consumer.pantown.com
Thai Iatrogenic Network รวมกระทู้เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ <<
กลับไปหน้าแรก
ฟ้องหมอ...มีกี่คดี
นาย วิชาญ มีนชัยนันท์ รมช.สาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาข้อพิพาทการใช้บริการ ทางการแพทย์ว่า สธ. ได้เร่งแก้ไขปัญหาการฟ้องร้องแพทย์ จากผู้ที่ได้รับความเสียหาย พิการ หรือเสียชีวิตจากการรักษาของแพทย์ โดยตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทจากบริการทางการแพทย์ 1 ชุด มีนายมานะ นพพันธ์ อดีตรองปลัด กทม. เป็นประธาน โดยคณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่ไกล่เกลี่ยคดีพิพาท สร้างความสมานฉันท์ พิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลสังกัดภาครัฐและ เอกชน และให้ความช่วยเหลือเยียวยาความเดือดร้อนของทุกฝ่าย
รมช.สธ.กล่าวอีกว่า ในรอบ 12 ปี สธ.ถูกฟ้อง ร้องตกเป็นจำเลยทั้งหมด 98 คดี เป็นคดีแพ่ง 86 คดี คดีอาญา 12 คดี ถูกเรียกค่าเสียหายรวม 456 ล้านบาท สาเหตุที่ฟ้องสูงสุด 3 สาเหตุ ได้แก่ รักษาผิดพลาด ไม่ได้มาตรฐาน ทำคลอด และวินิจฉัยผิดพลาด โดย รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไปถูกฟ้อง 41 แห่ง รพ. ชุมชน 30 แห่ง เชื่อว่าในอนาคตแนวโน้มการฟ้องจะสูงขึ้นและการ เรียกค่าเสียหายจะสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ ลักษณะการแจ้งความร้องทุกข์มีแนวโน้มเป็นคดีอาญา เพื่อบีบให้ยอมความทางแพ่ง หากไม่สามารถไกล่เกลี่ยให้ ยุติเรื่องได้ ผู้เสียหายกับแพทย์จะแจ้งความดำเนินคดีกับแพทย์ พยาบาลทันที และจะยื่นฟ้องหน่วยงาน ต้นสังกัดเป็นคดีแพ่งภายหลัง ซึ่งการป้องกันไม่ให้ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมถูกฟ้อง ได้แก่ 1.มาตรฐานความรู้ 2.มาตรฐานการปฏิบัติ และ 3.มาตรฐานจริยธรรม เชื่อว่าหากปฏิบัติได้เหตุการณ์ขัดแย้งน่าจะน้อยลง.
โดย: ข้อมูลของกระทรวงเชื่อได้แค่ไหน [30 ก.ค. 52 10:06] ( IP A:58.9.200.100 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
นี่เป็นบทความเก่า ๆ ที่ก๊อปมาให้อ่านกัน
วันที่คนไข้ฟ้องหมอ ทางออกที่ไม่ใช่คุกมีไหม ?
สั่งจำคุก พ.ญ.สุทธิพร 3 ปี ไม่รอลงอาญา
..แพทย์ทั่วประเทศตื่นตระหนกสูญเสียความมั่นใจ
...สถิติฟ้องหมอพุ่งปีละ 300 เรื่อง
...ฟ้องหมอ 3 ล้านรักษาผัวตาย
...นางดอกรัก ฟ้องเรียก 13 ล้าน โศกนาฏกรรมระบบบริการสุขภาพ
นี่คือ ข่าวหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์หลายฉบับในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
จากการตรวจสอบของ "ประชาชาติธุรกิจ" พบว่า นับตั้งแต่ปี 2540 การฟ้องร้องแพทย์เริ่มมีมากขึ้นเกือบ 4 เท่า เฉลี่ยปีละ 223 ราย และมีแนวโน้มในการฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดปัญหาทางสังคมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของแพทย์และผู้ป่วย
ในช่วงแรก แพทย์โรงพยาบาลเอกชน จะถูกฟ้องร้องมาก แต่ในระยะหลังคนไข้เปลี่ยนมาฟ้องกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งศาลมักจะตัดสินให้คนไข้ชนะคดี
เนื่องจากเห็นว่าเป็นการช่วยเหลือคนไข้ และไม่ได้ไปไล่เบี้ยกับแพทย์ แต่เมื่อข่าวปรากฏทางสื่อ กลายเป็นว่า "หมอแพ้คดี"
ปลายปีที่แล้ว ศาลทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช สั่งจำคุก พ.ญ.สุทธิพร ไกรมาก แพทย์ ร.พ.ร่อนพิบูลย์ เป็นเวลา 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา ในคดีที่ถูก น.ส.ศิริมาศ แก้วคงจันทร์ บุตรสาวของนางสมควร ซึ่งเสียชีวิตจากการผ่าตัดไส้ติ่ง เมื่อปี 2545
คดีนี้ กลายเป็นจุดเปลี่ยนในระบบบริการสุขภาพ ในวันที่แพทย์มีสิทธิ์ติดคุก ?
ล่าสุด มีความเคลื่อนไหวจากนักวิชาการสายสาธารณสุขเตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ...ซึ่งมีสาระสำคัญว่าด้วยการตั้ง "กองทุนคุ้มครอง ผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข" ให้รัฐบาลชุดใหม่พิจารณา
กล่าวกันว่า กองทุนคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข อาจทำให้ผู้เสียหายได้รับการชดเชยเพิ่มมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในกระบวนการดำเนินการต่างๆ สามารถยุติการฟ้องร้องแพทย์จำนวนหนึ่งได้ และทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนไข้กับแพทย์ ไม่เสื่อมทรุด จนกลายเป็นคู่ความในชั้นศาล
กองทุนดังกล่าว มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร จะแก้ปัญหาคนไข้ฟ้องหมอได้หรือไม่ "ประชาชาติธุรกิจ" มีคำตอบ
น.พ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวถึงแนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการตั้งกองทุนดังกล่าวว่า ขณะนี้ระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย อยู่ในช่วงพิกลพิการ คนไข้ก็ทุกข์ หมอก็ทุกข์ ซึ่งความทุกข์ส่วนหนึ่งมาจากการใช้บริการ แล้วเกิดความเสียหาย จนนำไปสู่ความขัดแย้ง และการเผชิญหน้ากันกฎหมาย แม้ความขัดแย้งและการเผชิญหน้าจำนวนหนึ่ง จะมีการจัดการเยียวยาไปด้วยตัวเอง โรงพยาบาลหลายแห่ง มีการจัดการที่ดี แต่หลายแห่งเมื่อกลไกการจัดการล้มเหลว มันก็นำไปสู่กระบวนการทางกฎหมาย
ความทุกข์ส่วนหนึ่งเกิดมาจากความเสียหายในการใช้บริการ ซึ่งเป็นต้นตอที่นำไปสู่กระบวนการใช้กลไกทางกฎหมาย เพราะว่าถ้าต้องการชดเชย ระบบที่มีอยู่ปัจจุบันตอนนี้ มันจะมีอยู่ 2-3 ระบบ ระบบแรกคือ หมอจะช่วยเหลือเป็นการภายใน ระดมทุนได้เท่าไหร่ก็ช่วยกันไป
กับอีกกรณีคือ ใช้ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 การขอใช้ พ.ร.บ.ตรงนี้ต้องเป็นความเสียหายที่เกิดจากการใช้บริการที่สถานบริการของรัฐเท่านั้น และที่เป็นปัญหาของ พ.ร.บ.นี้ก็คือ โดยทั่วไปวิธีการในการชดเชยมักใช้วิธีคิดตามหลักของกฎหมายแพ่งมาใช้โดยอนุโลม ก็คือ ถ้าไม่ผิด ไม่ช่วย คือถ้าคุณมีความเสียหายแล้วคุณฟ้องร้อง แล้วปรากฏว่าพิสูจน์แล้วว่า หมอไม่ผิด กฎหมายแพ่งก็ไม่ช่วย ก็เป็นเรื่องตามบุญตามกรรมไป ฉะนั้นข้อจำกัดของ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดก็คือ จำกัดเฉพาะสถานพยาบาลของรัฐ และจำกัดเฉพาะกรณีที่พิสูจน์ได้ว่าหมอผิด
"สุดท้ายแล้ว หาก 2 กลไกนี้ล้มเหลว ทางเลือกทางเดียวของคนไข้คือต้องไปฟ้องร้องทางแพ่ง แต่กรณีการฟ้องร้องทางแพ่งก็ใช้เวลาเฉลี่ย 5-6 ปี กว่าที่เรื่องราวทั้งหมดจะยุติ และอาจจะยุติตรงที่ไม่มีใครผิด ฉะนั้นความ เสียหายก็ไม่ได้รับการเยียวยา ซึ่งวิธีการและกลไกเหล่านี้มันเพิ่มความทุกข์ให้กับทั้ง 2 ฝ่าย คนไข้ ในช่วงที่เขามีความทุกข์ ไม่มีกลไกอะไรไปช่วย เขาได้ ส่วนหมอต้องขึ้นโรงขึ้นศาล 5-7 ปี หมอก็มีความทุกข์"
ดังนั้นอันดับแรกก็คือ คนไข้ต้องได้รับการเยียวยา โดยไม่ต้องรอกระบวนการพิสูจน์ถูกหรือผิด เพราะสิ่งที่ใช้เวลานานมากคือการพิสูจน์ว่าใครผิด อยู่ดีๆ จะมาบอกว่าใครผิด แล้วก็ทำกันแบบลวกๆ ผมคิดว่ามันก็ไม่แฟร์ ก็ตัดไปเลยว่ากระบวนการพิสูจน์ถูกผิด จะทำก็ทำไป แต่ไม่มาเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือคนไข้ การช่วยเหลือคนไข้ขอเพียงพิสูจน์ได้ว่าเป็นการเสียหายจากการใช้บริการและมีความเสียหายที่มากพอ กองทุนที่จะตั้งขึ้นมาใหม่นี้ก็จะช่วยเหลือทันที
น.พ.พงษ์พิสุทธ์บอกต่อว่า มีคำถามตามมามากมายว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้มีขึ้นปิดปากคนไข้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคนที่ร่างกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาอยู่ในหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข แต่โดยหลักเมื่อความทุกข์ของคนไข้ได้รับ การช่วยเหลือแล้ว ส่วนหนึ่งแรงกระตุ้นที่อยากไปฟ้องร้องน่าจะลดลง ถามว่าเป็นการปิดปาก หรือไม่ปิดก็อาจจะเป็นการใช้คำพูดที่ไม่สะท้อน ข้อเท็จจริง
"ผมคิดว่าในเมื่อคนไม่ทุกข์ แรงกระตุ้นที่อยากไปฟ้องร้องน่าจะลดลง แต่เขายังสามารถร้องเรียนได้อยู่ว่าระบบบริการสาธารณสุขมีปัญหา แต่ความทุกข์ความกระตือรือร้นที่ไปร้องขอเงินชดเชย มันก็อาจจะลดลง การมีกองทุน คือ ไม่แยกฝ่าย ใครเดือดร้อนก็ช่วยกันไป แต่ไม่ได้หมายความว่าการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จะฟ้องไม่ได้ ยังฟ้องได้" น.พ.พงษ์พิสุทธ์กล่าว
ด้านวิธีการทำงานของกองทุน น.พ.พงษ์พิสุทธ์อธิบายว่า จะมีการตั้งคณะกรรมการกองทุนซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข มีประมาณ 10 ท่าน มีตัวแทนส่วนใหญ่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งตัวแทนส่วนอื่นๆ เช่น ด้านผู้บริโภค และอดีตผู้ที่ได้รับความเสียหาย
โดยปีแรกของการตั้งกองทุน ให้มีเงินตั้งต้น ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท โดยให้สถานพยาบาล เป็นผู้จ่ายเงินสมทบ และเนื่องจากสถานพยาบาลของรัฐได้เงินจากรัฐอยู่แล้ว แทนที่จะไปเก็บเงินรายโรงพยาบาล ก็ใช้วิธีเก็บเงินสมทบที่เจียด มาจากรัฐโดยหักจากโรงพยาบาล ตามจำนวนคนไข้แทน
"โดยหลักของการประกัน จากที่เราเชิญประเทศจากสแกนดิเนเวียมาให้ข้อมูล ก็พบว่า หลังจากเริ่มต้นในปีแรกๆ จำนวนผู้ที่จะมาร้องขอชดเชยมากขึ้น เพราะส่วนหนึ่งเขาเคยกันอยู่ แบบตามมีตามเกิด บางคนก็สู้กันในกระบวนการศาล ดังนั้นเราคิดว่าถ้ามีระบบตรงนี้ คนเหล่านี้ จะเข้ามาสู่ระบบ เราคิดว่าตัวเลขที่ได้จาก สปสช. ยังเป็นตัวเลขที่ยังไม่สูงมากเท่าไหร่นัก ฉะนั้นตัวเลขจะเพิ่มขึ้น แต่เรามีมาตรการในการป้องกันไม่ให้กองทุนนี้ต้องรับภาระมากเกินไปเราจะตัดเรื่องความเสียหายเล็กๆ น้อยๆ เช่น การศัลยกรรมเพื่อความงาม กองทุนจะไม่คุ้มครอง ไม่งั้นเราจะมานั่งไล่เก็บเยอะเกินไป แต่คนที่เสียหายมากๆ คือคนที่เราควรจะช่วยเหลือเขา"
นอกจากนี้ จะมีสำนักงานที่ตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ดูแลกองทุนดังกล่าว ในการร้องเรียนนั้น ภาระทั้งหมดจะต้องไม่มีต่อผู้ร้อง ซึ่งต่างจากการฟ้องศาล หากมีความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข สำนักงานจะต้องตั้งกรรมการขึ้นภายใน 7 วันแล้วเริ่มกระบวนการพิจารณา จากนั้น กรรมการจะคิดเงินชดเชยเป็นตัวเลข โดยกระบวนการทั้งหมด จะแล้วเสร็จภายใน 3 เดือน หากมีอุทธรณ์จะต้องแล้วเสร็จภายใน 5 เดือน
ส่วนในเรื่องการคิดเงินชดเชยเป็นตัวเลขเราจะดูความเสียหายว่าเกิดขึ้นอย่างไร มีภาระทางครอบครัวอย่างไร เช่น มีบุตรกี่คน โดยอาจเทียบเกณฑ์ชดเชยตามกฎหมายแรงงานหรือกองทุนเงินทดแทน แต่คงไม่ชดเชยตามฐานานุรูป คือ ตีความรายได้ของทุกคนเท่ากันหมด เพราะอิงตามแนวคิดเบื้องต้นว่าชีวิตทุกคนควรมีค่าเท่ากัน ไม่ควรคำนึงตามเศรษฐสถานะ
"กรรมการชุดแรกก็จะดูว่า ผู้เสียหายเกี่ยวข้องกับการใช้บริการหรือไม่ เรากำหนดไว้ในกฎหมายว่าก็ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน หลังจากพิจารณาแล้วเสร็จ ถ้าไม่อุทธรณ์ เช่น พิจารณาแล้วเขาเห็นด้วยและกรรมการคิดว่าเกี่ยวข้อง กรรมการสามารถจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นไปได้ก่อนเลย
เมื่อจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นไปแล้ว กรรมการชุดที่ 2 จะมานั่งคำนวณตัวเลขว่าเขา สูญเสียอะไรไปเท่าไหร่ เป็นวงเงินเท่าไหร่ กรรมการชุดที่ 2 จะใช้เวลา 2 เดือนในการดีดลูกคิดออกมาเป็นตัวเลขเงินชดเชยเท่าไหร่ ซึ่งก็ต้องอาศัยผู้รู้ เขามีบุตรที่ต้องอุปการะกี่คน จากนั้นก็ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน ถ้าจะมีการอุทธรณ์ด้วยก็แต่ละขั้นตอนของการอุทธรณ์ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน รวมแล้วประมาณ 5-6 เดือน แต่ถ้าไม่มีการอุทธรณ์ก็จะเสร็จสิ้นภายใน 3 เดือน ถ้ามีกระบวนการอุธรณ์ด้วยก็จะเสร็จสิ้นภายใน 5 เดือน
ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อเราไปฟ้องแพ่ง เราจะต้องไปจ่ายเงินมัดจำศาล ค่าทนายต่างๆ ต้องจ่ายเองทั้งหมด แต่ในระบบที่เราเขียนไว้ในกองทุนชดเชย ภาระทั้งหมดไม่มีกับผู้ร้อง ดังนั้น เราต้องการให้คนเข้ามาสู่ระบบตรงนี้ ฉะนั้นเราพยายามที่จะบอกเลยว่าอะไรที่กฎหมายปกติ มีและเป็นอุปสรรค เราจะจัดการให้หมด เรื่องความล่าช้า เรื่องค่าใช้จ่ายทุกอย่างเราตัดออกไปหมด
ปัญหาวันนี้ มีอยู่เพียงว่า รัฐบาล สมัคร สุนทรเวช จะเห็นความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ หรือไม่ (เท่านั้น) !!!
โดย: ข่าวเก่า ๆ [30 ก.ค. 52 10:13] ( IP A:58.9.200.100 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน