เราเรียนรู้อะไรจากกรณีศึกษา สำนักปลัด สธ.แพ้คดี"คนไข้" โดย อจ วิฑูรย์
   เราเรียนรู้อะไรจากกรณีศึกษา สำนักปลัด สธ.แพ้คดี"คนไข้"

โดย นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ ที่ปรึกษาศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เหตุการณ์กรณีศาลจังหวัดนนทบุรีพิพากษาให้ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ่ายเงินทดแทนให้นางดอกรัก เพ็ชรประเสริฐ เป็นจำนวน 8 แสนบาท

กรณีแพทย์ที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ รักษาอาการป่วยของนางดอกรัก เพ็ชรประเสริฐ ที่เกิดจากการแพ้ยาชนิดที่อาการรุนแรง ที่ภาษาแพทย์เรียกว่า กลุ่มอาการสตีเวนจอห์นสัน แล้วผลสุดท้าย นางดอกรัก เพ็ชรประเสริฐ ต้องตาบอดนั้น ต่อมาได้เกิดปฏิกิริยาในหมู่แพทย์กลุ่มหนึ่ง พยายามกดดันให้กระทรวงสาธารณสุขอุทธรณ์คดีนี้

ผู้ที่ไม่ได้อ่านรายละเอียดในคำพิพากษาคดีนี้ ที่มีความรู้ทางแพทย์อยู่บ้างอาจสงสัยว่า เหตุใดจำเลยจะต้องรับผิด เพราะกลุ่มอาการแพ้ยาดังกล่าวเป็นลักษณะกลุ่มอาการที่ได้เกิดขึ้นโดยเร็วและรุนแรง ซึ่งไม่มีใครสามารถจะป้องกันได้ เหตุใดจำเลยจะต้องรับผิดชอบ

ผู้เขียนได้ศึกษาคำพิพากษาในคดีนี้โดยตลอดแล้วเห็นว่า ควรนำคดีนี้มาวิเคราะห์เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจได้อย่างถูกต้องตรงประเด็น ดังนี้

1.โจทก์ฟ้องสำนักงานสาธารณสุขซึ่งเป็นนิติบุคคลต้นสังกัดของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ที่เกิดเหตุ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เพราะกฎหมายฉบับนี้ห้ามผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้กระทำละเมิดโดยตรง (คือแพทย์ของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์) แต่ให้ฟ้องหน่วยงานเป็นจำเลยแทน (มาตรา 5) ซึ่งต่างกับการรับผิดของกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะตัวการตามมาตรา 427 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กรณีการรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ร่วมรับผิด(Vicarious liability) ความรับผิดโดยตรงต้องอยู่ที่แพทย์ผู้กระทำละเมิด

ดังนั้น การที่โจทก์หรือผู้เสียหายจะพิสูจน์ให้จำเลย(ซึ่งได้แก่หน่วยงานของรัฐหรือกระทรวงสาธารณสุขในคดีนี้)รับผิดนั้น จะมีภาระน้อยกว่าการพิสูจน์ว่าแพทย์คนใดคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้กระทำละเมิด

แม้กระนั้นในคดีนี้ โจทก์ก็ยังพิสูจน์ว่าการเจ็บป่วยของโจทก์เกิดจากการแพ้ยาที่มีอาการรุนแรง เรียกชื่อตามภาษาแพทย์ว่า สตีเวนจอห์นสันซินโดรม ภายหลังได้รับการฉีดยาจากแพทย์ที่คลินิก เมื่อเกิดอาการแพ้ขึ้นจึงไปรักษาที่โรงพยาบาลในสังกัดของจำเลย คือโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ แต่แพทย์ของโรงพยาบาลในสังกัดของจำเลยไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นอาการแพ้ยาที่มีชื่อดังกล่าว และไม่ได้รับตัวจำเลยไว้รักษาในโรงพยาบาลในทันที จนกระทั่งหลายชั่วโมงต่อมาอาการของโจทก์รุนแรงขึ้น ต้องกลับไปรักษาที่โรงพยาบาลในสังกัดของจำเลยอีกในตอนดึก แพทย์ต้องรีบรับตัวจำเลยไว้รักษา โดยวินิจฉัยว่า น่าสงสัยว่าจะเป็นโรคแพ้ยาชนิดสตีเวนจอห์นสันซินโดรม แม้กระนั้นก็มิได้ยาที่จะรักษาโรคนี้ได้ดี คือยาประเภทสเตียรอยด์ รอจนวันรุ่งขึ้นแจ้งให้ยาดังกล่าว จำเลยอยู่โรงพยาบาลตั้งแต่ 27 ตุลาคม 2542 ออกจากโรงพยาบาลเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2542 ผลทำให้ตาผู้ป่วยบอด

ศาลวินิจฉัยว่า อาการแพ้ยาชนิดนี้ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยมีอาการรุนแรงอาจทำให้ตายหรือตาบอดได้ ตามความเห็นของพยานโจทก์ซึ่งเป็นแพทย์ 2 คน และโจทก์ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แพทย์ผู้ร่วมรักษาให้การรักษาโจทก์โดยความประมาทอยู่บ้าง เป็นเหตุให้ตาทั้ง 2 ข้างของโจทก์บอด จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

2.การที่ศาลวินิจฉัยว่า แพทย์ผู้ร่วมรักษา ให้การรักษาโจทก์โดยความประมาทอยู่บ้างนั้นหมายความว่า ศาลพิจารณาโดยรวมๆ ว่า แพทย์ที่ร่วมรักษาโจทก์นั้นอาจมีความประมาทเลินเล่ออยู่บ้าง คนละเล็กคนละน้อย แต่ไม่อาจชี้ชัดลงไปได้ว่าใครประมาทอย่างไร

ซึ่งถ้าโจทก์ฟ้องแพทย์ผู้ร่วมรักษาเป็นจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตามมาตรา 420 (ซึ่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ห้ามมิให้ฟ้อง) โจทก์ต้องพิสูจน์ให้ชัดว่า จำเลยคนไหนประมาทอย่างไร ถ้าเป็นลักษณะเช่นนั้น ศาลก็คงไม่อาจชี้ชัดได้ว่าแพทย์คนไหนต้องรับผิดในแต่ละส่วนอย่างไร ซึ่งอาจต้องยกฟ้อง

แต่เมื่อจำเลยเป็นส่วนราชการโดยตรง ศาลจึงมีวินิจฉัยคลุมไปว่า แพทย์ที่ร่วมรักษาโจทก์นั้น รวมๆ กันแล้วถือว่ามีความประมาทอยู่บ้าง(คนละเล็กละน้อย) ซึ่งทำให้จำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นผู้รับผิดเสียเอง และไม่สามารถไปฟ้องไล่เบี้ยในส่วนที่ชดใช้ให้โจทก์ไปแก่แพทย์ผู้รักษาได้ เพราะกฎหมายบัญญัติให้ฟ้องไล่เบี้ยได้เฉพาะกรณีจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น(มาตรา 8 วรรคแรก)

คำพิพากษาคดีนี้ดูเหมือนจะปกป้องแพทย์ไว้อยู่แล้ว ผู้อ่านที่เป็นแพทย์จึงไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจอะไร

3.ว่าที่จริงหากได้ศึกษาเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิด พ.ศ.2539 อย่างแท้จริงแล้วจะพบว่า กฎหมายไม่มีเจตนาให้มีการฟ้องคดีในศาลเลยด้วยซ้ำ

เพราะมาตรา 11 ของกฎหมายฉบับนี้เปิดช่องให้ผู้เสียหายยื่นคำขอเรียกร้องจากหน่วยงานของรัฐได้โดยตรงอยู่แล้ว

และถ้าหน่วยงานของรัฐปฏิเสธ ก็สามารถฟ้องคดีในศาลปกครอง ซึ่งกระบวนการดำเนินคดีน่าจะง่ายและรวดเร็วกว่าฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม

และถึงแม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขถูกฟ้องเป็นจำเลย ก็ชอบที่จะตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและหาทางที่จะเจรจาขอประนีประนอมยอมความได้โดยตลอดเวลา และเมื่อได้ข้อเท็จจริงเป็นที่ประจักษ์ว่าตาของโจทก์ที่บอดสามารถแก้ไขได้

หากจำเลยจัดการแก้ไขให้อย่างเมตตาธรรม โจทก์ก็ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ในโลกมืดอยู่ถึง 6 ปี และกระทรวงสาธารณสุขก็อาจไม่ต้องเสียเงินชดเชยใช้ให้โจทก์มากถึงขนาดนั้นก็ได้

4.การที่กระทรวงสาธารณสุขไม่ยื่นอุทธรณ์ในคดีนี้ตามเสียงเรียกร้องของแพทย์บางกลุ่มนับว่าได้รับการขานรับและสรรเสริญจากประชาชน และสื่อมวลชนที่มีใจเป็นธรรมทั้งหลายโดยถ้วนหน้า

ควรที่กระทรวงสาธารณสุขจะศึกษาคดีนี้ไว้เป็นอุทธรณ์สำหรับหาทางปฏิบัติที่เหมาะสมในโอกาสต่อไป
โดย: jjxyz [27 ต.ค. 48 20:41] ( IP A:61.90.96.2 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ศาลปกครอง ไม่มีการสืบพยานไม่ใช่หรือ
ผู้เสียหายเสียเปรียบอยู่แล้ว ถ้าไปศาลปก
ครองไม่ยิ่งแย่หรือ
โดย: เครือข่ายฯ [27 ต.ค. 48 20:54] ( IP A:61.91.84.193 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ศาลปกครองมีการสืบพยานได้ โดยทั้งคนฟ้องและคนถูกฟ้องร้องต่อศาลขอสืบพยานได้ ถ้าศาลเห็นด้วย ศาลก็จะให้สืบพยาน และในบางกรณี ถ้าศาลสงสัยเรื่องใด ศาลอาจเรียกพยานโดยศาลเรียกเองเลย ศาลจะเรียกมาถาม แล้วให้คู่ความทั้งคนฟ้องคนถูกฟ้องไปนั่งฟังและซักถามได้ด้วยตนเอง เช่นสมมุติศาลสงสัยเรื่องผ่าหัวใจ และศาลเห็นว่าหมอคริสเตียน บาร์นาดที่แอฟริกามีความรู้มากน่าจะตอบให้ศาลหายสงสัยได้ ศาลจะเชิญมาเองเลย ศาลเชิญมาถามเอง แล้วจะเรียกให้คนฟ้องและคนถูกฟ้องไปนั่งฟัง นั่งซัก และนั่งเถียงได้ (แต่ต้องขออนุญาตศาล และให้ศาลถามแทนเว้นแต่ศาลจะให้ถามโดยตรง)
แต่ปกติเพื่อความสะดวก ศาลจะให้ใช้จดหมาย เขียนไปถาม ส่งคำตอบไป ก็สะดวกดีทั้งสองฝ่าย เว้นแต่กรณ๊ทีศาลคิดว่าเขียนไปถามก็สู้เรียกมาคุยจะได้รายละเอียดกว่าก็จะเรียกมา
เขียนเท่าที่รู้และเจอมาด้วยตนเองนะครับ ผิดถูกถามศาลปกครองได้โดยตรง ไปถามเองได้ที่ประชาสัมพันธ์ เขาจะมีฝ่ายคอยให้ความช่วยเหลืออยู่
โดย: jjxyz [27 ต.ค. 48 22:19] ( IP A:61.90.96.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ขอบคุณคุณหมอที่ช่วยเอาเรื่องดีๆ มาให้อ่านครับ
โดย: LEX [27 ต.ค. 48 23:52] ( IP A:61.91.161.80 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   สรุป
ไปศาลปกครองดีกว่าใช่หรือไม่
โดย: สงสัย [28 ต.ค. 48 7:54] ( IP A:61.90.15.162 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ดีเหมือนกันครับ สมัยก่อนดี แต่เดี๋ยวนี้ผมว่าศาลแพ่งดีกว่า เพราะนัดต่อเนื่อง ทีเดียวจบ ศาลปกครองตอนนี้คดีเยอะมาก นาน
แต่ถ้าคุณฟ้องหน่วยงานของรัฐโดยเจรจาต่อรองแล้วเขาไม่ให้ ผมว่าไปศาลส่วนแพ่ง ศาลคงให้ย้ายไปศาลปกครอง ยกเว้นคุณฟ้องโดยไม่เจรจาต่อรอง
แต่พูดถึงความสะดวก ศาลปกครองสะดวก เพราะเน้นความสะดวกและง่าย ไม่มีรูปแบบ
โดย: jjxyz [28 ต.ค. 48 9:42] ( IP A:61.90.96.42 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   เคยมีประสบการณ์ ตอนที่ศาลเชิญพยานที่เป็นแพทย์มา ปรากฏว่าศาลก็ไม่สบายเหมือนกัน ท่านได้โอกาสปรึกษาโรคกับแพทย์พยานต่อหน้าผู้ฟ้องคดีเลย ไม่มีรูปแบบจริงด้วย
โดย: LEX [28 ต.ค. 48 18:27] ( IP A:58.9.175.156 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ในส่วนที่เกี่ยวกับกฏหมาย ผมชื่นชมท่านอาจารย์วิฑูรย์จริงๆ เพราะจุดยืนของท่านอยู่ที่การให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ทั้งแพทย์ ผู้ป่วย และสังคมครับsmile

กรณีคุณดอกรักนี่ว่าตามจริงแล้ว ศาลพิพากษาด้วยความเมตตาการุณกับทุกฝ่ายอยู่แล้ว....น่าเสียดายที่แพทย์บางท่านยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับกฏหมายดีพอ...จึงเกิดความเข้าใจผิด จะอุทธรณ์....smile

ดีใจครับที่เกิดทันเป็นลูกศิษย์อาจารย์ smile
โดย: กิติภูมิ / jacobin169@hotmail.com [10 พ.ย. 48 14:27] ( IP A:203.156.127.226 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน