อย่าทำร้ายคนไข้ / ตอน2
   คัดลอกจากบทความของ นพ.ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์ ....

.... คณะทำงาน(สวิต) ได้ให้ข้อเสนอที่ดีๆทั้งนั้น ผู้ให้บริการสุขภาพลองพิจารณาดูเถิดว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่เมืองไทยต้องมีมาตรการเหล่านี้กับเขาบ้าง ในเมื่อข่าวร้ายเกี่ยวกับทางการแพทย์ปรากฏขึ้นในสื่อมวลชนไม่เว้นแต่ละเดือน
.
. คณะทำงานเสนอให้ตั้ง NCPS (National Center for Patient Safety) ขึ้นเป็นศูย์กลางรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความผิดพลั้งทางการแพทย์และัปัญหาความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย วิเคราะห์สาเหตุ พัฒนายุทธศาสตร์และเครื่องมือสื่อสาร และกระจายความรู้ช่วยเหลือผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติการณ์
.
นอกจากนี้คณะทำงานยังเสนอให้กำหนดจุดหมายและเป้าหมายที่ต้องการเห็นผลระยะสั้น ควบคู่ไปกับยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงระยะยาว จัดให้มีระบบรายงานอุบัติการณ์และการวิเคราะห์ เพื่อเป็นองค์ประกอบหลักในกระบวนการปรับปรุง โดยมีการวิเคราะห์เชิงลึกสำหรับอุบัติการณ์วิกฤติบางเรื่องแล้วทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงบริการ

.คณะทำงานคิดว่าน่าจะจัดทำแผนงานวิจัยระดับชาติเพื่อทำวิจัยเกี่ยวกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ความผิดพลั้งทางการแพทย์ และความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่าขณะนี้เริ่มทำไปบ้างแล้วและมีอัตราการเจริญเติบโตของการวิจัยที่รวดเร็ว
.
. คณะทำงานเสนอให้จัดตั้งเครือข่ายทั้งยุโรปเพื่อขยายฐานความรู้และการเข้าถึงความรู้ใหม่ล่าสุด (state of the art) เกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วย อีกทั้งให้มีกลุ่มที่ทำงานเพื่อพิจารณาประเด็นสำคัญๆ ของผลกระทบด้านจิตใจหลังเกิดเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์จากการใช้บริการสุขภาพจนต้องเจ็บปวดและรักษาเพิ่มเติม

.
กิจกรรมต่างๆเหล่านี้ต้องอาศัยงบประมาณระยะยาวและต้องวิเคราะห์แรงจูงใจของระบบบริการสุขภาพที่มีอยู่ เพื่อจะได้ปรับแรงจูงใจให้แก่ผู้ให้บริการสุขภาพ ให้มีคุณภาพและความปลอดภัย
.
. ที่ประเทศออสเตรเลีย ก็มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อคุณภาพและความปลอดภัย (Australian Council for Safety and Quality in Healthcare) เมื่อปี ค.ศ. 2000 เพื่อปรับปรุงระบบความปลอดภัยและคุณภาพของบริการสุขภาพโดยมุ่งเน้นการลดโอกาสที่จะเกิดความผิดพลั้งและผลกระทบด้วยการ
.
.. 1. สนับสนุนผู้ให้บริการสุขภาพดูแลผู้ป่วยอย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น เช่น เผยแพร่ตัวอย่างข้อบกพร่องของระบบคุณภาพและความปลอดภัยในทุกระดับ มีกระบวนการที่เหมาะสมในการประเมินคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพ ปรับปรุงกระบวนการรับรองคุณภาพ ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความลับของข้อมูล ทบทวนยุทธศาสตร์ในการจัดกำลังคนเพื่อความปลอดภัย
.
2. ปรับปรุงข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการดูแลผู้ป่วยที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น เช่นกำหนดแนวทางการดำเนินการเวลามีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ชนิดร้ายแรงเิกิดขึ้น จัดทำข้อกำหนดระบบรายงานและการจัดการอุบัติการณ์ ส่งเสริมให้มีการใช้ข้อมูลจากการชันสูตรศพที่เกิดจากเหตุร้ายอันไม่พึงประสงค์เพื่อนำไปปรับปรุงระบบการทำงาน
.
3. ร่วมมือกับผู้บริโภคในการปรับปรุงความปลอดภัยของบริการสุขภาพโดยให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมให้คำแนะนำ และรับเสียงสะท้อน จัดทำแนวทางในการเปิดเผยและสื่อสารข้อมูลสำหรับผู้บริโภค จัดทำระบบให้ผู้ป่วยรายงานอาการอันไม่พึงประสงค์จากยาให้โดยตรง การใช้ข้อมูลคำร้องเรียนเพื่อยกระดับความปลอดภัย
.
4. การออกแบบระบบใหม่เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัย เพื่อลดอันตรายจากการใช้ยา ให้ทุนสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัย ส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพเรียนรู้การบริหารความเสี่ยง
.
5. สร้างความตระหนักและความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยของบริการสุขภาพ
.
. ผม(นพ.ชุมศักดิ์ฯ)ขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่าในเรือ่งของการรายงานอุบัติการณ์อันไม่พึงประสงค์นั้นเป็นมาตรการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญ เพราะเมื่อรับรู้อุบัติการณ์แล้วจะสามารถนำไปวิเคราะห์และเป็นแนวทางปรับปรุงป้องกันและแก้ไข เพื่อนำไปสู่ความปลอดภัยในการให้บริการยิ่งขึ้น
.
. ปัญหาที่ยากแก่การนำไปสู่การปฏิบัติคือจะทำอย่างไรให้บุคลากรสายสุขภาพรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อย่างสมัครใจ รวมทั้งเหตุการณ์ที่เกือบจะเกิดแต่ยังไม่เกิด จึงยังไม่เสียหาย ( near miss) ทั้งนี้เนื่องจากว่า ผู้รายงานอาจจะเกรงว่าตนจะตกเป็นผู้รับผิดชอบในเหตุการณ์ที่เกิดทั้งๆที่ ระบบบริหารความเสี่ยงเน้นนักเน้นหนาว่า ไม่ให้เอาผิดที่ตัวบุคคลแต่ให้ไปดูระบบก็ตาม .

. วัฒนธรรมที่เกื้อหนุนต่อการรายงานเหตุการณ์( incident report)จึงเป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นมา .

.
ผมคิดว่าข่าวคราวครึกโครมที่สื่อมวลชนนำเหตุร้ายทางการแพทย์ไปประโคมจนสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นลบต่อวิชาชีพตลอดทศวรรษที่ผ่านมานั้น หลายกรณีเป็นความผิดพลั้งที่ป้องกันได้ของฝ่ายผู้ให้บริการ บางทีอาจจะภึงเวลาที่จะต้องคิดจัดตั้ง ศูนย์อำนวยความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการสุขภาพ (Thailand Center for Patient Safety) โดยขอให้สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นเจ้าภาพเพราะเป็นหน่วยงานที่อยากจะไล่เบี้ยหมอเหลือเกิน หากเปลี่ยนไปทำงานเสริมความปลอดภัยเชิงรุกแล้ว มาตรา 41 และ 42 อาจจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป+
.
ใกล้หมอ. . กันยาน2548 หน้า 45


.flower
โดย: patient no 222048 [29 ต.ค. 48 22:09] ( IP A:58.9.176.39 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ทำได้เฉพาะ รพ.เอกชนที่เขาคิดราคาค่ารักษาตามต้นทุนของเขาบวกกับกำไรที่ควรจะได้รับนะครับ รพ.รัฐบาล ปริมาณงานขนาดที่ดูหน้าแล้วเขียนใบสั่งยา ยังทำไม่ทันเลย จะหวังอย่างอื่น คงยาก ลองไปนั่งดูหมอทำงานสักพักก่อนนะครับ แล้วค่อยมาวิจารณ์
โดย: หมอแถวนี้ [30 ต.ค. 48 14:32] ( IP A:203.188.45.127 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   เอ... เจ้าของบทความนี้ท่านเป็นแพทย์นะ ...

ตัวผมยังไม่ได้วิจารณ์อะไรเลย เอามาให้ดูกันเฉยๆ

ดูหมอทำงานมานานแล้ว .. เห็นด้วยว่าคนไข้เสี่ยงจริงๆ ในโรงพยาบาลรัฐบาล แม้ใน รพ.เอกชนก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น
.
.
โดย: เจ้าบ้านคนหนึ่ง [30 ต.ค. 48 18:31] ( IP A:61.91.163.126 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   คนที่ได้แต่นั่งคิดนั่งทำงานอยู่เบื้องบน ตั้งแต่นายแพทย์สสจ.ยันไปถึงรัฐมนตรีสธ.หรือพวกที่มีหน้าที่ตำแหน่งใหญ่โตในสธ. แต่ละคนเลอะเลือนทั้งนั้น ดีแต่พูด ดีแต่สร้างภาพเอาหน้า แต่ไม่เคยยอมรับสภาพความเป็นจริง ไม่เคยก้มหัวลงมามองคนที่ทำงานเลย เมื่อไหร่มนุษย์ประเภทนี้จะสูญพันธุ์ซะทีนะ

มีแต่พวกนั่งฝันโดยไม่เคยมองความจริง ...เมื่อไหร่ประเทศจะเจริญ

ปล. คุณเจ้าบ้านคนหนึ่ง..รพ.ในประเทศไทยที่ไหนๆมันก็เสี่ยงกันทั้งนั้น แล้วแต่ว่าเสี่ยงมากเสี่ยงน้อย ถ้าอยากเอาประเภทที่มันดีๆมีความเสี่ยงน้อยสุดๆ(จะพูดว่าไม่เสี่ยงเลยมันก็คงไม่มี) ก็ไปโน่นเลย...อเมริกา ไม่ได้พูดประชดนะ แต่เห็นทำไมบ่นๆกันจริง รพ.รัฐไม่ง้อพวกคุณหรอก เรามีภาระงานที่จะต้องดูคนไข้ที่ไม่ค่อยเรื่องมาก,ภาระที่ต้องดูแลคนไข้ดีๆคนอื่นๆอีกมากมาย
โดย: มีแต่เหนื่อยใจ [30 ต.ค. 48 21:21] ( IP A:203.170.228.172 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ในสาขาอาชีพของผม เราจะท่องคำกล่าวหนึ่งว่า

If you think SAFETY is expensive ... Try an ACCIDENT !!

puppy
โดย: จขกท [30 ต.ค. 48 21:52] ( IP A:61.91.163.126 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   หมอชุมศักดิ์ พฤกษาพงศ์
ความคิดท่านดีมาก

แต่สมัยท่านเป็นกรรมการตัดสินคดีของดลพร
ทำไมท่านเข้าข้างโรงพยาบาล และรู้สึกว่าท่าน
ถูกดลพรฟ้องในฐานะเป็นกรรมการแพทยสภาด้วย
ใช่หรือไม่
โดย: ถาม [31 ต.ค. 48 9:17] ( IP A:61.90.15.79 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   กาลเวลาเปลี่ยนความคิดย่อมเปลี่ยนไป ท่านอาจไม่ได้คิดแบบเดิมแล้วก็ได้ บทความนี้ก็แสดงว่าท่านคิดใหม่ทำใหม่แล้ว
โดย: jjxyz [31 ต.ค. 48 17:31] ( IP A:61.90.97.15 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ผมก็เห็นด้วยกับ อ ชุมศักเป็นที่สุด แต่ คนทำมักไม่ได้พูด คนพูดมักไม่ได้ทำ
โดย: หก [1 พ.ย. 48 17:06] ( IP A:203.146.191.209 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   เป็นไปได้ที่ท่านอาจไม่คิดเหมือนเดิม
แต่ท่านจะยอมกลับลำมาช่วยดลพรหรือเปล่าล่ะ
ถ้าทำได้ก็ขอยกย่อง
โดย: หวังในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ [1 พ.ย. 48 21:14] ( IP A:61.90.9.103 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน