consumer.pantown.com
Thai Iatrogenic Network รวมกระทู้เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ <<
กลับไปหน้าแรก
ฟ้องร้องแพทย์ ความยุติธรรมแถ่ใครฤา
วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11280 มติชนรายวัน
ฟ้องร้องแพทย์ ความยุติธรรมแก่ใคร ฤๅHuh
โดย "ดุจเดือน"
https://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act02270152&am
p;sectionid=0130&day=2009-01-27
กฎหมายได้เกิดขึ้นหรือถูกเขียนขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาในสังคมให้เกิดความยุติธร รม
ความ ยุติธรรมที่กล่าวถึงนี้เป็นความยุติธรรมตามกาละและเทศะ เพราะกฎหมายที่มีความยุติธรรมในยุคหนึ่ง อาจไม่เหมาะสมไม่ยุติธรรมในอีกยุคหนึ่ง เมื่อสถานการณ์ สภาพแวดล้อม เงื่อนไขทางสังคมเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคมได้แปรเปลี่ยนไป
ใน ความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วไป คำว่ายุติธรรมตามกฎหมาย หมายถึงการให้ความยุติธรรมแก่คู่กรณีแต่กฎหมายบางเรื่องก็เป็นการจัดระเบียบ สังคมหรืออำนวยความยุติธรรมแก่สมาชิกในสังคม เป็นการทั่วไปมิใช่เพื่อเพียงการให้ความยุติธรรมแก่คู่กรณีเท่านั้น
ลอร์ด เดนนิ่ง (Lord Denning) ผู้พิพากษาผู้จุดความคิดทางกฎหมายหลายเรื่องของอังกฤษได้กล่าวไว้ในหนังสือ What Next in the Law(1982) ว่า กฎหมายอังกฤษในเรื่องความเสียหายต่อร่างกาย (personal injuries) ล้าสมัย ไม่เหมาะสมในสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะเป็นกฎหมายที่ก่อตัวขึ้นในยุคของการขนส่งโดยม้าและรถไฟ จึงไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เป็นการขนส่งโดยทางรถยนต์ ซึ่งมีผลให้เกิดความตายและความพิการ ผู้บาดเจ็บไม่อาจพิสูจน์ถึงความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงควรนำหลักชดเชยความเสียหายผู้บาดเจ็บ ซึ่งแม้นไม่สามารถพิสูจน์ถึงความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่ได้ หลักนี้เรียกว่าหลักความรับผิดแม้ไม้ผิด (non-fault llability)
เมื่อ อ่านความเห็นของลอร์ดเดนนิ่ง อดหวนคิดไม่ได้ว่า กฎหมายอาญาเรื่องความรับผิดต่อการกระทำที่ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยเจตนา หรือโดยประมาท เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับความรับผิดทางการแพทย์ในสถานการณ์ปัจจุบัจของไทยหรือ ไม่
หลักความรับผิดแม้ไม่ผิด (non-fault liability) ที่นำมาใช้เยียวยาความเสียหายทางแพ่งนั้น มิได้เป็นหลักประกันว่าแพทย์ไม่ต้องรับผิดทางอาญาหรือทางแพ่งแต่อย่างใด
ผู้ ป่วยหรือญาติผู้ป่วยที่ได้รับการเยียวยาความเสียหายมาบ้างตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ยังสามารถใช้สิทธิทางกฎหมายอื่นได้อยู่
การรักษาผู้ป่วยแล้วไม่ประสบ ผลสำเร็จตามที่แพทย์ ผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยคาดหวังมีสาเหตุหลายประการ อาทิ การดำเนินของโรคเข้าสู่ภาวะวิกฤต ผู้ป่วยถึงแก่ความตายอาจเกิดจากธรรมชาติของโรค เหตุสุดวิสัยทางการแพทย์ ภาวะแทรกซ้อนอาการอันไม่พึงประสงค์ การแพ้ยาอย่างรุนแรงซึ่งแพทย์ไม่รู้มาก่อนหรือเกิดปฏิกิริยาต่อโรค/ต่อยาใน ลักษณะที่มีอัตราเกิดขึ้นน้อยมาก (rare case) ซึ่งไม่ปรากฏหรือปรากฏน้อยมากในตำราหรือวารสารทางการแพทย์ แพทย์ที่มีความรู้ปฏิกิริยาต่อโรค/ต่อยาในลักษณะ rare case จึงเป็นแพทย์ที่มีประสบการณ์การรักษาที่ได้สั่งสมความรู้จากประสบการณ์
การ รักษาโรคในมนุษย์มีความแตกต่างเนื่องจากปัจจัยอื่นๆ มาก ในบางกรณีการแพทย์ก็อธิบายไม่ได้ โดยเฉพาะปัจจัยทางพันธุกรรมที่เป็นเหตุให้ผลการรักษา ไม่เป็นดังคาด
ผล การรักษาพยาบาลมิได้ขึ้นจากตัวบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น ยังต้องขึ้นกับตัวบุคคลผู้ป่วย พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ การบริโภคอาหารให้สอดคล้องกับสภาวะของร่างกาย ความสม่ำเสมอในการรับประทานยา การออกกำลังกายหรือการทำกายภาพบำบัดและการปฏิบัติตามคำแนะนำต่างๆ ที่ผู้ป่วยหรือญาติผู้ดูแลปฏิบัติมีผลต่อความสำเร็จในการรักษาพยาบาล
พญ. เชิดชู อริยศรีวัฒนา ได้อธิบายไว้ในบทความหนึ่งว่า แม้ผู้ป่วยจะป่วยด้วยโรคเดียวกัน แต่ระดับความรุนแรงของโรคก็ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับพื้นฐานสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยและความแตกต่างในโรคที่ซ่อนเร้น ภายใน (underlying diseases) ในอวัยยะต่างๆ ของผู้ป่วย ที่แพทย์อาจจะตรวจไม่พบในตอนแรกที่พบผู้ป่วย แต่อาการของผู้ป่วยมาแสดงออกในภายหลังจนสามารถตรวจพบได้หลังจากโรคที่เป็นมี อาการรุนแรงขึ้น แม้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเดียวกันและได้รับการรักษาเหมือนๆ กัน แต่ร่างกายและโรคของผู้ป่วยก็อาจตอบสนองต่อการรักษาไม่เหมือนกัน
ศ. นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา เคยกล่าวเปรียบเทียบว่า "รถยนต์เราเปลี่ยนเครื่องยนต์ให้เหมือนกันได้ แต่คนเราทำไม่ได้ คนสิบคนเป็นโรคเดียวกัน ใช้ยาเหมือนกันขนาดเท่ากัน บางคนดีขึ้น บางคนไม่ดีขึ้น บางคนหายเร็ว บางคนหายช้า บางคนแพ้ยา สิ่งมีชีวิตเอาไปเทียบกับสิ่งไม่มีชีวิตไม่ได้" การใช้หลักเกณฑ์เดียวกันตามข้อแนะนำคู่มือแนวทางต่างๆ ในการรักษาโรคก็ใช้ไม่ได้ผลเดียวกันกับคนไข้ทุกคน
ผู้ป่วยที่มีอาการ เหมือนกัน อาจมีสาเหตุมาจากโรคได้หลายโรค เช่นอาการไอเพียงอย่างเดียว ก็อาจมีสาเหตุมาจากโรคได้หลายโรค เช่น หลอดลมอักเสบ วัณโรค ถุงลมโป่งพอง แพ้อากาศ หอบหืดไอกรน มะเร็งปอด การตรวจรักษาผู้ป่วยของแพทย์จึงเป็นกระบวนการแห่ง "การคาดคะแน" ถึงความจะเป็นไปได้โดยอาศัยหลักการทางการแพทย์และสถิติของโรคทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ในการวินิจฉัยแยกโรคว่า ผู้ป่วยน่าจะมีอาการเหมือนกับเป็นโรคอะไรมากที่สุด แล้วตรวจร่างกายผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยอาการไม่มากก็จะต้อง "ลอง" รักษาตามความรู้ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ที่ได้เล่าเรียนหรือมีประสบการณ์ใน การรักษามาก่อน ต่อจากนั้นก็ติดตามผลและสังเกตอาการว่า การคาดคะเนในการวินิจฉัยและการรักษาโรคนั้นถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น แต่ถ้าผู้ป่วยอาหารไม่ดีขึ้นก็อาจจะเกิดจากการที่ผู้ป่วยไม่ตอบ สนองต่อยาที่ให้ไปแล้ว แพทย์ก็อาจจะต้องพิจารณาเปลี่ยนยาหรือเปลี่ยนวิธีการรักษาใหม่
ร่าง กายมนุษย์ไม่เหมือนเครื่องจักรที่ถอดออกมาดูได้ ความรู้ทางการแพทย์ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลจากเป็นผลจากการศึกษาผู้ป่วยรุ่นก่อน เก็บเป็นข้อมูลและสถิติ การตรวจรักษาผู้ป่วยเป็นจึงการ "คาดคะเนล่วงหน้า" โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์มาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยแต่ละคนโดย การใช้ดุลพินิจของแพทย์ที่ทำการรักษา ซึ่งขึ้นอยู่กับความรู้ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ
แพทย์จึงไม่สามารถแน่ใจ 100% ว่าการวินิจฉัยโรคของตนจะถูกต้อง 100% การรักษาผู้ป่วยตั้งอยู่บนพื้นฐานการใช้ความรู้ ประสบการณ์และดุจพินิจที่ดีที่สุดของแพทย์ผู้รักษา
แพทย์เองก็ ประสงค์รักษาผู้ป่วยให้ประสบผลสำเร็จอันเป็นความภาคภูมิใจในการทำงานวิชาชีพ แต่แพทย์ก็ไม่สามารถเลือกผู้ป่วยที่รักษาให้ประสบความสำเร็จสูงสุดได้ใน หลายๆ กรณีหลาย โรคสิ่งที่แพทย์รักษาได้ คือ "การบรรเทาทุกข์" ให้กับผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษา
ในบางกรณีแม้แต่ในโรงเรียนแพทย์ ซึ่งมีแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์ที่ครบครัน ยังพบว่าเมื่อรักษาจนวาระสุดท้ายของผู้ป่วย คณะแพทย์ผู้รักษาซึ่งประกอบด้วยอาจารย์แพทย์ แพทย์ที่ศึกษาเป็นแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา (resident) ซึ่งได้มีการปรึกษาร่วมกันรักษา (consult) ระหว่างสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับโรคหลายสาขา ผ่าศพพิสูจน์แล้วยังไม่รู้สาเหตุการตายว่าเกิดจากสาเหตุใด ดังที่นักเรียนแพทย์ได้เรียนใน dead case conference
ในกรณีที่การรักษาผู้ป่วยไม่ประสบผลสำเร็จและนำไปสู่การสูญเสียชีวิตหรือพิก าร การสูญเสียชีวิตของผู้ป่วยย่อมนำความเสียใจมาสู่ทุกคน
แพทย์ผู้รักษาเองก็มีความเสียใจที่การรักษาพยาบาลซึ่งเป็นงานวิชาชีพของตนต่ อผู้ป่วยรายดังกล่าวไม่ประสบผลสำเร็จ
แต่ ภาวะที่แพทย์พบผู้ป่วยที่เสียชีวิตเป็นประจำในระหว่างการรักษามาตั้งแต่สมัย เป็นนักเรียนแทพย์ได้กลายเป็นสิ่งที่พบเห็นเป็นปกติสามัญในการประกอบ วิชาชีพ ทั้งยังมีผู้ป่วยอีกหลายรายที่รอการรักษาอยู่ แพทย์อยู่ในภาวะที่ต้องรีบเร่งจึงไม่ได้แสดงการมีส่วนร่วมเห็นอกเห็นใจญาติ ผู้ป่วยที่เสียชีวิต หรือใช้เวลาสื่อสารกับญาติผู้ป่วยที่เสียชีวิตเท่าที่ควร
ส่วนของ ญาติผู้ป่วยที่เสียชีวิตก็อาจเข้าใจผิดว่าแพทย์ไม่นำพาต่อการตายของผู้ป่วย แพทย์ละเลยหรือประมาทเลินเล่อในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย และก่อให้เกิดการฟ้องร้องคดีขึ้น
แพทย์ผู้รักษาพยาบาลผู้ป่วยตามความ รู้ความสามารถทางการแพทย์ที่ได้ศึกษาร่ำเรียนมาภายใต้บริบทและศักยภาพของ สถานพยาบาลที่แพทย์อยู่ ด้วยข้อจำกัดของเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ในการรักษาพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ข้อจำกัดของจำนวนแพทย์ที่มีเพียง 2-3 คนต่อหนึ่งโรงพยาบาลที่ต้องดูแลคนไข้นอกที่มารับการรักษา (OPD) ในรายวันประมาณ 200-300 คนต่อวัน ยังต้องดูแลผู้ป่วยในที่นอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล (IPD) ซึ่งแพทย์ต้องไปตรวจเยี่ยมสังเกตอาการ (round) ทุกวันเพื่อเก็บข้อมูลการดำเนินโรคเพื่อนำไปประเมินว่า และคาดคะเนว่า การรักษาด้วยวิธีใดจะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อคนไข้มากที่สุด และยังต้องอยู่เวรรักษาพยาบาลประจำห้องฉุกเฉิน (ER) ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุหรือมีการดำเนินโรคที่รุนแรงขึ้น เพื่อรีบรักษาหรือกู้ชีพโดยแพทย์เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นแพทย์ใช้ทุน ซึ่งเป็นแพทย์ที่ประสบการณ์ในการรักษาพยาบาลต่ำกว่า 5 ปี ยังต้องเก็บเกี่ยวสั่งสมประสบการณ์ในการรักษาพยาบาล ในหลายกรณีที่เกิดเป็นข่าวเป็นกรณี rare case อาทิ กรณีแพ้ยาอย่างรุนแรง หรืออาการของโรคแสดงออกในภายหลังเมื่อมีอาการรุนแรง
นอ.(พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ ได้ชี้ให้เห็นในบทความตอนหนึ่งว่า แพทย์ผู้ให้บริการในภาครัฐในโรงพยาบาลระดับอำเภอบางแห่งไม่มีแพทย์หรือมี แพทย์คนเดียว ที่ต้องดูแลผู้ป่วยทั้งในและนอกในโรงพยาบาลระดับคนไข้ 30 เตียง แพทย์ต้องทำงาน 24 ชั่วโมงตลอด 7 วัน โดยในโรงพยาบาลระดับอำเภอทั้ง 709 แห่ง (ระดับ 2.1-2.2) มี 419 แห่ง ที่ขาดแคลนแพทย์ (58%) และมี 185 แห่ง ขาดแพทย์ระดับรุนแรง มีแพทย์ประจำการในอัตราที่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของอัตราบรรจุ
ตัวเลขนี้ยังไม่นับรวมการขาดแคลนพยาบาลและวิชาชีพอื่น สภาพคนไข้ล้นโรงพยาบาลจึงเป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในหลายๆ จังหวัด
การ ฟ้องทั้งทางอาญาและทางแพ่งที่เพิ่มขึ้นก่อให้แพทย์รักษาคนไข้แบบเชิงป้องกัน (defensive medicine) คือ การหาผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัยร่วมหาโรคอย่างมากมาย เพื่อให้มีแพทย์ร่วมเป็นพยานและใช้กลไกการวินิจฉัยซับซ้อน หรือใช้ระบบส่งต่อให้โรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าไปรักษาต่อ เพราะแพทย์ไม่อาจแน่ใจในสุขภาพพื้นฐานของผู้ป่วยแต่ละคนที่มารับการรักษา หากมองอย่างผิวเผินดูจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยในการได้รับการรักษาพยาบาลที่ ได้รับการตรวจรักษาที่ละเอียดถี่ถ้วนขึ้น
แต่เมื่อพิจารณาในมุมกลับ การรักษาแบบเชิงป้องกันและการส่งต่อ จะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยในภาพรวมของประเทศ ประชาชนจะเสียหายมากขึ้นจากการที่เสียช่วงเวลาดีที่สุดในการรักษา (golden period) จากการรอขั้นตอนมากขึ้นถูกตรวจมากขึ้นเพื่อป้องกันคดี แต่ผลการรักษาอาจกลับแย่ลง หรือแพทย์ต้นทางอันเป็นสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชน (โรงพยาบาลอำเภอขนาด 10-30-60-90 เตียง) เป็นแพทย์ทั่วไปยังไม่ได้ศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะทาง หรือเป็นโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทาง แต่มีเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์และบุคลากรยังไม่พร้อม แพทย์ก็จะปฏิเสธที่จะรักษาผ่าตัดไส้ติ่งหรือทำคลอดด้วยเหตุที่ตนมิใช่ ศัลยแพทย์หรือสูติแพทย์หรือมีบุคลากรหรือมีอุปกรณ์ไม่พร้อม ด้วยเกรงว่าตนจะถูกฟ้องร้อง หากการรักษาพยาบาลไม่ประสบผลสำเร็จ จึงส่งผู้ป่วยต่อไปสถานพยาบาลระดับทุติยภูมิ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลทั่วไป (โรงพยาบาลอำเภอใหญ่ๆ หรือโรงพยาบาลจังหวัดขนาด 120-150-250 เตียง) หรือสถานพยาบาลระดับคติยภูมิซึ่งเป็นโรงพยาบาลศูนย์ (โรงพยาบาลจังหวัดหรือโรงพยาบาลที่ต้องรับการส่งต่อขนาด 300-500-700 เตียง หรือระดับโรงเรียนแพทย์ขนาด 1,000 เตียงขึ้นไป) ที่มีความพร้อมกว่า
ใน ขณะที่แต่เดิมแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาแพทย์ทุกคนสามารถผ่าตัดไส้ติ่งหรือทำ คลอดได้ แต่ด้วยความเกรงกลัวว่าในกรณีที่การรักษาไม่ประสบความสำเร็จในการรักษา ตนอาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้จึงลดความเสี่ยงลงเพราะมิใช่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทาง
การส่งต่อผู้เชี่ยวชาญจะเกิดขึ้นแบบไม่จำเป็น เพราะแพทย์คุณวุฒิน้อยและประสบการณ์น้อยหรืออยู่ในสถานพยาบาลที่มีศักยภาพ ไม่เพียงพอจะไม่กล้ารับความเสี่ยง ระบบการส่งต่อจะก่อให้เกิดการรักษาที่ล่าช้ากว่าเดิมจากกลไกการเดินทาง การส่งต่อ ความคับคั่งในระบบผู้เชี่ยวชาญที่ผู้ป่วยต้องรอคิวในการรักษายาวขึ้น
ผู้ป่วยอาจจะเกิดความเสียหายและเสียช่วงเวลาดีที่สุดในการรักษามากขึ้น
ใน ขณะที่ยังไม่มีกฎหมายเรื่องความรับผิดทางการแพทย์ใช้บังคับเป็นการเฉพาะ กฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับการพิจารณาว่าแพทย์จะต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ คือ ประมวลกฎหมายอาญา โดยพิจารณาว่าการรักษาพยาบาลของแพทย์นั้น เป็นการกระทำโดยเจตนาหรือประมาทหรือไม่
การพิจารณาความรับผิดทางอาญา จึงควรจะพิจารณาจากสภาพแวดล้อมของสถานพยาบาลภายในบริบทที่รัฐเป็นผู้กำหนด มาตรฐานขั้นต่ำในการรักษา (ซึ่งไม่อาจจะนำมาตรฐานของโรงเรียนแพทย์เป็นมาตรฐานของการรักษาพยาบาลในสถาน พยาบาลทั่วไป เพราะมีความแตกต่างในเรื่องสาขาความเชี่ยวชาญของแพทย์และเครื่องมืออุปกรณ์ ต่างๆ) ระยะเวลา ความจำเป็นเร่งด่วนในการรักษาชีวิตผู้ป่วยในช่วงเวลาได้ที่สุดในการรักษา (golden period) ตามหลักวิชาการ ประสบการณ์และระยะเวลาในการปฏิบัติวิชาชีพของแพทย์
หากการฟ้องร้อง แพทย์อันเนื่องมาจากการรักษาพยาบาลผู้ป่วยแล้วไม่ประสบผลสำเร็จในการรักษา พยาบาล โดยแพทย์ผู้รักษาไม่ได้ปฏิบัติภายในกรอบและเงื่อนไขที่วิชาชีพกำหนดไว้ ละเลยหรือประมาทในการรักษาพยาบาล เมื่อพิจารณาประกอบกับเงื่อนไขและปัจจัยต่างๆ ดังที่ข้างต้นแล้ว หากแพทย์ผิดหวัง แพทย์ก็สมควรถูกลงโทษตามกฎหมาย
หากแพทย์ได้รักษาโดย ตั้งอยู่บนพื้นฐานการประกอบวิชาชีพแล้วตามหลักวิชาการโดยสุจริตแล้ว ภายใต้และสภาวะเงื่อนที่รัฐเป็นผู้กำหนด การรักษาเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยแล้วแต่ไม่ประสบผลสำเร็จตามความคาดหวังของ ญาติ และมีการฟ้องร้องที่เพิ่มขึ้นอยู่ต่อไป โดยไม่ได้พิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ตามสภาวะและเงื่อนไขของโรงพยาบาล และสภาวะการดำเนินโรคหรือความเร่งด่วนในการรักษาพยาบาล แพทย์ก็เป็นปุถุชนในสังคมที่ต้องการความเป็นอยู่ที่สบายใจทั้งตนเองและครอบ ครัว แพทย์ย่อมต้องแสวงหาที่อยู่ที่ทำงานที่มีความพร้อมทั้งในเรื่อง ยา อุปกรณ์การรักษา บุคลากรทางการแพทย์ ความมั่นคงปลอดภัยในการทำงาน ความเสี่ยงในการถูกฟ้องร้องที่ต่ำกว่าเป็นธรรมดา
เมื่อถึงเวลานั้น การขาดแคลนแพทย์ที่ชนบทห่างไกลยิ่งมากขึ้น ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ก็คือ ประชาชนในชนบท ด้วยปัจจัยสถานพยาบาลขนาดเล็กที่ไม่มีความพร้อมดังเช่นสถานพยาบาลในเมือง ใหญ่ ระยะทางที่ห่างไกลในการนำผู้ป่วยส่งเข้ามายังเมืองใหญ่ หากผู้ป่วยเกิดเจ็บป่วยในเวลาดึกดื่นค่ำคืนที่ไม่อาจหารถนำส่งผู้ป่วยมายัง โรงพยาบาลได้ หรือเมื่อส่งต่อมาถึงโรงพยาบาลขนาดใหญ่แล้วแต่ไม่มีห้องหรือไม่มีแพทย์เพียง พอ เพราะผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อมีจำนวนล้นหลามเกินกำลังของแพทย์ที่จะรักษาได้ทัน การ
การกำหนดความรับผิดชอบทางอาญาในทางการแพทย์จึงต้องสร้างสมดุล ระหว่างการให้ความยุติธรรมแก่คู่กรณี และการให้ความยุติธรรมแก่บุคคลในสังคม
หมาย เหตุ ข้อมูลบางส่วนที่เรียบเรียงบทความนี้มาจาก "บทวิเคราะห์ ผลกระทบ พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดี ผู้บริโภค พ.ศ.2551 กับวิชาชีพสุขภาพ" โดย นอ.(พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ และ "ประเทศชาติและประชาชนเสียอะไรถ้าใช้กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคกับการ บริการทางการแพทย์" โดย พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
หน้า 6
โดย: พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา [4 มิ.ย. 52 14:20] ( IP A:58.8.147.21 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
ผมขอตอบรวบยอดเลยว่า
ฟ้องร้องแพทย์ภาครัฐ กฎหมายไม่ยอมให้ฟ้องครับ ให้ฟ้องหน่วยงานต้นสังกัด ยกเว้นฟ้องคดีอาญาหากพบว่ามีเจตนาไม่สุดจริตหรือเป็ความประมาทเลินเล่อ ขั้นร้ายแรง
แต่คนตัดสินว่าประมาทเลินเล่อหรือไม่ แต่ก่อนคือแพทยสภา ซึ่งคุณหมอเชิดชูเองก็รู้และเคยเป็นกรรมการเองอยู่ด้วย หลายสมัย
แต่เดี๋ยวนี้ ปมไม่แน่ใจว่า ศาลจะยอมรับความเห็นของแพทยสภาเสมอไปหรือไม่ เพราะ หน่วยงานนี้ไม่น่าเชื่อถือมานานแล้ว แม้ว่าจะทุจริตทำผิดกฎหมาย แต่ศาลฎีกาก็มีคำพิพากษามาแล้วว่า ประชาชนฟ้องแพทยสภาไม่ได้ แม้จะมีการทุจริตช่วยเหลือแพทย์ด้วยกัน เพราะไม่ใช่ผู้เสียหาย
ผมเดาว่า ที่คุณหมอเชิดชูออกมาเรียกร้องนี้ คงหมายถึงจะให้ป้องหมอภาคเอกชนเป็นหลัก ที่กลัวเวลาทำงานพลาด หรือ หาเงินเพลินจนขาดคุณธรรมและสำนึกในหน้าที่/จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพแล้ว จะถูกเล่นงานกลับมากกว่าครับ คงกลัวกันมาก เห็นปั่นกระแสนี้มาแรมปีแล้ว และก็ประสบความสำเร็จขู่หมอให้หวาดกลัวกันได้เป็นวงกว้างมากครับ ผลงานชิ้นโบว์ดำแนวนี้ ก็จากกระแส "คดีร่อนพิบูลย์" ไงครับ!!!
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [4 มิ.ย. 52 14:56] ( IP A:58.8.98.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
ป๋มก็ว่างั้นครับ แพทยสภา ขี้จุ๊เบ๋เบ๊
ป๋มไม่เจื่อแล้ว
ป๋มต้องหาเงินฟ้องหมอ เพราแพทสภาไม่เคยเห็นใจและให้ความเป็นธรรมกับป๋ม
แถมพูดเข้าข้างหมอนิสัยห่วย ๆ ด้วยครับ
ไม่รู้จะมีหน่วยงานแพทสภามาทำไมครับป๋มว่าเปลืองงบประมาณภาษีพวกป๋มมาก ๆ ครับ
ป๋มไม่เจื่ออีกแล้วครับ
โดย: จีเอ็น [4 มิ.ย. 52 20:06] ( IP A:61.19.65.102 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
ชอบพูดด้านเดียว
หากหมอเป็นอภิสิทธิ์ชน
งั้นก็ยกประเทศให้หมอไปเลย
อาชีพอื่นไม่เห็นเขาโอดครวญแบบนี้
โดย: พูดด้านเดียว [4 มิ.ย. 52 21:37] ( IP A:58.9.221.251 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
อ้อ คุณดุจเดือน ของมติชนครับ
ถ้าคุณคิดว่า กำลังเข้าข้างเรื่องที่ถูกต้อง
หากคุณเป็นสื่อสารมวลชนที่มีจรรยาบรรณบริสุทธิ์จริงๆและตั้งใจรักษาความเป็นกลางของสื่อ "ที่ต้องเสนอทั้งข่าวจริงและความเห็นจากทั้งสองฟากของการขัดกันแห่งผลประโยชน์"
ก็ขอเชิญมาเถียงกันในที่นี้ได้เลยครับ หรือถ้าจะแน่กว่านั้น เปิดพื้นที่ในคอลัมภ์ของคุณ ไม่ต้องมาก เอาแค่ ๑ ใน ๔ ของที่คุณใช้อยู่ในแต่ละครั้งที่พาดพิงเรื่องวงการแพทย์ ให้ผมได้แสดงข้อมูล/ความเห็นของผมหรือใครๆในนี้ก็ได้ ถ้าทำได้ ผมก็จะนับถือว่าคุณเป็นนักสื่อสารมวลชนมืออาชีพบริสุทธิ์
มิฉะนั้น ผมจะถือว่า "คุณเป็นเพียงม้าใช้ที่มีคนขี่ตัวหนึ่ง" เท่านั้นจริงๆ
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [5 มิ.ย. 52 8:15] ( IP A:58.8.103.50 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
พอสื่อเข้าข้าง ก็บอก คนชั่วกลัวสื่อ พอไม่เข้าข้างก้บอกสื่อไม่มีจรรยาบัน
พอศาลให้ชนะ ก็บอกศาลมีความเป็นธรรม พอศาลให้แพ้ ก็บอก มีอำนาจมืด
โดย: ขำดีจัง [5 มิ.ย. 52 14:40] ( IP A:125.26.107.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
สื่อไม่มีจรรยาบรรณ 1 คน
ก็เหมือนหมอไม่มีจรรยาบรรณ 1 คน นั่นแหล่ะ
ไม่ต่างกัน...มันก็ 1 ใน 100 นั่นแหล่ะ
แม่ค้าไม่มีจรรยาบรรณในตลาดก็ยังมีเลย คือกันแหล่ะ ...
เพราะฉะนั้น มันมีทั้งคนดี คนเลว ในหลากหลายอาชีพ
ไม่งั้นตำรวจจะโดนจับเพราะค้ายาบ้าเหรอ ?
เข้าใจ๋หล่ะก่ะ ....
โดย: ขำอะหยังกะ [5 มิ.ย. 52 19:41] ( IP A:61.19.65.238 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
ความเห็น 8
คุณไม่ต้องขำใคร ควรขำตัวเองที่ไม่มีข้อมูลเพียงพอแล้วขำผู้อื่น คุณรู้ไส้รู้พุงหรือด้านมืดของวงการแพทย์น้อยไป มันเล่นสกปรกกันทุกรูปแบบก็แล้วกัน เพื่อผลประโยชน์และให้ภาพข่าวออกมาดูดี ยิ่งการล็อบบี้สื่อมันทำกันแบบไม่อายใครก็แล้วกัน
โดย: คนหน้าด้านมันมีเยอะ [7 มิ.ย. 52 6:56] ( IP A:58.9.191.192 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
นี่คุณ ค.ห. ที่ 8
ผมอยากเจอคนแบบคุณจริงๆ ซึ่งๆหน้าซะทีดีไหม??
คุณยกมาซักหนึ่งกรณีซิ ตามเงื่อนไขที่คุณว่า
แล้วผมจะสาว+ลากไส้เปิดพุงชำแหละเรื่องนั้นๆและคนที่เกี่ยวข้องออกมาให้รู้เห็นกันจะจะแจ้งแจ้งไปเลย ดีไหม??
ไอ้แบบที่มาพูดลอยๆแล้วหายไปเฉยพอโดนท้าให้พิสูจน์ขยายความที่ตัวเองพูดนนี่ เจอมาบ่อยจนเบื่อแล้วตลอดเกือบสิบปีนี่
คราวนี้หวังว่าจะเจอ "คนจริง" ซะทีน่า
อ้อ คุณดุจเดือน ของมติชนครับ ผมรอคุณอยู่นะ
ผมขอบอกเลยว่า นี่เป็นคำท้าทายต่อสำนึกและจรรยาบรรณ และเกียรติ+ศักดิ์ศรีในวิชาชีพของคุณเลย
ที่พูดอย่างนี้ เพราะผมถือว่า ยังให้โอกาสคุณพิสูจน์ว่า ยังรักเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพอยู่ ซึ่งดีกว่าหมอหลายๆคนอย่างกรรมการแพทยสภาทั้งตัวนายกฯทั้งตัวเลขาฯ ซึ่งไม่มีเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพหลงเหลืออยู่เลยด้วยซ้ำ
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [8 มิ.ย. 52 12:17] ( IP A:58.8.105.57 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน