consumer.pantown.com
Thai Iatrogenic Network รวมกระทู้เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ <<
กลับไปหน้าแรก
มือถือรุ่นใหม่ กับ เวชระเบียนระบบใหม่ ดีขึ้นแต่ก็โกงได้ อยู่ที่ "คน"
ข่าวจากสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ลอก/โยงมาจาก
https://www2.nurnia.com/32595/09/technology-innovation-education-engineering-it/
******************************
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ ได้พัฒนาศักยภาพจนสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องเปิดใช้งาน สร้างความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการมากขึ้น แต่จากข้อมูลของหน่วยบริการประชาชน สบท. พบว่า ระยะหลังเริ่มมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการคิดค่าบริการผ่านการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือทางจีพีอาร์เอสมากขึ้นเรื่อย ๆ
นพ.ประวิทย์ กล่าวต่อว่า จากข้อร้องเรียน ระบุว่า มีผู้บริโภคใช้บริการจีพีอาร์เอสเกินวงเงินเหมาจ่ายโดยไม่รู้ตัว แล้วถูกเรียกเก็บค่าบริการย้อนหลัง หรือ ซื้อเครื่องโทรศัพท์มือถือมาแล้วไม่ทราบว่าเครื่องเป็นระบบเชื่อมต่ออิน เทอร์เน็ตอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง ซึ่งสำหรับโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่ใช้ 3จี ได้ หลายรุ่นจะเปิดจีพีอาร์เอสมาให้โดยอัตโนมัติ เนื่องจากเป็นระบบที่ตอบสนองพฤติกรรมของชาวต่างชาติที่ใช้ดูความเคลื่อนไหว ของอีเมลได้ตลอดเวลา พอนำเข้ามาขายที่ประเทศไทย ผู้บริโภคหลายคนไม่รู้จึงเสียค่าบริการโดยไม่รู้ตัว รวมทั้งไม่เข้าใจถึงการคิดค่าบริการจีพีอาร์เอส
จากสภาพปัญหาที่พบ จึงอยากเตือนผู้บริโภคว่า ในการเลือกใช้โทรศัพท์มือถือ ผู้บริโภคต้องทราบว่า โทรศัพท์มือถือที่เราสนใจใช้ทำอะไรได้บ้าง เหมาะกับการใช้งานของเราหรือไม่ ถ้าไม่ต้องออนไลน์ตลอดเวลาก็ไม่ควรซื้อรุ่นที่ถูกตั้งมาให้ออนไลน์ตลอด เพราะไม่สามารถปิดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ แต่หากเลือกใช้แล้วก็ต้องเลือกโปรโมชั่นที่เหมาะสม นพ.ประวิทย์ กล่าว.
*****************************
ชีวิตกดปุ่มที่สะดวกสบาย รวดเร็วราวจรวด แต่ก็พ่วงกับดัก "ที่มาจากแรงผลักดันทางการค้า" ของการมีระบบพวกนี้ เพราะไม่ใช่บริการฟรี
แล้วลองนึกย้อนไปที่เรื่องเวชระเบียนระบบใหม่ ใช้คอมพิวเตอร์เป็นแกนกลางในการจัดเก็บและเรียกใช้ คำเตือนมีว่า "คอมพิวเตอร์ไม่เคยโกงเอง มีแต่คนเท่านั้นที่โกงหรือผิดพลาดได้"
แล้วเวชระเบียนนี่ เป็นทั้งประวัติ์และเป็นทั้งแผนที่ให้กับ "หมอคนต่อๆไป" ได้ใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อให้การรักษาคนไข้แบบไม่หลงทาง
ในเมื่อคอมพิวเตอร์ทำให้เวชระเบียน "ถูกบันทึกและจัดเก็บและเรียกใช้ได้เร็วขึ้น+สะดวกขึ้น" นั่นย่อมหมายความว่า
"ย่อมอาจเกิดความผิดพลาดได้ง่ายขึ้น และ ฉ้อแลได้สะดวกขึ้นด้วย"
ทั้งหมดนี้ ก็อยู่ที่ "คน" และที่สำคัญ "คนไข้" ไม่สามารถเข้าไปแก้หรือเรียกดูเวชระเบียนที่บอกข้อมูลของตัวเองได้ คนเขียน+ลงบันทึก+อาจแก้ไขหรือทำผิดพลาดกับเวชระเบียนได้นั้น
คือฝ่ายหมอเท่านั้น ใครจะเถียง ขอเชิญครับ!!!!!!!!!!
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [18 ก.ย. 52 8:16] ( IP A:58.8.102.140 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
อีกหน่อยญาติๆ คนไข้ ต้องทำการบันทึกวีดีโอไว้ตลอดการเข้ารักษา
ได้ทั้งภาพ ทั้งเสียง เอาไว้สู้กับหมอเวลามีเรื่อง
ใครยากจน ไม่มีปัญญาก็ตายฟรีละกัน...วัดดวง
คนเราคิดสุจริตทำไงก็ได้ใครก็เชื่อ
ไม่ต้องคิดค้นวิธีต่างๆ ทำจริง เกิดเรื่องรับว่าทำ หรือ อธิบายให้ได้
ว่ามันเป็นอย่างนั้น อย่างนี้แบบตรงไป ตรงมา อะไรๆก็ไม่ใช่เรื่องยาก
นอกจากทำเขาตาย พิการ จริงแล้ว ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้นั่นแหล่ะ
มันถึงปวดหัวกันอยู่ทุกวันนี้ไง
ระวังแก้ไปแก้มาจะ งง ซะเองเน้อ
โดย: จีเอ็น [18 ก.ย. 52 15:28] ( IP A:118.172.57.105 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน