เรื่องเขาพระวิหารนี่ ไทยเชื่อศาลโลกไม่ได้ พอๆกับที่ประธานเครือข่ายฯเชื่อศาลไทยไม่ได้
|
ความคิดเห็นที่ 1 คดีที่ประธานเครือข่ายฯ ฟ้องโรงพยาบาลพญาไท ๑
ศาลฎีกายกฟ้องโดยอ้างที่ คำบรรยายฟ้องไม่ครบองค์ประกอบของคดีอาญา ทำให้ประเด็นคำฟ้องที่เป็น คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ถูกศาลตัดสินว่ามีอายุความเพียงหนึ่งปี คำฟ้องจึงขาดอายุความ
แต่เมื่อพิจารณาสภาพพื้นฐานแห่งคดีว่า เป็นคดีแพ่งว่าด้วยการละเมิด ซึ่งสภาพแห่งการละเมิดมีบรรยายอยู่ครบถ้วนทั้งในสำนวนคำฟ้องคดี และโดยเฉพาะที่ตัวโจทย์ร่วมก็ยังปรากฏสภาพแห่งการละเมิดอยู่ครบถ้วน (และยืนยันซ้ำอีกโดยคำตัดสินของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หลังคำตัดสินของศาล) และสภาพแห่งการละเมิด "ไม่ได้สิ้นสุดลง แต่ดำรงค์อยู่มาตลอด" ฉะนั้น โดนสามัญสำนึกอายุความจะนับไม่ได้ หรือไม่เริ่มนับจนกว่าสภาพแห่งการละเมิดจะยุติลง
แล้วศาลยกคำฟ้องของโจทย์หรือประธานเครือข่าย ได้ยังไง???? | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [9 ก.ย. 52 9:44] ( IP A:58.8.105.14 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 แล้วศาลยกคำฟ้องของโจทย์หรือประธานเครือข่าย ได้ยังไง????
ตอบโดยจีเอ็น
ยกฟ้องได้เพราะว่า จำเลยเป็น รพ. พญาไท 1 ค่ะ | โดย: เก่งที่สุดเล้ย..... [9 ก.ย. 52 10:02] ( IP A:118.172.61.74 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 เทียบกับคำพิจารณาคดีเขาพระวิหารของศาลโลก โดยขอยกเอาแถลงการณ์กระทรวงการต่างประเทศของไทย ลงนามโดย พณ. ถนัด คอมันตร์ ภายหลังคำตัดสินของศาลโลก ซึ่งลอกมาจาก
https://talaythaistory.spaces.live.com/blog/cns!99D5BFAD16E18399!128.entry
ดังนี้
********************************************
จดหมายจาก กระทรวงการต่างประเทศ ถึงท่าน อูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ ในขณะนั้นเพื่อประท้วงคำตัดสินของศาลโลก ใจความสำคัญมีว่า
ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่จะอ้างถึงคดีเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ซึ่งได้นำขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยคำร้องเริ่มคดีฝ่ายเดียวของกัมพูชา เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ค.ศ.๑๙๕๙ (พ.ศ.๒๕๐๒) และซึ่งศาลได้พิพากษา เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ค.ศ.๑๙๖๒ (พ.ศ.๒๕๐๕) ยอมรับนับถืออธิปไตยของกัมพูชาเหนือซากของปราสาทพระวิหาร
ในแถลงการณ์เป็นทางการลงวันที่ ๓ กรกฎาคม ค.ศ.๑๙๖๒ (พ.ศ.๒๕๐๕) รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ประกาศต่อประชาชนแสดงความไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลที่กล่าวข้างต้น โดยมีเหตุผลว่า ตามความเห็นของรัฐบาล คำพิพากษาขัดต่อข้อกำหนดอันชัดแจ้งของบทที่เกี่ยวเนื่องของสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และ ค.ศ. ๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) และขัดต่อหลักกฎหมาย และความยุติธรรม แต่อย่างไรก็ดีรัฐบาลก็ยังแถลงว่าในฐานะที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะปฏิบัติตามพันธกรณีที่ตนมีอยู่ตามคำพิพากษาดังกล่าว เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ตามข้อ ๙๔ ของกฎบัตร
ข้าพเจ้าใคร่จะแจ้งให้ท่านทราบว่า ในการตัดสินใจที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในคดีเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารนั้น รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรารถนาที่จะตั้งข้อสงวนอันชัดแจ้งเกี่ยวกับสิทธิใดๆ ที่ประเทศไทยมีหรืออาจมีในอนาคต เพื่อเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมา โดยอาศัยกระบวนการกฎหมายที่มีอยู่หรือที่จะพึงนำมาใช้ได้ในภายหลัง และตั้งข้อประท้วงต่อคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงรู้สึกเป็นเกียรติที่จะแจ้งข้อความข้างต้นให้ท่านทราบ พร้อมกับขอให้ท่านแจ้งข้อความในหนังสือฉบับนี้ ให้สมาชิกทั้งปวงขององค์การนี้ทราบทั่วกันด้วย | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [9 ก.ย. 52 10:03] ( IP A:58.8.105.14 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 ขอเน้นประโยค "หัวใจ" สำคัญในจดหมายประท้วงของท่านถนัด คอมันตร์ อีกที
**************************************
รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ประกาศต่อประชาชนแสดงความ ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาล ที่กล่าวข้างต้น โดยมีเหตุผลว่า ตามความเห็นของรัฐบาล คำพิพากษาขัดต่อข้อกำหนดอันชัดแจ้งของบทที่เกี่ยวเนื่องของสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และ ค.ศ. ๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) และ ขัดต่อหลักกฎหมาย และความยุติธรรม
***************************************************
แล้วคดีที่ศาลฎีกายกฟ้องประธานเครือข่ายฯ ที่มีต่อโรงพยาบาลพญาไท ๑ นั้น "ใช่ขัดกับหลักกฎหมายในเรื่องการนับอายุความแห่งการละเมิด?? แล้วยังขัดกับหลักความยุติธรรมที่ "กฎหมายต้องปกป้องคนสุดจริต และ/หรือ ลงโทษคนทำผิด" ใช่ไหม?????!!!!!!!!!! | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [9 ก.ย. 52 10:14] ( IP A:58.8.105.14 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 ส่วนต่อจาก คห ที่ 3 เป็นบันทึกกระทรวงการต่างประเทศเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น
****************************************** วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๐๕ กระทรวงการต่างประเทศ (ดร.ถนัด คอมันตร์ รมต.กระทรวงการต่างประเทศ) ได้ทำบันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับคำพิพากษาคดีเขาพระวิหาร ชี้ให้เห็นถึงความผิดพลาดของคำพิพากษาของศาลโลก รวม ๑๒ ประเด็น เสนอการประชุมคณะรัฐมนตรี รัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี นับว่าเป็นประโยชน์แก่นักกฎหมายและประชาชนโดยทั่วไป
๑.เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๕ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้พิพากษาว่า ซากปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนดินแดนภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา โดยอาศัยเหตุผลแต่เพียงว่า ประเทศไทยได้นิ่งเฉยมิได้ประท้วงแผนที่ฝรั่งเศสฉบับหนึ่ง ซึ่งส่งมาให้รัฐบาลไทยใน ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และ ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) แล้ว แผนที่ฉบับนี้ เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสเป็นผู้ทำขึ้นแต่ฝ่ายเดียว แต่บังเอิญมีเครื่องหมายแสดงซากปราสาทพระวิหารไว้ในเขตกัมพูชา
๒.คดีปราสาทพระวิหารนี้ เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยเหนือซากปราสาทพระวิหาร ประเด็นสำคัญซึ่งที่พึงพิจารณา คือ การปักปันเขตแดน ถ้าได้มีการปักปันเขตแดนที่ถูกต้องแล้ว กรรมสิทธิ์ในปราสาทพระวิหารก็จะตกเป็นของไทยอย่างไม่มีปัญหา แต่เหตุผลที่ศาลนำมาเป็นหลักในการวินิจฉัยคดี มิใช่หลักกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยกรรมสิทธิ์ หรือการได้มาซึ่งอธิปไตยแห่งดินแดน หรือจารีตประเพณีในการปักปันเขตแดน ซึ่งย่อมคำนึงถึงบทนิยมเขตแดนในสนธิสัญญากำหนดเขตแดนและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการปักปันเป็นสำคัญแต่กลับไปใช้หลักกฎหมายทั่วไปมาหักล้าง เจตนาของคู่สัญญาว่าในบริเวณที่พิพาทให้ถือสันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน ศาลจึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องชี้ขาดว่า เส้นสันปันน้ำที่แท้จริงอยู่ที่ไหน ถ้าศาลได้ยกข้อนี้ขึ้นพิจารณาแล้วก็จะต้องตัดสินว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตไทยอย่างไม่มีข้อสงสัย แม้แต่ความเห็นเอกเทศของผู้พิพากษา เซอร์ เจรัลด์ ฟิตซ์ มอริส ก็ยังได้ยอมรับในทัศนะนี้
๓.ความเคารพพันธกรณีตามสนธิสัญญา เป็นรากฐานสำหรับความแน่นอนในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ว่าคำพิพากษาของศาลในคดีนี้ ในขณะเดียวกับที่แสวงหาความแน่นอนและความสิ้นสุดยุติของข้อพิพาท คำพิพากษานี้เองกลับก่อให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้น และหาได้พัฒนาไปในแนวนั้นไม่
๔. กัมพูชาได้บรรยายฟ้องว่า แผนที่ภาคผนวก ๑ ซึ่งมีเส้นเขตแดนแสดงปราสาทพระวิหารไว้ในกัมพูชานั้น มีผลผูกพันไทย เพราะเป็นแผนที่ซึ่งคณะกรรมการผสมปักปันเขตแดนตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) ได้ทำขึ้น ทั้งๆ ที่ศาลยอมรับฟังข้อโต้เถียงของไทยว่า แผนที่ภาคผนวก ๑ นั้น ไม่มีผลผูกพันประเทศไทย เพราะเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสและกัมพูชาเป็นผู้ทำขึ้น เมื่อพ้นจากหน้าที่ในคณะกรรมการปักปันแล้ว (คำพิพากษาหน้า ๒๑) โดยฝ่ายไทยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องและมิได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผสม แต่ศาลกลับวินิจฉัยต่อไปว่า สำหรับปราสาทพระวิหารที่พิพาทนั้น มีเครื่องหมายแสดงไว้ชัดเจนในแผนที่นั้นว่าอยู่ในเขตกัมพูชา และฝ่ายไทยก็มิได้ประท้วงหรือคดค้านแต่ประการใด แต่ได้นิ่งเฉยเป็นเวลานาน ซ้ำยังได้พิมพ์แผนที่ขึ้นอีก แสดงเส้นเขตแดนเช่นเดียวกะภาคผนวก
๕.ศาลได้พิพากษาว่าประเทศไทยเสียสิทธิในการที่จะต่อสู้ว่าปราสาทพระวิหารมิใช่ของกัมพูชา โดยที่ศาลเองก็ยังลังเลใจไม่กล้าระบุชัดลงไปว่าเป็นหลักใดแน่ จะเรียกว่า estoppel หรือ preclusion prescription หรือ acquiescence ก็ไม่ใคร่ถนัดนัก เพราะแต่ละหลักนั้น ไม่อาจนำมาใช้กับข้อเท็จจริงในคดีได้
ก.ถ้าศาลจะแสดงออกมาว่าเป็นหลัก estoppel หรือ preciusion ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นหลักกฎหมายปิดปาก ก็เป็นการยอมรับว่าทั้งๆที่ข้อเท็จจริงทางภูมิประเทศปรากฏอยู่ตำตาแล้วว่า แผนที่ภาคผนวก ๑ มิได้เป็นไปตามเส้นปันน้ำประเทศไทยก็ยังถูกปิดปากมิให้โต้แย้งหลักนี้นอกจากจะเป็นการไม่เป็นธรรม ในกรณีที่เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยแห่งดินแดนของรัฐอันเป็นเรื่องสำคัญเช่นนี้แล้ว ยังจะต้องอาศัยข้อพิสูจน์ว่า ประเทศไทยได้กล่าวหรือกระทำการใดมาก่อน ซึ่งเป็นการแสดงอย่างชัดแจ้งว่าไทยเชื่อและยินยอมว่าพระวิหารเป็นของกัมพูชา แต่กัมพูชาก็มิอาจพิสูจน์ได้ นอกจากนี้ ตามหลักกฎหมายปิดปาก กัมพูชาจะต้องแสดงว่าการกระทำต่างๆ ของไทยทำให้กัมพูชาหรือฝรั่งเศสหลงเชื่อ จึงไดทำกิจสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นโดยเข้าใจผิด และไทยโต้แย้งไม่ได้ ซึ่งหาตรงกับข้อเท็จจริงในคดีความนี้ไม่ เพราะแผนที่ซึ่งไทยโต้แย้งว่าผิดจากสันปันน้ำ ได้ทำขึ้นก่อนการกระทำใดๆ ของไทย
ข.ถ้าศาลจะแสดงออกมาว่าเป็นหลัก Prescription หรืออายุความได้สิทธิสำหรับกัมพูชาและเสียสิทธิสำหรับไทยศาลก็จะต้องอาศัยข้อพิสูจน์ว่ากัมพูชาได้ใช้อธิปไตยในการครอบครองที่เป็นผลโดยสงบเปิดเผยและโดยปรปักษ์ เป็นเวลาต่อเนื่องกันพอสมควร (คำพิพากษาหน้า ๓๒)พูดถึงระยะเวลา ๕๐ ปี แต่ศาลก็มิได้ลงเอยว่ากัมพูชาได้สิทธิตามหลักอายุความ เพราะนอกจากจะไม่มีหลักฐานสนับสนุนแต่ประการใดแล้ว ยังเป็นการฝืนต่อเหตุผลแห่งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายด้วย เพราะไทยก็ได้พิสูจน์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างชัดแจ้ง ซึ่งศาลเองก็ได้ยอมรับ(คำพิพากษา หน้า ๓o) แล้วว่า ฝ่ายไทยก็ไดใช้อำนาจการปกครองในบริเวณปราสาทพระวิหารเสมอมา
ค.ถ้าศาลจะแสดงออกมาว่า เป็นหลัก Acquiescence หรือการสันนิษฐานว่ายอมรับโดยนิ่งเฉย ก็มีความหมายว่าไทยกับฝรั่งเศสได้ทำความตกลงขึ้นใหม่ เพื่อใช้แทนบทบัญญัติในสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และ ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๕๕๐) ซึ่งก็จะเป็นการขัดต่อเหตุผลและข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน เพราะในสนธิสัญญาต่อๆ มา คือ ใน ค.ศ.๑๙๒๕ (พ.ศ.๒๔๖๕) และ ค.ศ.๑๙๓๗ (พ.ศ.๒๔๘๐) ทั้งไทยและฝรั่งเศสกลับยืนยันข้อบทแห่งสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และ ค.ศ. ๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ในเรื่องเขตแดนว่าเป็นไปตามสันปันน้ำ
ผู้พิพากษาอาลฟาโร ได้ให้ความเห็นเอกเทศไว้ว่าคำพิพากษาไม่อธิบายถึงหลักเหล่านี้เพียงพอจึงได้อ้างอิงหลักอื่นๆ ทำนองนี้อีก คือ หลักปิดปากและหลักสันนิษฐานว่ามีการยินยอม เพราะมิได้มีการประท้วง หรือคัดค้าน หรือตั้งข้อสงวน หรือมีการสละสิทธิ์ นิ่งเฉย นอนหลับทับสิทธิ์ หรือสมยอมแต่ผู้พิพากษาอาลฟาโรเอง ก็มิได้ปักใจลงไปแน่นอนว่าจะยึดถือหลักใดเป็นเกณฑ์
สรุปได้ว่า ศาลยังไม่แน่ใจทีเดียวว่าจะนำหลักใดในบรรดาหลักที่กล่าวถึงข้างต้นมาปรับกับคดีปราสาทพระวิหารนี้ และหลัก acquiescence ที่นำมาใช้นั้นก็เป็นหลักใหม่สำหรับเรื่องแผนที่ เหตุไฉนจึงนำหลักใหม่นี้ไปใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกาลเวลาที่ล่วงเลยมาแล้วกว่า ๕๐ ปี เป็นที่เสียหายแก่ฝ่ายไทยเล่า เพราะหลักนี้เอง ถ้าจะนำมาใช้กับแผนที่ในกาลปัจจุบันก็ยังเป็นหลักที่นักนิติศาสตร์กำลังถกเถียงกันอยู่
**************************************************** | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [9 ก.ย. 52 10:38] ( IP A:58.8.105.14 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 ต่อจาก คห ที่ 6 *************************************** ๖. ศาลได้ยึดถือเอาภาษิตลาตินที่ว่า ผู้ที่นิ่งเฉยเสียเมื่อควรจะพูดและสามารถพูดได้นั้น ให้ถือเสมือนยินยอม (Qui tacet consentire videtur si loqui debuiset sc potuisset) ในหน้า ๒๓ ของคำพิพากษา ซึ่งเป็นหลักกฎหมายทั่วไปมาใช้กับคดีปราสาทพระวิหาร ย่อมขัดต่อเหตุผลทั้งในแง่กฎหมายและในแง่ความยุติธรรม
ก.ในแง่กฎหมาย ศาลหาได้คำนึงไม่ว่า หลักที่ศาลยืมมาใช้จากหลักกฎหมายทั่วไปนี้ เป็นที่ยอมรับนับถือกันในภูมิภาคเอเชียนี้หรือไม่ เพราะหลักนี้มิใช่หลักกฎหมายระหว่างประเทศสากล ศาลควรจะคำนึงถึงจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นด้วยอนึ่ง หลักกฎหมายทั่วไปไม่พึงนำมาใช้กับกรณีที่มีสนธิสัญญากำหนดเส้นเขตแดนที่แน่นอนแล้ว เพราะเป็นเพียงหลักย่อยหลักหนึ่ง ต่อเมื่อไม่ใช่เรื่องที่สนธิสัญญาระบุไว้อย่างชัดแจ้ง จึงอาจพิจารณาปฏิบัติกรรมของไทยได้
ข.ในแง่ความยุติธรรม ศาลได้เพ่งพิจารณาแต่เพียงปฏิบัติกรรมของไทย และสันนิษฐานเอาเองว่า การที่ไทยนิ่งเฉยไม่ประท้วง แปลว่า ไทยยินยอม แต่ศาลหาได้พิจารณาถึงปฏิบัติกรรมของฝรั่งเศสและกัมพูชาไม่ ซึ่งถ้าได้พิจารณาแล้วก็จะพบว่า ฝรั่งเศสเองก็มิได้ถือว่าแผนที่ภาคผนวก ๑ นั้นผูกพันแต่ประการใด จึงมิได้ประท้วงการครอบครองพระวิหารของไทยจนกระทั่ง ค.ศ.๑๙๔๙ (พ.ศ.๒๔๙๒) และเมื่อทำการประท้วงก็มิได้อ้างแผนที่ภาคผนวก ๑ ว่ามีผลผูกพัน แต่คงอ้างหลักสันปันน้ำซึ่งกำหนดไว้ในสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และ ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ศาลได้พิจารณาข้อเท็จจริงในสายตาหาได้เข้าใจถึงความเป็นอยู่ และปฏิบัติการของรัฐสมัยนั้นในภูมิภาคเอเชียไม่ โดยเฉพาะศาลไม่พยายามเข้าใจถึงสถานะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย ในเอเชียในขณะนั้น ซึ่งมีประเทศเอกราชอยู่ไม่กี่ประเทศ และต้องเผชิญกับนโยบายจักรวรรดินิยมของประเทศมหาอำนาจตะวันตก ตรงกันข้าม ผู้พิพากษาส่วนมากกลับพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนการแผ่ขยายอาณานิคมของประเทศตะวันตก (หน้า ๓๔-๓๕) ซึ่งโดยแท้จริงแล้วผู้พิพากษาเหล่านั้นไม่มีหน้าที่ที่จะต้องกระทำเช่นนั้นเลย
จึงสรุปได้ว่า คำพิพากษาของศาล นอกจากมิได้ใช้หลักกฎหมายที่ถูกต้องดังจะแจ้งรายละเอียดในข้อต่อไปแล้ว ยังไม่ตรงต่อหลักความยุติธรรมอันเป็นหลักหนึ่ง ซึ่งบัญญัติไว้ในหลักกฎบัตรสหประชาชาติควบคู่กับกฎหมายระหว่างประเทศและมีคุณค่าไม่ด้อยไปกว่ากัน นักนิติศาสตร์ย่อมทราบดีว่าการให้ความยุติธรรมอย่างเดียวนั้น ยังไม่พอจะต้องทำให้ปรากฏชัดด้วยว่าเป็นความยุติธรรม
๗.ศาลมิได้พิจารณาข้อเท็จจริงที่คู่คดีเสนอโดยละเอียดเท่าที่จะพึงกระทำได้ แต่ได้ใช้การอนุมานสันนิษฐานเองแล้วก็ลงข้อยุติทางกฎหมายจากข้อสันนิษฐานนั้น ซึ่งบางครั้งก็เป็นอนุมานซ้อน หรือเป็นการสันนิษฐานที่ขัดกันเอง และขัดต่อข้อเท็จจริง ดังจะยกตัวอย่างพอสังเขปดังต่อไปนี้
(๑) ทั้งๆ ที่ศาลยอมรับ (ในคำพิพากษาหน้า ๑๘ วรรคแรก) ว่าไม่ปรากฏหลักฐานแสดงว่าคณะกรรมการปักปันได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร แต่ก็ยังสันนิษฐานเอาได้(ในคำพิพากษาหน้า ๑๙ วรรคสุดท้าย) ว่าคณะกรรมการปักปันชุดแรกจะได้ปักปันเขตแดนเรียบร้อยแล้ว ตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) คือถือเอาตามเส้นที่ลากไว้ในแผนที่ภาคผนวก ๑ แสดงว่าพระวิหารอยู่ในกัมพูชา มิฉะนั้นคณะกรรมการปักปันชุดที่สอง ตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ก็คงจะต้องทำการปักปันเขตแดนตอนนี้ เพราะพิธีสาร ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) คลุมถึงปราสาทพระวิหาร ซึงตั้งอยู่บนเขาคงรักด้านตะวันออกด้วย ศาลได้ตั้งข้อสันนิษฐานนี้ขึ้นโดยมิได้พิจารณาโครงวาดต่อท้ายพิธีสาร ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ซึงแสดงอาณาเขตที่คณะกรรมการปักปันชุดที่สองจะต้องทำการปักปัน คือ เพียงแค่ช่องเกนทางด้านตะวันตกของทิวเขาดงรักเท่านั้น ข้อสันนิษฐานนี้จึงขัดกับโครงวาด แต่ศาลก็กลับลงข้อยุติโดยอาศัยข้อสันนิษฐานที่ผิดพลาดนี้ได้ว่า ในบริเวณปราสาทพระวิหารนั้น คณะกรรมการปักปันชุดแรกได้ปักปันแล้ว และสันนิษฐานต่อไปว่าปักปันตามที่ปรากฏในแผนที่
(๒) ศาลใช้ข้อสันนิษฐานอธิบายสาเหตุแห่งการที่ประธานคณะกรรมการปักปันของฝรั่งเศสชุดแรกคาดว่า จะมีการประชุมกันอีก แต่ในที่สุดก็ไม่มีการประชุมไปในทางที่เสียประโยชน์แก่ฝ่ายไทย โดยเดาเอาว่าถ้าได้มีการประชุมก็คงจะได้รับรองเส้นเขตแดนตามที่ปรากฏในแผนที่ (คำพิพากษา ๒๐ วรรคแรก)
(๓) ศาลกล่าวขึ้นมาลอยๆ (ในคำพิพากษา หน้า ๒๐ วรรค ๒) ว่าพิมพ์แผนที่เป็นงานสุดท้ายของคณะกรรมการปักปัน ทั้งๆ ที่ศาลก็ทราบดีอยู่แล้วว่าคณะกรรมการปักปันได้มีมติไว้แล้วว่า การปักปันนั้นแบ่งออกเป็นสามชั้น คือ ๑.การตระเวนสำรวจ ๒.การสำรวจภูมิประเทศ และ ๓.การอภิปรายและกำหนดเขตแดน โดยมิได้กล่าวถึงการพิมพ์แผนที่ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงานปักปัน ตามข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่า การพิมพ์แผนที่เป็นเรื่องนอกเหนือจากการปักปันเขตแดนงานชิ้นสุดท้ายในการปักปันดังจะมีต่อไปอีกก็เห็นจะเป็นการปักหลักเขตแดน มิใช่การพิมพ์แผนที่
(๔) ศาลสันนิษฐานเอง (ในคำพิพากษา หน้า ๔๒) ว่าในการที่ฝรั่งเศสส่งแผนที่นั้นไม่ถูกต้องตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการปักปัน และสันนิษฐานต่อไปว่าฝ่ายไทยมิได้คัดค้านนั้น อาจจะเป็นเพราะว่ามีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้ถือว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ทั้งที่ในตอนต้น(คำพิพากษาหน้า ๑๘ วรรคแรก) ศาลก็ได้ยอมรับแล้วว่า ไม่มีหลักฐาน แสดงว่าคณะกรรมการปักปันได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร กระนั้นก็ยังสันนิษฐานเอาจนได้ เป็นการสันนิษฐานที่ไทยเสียประโยชน์ทั้งขึ้นทั้งล่อง
(๕) ศาลได้ใช้ข้อสันนิษฐานต่อไปอีก (ในคำพิพากษา หน้า ๒๖ ) โดยถือเอาว่ากรรมการปักปันของไทยคงจะทราบดีแล้วว่าแผนที่ภาคผนวก ๑ ไม่ได้รับความเห็นชอบระหว่างการประชุมคณะกรรมการปักปัน แต่ถ้าได้รับไว้โดยมิได้ตรวจดูให้แน่นอนเสียก่อนว่า ถูกต้องตามหลักสันปันน้ำตามสนธิสัญญาหรือไม่แล้ว จะมาอ้างภายหลังว่าแผนที่ผิดไม่ได้ ข้อสันนิษฐานข้อนั้นตรงกันข้ามกับข้อสันนิษฐานในวรรคก่อน แต่ก็ยังลงข้อยุติได้เหมือนกันโดยอาศัยหลักซึ่งผู้พิพากษาฟิตช์มอริสในความเห็นเอกเทศ เรียกว่า Caveat emptor กล่าวคือ ผู้ซื้อย่อมต้องใช้ความระมัดระวัง
(๖) ศาลได้ใช้ข้อสันนิษฐานต่อไปอีก (ในคำพิพากษาหน้า ๒๘ วรรคแรก) ว่าไทยได้ยอมรับแผนที่ภาคผนวก ๑ แล้วโดยการไม่ประท้วง ทั้งๆ ที่ทราบว่า แผนที่นั้นไม่ตรงกับตัวบทสนธิสัญญา อย่างไรถ้าไม่เป็นเช่นนั้น ศาลก็สันนิษฐานซ้อน (ในคำพิพากษา หน้า ๒๙ วรรคแรก) ว่าไทยได้ยอมรับแผนที่นั้นโดยการนิ่งเฉย มิได้คำนึงว่าแผนที่จะผิดหรือถูกประการใด
(๘) ศาลอ้างเป็นข้อสันนิษฐานที่ชี้ขาดการยอมรับแผนที่ภาคผนวก ๑ ของไทย โดยยกเหตุผล (ในคำพิพากษา หน้า ๒๗ และ ๒๘) ว่าประเทศไทยมีโอกาสหลายครั้งที่จะขอแก้ไขแผนที่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเจรจาทำสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๒๕ (พ.ศ.๒๔๖๘) และ ๑๙๓๗ (พ.ศ.๒๔๘๐) ศาลให้เหตุผลตรงกันข้ามกับข้อยุติของศาลเองว่า แผนที่ภาคผนวก ๑ มิได้เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ. ๒๔๔๗) หรือ ๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ซ้ำยังตีความข้อบัญญัติในสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๒๕ (พ.ศ.๒๔๖๘) และ ๑๙๓๗ (พ.ศ.๒๔๘๐) ที่คลาดเคลื่อนจากถ้อยคำของข้อบทสนธิสัญญาอีกด้วย (คำพิพากษาหน้า ๑๗) เมื่อพิจารณาดูถ้อยคำของ ข้อ ๒๗ แห่งสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๒๕ (พ.ศ.๒๔๖๘) และข้อ ๒๒ แห่งสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๓๗ (พ.ศ.๒๔๘๐) แล้ว จะพบสนธิสัญญาทั้งสองฉบับนี้มิได้ยืนยันเขตแดนตามแผนที่แต่ประการใดไม่ กลับไปยืนยันบทนิยามเขตแดนตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๑๔ (พ.ศ.๒๔๕๗) และ ๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) กล่าวคือให้ถือตามหลักสันปันน้ำ
จึงสรุปได้ว่า ศาลได้มีความสนธิสัญญา โดยขัดกับถ้อยคำของสนธิสัญญานั้นเอง และสันนิษฐานเป็นที่เสียประโยชน์แก่ฝ่ายไทยว่าไทยได้ยินยอมยกพระวิหารให้ฝรั่งเศส เพราะมิได้ฉวยโอกาสขอแก้ไขสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ. ๒๔๔๗) หรือ ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) แต่เมื่อพิจารณาดูให้ถ่องแท้แล้วจะเห็นได้ชัดว่าฝรั่งเศสต่างหากที่เป็นฝ่ายยินยอม และมิได้ฉวยโอกาสผนวกแผนที่เข้าไว้กับสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๒๕ (พ.ศ.๒๔๖๘) หรือ ค.ศ.๑๙๓๗ (พ.ศ.๒๔๘๐) และ ความจริงสนธิสัญญาทั้งสองฉบับนี้ยืนยันสันปันน้ำต่างหาก ซึ่งก็เป็นการประกาศอย่างชัดแจ้งว่าหลักสันปันน้ำจะต้องสำคัญกว่าแผนที่ใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ถ้ามีการแคลงใจเรื่องแผนที่ว่าจะไม่ถูกต้องตามหลักสันปันน้ำตาที่ไทยได้ค้นพบในการสำรวจ ค.ศ.๑๙๓๔-๑๙๓๕ (พ.ศ.๒๔๗๗-๒๔๗๘) ยืนยันหลักสันปันน้ำแล้ว อันเป็นการปฏิเสธแผนที่ที่ขัดกับสันปันน้ำโดยตรง
๙. ฝ่ายไทยได้ยืนยันต่อศาลโลกตลอดมาว่า เส้นเขตแดนในบริเวณที่พิพาทนั้น เป็นไปตามสันปันน้ำ และว่ารัฐบาลไทยก็ถือตามนี้ เพราะสนธิสัญญาทุกฉบับได้ยืนยันสันปันน้ำเป็นเขตแดน
ข้อสำคัญที่ศาลอาจจะมองข้ามไปคือ หนังสือประท้วง ปี ค.ศ.๑๙๔๙ (พ.ศ.๒๔๙๒) ที่ฝ่ายฝรั่งเศสส่งมายังรัฐบาลไทย โดยอ้างพิธีสาร ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) เป็นหลัก พิธีสารฉบับนี้กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งว่า เขตแดนระหว่างประเทศทั้งสองในบริเวณนั้น ถือตามเส้นสันปันน้ำ ซึ่งข้อนี้แสดงชัดแจ้งว่าฝ่ายฝรั่งเศสและกัมพูชาเองก็เชื่ออยู่ตลอดเวลาว่า เขตแดนนั้นเป็นไปตามสันปันน้ำ ฝ่ายฝรั่งเศสจึงได้อ้างพิธีสารมาในหนังสือประท้วง ค.ศ.๑๙๔๙ (พ.ศ.๒๔๙๒) ในลักษณะเช่นนี้
ในการพิจารณาคดีนี้ ในเมื่อศาลเองถือเอาเจตนาของคู่กรณีเป็นหลักสำคัญในการวินิจฉัยคดีแล้ว เหตุไฉนเล่าศาลจึงไม่ให้ความสำคัญแก่เจตนาอันชัดแจ้งของทั้งสองฝ่าย ในเรื่องให้ยึดถือสันปันน้ำเป็นเขตแดนในบริเวณที่พิพาท แสดงว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นขัดกับข้อยุติธรรมของศาลที่ว่าภาคีทั้งสองได้มีเจตนาทำความตกลงขึ้นใหม่ในการกำหนดเขตแดนในบริเวณนั้น (พึงสังเกตด้วยว่าพิธีสาร ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ได้เอ่ยถึง เส้นซึ่งคณะกรรมการปักปันเขตแดนขุดก่อนได้ตกลงไว้เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) นั้น เกี่ยวกับปลายเขตแดนด้านตะวันออก ซึ่งกำหนดให้บรรจบแม่น้ำโขงที่ห้วยดอนมิได้เกี่ยวกับบริเวณพระวิหาร) | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [9 ก.ย. 52 11:18] ( IP A:58.8.105.14 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 ต่อจาก คห ที่ 8
********************************* ๑๐.ศาลรับฟังข้อเท็จจริงที่ผิดพลาด แห่งความเชื่อถือตามข้อเท็จจริงที่ผิดพลาดนั้น อันเป็นผลเสียหายแก่รูปคดีของไทย
(๑) ศาลถือ (ในคำพิพากษา หน้า ๑๕ วรรคแรก) ว่า ปราสาทพระวิหารเป็นสถานที่สักการบูชา ซึ่งตามข้อเท็จจริงเป็นเทวสถานตามลัทธิพราหมณ์ที่ปรักหักพัง และแทบจะไม่มีผู้ใดไปสักการบูชา เพราะประชาชนทั้งในไทยและกัมพูชาก็นับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ การที่ศาลเชื่อเช่นนี้พ้องกับข้อเสนอของกัมพูชาว่าคนกัมพูชาใช้ปราสาทเป็นที่สักการบูชา
(๒) ศาลกล่าวไว้หลายแห่ง (ในคำพิพากษา หน้า ๑๖ และ ๑๗) ว่าคณะกรรมการปักปันตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) มีสองแผนก (Sections) คือแผนกฝรั่งเศส และแผนกไทย แต่เป็นกรรมการเดียวทั้งๆ ที่ตามตัวบทสนธิสัญญาข้อ ๓ หมายถึงกรรมการ ๒ คณะ (Commissions) เป็นพหูพจน์และไม่มีการกล่าวถึงคำว่าแผนกในสนธิสัญญา หรือในรายงานการประชุมของคณะกรรมการปักปัน และ ฝ่ายไทยก็แย้งไว้แล้วว่า แผนที่ภาคผนวกซึ่งทำขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ถึงแม้จะอาศัยชื่อของคณะกรรมการปักปันฝรั่งเศส (Commissionde Delimitation) ก็ไม่มีผลผูกพันฝ่ายไทยได้ เพราะไม่ใช่แผนที่ของคณะกรรมการผสม (Mixed Commissions) การที่ศาลถือเอาว่าเป็นคณะกรรมการเดียวแต่มีสองแผนก จึงทำให้เข้าใจผิดได้ว่า แผนที่ที่ฝรั่งเศสทำเป็นแผนที่ของคณะกรรมการปักปันทั้งคณะ คือคณะกรรมการร่วมกันของฝ่ายไทยและฝ่ายฝรั่งเศส
๑๑.ศาลได้นำเหตุผลที่ขัดกันมาใช้ในการพิจารณาข้อโต้เถียงของไทยแล้ววินิจฉัยว่าข้อโต้เถียงของไทยฟังไม่ขึ้น คือ
ก.ศาลให้ความสำคัญแก่การที่กรมแผนที่ไทยยังพิมพ์แผนที่แสดงว่าพระวิหารเป็นของฝรั่งเศสเรื่อยไป และกว่าจะพิมพ์แผนที่แสดงพระวิหารไว้ในเขตไทยก็ต่อเมื่อถึง ค.ศ.๑๙๔๕ (พ.ศ.๒๔๙๗) แล้ว ศาลน่าจะเข้าใจว่า เพราะเหตุนี้การพิมพ์แผนที่จึงไม่มีความสำคัญ เพราะก่อนหน้า ค.ศ.๑๙๕๔ (พ.ศ.๒๔๙๗) นี้เอง ทั้งๆ ที่ยังพิมพ์แผนที่ผิดอยู่ กัมพูชาและฝรั่งเศสก็ได้ประท้วงมาว่า พระวิหารเป็นของกัมพูชา เมื่อ ค.ศ.๑๙๔๙ (พ.ศ.๒๔๙๒) และ ค.ศ.๑๙๕๐ (พ.ศ.๒๔๙๓) แต่ในทางตรงข้าม ศาลกลับไม่ถือว่ากิจกรรมเกี่ยวกับการปกครอง ตลอดจนการที่บุคคลสำคัญของรัฐบาลกลางไปเยือนพระวิหารในปีต่างๆ ระหว่าง ค.ศ.๑๙๐๗-๑๙๓๙ (พ.ศ.๒๔๕๐-๒๔๘๒) เป็นของสำคัญ กลับถือว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองท้องที่ ซึ่งขัดกับท่าทีอันแน่นอนของรัฐบาลกลาง จึงต้องมองข้ามไป แสดงว่าศาลใช้มาตรฐานและเครื่องทดสอบที่ไม่สม่ำเสมอกัน
ข. ทั้งๆ ที่ศาลถืออยู่ตลอดเวลา (โดยเฉพาะในคำพิพากษา หน้า ๓๐) ว่าการปกครองบริเวณปราสาทพระวิหารของไทยนั้นไม่มีความสำคัญ เพราะเป็นเพียงขั้นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเท่านั้น แต่พอถึงที่ที่จะตีความให้ไทยเสียประโยชน์ เพราะการปกครองพระวิหาร (ในคำพิพากษา หน้า ๓๓ วรรค๒) ศาลกลับเห็นเป็นของสำคัญ โดยกลับถือว่า เพราะไทยได้ปกครองพระวิหารเรื่อยมา จะมาอ้างว่าไม่รู้ว่าแผนที่ผิดไม่ได้ เพราะถ้าคิดว่าถูกแล้วยังใช้อำนาจปกครองก็จะเป็นการรุกรานไป แสดงว่าข้อเท็จจริงอันเดียวกัน ศาลถือว่าไม่มีความสำคัญ ถ้าเป็นประโยชน์แก่ไทย แต่ถือว่าสำคัญมากในตอนที่ไทยจะต้องเสียประโยชน์ คล้ายๆ กับว่าศาลจงใจจะตีความให้ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบเสมอ พอจะมาพิจารณา (ในคำพิพากษา หน้า ๒๘ วรรค ๓) ถึงเรื่องการกลับสู่สภาพเดิมก่อนอนุสัญญากรุงโตเกียว ค.ศ.๑๙๕๑ (พ.ศ.๒๔๙๔) ศาลกลับปัดไม่ยอมพิจารณาเรื่องการครอบครองพระวิหารเสียเฉยๆ
ค.(ในคำพิพากษาหน้า ๓๑ วรรคแรก) ศาลตั้งข้อสังเกตว่า ทั้งไทยและฝรั่งเศสก็มิได้มั่นใจว่าพระวิหารเป็นของตนในขั้นแรก ทั้งๆที่ศาลยอมรับ (ในคำพิพากษา หน้า ๓๐) ว่าไทยได้ใช้อำนาจปกครอง แต่ก็ยังกล่าวได้เต็มปากว่า ความเชื่อของไทยว่าพระวิหารเป็นของฝรั่งเศสนั้น สอดคล้องกับท่าทีของไทยโดยตลอดมา
๑๒.ศาลถือว่าไทยมีหน้าที่คัดค้าน เมื่อรับแผนที่จากฝรั่งเศสใน ค.ศ.๑๙๐๘ ๑๙๐๙ (พ.ศ.๒๔๕๑ ๒๔๕๒) แต่เมื่อมาพิจารณาดูข้อเท็จจริงและพฤติการณ์โดยตลอดแล้ว จะเห็นได้ว่าไทยไม่มีหน้าที่คัดค้านแต่ประการใดเลย ฝรั่งเศสและกัมพูชาต่างหากที่มีหน้าที่คัดค้านการครอบครองปราสาทพระวิหารของไทยในสมัยนั้น แต่ก็มิได้คัดค้าน เช่น เมื่อส่งแผนที่มาให้ ก็มิใช่เป็นการแสดงว่าขัดกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการปักปัน และจะไปคัดค้านได้อย่างไร ถ้าสันปันน้ำที่แท้จริงตรงกับแผนที่ และปันพระวิหารไปอยู่ในเขตไทยหรือกัมพูชา ฝ่ายตรงข้ามก็มิอาจคัดค้านได้ และถ้าคัดค้านก็ไม่มีประโยชน์อะไร | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [9 ก.ย. 52 11:19] ( IP A:58.8.105.14 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 ผมสนใจที่ข้อ ๑๑ ของ คห ที่ 10 ท้ายความเห็นกระทรวงการต่างประเทศ ที่ว่า
๑๑. ศาลได้นำเหตุผลที่ขัดกันมาใช้ในการพิจารณาข้อโต้เถียงของไทยแล้ววินิจฉัยว่าข้อโต้เถียงของไทยฟังไม่ขึ้น คือ
ผมว่านะ ท่านประธานเครือข่ายฯ เองคงอยากบอกประโยคเดียวกันนี้กับศาลฎีกาที่ยกฟ้องโรงพยาบาลพญาไท ๑ ด้วย | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [9 ก.ย. 52 11:32] ( IP A:58.8.105.14 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 แล้วผมยังนึกถึงคำพูดคุณสนธิ ลิ้มทองกุล เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
ทุกวันนี้ ไม่มีใครใช้ศาลโลกแล้ว ยิวยึดปาเลสไตน์, สหรัฐฯ บุกอีรค, รัสเซีย บุก เช็คเนีย เรื่องพวกนี้ไม่มีใครพูดถึงศาลโลกเล้ย......
แล้วกระทรวงการต่างประเทศของเรากลับพยายามไปตะแบงอ้างอิงศาลโลกเกรงใจศาลโลก (ทุกวันนี้ ศาลนี้ เป็นได้แค่ศาลเพียงตาไว้หลอกเด็กไม่รู้เดียงสาบางคนเท่านั้น) สมัยท่านกษิต ภิรมย์ ขึ้นเวที พธม. ก็ยังเป็นนักเลงตัวจริงสัมภาษณ์ว่าให้แจ้งกัมพูชาถอน joint communique ทันที แล้วพอเป็น ร.ม.ต. ตปท. ก็ยังสัมภาษณ์ท้าชน ทักษิณ ได้ฉะฉานตอนที่โดนสบประมาท
เฮ้อ ทุกวันนี้ท่านไม่รู้ว่าท่านโดนคุณไสย/มนต์เขมรหรือไงไม่รู้ เขมรยึดเข้ามาเป็นกิโลๆ แล้วยังบอกได้ว่า ไม่เสียดินแดน ผมว่าน่า อย่างคุณโสภณ โองการที่ ASTV News Hour สุดสัปดาห์ว่านั่นแหละ
" รบกันก็ต้องรบแล้ว "
เพื่อนบ้านที่เราเคยให้ความช่วยเหลือมาตลอดในประวัติศาสตร์นับร้อยปี ทั้งๆที่เราให้เขาเยอะมากๆกว่าที่เราเคยได้จากเขา วันนี้เขมรเนรคุณเราขนาดนี้ ก็ควรต้องรบสั่งสอนซะหน่อย บรรพบุรุษไทยของเราไม่ใช่ได้แผ่นดินผืนนี้มาเปล่าๆ เอาเลือด+เนื้อ+ชีวิตปู่ย่าตาทวดแลกไว้เยอะ
ถึงเวลาต้องไล่ผู้รุกราน+เนรคุณกลับออกไปได้แล้ว | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [9 ก.ย. 52 11:56] ( IP A:58.8.105.14 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 ขออัญเชิญอีกหนึ่งพระบรมราโชวาทในองค์พ่อหลวงมาเตือนใจกัน
"... ชาติบ้านเมือง คือ ชีวิตเลือดเนื้อและสมบัติของ เราทุกคน และการดำรงรักษาชาติประเทศนั้นมิ ใช่หน้าที่ของบุคคลผู้ใดหมู่ใดโดยเฉพาะ หากแต่ เป็นหน้าที่ของทุกๆฝ่าย ทุกๆคนที่ จักต้องร่วมมือกระทำพร้อมกันไปโดยสอดคล้อง กัน และมีจุดมุ่งหมายอันร่วมกัน. .."
พระบรมราโชวาท พระราชทานในพิธีตรวจพลสวนสนาม เนื่องในงานพระราชพีธีรัชดาภิเษก
๘ มิถุนายน ๒๕๑๔ | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [10 ก.ย. 52 10:24] ( IP A:58.8.109.187 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 ขออัญเชิญอีกหนึ่งพระบรมราโชวาทในองค์พ่อหลวงมาเตือนใจท่านผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อเอกราชและอธิปไตยของชาติไทย
"... ทหารนั้นมีหน้าที่หลักอยู่ที่ การป้องกันประเทศและ การ ธำรงรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติ ไว้ด้วยแสนยานุภาพ กับทั้งต้องแผ่ความเมตตาอาทร ปกป้องคุ้มครองประชาชน ทั่วไปให้มีชีวิตอยู่ด้วยความร่มเย็น เป็นปกติสุขปลอดจากภยันตรายและความเดือดร้อนยากเข็ญ ต่าง ๆ ..."
พระบรมราโชวาท ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและ สวนสนามทหารรักษาพระองค์
ณ ลานพระราชวังดุสิต , ๓ ธันวาคม ๒๕๓๐ | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [10 ก.ย. 52 10:34] ( IP A:58.8.109.187 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 เนื้อเพลง "สยามมานุสติ" พระราชนิพนธ์ในล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖
ใครรานใครรุกด้าว แดนไทย ไทยรบจนสุดใจ ขาดดิ้น เสียเนื้อเลือดหลั่งไหล ยอมสละสิ้นแฮ เสียชีพไปเสียสิ้น ชื่อก้องเกียรติงาม
หากสยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย หากสยามพินาศลง ไทยอยู่ได้ฤๅ เราก็เหมือนมอดม้วย หมดสิ้นสกุลไทย
๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖ | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [11 ก.ย. 52 7:15] ( IP A:58.8.102.244 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 13 คัดลอกจากเว็บ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=yyswim&month=01-04-2008&group=3&gblog=168
************************************
ความเห็นของ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมทย์ สัมภาษณ์เมื่อ 19 มิ.ย. 2505 หลังจากศาลตัดสินแล้วนั้น ท่านกล่าวว่า ในฐานะที่เป็นประชาชนคนไทยและในฐานะนักกฎหมายเห็นว่า คำพิพากษาของศาลโลกเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง เพราะข้อกล่าวหาของกัมพูชาในเรื่องกฎหมายปิดปากนั้น กัมพูชาไม่ได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง แต่มาเพิ่มเติมทีหลังเป็นการผิดประการหนึ่ง ข้อบังคับของศาลโลกมีว่า คำฟ้องจะต้องเขียนให้ชัดเจน เพราะฉะนั้นเมื่อกัมพูชามาเพิ่มเติมเรื่องหลักกฎหมายปิดปากในภายหลัง จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลโลกไม่ควรจะพิจารณากรณีกฎหมายปิดปาก อีกตอนหนึ่งกล่าวว่า ตามคำพิพากษาของศาลโลกนั้นกล่าวว่า ตามหลักของสันปันน้ำเขาพระวิหารจะต้องเป็นของไทยอย่างไม่มีปัญหา แต่ศาลโลกได้หยิบยกเรื่องกฎหมายปิดปากขึ้นมากล่าวว่า ตามสนธิสัญญาที่ไทยได้ทำไว้กับฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้เขียนแผนที่ต่อท้ายสัญญาผิดพลาด โดยได้เขียนไว้ว่าเขาพระวิหารอยู่ในแดนกัมพูชา ซึ่งเป็นการผิดต่อข้อเท็จจริงอย่างยิ่ง สมเด็จกรมดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น ได้แสดงการยอมรับสนธิสัญญาและแผนที่ฉบับนั้น จึงเป็นอันว่าไทยในสมัยนั้น ได้ยอมรับแผนที่ที่ผิดพลาดว่าเป็นความจริง ไทยจึงไม่มีสิทธิที่จะโต้แย้งในความผิดพลาดของแผนที่ฉบับนั้น (อันนี้เป็นการอ้างจากกัมพูชา) แต่ ม.ร.ว. เสนีย์ได้กล่าวว่า การที่ศาลโลกได้ตัดสินโดยถือหลักกฎหมายปิดปากมาบังคับไทยเช่นนี้ ย่อมจะทำให้กัมพูชาอยู่ในฐานะเป็นโจร เพราะศาลโลกได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า เขาพระวิหารเป็นของไทย แต่กัมพูชาได้ไปโดยกฎหมายปิดปาก ไม่ให้ไทยได้โต้แย้งในความเป็นเจ้าของ อีกตอนหนึ่ง ตามที่ศาลโลกกล่าวว่าตามหลักของสันปันน้ำ เขาพระวิหารจะต้องเป็นของไทย ซึ่งได้หยิบยกหลักกฎหมายขึ้นมาพิจารณา ย่อมจะทำให้เห็นได้ว่า สิทธิที่กัมพูชาได้ไปนั้น ตั้งอยู่บนหลักฐานเท็จทั้งสิ้น เพราะถ้าตั้งอยู่บนหลักฐานจริงตามหลักสันปันน้ำ ศาลโลกยังยอมรับว่าถ้าใช้หลักสันปันน้ำนั้นปราสาทพระวิหารจะเป็นของไทย เพียงแต่เขาใช้กฎหมายปิดปาก ซึ่งกฎหมายปิดปากนั้นได้มาเพิ่มเติมทีหลัง ไม่ได้อยู่ในคำฟ้องตั้งแต่ตอนแรกด้วยซ้ำไป และกล่าวว่า คำพิพากษาของศาลโลกผิดพลาดอย่างยิ่ง แม้อีก 100-200 ปี คำพิพากษาของศาลโลกครั้งนี้ จะไม่ทำให้นักกฎหมายคนใดในอนาคตเห็นด้วยเลย และเป็นเครื่องชี้ชัดให้เห็นว่า ไทยจะต้องเสียดินแดนไปโดยปราศจากความเป็นธรรม ได้เสียดินแดนไปเพราะความเท็จ (เพราะฉะนั้นถ้าเรามีความจริง เราควรจะต้องได้รับสิทธิเหนือดินแดนปราสาทพระวิหารนี้กลับมา)
หลังฟังคำพิพากษา ท่านกล่าวว่า คำพิพากษานั้นมีช่องโหว่อยู่ คือศาลโลกได้พิพากษาให้ไทยปฏิบัติตามสนธิสัญญาที่ได้ทำไว้กับฝรั่งเศส คือให้ไทยยกเขาพระวิหารให้กัมพูชา ตามอาณาเขตของแผนที่ที่ต่อท้ายสัญญา แต่แผนที่ฉบับนั้นได้กล่าวแล้วว่า เป็นแผนที่ที่ทำขึ้นโดยความผิดพลาด ซึ่งแม้แต่ผู้ที่เขียนแผนที่ฉบับนั้นเอง ก็ได้เขียนระบุไว้ในแผนที่ว่า เขียนขึ้นโดยไม่ได้สำรวจเลย ถ้าจะยึดแผนที่ฉบับนั้นก็ย่อมจะไม่สามารถกำหนดได้ว่า เขาพระวิหารตามแผนที่นั้นอยู่ ณ ที่ใด เพราะภูมิประเทศต่างๆ ไม่ได้เป็นไปดังที่เขียนไว้ในแผนที่ คำพิพากษาของศาลโลกกล่าวว่ากัมพูชามีอำนาจเหนือเขาพระวิหารและบริเวณใกล้เคียง ในข้อนี้ก็เช่นเดียวกันไม่มีใครสามารถกำหนดได้ว่า คำว่าใกล้เคียงนั้นจะอยู่แค่ไหน เพราะฉะนั้นถ้ากัมพูชาจะร้องเรียนต่อคณะมนตรีความมั่นคงเพื่อบังคับให้ไทยปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลก ไทยก็อาจจะส่งคำร้องเรียนขอความเห็นจากศาลโลกว่า ไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ถูกต้อง
ต่อคำถามทีว่าคำพิพากษาของศาลโลกจะมีผลบังคับเมื่อไร ท่านกล่าวว่า ไม่มีกำหนดเวลาที่จะบังคับ เพราะกัมพูชาหรือศาลโลกไม่สามารถจะกำหนดอะไรอันเป็นการเปลี่ยนแปลงอธิปไตยในดินแดนของไทยได้ กัมพูชาไม่สามารถที่จะสร้างกฎหมายมาเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของไทยได้ จะมีแต่ก็โดยที่ไทยออกกฎหมายสละการครอบครองแล้วเท่านั้น ด้วยเหตุฉะนี้ ตราบใดที่ไทยยังเป็นเจ้าของครอบครองเขาพระวิหาร กัมพูชาไม่มีสิทธิใดๆ เหนือปราสาทพระวิหาร
16 ก.ค. 2505 ท่านให้สัมภาษณ์ว่า วิธีพิจารณาของศาลโลกได้บัญญัติไว้ว่า ถ้าชาติใดซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจศาลโลกถูกเขาฟ้องแล้วไม่ไปต่อสู้คดีศาลอาจพิจารณาไปฝ่ายเดียวแล้วตัดสิทธิให้แพ้ได้ คงจะยังจำกันได้ เมื่อเขมรยื่นฟ้องต่อศาลโลก ในขั้นแรกเราก็ได้ต่อสู้ตัดฟ้องว่าศาลโลกไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้ แต่ศาลโลกได้พิจารณาชี้ขาดมาว่าไทยยังคงอยู่ใต้อำนาจศาลโลก เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่เข้าไปต่อสู้คดีและนำหลักฐานพยานต่างๆ ไปแสดงว่าปราสาทพระวิหารเป็นของไทย ตามสนธิสัญญาและอาณาเขตสันปันน้ำ ศาลก็จะพิจารณาฝ่ายเดียว แล้วรัฐบาลของเราก็จะไม่อยู่ในฐานะที่จะกล่าวได้ว่า เขาพระวิหารเป็นของเราตามความจริงและตามสนธิสัญญา เมื่อเราต้องสูญเสียไป เราจะผูกใจเจ็บไว้ทั้งชาตินี้และชาติหน้า ไม่วันใดก็วันหนึ่ง เราจะเอาคืนมาให้จงได้ แต่นี่เพราะเราทำงานค้นคว้าหาหลักฐานกันมาถึง 3 ปี และเอาไปเสนอให้ปรากฏต่อโลกว่า เขาพระวิหารเป็นของเราตามความจริงและตามสนธิสัญญาและตามหลักการแบ่งเขตตามสันปันน้ำ รัฐบาลจึงอยู่ในฐานะที่จะแถลงได้ดังนั้น และก็นี่แหละ งานที่เราทำมา ซึ่งจะเป็นหลักฐานแย้งคำพิพากษาของศาลโลก ตลอดไปจนชั่วฟ้าดินสลาย | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [11 ก.ย. 52 11:45] ( IP A:58.8.102.244 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 14 รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์นี้
อย่างที่คุณสนธิ ว่าไว้ไม่มีผิด เป็นรัฐบาลแต่ละครั้ง "ทำประเทศไทยและประชาชนคนไทยตาดำๆระดับที่อยู่นอกการเมืองพังพาบทุกครั้ง" แล้วจะแก้ปัญหาแต่ละเรื่อง ก็ถนัดที่จะ "มาช้าทุกที" หรือใช้วิธี "ไม่แก้"
แค่เรื่อง "เขาพระวิหาร" เนี่ย แม้แต่ตัวนายกอภิสิทธิ์เอง ก็ทำงานไม่เป็น เชื่อแต่คนรอบข้าง ไม่สอดส่องหรือไม่ตื่นรู้ทั้งสื่อ ทั้งกระแสเรียกร้องจากประชาชนที่โหมประโคมซ้ำอยู่เป็นนานสองนาน
ถึงได้มายอม รับว่า มีการลุกล้ำพื้นที่เขตประเทศไทย ของ "ไอ้บรรดาลูกหลานพระยาละแวก"
นายกฯท่านอาจจะมาจากชาติตระกูลดีๆ ประวัติ์ขาวสะอาด
แต่ผมอยากเรียนท่านว่า "ประเทศไทยและชาติไทยไม่ใช่แบบฝึกหัดสำหรับอาชีพนักการเมือง ตามความใฝ่ฝันวัยเด็กของท่านนะครับ"
หน้าสิ่วหน้าขวานตอนนี้ ความอยู่รอด ความมั่นคงของชาติไทยทั้งหมด เป็นเดิมพันที่สูงมากๆ แล้วก็ที่ท่านและพรรคประชาธิปัตย์ของท่านเป็นรัฐบาลจน ได้รับอาสาเข้ามาเอง เพื่อถือเดิมพันนี้ ก็เป็นเพราะแลกมาด้วยเลือดเนื้อกับชีวิตกับความพิการของ ประชาชนชาว พธม. นับร้อยๆคนเมื่อ 7 ต.ค. ปีที่แล้วนะครับ
แค่ท่านและ บรรดา รมต. ฝ่ายความมั่นคงมาเสียเวลาออกข่าวเถียงกับสื่อว่าประเทศไทยยังไม่เสียดินแดน "เขาพระวิการ" นี่ ทั้งๆที่ภาพข่าวมันกระจายไปทั้งโลก ไม่ใช่แค่ในเมืองไทย
ที่ท่าน "เปล่งข้อความเหล่านี้ออกไป" เท่ากับประจานตัวเองว่า ไม่ได้ทำงานหรือทำงานไม่เป็นเอาเลย กับเรื่องที่ประชาชนไทยทั้งประเทศจ้องอยู่และให้ความสำคัญมากมายขนาดนี้ | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [15 ก.ย. 52 7:54] ( IP A:58.8.104.67 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 15 ข่าวจาก ไทยรัฐ ที่เชื่อมโยงมาจาก
https://www.thairath.co.th/content/pol/33547 เมื่อ 17 กันยายน 2552 7.20 น.
ประธานศาลปกครอง สูงสุด
ติงนักเคลื่อนไหวนำประเด็นปัญหาปราสาทพระวิหารฟ้องศาลไทย จะทำให้ปัญหาบานปลาย จี้รัฐอย่าตั้งการ์ดเผชิญหน้า ควรเร่งทำความจริงให้ปรากฎ
เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่ศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวกรณีกลุ่มนักเคลื่อนไหวพยายามยื่นฟ้องสมเด็จ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา เพื่อให้ศาลไทยเพิกถอนการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารและขับไล่ประชาชนกัมพูชา ออกนอกพื้นที่รอบบริเวณเขาพระวิหาร ว่า ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะเป็นเรื่อง หากเพียงแค่รัฐบาลไทยแก้ปัญหานี้ด้วยการเปิดเจรจากับประเทศกัมพูชาว่า พื้นที่เป็นอย่างไร เชื่อว่ากัมพูชาน่าจะยอม การทำให้ความจริงเกี่ยวกับพื้นที่บริเวณรอบปราสาทพระวิหารปรากฎน่าจะเป็น วิธีที่ถูกต้อง ปัญหาบางอย่างหากมีความเห็นไม่ตรงกัน และใครผิดใครถูกยังไม่รู้ ตนคิดว่าเราสามารถพิสูจน์ความถูกต้องได้ด้วยข้อเท็จจริง เพราะหากปล่อยไปจะกลายเป็นไทยเรายอมรับแผนที่ และสิ่งที่เขากันไว้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งที่เรามีนักกฎหมาย นักการต่างประเทศและมีคนกลางเก่งๆ มากในประเทศไทยที่จะออกมาช่วยรัฐบาลทำข้อเท็จจริงให้ปรากฎ ดังนั้นไม่ควรนิ่งเฉย หรือให้เป็นไปตามบุญตามกรรม
ประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวต่อว่า ประเด็นนี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาล ต้องทำให้กัมพูชาเห็นว่าพื้นที่บริเวณนั้นเป็นที่ของไทย เพียงแต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมามีชาวบ้านกลุ่มนี้เข้ามาทำมาหากิน และไม่ถูกต้องอย่างไรโดยพื้นที่บริเวณนั้น มีทั้งทหารไทย และกัมพูชาเป็นพยานอยู่ รัฐบาลจึงต้องทำให้เกิดความเข้าใจ อย่าตั้งการ์ดเห็นเป็นศัตรูหรือเป็นคนละฝั่งมันจะจบปัญหานี้ไม่ได้ ขณะที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมต้องทำความเห็นของคนในชาติให้เข้าใจ หากมีบางส่วนที่บอกไม่ได้ก็ต้องบอกให้คนไทยรู้ว่าเป็นสิ่งที่ต้องเก็บไว้ ใช้เจรจา ดังนั้นควรพูดให้รู้เรื่องอย่าปล่อยปัญหาทิ้งไว้อย่างนี้ 
| โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [17 ก.ย. 52 7:26] ( IP A:58.8.102.51 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 16 ส่วนหนึ่งของคำปราศรัย
ของ ฯพณฯ จอมพล สฤษฎิ์ ธนรัชต์ นายกรัฐมนตรี
เกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
ทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ๔ กรกฎาคม ๒๕๐๕
เชื่อมโยงจาก https://www.praviharn.net/index.php?option=com_content&view=article&id=46&Itemid=82
***************************
......... พี่น้องชาวไทยที่รัก ข้าพเจ้าก็เป็นคนไทยคนหนึ่งที่มีความรู้สึกนึกคิดเช่นเดียว กับพี่น้องทั้งหลาย และถ้าพูดถึงความรักชาติบ้านเมือง ข้าพเจ้าก็เชื่อเหลือเกินว่าข้าพเจ้ามีความรักชาติไม่น้อยกว่าพี่น้องคนไทยทั้งหลาย แต่ที่รัฐบาลจำต้องโอนอ่อนปฏิบัติตามพันธกรณีในกฏบัตรสหประชาชาติก็โดยคำนึงถึงเกียรติภูมิของประเทศไทยที่เราสร้างสมไว้เป็นเวลานับเป็นร้อยๆ ปี ยิ่งกว่าปราสาทพระวิหาร ทั้งนี้ มิใช่เกิดเพราะความกลัวหรือความขี้ขลาดแต่ประการใดเลย แต่พี่น้องชาวไทยทั้งหลายต้องมองการณ์ไกล เวลานี้เราอยู่ในสังคมของโลก สมัยนี้ไม่มีชาติใดที่จะอยู่โดยโดดเดี่ยวได้ ประเทศไทยของเราได้รับความนิยมนับถือจากสังคมนานาชาติเพียงใด พี่น้องทั้งหลายคงจะทราบดีอยู่แล้ว ถ้าชาติของเราต้องเสียศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิไปเนื่องจากปราสาทพระวิหารคราวนี้แล้ว อีกกี่สิบกี่ร้อยปีเราจึงจะสามารถสร้างเกียรติภูมิที่สูญเสียไปคราวนี้กลับคืนมาได้ ข้าพเจ้าทราบดีว่าการสูญเสียปราสาทพระวิหารคราวนี้เป็นการสูญเสียที่สะเทือนใจคนไทยทั้งชาติ ฉะนั้น แม้ว่ากัมพูชาจะได้ปราสาทพระวิหารนี้ไป ก็คงได้แต่ซากสลักหักพังและแผ่นดินที่รองรับพระวิหารนี้เท่านั้น แต่วิญญาณของปราสาทพระวิหารยังอยู่กับไทยตลอดไป ประชาชนชาวไทยจะรำลึกอยู่เสมอว่า ปราสาทพระวิหารของไทยถูกปล้นเอาไปด้วยอุปเท่ห์เล่ห์กลของคนที่ไม่รักเกียรติและไม่รักความชอบธรรม เมื่อประเทศไทยประพฤติปฏิบัติตนดีในสังคมโลกเป็นประเทศที่มีศีลมีสัตย์ ในวันหนึ่งข้างหน้าไม่ช้าก็เร็ว ปราสาทพระวิหารจะต้องกลับคืนมาอยู่ในดินแดนไทยอีกครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าการปฏิบัติของประเทศไทยตามพันธกรณีในกฏบัตรสหประชาชาติครั้งนี้คงจะทำให้ประเทศต่างๆทั่วโลกเห็นอกเห็นใจเรายิ่งขึ้น เหตุการณ์เกี่ยวกับปราสาทพระวิหารครั้งนี้จะสลักแน่นอยู่ในความทรงจำของคนไทยสืบไปชั่วลูกชั่วหลาน และจะเป็นรอยจารึกอยู่ในประว้ติศาสตร์ของชาติไทยตลอดไปเสมือนหนึ่งเป็นแผลในหัวใจของคนไทยทั้งชาติ แต่ข้าพเจ้าก็ยังหวังอยู่เสมอว่าในที่สุดธรรมะย่อมชนะอธรรม การหัวเราะทีหลังย่อมหัวเราะดังและนานกว่า
อนึ่ง ในเรื่องนี้รํฐบาลรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นของ พระบาท-สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระประมุขที่เคารพยิ่งของปวงชนชาวไทยที่ได้พระราชทานคติและพระบรมราโชวาทแก่รัฐบาลด้วยความที่ทรงห่วงใยในสวัสดิภาพของชาติบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง ขอให้พี่น้องร่วมชาติจงได้วางใจเถิดว่า รัฐบาลที่ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่นี้จะสามารถนำชาติและพี่น้องชาวไทยที่รักก้าวไปสู่อนาคตอันสุกใสได้ ในที่สุด ข้าพเจ้าขอรับรองต่อท่านทั้งหลายว่า เมื่อคราวที่ชาติเข้าที่คับขันแล้ว ข้าพเจ้าจะกอดคอร่วมเป็นร่วมตายกับพี่น้องชาวไทย เอาเลือดทาแผ่นดินโดยไม่เสียดายชีวิตเลยแม้แต่นิดเดียว แต่ราจะทำอย่างไรได้ ข้าพเจ้าเองก็มีความเจ็บช้ำน้ำใจมิได้น้อยกว่าเพื่อร่วมชาติทั้งหลาย การที่ข้าพเจ้าต้องมากล่าวถึงเรื่องนี้ในวันนี้ ข้าพเจ้าอยากจะกล่าวว่า ข้าพเจ้ามาพูดกับท่านด้วยน้ำตา แต่น้ำตาของข้าพเจ้าเป็นน้ำตาของลูกผู้ชาย ของเลือด ของความคั่งแค้นและการผูกใจเจ็บไปชั่วชีวิตทั้งชาตินี้และชาติหน้า ต่อดวงวิญญาณของบรรพบุรุษผู้กล้าหาญของชาวไทย ข้าพเจ้าขอกล่าวคำปฏิญานด้วยสัจวาจานี้ไว้ พี่น้องที่รัก น้ำตามิได้ช่วยให้คนฉลาดขึ้นและได้อะไรคืนมา นอกจากความพยายาม ความสามัคคี ความสุขุมรอบคอบ ความอดกลั้นที่จะกล้าเผชิญกับความสูญเสีย พร้อมทั้งรวมกำลังกาย กำลังใจ กำลังความคิด เพื่อให้ชาติที่รักของเราแข็งแกร่งมั่นคงถาวรยิ่งขึ้น ในขั้นสุดท้ายชาติไทยต้องประสบกับชัยชนะเสมอ เราต้องกล้าสู้ ต้องยิ้มรับต่อภัยที่มาถึงตัวเรา ชาติไทยเป็นชาติที่เชื่อมั่นในบวรพุทธศาสนา ตั้งตนอยู่ในความเป็นธรรมเสมอมา ข้าพเจ้าเชื่อมั่นเสมอว่าชาติเราจะไม่อับจนเป็นอันขาด เรื่องนี้เป็นแต่เพียงเรื่องหนึ่งในเรื่องใหญ่ทั้งหลายซึ่งมีความสำคัญกว่านี้มากนัก ชาติที่รักของเรากำลังพัฒนาตามวิถีทางที่ดีอยู่แล้วทุกทาง เหตุนี้มิใช่เหตุแห่งความอับจน เราจงระวังและทำในเรื่องของชาติที่สำคัญกว่านี้ ข้าพเจ้ามั่นใจเหลือเกินว่าชาติไทยของเราจะมีอนาคตอันแจ่มใสและรุ่งโรจน์ประเทศหนึ่งอย่างแม่นมั่นในอนาคตอันใกล้นี้ เราจงมาช่วยกันสร้างชาติที่รักยิ่งของเรา
พี่น้องชาวไทยที่รัก ในวันหนึ่งข้างหน้าเราจะต้องเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมาเป็นของชาติไทยให้จงได้... สวัสดี...
*************************** | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [23 ก.ย. 52 9:21] ( IP A:58.8.103.53 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 17 คนที่มาเขียนแบบนี้ ส่วนใหญ่เอาแต่เห่าหลังคอมไม่ได้ทำไร
ทั้งๆที่มีผู้กล้า ไปทวงแผ่นดินที่ศรีษะเกต แต่พวกนี้ทำเป็นหลักการเท่านั้น จริงๆ แล้วก็ขี้ขลาด | โดย: แน่จริงเข้าร่วมกับกองทัพ พธม ดิ [23 ก.ย. 52 15:23] ( IP A:125.26.107.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 18 เออ ก็แปลกดี มั่วนิ่ม หน้าตายเลยแฮะ
แล้วไอ้ที่ ท้าให้ปรากฏตัว ไปชนกันที่ช่องทีวี มั่ง สนามหลวงมั่ง ศาลมั่ง
แล้วเงียบเป็นเป่าสาก มุดน้ำดำดินหายไปทุกทีเวลาท้าน่ะ
พวกนั้น ไม่ใช่หอนอยู่หลังคอมฯ ทุกทีเวลาถูก ตีนมนุษย์แถวนี้เหยียบหางเอาน่ะ ใช่ บ่ ????!!!!! | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [24 ก.ย. 52 14:53] ( IP A:58.8.103.53 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 19 พูดดูดีมีหลักการ แต่ขอโทษ ทั้งชีวิตไม่รู้กล้าเดินข้ามถนนหรือเปล่า ประโยคสวยๆใครๆก้แต่งได้เขียนได้ แต่การที่ต้องไปเสี่ยงกับระเบิด มีไม่กี่คนหรอกที่ทำได้
ของอย่างนี้ เค้าเรียกว่า หมาเห่าไม่กัดหมากัดไม่เห่า พูดจาเอาดูดีไว้ก่อน | โดย: คนทำไม่พูดคนพูดไม่ทำ [26 ก.ย. 52 10:00] ( IP A:125.26.113.49 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 20 พวกลัทธิคลั่งชาติ สร้างวาทกรรมหลอกลวงประชาชนทั้งที่รู้ว่าตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศมันทำไม่ได้ (การทวงปราสาทพระวิหารคืน) ขอแค่รักษาพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารให้ได้ซะก่อนเถอะ | โดย: นายรู้ทันพวกไม่รู้จริง [22 ก.พ. 53 17:26] ( IP A:119.46.52.242 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 21 กลุ่มเพื่อน 5.63 โรงเรียนอุตรดิตถ์ ขอคัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก
| โดย: กลุ่มเพื่อน 5.63 โรงเรียนอุตรดิตถุ์ [1 ส.ค. 53 8:26] ( IP A:210.246.186.9 X: ) |  |
|