ตุลาการภิวัตน์ยกแผง
    ตุลาการภิวัตน์ยกแผง

ไทยโพสต์
ข่าวหน้า 1
29 กรกฎาคม 2552


ก.ต.มีมติโยกย้ายผู้พิพากษาระดับสูง 12 ตำแหน่ง ตุลาการภิวัตน์ผงาดยกแผง "สบโชค สุขารมณ์" เจ้าของสำนวนหวยบนดินนั่งประธานศาลฎีกา บิ๊กเซอร์ไพรส์ มีผู้ช่วยผู้พิพากษาโอนไปรับราชการเป็นข้าราชการอัยการ

ที่ประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ห้องประชุมอาคารศาลยุติธรรม สนามหลวง เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม มีการแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งผู้พิพากษาระดับสูงหลายตำแหน่ง แทนตำแหน่งที่ว่างอันเนื่องมาจากการเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายนที่จะถึงนี้

การประชุมนัดนี้ มีนายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา เป็นประธานการประชุม โดยที่ประชุมมีมติแต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษาตำแหน่งสำคัญ 12 ตำแหน่ง ดังนี้ นายสบโชค สุขารมณ์ รองประธานศาลฎีกา เป็นประธานศาลฎีกาคนใหม่, นายวิธวิทย์ หิรัญรุจิพงศ์ ประธานแผนกคดีแรงงานในศาลฎีกา เป็นรองประธานศาลฎีกา, นายองอาจ โรจนสุพจน์ ประธานแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกา เป็นรองประธานศาลฎีกา ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา (หน.ฎีกา) เป็นรองประธานศาลฎีกา, นายมนตรี ยอดปัญญา หน.ฎีกา เป็นรองประธานศาลฎีกา, นายไพโรจน์ วายุภาพ หน.ฎีกา เป็นรองประธานศาลฎีกา, นายพีรพล พิชยวัฒน์ หน.ฎีกา เป็นรองประธานศาลฎีกา, นายธานิศ เกศวพิทักษ์ หน.ฎีกา เป็นประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา, นายอดิศักดิ์ ทิมมาศย์ ประธานศาลอุทธรณ์ เป็นประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา

นายมานัส เหลืองประเสริฐ หน.ฎีกา เป็นประธานแผนกคดีพาณิชย์ในศาลฎีกา, นายประทีป เฉลิมภัทรกุล หน.ฎีกา เป็นประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลฎีกา, นายสมศักดิ์ จันทรา หน.ฎีกา เป็นประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา, นายฐานันท์ วรรณโกวิท หน.ฎีกา เป็นประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา, นายสุทัศน์ ศิริมหาพฤกษ์ หน.ฎีกา เป็นประธานแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกา, นายอร่าม เสนามนตรี หน.ฎีกา เป็นประธานแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาในศาลฎีกา

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 เป็นต้นไป และให้นายพินิจ สุเสารัจ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม โอนกลับเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ประจำสำนักประธานศาลฎีกา ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2552 เป็นต้นไป

นอกจากนี้ ที่ประชุม ก.ต.ยังมีมติให้นายปฎิกรณ์ ทองโคตร ผู้ช่วยผู้พิพากษา โอนไปรับราชการเป็นข้าราชการอัยการ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อย และให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมอีกด้วย

สำหรับนายสบโชค ปัจจุบันอายุ 57 ปี และจะดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาจนถึงปี พ.ศ. 2555 ขณะนี้รับผิดชอบในฐานะเจ้าของสำนวนคดีสลากกินแบ่งเลขท้าย 2 ตัวและ 3 ตัว ในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการไต่สวนพยานโจทก์

ส่วนนายวิธวิทย์ หิรัญรุจิพงศ์ และนายองอาจ โรจนสุพจน์ ทั้งสองคนเป็นองค์คณะคดี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทุจริตปล่อยเงินกู้ 4,000 ล้านบาทจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าฯ ให้แก่รัฐบาลพม่า

ขณะที่ ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล, นายไพโรจน์ วายุภาพ และนายประทีป เฉลิมภัทรกุล ปัจจุบันเป็นองค์คณะคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านของ พ.ต.ท.ทักษิณ และนายพีรพล พิชยวัฒน์ เป็นองค์คณะคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินรัชดาฯ.
โดย: ขอให้คนดีได้ปกครองแผ่นดิน [29 ก.ค. 52 12:36] ( IP A:58.9.220.114 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ก.ต.มีมติตั้ง “สบโชค สุขารมณ์” ประธานศาลฎีกาคนใหม่

ผู้จัดการออนไลน์
โดย ทีมข่าวอาชญากรรม
28 กรกฎาคม 2552 14:13 น.


มติ ก.ต.ตั้ง “สบโชค สุขารมณ์” เป็นประธานศาลฎีกาคนใหม่ ดำรงตำแหน่งยาว 3 ปี ถึงปี 55 ส่วนองค์คณะคดีดัง “เอ็กซิมแบงก์-ยึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านทักษิณ” เรียงแถวเป็นรองประธานศาลฎีกา “พินิจ สุเสารัจ” เลขาฯ ศาลยุติธรรม โอนกลับเป็นตุลาการ พ.หัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ประจำสำนักประธานศาลฎีกา โดยมีเรื่องที่ไม่ค่อยได้เกิดขึ้น เมื่อมีการโอนย้ายผู้ช่วยผู้พิพากษาไปเป็นข้าราชการอัยการ

วันนี้ (28 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) เมื่อวันที่ 27 ก.ค. เวลา 20.00 น. ที่ห้องประชุมอาคารศาลยุติธรรม สนามหลวง นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา ได้เป็นประธานการประชุมดังกล่าว โดยมีวาระสำคัญในการเลือกประธานศาลฎีกาคนใหม่ แทนที่นายวิรัชซึ่งจะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 ก.ย.นี้ และการแต่งตั้งโยกย้ายตุลาการชั้นผู้ใหญ่ 12 ตำแหน่ง ดังนี้ นายสบโชค สุขารมณ์ รองประธานศาลฎีกา เป็นประธานศาลฎีกาคนใหม่ นายวิธวิทย์ หิรัญรุจิพงศ์ ประธานแผนกคดีแรงงานในศาลฎีกาเป็นรองประธานศาลฎีกา นายองอาจ โรจนสุพจน์ ประธานแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกาเป็นรองประธานศาลฎีกา ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา (หน.ฎีกา) เป็นรองประธานศาลฎีกา นายมนตรี ยอดปัญญา หน.ฎีกา เป็นรองประธานศาลฎีกา นายไพโรจน์ วายุภาพ หน.ฎีกา เป็นรองประธานศาลฎีกา นายพีรพล พิชยวัฒน์ หน.ฎีกา เป็นรองประธานศาลฎีกา

นายธานิศ เกศวพิทักษ์ หน.ฎีกา เป็นประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา นายอดิศักดิ์ ทิมมาศย์ ประธานศาลอุทธรณ์ เป็นประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา นายมานัส เหลืองประเสริฐ หนฎีกา เป็นประธานแผนกคดีพาณิชย์ในศาลฎีกา นายประทีบ เฉลิมภัทรกุล หน.ฎีกาเป็นประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลฎีกา นายสมศักดิ์ จันทรา หน.ฎีกา เป็นประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา นายฐานันท์ วรรณโกวิท หน.ฎีกา เป็นประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา นายสุทัศน์ ศิริมหาพฤกษ์ หน.ฎีกา เป็นประธานแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกา นายอร่าม เสนามนตรี หน.ฎีกา เป็นประธานแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาในศาลฎีกาทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.เป็นต้นไป และให้นายพินิจ สุเสารัจ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม โอนกลับเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ประจำสำนักประธานศาลฎีกา ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย.นี้ เป็นต้นไป

นอกจากนี้ ที่ประชุม ก.ต.ยังมีมติให้นายปฏิกรณ์ ทองโคตร ผู้ช่วยผู้พิพากษา โอนไปรับราชการเป็นข้าราชการอัยการ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยๆ และให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่1 ก.ค. อีกด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสบโชค สุขารมณ์ ปัจจุบันอายุ 57 ปี และจะดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาจนถึงปี พ.ศ.2555 ขณะนี้รับผิดชอบในฐานะเจ้าของสำนวนคดีสลากกินแบ่งเลขท้าย 2 และ 3 ตัวในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งคดีอยู่ระหว่างการไต่สวนพยานโจทก์ ส่วนนายวิธวิทย์ หิรัญรุจิพงศ์ และนายองอาจ โรจนสุพจน์ เป็นองค์คณะคดี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีทุจริตปล่อยเงินกู้ 4,000 ล้านบาทจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า (เอ็กซิมแบงก์) ให้แก่รัฐบาลพม่า ส่วน ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล นายไพโรจน์ วายุภาพ และนายประทีป เฉลิมภัทรกุล ปัจจุบันเป็นองค์คณะคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านของ พ.ต.ท.ทักษิณ และนายพีรพล พิชยวัฒน์ เป็นองค์คณะคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินรัชดาฯ

นายสบโชค สุขารมณ์ เป็นประธานศาลฎีกาคนใหม่

โดย: ดีใจคนดีได้มีอำนาจ [29 ก.ค. 52 12:46] ( IP A:58.9.220.114 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   คัดจากกระทู้ 671 (เก่า) เมื่อ พ.ค. - มิ.ย. 2551

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤษภาคม 2551 20:46 น.
https://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9510000057022[/b>

“ในหลวง” ทรงขอให้ผู้พิพากษาทำตัวเป็นวีรบุรุษ รักษาความยุติธรรมในบ้านเมือง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่คณะผู้พิพากษาประจำศาลยุติธรรม ทรงขอให้ตั้งใจรักษาความยุติธรรมในบ้านเมือง ซื่อสัตย์ รักษาความศักดิ์สิทธิ์ของศาล แม้จะไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าทำได้จะเป็นวีรบุรุษของบ้านเมือง แต่ถ้าว่างเว้นจากความเป็นผู้พิพากษา ก็จะทำให้เสียหาย

วันนี้ (15 พ.ค.) เวลา 16.44 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯออก ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้ นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา นำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อถวายสัตย์ปฏิญญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ โอกาสนี้ นายพินิจ สุเสารัจ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม นายวิชัย อริยะนันทกะ เลขาธิการประธานศาลฎีกา และ นายศราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ร่วมเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วย

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่คณะผู้พิพากษาประจำศาล โดยทรงขอให้ผู้พิพากษารู้จักที่จะวางตัวที่ดีตลอดเวลา ทั้งที่อยู่ในศาลและนอกศาล อันจะเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าไม่มีสิ่งใดอยู่เหนือความยุติธรรม ซึ่งจะส่งผลให้เป็นผู้พิพากษาที่ดีได้

“ ... บ้านเมืองต้องมีผู้พิพากษา ต้องมีผู้ที่รักษาความยุติธรรม ต้องมีศาลเพื่อที่จะรักษาความยุติธรรมนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะว่าในบ้านเมือง ถ้าไม่มีความยุติธรรม บ้านเมืองก็จะล่มจม และสำคัญ ท่านทั้งหลายได้ตั้งใจที่จะทำหน้าที่นี้ ที่ท่านจะทำหน้าที่ ท่านได้เตรียมตัวไว้แล้วอย่างดี คือ ท่านได้เรียนรู้ และเตรียมตัวที่จะทำหน้าที่

หน้าที่นี้เป็นการทำสิ่งที่เป็นความยุติธรรม คำว่า “นิติธรรม” นี้ หมายความว่า เป็นคนที่จะวางตัวที่ดี วางตัวที่ตรง วางตัวที่จะทำอะไรที่ตรงไปตรงมา

ในโรงศาลเองก็จะต้องทำ แต่นอกโรงศาลก็จะต้องทำ ทุกแห่งท่านจะต้องทำตัวให้ดี ให้ยุติธรรม เพราะว่าผู้ที่เป็นผู้พิพากษา เป็นตัวอย่างของความดี ความดีของผู้ที่จะวางตัวให้ดี คือวางตัวให้ตรง วางตัวให้ยุติธรรม คือ วางตัวให้ดี ไอ้ดีนี้ลำบาก เพราะว่าถ้าทำอะไรที่ตรงไปตรงมาก็ไม่แปลก ไม่มีอะไร ไม่มีปัญหา แต่ไอ้ปัญหาอยู่ที่ว่า ความตรงไปตรงมานี้อยู่ที่ไหน ความตรงไปตรงมา คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านจะทำในเวลาทำหน้าที่และนอกหน้าที่ จะต้องวางตัวให้ดี ก็หมายความว่า แต่ละท่านจะต้องพยายามที่จะทำเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน ทำเป็นตัวอย่างที่ดี คือ ถ้าท่านทำอะไรก็ตาม ท่านต้องทำแสดงให้เห็นว่า ไม่มีอะไรเหนือความยุติธรรม

บางทีคนที่เป็นผู้พิพากษาเข้าใจว่าจะทำความยุติธรรมนั้นเวลาขึ้นศาลในโรงศาล แต่ไม่ใช่อย่างนั้น จะต้องทำตัวอย่างในเวลาทุกเมื่อ ถ้าทำตัวอย่างในเวลาทุกเมื่อ นั่นถือว่าเป็นผู้พิพากษาที่ดี อันนี้พูดยากว่าจะทำอย่างไร การที่เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับคนได้เห็นว่ามีผู้พิพากษาในโรงศาล แล้วก็นอกโรงศาลด้วย อันนี้เป็นสิ่งที่ลำบาก เพราะว่าถ้าท่านวางตัวให้ดีนอกโรงศาลด้วย อันนั้นน่ะจะเป็นความเป็นผู้พิพากษาที่ครบถ้วน ถ้าท่านทำอย่างนั้นได้คนก็เชื่อถือ ถ้าคนเชื่อถือได้ก็หมายความว่าประเทศชาติมีขื่อมีแปได้ ทุกเมื่อ อันนี้สำคัญ

ฉะนั้น ก็ขอให้ท่านได้วางตัวให้ดี สิ่งที่ได้เรียนรู้ไว้ สิ่งที่ได้ฝึกฝนไว้ ให้ปฏิบัติดีทุกเมื่อ อันนี้สำคัญ ถ้าท่านปฏิบัติตนให้ดีทุกเมื่อก็จะทำให้มีหลักมีเกณฑ์ในบ้านเมือง อันนี้สิสำคัญ ถ้าท่านทำอย่างนี้ทุกคน ประชาชนทุกคนก็จะรู้ว่าในบ้านเมืองมีความยุติธรรม และท่านก็เป็นตัวอย่างของความยุติธรรม เป็นสิ่งที่ทำยาก เพราะว่าจะต้องมีความรู้ จะต้องมีความสามารถในตัว ฉะนั้น ก็ที่พูดซ้ำซากอย่างนี้ก็เพราะว่าเป็นสิ่งที่ยากที่จะวางตัวให้ยุติธรรม ถ้าทำตัวให้ยุติธรรม ประชาชนจะเห็นว่าในเมือง ในบ้านเมือง มีคนที่ดี เป็นคนที่เป็นประกันของความยุติธรรม ถ้าทำได้ก็เชื่อว่าวันหนึ่งจะอยู่เย็นเป็นสุขได้
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [3 ส.ค. 52 14:12] ( IP A:58.8.229.152 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ฉะนั้น ก็ที่ขอร้องให้ท่านเป็นตัวอย่าง เป็นสัญลักษณ์ของความยุติธรรม ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยบ้านเมืองให้ปลอดโปร่ง ปลอดภัยได้ แต่เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ง่าย เพราะว่าต้องเสียสละมากๆ ความเสียสละนั้นของผู้เป็นผู้พิพากษา เป็นสิ่งที่ทำยาก แต่ถ้าทำได้ ท่านก็เป็นตัวอย่างของความดี ท่านจะเป็นผู้ที่เป็นประกันของคน ยุติธรรมของศาล และจะเป็นผู้ที่สามารถที่จะรักษาความยุติธรรมในบ้านเมือง ถ้าทำได้แล้วท่านก็เป็นผู้ที่ได้เป็นคนที่ดี เป็นคนที่ช่วยบ้านเมืองให้อยู่ได้ ให้ปลอดโปร่งได้

ก็ขอให้ท่านได้พยายามทำ เพื่อที่จะให้บ้านเมืองมีความ มีขื่อมีแป ที่เรียกกันว่า มีขื่อมีแปก็หมายความว่า มีความสุข ความที่มียุติธรรม ถ้าท่านรักษาความยุติธรรมได้แท้ๆ ท่านก็เป็นผู้ที่ เรียกว่าท่านเป็นผู้ที่ได้ทำ ได้ช่วยบ้านเมืองให้อยู่ได้ ถ้าไม่มีความยุติธรรมในบ้านเมือง อยู่ไม่ได้ เพราะว่าคนเขาสงสัยอยู่เสมอ จะต้องไม่ให้มีความสงสัยในบ้านเมือง แต่บ้านเมืองนี่ต้องมีแต่ความยุติธรรม ฉะนั้น ก็ขอร้องให้ท่านพยายามให้ท่านรักษาความยุติธรรมแท้ๆ แล้วก็รักษาซึ่งสิ่งที่ยากมาก แต่เชื่อว่าท่านตั้งใจจะทำ ฉะนั้น ก็ขอให้ท่านตั้งใจรักษาความยุติธรรมในบ้านเมือง แต่การรักษาความยุติธรรมในบ้านเมืองนี้เหมือนว่าง่ายๆ เพราะว่าท่านเป็นผู้พิพากษา แต่ถ้าเว้นจากความเป็นผู้พิพากษาสักนิดเดียวก็จะทำให้เสียหาย ฉะนั้นก็ขอให้ท่านรักษาความยุติธรรมในบ้านเมือง

ท่านได้เรียนรู้ ท่านได้ฝึกฝนมา ด้วยการเรียน และก็ด้วยการปฏิบัติ ท่านก็คงทำได้ ไม่ใช่ง่าย แต่ว่าถ้าท่านทำได้แล้วท่านจะเป็น เรียกว่า เป็นวีรบุรุษของบ้านเมือง เป็นผู้ที่รักษาความยุติธรรม ฉะนั้น ก็ขอให้ท่านวางตัวเป็นวีรบุรุษ ไม่ใช่ว่าวางตัวเป็น แต่ว่าถือตัวว่าเป็นวีรบุรุษของบ้านเมือง จะต้องรักษาความยุติธรรม ความซื่อสะอาด ความเรียบร้อยของบ้านเมือง

พูดอย่างนี้ก็เหมือนว่าให้ท่านรับความ รับหน้าที่อยู่บนหัวของตัว ก็เป็นอย่างนี้ที่ขอร้อง ท่านรับความดีอยู่บนตัวเอง ทุกเมื่อ ทั้งในโรงศาล ทั้งนอกโรงศาล ก็ขอให้ท่านสามารถที่จะทำดังนี้ เพื่อที่จะให้บ้านเมืองอยู่เย็น อยู่รอด ท่านก็อาจจะนึกในใจว่าทำไมท่านจะต้องรับ เป็นภาระ ต้องรับ เพราะว่าท่านได้เลือก ได้เลือกหน้าที่นี้ แล้วก็เมื่อเลือกหน้าที่นี้ ต้องทำ ต้องทำให้ดี

ฉะนั้น ก็ขอให้ท่านเมื่อเลือกหน้าที่ ท่านต้องทำหน้าที่ ทำหน้าที่ให้สำเร็จเรียบร้อย มีแต่หน้าที่ ท่านคงนึกว่ามีแต่หน้าที่ ใช่ ท่านมีหน้าที่ แล้วก็ถ้าทำได้แล้ว ท่านมีความพอใจ ท่านจะมีความพอใจแล้วก็ท่านจะเป็นผู้ที่คนนับถือได้ ไอ้ความที่คนนับถือนี่สำคัญมาก อาจจะนึกว่าตัวเองเป็นคนที่มีคนนับถือ ไม่ใช่ของที่ง่าย แต่ถ้าทำให้คนนับถือได้แล้ว ท่านเองจะสามารถที่จะมีความพอใจ แล้วก็ตลอดต่อไป

ฉะนั้น ก็ขอให้ท่านรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของศาล ความศักดิ์สิทธิ์ของความยุติธรรม ก็ขอให้ท่านทำสำเร็จ แล้วถ้าทำสำเร็จแล้วท่านจะมีความดีตลอดชีวิตต่อไป ถึงตั้งแต่ต้นจนปลาย ท่านได้ทำหน้าที่ผู้พิพากษา ท่านทำหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์นี้ แล้วก็ถ้าทำได้แล้ว ท่านก็เป็นคน เรียกว่าเป็นคนดี เป็นคนที่ คำว่าคนดีนี่ดูเหมือนพูดง่ายๆ แต่ว่าไม่ใช่ง่าย คนดีนี่เป็นความดี และคนดีต้องรักษาไว้ ฉะนั้นก็ขอให้ท่านเป็นคนดี เป็นคนที่สามารถ

เป็นคนดีแล้วท่านจะมีความภูมิใจ มีความภูมิใจ ก็รักษาความดี เป็นผู้ที่รักษาความดีและประเทศชาติ ก็ขอให้ท่านสามารถที่จะรักษาความเป็นผู้พิพากษาตลอดรอดฝั่ง จนกระทั่งแก่เฒ่าก็เป็นคนดี ทุกคนที่รักษาความดีได้ตั้งแต่ทำหน้าที่ เข้าทำหน้าที่จนกระทั่งแก่เฒ่า และจนกระทั่ง จนกระทั่งตาย ก็ถือว่าเป็นเกียรติและถือว่าท่านตายได้สบาย ฉะนั้นก็ขอให้ท่านได้มีความสามารถที่จะเป็นคนดีจนตั้งแต่ต้นจนปลาย

แล้วเป็นคนดีตั้งแต่ต้นจนปลายได้อะไร หมายความว่า ท่านตายสบาย ถ้าหากว่าท่านเกิดสบาย แล้วมีชีวิตที่สบาย และตายสบาย ท่านมีบุญมาก เป็นคนที่มีบุญ เป็นคนที่เป็น ถึงบอกตั้งแต่ต้นเป็นวีรบุรุษ ฉะนั้น ก็ขอให้ท่านสามารถที่จะเป็นวีรบุรุษ ทำให้ประชาชนนับถือ แล้วทำให้ประชาชนถือว่ามีคนดีในชาติบ้านเมือง แล้วก็ท่านก็ได้เกิดมาดีแล้ว ทำงานดี และจะตายดี ก็หมายความว่า ก็ถ้าท่านได้ทำประโยชน์เต็มที่ ตามที่ท่านได้เปล่งวาจา เพื่อทำความดี แล้วท่านก็ไม่มี ไม่มีอะไรที่จะอับอายได้ มีแต่ความดีอยู่ในตัวตลอดชีวิต

ก็ขอให้ท่านทำหน้าที่สำเร็จ และก็ท่านมีความสำเร็จในชีวิต จะทำอะไรก็ไม่ต้องอายที่จะทำดี ขอให้ท่านประสบความสำเร็จในหน้าที่ ซึ่งเป็นหน้าที่ที่มีเกียรติอย่างยิ่ง แล้วก็ท่านก็จะรู้สึกว่าไม่มีใครตำหนิได้ ก็ขอให้ท่านรับความสำเร็จในการเป็นผู้พิพากษาที่ครบถ้วน ที่ดี ที่งาม”

ขอจงทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [3 ส.ค. 52 14:16] ( IP A:58.8.229.152 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ขออัญเชิญพระบราราโชวาทที่เคยทรงพระราชทานไว้ ซึ่งอยู่ในแนวเดียวกันมาเผยแพร่ ณ. ที่นี้

"กฎหมาย ไม่ใช่ตัวความยุติธรรม หากเป็นแต่เพียงบทบัญญัติหรือปัจจัยที่ตราไว้เพื่อรักษาความยุติธรรม ผู้ใดก็ตามแม้ไม่รู้กฎหมาย แต่ถ้าประพฤติด้วยความสุจริตแล้ว ควรจะได้รับความคุ้มครอง จากกฎหมายเต็มที่ ตรงกันข้าม คนที่รู้กฎหมาย แต่ใช้กฎหมาย ไปในทางทุจริตแล้ว ควรต้องถือว่าทุจริต และกฎหมายไม่ควรคุ้มครองจนเกินเลยไป เพราะฉะนั้นจึงไม่สมควรที่จะถือว่า การรักษาความยุติธรรมในแผ่นดินมีวงกว้างอยู่เพียงแค่ ขอบเขตของกฎหมาย จำเป็นต้องขยายออกไปให้ถึงศีลธรรมจรรยา ตลอดจนเหตุผล และ ตามเป็นจริงด้วย "

พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา เมื่อ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2519
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [3 ส.ค. 52 14:20] ( IP A:58.8.229.152 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน