เรียนกฎหมายง่ายๆ
   วันที่ 07 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 10:21:18 น. มติชนออนไลน์


กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม

โดย ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ*


ความเป็นธรรม ไม่ใช่ “การให้เท่า ๆ กัน” แต่เป็น “การให้ในสิ่งที่เขาควรจะได้” แม้จะไม่เหมือนกับคนอื่นก็ตาม


การบัญญัติกฎหมายให้หญิงข่มขืนชายจึงเป็นการเขียนกฎหมายผิดธรรมชาติ


ถ้ากฎหมายให้ประชาชนทุก ๆ คนเสียภาษีในอัตราเดียวกันทั้งหมด จะเรียกว่ากฎหมายนั้นให้ความเสมอภาคและเป็นธรรมหรือไม่ ? หรือว่าการให้คนรวยเสียภาษีมากกว่าคนจน ไม่เป็นธรรมเพราะเลือกปฏิบัติ ?


กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม จึงหมายถึงทั้งกฎหมายที่เลือกปฏิบัติในเมื่อไม่ควรเลือกปฏิบัติ และกฎหมายที่ไม่เลือกปฏิบัติในเมื่อจำต้องเลือกปฏิบัติ


เด็ก 10 ขวบมาขอเข้าเรียน แต่ครูใหญ่อนุญาตไม่ได้ เพราะขาดสูติบัตร หากเข้าใจพื้นฐานว่า เด็ก 10 ขวบตามกฎหมายเป็นวัยที่ต้องอยู่ในโรงเรียนแล้ว สูติบัตรย่อมไม่จำเป็น จะหาสูติบัตรไปทำไม่ในเมื่อเจ้าตัวก็ยืนอยู่ตรงหน้าแล้ว


กลับเป็นการเลือกปฏิบัติระหว่างเด็กที่มีและไม่มีสูติบัตร


ทั้ง ๆ ที่ทั้งคู่ต้องอยู่ในโรงเรียนโดยไม่มีข้อยกเว้น


ส่วนกฎหมายที่ให้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง แม้จะเป็นสิทธิของมนุษย์ทุกคนที่จะเลือกผู้ปกครอง แต่สำหรับชาวต่างชาติ หรือบุคคลอายุต่ำกว่าเกณฑ์ หรือนักโทษในเรือนจำสมควรจะไม่ได้รับสิทธิอันนี้ ไม่ใช่การเลือกปฏิบัติ เพราะ


- ชาวต่างชาติไม่มีส่วนได้เสียในชาติที่ตนไปท่องเที่ยวเพียงชั่วคราว


- บุคคลอายุต่ำกว่าเกณฑ์ก็ยังไม่มีวุฒิภาวะพอในการใช้เหตุผล ยังต้องพึ่งผู้อื่นในการดำรงชีพ จึงไม่มีอิสระและความรับผิดชอบพอ


-ส่วนนักโทษก็เป็นเพราะพวกเขาไม่ได้เคารพกฎกติกาของสังคม จึงเป็นผู้สมควรถูกปฏิเสธสิทธินี้จากสังคมเช่นกัน


คนสูงหรือคนเตี้ย คนพิการในฐานะมนุษย์ควรจะได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน แต่กระนั้นคนที่ตัวสูงย่อมเหมาะที่จะเป็นตำรวจมากกว่า เพราะน่าเกรงขามกว่าตำรวจตัวเตี้ย หรือผู้พิพากษาหากขาเป๋ ตาเหล่ เป็นกะเทย ย่อมมีผลต่อความเชื่อมั่นศรัทธาของคู่ความในการพิพากษาคดีของเขาเพราะศรัทธาดังกล่าวเป็นนามธรรมพอ ๆ กับความรู้สึกเชื่อมั่นในความเป็นธรรมที่จะได้รับ


ดังนี้ การที่กฎหมายกำหนดภาระเรียกเก็บภาษีคนที่มีรายได้สูงมากกว่าคนที่มีรายได้ต่ำจึงไม่ใช่การเลือกปฏิบัติ เพราะเหตุผลของเรื่องอยู่ที่ผลประโยชน์ของผู้ที่เสียภาษีได้จากผู้ที่เรียกเก็บ จึงเป็นความยุติธรรมที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ได้ประโยชน์ตามกฎหมายมากกว่าต้องมีภาระทางภาษีมากกว่า


ในทางตรงกันข้าม รัฐมนตรีของไทยมีอำนาจมาก มีฐานะดีกว่า ใช้อำนาจอิทธิพลของตนแต่งตั้งได้ตั้งแต่ปลัดกระทรวงยันภารโรง แต่เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นในหน้าที่การงานของตน กลับไม่มีภาระต้องรับผิดชอบใด ๆ แม้แต่จะลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบก็ไม่เคยคิด จึงสวนทางกับความเป็นธรรมตามภาระหน้าที่ที่เราพูดถึง


แม้กฎหมายลักทรัพย์ หรือฆ่าคน จะห้ามทุกคนกระทำโดยไม่เลือกหน้า ก็ด้วยกฎหมายประสงค์จะกำหนดพฤติกรรมของคนในสังคมให้ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด แต่กระนั้นก็จำต้องคำนึงถึงความสามารถในการรับรู้และการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ถูกบังคับด้วย เช่น เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี (บางประเทศ 10 ปี) ผู้ป่วยทางจิตที่ไม่อาจรับรู้กฎหมาย หรือควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ กฎหมายก็ยกเว้นโทษให้ หรือคนที่ถูกยั่วยุอย่างรุนแรงจนสุดทนและกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ ย่อมควรที่จะได้รับโทษน้อยกว่าคนที่กระทำความผิดโดยคิดวางแผนมาเป็นอย่างดี


การลงโทษที่แตกต่างกันนี้ ไม่ใช่การเลือกปฏิบัติ


แต่เป็นการลงโทษให้เหมาะสมกับพฤติกรรมตามที่กฎหมายต้องการ


กฎหมายจำกัดอำนาจตำรวจ ที่พยายามร่างกันมาตลอดเวลากว่า 15 ปี ไม่มีทางนำมาบังคับใช้ได้เพราะตัวแทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่อาจตัดสินใจแทน “นาย” ได้ แม้กรรมการทุกคนจะมีมติเห็นสมควรให้จำกัดอำนาจนั้น แต่เมื่อมีการตัดสินขั้นสุดท้าย “นาย” มาประชุมเพียงครั้งเดียว ก็ล้มมติทั้งหมดได้ กรรมการข้างมากเหล่านั้นจึงไร้ค่าโดยสิ้นเชิง


หากต่อมาสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร. )ไม่กำหนดการจำกัดอำนาจดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญ(2540) แล้ว ตำรวจก็ยังคงจะมีอำนาจขังคนได้เฉย ๆ เป็นเวลา 7 วันจนตราบเท่าทุกวันนี้เป็นแน่


มาสมัยนี้(2550) สนช. ทั้งสภาก็ออกกฎหมายวิปริตให้หญิงข่มขืนกระทำชำเราชายได้ จึงปล่อยให้ผ่านเพียงเพราะความรำคาญ กลุ่มสตรีที่ดื้อรั้นไร้เหตุผลเพียงไม่กี่คนเท่านั้นเอง ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เรื่องของการเลือกปฏิบัติแม้แต่น้อย ผู้หญิงส่วนใหญ่ทั้งหลายจึงต้องทนรับกรรมที่หนักขึ้นอีก !!!


การดึงดันนอกเหตุเหนือผลจนได้นี้เรียกว่า “เผด็จการ”


หาใช่ทหารถือปืนที่ไหนไม่ !!!
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑


*นิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) และนิติศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขากฎหมายอาญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) เนติบัณฑิตไทย, LL.M. (University of Pennsylvania), ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางกฎหมายอาญา (D.E.A. de sciences criminelles), ปริญญาเอกเกียรตินิยมทางกฎหมายอาญา (l’ Université de Nancy 2); Doctorat en droit pénal, mention très honorables (l’ Université de Nancy 2), รองศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดย: ความเป็นธรรม [8 ส.ค. 52 10:45] ( IP A:58.8.17.83 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ความเป็นธรรม ไม่ใช่ “การให้เท่า ๆ กัน” แต่เป็น “การให้ในสิ่งที่เขาควรจะได้” แม้จะไม่เหมือนกับคนอื่นก็ตาม
*************
วลีนี้ หนังสือนิติปรัชญาของ ดร ปรีดี เกษมทรัพย์ ตอนท้ายๆมีเขียนไว้
โดย: วลีอมตะ [8 ส.ค. 52 10:46] ( IP A:58.8.17.83 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ขอบคุณครับ
โดย: เจ้าบ้าน [8 ส.ค. 52 23:13] ( IP A:124.121.138.143 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   "สิ่งที่เขาควรจะได้" ไม่น่าจะจำเป็นต้องเป็นสิ่งเดียวกับ "สิ่งที่เขาอยากได้"
โดย: 1222 [8 ส.ค. 52 23:54] ( IP A:58.8.83.187 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   นักกฎหมายบางคนในบ้านเมืองเรา
ใชกฎหมายแบบขาดจิตวิญญานของความยุติธรรม
ไม่เข้าใจเจตนารมย์ของกฎหมาย
โดย: ประชาชนด่าไม่ได้..ด่าเป็นละเมิด [9 ส.ค. 52 7:11] ( IP A:58.11.29.67 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   คห.4
ถูกกกกกกก!!!!!!
โดย: หมอก้อนหิน [9 ส.ค. 52 23:57] ( IP A:124.157.148.178 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน