เหรียญมีสองด้านเสมอนั้น
   เห็นด้วยที่มีชมรมอย่างนี้ รองรับคนที่เสียหาย แต่กำลังคิดว่ามีบางคนที่ใช้ช่องทางนี้ในการแต่งเรื่องโกหก แสร้งทำเป็นผู้เสียหาย อย่างไรอยากให้คนในเครือข่ายตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนช่วยเป็นกระบอกเสียงไม่อย่างนั้นจะเป็นการสร้างบาป มากกว่าทำบุญ แต่ที่แน่ แน่มีคนบ้าทำเป็นผู้เสียหายแล้วหนึ่งราย ทำการปลุกบั่นสื่อ และชมรม เป็นใครคิดว่าคงรู้ตัวดี เวรกรรมมันมีจริงนะคุณ เห็นได้จากครอบครัวของคุณเองได้ตอนนี้เลย
โดย: Bored of bullshit [12 พ.ย. 48 18:47] ( IP A:61.91.73.32 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 2
   อย่ามาทำเป็นรู้ดีหน่อยเลย คนบ้าที่ว่านั่นเป็นใคร หมอบ้าหรือ คนป่วยบ้า

เรื่องจริงเป็นสิ่งที่ไม่ตาย อย่ามาโพสต์แบบซุกหัวหดหางได้ป่าว เอ้อ

เขียนภาษาพ่อภาษาแม่ยังไม่ถูก ยังมาเที่ยวว่าคนบ้านนี้อีกหรือ " ปลุกบั่น" ไม่เคยได้ยิน

จะบอกให้ว่าคนบ้านั้นเดี๋ยวนี้ไม่ได้บ้าเองดอก บ้าจากยา Psychiatric drug ที่ให้กันอยู่นั่นแหละ ไปเช็คดูเถอะ พวกที่ซึมเศร้าแล้วไปฆ่าตัวตายนั่น ไปกินยาหมอโรคจิตมาก่อนทั้งนั้นแหละ ไม่อยากซ้ำเติมใคร

จขกท.รู้ป่าวว่า จิตแพทย์ทหารอากาศทำคนฆ่าตัวตายไปแล้วกี่ศพ เรื่องน้องหมอแวนก์ ที่กระโดดตึกที่ภูมิพลฯ ผมกล้าบอกเลยว่าไปตรวจดู Medication record ได้เลย พนันกันว่าโดน antidepressant จากจิตแพทย์ไปก่อนหน้านี้แน่นอน

ใครรู้จักญาติคนตายขอให้มาหาเครือข่ายฯเดี๋ยวจะชี้ให้ดู ว่าทำไมเขาถึงตาย นี่ไม่ใช่รายแรกจะบอกให้

พนันกันอีกก็ได้ ว่าญาติหมอแวนก์จะไม่ได้สำเนาเวชระเบียนหรอก ปิดกันฉิบหายแน่นอน

.
โดย: . (เจ้าบ้าน ) [13 พ.ย. 48 1:09] ( IP A:61.91.162.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   จะบอกใบ้ให้ 1 ศพ ทหารอากาศ ยิงตัวตายที่เชียงใหม่ อีก 1 ศพ นักบินการบินไทย ผูกคอตายที่สุราษฎร์ธานี เป็นคนไข้ในความดูแลของแพทย์ที่นี่ทั้งคู่ ศพที่สามคือหมอแวนก์ มันคงไม่บังเอิญขนาดนี้ใช่ไหม ? แพทยสภาและราชวิทยาลัยจิตแพทย์ต้องตรวจสอบจริงๆแล้ว อย่ามัวกล้าๆ กลัวๆอยู่เลยครับ
.
.
โดย: . (เจ้าบ้าน ) [13 พ.ย. 48 1:18] ( IP A:61.91.162.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   จะบอกชื่อหมอก็ได้ แต่ยังไม่อยากเข้าตะราง 55555
โดย: . (เจ้าบ้าน ) [13 พ.ย. 48 1:19] ( IP A:61.91.162.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   https://www.antidepressantsfacts.com/2003-04-Healy-SSRIs-suicide.htm

https://www.antidepressantsfacts.com/antidepressants-ADF.htm

เอามาให้อ่านฝึกภาษาอังกฤษกันหน่อย เดี๋ยวจะหาว่าคนบ้านนี้มั่ว
..
..
โดย: . (เจ้าบ้าน ) [13 พ.ย. 48 1:37] ( IP A:61.91.162.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   "Who does Not Know the Truth, is simply a Fool...
Yet who Knows the Truth and Calls it a Lie, is a Criminal."
- In "Galileo Galilei" by Berthold Brecht (1898-1956)
..
..
โดย: เจ้าบ้านคนหนึ่ง [13 พ.ย. 48 1:52] ( IP A:61.91.162.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
    เจ้าบ้านที่นี่เก่งจังเลยเนอะ..!!!

โรคทางจิตเวช...รู้จักคำนิยาม(definition),ตัวโรคและการวินิจฉัยตาม DSM IV ,การพยากรณ์โรค(prognosis)และการรักษา( by medical therapy / psychotherapy ) ของโรค => Major Depressive Disorder , Psycosis , หรือแม้แต่ Schizophrenia....ได้ดีแค่ไหน...???

ขอฝากการบ้านให้คุณเจ้าบ้านได้กลับไปค้นคว้าข้อมูล...แล้วช่วยเอามาเล่าให้คนในเครือข่ายคนอื่นๆได้ฟังด้วยนะ แต่ถ้าไม่สามารถค้นคว้าหาตำราหรือแหล่งข้อมูลได้ ก็ขอให้รบกวนหมอของเครือข่ายช่วยมาตอบให้

ด้วยความปรารถนาดี...
โดย: หมอนอกเครือข่าย [13 พ.ย. 48 2:01] ( IP A:203.170.228.172 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   เอ่อ....ที่เจ้าบ้านเอา review มาให้อ่านน่ะ แล้วไงเหรอครับ
หรือว่าอ่านเองแล้วไม่รู้เรื่องเลยอวดฉลาด

ข้อมูลแค่นี้มันใช้ไม่ได้หรอกครับ มันต้องดูองค์ประกอบหลายอย่าง
(โง่แล้วอวดฉลาดหรือไงครับ)
โดย: garnet [13 พ.ย. 48 2:09] ( IP A:62.255.32.16 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   มีหมดแหละทั้ง DSM -V TR หรือจะเอา ICD -10 ก็พอไหว แต่จะบอกให้ว่า เภสัชวิทยา ของจุฬาฯ + มหิดลก็ต้องอ่านด้วย ถึงจะจับผิดหมอรามาได้
โดย: .. [13 พ.ย. 48 2:10] ( IP A:61.91.162.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   ขอแก้เป็น DSM - IV นะคร้าบ DSM-V เค้ายังไม่คลอด 5555
โดย: .. [13 พ.ย. 48 2:11] ( IP A:61.91.162.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
    ขอฝากการบ้านเพิ่ม...

ช่วยดูเรื่องกลุ่มยาทางจิตเวชตัวหลัก( First line or Drug of choices by medical therapy ) ที่ใช้สำหรับรักษาโรคซึมเศร้าที่รุนแรง (Major Depressive Disorder ) มาด้วยนะ

เดี๋ยวค่อยเข้ามาฟังคำตอบ...
โดย: หมอนอกเครือข่าย [13 พ.ย. 48 2:12] ( IP A:203.170.228.172 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   หวัดดีโกเมน .. ไม่โง่และก็ไม่อวดฉลาด เพียงแต่กล้าที่จะเอาความจริงมาพูด ก็แค่นั้น
โดย: เจ้บ้านไม่ได้ล็อกอิน [13 พ.ย. 48 2:19] ( IP A:61.91.162.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   ช่วยแปลเป็นไทยให้..เดี๋ยวจะหาคำไม่ถูก

Major Depressive Disorder =>โรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง
Schizophrenia => โรคจิตเภท (ขอโทษนะ..คือที่ชาวบ้านเรียกว่า"คนบ้า" )
Psychosis( หรือ other psycosis disorder ) => โรคจิตชนิดอื่นที่ไม่ใช่โรคจิตเภท
โดย: หมอนอกเครือข่าย [13 พ.ย. 48 2:22] ( IP A:203.170.228.172 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   แย่จังมีการบ้านด้วย

ฟันธงเลยว่า First line สำหรับ Major depressive disorder

น่าจะเป็นพวก Tricyclic ข้อที่ต้องระวังคือ ยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ stimulant เช่น nortripyline , amineptine หรือ moclobemide ไม่ควรใช้ในคนไข้ที่มี agitation หรือ suicidal risk



พอแล้ว พรุ่งนี้ต้องทำงาน
โดย: เจ้าบ้าน [13 พ.ย. 48 2:42] ( IP A:61.91.162.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   อ้อ mood stabilizer พวก Valproate และ anticholinergic เช่น Artane ก็จะช่วยแก้ปัญหา EPS ได้ดีเหมือนกัน
โดย: เจ้าบ้าน [13 พ.ย. 48 2:46] ( IP A:61.91.162.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   บอกใบ้ให้นิดนึง...Major Depressive Disorder การให้ยากลุ่ม antidepressant ในคนที่เป็นโรคซึมเศร้าฉับพลันรุนแรงโดยเฉพาะในช่วงแรกๆ...กว่ายาจะได้ผลต้องใช้เวลานานเป็นอาทิตย์ และในระหว่างที่รอผลของยานี้ก็ต้องพิจารณาให้ยากลุ่มอื่นร่วมด้วยในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการของโรคทางจิตเวชอื่นร่วมอยู่ด้วยเช่นเครียด(Anxiety disorder)หรือโรคจิตชนิดไม่ใช่จิตเภท(Other psychotic disorder) และในระหว่างที่รอผลของยานี้เอง...เป็นช่วงที่เสี่ยงจากการฆ่าตัวตายได้สูง (จากตัวโรคเอง) ในผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าฉับพลันรุนแรง

ปล.ตะกี้จาก คห.8 คำว่า "Psycosis" พิมพ์ตกตัว h ให้แก้เป็น "Psychosis" (เดี๋ยวจะกลับไปหาข้อมูลกันไม่เจอ)

ด้วยความปรารถนาดี
โดย: หมอนอกเครือข่าย [13 พ.ย. 48 2:47] ( IP A:203.170.228.172 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   ข้อสำคัญคือ อย่าทิ้งคนไข้ อย่าสั่งยาทางโทรศัพท์ อย่าคิดว่ารายนี้จะรักษาได้ง่ายเหมือนรายที่ผ่านมา

และข้อสุดท้าย อย่าแก้เวชระเบียน
.
.จบ
โดย: . [13 พ.ย. 48 2:48] ( IP A:61.91.162.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
   ใจเย็นๆ คุณหมอนอกเครือข่าย ผมพลิกตำราอยู่ คร้าบ ขอบคุณที่มาสอนจระเข้ให้เป็นสังฆราช
โดย: เจ้าบ้าน [13 พ.ย. 48 2:52] ( IP A:61.91.162.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
   พรุ่งนี้ค่อยเข้ามาฟังเฉลย แยกย้ายกันเข้านอนได้
โดย: หมอนอกเครือข่าย [13 พ.ย. 48 2:55] ( IP A:203.170.228.172 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
   กว่ายาจะได้ผลต้องใช้เวลานานเป็นอาทิตย์ และในระหว่างที่รอผลของยานี้ก็ต้องพิจารณาให้ยากลุ่มอื่นร่วมด้วยในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการ ของโรคทางจิตเวชอื่นร่วมอยู่ด้วยเช่นเครียด(Anxiety disorder)หรือโรคจิตชนิดไม่ใช่จิตเภท(Other psychotic disorder) และในระหว่างที่รอผลของยานี้เอง...เป็นช่วงที่เสี่ยงจากการฆ่าตัวตายได้สูง (จากตัวโรคเอง) ในผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าฉับพลันรุนแรง


เห็นด้วยอย่างยิ่งในข้อนี้ ดังนั้นการรักษาที่ดี จะต้องร่วมกันทั้งทางการให้ยา และ จิตบำบัด ควบคู่กันไป อย่าคิดว่ากูแน่ กูไม่ง้อ Psychotherapy ตายมานักต่อนักแล้ว
โดย: เจ้าบ้าน [13 พ.ย. 48 2:57] ( IP A:61.91.162.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
   พอจะสอบผ่านหรือเปล่าเนี่ย หมอกำมะลออย่างผม 5555
โดย: เจ้าบ้าน [13 พ.ย. 48 2:59] ( IP A:61.91.162.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
   ส่วนมากแล้วมักจะพบ obsessive-compulsive disorderร่วมด้วยบ่อยๆ ในผู้ป่วยประเภทนี้ ก็ควรจะพิจารณา SSRI หรือ Clomipramide ด้วยก็น่าจะดี เนาะ

ส่งคำตอบช้าคงไม่ว่ากันนะ
โดย: เจ้าบ้าน [13 พ.ย. 48 3:14] ( IP A:61.91.162.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 24
   พวกเจ้าบ้านนะ มีแต่ไอ้พวกบ้าทั้งนั้น อย่าไปสนใจฟัง
เรื่องเวชระเบียนนั้น บอกแล้วงัยว่าให้ออกเป็นกฏหมายซะจะได้หมดเรื่อง
อยากเป็นหมอก็ไปเรียนสิ มีเปิดสอนกันทั่วโลก จะได้ไม่ต้องแสดงความเห็นแบบเปิ่นๆ น่าหัวเราะอีกต่อไป

อ่านแล้วเบื่อนะ การที่อ่านภาษาอังกฤษออกนะ แค่นั้นนะไม่ได้ถือว่ารอบรู้หรอก สรุปว่า ไปเรียนหมอดีก่า ฟิลิปปินส์ ก็เข้าได้ไม่ยากนะ รังสิตก็มีแต่ค่าลงทะเบียนแพงหน่อยเท่านั้นเอง พยาบาลเทคนิคที่ รพ.ก็ไปเรียนจนจบมาแล้ว คุยกันรู้เรื่องดีกว่าคุณเจ้าบ้านเยอะ ที่ไม่มีความรู้ แล้วยังอวดเก่ง หมอในเครือข่ายก็มีก็ไม่รู้จักหัดไปถาม
อ่านที่เขียนมาแล้ว หมอทุกคนรู้สึกแม่งๆ ยกตัวอย่าง คนอื่น ไปสนทนาเรื่องในวิชาชีพคุณนั่นแหละ ยังไงยังงั้นเลย
โดย: เบื่อ [13 พ.ย. 48 17:14] ( IP A:203.188.38.69 X: )
ความคิดเห็นที่ 25
    การรักษาที่ดี จะต้องร่วมกันทั้งทางการให้ยา และ จิตบำบัด ควบคู่กันไป อย่าคิดว่ากูแน่ กูไม่ง้อ Psychotherapy ตายมานักต่อนักแล้ว
โดย: เจ้าบ้าน [13 พ.ย. 48 2:57> ( IP A:61.91.162.64 X: )
----------------------------------------------------------------------


psychotherapy ทำได้แต่สถานที่ที่มีจิตแพทย์/หรือรพ.จิตเวชใหญ่ๆเท่านั้น หมอธรรมดาก็พูดได้ก็แค่ปลอบคนไข้,ให้คำแนะนำเท่าที่จะทำได้

และ psychotherapy...อย่าคิดนะว่าเป็นเรื่องที่ง่าย แค่พูดสองสามคำหรือใช้เวลาวันสองวันก็จบ

psychotherapy มันมีกระบวนการ,ขั้นตอน,และองค์ประกอบมากมายและต้องอาศัยบุคคลรอบข้างด้วยที่จะช่วยปรับสภาพแวดล้อมรอบๆตัวคนไข้ และอีกอย่าง psychotherapy ก็ใช่ว่าทำได้สำเร็จทุกราย เพราะมันขึ้นอยู่กับความรุนแรงของตัวโรคของผู้ป่วยตั้งแต่ต้นเอง ขึ้นอยู่กับบุคคลิกภาพเดิมของคนไข้ และขึ้นอยู่กับญาติๆคนใกล้ชิดรอบๆข้างคนไข้เองด้วย

พูดไปแล้ว คนไข้ที่ attempt to suicidal ได้สำเร็จนั้น...พวกคุณอย่าดีแต่โทษหมอหรือโทษยาเลย พูดไปแล้ว..ญาตินั่นแหละควรจะยอมรับผิด(บ้าง) เพราะหลายๆราย หลังจากกลับบ้านไป ญาติชอบปล่อยปละละเลย ไม่ได้ช่วยสนใจคอยระแวดระวัง คอยสอดส่องดูแลพฤติกรรมคนไข้ หรือคอยดูว่ามีอะไรในบ้านบ้าง(หรือแม้แต่ยาฆ่าแมลง ยาเบื่อหนู) ที่คนไข้อาจเอามาใช้ในการฆ่าตัวตายได้สำเร็จ

หรือถ้าคนไข้นอนอยู่ในรพ. พวกคุณจะให้หมอเวร(ที่มีอยู่คนเดียว)กับเจ้าหน้าที่พยาบาลในเวร(ที่มีอยู่กันแค่ไม่กี่คน)เข้ามานั่งจับตามองตลอดได้ไง หมอกับพยาบาลเองก็มีคนไข้คนอื่นๆที่หนักกว่าอีกมากมายที่จะต้องดู

ว่าแต่ญาติแท้ๆของคนไข้ที่ฆ่าตัวได้ได้สำเร็จ(ไม่ว่าจะเป็นเคสไหนๆ)นี่...สงสัยจริงๆว่าได้มาช่วยกันเฝ้าดูแลคนไข้ที่รพ.กันบ้างหรือเปล่า..?? คิดว่าถ้าญาติ(มีจิตสำนึก)ได้ผลัดกันมาช่วยๆดูแลคนไข้(ซึ่งเป็นญาติแท้ๆของตัวเอง)ตลอดเวลา...เหตุสลดคงไม่เกิดขึ้นแน่นอน

และขอร้องเถอะ...พวกญาติๆทั้งหลาย(ของทั้งคนไข้โรคกลุ่มนี้หรือกลุ่มอื่นๆ)... อย่าคิดแต่โยนความรับผิดชอบทั้งหมดให้คนอื่นอีกเลย เราเกิดเป็นมนุษย์ทั้งที ก็ควรหัดมีจิตสำนึกที่จะรับผิดชอบช่วยกันดูแลคนไข้ซึ่งเป็นญาติ(แท้ๆ)ของตัวเองบ้าง ถ้าพวกคุณทำสิ่งเหล่านั้นได้..คิดว่าปัญหาความเสียหายมากมายก็คงจะลดลงได้อย่างแน่นอน

ปล.คุณเจ้าบ้าน คุณยังไม่ผ่าน เพราะยังตอบไม่ค่อยตรงประเด็น
โดย: หมอนอกเครือข่าย [13 พ.ย. 48 17:20] ( IP A:203.170.228.172 X: )
ความคิดเห็นที่ 26
   เยี่ยมมากๆ ครับ หมอนอกเครือข่าย
โดย: หมอแถวนี้ [13 พ.ย. 48 17:27] ( IP A:203.188.38.69 X: )
ความคิดเห็นที่ 27
   เรียน คุณหมอนอกเครือข่าย
อย่างนี้สิ ถึงจะเรียกว่า สร้างสรรค์ ไม่ใช่บ่อนทำลาย ควรดูไว้เป็นตัวอย่างนะ
โดย: หมอดู [13 พ.ย. 48 17:54] ( IP A:58.10.103.164 X: )
ความคิดเห็นที่ 28
    ขอฝากการบ้านเพิ่ม...

ช่วยดูเรื่องกลุ่มยาทางจิตเวชตัวหลัก( First line or Drug of choices by medical therapy ) ที่ใช้สำหรับรักษาโรคซึมเศร้าที่รุนแรง (Major Depressive Disorder ) มาด้วยนะ


ถามมาแบบนี้ ก็ตอบไปตามตำรา ผิดประเด็นตรงไหน

First line สำหรับ Major depressive disorder
น่าจะเป็นพวก Tricyclic ข้อที่ต้องระวังคือ ยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ stimulant เช่น nortripyline , amineptine หรือ moclobemide ไม่ควรใช้ในคนไข้ที่มี agitation หรือ suicidal risk


บอกแล้วไงว่าเราไม่ใช่หมอ แต่เราเห็นมาเยอะแล้ว ใช้ยาอย่างเดียวไม่ดีหรอก โอกาสตายเยอะจริงๆ ที่เห็นกันส่วนมากเนี่ย ตายนอก รพ. ไปดู NIMH ก็ได้ ว่าในอเมริกาเองก็พบปัญหาจากยามากมาย และเขากล้าที่จะแฉความจริงออกมา ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าบริษัทยาใหญ่ๆ ศาลตัดสินจ่ายค่าเสียหายเป็นหมื่นล้าน มีแต่บ้านเราที่บริษัทยาเขาซื้อไปหมดเกือบทั้งระบบแล้ว

พอเถอะไม่อยากต่อแล้วหละ
โดย: เจ้าบ้านคนหนึ่ง [13 พ.ย. 48 18:31] ( IP A:61.91.163.44 X: )
ความคิดเห็นที่ 29
    อยากเป็นหมอก็ไปเรียนสิ มีเปิดสอนกันทั่วโลก จะได้ไม่ต้องแสดงความเห็นแบบเปิ่นๆ น่าหัวเราะอีกต่อไป
.......................................

มาหัวเราะเยาะตำราของหมอรามาเขา เดี๋ยวก็มีเรื่องหรอก 203.188.38.69 ฝึกงานจบแล้วยังล่ะเรา
.
.
โดย: เจ้าบ้าน [13 พ.ย. 48 19:18] ( IP A:61.91.162.116 X: )
ความคิดเห็นที่ 30
   ดีแล้วล่ะคุณเจ้าบ้าน...ที่คุณพึงระลึกได้ว่า " ตนไม่ควรออกความเห็นเรื่องนี้หรือเรื่องไหนๆอีก(หากเราไม่ได้รู้จริง)"

เพราะคุณยิ่งพูด..คุณก็ยิ่งสับสนและจับต้นจนปลายไม่ถูก

คนที่ฉลาดและทันคนจริง...ในสิ่งที่เค้าไม่รู้แจ้งหรือไม่มีข้อมูลใดอยู่ในตัวเลย...เขามักจะนั่งเงียบและคอยเก็บข้อมูล,คอยฟังคนอื่น(ทั้งที่รู้และไม่รู้จริง)คุยกัน

อย่างเรื่องโรคทางจิตเวชเหล่านี้ก็เหมือนกัน บางทีเราสามารถอ่านบทความหรือตำราที่มีอยู่ในมือได้ก็จริง แต่ถ้าหากเราตีความหมายหรือทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ไม่ได้...มันก็ไม่ต่างไปจากนกแก้วนกขุนทอง

และสำหรับโรคซึมเศร้านั้น การรักษาตามมาตรฐานทั่วโลกนั้นก็คือ...ต้องใช้ " ยากลุ่ม antidepressant " และการจะเลือกใช้ยาในกลุ่มนี้ ก็มีกลุ่มยาย่อยๆลงไปอีก(เช่น กลุ่ม tricyclic ,SSRI หรือ MAOI ) และแพทย์ผู้ที่จะเลือกว่าใช้ยาตัวไหนให้คนไข้ ก็ต้องเลือกพิจารณากันไปเป็นรายๆตามความเหมาะสม

ถ้าคุณอ้างว่าการให้ยากลุ่ม ยากลุ่ม antidepressant แล้ว ทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย..แล้วเราจะให้ไปทำไม..?? หรือคุณคิดว่า...สามารถปล่อยให้คนไข้หายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา..??

แค่ลองคิดดู..ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ารุนแรงแล้วไม่ได้รับยากลุ่มต้านจิตซึมเศร้ายากลุ่ม (antidepressant drugs) อะไรมันจะเกิดขึ้น..?? ซึ่งคาดว่า..คุณจะได้เห็นคนที่เป็นโรคซึมเศร้า(ที่ได้ฆ่าตัวตายได้สำเร็จ)ทำให้นักข่าวและหนังสือพิมพ์มีงานกันล้นมือแน่นอน

และที่สำคัญที่สุด...คุณก็ต้องหัดคิดด้วยสิว่า คนไข้ที่เป็นโรคซึมเศร้า(ซึ่งมีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายสูงกว่าคนไข้โรคจิตเวชอื่นๆอยู่แล้ว) ถ้าเราให้ยาพวกนี้ไปแล้วเกิดผลเสียมากกว่าผลดีหรือทำให้คนที่เป็นโรคซึมเศร้าฆ่าตัวกันมากขึ้น..เราจะเอามันมาใช้ทำไม...?? (ทั้งๆที่เราให้ยากลุ่มนี้ก็จุดประสงค์เพื่อลดความเศร้าของตัวโรคเอง ซึ่งจะมีผลทำให้ลดอัตราการฆ่าตัวตายตามมา) ...นี่คือคำถามและคำตอบสำหรับท่านทั้งหลายในเครือข่ายที่ยังสับสนและปักใจเชื่อว่าว่าเป็นเพราะความผิดพลาดของแพทย์..!!

....
โดย: หมอนอกเครือข่าย [13 พ.ย. 48 22:09] ( IP A:203.170.228.172 X: )
ความคิดเห็นที่ 31
   ผมว่าคุณหมอนอกเครือข่ายก็ไม่เข้าใจ point ของผมเหมือนกัน ที่ว่าปักใจเชื่อมันก็ยังไม่ร้อยเปอร์เซนต์ แต่เคสทหารกับนักบินนั้น หมอที่เกี่ยวข้องก็โดนต้นสังกัดแป็กขั้นไป ว่ากันเงียบๆเป็นการภายใน แต่ภายนอกป่าวประกาศว่าเป็นเพราะญาติไม่ดี เหมือนที่คุณพูดเปี๊ยบ 5555

กรณีหมอแวนผมสะดุดใจ ตรงที่เขากำลังบำบัดอยู่ ถามว่าคุณหมอนอกฯ เคยรับยาพวกนี้ไหม ? ซึ่งเดาว่าไม่เคย แล้วจะเข้าใจความรู้สึกของคนที่คุณให้ยาเขาได้จริงๆหรือ แต่ละคนมีความทนต่อฤทธิ์ยาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับยีนของแต่ละคน แม้คุณจะอ้างว่าให้ยาในขนาดที่ตำราระบุก็ตาม การตอบสนองก็อาจจะผิดกันในคนไข้แต่ละราย

ผมอยากขอให้จิตแพทย์ระมัดระวังให้มาก อย่าเอาแต่ความรวดเร็ว ความง่าย เป็นที่ตั้งในการรักษา

ที่บอกว่าต้องให้ญาติและผู้ป่วยช่วยกันดูแลนั้นถูกต้อง แต่ถามว่าคุณบอกพวกเขาอย่างไร ตอนไหน บอกละเอียดถี่ถ้วนหรือไม่

ผมยอมรับว่าการให้ยามันง่ายและประหยัดเวลา แต่ถ้าคุณไม่ลงในรายละเอียดลึกๆ และระมัดระวังฤทธิ์อันไม่พึงประสงค์ของยา นั่นก็คือหนึ่งชีวิตที่จะต้องสังเวย หมอคนจ่ายยาไม่เคยกินยา อันนี้คือจุดอ่อนของจิตเวชศาสตร์ และก็เป็นไปไม่ได้ที่จะทดลองในมนุษย์ ทำให้คุณไม่มีทางทราบว่า ตอนที่ยาเข้าไปในเซลล์ประสาทสมองแล้ว ความคิดอ่านของคุณเปลี่ยนไปขนาดไหน ดังนั้นผมว่ามันจะต้องมีการป้องกันที่ดีกว่าปัจจุบัน ไม่ใช่ให้ยาแล้วปล่อยกลับบ้านไปเฉยๆ พรุ่งนี้มาใหม่

สำนวนของผมอาจจะทำให้คุณเข้าใจผิดว่าเป็นความผิดของแพทย์ แต่ผมพยายามชี้อีกด้านหนึ่งของเหรียญ ว่ามันมีความเป็นไปได้ และเผอิญผมมีเคสคล้ายกันอยู่ในฐานข้อมูลของผมด้วยอีกถึงสองราย

ช่วงเวลาที่น่าสนใจที่สุดคงเป็นสัปดาห์แรกๆที่คุณให้ Psychiatric drug กับคนไข้ อะไรๆก็เกิดขึ้นได้เพราะสมองผู้ป่วยยังไม่ชินกับยา ผมเห็นมาเยอะประเภทว่ากระโดดตึกพร้อมซองยาในกระเป๋า เป็นคนไข้ OPD แทบทุกราย

จะแก้ต้องแก้ที่ระบบ ไม่งั้นเถียงกันไม่จบหรอก
.
.
โดย: เจ้าบ้าน [13 พ.ย. 48 23:39] ( IP A:61.91.163.42 X: )
ความคิดเห็นที่ 32
   ลองวิจารณ์มาตรการความปลอดภัยผู้ป่วย ของประเทศที่เขารับรองยาพวกนี้หน่อยดีไหม เมื่อเราเอายาเขามาใช้ แต่ไม่สามารถทำตามคู่มือเอกสารกำกับยาได้ครบถ้วนก็เป็นเรื่องเศร้า้ของผู้ป่วยนะครับ

What special precautions should I follow?Return to top
Before taking fluoxetine,

tell your doctor and pharmacist if you are allergic to fluoxetine or any other medications.
do not take fluoxetine if you are taking monoamine oxidase (MAO) inhibitors, including phenelzine (Nardil) and tranylcypromine (Parnate), or have stopped taking them within the past 2 weeks. Do not take fluoxetine with thioridazine (Mellaril).
tell your doctor and pharmacist what other prescription and nonprescription medications, vitamins, nutritional supplements, and herbal products you are taking. Be sure to mention any of the following: alprazolam (Xanax); anticoagulants ('blood thinners') such as warfarin (Coumadin); antidepressants (mood elevators) such as amitriptyline (Elavil), amoxapine (Asendin), clomipramine (Anafranil), desipramine (Norpramin), doxepin (Adapin, Sinequan), imipramine (Tofranil), nortriptyline (Aventyl, Pamelor), protriptyline (Vivactil), and trimipramine (Surmontil); aspirin and other nonsteroidal anti-inflammatory medications (NSAIDs) such as ibuprofen (Advil, Motrin), and naproxen (Aleve, Naprosyn); diazepam (Valium); digoxin (Lanoxin); flecainide (Tambocor); insulin or oral medications for diabetes; lithium (Eskalith, Lithobid); medications for anxiety and Parkinson's disease; medications for mental illness such as clozapine (Clozaril), haloperidol (Haldol), and pimozide (Orap); medications for seizures such as carbamazepine (Tegretol) and phenytoin (Dilantin); sedatives; sleeping pills; sumatriptan (Imitrex); tranquilizers; tryptophan; and vinblastine (Velban). Your doctor may need to change the doses of your medications or monitor you carefully for side effects.
tell your doctor if you have or have ever had, or anyone in your family has or has ever had, depression, bipolar disorder (mood that changes from depressed to abnormally excited), or mania (frenzied, abnormally excited mood), or you have, or anyone in your family has, thought about or attempted suicide. Also tell your doctor if you have recently had a heart attack and if you have or have ever had diabetes, seizures, or liver or heart disease.
tell your doctor if you are pregnant, plan to become pregnant, or are breast-feeding. If you become pregnant while taking fluoxetine, call your doctor.
you should know that fluoxetine may make you drowsy. Do not drive a car or operate machinery until you know how this medication affects you.
remember that alcohol can add to the drowsiness caused by this medication.
you should know that your mental health may change in unexpected ways, especially at the beginning of your treatment and at any time your dose is increased or decreased. These changes may occur at any time if you have depression or other mental illness, whether or not you are taking fluoxetine or any other medication. You, your family, or your caregiver should call your doctor right away if you experience any of the following symptoms: new or worsening depression; thinking about harming or killing yourself, or planning or trying to do so; extreme worry; agitation; panic attacks; difficulty falling or staying asleep; irritability; aggressive behavior; acting without thinking; severe restlessness; and frenzied, abnormal excitement.Be sure that your family or caregiver knows which symptoms may be serious so they can call the doctor when you are unable to seek treatment on your own.
โดย: เจ้าบ้าน [13 พ.ย. 48 23:54] ( IP A:61.91.163.42 X: )
ความคิดเห็นที่ 33
   ไอ้คนไม่รู้จริงไม่ทำคนตายก็แล้วกัน
โดย: 555 [13 พ.ย. 48 23:56] ( IP A:61.90.21.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 34
   อย่าไปว่าเขาเลยพี่ ผมว่ามันเป็นกันทั้งประเทศแหละ

ขอบคุณที่ทำให้ผมได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นเรื่องจิตเวช นะครับคุณหมอนอกฯ และก็ได้ความรู้เพิ่มเติมจากคุณเหมือนกัน
โดย: เจ้าบ้าน [14 พ.ย. 48] ( IP A:61.91.163.42 X: )
ความคิดเห็นที่ 35
   แล้วหากว่าเป็นการแนะนำทุกอย่างแล้วล่ะครับ
เพราะผมใช้วิธีการแนะนำร่วมกับการรักษาด้วยทุกครั้ง แต่คงต้องขอบอกให้ทราบว่าผู้ป่วยและญาติเพียงไม่ถึง 20% เท่านั้น ที่สามารถจำสิ่งที่แนะนำได้ อันนี้ยังไม่รวมคนที่ทำตามคำแนะนำนะครับ แต่พอเกิดเรื่องขึ้นมากลับไม่ดูตนเองเลย ในกรณีนี้เจ้าบ้านจะว่าอย่างไรครับ
โดย: garnet [14 พ.ย. 48 2:08] ( IP A:62.255.32.16 X: )
ความคิดเห็นที่ 36
   ไม่กล้าออกความเห็น เรื่องจิตเวชหมอทั่วไปรู้น้อยมาก แต่เท่าที่รู้นี่เมื่อก่อนจะเชื่อในเรื่องทฤฏีจิตบำบัด ตอนหลังมาความก้าวหน้าทางการแพทย์ทางด้านสมอง พบว่าโรคพวกนี้มีความผิดปกติของสอง เช่นพวก neurotransmiter อาจจะกระตุ้นมากหรือน้อยไป ทำให้ การใช้ยามามีบทบาทสำคัญ
โดย: t [14 พ.ย. 48 12:26] ( IP A:203.146.191.209 X: )
ความคิดเห็นที่ 37
   งั้นเจ้าบ้าน ลองถามหมอ xyz ดูนะว่าเกิดได้ไหม ถ้าเขาตอบว่า เกิดได้ คือใช้แล้วเป็นสาเหตุทำให้เกิดการฆ่าตัวตาย เอาเลยครับเอาผิดเลย ผมหนับถุน ถ้าเขาตอบว่าเกิดได้บ้าง ควรจะเอาผิดเหรือไม่ แล้วเมื่อเทียบผมเสียกับผลดีอันไหนมากกว่ากัน ก็ต้องเรียนถามหมอ xyz ว่าควรเอาผิดไหม แล้วในเมื่อมันเป็น first line drugs ใช้แล้วทำให้คนฆ่าตัวตาย แน่นอนว่าองค์ประกอบอื่นยังมี ยังควรใช้ยานี้ต่อไปไหม อันนี้ก็ต้อง ถาม อย และ who กระมัง จิตแพทย์ในไทยนี่มีน้อยมากครับ แต่ที่มีอยู่นี่ รับรองว่าระดับสุดยอดครับ ผมว่าคนไข้ในการรักษาแล้วฆ่าตัวตายหนะไม่ได้มีแค่ 3 หรือ 4 คนหรอกครับผมว่ามีเยอะกว่านี้อีก แล้วไม่ใช่มีแค่หมอคนนี้คนเดียวด้วย
โดย: t [14 พ.ย. 48 16:05] ( IP A:203.156.45.116 X: )
ความคิดเห็นที่ 38
   ข้อมูลล่าสุด ของที่ NIMH หรือกรมสุขภาพจิตอเมริกันเขาวิจัย ยานั้นให้ผลดีในแก้อาการเฉพาะหน้า รวดเร็วและตรงจุด คือ neuro-transmitters แต่ปัจจุบันพบว่าการใช้จิตบำบัดร่วมกับการใช้ยา จะเป็นการรักษาได้อย่างได้ผลมากที่สุด

Psychosocial Treatments
As an addition to medication, psychosocial treatments—including certain forms of psychotherapy (or "talk" therapy)—are helpful in providing support, education, and guidance to people with bipolar disorder and their families. Studies have shown that psychosocial interventions can lead to increased mood stability, fewer hospitalizations, and improved functioning in several areas.13 A licensed psychologist, social worker, or counselor typically provides these therapies and often works together with the psychiatrist to monitor a patient's progress. The number, frequency, and type of sessions should be based on the treatment needs of each person.


As with medication, it is important to follow the treatment plan for any psychosocial intervention to achieve the greatest benefit.

เอามาเผยแพร่ต่อครับ ขอบคุณคุณหมอที่มาช่วยออกความเห็น มาช่วยกันมองหลายๆด้านดีกว่า ไม่มีใครเลวหรอกเท่าที่เห็นนะ
โดย: เจ้าบ้าน คนหนึ่ง [14 พ.ย. 48 19:35] ( IP A:58.9.176.110 X: )
ความคิดเห็นที่ 39
   ตอบคุณgarnet ความเห็นที่ 35

สิ่งที่คุณพูดก็ดูดีมากแล้วนี่ครับ ผมว่าคุณไม่น่าจะมีปัญหากับการทำงาน พูดจริงๆเลยนะ .
โดย: เจ้าบ้าน [14 พ.ย. 48 19:42] ( IP A:58.9.176.110 X: )
ความคิดเห็นที่ 40
   ตอบคุณ t ความเห็นที่38

เรื่องยาจิตเวชที่เกี่ยวพันกับ suicide cases ผมทราบจากคุณหมอ xyz เล่าให้ฟังหลายครั้ง

ผมทราบว่าหมอส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งใจ และพิสูจน์ยากเป็นศาสตร์ที่ยังไม่ finite

ผมขอเสนอสมมติฐานว่า หลายครั้งที่ผู้ป่วยอาจไม่ได้เป็น major depressive disorder แต่ depressive ที่เห็นอาจเป็น depressive episode แรกของ manic-depressive disorder ซึ่งหลังจากนั้นเขาจะ swing ไปเป็น mania อย่างรวดเร็ว ซึ่งถ้าพลาดไปให้ยา antidepressant ซึ่งมีฤทธิ์ stimulant ในจังหวะที่ผู้ป่วยเปลี่ยนเข้าสู่ manic episode พอดี ยานั้นจะไปเสริมให้ mania รุนแรงขึ้นอีก โอกาสที่จะเกิดเรื่องเศร้าอยู่ตรงที่ตอนนั้น ผู้ป่วย มักจะมีภาวะ disinhibition syndrome ด้วย เพราะยาทำให้เขาขาดความยับยั้งชั่งใจเสียแล้ว

แค่เป็นสมมติฐานจากประสบการณ์นะครับ ซึ่งอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ยังไม่ทราบ ต้องให้ผู้รู้มาช่วยวิเคราะห์ ข้อสันนิษฐานผมอาจผิดก็ได้ แต่ถ้ามันเป็นจริงจะได้หาทางป้องกัน
.
.
โดย: เจ้าบ้าน [14 พ.ย. 48 20:04] ( IP A:58.9.176.110 X: )
ความคิดเห็นที่ 41
   ...
จาก คห. 31 และ 32

ผมอยากขอให้จิตแพทย์ระมัดระวังให้มาก อย่าเอาแต่ความรวดเร็ว ความง่าย เป็นที่ตั้งในการรักษา

--- จิตแพทย์คือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบกาณ์การรักษาและการใช้ยาที่ใช้ในการรักษาทางจิตเวชมากที่สุดแล้ว ไม่นึกว่ายังมีผู้ที่เชี่ยวชาญมากกว่าเค้าอีก(เจ้าบ้านมั้ง) ถ้างั้นไม่ต้องเรียนเอาวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญก็ได้...เพราะชาวบ้านๆธรรมดาไม่ต้องไปฝึกฝนอบรมก็วินิจฉัยและใช้ยารักษาได้

ที่บอกว่าต้องให้ญาติและผู้ป่วยช่วยกันดูแลนั้นถูกต้อง แต่ถามว่าคุณบอกพวกเขาอย่างไร ตอนไหน บอกละเอียดถี่ถ้วนหรือไม่

-----คนเรามีจิตใต้สำนึกอยู่แล้ว...จะต้องรอให้คนอื่น(ที่ไม่ใช่ญาติ)มาบอกด้วยหรือ..?? ว่า... "คุณต้องคอยดูแลญาติของคุณด้วยนะ" คนพวกนี้..ถึงแม้ว่าหมอหรือคนอื่นๆต้องมาคอยพูดคอยบอก แต่หากไม่มีแม้แต่ความรับผิดชอบในหน้าที่ในฐานะที่เป็นญาติของตัวเองแล้ว เวลาเกิดความเสียหายขึ้นมา...มันก็ไม่มีวันสำนึกได้หรอก ที่เห็นก็มีแต่โยนความผิดให้คนอื่นหมด และขอพูดเถอะนะ...ญาติคนไข้บางคนนะ อยู่บ้านเดียวกันแท้ๆ แพทย์ถามประวัติอาการเกี่ยวกับคนไข้ ประวัติการแพ้ยา ประวัติการใช้ยา หรือแม้แต่โรคประจำตัวของคนไข้ ก็ยังตอบไม่ได้เลย จะให้หมอมาเป็นคนนั่งทางในแล้วให้การวินิจฉัยทั้งหมดด้วยตัวเองเหรอ

ผมยอมรับว่าการให้ยามันง่ายและประหยัดเวลา แต่ถ้าคุณไม่ลงในรายละเอียดลึกๆ และระมัดระวังฤทธิ์อันไม่พึงประสงค์ของยา นั่นก็คือหนึ่งชีวิตที่จะต้องสังเวย หมอคนจ่ายยาไม่เคยกินยา อันนี้คือจุดอ่อนของจิตเวชศาสตร์ และก็เป็นไปไม่ได้ที่จะทดลองในมนุษย์ ทำให้คุณไม่มีทางทราบว่า ตอนที่ยาเข้าไปในเซลล์ประสาทสมองแล้ว ความคิดอ่านของคุณเปลี่ยนไปขนาดไหน ดังนั้นผมว่ามันจะต้องมีการป้องกันที่ดีกว่าปัจจุบัน ไม่ใช่ให้ยาแล้วปล่อยกลับบ้านไปเฉยๆ พรุ่งนี้มาใหม่

----ท่าทางคงจะถกกับเจ้าบ้านที่นี่สองสามวันหรือจนชาติหน้า..ก็ไม่คงจบ !! สงสัยคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าปล่อยให้หายเอง(หรือฆ่าตัวตายหายไปจากโลกเอง..??) ท่าจะดีกว่า... ยังไม่เข้าใจสิ่งที่พูดอีกเหรอว่า... " ถ้าเราให้ยาพวกนี้ไปแล้วเกิดผลเสียมากกว่าผลดี หรือทำให้คนที่เป็นโรคซึมเศร้าฆ่าตัวกันมากขึ้น..เราจะเอามันมาใช้ทำไม...?? (ทั้งๆที่เราให้ยากลุ่มนี้ก็จุดประสงค์เพื่อลดความซึมเศร้าของตัวโรคเอง ซึ่งจะมีผลทำให้ลดอัตราการฆ่าตัวตายตามมา)...."

คุณเจ้าบ้านคห.31,32...คุณอย่าคิดเลยว่าได้ไปซื้อตำราแพทย์มานั่งอ่านเองหรือsearch ข้อมูลทาง internet ...แล้วคิดว่าตัวเองรู้ดีกว่าจิตแพทย์(ที่เป็นคนประเมินและให้การรักษาคนไข้เองตั้งแต่ต้น)

แล้วถ้าคุณบอกว่าให้ป้องกันโดยแพทย์ผู้รักษาต้องเป็นผู้ซักถามเองทุกข้อตามที่คุณโพสต์มาใน คห.ที่ 32 ...คิดว่าคงไม่ต้องรักษากัน และถ้าประวัติซักไม่หมดก็ไม่ต้องวินิจฉัยและไม่ต้องรักษา (เพราะถ้าข้ามข้อใดข้อหนึ่งไป เกิดคนไข้เป็นอะไรไป เดี๋ยวจะลำบากถึงเครือข่ายที่ต้องคอยมานั่งจับผิดดูทุกข้อ) (และอย่าลืมเผื่อเวลาที่ต้องใช้มานั่งรอคอยคำตอบแต่ละข้อที่ซักจากคนไข้หรือจากญาติด้วย) และคนไข้คนอื่นๆที่นั่งต่อคิวกันเป็นร้อยๆคน ก็ค่อยให้มารพ.กันใหม่ชาติหน้า

คุณเจ้าบ้าน..คุณพูดได้ถูกต้องแล้วว่า "ควรแก้ที่ระบบ" แต่ก็..ไม่ควรมาคอยจี้แต่แพทย์เพียงฝ่ายเดียว

เรื่องโรคทางจิตเวชและการใช้ยาทางจิตเวชที่ได้มาถกเถียงกันครั้งนี้ ทำให้หมอ(ที่ไม่ใช่เครือข่าย)ได้รู้ความจริงแล้วว่า " มันไม่มีประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น" และ คงต้องให้หมอในเครือข่ายนี้มาชี้แจงอธิบายน่าจะดีที่สุด.. เพราะคิดว่ายังไงคุณก็คงไม่เถียงไม่แย้งใดๆ และคงจะเชื่อฟังคำอธิบายของหมอในเครือข่ายมากกว่าใครๆ และแม้แต่มากกว่าจิตแพทย์(ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สุด)

...
โดย: หมอนอกเครือข่าย [14 พ.ย. 48 20:08] ( IP A:203.170.228.172 X: )
ความคิดเห็นที่ 42
   แล้วหมอ xyz บอกว่าน่าฟ้องหรือเปล่าละ แล้วคุณเจ้าบ้านว่าหมอจิตเวชที่คุณอ้างนี้น่าฟ้องไหมละ
โดย: t [14 พ.ย. 48 20:11] ( IP A:203.156.45.116 X: )
ความคิดเห็นที่ 43
    you should know that your mental health may change in unexpected ways, especially at the beginning of your treatment and at any time your dose is increased or decreased. These changes may occur at any time if you have depression or other mental illness, whether or not you are taking fluoxetine or any other medication. You, your family, or your caregiver should call your doctor right away if you experience any of the following symptoms: new or worsening depression; thinking about harming or killing yourself, or planning or trying to do so; extreme worry; agitation; panic attacks; difficulty falling or staying asleep; irritability; aggressive behavior; acting without thinking; severe restlessness; and frenzied, abnormal excitement.Be sure that your family or caregiver knows which symptoms may be serious so they can call the doctor when you are unable to seek treatment on your own.
โดย: . [14 พ.ย. 48 20:14] ( IP A:58.9.176.110 X: )
ความคิดเห็นที่ 44
   เจ้าบ้านเชื่อไหมว่าต่อให้คุณท่อง haryson ได้ทั้งเล่ม โดยไม่ตกหล่นแม้ตัวเดียว คุณก็รักษาคนไข้ไม่ได้ ยิ่งศาสตร์ของจิตเวชยิ่งแล้ว เหนือเกินกว่าหมอทั่วไปแบบผมจะเข้าใจ
อีกอย่างนะที่ทักว่าหมอได้อธิบายคนไข้ละเอียดถี่ถ้วนหรือเปล่า จากประสบหารณนี่พอบอกไปแล้วรอบนึง 5 นาทีกลับมาถามซ้ำ 95% จำไม่ได้แล้วว่าบอกอะไร อีก 5% ก็เป็นกลุ่ม hight education นี่แหละที่จำได้
โดย: t [14 พ.ย. 48 20:18] ( IP A:203.156.45.116 X: )
ความคิดเห็นที่ 45
   มาพร้อมกันเลยนะคร้าบ สวัสดี ว่าจะจบก็จบไม่ลงซะที

วันนี้ขอนอนแต่หัวค่ำหน่อย เดี๋ยวจะเป็น sleep deprivation induced psychiatric disorder ซะก่อน 55555

smile
โดย: ขอบคุณทุกๆความเห็น [14 พ.ย. 48 20:30] ( IP A:58.9.176.110 X: )
ความคิดเห็นที่ 46
   เชิญนอนเถอะครับ ผมว่าคุณเจ้าบ้านนี่อ่านหนังสอแค่วันเดียว ก็เก่งกว่าหมอจิตเวช ที่เรียนถึง 10 (GP 6 + specialist 4 )ปีอีกนะครับ ขอตบมือให้ เสียดายนะครับ ที่ตอนนั้นอยากเป็นวิศวะเลยไม่ได้ ent เข้าหมอ ไม่งั้นคงจะรุ่งแล้ว ดีไม่ไดีอาจเก่งกว่า หมอ xyz อีก
โดย: t [14 พ.ย. 48 20:36] ( IP A:203.156.45.116 X: )
ความคิดเห็นที่ 47
   อย่ามาชมกันแบบนี้ดีกว่าคุณ

อ่านตำราแพทย์วันเดียวได้ไง ผมศึกษากว่าสามปี พอลง detail ได้เฉพาะเรื่องนี้แค่นั้น

เรียนหมอนี่ผมยอมแพ้ ยอมรับว่าไอคิวสู้ไม่ได้จริงๆ
.และเป็นคนแพ้หนังสือเรียนขนาดหนัก
.
โดย: เจ้าบ้าน [14 พ.ย. 48 20:57] ( IP A:58.9.176.110 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน