สัมมนาระดับชาติ เรื่องคนตายจากอุบัติเหตุจราจร
|
ความคิดเห็นที่ 1 10 ข้อความจริงจากการสรุปขององค์การอนามัยโลก (WHO) เกี่ยวกับ ความปลอดภัยของคนไข้ภายใต้ บริการทางการแพทย์
จากข้อความภาษาอังกฤษปรากฏตั้งแต่เมื่อปี 2003 ที่ เว็บ
https://www.who.int/features/factfiles/patient_safety/en/index.html
ข้อ ๑ ความปลอดภัยของคนไข้เป็นปัญหาวิกฤตระดับโลกของวงการสาธารณสุข และในปี ค.ศ. 2002 ในที่ประชุมใหญ่สมัชชาสุขภาพแห่งโลก (World Health Assembly) โดยองค์การอนามัยโลก บรรดาประเทศสมาชิกได้รับรองญัตติในการแก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัยของคนไข้นี้
ข้อ ๒ ทุกๆ 1 ใน 10 คนของคนไข้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของประเทศที่พัฒนาแล้ว จะได้รับผลอันไม่พึงประสงค์จากการักษา มากหรือน้อย เบาบางหรือร้ายแรงแตกต่างกันไป
ข้อ ๓ สำหรับในประเทศกำลังพัฒนา คนไข้มีโอกาสสูงกว่าที่จะได้รับอันตรายจากบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาล ในบางประเทศคนไข้เสี่ยงที่จะติดเชื้ออันไม่พึงประสงค์ซึงเกี่ยวพันกับบริการทางการแพทย์สูงกว่าถึง 20 เท่าเมื่อเทียบกับในประเทศที่พัฒนาแล้ว (ข้อมูลเสริมจาก WHO ประเทศไทยเมื่อปี 2005 พบจากการสุ่มตัวอย่างจาก 2 โรงพยาบาลในกทม. พบว่า 10% ของคนไข้ที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลได้รับอันตรายจากความผิดพลาดทางการแพทย์ "ที่ป้องกันได้" และ 5% จากจำนวนนี้ "เสียชีวิต" จากสาเหตุนี้ )
ข้อ ๔ ในทุกขณะ จะมีคนประมาณ 1.4 ล้านคนได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อผ่านกิจกรรมที่สัมผัสด้วยมือในโรงพยาบาลทั่วโลก
ข้อ ๕ อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของอุปกรณ์การแพทย์ในโรงพยาบาลของประเทศกำลังพัฒนาอยู่ในสภาพที่ใช้การไม่ได้หรือใช้การได้เพียงบางส่วน ส่วนใหญ่ที่อุปกรณ์เหล่านี้ "ไม่ได้ถูกใช้" ส่วนใหญ่ของสาเหตุมาจากการขาดทักษะในการใช้หรือความไม่พร้อมของตัวอุปกรณ์เอง
ต่อ คห ถัดไป | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [17 ส.ค. 52 9:52] ( IP A:58.8.101.239 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 ข้อ ๖ ในบางประเทศ อัตราการใช้เข็มฉีดยา/เข็มเจาะเลือดซ้ำโดยไม่ได้มีการทำสเตอริไร้เซชั่นเพื่อฆ่าเชื้ออาจสูงถึง 70% และพบต่อไปว่าแต่ละปีมีคนประมาณ 1.3 ล้านคนที่เสียชีวิตจากสาเหตุตั้งต้นจาก "การติดเชื้อที่ผ่านมาในกระแสเลือด" เช่น ไวรัสตับอักเสบ B และ C และ HIV
ข้อ ๗ การทำผ่าตัดเป็นกิจกรรมทางการแพทย์ที่รบกวนวงจรสุขภาพในร่างกายคนอย่างซับซ้อนมากที่สุด มีผู้คนทั่วโลกประมาณ 100 ล้านคนที่ต้องได้รับการผ่าตัดทุกปีด้วยเหตุผลทางการแพทย์ที่แตกต่างกันไป และปัญหาที่พ่วงมากับความปลอดภัยในการทำผ่าตัดในประเทศที่พัฒนาแล้วมีถึงครึ่งหนึ่งที่ก่อผลถึงขั้นเสียชีวิตหรือความพิการ
ข้อ ๘ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยจากบริการทางการแพทย์ย่อมเห็นได้อย่างไม่มีข้อโต้แย้ง จากการศึกษาพบว่า ค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายทางคดีความตามกฎหมาย การสูญเสียรายได้และค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ในเรื่องนี้สำหรับบางประเทศอยู่ระหว่าง 6000 - 29,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ข้อ ๙ ข้อมูลเปรียบเทียบกับภาคการผลิตอื่นๆเช่น อุตสาหกรรมการบินหรือในวงการพลังงานนิวเคลียร์ซึ่งมักมีการรับรู้โดยทั่วไปว่ามีอันตรายสูงกว่า กลับพบว่าปลอดภัยมากกว่าภาคบริการทางสาธารณสุข กล่าวคือ มีโอกาสเพียง 1 ใน ล้านที่ผู้โดยสารเครื่องบินจะได้รับอันตรายจากการใช้บริการนี้ ขณะที่ มีโอกาสถึง 1 ใน 300 ที่คนไข้จะได้รับอันตรายจากการรับบริการทางการแพทย์ (แล้วโอกาสของผู้ที่ใช้การสัญจรทางถนนในเมืองไทยที่จะได้รับอันตรายจะสูงเท่าบริการทางการแพทย์ไหม????)
ข้อ ๑๐ ประสบการณ์ของตัวคนไข้เองและสุขภาพของแต่ละคนจะเป็นหัวใจของการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านความปลอดภัยของคนไข้ โครงการ World Alliance for Patient Safety ภายใต้การสนับสนุนของ WHO ร่วมกับ 40 คนของ patient champions ที่ได้รับการคัดเลือกโดย WHO ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่เคยได้รับความเสียหายจากบริการทางการแพทย์อันเนื่องมาจากการขาดมาตรการดูแลเรื่องนี้ จะช่วยสนับสนุนให้บริการทางการแพทย์มีความปลอดภัยมากขึ้นทั่วโลก (ประธานเครือข่ายฯ ได้รับเลือกเป็น ๑ ใน patient champions แต่ชื่อคนติดต่อกลับปัดไปเป็น Yupadee Sirinsuk นี่ก็น่าจะเป็นการแสดงพลังของการตุกติกจากวงการแพทย์และ WHO สาขาประเทศไทย) | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [17 ส.ค. 52 10:44] ( IP A:58.8.101.239 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 ก็กินยาต้มเอาละกัน | โดย: กี่เปอเซนต์ไม่รู้นะ [17 ส.ค. 52 21:20] ( IP A:203.154.66.94 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 ถ้า "ยาต้ม" หมายถึง สมุนไพรที่แปรรูปเป็น "ยา" และผสมผสานกันในรูป "กึ่งอาหรเสริม" โดยอาศัยภูมิปัญญาพื้นฐิ่น ล่ะก็ !!!!
ทุกวันนี้ กินตลาดการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน แบบค่อยๆเข้าไปแทนที่ ตลาดการบริการทางการแพทย์แบแก้ไขปัญหาช่วงสั้น ไปเยอะมากๆแล้ว
เหตุผลหนึ่งก็เพราะ การเติบโตของบริการทางการแพทย์เชิงพานิชย์แบบไร้มนุษยธรรม ในรูปแบบสวยหรูที่เรียกว่า "เมดิคอลฮับ" พ่วงกับความสามานของวงการแพทย์ส่วนหัวๆที่ฉ้อฉลโกหกต่อสาธารณชนที่ถือเอาประโยชน์ "เฉพาะกลุ่ม" มากกว่าความชอบธรรมสาธารณะและความถูกต้อง "ตามวิชาชีพเฉพาะ" ทำให้เกิด
เหตุผลที่สองที่ตามมา ก็คือ การขาด "ความไว้เนื้อเชื่อใจ" ของสาธารณชนที่มีต่อวงการแพทย์ "เชิงพานิชย์" และแม้กระทั่ง อาจลามไปถึง การขาดความเชื่อถือต่อ "หน่วยงานสาธารณสุข" ภาครัฐ ที่แม้แต่คนระดับรัฐมนตรี สธ. หรือ ปลัด หรือ อธิบดี "ก็ไม่พูดความจริงทั้งหมดอย่างตรงไปตรงมา"
ทั้งหมดต่างๆเหล่านี้ที่กล่าวมา สุมรวมกันเป็น "กระแสความเสื่อมศรัทธาต่อวงการแพทย์ส่วนใหญ่มาก จนทำให้ประชาชนที่ขาดแคลนบริการทางการแพทย์มากอยู่แล้ว รวมทั้งกลุ่มที่ "มีความสามารถในการจ่ายบริการทางการแพทย์ที่แพงระยับได้ ต่างล้วนหันเหไปหา ภูมิปัญญาในการเอาประโยชน์จากพืชและสมุนไพรท้องถิ่นกันอย่าง "เป็นล่ำเป็นสัน" กันแล้ว
รูปแบบหรือภาพความเป็นไปที่ผมว่ามานี้ ผมมองว่าเป็นความวิบัติของวงการแพทย์ ขณะที่ก็เป็น "การตื่นรู้" ของมหาชนที่หันมาหาการดูแลสุขภาพตนเองในแนวทาง "ป้องกันไว้ก่อน" แทนที่จะไปรอเสี่ยงเอากับการรักษาเพื่อแก้ปัญหาทีหลัง ซึ่งเสี่ยงต่อความฉ้อฉลและไร้ความรับผิดชอบและ "ความผิดพลาดทางการแพทย์ที่ป้องกันได้" ที่มีมากกว่าอุบัติเหตุบนท้องถนนเสียอีก เฮ้อ ++++++ !!!! ++++++++ | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [18 ส.ค. 52 8:07] ( IP A:58.8.100.91 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 กินอะไรก็กิน ขออย่างเดียวอย่าไปกินสเตียรอยด์ แค่กินอาหาร 5 หมู่ + ออกกำลังกาย + การทำสมาธิทำจิตใจให้บริสุทธ คือสุดยอดการป้องกันแล้ว อย่าสรรหาอาหารเสริมแพงๆเลย
อีกอย่าง ประเทศไหนใช้เข็มฉีดยาซ้ำครับ นอกฉากพวกใช้สารเสพติด ตัวเลข 10% หรือ1 ใน 300 น้อยไปป่าว ขอ แหล่งอ้างอิงหน่อย เพราะที่ผมเรียนมานี่มัน 2 ใน 3 ของผู้ป่วยห้องฉุกเฉินนะครับ 1 ใน 3 จะวินิจฉัยผิด อีก 1 ใน 3 ให้การรักษาที่ไม่เพียงพอเหมาะผม เรื่อง Vaccin หวัด 2009 กับ GPO A flu ก็มั่วแล้ว ยังจะมาเนียนอีก | โดย: คนรู้ไม่จริงและบ๊องตื้น [18 ส.ค. 52 8:41] ( IP A:113.53.102.109 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 ไปเถียงกับ WHO ไป๊ รีบๆเลย เผื่อเถียงชนะ เครดิต+ชื่อเสีย
จะเปลี่ยนจากเน่าๆ มาเป็น ดีๆมั่ง | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [18 ส.ค. 52 14:35] ( IP A:58.8.100.91 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 ไม่ได้เถียง who แต่การอ่านอะไรซักอย่างหนะ กรุณาลงลึกถึงข้อมูลหน่อย ประเทศกำลังพัฒนาที่เค้าคำนวนหนะ ประเทศอะไรบ้าง ไม่ใช่เอาค่าเฉลี่ยมาเหมารวมหมดว่าจะแทนตัวเลขของประเทศนั้นได้โดยตรง เอาของไทยประเทศเดียว มีป่าว ที่เค้ารายงานหนะ | โดย: *** อ [19 ส.ค. 52 1:13] ( IP A:203.154.66.94 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 อเมริกามีคน 219 ล้านคน มีหมอ 1 คน ต่อ ประชากร 3700 คน
ท่านโอบาม่า สารภาพเมื่อ 2 อามทิตย์ที่แล้วว่า
คนอเมริกัน ตาย จากความผิดพลาดทางการแพทย์ที่ป้องกันได้ ปีละกว่า 100,000 คน
คนไทย มีกว่า 63 ล้านคน มีหมออยู่กว่า 4 หมื่นนิดๆ
หมอ 1 ต่อคนไทย 15,000 คน ตีต่ำมากๆ
ซ.ต.พ. มีทางตายน้อยกว่า แสนคนไหม????
ถ้าหมอไทยเก่งกว่านี้ ทำได้ดีกว่าของอเมริกา
แพทยสภาเอย กรมสนับสนุนบริการทางสุขภาพเอย ส.ส.ส.เอย ส.ธ. เอย พิสูจน์มาซิครับ ???+++ | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง + ไม่ซื่อ+ไม่บื้อ [19 ส.ค. 52 14:06] ( IP A:58.8.100.91 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 4หมื่นนิดๆนี่ ได้ลบ คนที่เกษียณกับลาออกไปอยู่เอกชนหรือยังครับ ถ้านับตามเลข ว. มันจะผิดนะครับ เช่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีหมอ 1 ต่อ ปชก 25000 คน
อย่างที่บอก คนที่มาตรวจในห้องฉุกเฉิน มีโอกาสได้รับการรักษาที่ผิดพลาดถึง 2/3 เป็นตัวเลขที่อาจารย์แพทย์สอนกันมานานแล้ว (ตอนผมเป็น นศพ 7 ปีก่อน ) การมา รพ มีความเสี่ยง คุณต้องยอมรับความเสี่ยง ว่า ตอนมาเดินมา ตอนออกหามออกไป ไม่งั้นก็ไม่ต้องมาหาหมอ แค่ฉีดยาชาเฉยๆ ก็อาจถึงตายได้(มีมาแล้ว)
ตอนนี้ เค้าจะทดลอง vaccin 2009 เดือน กย นะครับ คนรู้ทัน ไปสมัครเป็นอาสาทดลองได้นะครับ ส่วนยา GPO A flu ตอนนี้มีแจกฟรีตามคลินิคที่เข้าร่วมโครงการนะครับ | โดย: คนรู้ไม่จริงและบ๊องตื้น [19 ส.ค. 52 15:05] ( IP A:125.26.112.156 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 ต้องยอมรับว่า มาตรฐานการแพทย์เราสู้อเมริกาไม่ได้ (ชาวบ้านเราก็สู้ชาวบ้านเค้าไม่ได้)
ดังนั้นตัวเลขความผิดพลาดของบ้านเราจะมากกว่าเค้าเยอะ (แต่ชาวบ้านบ้านเรารับไม่ได้ จะเอาของฟรีอย่างเดียว ไม่คิดจะจ่าย แต่ขอคุณภาพอเมริกา)
ตัวอย่างง่ายๆ เช่น Headin jury ของเมกา ต่อให้ไม่สลบก็ยังได้ CT แต่บ้านเรา mild head injury ไม่ได้ CT นอนสังเกตอาการเอา หลายต่อหลายเคส ที่ เป็นแค่ mild head injury แต่ก็มีเลือดออกในสมอง
หรือใส่ติ่ง ที่บ้านเค้าก่อนผ่า ต้อง CT ก่อน แต่บ้านเราไม่ ดังนั้นบ้านเราจะวินิจฉัยใส้ติ่งถูกต้องแค่ 70% หลายต่อหลายเคสที่คิดว่าเป็นใส่ติ่งแล้วนำไปผ่าแต่ไม่ใช่ กลายเป็น PID Ectopic twist ovarian cyst หรือ PU perforate ทำให้ต้องขยายแผลกว้างขึ้น นอน รพ นานขึ้นได้ | โดย: คนรู้ไม่จริงและบ๊องตื้น [19 ส.ค. 52 15:28] ( IP A:125.26.112.156 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 "ดังนั้นตัวเลขความผิดพลาดของบ้านเราจะมากกว่าเค้าเยอะ (แต่ชาวบ้านบ้านเรารับไม่ได้ จะเอาของฟรีอย่างเดียว ไม่คิดจะจ่าย แต่ขอคุณภาพอเมริกา)"
เอ อ้ายประโยคทำนองนี้ แนวนี้คุ้นๆนะ เคยอ่านหรือได้ยินหมอที่ไหนซักคนพูดไม่รู้ คงจะแถวๆติวานนท์นะ
ที่น่าแปลกก็ตรงที่ ผมยังไม่เคยได้ยินคนไข้คนไหน หรือ แม้แต่ผู้เสียหายและไม่ได้เสียหายในเครือข่ายฯนี้ เอ่ยซักครั้งว่า อยากได้ของฟรีอย่างเดียว ไม่คิดจะจ่าย แต่ขอคุณภาพของอเมริกา ที่เคยได้ยินคล้ายๆอย่างนี้กลับมาจากลมปากเหม็นๆของหมอคนหนึ่งที่ชื่อ "อำนาจ"
แต่เอาเถอะ อย่างน้อย ณ. ที่นี้ ก็มี "พวกหมอ" (ที่ไม่รู้ว่าเป็น "หมอ" จริงหรือเปล่า?) ยอมรับว่ามี "มีคนตายจากความผิดพลาดทางการแพทย์ที่ป้องกันได้ในเมืองไทยนี่" แล้วก็สรุปกันได้ว่า เกินแสน ซึ่งย่อมหมายความว่า มีจำนวนมากกว่าคนที่ตายจากอุบัติเหตุในท้องถนนซะอีก
ทีนี้ ผมก็ตะหงิดแล้วหล่ะว่า เอ ก็ในเมื่อคนไทยตายเยอะขนาดนี้ แล้วไอ้ที่แพทยสภาออกมาป่าวประกาศบรรดาคดี "ขี้ไม่มี หรือไม่มีมูล" เนี่ย
ทำไม "มันแทบจะไม่มี "คนตาย" เลยหล่ะ??? หายไปไหนกันหมด??? หรือตายแล้วระเหย หายสาบสูญไปได้เอง
เราตายกันปีละกว่า แสนคน แน่ๆ แต่ นายกแพทยสภา (โจร) ออกมาโวยบวายว่า หมอโดนฟ้องตั้ง 65 คดี เอ้า ให้ 650 คดีแล้วกัน เยอะหน่อย จะได้พอน่ามีมีน้ำหนักเรียกคะแนนสงสารจากมวลชนขึ้นมาอีกหน่อย
งานนี้นะ ผมต้องขอสารภาพว่า มีวาระซ่อนเร้นในการ "ขุดหลุมนี้" ขึ้นมา ก็ไม่คิดว่าจะมี "คนตกหลุมข้อมูลจริงที่จำนนด้วยเงื่อนไขแวดล้อมจากแหล่งข้อมูลที่ปฏิเสธความถูกต้องไม่ได้" ง่ายๆอย่างนี้
ต้องขอโทษท่านผู้ชมทั้งหลายที่ผ่านไปมาด้วย | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง+แกล้งบ๊องตื้น (แค่แกล้ง) [20 ส.ค. 52 8:58] ( IP A:58.8.100.91 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 แล้วก็ ที่น่าแปลกกว่านั้น
ถ้าเรามีคนตายจาก "หมอทำ" ปีละกว่า "หนึ่งแสน" คน ซึ่ง เป็นสิบเท่าของพวกที่ตายจากรถชนกันบนท้องถนน
แล้วทำไม ทำไม๊ ทำไม เราไม่เห็นได้ข่าวคราวเรื่องพวกนี้ออกมาซักแอะจากหน่วยงานอย่าง ส.ธ. อย่างแพทยสภา อย่างกองประกอบ ฯลฯ แต่ ทำไมต้องรอให้เรื่องอย่างของประธานเครือข่ายฯ เรื่องของน้องบีม เรื่องของเด็กอเมริกันที่ ร.พ. ในซอยนานา เรื่องอย่างของคุณระวิวรรณ แล้วก็อีกนับร้อยแปดเรื่อง ปูดออกมาเอง
แล้วอีกด้าน เรากลับมี โรงพยาบาลเอกชน ในเครือข่ายเมดิคอลฮับที่สวยหรู ทำเงินทำกำไรสะสมเป็นทรัพย์สินในระดับพันระดับหมื่นล้านได้จากชั่วการบริหารงานแค่ไม่ถึง 20 ปี
สรุปก็คือ คนตาย คนเจ็บ คนเสียเลือดเสียเนื้อจาก "หมอทำ" นั้นมีเยอะมาก แต่ปิดกัน ช่วยกัน เพื่อ ปกปิดเรื่องเหม็นเน่านี้โผล่ออกมากระทบการทำเงินอย่างไร้มนุษยธรรมของธุรกิจเมดิคอลฮับ แล้วก็เพื่อฉ้อฉลป้องกันการเรียกร้องค่าเสียหายจากบรรดาผู้มีเงินที่หลงเข้ามารักษาใน ร.พ. เอกชนแล้วซวยจริง โดยบิดและตอแหลเอาบรรดาสถานะหมอในภาครัฐเป็นตัวบดบังสายตาสอดส่องของสาธารณชน แล้วก็ปลุกปั่นให้หมอรุ่นเยาว์หวาดระแวงคนไข้พวกที่ถูกป้ายสีว่าขี้ฟ้อง ให้เกิดเป็นประเด็นทางสังคมขึ้นมาปิดบังความชั่วของระบบและของกลุ่มหมอกลุ่มย่อยแต่มีอิทธิพลเป็นมาเฟียของวงการแพทย์
ถูกใจไหมครับ ท่านผู้ชมทั้งหลาย????!!!!!!!!!! | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [21 ส.ค. 52 13:34] ( IP A:58.8.103.66 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 13 หมอทำ กับ complication แยกกันยากจิงๆ *** อไม่รู้จะอธิบายยังไง | โดย: คิดไม่ตก [21 ส.ค. 52 15:00] ( IP A:61.7.145.154 X: ) |  |
|