บทความจากมติชน
   จริยธรรมและการอยู่รอด ของวิชาชีพเวชกรรม

โดย ปรีชา ภัททิยกุล

วิชาชีพแพทย์เป็นวิชาชีพที่มีเกียรติและศักดิ์ศรีสูง เป็นอาชีพที่สังคมวัตถุนิยมจับตามองและให้ความคาดหวังสูง

ปัจจุบันกฎหมายและองค์กรหลายองค์กรได้ออกมาให้การคุ้มครองผู้บริโภคมากกว่าที่จะมาคุ้มครองแพทย์ ความพอใจและเสรีภาพในการประกอบวิชาแพทย์ได้เริ่มหมดไป

ตัวอย่างเช่น พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ พ.ศ.2544 หรือ พ.ร.บ.ยา 2548 ซึ่งจะไม่อนุญาตให้แพทย์จ่ายยาให้แก่คนไข้ในคลีนิค เป็นต้น

สังคมมีองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคแต่ไม่มีองค์กรคุ้มครองวิชาชีพแพทย์ แพทย์ตกเป็นจำเลยของสังคมมากขึ้นทุกที โดยเฉพาะในกรณีฟ้องร้องแพทย์ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ในปัจจุบันสังคมได้เพิ่มความกดดันและผลกระทบต่อความรู้สึกและการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์เป็นอย่างมาก

อะไรคือเหตุก่อวิกฤตต่อวิชาชีพนี้

ประวัติของจริยธรรมแพทย์

อาชีพแพทย์เป็นอาชีพที่เก่าแก่มากที่สุดอาชีพหนึ่งของโลก มนุษย์เพศชายคนแรกของโลกชื่อ อดัม (Adam) ได้รับการวางยาสลบเพื่อเอาชายโครงที่ 12 มาสร้างเป็นมนุษย์เพศหญิงคนแรกของโลก วิสัญญี (ดมยา) จึงน่าจะเป็นศาสตร์แรกของวิชาแพทย์

ราวปี 450 ก่อนคริสต์กาล (B.C.) หรือ 2455 ปีมาแล้ว Hippocrates แพทย์ชาวกรีกผู้ซึ่งเป็นที่ยกย่องจากทั่วโลกว่าเป็นบิดาของแพทย์ โดยประวัติท่านเป็นอายุรแพทย์ไม่มีความรู้ทางศัลยกรรม ไม่มีความรู้ทางกระดูกสมัยนั้น เรียกว่า หิน (Stone) ท่านรักษาโรคในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนโรคส่วนใหญ่เป็นโรคปอดและมาลาเรีย ท่านวินิจฉัยโรคจากการดูอาการของโรค หลักการรักษาก็ใช้อาหารเสริม กายภาพบำบัด และจิตบำบัด สรุปคือท่าน Hippocrates คือ แพทย์ธรรมชาติบำบัดรุ่นแรกของโลก

สิ่งที่น่าสนใจมากคือ ท่านนายแพทย์ชาวกรีกผู้นี้ได้กล่าวคำปฏิญาณตนซึ่งถือว่าเป็นจริยธรรมแพทย์อันแรกของโลกโดยมีใจความย่อๆ ดังนี้

"ข้าพเจ้านายแพทย์ฮิปโปเครตีสขอสาบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายและต่อพระผู้เป็นเจ้าตลอดจนผู้ประสาทวิชาให้กับข้าพเจ้าว่า จะดูแลผู้ป่วยด้วยความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ จะไม่จ่ายยาหรือให้การรักษาที่ไม่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเพื่อเอาใจผู้ป่วย จะไม่ทำการผ่าตัดกระดูก (Stone) หรือทำหัตถการที่ข้าพเจ้าไม่มีความชำนาญ แต่จะส่งผู้ป่วยไปให้ผู้เชี่ยวชาญคนอื่นดูแลแทน ข้าพเจ้าจะแยกแยะความสัมพันธ์ส่วนตัวออกจากผู้ป่วย จะไม่ให้ผู้ป่วยมายั่วเย้าข้าพเจ้าในทางด้านกามารมณ์หรือธุรกรรมอื่นๆ ซึ่งจะทำให้ข้าพเจ้าสับสนและตัดสินใจผิดพลาด ข้าพเจ้าจะไม่ทำอันตรายต่อผู้ป่วยเป็นอันขาด (At least do no harm) ข้าพเจ้าจะเก็บความลับของผู้ป่วยอย่างที่สุด

ข้าพเจ้าหวังว่าคำสาบานนี้เมื่อได้ถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดแล้ว ข้าพเจ้าจะเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องจากสังคมทั่วไป และจะส่งผลทำให้วิชาชีพแพทย์ของข้าพเจ้ามีคุณค่าและศักดิ์ศรีตามความประสงค์ของข้าพเจ้า"

คำสาบานหรือสัญญาปฏิญาณ "Hippocrates Oath" นี้ แพทย์ทั่วโลกได้ยึดถือเป็นจริยธรรมมากว่า 2000 ปี

สมเด็จพระราชบิดากรมหลวงสงขลานครินทร์ "พระบิดาของวงการแพทย์ไทย" ก็เคยได้พระราชทานข้อแนะนำแก่แพทย์ไทยมีใจความว่า "ขอให้ท่านทั้งหลายที่จบการศึกษาเป็นทั้งแพทย์และมนุษย์เดินดิน" (I do not want you to be only a doctor I also want you to be a man) เป็นพระราชดำรัสที่มิให้แพทย์ไทยหลงผิดคิดว่าการเป็นแพทย์คือการเป็นเทวดา ให้มีใจกว้างรับฟังผู้อื่น มีความเป็นมนุษย์ติดดิน เป็นสุภาพบุรุษยอมรับการเปลี่ยนแปลง ปฏิรูป และการพัฒนาทางการแพทย์ และผลกระทบกับสังคม

เมื่อสมัยปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ต้น ค.ศ.1900 แพทย์ยังไม่มีหัตถการหรือเทคโนโลยีมาให้การบริการมากมายนัก โรงพยาบาลเอกชนเกือบไม่มี ได้อาศัยวัดและโรงพยาบาลรัฐบาลบางแห่งเป็นที่พักของผู้ป่วยหนัก สมัยนั้นคู่แข่งของแพทย์คือพวกพ่อมด หมอผี หรือเจ้าเข้าทรง มีเกจิอาจารย์หลายองค์ที่วัดต่างๆ ก็ได้ปฏิบัติตนเป็นแพทย์ด้วย

โรงเรียนแพทย์แห่งแรกในประเทศไทยคือศิริราช ตามด้วยจุฬาฯ และเชียงใหม่ สังคมส่วนใหญ่ไม่ใช่สังคมวัตถุนิยมเช่นปัจจุบัน

การคัดเลือกนักศึกษาแพทย์

การคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาในโรงเรียนแพทย์ส่วนมากเป็นไปอย่างเข้มงวด โดยพิจารณาความสามารถในการเรียนหรืออิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา เป็นอันดับแรก ส่วนคุณธรรม 4 ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ไม่มีอยู่ในการพิจารณาในสมัยนั้น

ในช่วงสงครามเวียดนาม พ.ศ.2509-2515 ได้มีการเปลี่ยนแปลงในวงการแพทย์ไทยเป็นอย่างมาก

กล่าวคือ มีแพทย์ไทยได้เดินทางไปสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมาก เพื่อศึกษาต่อ มีโรงพยาบาลเอกชนสร้างขึ้นหลายร้อยแห่ง

ได้มีแพทย์ไทยจำนวน 2,000 ท่าน มีความสามารถสอบเทียบไปศึกษาอบรมต่อในประเทศสหรัฐอเมริกา (ส.ร.อ.)

แพทย์ไทยเหล่านี้ส่วนน้อยได้กลับประเทศไทยหลังเสร็จสิ้นการอบรมแล้ว ส่วนใหญ่ยังอยู่ประกอบวิชาชีพใน ส.ร.อ. แพทย์ไทยใน ส.ร.อ.ได้ก่อตั้งสมาคมแพทย์ไทยในสหรัฐอเมริกาและมีกิจกรรมเดินทางมาประเทศไทยทุกๆ ปีประมาณปลายเดือนมิถุนายน โดยมีวัตถุประสงค์มาเยี่ยมบ้านเกิดและให้การบริการทางการแพทย์ และอบรมวิชาการแก่แพทย์ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเป็นการตอบสนองคุณของประเทศบ้านเกิด

แพทย์ไทยใน ส.ร.อ.ส่วนใหญ่ก็ได้เลิกประกอบอาชีพไปแล้วเนื่องจากความกดดันและความเสี่ยงในการประกอบอาชีพใน ส.ร.อ.

การเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นวัตถุนิยม

การเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ (globalization) เป็นสังคมวัตถุนิยมคุ้มครองผู้บริโภคมีผลกระทบต่อวิชาชีพแพทย์ทั่วโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ใน ส.ร.อ.ประมาณ 20-30 ปีที่ผ่านมา มีการปฏิรูปสำคัญ (Revolution) ของการให้บริการทางการแพทย์อย่างมากมาย

การปฏิรูปการให้การบริการทางการแพทย์

เพิ่มความกดดันต่อแพทย์มากขึ้น

เนื่องจากในช่วงก่อน ค.ศ.1980 การให้การบริการทางการแพทย์ใน ส.ร.อ.กว่าครึ่ง เป็นในรูปแบบเอกชน แพทย์มีเสรีภาพมากในการประกอบอาชีพ โรงพยาบาลเอกชนซึ่งมีจำนวนประมาณ 4,000 แห่ง ได้รับค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่มาจากบริษัทประกันสุขภาพ และโครงการสวัสดิการจากรัฐบาลกลาง (Federal Government)

โครงการสวัสดิการที่ว่านี้มีสองโครงการ คือ 1.Medicare สำหรับชาวอเมริกันที่อายุเกิน 65 ปี 2.Medicaid สำหรับชาวอเมริกันที่ยากจน มีรายได้ต่ำกว่า 8 พันเหรียญสหรัฐต่อปีต่อคน คนจนใน ส.ร.อ.มีประมาณ 50 ล้านคน โครงการ Medicaid นี้คล้ายๆ กับโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคของไทยต่างกันที่ว่าของรัฐบาลไทยโครงการ 30 บาทมอบให้ทุกคน รวยหรือจนไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ เป็นโครงการประชานิยมสูงสุดโครงการหนึ่งในโลก

ในช่วง ค.ศ.1960-1980 ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพใน ส.ร.อ.เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี เขยิบขึ้นกว่า 10% ของรายได้ทั่วประเทศทั้งปี หรือ GDP (Gross Domestic Product) มากกว่างบประมาณของกระทรวงกลาโหมเสียอีก

ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการปฏิรูปการให้การบริการทางการแพทย์ใน ส.ร.อ. โดยปรับเป็นระบบเสริมสร้างสุขภาพ, H.M.O. (Health Maintenance Organization) โดยให้ความสำคัญต่อการป้องกันดูแลสุขภาพเป็นอันดับหนึ่ง

การปฏิรูปเป็นระบบนี้ทำให้เสรีภาพและรายได้ของแพทย์ใน ส.ร.อ.ลดลงอย่างมาก รวมทั้งธุรกิจระบบของเอกชน 4,000 แห่ง กว่า 1,000 แห่งต้องปิดกิจการไปเลย

เหตุผลอะไรที่ H.M.O. ก่อให้เกิดผลกระทบกว้างขวางเช่นนี้ คือ บริษัทประกันสุขภาพได้มากำหนดกฎเกณฑ์ให้โรงพยาบาลต่างๆ และแพทย์แทบทุกท่านเซ็นสัญญาธุรกรรมยอมให้บริษัทประกันสุขภาพมากำหนดมาตรการประหยัดต่างๆ

เป็นต้นว่า จะไม่อนุญาตให้คนไข้เข้ารับการผ่าตัดหรือรักษาในโรงพยาบาลโดยไม่มีเหตุสมควร ยกตัวอย่างการผ่าตัด 24 อย่างที่ต้องทำแบบ Day Surgery คือไปเช้าเย็นกลับ มีการบริหารจัดการให้แพทย์ Family Medicine ดูแลคนไข้โดยไม่ส่งต่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย การจ่ายยาก็เป็นยาคุณภาพต่ำ (generic) ราคาถูก

นอกจากนี้ยังมีบริษัทประกันสุขภาพบางบริษัทได้เปิดให้การบริการแบบครบวงจร เช่น บริษัท Kaiser Permanente ในรัฐแคลิฟอร์เนีย แพทย์จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างบริษัท ซึ่งจ่ายเงินเดือนขั้นต่ำให้ระบบ H.M.O. นี้ สังคมอเมริกันไม่ค่อยยอมรับ เนื่องจากชาวอเมริกันจะไม่มีเสรีภาพในการเลือกแพทย์ งบประมาณที่ถูกตัดไปกลายเป็นรายได้เพิ่มของบริษัทประกันสุขภาพ และได้ชักจูง (ล็อบบี้) สภาผู้แทนคองเกรสของ ส.ร.อ.ให้ออกกฎหมายมาคุ้มครองบริษัทประกันสุขภาพไม่ให้คนไข้ฟ้องร้องได้ แพทย์และโรงพยาบาลตกเป็นเป้าในการถูกฟ้องร้อง

คุณภาพของการให้การบริการทางการแพทย์เริ่มลดลง ความกดดันของแพทย์มีมากขึ้น

มีแพทย์ใน ส.ร.อ.ส่วนน้อยที่ไม่ยอมเซ็นสัญญากับบริษัทประกันสุขภาพ

แพทย์ที่ไม่เซ็นสัญญาจะมีคนไข้น้อยมาก บางท่านไม่ได้รับโอกาสให้ทำงานในโรงพยาบาลด้วยเพราะข้อผูกมัดกับบริษัทประกัน

การเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมามีการก่อสร้างโรงพยาบาลเอกชนขึ้นมาในประเทศไทยกันมาก โรงพยาบาลเอกชนเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นสถานที่ประกอบวิชาชีพของแพทย์ที่รับราชการให้มีรายได้พิเศษ

30 ปีที่ผ่านมาโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยมีหลายร้อยแห่ง ทุกๆ แห่งก็ผ่านร้อนผ่านหนาวทางเศรษฐกิจกันมาทั้งนั้น ที่ประสบความสำเร็จผ่านวิกฤตต้มยำกุ้ง เศรษฐกิจฟองสบู่แตกเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ก็พอมีบ้างโดยเอาเข้าตลาดหลักทรัพย์หาทุนกัน

การปฏิรูปในการให้การบริการทางการแพทย์ในด้านเอกชนของไทยสวนทางกับใน ส.ร.อ. เพราะโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยมีรายได้ส่วนใหญ่จากผู้มาใช้บริการโดยตรง (Self pay) ไม่ใช่จากบริษัทประกันสุขภาพ

บางโรงพยาบาลก็อยู่ได้จากคนไข้ประกันสังคมซึ่งมีจำนวนเป็นหมื่นเป็นแสน บางโรงพยาบาลก็อยู่ได้จากคนไข้ต่างชาติ

สรุปแล้วก็คือมีการก่อให้เกิดแพทย์พาณิชย์ขึ้น มีการขายและการซื้อการบริการ

ผลกระทบโดยตรงของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลเอกชน คือ แพทย์จะอยู่ในฐานะเป็นลูกจ้าง ต้องทำตามกฎเกณฑ์และนโยบายของโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งนโยบายก็คือ หารายได้ให้โรงพยาบาลและตัวเองให้มากที่สุด

จริยธรรมของแพทย์เริ่มถึงจุดเสื่อม สังคมไทยเป็นสังคมแบบอุปถัมภ์นิยมและพวกพ้อง ผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่จะเป็นญาติหรือเพื่อนสนิทของผู้ถือหุ้นใหญ่ของโรงพยาบาล

สรุปแล้วแพทย์มีความกดดันจากผู้บริหารโรงพยาบาลและสังคมเพิ่มขึ้น เนื่องจากการพัฒนาการให้บริการทางการแพทย์เปลี่ยนไปในเชิงธุรกิจมากขึ้น เพื่อหากำไรให้ผู้ถือหุ้น ผู้บริโภคจึงได้รับความคุ้มครองจากสังคมเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

วิวัฒนาการช่วงการให้บริการทางการแพทย์ของไทย

- ผลกระทบต่อแพทย์ โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคของรัฐบาล เท่าที่ทราบคือ ความกดดันของแพทย์มีมากขึ้น งานมาก เงินน้อย โรงพยาบาลขาดงบประมาณ คุณภาพในการประกอบวิชาชีพลดลง แพทย์ลาออกจากราชการมากขึ้น รัฐบาลไม่สามารถหางบประมาณอุดหนุนโรงพยาบาลต่างๆ ได้พอ

- โครงการ Medical Hub ของรัฐบาลไทยมีการตั้งเป้าหมายจะให้ชาวต่างชาติมาใช้บริการทางการแพทย์ในไทยเป็นจำนวน 5-6 แสนคนต่อปี ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดีก็คือจะมีรายได้เข้าประเทศไทยมากขึ้น

แต่การกระจายรายได้เป็นไปไม่ทั่วถึงเนื่องจากประเทศไทยมีโรงพยาบาลระดับอินเตอร์ไม่มากพอ บุคลากรทางการแพทย์ก็ไม่พอที่จะให้การบริการคนไข้อยู่แล้ว ถึงขนาดทางรัฐบาลไทยวางนโยบายจะอนุมัติให้แพทย์ชาวต่างชาติมาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย ได้ข่าวมาว่าแพทยสภาไทยคัดค้านนโยบายนี้แบบสุดสุด

เมื่อวันที่ 1-3 ตุลาคม 2547 ได้มีการสัมมนาวิชาการในหัวข้อ ผลดีและผลร้ายของการมี Medical Hub ในประเทศ และผลกระทบของการบังคับให้แพทย์ซื้อประกันความเสี่ยงของอาชีพ (Malpractice insurance) วิทยากรผู้บริหารวงการแพทย์ไทยได้ให้ข้อแนะนำว่าธุรกิจที่มาจากคนไข้จากต่างประเทศนั้นไม่แน่นอน จะเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสสังคม การเมือง และเศรษฐกิจของโลก

การขายการบริการทางการแพทย์ก็เหมือนธุรกิจอื่นๆ ในยุคของการค้าเสรี (Free Trade Agreement) จะต้องมีการประสานและการศึกษาจากองค์กรของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นด้านความมั่นคง เพราะเราก็ไม่ทราบว่ามีผู้ก่อการร้ายแฝงเข้ามาในไทยเป็นคนไข้มากน้อยแค่ไหน

ด้านกฎหมายระหว่างประเทศว่าความเสี่ยงในการขายบริการทางการแพทย์มีมากน้อยแค่ไหน ด้านเศรษฐกิจได้ทราบมาว่าคนไข้ต่างชาติค้างชำระเงินแพทย์และโรงพยาบาลปีละหลายร้อยล้านบาท

โดยเฉพาะขณะนี้เศรษฐกิจของประเทศไทยและของโลกกำลังอยู่ในภาวะขาลง มีภัยธรรมชาติและปัจจัยการปั่นราคาน้ำมันด้วยการซื้อขาย Future กัน

ทุกวันนี้มีเศรษฐีน้ำมันกระดาษเกิดขึ้นมากมาย ภัยธรรมชาติครั้งล่าสุดคือ เฮอร์ริเคนแคทรีนาที่ถล่มเมืองนิวออร์ลีนส์ ในรัฐหลุยส์เซียนาจมใต้น้ำ ตลอดจนมีผลกระทบอีก 2 รัฐ คือ มิสซิสซิปปีและอลาบามา ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อประเทศสหรัฐเป็นวงเงินกว่า 100 พันล้านดอลลาร์ หรือ 4 ล้านล้านบาท คิดเป็น 4 เท่าของงบประมาณประจำปี 2549 ของประเทศไทย

มีผู้กล่าวว่าผลกระทบใน ส.ร.อ. ไม่ว่าจะเป็นทางการแพทย์ สังคม เศรษฐกิจ จะมีผลกระทบต่อโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจาก ส.ร.อ.เป็นประเทศที่มีฐานะเป็นผู้นำและตำรวจของโลก

ความผันผวนของเศรษฐกิจในประเทศไทยและของโลกก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้โครงการ Medical Hub ของไทยจะได้รับผลกระทบไปด้วย

จำนวนนักท่องเที่ยวและคนไข้ต่างชาติที่เข้าไทยลดลงเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์หลังเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ เมื่อ 26 ธันวาคม 2547 มีผลกระทบต่อรายได้หลักจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก

บทสรุป

สังคมปัจจุบันตลอดจนรัฐบาล องค์กรเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคเศรษฐกิจของโลก และประเทศไทย ตลอดจน พ.ร.บ.ต่างๆ มีอคติต่อแพทย์โดยให้การคุ้มครองประชาชนหรือผู้บริโภคมากกว่าแพทย์สืบเนื่องจากการ ปฏิรูปการให้การบริการทางการแพทย์ แม้แต่องค์กรทางการแพทย์เองก็มิได้ให้หลักประกันความมั่นคงของวิชาชีพแพทย์

แพทย์จะมีความรู้สึกว่าเป็นฝ่ายตั้งรับในสถานการณ์ปัจจุบัน ความรู้สึกทางลบและความกดดันจากสังคมยุควัตถุนิยมอันนี้ส่งผลร้ายต่อการปฏิบัติงานของแพทย์

ทำอย่างไรแพทย์ถึงจะดำเนินอาชีพให้คล้อยตามการเปลี่ยนแปลงนี้เพื่อการอยู่รอด

การนำจริยธรรมและคุณธรรมของแพทย์มาให้อาจจะเป็นหนทางหนึ่ง สังคมไทยเปลี่ยนไปมากถึงขนาดมีอาจารย์แพทย์หรือแพทย์บางท่านสละเวลาไปเรียนวิชากฎหมายเพื่อให้คำแนะนำต่อแพทย์ด้วยกัน

จะมีทนายความในโลกนี้สักกี่คนที่ยินดีปกป้องคุ้มครองแพทย์ซึ่งตกอยู่ในสถานการณ์ตั้งรับอยู่ตลอดเวลา ทนายความส่วนใหญ่ยินดีว่าความให้ผู้บริโภคเนื่องจากโอกาสชนะคดีมีสูงกว่า ถ้าสังคมไม่ให้ความเป็นธรรมต่อแพทย์ตามสมควรในอนาคตจะมีการขาดแคลนแพทย์

ขออย่าให้ถึงขนาดว่าถ้าไส้ติ่งแตกก็ช่วยตัวเองเถอะ

smile เอามาให้อ่านกันบ้างครับ
โดย: pt 222048 วิชัยยุทธ [29 ต.ค. 48] ( IP A:61.91.162.8 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
    สรุปแล้วก็คือมีการก่อให้เกิดแพทย์พาณิชย์ขึ้น มีการขายและการซื้อการบริการ

ผลกระทบโดยตรงของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลเอกชน คือ แพทย์จะอยู่ในฐานะเป็นลูกจ้าง ต้องทำตามกฎเกณฑ์และนโยบายของโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งนโยบายก็คือ หารายได้ให้โรงพยาบาลและตัวเองให้มากที่สุด

จริยธรรมของแพทย์เริ่มถึงจุดเสื่อม สังคมไทยเป็นสังคมแบบอุปถัมภ์นิยมและพวกพ้อง ผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่จะเป็นญาติหรือเพื่อนสนิทของผู้ถือหุ้นใหญ่ของโรงพยาบาล


.
.cry เจอกันมาแล้วหลายคนนะครับ สมาชิกเครือข่ายนี้
โดย: pt 222048 วิชัยยุทธ [29 ต.ค. 48] ( IP A:61.91.162.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   จากข้อความข้างบน
ก็ลาออกจากเอกชนมาทำงานรัฐบาลเถอะครับ มีคนไข้รออยู่มากมาย
โดย: 111 [29 ต.ค. 48 10:35] ( IP A:61.19.193.105 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   จากบทความ....

-ผลกระทบต่อแพทย์ โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคของรัฐบาล เท่าที่ทราบคือ ความกดดันของแพทย์มีมากขึ้น งานมาก เงินน้อย โรงพยาบาลขาดงบประมาณ คุณภาพในการประกอบวิชาชีพลดลง แพทย์ลาออกจากราชการมากขึ้น รัฐบาลไม่สามารถหางบประมาณอุดหนุนโรงพยาบาลต่างๆ ได้พอ

- โครงการ Medical Hub ของรัฐบาลไทยมีการตั้งเป้าหมายจะให้ชาวต่างชาติมาใช้บริการทางการแพทย์ในไทยเป็นจำนวน 5-6 แสนคนต่อปี ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดีก็คือจะมีรายได้เข้าประเทศไทยมากขึ้น
--------------------------------------------------------------------
รายได้เข้าประเทศหรือกระเป๋าใครมากขึ้น...
สงสัยยังไม่ลืมหูลืมตาทำความเข้าใจในที่มาที่ไปของโครงการ 30 บาทและ medical hub อีก
คำสองคำก็อ้างแต่จริยธรรมของแพทย์เสื่อม นี่คุณไม่รู้เลยเหรอว่าเบื้องหลังนโยบายของรัฐบาลชุดนี้มีที่มาที่ไปทั้งนั้น ลองสืบๆดูละกันว่า นายทุนที่ถือหุ้นใหญ่ในรพ.เอกชนใหญ่ๆจะเป็นใคร...ถ้าไม่ใช่พวกมัน พวกที่นั่งอยู่ในรัฐบาลมันฉลาดเกมโกงทั้งนั้น เราๆรู้กันอยู่ แต่จะไปทำอะไรมันได้ในเมื่อพวกมันคิดว่ประเทศนี้เป็นของพวกมันคนเดียว
เรื่องนโยบาย 30 บาทและ medical hub (และรวมไปถึงการดำเนินนโยบายเร่งสร้างผลิตแพทย์จำนวนมากในรพ.ต่างๆที่ยังไม่มีความพร้อม..เพื่ออะไร) เรื่องพวกนี้เป็นแค่หนึ่งในร้อยเท่านั้น ลองไปฟังดูเรื่องอื่นๆที่เหลืออีกเยอะแยะhttps://www.managerradio.com/Radio/DetailRadio.asp?program_no=1002&mmsID=1002%2F1002%2D1056%2Ewma&program_id=1980

และประโยคข้างบนที่ว่า...
สรุปแล้วก็คือมีการก่อให้เกิดแพทย์พาณิชย์ขึ้น มีการขายและการซื้อการบริการ

ผลกระทบโดยตรงของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลเอกชน คือ แพทย์จะอยู่ในฐานะเป็นลูกจ้าง ต้องทำตามกฎเกณฑ์และนโยบายของโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งนโยบายก็คือ หารายได้ให้โรงพยาบาลและตัวเองให้มากที่สุด
จริยธรรมของแพทย์เริ่มถึงจุดเสื่อม สังคมไทยเป็นสังคมแบบอุปถัมภ์นิยมและพวกพ้อง ผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่จะเป็นญาติหรือเพื่อนสนิทของผู้ถือหุ้นใหญ่ของโรงพยาบาล

----------------------------------------------------------------------
....อยากด่าก็ด่าไปเถอะหากพวกเค้าเป็นอย่างที่คุณคิดจริงๆ แต่ขอร้องว่าอย่ามาด่าเหมากราดกระทบถึงแพทย์ในรพ.รัฐ

ว่าแต่หมอในเครือข่ายที่ทำงานให้กับเอกชนได้อ่านข้อความข้างบนแล้ว..ไม่รู้สึก ระแคะระคายหูบ้างหรือ

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับหมอ 111 ถ้าไม่อยากให้คนอื่นเค้ามองอย่างที่เค้าพูด ให้ลาออกจากเอกชนมาทำงานในรพ.รัฐเหมือนเดิม
โดย: แค่หมอคนหนึ่ง [29 ต.ค. 48 14:21] ( IP A:203.170.228.172 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
    ว่าแต่หมอในเครือข่ายที่ทำงานให้กับเอกชนได้อ่านข้อความข้างบนแล้ว..ไม่รู้สึก ระแคะระคายหูบ้างหรือ

เครือข่ายผู้เสียหายฯ ตรงไปตรงมาตลอดเวลา เรื่องจริงบางครั้งก็กระทบความรู้สึกพวกเดียวกันบ้าง แต่ในฐานะของสมาชิกเครือข่ายทุกท่านรับได้กับคำวิพากษ์ ในเมื่อมันเป็นความจริง
.
.puppy
โดย: เจ้าบ้าน [29 ต.ค. 48 23:07] ( IP A:58.9.176.39 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ถ้ามีเงินมาล่ออยู่ตรงหน้า ใครๆก็มักคว้าเอาไว้ก่อนทั้งนั้น แพทย์ก็ไม่ต่างจากคนทั่วไป ที่ต้องทำงานเพื่อความอยู่รอดของครอบครัว ทำงานแลกกับเงิน นั่นคือความจริง สถานะลูกจ้างนะชัวอยู่แล้ว เพราะไม่มีปัญญาไปสร้าง รพ.เองได้ นายจ้าง ผู้ถือหุ้นสั่งอย่างไร ก็ต้องทำตามนั้น ถ้าไม่งั้น ก็คงอยู่ด้วยกันไม่ได้หรอก หรือคุณว่าไม่จริง เรื่องจริยธรรม ก็พอมีบ้าง แต่ความอยู่รอดจำเป็นกว่า ถูกไล่ออก จะเลี้ยงครอบครัวได้อย่างไร
รพ.เอกชนนั้นเขาก่อตั้งขึ้นมาเพื่อแสวงหากำไรนะครับ โปรดเข้าใจไว้ด้วย ไม่มีของฟรี และ ไม่เอาของใครฟรีๆ เป็นการค้า การบริการปกติ
รพ.รัฐนั้น ตั้งเอาไว้ช่วยเหลือคนที่ไม่มีทางไปทุกคนของสังคมนะครับ ถ้าต้องการอะไร ตัวเองอยู่ในระดับไหน ก็เลือกใช้บริการให้ถูกที่ถูกเวลา เช่นจะเรียกร้องหาคุณภาพ การดูแลระดับ 5 ดาว ก็อย่าไปถามหาที่ รพ.รัฐให้เสียเวลา และอารมณ์
เป็นต้น
โดย: ตาดำๆ [1 พ.ย. 48 15:32] ( IP A:203.188.11.143 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   จาก คห. 7

เครือข่ายผู้เสียหายฯ ตรงไปตรงมาตลอดเวลา เรื่องจริงบางครั้งก็กระทบความรู้สึกพวกเดียวกันบ้าง แต่ในฐานะของสมาชิกเครือข่ายทุกท่านรับได้กับคำวิพากษ์ ในเมื่อมันเป็นความจริง -----------------------------------------------------------------

นั่นแสดงให้เห็นว่า ในเมื่อหมอในเครือข่าย หากตัวท่านเองยังเป็นแบบนั้น (คอยทำงานสนองผลประโยชน์พวกนายทุนเอกชน) ท่านจะมาแสดงตัวตนเป็นหมอตัวอย่างที่ดีได้อย่างไร เชื่อว่าถึงแม้ท่านจะมาพูดคอยตำหนิคอยวิจารณ์การทำงานของคนอื่นโดยเฉพาะแพทย์ในรพ.รัฐ(หรือแม้แต่ในเอกชนเอง)... ท่านก็คงพูดได้ไม่สนิทปาก

สำหรับหมอในเครือข่ายที่ไม่ได้ทำเอกชน คิดว่าถ้าท่านไม่เคยเป็นผู้เสียหาย..ท่านคงไม่คอยมาทุ่มเทและไม่มีเวลาให้กับสิ่งนี้หรอก(ใช่หรือไม่) และโดยส่วนตัวก็ไม่เชื่อว่าท่านไม่เคยทำสิ่งใดๆผิดพลาดเลย

ตั้งแต่เริ่มจบแพทย์ใหม่ๆร้อยทั้งร้อยเคยทำผิดพลาดทั้งนั้น(แล้วแต่รุนแรงมากรุนแรงน้อย ปริมาณเท่าไหร่ ) และต่อให้มาใช้ทุนทำงานต่อ 2-3 ปีหรือมากกว่านั้นก็ยังต้องผิดพลาด (อย่าพูดแต่ชีวิตจริงเลย แค่ทำข้อสอบและมีchoice ให้เลือก ข้อสอบร้อยข้อก็ยากที่จะทำได้เต็ม แต่นี่ชีวิตคนจริงๆ ซับซ้อนยิ่งกว่าในข้อสอบ จำเป็นต้องใช้ความรู้และประสบการณืที่กว้างขวาง และที่สำคัญไม่มี choice ให้คุณเลือก...ไม่มีทางที่จะไม่มีความผิดพลาดเลย )

ส่วนการใช้ทุนปีแรกมีความผิดพลาดมากที่สุดอาจเนื่องจากประสบการณ์ ภาระงานของรพ.จังหวัด(หากอยู่เวรอย่าหวังว่าได้งีบหลับสบาย แค่คนไข้ที่ทะลักมาจากทั้งรพ.ชุมชนและของรพ.เองก็ดูกันแทบไม่ทัน) ส่วนใช้ทุนปีหลังๆ ผิดพลาดส่วนหนึ่งมาจากศักยภาพของรพ. ,จากภาระงานตรวจผู้ป่วยนอก ฯลฯ

เชื่ออย่างแน่นอนว่าหมอในเครือข่ายก็เคยเจอแบบนี้หรือแม้แต่ในปัจจุบันนี้ก็คิดว่าคงยังมีไม่มากก็น้อย (แต่ความผิดพลาดอาจจะรุนแรงน้อยกว่าปีแรกๆ เนื่องจากประสบการณ์มากขึ้น) เพราะเราก็ไม่ได้รู้ไปทุกเรื่อง (ถ้ารู้ไปหมดก็ไม่ต้องมานั่งแยกอยู่หรอกว่ามีหมอเชี่ยวชาญด้านไหนบ้าง และบางโรคที่ไม่ชัดเจนเราคงไม่มานั่ง try treat ใช่มั้ย..หรือท่านจะปฏิเสธว่าทุกวันนี้ไม่มีคนไข้ที่ท่าน try treat อยู่ในมือท่านเลย ) ...แต่ก็เชื่อว่าหมอทุกคนก็ไม่ได้ตั้งใจที่จะให้ผลลัพธ์ออกมาเลวร้าย

ที่กล่าวมาไม่ได้ว่าอะไร(ไม่ได้อยากมาพูดกล่าวต่อหน้าคนไข้คนอื่นๆที่ได้มาอ่านหรอก) ก็แค่อยากให้ท่านประเมินดูตัวเองก่อน คนเราต้องดีจริงสมบูรณ์แบบทุกสิ่งทุกอย่าง และไม่มีข้อผิดพลาดหรือจุดบกพร่องใดๆเลย..ถึงจะมาสอนคนอื่นได้ แต่ถ้าท่านคิดว่าตัวท่านเองไม่เคยมีความผิดพลาดเลยทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ก็เชิญว่ากล่าววิจารณ์หมอคนอื่นได้ตามสบาย
โดย: แค่หมอคนหนึ่ง [1 พ.ย. 48 19:19] ( IP A:203.170.228.172 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   อะไรคือความผิดพลาด ของความเห็นที่ 9 อ่านแล้วไม่เข้าใจ
โดย: ตาดำๆ [1 พ.ย. 48 21:37] ( IP A:203.188.52.38 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ศีลธรรมของแพทย์นั้น ก็มีอยู่เท่าๆกับมนุษย์ทุกคนนั่นแหละครับ เพียงแต่ว่าระบบการแพทย์เอกชนนั้น เขามุ่งขายบริการ มุ่งหากำไรเป็นหลักครับ การบริการคือทำให้ลูกค้าพอใจ สมกับเงินที่เขาจ่ายให้เป็นค่าตอบแทน ทุกอย่างเป็นการค้า หรือจะเรียกให้เต็มปากว่าแพทย์พาณิชย์ก็คงไม่ผิดเท่าใดนัก แต่กลับเอามาแปลความหมายไปในทางเสื่อมเสีย ความจริงมีค่าก็แต่เพียง แพทย์รักษาให้คุณหาย คุณก็จ่ายค่ารักษาตอบแทนแพทย์(รพ.เอกชน) ก็เท่านั้น เป็นทางเลือกที่จะต้องไป รอคิว รพ.รัฐ คิวยาวเหยียด อาจรอนานเป็นวัน กว่าจะเสร็จ เข็ดไปตามๆกัน
ก็เท่านั้น เดือดร้อนอะไรกันหนักหนา ไอ้ทีไปรอคิวจ่ายค่าไฟที่การไฟฟ้า ค่าน้ำที่ประปา นานครึ่งวัน ยังบ่น เขาให้จ่ายที่ 7-11 หรือที่ธนาคารซึ่งสะดวกกว่าได้เป็นต้น ก็คงมีลักษณะ อุปสงค์ อุปทานปกติ
โดย: ผ่านมา [1 พ.ย. 48 21:43] ( IP A:203.188.52.38 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   ถึง คห.7 คำว่าตรงไปตรงมาใคร ๆ ก็พูดได้ แล้วจริงๆ ทำได้หรือเปล่า ใครจะไปรู้
โดย: พวกเดียวกันชมกันเองเขาเรียกว่ายกหางครับ [1 พ.ย. 48 22:29] ( IP A:203.156.47.18 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   อะไรคือความผิดพลาด ของความเห็นที่ 9 อ่านแล้วไม่เข้าใจ
โดย: ตาดำๆ [1 พ.ย. 48 21:37> ( IP A:203.188.52.38 X: )
-----------------------------------------------------------------------

ความผิดพลาดจากการรักษา (ที่เครือข่ายชอบพูดกันไง)

...
โดย: เข้าใจยัง [1 พ.ย. 48 23:07] ( IP A:203.170.228.172 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   จากคห.9

ขออธิบายคำว่า"ความผิดพลาด" อีกที (จะได้ไม่เข้าใจคลาดเคลื่อน)
ที่พูดนั้น หมายถึงว่า ความผิดพลาดในการประเมินผู้ป่วย,การวินิจฉัยโรค รวมไปถึงการให้การรักษาในผู้ป่วยแต่ละโรคหรือแต่ละ case ซึ่งอาจจะเกิดจากการไม่ตรวจดูคนไข้อย่างละเอียด ไม่มีประสบการณ์ความชำนาญหรือความรู้ในวินิฉัยและการรักษาที่เพียงพอ หรือไม่ได้ให้วินิจฉัยและรักษาตาม clinical practice guideline...โดยข้อบกพร่องเหล่านี้อาจมีสาเหตุมาจากตัวผู้ตรวจเอง(ที่ขาดความละเอียดหรือมีเวลาอันจำกัดในการตรวจคนไข้) หรือจากข้อมูลประวัติการเจ็บป่วยที่ได้จากคนไข้หรือญาติ หรืออุปสรรคอื่นหรือศักยภาพอันจำกัดของรพ.

คิดว่าคงมีแต่หมอเทวดา(หมอในเครือข่าย ??)เท่านั้น ที่ไม่เคยให้การวินิจฉัยและให้การรักษาที่ผิดพลาดเลย
โดย: แค่หมอคนหนึ่ง [2 พ.ย. 48 7:55] ( IP A:203.170.228.172 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน