ความคิดเห็นที่ 1 ก่อนอื่น ผมขอออกความเห็นว่า ไม่ออกเสียงเรื่องนี้ เพราะไม่เห็นความจำเป็นหรือประโยขน์ที่จะได้จากการหาเสียงส่วนใหญ่เพื่อลงมติในการจัดการกับ สอง หน่วยทางสังคมนี้ ซึ่งจะใส่ความเห็นโต้แย้งคำเสนอแต่ละประเด็น อย่างนี้ครับ
จัดเสวนาหาทางออกร่วมกัน เรื่องจัดเสวนานี่ เครือข่ายฯไม่เคยปฏิเสธที่จะเข้าร่วมกิจกรรมใดๆทำนองนี้มาก่อน ไม่ว่าวันนี้ หรือเมื่อก่อนๆที่ผ่านๆมา ที่เป็นมาโดยตลอดก็คือ การจัดกิจกรรมประเภทนี้ที่แพทยสภาหรือ หน่วยงานภายใต้ สธ. ใดๆก็ตามเคยทำมา จะออกมาใน 2 แนวด้วยกัน หนึ่งคือ จัดโดยให้ประธานเครือข่ายฯเข้าร่วมคนเดียวโดดๆและเปิดโอกาสให้พูดได้น้อยๆท่ามกลางฝ่ายหมอที่มากกว่าด้วยจำนวนคน และเปิดโอกาสให้พูดแบบไม่จำกัดหรือแสดงข้อมูลด้านเดียวที่แฝงการปั้นแต่งเองด้วย หรือสอง ปิดบังหรือไม่เชิญให้เครือข่ายฯ (ซึ่งก็คือท่านประธานเครือข่ายฯคนเดียวเท่าที่มีอยู่) ไปแสดงความเห็น แต่หาตัวแทนอุปโลกที่ใกล้เคียงไปรับฟังแทน เช่น บรรดามูลนิธิ หรือ เอ็นจีโอที่ไม่รู้และไม่มีประสบการณ์เป็นผู้เสียหายทางการแพทย์มาก่อนแต่อย่างใด
ปัญหาข้อนี้ จึงไม่ใช่อยู่ที่เครือข่ายฯ แต่อยู่ที่แพทยสภา และ/หรือ สธ. ไม่จริงใจหรือไม่กล้าที่จะให้โอกาสเครือข่ายฯได้พูดหรือแสดงข้อมูลออกมา เพราะข้อมูลของเครือข่าย ส่วนมากจะหมายถึง การฉ้อฉลและ/หรือการไร้ประสิทธิภาพหรือไม่รู้สำนึกหรือรับผิดชอบในหน้าที่ของตัวเอง
เอาสององค์กรนี้รวมกันเป็นหนึ่งเลย
เป็นไปไม่ได้ เพราะตราบเท่าที่ แพทยสภา และ/หรือ สธ. ยังมีพฤติการณ์ฉ้อฉล ปกปิดความจริง และโกหกผู้เสียหายทางการแพทย์อย่างที่ผ่านๆมา สองหน่วยทางชุมชนนี้ยังต้องอยู่ต่อไป เพื่อตรวจสอบการทำงานของฝ่ายแพทย์ ทั้งนี้ เพราะฝ่ายแพทย์จะเป็นผู้กระทำและฝ่ายผู้เสียหายเป็น "ผู้ถูกกระทำ" และเรื่องขัดแย้งใดก็ตามที่เกิดขึ้นมาเท่าที่ผ่านๆมาเกือบทั้งหมด เกิดจากความไม่สุดจริตของฝ่ายแพทย์โดยเฉพาะแพทยสภาแทบทั้งสิ้น โดยมีฝ่ายผู้เสียหายทางการแพทย์จะเป็นผู้ได้รับผลตรงๆของการกระทำที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ก็ตาม
เปลี่ยนบุคคลากรของเครือข่ายฯใหม่ ไม่มีความจำเป็นเลย เพราะบุคคลากรของเครือข่าย เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา ส่วนที่เข้ามาเป็นสมาชิกในเครือข่ายอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ก็ไม่มีใครอยากเป็นสมาชิกถาวรตลอดการ (ยกเว้นประธานเครือข่ายฯ และผม+จ้าวบ้าน+คนอิ่นๆไม่กี่คน) ต่างก็อยากและพร้อมเลิกได้ทุกเมื่อเมื่อ ระบบการตรวจสอบและเยียวยา ผู้เสียหายทางการแพทย์ทำงานได้ถูกต้อง เป็นธรรม ตรงไปตรงมาและมีประสิทธิภาพแล้ว ซึ่งสังเกตได้จาก มีผู้เสียหายออกมาเป็นข่าวน้อยลง และเรื่องที่เป็นข่าวแต่ละเรื่องจบลงโดยผู้เสียหายได้รับการเยียวยาอย่างชอบธรรมและผลการตรวจสอบเรื่องโปร่งใสโดยตลอด
เปลี่ยนบุคคลากรของแพทยสภาใหม่
เป็นเรื่องสมควรทำนานมาแล้ว พร้อมกับต้องมีระบบคัดกรองบุคคลากรก่อนที่จะเข้ามา และตรวจสอบระหว่างที่ยังทำงานรับผิดชอบอยู่ ให้เข้มข้นและต่อเนื่อง และ ต้องมีระบบลงโทษการประพฤติปฏิบัติที่ฉ้อฉล/ทุจริตตามกฎหมายเฉกเช่นกับเจ้าหน้าที่ของรัฐทั่วไป ไม่ให้มีอภิสิทธิ์ใดๆทั้งสิ้น และไม่ว่าจะเป็นหมอหรือไม่ ไม่เว้นแม้กระทั่งจะเป็นกรรมการแพทยสภาคนหนึ่งคนใด เรื่อยตลอดไปถึงนายกฯหรือเลขาธิการแพทยสภา ก็ต้องไม่มียกเว้น
ยุบทิ้งทั้งสององค์กร ไม่ต้องมีเลย
สำหรับแพทยสภา ทำได้ยาก ในทางเทคนิคผมว่าทำได้ เพราะแพทยสภามาจากการมีกฎหมายตั้งขึ้น การยุบก็ต้องตรากฎหมายยุบ แล้วก็ต้องหาหน่วยงานอื่นมาทำหน้าที่แทน เพราะแม้ว่าแพทย์ส่วนใหญ่จะดีๆกันทั้งนั้น แต่เราก็ต้องไม่มองข้ามว่า แพทย์โจรก็มีอยู่มากพอควรยุคนี้ และยังคงจะมีต่อไปตลอด สำคัญคือต้องมีกลไกหรือระบบตรวจสอบที่เข้มแข็งและเข้มงวด ไม่เล่นพรรคเล่นพวกและไม่เลือกปฏิบัติ
ส่วนเครือข่ายฯผู้เสียหายนี้ ไม่มีวันที่จะยุบทิ้งได้ เพราะเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญทั้งของประเทศนี้และทุกประเทศในโลก ที่จะมีเครือข่ายภาคประชาชนทำนองนี้เกิดขึ้นได้ไม่จำกัด แม้ประธานเครือข่ายฯ เอย ท่านจ้าวบ้านเอย แม้แต่ผมเองจะหมดลมหยุดหายใจไปเฉยๆ แต่ผู้เสียหายทางการแพทย์จากความผิดพลาดทางการแพทย์ที่ป้องกันได้ รายใหม่ๆจะเกิดขึ้นทุกๆวันอยู่แล้ว หากปัญหาความขัดแย้งระหว่างสองฟากของแพทย์และคนไข้ ยังปล่อยให้มีการฉ้อฉล ทุจริตหรือแม้แต่ถึงขนาดคุกคามชีวิตคนไข้ผู้เสียหายอย่างที่เป็นอยู่ ยิ่งทำกันอย่างนี้ต่อไป เรื่องไม่จบ ไอ้จะอธิบายต่อไปก็จะยาวแล้วผมก็เมื่อยแล้ว เอาเป็นว่า ตายสิบแต่เกิดขึ้นอีกแสน เพียงแต่เท่าที่ผ่านๆมา มีแต่ระวิวรรณ ๑ แล้วก็ มี ๒ แล้วด้วย แต่ไม่มีใครประกันได้ว่า เรื่องแบบนี้จะไม่เกิดกับหมอ โดยเฉพาะหมอที่ฉ้อฉลต่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างกรรมการแพทยสภา |