แนวทางการช่วยเหลือผู้เสียหายจากการแพทย์ โดยใช้คนกลาง
   เพื่อนแพทย์ และ สมาชิกเครือข่ายผู้เสียหายจากการแพทย์ ที่นับถือ

ความเสียหายอันเนื่องมาจากการบริการทางการแพทย์นั้นเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่บ่อยนัก บางครั้งก็ป้องกันได้เพราะความประมาทเลินเล่อ หรือด้วยประสบการณ์ บางครั้งก็ป้องกันไม่ได้เพราะเป็นเหตุสุดวิสัย บางครั้งผู้ป่วยก็รู้หรือสงสัย บางครั้งผู้ป่วยก็ไม่รู้ หารรู้แล้วผู้ป่วยบางคนก็ยอมรับได้ บางคนก็ยอมรับไม่ได้ แต่ที่แน่นอนคือไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

ผมเชื่อว่าทั้งผู้ป่วยและวงการแพทย์มีความเห็นร่วมกัน คือ 1. ผู้ป่วยที่เสียหายและเดือดร้อนควรได้รับการชดเชยตามสมควร และ 2. เราไม่อยากให้แพทย์ที่ไม่ได้มาตรฐานยังทำงานอยู่ในสังคม

ข้อจำกัดของผู้ป่วย คือ เมื่อเกิดความผิดคาด ซึ่งอาจเกิดจากความผิดพลาดหรือเหตุสุดวิสัย เขาไม่รู้จะปรึกษาใคร และไม่มีความรู้พอที่จะประเมินว่าสาเหตุของความผิดคาดนั้นคืออะไร จะมีทางป้องกันได้หรือไม่

ข้อจำกัดของแพทย์ คือ แพทย์ส่วนใหญ่ทำงานหนัก ช่วยชีวิตได้บ้างไม่ได้บ้าง ไม่มีเวลาที่จะอธิบายผู้ป่วยและญาติเท่าที่ควร ญาติก็มีหลายคน ไม่รู้ว่าคนใดต้องการคำอธิบาย หากเทียบกับสถานภาพของแพทย์ทั่วโลกแล้วจะเห็นได้ชัดว่า แพทย์ไทยตั้งใจดี ทำงานหนักเงินน้อย ไม่น่าเชื่อว่าจะทนทำกันอยู่ได้ แพทย์จึงเสียกำลังใจมาก หากได้ยินว่าเพื่อนร่วมวิชาชีพถูกกล่าวหาว่า ทำไม่ดีพอ

การชดเชยความเสียหาย
เราควรทำให้ทั้งแพทย์และผู้ป่วยเข้าใจตรงกันว่า หากผู้ป่วยเกิดความเสียหายจากการแพทย์ เขาพึงได้รับการชดเชย ตามหลักมนุษยธรรม และในกรณีของระบบสาธารณสุขของรัฐนั้น ควรเรียกร้องเอาจาก สปสช โดยตรง (มิใช่เรียกร้องเอาจากแพทย์) หากมุ่งไปยังตัวองค์กรที่มีอำนาจในการจ่ายเงิน แทนที่จะมุ่งเอาจากแพทย์ซึ่งมีรายได้น้อย การเรียกร้องตามหลักมนุษยธรรมย่อมได้ความร่วมมือจากแพทย์ด้วยดี สปสช. ก็เตรียมเงินส่วนนี้ไว้อยู่แล้ว จะพอหรือเปล่าไม่ทราบ แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาของพวกเรา

ในกรณีของเอกชน ก็ควรเรียกร้องเอาจากโรงพยาบาล ไม่ควรมุ่งที่ตัวแพทย์ เพราะโรงพยาบาลมีเงินหมุนเวียนมากมาย เป็นตัวกำหนดนโยบาย แพทย์เป็นเพียงลูกจ้าง หากแพทย์ทำความเสี่ยงบ่อยครั้งก็อาจเลิกจ้างก็ได้ แต่ก็ควรเป็นข้อตกลงระหว่างพวกเขา

ส่วนการกำจัดแพทย์ที่ไม่ได้มาตรฐาน เป็นหน้าที่ของแพทยสภา ที่จะตัดสินว่าแพทย์คนใดไม่สมควรทำงาน ก็ยึดเอาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมเสีย ชั่วคราวหรือตลอดไป แพทย์ส่วนใหญ่ก็ยอมรับได้ ที่จะให้ ผู้รู้ดีกว่าตน ตัดสินว่าได้หรือไม่ได้มาตรฐาน

ดังนั้นการดำเนินการที่เหมาะสม เมื่อผู้ป่วยเกิดความเสียหาย คือการร้องเรียนไปยังผู้อำนวยการโรงพยาบาล และ หรือการร้องเรียนแพทยสภา ในเบื้องต้น การดำเนินการเช่นนี้แพทย์ส่วนใหญ่ยอมรับได้ โรงพยาบาลส่วนใหญ่ (สมัยนี้) ก็ยอมรับได้เช่นกัน ผู้บริหารโรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ มักพร้อมที่จะให้การชดเชยบ้างไม่มากก็น้อย โรงพยาบาลที่ดีมีมาตรฐานก็จะไปพัฒนาระบบการพยาบาลให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

การฟ้องร้อง และ การออกสื่อ เป็นเรื่องที่วงการแพทย์ยอมรับได้ยาก เพราะมีการ 'ตัดสิน' ตัวแพทย์ โดยไม่อยู่ในพื้นฐานของความเป็นจริง เสียเวลามากทั้งแพทย์และผู้ป่วย มองอย่างไรก็ไม่เป็นการสร้างสรรค์ คนที่ได้ประโยชน์ คือ ทนาย กับ นักข่าว คนเสียประโยชน์คือทั้งแพทย์ และประชาชน ผู้ใดฟ้องร้องมักถูกมองว่าเป็นพวกเห็นแก่เงิน เป็นต้น (ทั้งที่เรารู้กันอยู่ว่าแท้จริงมีความตั้งใจอยากให้วงการแพทย์ดีขึ้น)

ไม่ว่าผลการตัดสินจะเป็นอย่างไร ระบบสาธารณสุขก็จะไม่ดีขึ้น มีแต่จะเกิดความไม่ไว้วางใจกันมากขึ้น ค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น มีการปรึกษาแพทย์หลายคนบ่อยครั้งเพราะไม่ไว้ใจ เสียเวลากันทั้งสองฝ่าย ในที่สุดจะเกิดอาชีพประกันความเสี่ยง ประชาชนต้องจ่ายเงินมากขึ้น แพทย์ต้องจ่ายเงินมากขึ้น เม็ดเงินจะไหลออกนอกวงการสาธารณสุข ไปอยู่ในมือของธุรกิจการประกันภัย ประชาชนที่มีความโลภจะเริ่มคิดหาประโยชน์จากความเจ็บป่วยของตน

การฟ้องร้องเกิดขึ้นเพราะความจำเป็นบีบบังคับ
เท่าที่ผมได้ฟังมา ผมเข้าใจว่า สมาชิกของเครือข่ายตัดสินใจฟ้องร้องต่อศาล เพราะความจำเป็น กล่าวคือ โรงพยาบาลมิได้ให้การชดเชยที่สมควรตามหลักมนุษยธรรมหรือปฏิเสธการชดเชยแก่ผู้เสียหาย วิธีเดียวที่จะได้รับการชดเชยคือการฟ้องร้องต่อศาลแพ่ง ระบบของศาลกำหนดให้มีอายุความ การร้องเรียนต่อแพทยสภามีความล่าช้า ทำให้เสี่ยงต่อการขาดอายุความและการตัดสินมักไม่เข้าข้างผู้ป่วย ทำให้น้ำหนักของฝ่ายผู้เสียหายน้อยลง ดังนั้นผู้เสียหายจึงจำเป็นต้องร้องต่อศาลเสียก่อนที่จะทราบผลการตัดสินของแพทยสภา จึงจะเป็นไปได้ที่จะได้รับการชดเชยบ้าง การเรียกร้องก็จำเป็นต้องแสดงตัวเลขสูงไว้ก่อน เป็นธรรมเนียม แต่ในที่สุดศาลจะตัดสินเท่าใดก็แล้วแต่ดุลยพินิจของศาล แต่สิ่งที่พอใจคือ ได้ให้บทเรียนแก่แพทย์ที่เลินเล่อ ไม่ยอมรับผิดเสียแต่แรก มิใช่เงินที่ได้ชดเชย

ถ้าผมเข้าใจถูกต้องแล้ว เราก็พอเห็นช่องทางที่จะป้องกันมิให้ผู้เสียหายต้องลำบากไปขึ้นโรงขึ้นศาล ทำให้แพทย์ทั้งหลายเสียเวลา และประชาชนเสื่อมศรัทธาไปกับวงการแพทย์โดยรวม ทางออกที่ดีกว่า คือการเพิ่มประสิทธิภาพของการพูดคุยระหว่างแพทย์ผู้รักษาและผู้ป่วยและญาติของผู้เสียหาย ในกรณีส่วนใหญ่ซึ่งแพทย์กล้าอธิบาย หรือผู้ป่วยพยายามเข้าใจ ก็ไม่เกิดปัญหา แต่บางกรณีแพทย์และหรือผู้ป่วยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายมีความระแวงซึ่งกันและกัน ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดเรื่องลุกลามใหญ่โต ผมว่าเครือข่ายผู้เสียหายมีบทบาทในการเป็นที่พึ่งแก่ผู้เสีย และช่วยแนะนำให้ร้องเรียนในช่องทางที่เหมาะสม ในเวลาจำกัด

ในทางการแพทย์ ก็เริ่มมีการฝึกอบรมในการบริหารความเสี่ยง มีการแนะนำให้ผู้บริหารลงมาดูแลญาติของผู้เสียหายอย่างรวดเร็ว และอธิบายให้ญาติได้เข้าใจสถานการณ์ตามจริง แต่ก็ยังมีบางโรงพยาบาลที่ล้าหลังในเรื่องเหล่านี้อยู่ แพทย์ทั่วไปที่ไม่ได้รับรู้วิธีการเหล่านี้จึงยังกังวลใจว่าเมื่อไรจะถึงคราวซวยของเขา และสามัญสำนึก คือการหนีหน้าไม่พูดด้วย ซึ่งมิได้แปลว่ามีความผิดพลาดและปกปิดเสมอไป

การมี 'คนกลาง' ที่ทั้งแพทย์และผู้ป่วยไว้วางใจ เป็นผู้ใกล่เกลี่ยน่าจะป้องกันการฟ้องร้องที่จะไม่เกิดประโยชน์ ผมว่าคนกลางที่เป็นแพทย์น่าจะสามารถหาข้อมูลได้โดยการพูดคุยกับแพทย์ผู้รักษาได้โดยตรง หากผิดพลาดก็ชี้ชวนให้ผู้บริหารจัดการชดเชย และแพทย์ได้กล่าวขอโทษผู้ป่วย หากไม่ผิดพลาดก็เปิดช่องทางให้อธิบายแก่ผู้ป่วยเพื่อไม่ค้างคาใจ ในขณะเดียวกันคนกลางน่าจะสามารถประเมินว่าผู้เสียหายประสงค์ดี หรือประสงค์ร้าย หากขอโทษแล้วจะพอใจหรือไม่ ถ้าเป็นดังที่คาดเรื่องก็ควรจบลงด้วยดี

บางทีเราอาจพบว่าปัญหาไม่อยู่ที่ตัวคน แต่อยู่ที่ระบบสาธารณสุขก็ได้ เราก็อาจจะสนับสนุนให้ฟ้องผู้บริหารองค์กรเพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบสาธารณสุข แพทย์ผู้รักษาก็คงจะยินดีด้วยที่จะทำให้การทำงานของเขาในสภาพที่บีบคั้นเป็นไปในทางดีขึ้น ตัวอย่างทำนองนี้ได้เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา แพทย์ประจำบ้านคนหนึ่งทำงานในโรงพยาบาลในนิวยอร์ค ได้ตัดสินใจการรักษาผู้ป่วยรายหนึ่งผิดพลาดเพราะอดนอนอยู่เวรทั้งคืนและทำงานต่อจนเช้า ผู้ป่วยจึงได้ฟ้องรัฐนิวยอร์คในที่สุดชนะคดี ทำให้รัฐนิวยอร์คออกกฎ มิให้แพทย์ประจำบ้านทำงานเกิน 24 ชั่วโมงติดต่อกัน เป็นต้น เป็น win-win situation สำหรับทั้งแพทย์และผู้ป่วย

อย่างไรก็ดี ผมเห็นว่าการขอเวชระเบียนของผู้เสียหาย หรือเสียชีวิตมาดู ย่อมถูกมองว่าเป็นการคุกคามไว้ก่อน และการบันทึกในเวชระเบียนก็ไม่เคยสมบูรณ์ ดังนั้นในบริบทของสังคมไทย การพูดคุยระหว่างแพทย์ด้วยกันจะเป็นก้าวแรกที่ดีกว่ามากครับ ถ้าเครือข่ายเห็นด้วย ผมว่าน่าจะขอให้ แพทย์คนกลางไปคุยกับ แพทย์ผู้รักษาโดยตรงทันทีที่ทราบว่า มีผู้ป่วยรายหนึ่งปรึกษาเครือข่ายว่าไม่พอใจการรักษา หากเราประเมินกันแล้วว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีทัศนะคติไม่เหมาะสม จึงจะเริ่มขั้นตอนการขอเวชระเบียนเพื่อศึกษา ทั้งคนกลางและ/หรือเครือข่ายก็จะถอนตัวออกจากการให้ความช่วยเหลือ ปล่อยให้พวกเขาเผชิญชะตากรรมที่ตนได้ก่อขึ้น

ท่านคิดเห็นอย่างไรกับแนวคิดนี้ครับ ?
โดย: IPN [12 ก.ย. 48 23:09] ( IP A:58.10.169.31 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   _อาจารย์ IPN พูดได้ตรงจุดมากที่สุด ผมเองก็ประสบมาอย่างนี้

จากประสบการณ์ ผมอยากเรียนให้แพทย์ทุกท่านทราบว่า เวชระเบียนนั้น ขอให้ยึดถือต้นฉบับจริง อย่าไปสร้างแต่งเพิ่ม อย่าไปตัดทิ้ง เพราะความที่เวชระเบียนไม่สมบูรณ์นั้นเป็นประโยชน์ เป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือ

และการประนีประนอมจะเกิดขึ้นได้โดยอาศัย ช่องว่างที่อยู่ในความไม่สมบูรณ์ของเวชระเบียนนั้นเอง

เพราะเวชระเบียนที่ไม่ถูกแก้ไขตกแต่งนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริงๆ เมื่อไม่มีการแก้ไขแต่งเติม ผู้เสียหายก็จะลดอคติที่มีต่อแพทย์ได้มากที่สุด

ปัญหาที่ถูกฟ้องออกสื่อ ร้อยละเก้าสิบเก้า มีจุดเริ่มที่การฉ้อฉลเวชระเบียน จนไม่สามารถประนีประนอมได้ครับ

โดยความคิดส่วนตัวผมรับได้ และเห็นด้วยกับแนวคิดของท่าน
โดย: LEX [13 ก.ย. 48] ( IP A:61.91.163.141 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ผมเห็นว่าแค่ขอแล้วให้ช้าา หรือ ขนาดให้แล้ว บางทียังหาว่า เอาไปตกแต่ง เอาไปทำใหม่ ไม่ใช่ของเดิม แล้วแบบนี้จะทำไง?
โดย: Evil-dog [13 ก.ย. 48] ( IP A:202.28.181.9 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ง่ายนิดเดียวคุณ Evil-dog
ถ่ายสำเนาให้เขา แล้วให้เขานั่งตรวจเทียบกับตัวจริง
แล้วให้เขาเซ็นต์รับทราบว่าไม่มีการตกแต่ง

กล้าพอหรือเปล่า

ไม่มีไรจริงหรือเปล่า
โดย: รู้ทัน [13 ก.ย. 48 8:25] ( IP A:61.90.14.243 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   อิอิ งั้น ก้อ ถ่ายสำเนาให้ผู้ป่วยทุกรายที่มา นอน รพ. ปกติ เห็นเวลาคนไข้ออกจากโรงพยาบาลจะมีบสรุปการรักษาให้ถือกลับบ้านหนึ่งใบ ใน รพ โรงเรียนแพท์ หน่ะ อันนี้เอาไว้สื่อสารกับหมอคนอื่นเพื่อ ให้การรักษาต่อถูกต้อง ผมไม่แน่ใจว่า การเอาเวชระเบียนในนัยของเครือข่ายเนี่ยเอาไปเพื่อ วัตถุประสงค์ได จะเอาไปรักษาต่อ หรือ เอาไป เพื่อวัตถุประสงค์ อื่น เรื่องการเรียนรู้จากการผิดพลาด ในโรงเรีนยแพทย์ เขามีของเขาอยู่แล้ว เช่น Morbid mortal conference . เอาไป เพื่อให้ศาลทำหน้าที่นี้แทนเหรอ วัตถุประสงค์ที่จะเอามันมีอยู่ ฝ่ายให้ก็เลยไม่ให้เพราะมันเป้นแบบนี้แหล่ะ ความยุ่งยากมันเกิดขึ้น
เวชระเบียนไม่ใช่อะไรนักหนาหรอกครับแต่เจตนาต่างหาก ที่ทำให้เกิดความยุ่งยาก วัฒนธรรมใหม่กำลังจะเกิด ครับ เหมือนตำรวจที่โดนมองเป็นผู้ร้าย ครูที่เปลี่ยนไป พระที่ใส่บาตรได้ไม่สนิทใจ และหมอกำลังจะเป็นเหยื่อกลุ่มต่อไป
โดย: ไม่รู้ ไม่ทัน [13 ก.ย. 48 19:09] ( IP A:202.12.74.7 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมตามสนอง

เวชระเบียนคือหลักฐานสำคัญ ว่าการดูแลรักษานั้น เป็นไปตามมาตรฐานระดับใด
.
.
โดย: LEX (เจ้าบ้าน ) [13 ก.ย. 48 20:29] ( IP A:61.91.162.161 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   แล้วจะเอามาตรฐานระดับใหร มาตรฐานมีหลานยระดับแน่นอน อยากเอาแบบใหนหล่ะ
ต้มยาตมยาหม้อ ก้อมีมาตรฐาน
หรือจะเอามาตรฐานอเมริกัน แล้วประเทศไทยเหมือนอเมริกันหรือ เปล่า
โดย: อืม น่ะ [14 ก.ย. 48] ( IP A:202.12.74.7 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ผมเชื่อว่าทั้งผู้ป่วยและวงการแพทย์มีความเห็นร่วมกัน คือ 1. ผู้ป่วยที่เสียหายและเดือดร้อนควรได้รับการชดเชยตามสมควร และ 2. เราไม่อยากให้แพทย์ที่ไม่ได้มาตรฐานยังทำงานอยู่ในสังคม
---------------------------------------------------------
เหตุผลของเครือข่ายข้อ 1ผมยอมรับฟังแต่ผมไม่แน่ใจเหตุผลข้อที่2ของเครือข่ายว่าต้องการแบบนั้นหรือไม่และตัดสินมาตรฐานแพทย์จากอะไร
เพราะกรณีที่ฮือฮานี้เป็นคนไข้สตีเว่นและคนไข้SLE...ใครที่อยู่ในวงการแพทย์ก็รู้ว่าแคสแบบนี้มีแต่หมอที่บ้างาน(ชอบรักษาคนไข้มากกว่าบ้าเงิน)เท่านั้นที่ลงไปดูแล...หมอที่สนใจเงินเขาไม่เรียนอายุรกรรมเพื่อมารักษาโรคที่รุนแรงแบบนี้หรอก...ถ้าเปรียบหมอเหมือนเรือจ้างพาคนไข้ไปส่งยังที่หมาย,หมอหลายคนพายแล้วพายอีก....เมื่อมีบางรายไปไม่ถึงที่หมายหมอคนนั้นควรวางพายหรือไม่
สรุปว่าวิธีการฟ้องและประโคมข่าวตามสื่อไม่น่าจะบรรลุวัตถุประสงค์ข้อ2....ยิ่งทำยิ่งทำให้หมอดีๆที่มุ่งรักษาโรคยากๆในรพ.รัฐหมดกำลังใจ...หลายคนเวลาผมเอาคนไข้ยากๆไปปรึกษาท่านเหล่านั้นไม่กล้าฟันธงว่าควรทำอย่างไรต่อ...หมอหลายคนทิ้งมีดผ่าตัดไปอยู่ศูนย์สุขภาพชุมชน...น้องหมอที่พึ่งจบรอทุนเรียนโรคผิวหนังแทนที่จะเรียนสูติ-ศัลย์-อายุรกรรม.....นักรียนมัธยมเลือกเรียนสาขาแพทย์เป็นอันดับรองๆลงไป......นี่คือเหตุการณืที่เกิดขึ้นครับ


การมี 'คนกลาง' ที่ทั้งแพทย์และผู้ป่วยไว้วางใจ เป็นผู้ใกล่เกลี่ยน่าจะป้องกันการฟ้องร้องที่จะไม่เกิดประโยชน์
---------------------------------------------------------
การที่จะหาคนกลางจริงๆหาได้ยากมาก...สปสชจังหวัดน่าจะทำบทบาทนี้ได้ดีกว่าใครๆ


ให้ฟ้องผู้บริหารองค์กรเพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบสาธารณสุข
--------------------------------------------
ผมเคยเป็นผู้อำนวยการมาก่อนและถ้าใครเคยเป็นจะรู้ว่าบริหารราชการยากมาก...ตอนนี้หลายรพ.เป็นหนี้ท่วมตัวแล้ว,คนก็หลากหลายจะทำHAแต่ละทีต้องพูดแล้วพูดอีก
โดย: คนช่วยคิด [14 ก.ย. 48 19:58] ( IP A:202.149.122.18 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   HAน่าจะได้ประโยชน์มากที่สุดในการยกระดับมาตรฐานการแพทย์เพราะรพ.ที่ผ่านHA,หมอทำตามCPGของรพ.และะมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง,มีmorbid.mortal.coferenceเป็นประจำซึ่งการนำคนไข้มาศึกษาในรพ.เขาจะศึกษาเพื่อเรียนรู้ไม่ได้ศึกษาเพื่อเบลมกัน(หลีกเลี่ยงการเอ่ยชื่อแพทย์ผู้ดูแล)

สำหรับเรื่องชดเชยผู้เสียหายและตัวกลางไกล่เกลี่ยควรมอหมายให้สปสชเป็นผู้ดูแล
โดย: คนช่วยคิด [14 ก.ย. 48 20:59] ( IP A:202.149.122.18 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   เวชระเบียนไม่ใช่อะไรนักหนาหรอกครับแต่เจตนาต่างหาก ที่ทำให้เกิดความยุ่งยาก วัฒนธรรมใหม่กำลังจะเกิด ครับ เหมือนตำรวจที่โดนมองเป็นผู้ร้าย ครูที่เปลี่ยนไป พระที่ใส่บาตรได้ไม่สนิทใจ และหมอกำลังจะเป็นเหยื่อกลุ่มต่อไป
โดย: เห็นด้วย [22 ก.ย. 48 22:28] ( IP A:203.188.25.119 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   สรุปว่าวิธีการฟ้องและประโคมข่าวตามสื่อไม่น่าจะบรรลุวัตถุประสงค์ข้อ2....ยิ่งทำยิ่งทำให้หมอดีๆที่มุ่งรักษาโรคยากๆในรพ.รัฐหมดกำลังใจ...หลายคนเวลาผมเอาคนไข้ยากๆไปปรึกษาท่านเหล่านั้นไม่กล้าฟันธงว่าควรทำอย่างไรต่อ...หมอหลายคนทิ้งมีดผ่าตัดไปอยู่ศูนย์สุขภาพชุมชน...น้องหมอที่พึ่งจบรอทุนเรียนโรคผิวหนังแทนที่จะเรียนสูติ-ศัลย์-อายุรกรรม.....นักรียนมัธยมเลือกเรียนสาขาแพทย์เป็นอันดับรองๆลงไป......นี่คือเหตุการณืที่เกิดขึ้นครับ
โดย: นี่ก็เห็นด้วย [22 ก.ย. 48 22:29] ( IP A:203.188.25.119 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   ก็ ออกกฎหมายให้สำเนาเวชระเบียนผู้ป่วยกลับบ้านทุกครั้งสิ
โดย: งูเห่าจ๊ะ [22 ก.ย. 48 22:32] ( IP A:203.188.25.119 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   .
.
เวชระเบียนไม่ใช่อะไรนักหนาหรอกครับแต่เจตนาต่างหาก ที่ทำให้เกิดความยุ่งยาก
.
.
โดย: Lexกว่า [22 ก.ย. 48 22:33] ( IP A:203.188.25.119 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   สปสช ดูแล คิดว่าการชดเชยเป็นธรรมหรือไม่
ตาย 8 หมื่น อุทธรณ์ได้อีก 8 หมื่น (ถ้าผ่านการอนุมัติ)
บางทีกรรมการไม่อนุมัติ แต่ไปให้ตอนอุทธรณ์
ก็เท่ากับได้ 8 หมื่น

หากสปสช. เพิ่มจำนวนการชดเชยมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
อย่างเป็นธรรม คิดว่าปัญหาการฟ้องร้องจะน้อยลง
โดย: เสนอ [22 ก.ย. 48 22:45] ( IP A:61.91.84.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   ยึดความโปร่งใส ใจเขาใจเรา จะแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง แต่ถ้าโปร่งใสไม่ได้ ก็จะวุ่นวายไม่รู้จบ ระบบทุกอย่างต้องมีการตรวจสอบ จึงจะอยู่ได้ ไม่สร้างความเสียหายหรือสร้างปัญหา ถ้าตรวจสอบไม่ได้ก็จะมีปัญหาไม่รู้จบ
ตอนนี้เครือข่ายกำลังตรวจสอบ และสอนให้สังคมรู้จักตรวจสอบ ไม่ได้อยากทำลายวงการแพทย์
แต่ถามว่าที่ผ่านมาระบบตรวจสอบของวงการแพทย์ใช้ได้หรือไม่ ควรแก้ไขไหม การที่มีคนนอกมาช่วยตรวจสอบมันอายเขาไหม แต่ก็ยังดีนะที่เขาช่วยเราตรวจสอบ ไม่งั้นเราก็จะลงเหวไปเรื่อยๆ
โดย: โปร่งใส ใจเขาใจเรา [23 ก.ย. 48] ( IP A:58.10.64.16 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
   ถ้าไม่แน่ใจ พอไปหาหมอ ก็ขอสำเนาเวชระเบียนมาไว้ทุกครั้งเลยจะดีไหม แนะนำให้ทำแบบนี้ทุกที่ในประเทศเลยจะดีไหม
.
.เวชระเบียนไม่ใช่อะไรนักหนาหรอกครับแต่เจตนาต่างหาก ที่ทำให้เกิดความยุ่งยาก
.
.
เวชระเบียนคือบันทึกการรักษา ธรรมดา ๆ เท่านั้น แต่วิธีคิดของหมอสิ น่าสนใจกว่าเยอะ บ้าเวชระเบียนไปก็ไม่มีประโยชน์หรอก

แนะนำ ให้ขอสำเนาไว้ทุกครั้งด้วย จะได้เลิกพูดเท็จ ยุแหย่เขาไปทั่วเสียที
โดย: Lex กว่า [23 ก.ย. 48 22:45] ( IP A:203.114.120.154 X: )
ความคิดเห็นที่ 26
   คนป่วย,ตาย พูดตามตรงๆเลยคือ อยู่บ้านก็ตาย แต่ไป รพ.ให้หมอรักษาอาจรอด

การป่วย การตาย เป็นเรื่องที่มนุษย์เราสร้างขึ้น หรือเป็นเรื่องธรรมชาติ

คนป่วยมารักษาแพทย์รักษาเต็มที่ไม่สามารถช่วยชีวิตไว้ได้ เป็นความผิดของแพทย์หรือเป็นเรื่องธรรมชาติ

หรือเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่แพทย์ต้องรับผิด ถ้าแพทย์ไม่รับผิด จะต้องหาหน่วยงานมารับผิดให้ได้ กรณีนี้จะถือว่าเป็นการฝืนธรรมชาติหรือไม่

คนมารักษาแล้วตาย ต้องได้รับการชดเชยทุกกรณีหรือไม่ ปีๆหนึ่งมีคนตายกี่คน รัฐ รับภาระนี้ไหวหรือไม่
.
โดย: ลองคิดดู [28 ก.ย. 48 21:24] ( IP A:203.114.117.174 X: )
ความคิดเห็นที่ 27
    แพทย์รักษาเต็มที่ไม่สามารถช่วยชีวิตไว้ได้ เป็นเรื่องธรรมชาติ

แต่ถ้าเรื่องธรรมชาติ แล้วแพทย์ต้องรับผิด

ถือว่าเป็นการฝืนธรรมชาติ

.
โดย: เจ้าบ้าน [28 ก.ย. 48 22:09] ( IP A:61.91.162.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 28
   คนมารักษาแล้วตาย ควร ต้องได้รับการชดเชย เป็นบางกรณี
โดย: เจ้าบ้าน [28 ก.ย. 48 22:13] ( IP A:61.91.162.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 29
   ความคิดเห็นที่ 2
ฝากเจ้าของกระทู้เรื่อง "เวชระเบียน"
ที่ปัจจุบันนี้เกือบทุกโรงพยาบาลไม่ยอมให้ผู้ป่วย
ยิ่งเป็นการยั่วโมโหญาติและผู้ป่วยทำให้คุยกันไม่รู้เรื่อง

ถ้าทำเรื่องนี้สำเร็จ เรื่องอื่น ๆ ก็ง่าย
แล้วจ้า
โดย: ขอเรื่องเดียวก่อน [28 ก.ย. 48 23:10] ( IP A:61.91.160.10 X: )
ความคิดเห็นที่ 30
   ผมแนะนำว่าเข้าขื่อเสนอกฏหมายเลยครับ ว่าแพทย์ต้องสำเนาเวขระเบียน ให้ผู้ป่วยทุกครั้งที่ไปรักษา ถ้าผู้ป่วยนอน รพ.ให้สำเนาให้เป็นรายวันเลย

แค่ 5 หมื่นเสียง คุณก็มีสิทธิ์ จะได้เลิกเกี่ยงกัน ต้องไปขอหมายศาลเสียเวลา เสียความรู้สึกทั้งสองฝ่าย

เรื่องเวชระเบียนไม่มีปัญหาหรอกครับ แต่ที่มีปัญหา คือ รพ.เขามองว่าคุณหาเรื่อง หรือ เตรียมกำลังจะเอาเรื่องกว่า จึงไม่ให้ความร่วมมือ ซึ่งถ้าคุณเป็นเขา ก็คงไม่ต่างกันนะครับ ลองคิดดู
.
โดย: คุณได้สิทธินั้นเดี๋ยวนี้ [29 ก.ย. 48 13:23] ( IP A:203.188.28.3 X: )
ความคิดเห็นที่ 31
   กลับมาแล้วรึ
โดย: จำได้น่า [29 ก.ย. 48 15:21] ( IP A:210.86.181.20 X: )
ความคิดเห็นที่ 32
   .
เอาสักรายละ 2 ล้านเป็นไง
.
โดย: คุณได้สิทธินั้นเดี๋ยวนี้ [29 ก.ย. 48 19:45] ( IP A:203.188.36.138 X: )
ความคิดเห็นที่ 33
   เพิ่มเติม 2 ล้าน 30 % ก็ได้ตั้ง 6 แสนแล้ว 50 % ก็ ล้านหนึ่งแล้ว
ลงชื่อด่วน
.
.
โดย: เห็นช่องทาง [29 ก.ย. 48 20:06] ( IP A:203.188.36.138 X: )
ความคิดเห็นที่ 34
   ไม่เอารูปมาแปะอีกเหรอ แบบจะจะน่ะ คราวที่แล้วยังไม่จุใจเลยท่าน
โดย: เจ้าบ้าน [29 ก.ย. 48 20:38] ( IP A:58.9.176.28 X: )
ความคิดเห็นที่ 35
   ได้เลย ตามคำเรียกร้อง
โดย: งูเห่าจ๊ะ [30 ก.ย. 48 20:59] ( IP A:203.188.40.250 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน