เอามาให้ดูเป็นตัวอย่าง
   ขอเล่าข่าวเรื่องแพทย์ถูกฟ้องคดีอาญามาเพื่อเป็นการเตือนให้เพื่อนแพทย์ได้ร ะมัด
ระวัง (ไฟสีส้มในการระวังอันตราย) ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมดังนี้
รับรองว่าเป็นเรื่องจริงที่ได้ยินมากับหู จากผู้ที่ตกเป็นจำเลย แต่ขอสงวนชื่อจริงและสถานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เพื่อไม่เป็นการละเมิดเพื่อนแพทย์

ผู้ป่วยมาโรงพยาบาล(ประจำอำเภอแห่งหนึ่ง) ด้วยอาการปวดท้อง แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ ได้นำผู้ป่วยไปผ่าตัดโดยการทำ spinal block ปรากฏว่าผู้ป่วยหยุดหายใจ แพทย์จึงได้ยุติการผ่าตัดและรีบทำCPR จนผู้ป่วยสามารถหายใจเองได้และได้ส่งต่อไปยังโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ของ
จังหวัดนั้นโดยแพทย์ได้ไปส่งผู้ป่วยกับรถพยาบาลด้วยตนเอง ผู้ป่วยอยู่ใน ICU
เกือบ20 วัน และได้ถึงแก่กรรม
ญาติได้ดำเนินการฟ้องร้องต่อ3 สถาบันคือ
1.แพทยสภา ได้ตัดสินตามความเห็นที่อ้างตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญว่าเป็นคดีไม่มีมูล 2.ฟ้องตำรวจและอัยการจังหวัด ซึ่งได้พิจารณาสั่งไม่ฟ้อง แต่ญาติและมูลนิธิแห่งหนึ่งได้ช่วยสนับสนุนให้เกิดการร้องทุกข์ต่ออัยการเขต
และอัยการเขตสั่งฟ้องต่อศาลอาญา ในกรณีนี้ เมื่ออัยการเป็นผู้สั่งฟ้องเสียเอง
แพทย์ที่ตกเป็นจำเลยที่1และ2 จึงต้องจ้างทนายเอง เพราะอัยการไม่สามารถมาเป็นทนายแก้ต่างได้ และเนื่องจากจำเลยคือแพทย์เมื่อได้รับหมายศาลแล้ว ไม่ได้เตรียมหลักทรัพย์ไปประกันตัว( เพราะไม่ทราบมาก่อนว่า การเป็นจำเลยคดีอาญาข้อหาฆ่าคนตายโดยประมาทนั้นถ้าไปตามหมายศาลแล้ว
ศาลจะต้อง"ขัง" ผู้ต้องหาจนกว่าจะมีการประกันตัว ถ้าไม่ไปตามหมายศาล ศาลจะออก"หมายจับ" เพื่อคร่ากุมผู้ต้องหาไปศาลให้ได้) ทำให้แพทย์ผู้ตกเป็นจำเลยต้องถูกขังในห้องกรง 3 ชั่วโมง กว่าจะหาหลักทรัพย์มาประกันตัวได้ (เนื่องจากตำแหน่งนพ.4 ไม่เพียงพอที่จะใช้ค้ำประกันให้ศาลยอมรับได้
3. ฟ้องศาลแพ่งเพื่อให้กระทรวงสธ.รับชดใช้ค่าเสียหายด้านละเมิด ในกรณีนี้ ศาลแพ่งได้พิพากษาให้กระทรวงสธ.รับผิดทางละเมิด และชดใช้ค่าเสียหายแก่ญาติ 600,000 บาท

ในกรณีนี้ ปรากฏว่านพ.สสจ.ไม่ได้รายงานเรื่องนี้ต่อกระทรวงสธ. จึงไม่ได้มีการช่วยเหลือใดๆต่อแพทย์ผู้ตกเป็นจำเลย แพทย์ผู้เป็นจำเลยผู้หนึ่ง
จึงได้มาเล่าเรื่องให้กรรมการแพทยสภาส่วนหนึ่งฟัง และคณะกรรมการแพทยสภาจึงได้ขอความร่วมมือจาก
ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมายของกระทรวงสธ. และให้รายงานให้ผู้บริหารสูงสุดทราบ

จึงเรียนมาเพื่อเพื่อนแพทย์จะได้ใช้ความระมัดระวังและดุลยพินิจที่เหมาะสม
ในการตัดสินใจที่จะรักษาหรือส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่อื่น และบันทึกเวชระเบียน
ให้ครบถ้วนตามความจำเป็นที่ควรมี

ถึงแม้แพทย์จะใช้ความระมัดระวังเพียงใด ถ้าเกิดการฟ้องร้องแล้วไม่ต้องตกใจ
ให้ตั้งสติทำความเข้าใจว่าควรจะสู้คดีอย่างไร และสามารถขอความช่วยเหลือปรึกษาผู้บังคับบัญชาโดยตรงของท่าน
และปรึกษามายังสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา หรือปรึกษาแพทยืที่เชี่ยวชาญด้านกม.ในคณะกรรมการแพทยสภา ได้แก่ นพ.พินิจ หิรัญโชติ นพ.อำนาจ กุศลานันท์ นพ.วิรัติ พาณิชยพงษ์ นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ เบอร์โทรศัพท์ของท่านเหล่านี้สามารถสอบถามได้ที่สำนักงาน
เลขาธิการแพททยสภาโทร. 02-590-1881 ,01-8693034 fax 02- 5908614-5





ส่งโดย: พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
โดย: คนกันเอง [25 ธ.ค. 48 7:46] ( IP A:61.90.100.6 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   rose
โดย: เจ้าบ้าน [26 ธ.ค. 48 11:08] ( IP A:210.86.181.20 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   อย่าไปรักษามันเลย รพ.ผม ว่างจนเหงาหลับ คนไข้ไม่ค่อยมีมาให้รักษาเลย มารักษาก่อนอื่นผมจะชี้แจงว่าผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญนะครับ โอกาสตายย่อมสูงเป็นธรรมดา ถ้ายินยอมหมอจะดูแลให้เต็มที่ ถ้าไม่อยากเสี่ยงก็เชิญนั่งรถโดยสารเข้าเมือง 90 กม.เอง ค่าโดยสารไปกลับ 200 กว่าบาท จิ๊บจ๊อย ส่วนใหญ่เผ่นหมด รักษาให้เฉพาะคนที่ไม่มีทางไปจริงๆเท่านั้น ว่างชะมัด ไม่รู้จะรักษามันไปทำไม ขืนคนไข้ตายเดี๋ยวเราจะแย่ ปล่อยให้เข้าเมืองไปอัดแน่น รพจ. เราเอาสบายเข้าว่า
โดย: jj [26 ธ.ค. 48 20:41] ( IP A:203.188.43.28 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ดีแล้ว เราไม่เก่งจะไปอวดเก่งทำไมให้ชาวบ้านด่าแม่ทีหลัง แต่ต้องประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรหน่อย เขาจะได้จัดหมอเก่งๆไปอยู่แทน อั๊เสียดายเงินภาษีน่ะ
โดย: เจ้าบ้าน [26 ธ.ค. 48 20:57] ( IP A:61.91.162.128 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   เออ...นั่นสิ หมอนิสัยแบบนี้วุฒิภาวะไม่สูงพอ ก็สมควรนั่งตบยุง
หาความก้าวหน้าให้ชีวิตไม่ได้หรอกคนแบบนี้ ประชดผู้ป่วยหรือ
เป็นลูกเป็นเต้าไม่ได้ เบิ๊ร์ดกะโหลก ป๊าบ....!
โดย: ขุนพลอยพยัก [27 ธ.ค. 48 12:29] ( IP A:61.90.10.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   เครือข่ายเง้า
โดย: แบบนี้นี่ [0 3] ( IP เอง )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน