าใจดี แล้วท่านคิดว่ามีวิธีไหนที่จะให้ผู้บริหารของโรงพยาบาลหรือว่าแพทย์ที่ทำให้ผู้เสียหายคิดแบบท่านได้บ้าง ?

ถ้าทุกคนคิดได้แบบท่านรับรองว่า ไม่มีการฟ้องร้องถึงศาลแน่นอน
ที่มันฟ้องกันอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะโดนท้าทั้งนั้นส่วนมาก ผู้เสียหายส่วนมากก็เลยจัดให้เขาไปสักที จะได้ไม่มาว่าเราได้ว่าไม่สนองเจตนารมย์ท่านทั้งหลาย
โดย: GN+ [4 ม.ค. 52 11:11] ( IP A:114.128.12.205 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   คุณหมอสุพรรณครับ ข้อความที่ผมเอามาแปะทวนซ้ำข้างล่างนี้

"ศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข" กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นผู้ดูแลการเจรจาหรือที่เรียกว่า "การไกล่เกลี่ย" ระหว่างแพทย์กับคนไข้ ซึ่งจะมีนักไกล่เกลี่ยที่มีประสบการณ์นับพันคน เป็นคนกลางช่วยเจรจาและเยียวยาความเสียหายเบื้องต้นให้กับคนไข้ "

แน่ใจหรือครับว่า นักไกล่เกลี่ยนับพันนั้นน่ะ มีประสบการณ์+มีความเป็นธรรม

เอางี้นะ ผมมีคำถามแค่ 2 ข้อสำหรับนักไกล่เกลี่ย

ข้อแรก บรรดานักไกล่เกลี่ยของท่านน่ะ พวกเขากินเงินเดือนใคร??

ข้อสอง พวกเขาเหล่านั้น มีบ้างไหมที่เคยเป็นคนไข้ผู้เสียหายทางการแพทย์?????

พวกเราชาวเครือข่ายฯ ลองตรองดูสักนิด หากคนไกล่เกลี่ย กินเงินเดือนจากฝ่ายที่เป็นคู่กรณีกับเรา แล้วเราจะได้ความเป็นธรรมไหม?
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [6 ม.ค. 52 16:02] ( IP A:58.8.111.110 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ไม่ต้องไปไกล่เกลี่ยกับมันให้เหนื่อยสู้เป็นสู้ ฟ้องกลับได้ให้รีบฟ้องกลับ
โดย: คนเก่า [7 ม.ค. 52 14:02] ( IP A:125.26.69.239 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   คห. ที่ 6 นี่ แรงจริงๆ

มาแนวเดียวกันกับนายกฯ+เลขาฯ แพทยสภา+ ผ.อ. กองประกอบฯ+ ปลัด ส.ธ. เลย คือยุให้ฟ้อง ยุให้โกหก/กลับคำให้การ อย่างกรณีที่ร่อนพิบูลย์ฯ พอศาลตัดสินเอาหมอติดคุกไม่รอลงอาญา ผล

พวกบ่างช่างยุช่างแยงตะแคงรั่วนี่ หนีกระเจิงลอยลำ

ตัวหมอที่อยู่ในกรณีฟ้องร้องที่หลงเชื่อคำยุ ก็เลยซวยเองรับโทษจำคุกไป

กรณีนี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของ หมอแก่ๆบัดซบ หลอกใช้หมอด้วยกันเป็นเหยื่อ เพื่อป้ายสีใส่ไข่ให้ฝ่ายคนไข้ กระพือความขัดแย้งทางมวลชนออกไปมากๆ

เมื่อไหร่? วงการแพทย์จะลุกกันขึ้นมาช่วยกันขจัดเรื่องโสโครกแบบนี้เสียทีนะ เฮ้อ
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [8 ม.ค. 52 13:09] ( IP A:58.8.104.228 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   คห.7
พวกบ่างช่างยุ ???
โดย: หมายถึงเครือข่ายแถวๆ นี้หรือเปล่า [8 ม.ค. 52 16:18] ( IP A:203.118.92.202 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ถ้ายุจริง
จะไม่มีคดีแค่นี้หรอก
แล้วพวกคุณก็คงเหนื่อยกว่านี้หลายเท่า

สงสัยต้องยุให้รำตำให้รั่วให้หนักขึ้นดีมั้ย
จะได้ไม่มีเวลาไปแกล้งหมอเทพ

ว่างกันมากนัก
โดย: แพทยสภา...เอ๋ย [9 ม.ค. 52 23:27] ( IP A:58.9.206.92 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   คดีที่ร่อนพิบูลย์ ศาลท่านก็เกินไป เรื่องแบบนี้ เขาทำกันมานานแล้ว คือ block หลัง เพื่อผ่าใส้ติ่ง ทำกันมานาน ราวๆ 30-40 ปี ไม่เคยมีปัญหา โดยไม่ต้องมีวิสัญญีแพทย์ ซึ่งทั่วประเทศ มีแค่ร้อยกว่าคน มีเพียงราวไม่ถึง 10 % ของที่ต้องการทั้งหมด

ผลพวงที่ตามมา คือ รพช.ไม่มีใครผ่าใส้ติ่งกันเลย ส่งต่อหมด รพท.รพศ.วิสัญญีแพทย์ไม่ดมยาให้ก็ไม่ผ่า คนไข้ก็ปล่อยตายไป ไม่ต้องไปสน อ้าว ก็หมอทุกคนก็กลัวติดคุกไม่ใช่เหรอ ถ้าผ่าแล้วรอด จะได้อะไร ถ้าผ่าแล้วตายสิ ติดคุก แล้วจะผ่าทำไม กรรมตกอยู่กับใคร ไม่ต้องบอกก็รู้

ทำไมไม่รีบๆ ผลิตวิสัญญีแพทย์ รีบผลิตจะตาย แต่จนแล้วจนรอด ก็ไม่มีใครมาเรียน ผลิตไปอีก 50-100 ปี ก็ยังไม่พอใช้
แล้วช่วงนี้จะทำอย่างไร สรุปก็คือไม่ผ่า ปล่อยตาย จะโทษใครได้ โทษศาลนั่นแหละ ดูมันจะโหดร้ายไปหน่อย แต่ก็ทำไงได้

ไกล่เกลี่ย จึงเป็นทางออกทางหนึ่งในยุคที่อะไรๆ ก็ยังไม่พร้อมเช่นนี้ ไม่รู้จะทำอย่างไรแล้ว
โดย: สมชาย [7 ก.พ. 52 22:24] ( IP A:125.25.10.32 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   1.ยากสอบถามว่ากรณีแพทย์รักษาผู้ป่วยซึ่งเป็นเด็กอายุ 8 ขวบเสียชีวิต
1.1 เด็กมาหาแพทย์ๆวินิฉัยว่าเป็นไขเลือดออกรอดูอาการ 3 วันเด็กอาการหนักนำเข้าห้อง ไอซียูประมาณ 5 วันเด็กเสียเสียชีวีต
คำถาม 1. ยากถามว่าในกรณีอย่างนี้ผู้เสียหายจะเรียกร้องจากใครได้บาง
โดย: pol_kamalpob@hotmail.com [4 ส.ค. 52 12:44] ( IP A:125.25.82.125 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน