เร็วเครือข่ายช่วยกันอ่านหน่อย
|
ความคิดเห็นที่ 1 สกู๊ปหน้า1 : พูดไม่เก่ง-เก่งไม่พอ ปัญหา หมอ ต้นตอถูกร้อง ชุ่ย?
เป็นกรณีพิพาท ร้องเรียน ฟ้องร้อง ที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระหว่างฝ่ายผู้เจ็บไข้ได้ป่วย-คนไข้ กับฝ่ายโรงพยาบาล-แพทย์ ล่าสุดก็มีกรณีเด็กหญิงวัย 10 ขวบรายหนึ่ง ช็อก...เสียชีวิต หลังผ่าตัดไส้ติ่ง ซึ่งก่อนหน้านั้นทางผู้ปกครองได้พาเข้าพบแพทย์แล้วหลายครั้ง ทั้งโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน เมื่อเกิดเหตุสลดใจขึ้นจึงนำมาซึ่งการร้องเรียน-ฟ้องร้องแพทย์ว่า ประมาท...วินิจฉัยผิดพลาด
นี่มิใช่กรณีแรก...ที่ผ่านมาก็มีการ โวย อยู่เนือง ๆ
...สาวไปคลอดลูก พอออกจากโรงพยาบาลกลับบ้านได้ 10 วัน ปรากฏว่ามีหนองไหลออกจากอวัยวะเพศ พอไปตรวจก็พบว่ามี ผ้าก๊อซเน่าอยู่ในช่องคลอด
...หนุ่มใหญ่โวยลั่น เข้าผ่าตัดก้อนนิ่ว แต่กลายเป็นว่า ไตหาย ไป 1 ข้าง ที่ซ้ำร้ายมี สายยางยาว 1 ฟุต ถูกลืมทิ้งไว้ในท้อง
...ร้องเรียนแพทย์ ลืมมีดผ่าตัดไว้ในท้อง
กรณีร้องเรียน-ฟ้องร้องลักษณะนี้...เกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ
กับเรื่องนี้ น.พ.สมศักดิ์ โล่เลขา นายกแพทยสภา ระบุว่า... ทุกครั้งที่เกิดเรื่องขึ้น ไม่ว่าจะมีการฟ้องร้องหรือไม่ก็ตาม ทางแพทยสภาก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ทางแพทยสภาก็ได้พิจารณาว่าเกิดปัญหาเพราะสาเหตุใด ซึ่งก็ต้องให้อนุกรรมการจริยธรรมตรวจสอบข้อมูลดูว่าเกิดความผิดพลาดในขั้นตอนไหน
จะมีการตรวจสอบว่าเกิดความผิดพลาดในขั้นตอนของแพทย์ หรือพยาบาล ซึ่งอย่างกรณีลืมผ้าก๊อซไว้ตอนทำคลอด...อาจจะเกิดจากพยาบาล เนื่องจากคนไข้เวลามีเลือดออกพยาบาลก็จะใช้ผ้าก๊อซกดให้เลือดหยุด บังเอิญคนไข้เลือดมีน้อยก็อาจจะลืม
อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึง พยาบาล ทาง รศ.ดร.ทัศนา บุญทอง นายกสภาการพยาบาล บอกว่า... นักเรียนพยาบาลจะมีการปลูกฝังมากในเรื่องความรับผิดชอบต่อชีวิต และระวังเรื่องสุขภาพคนไข้ มีความห่วงใยคนไข้ และพยายามไม่ให้เกิดความผิดพลาด แต่เมื่อเกิดขึ้นก็ต้องมาดูกันว่าคลาดเคลื่อนตรงจุดใด
ตัดกลับมาที่ แพทย์" ทางนายกแพทยสภาระบุต่อว่า... เมื่อเกิดเรื่องขึ้น ในขั้นตอนแรกจะมีการส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการจริยธรรมพิจารณาหาข้อมูล หลังจากนั้นก็จะเสนอความเห็นให้คณะกรรมการแพทยสภาพิจารณา ถ้าไม่มีมูลเรื่องก็จบ
แต่ถ้ามีมูล ซึ่งไม่ได้หมายความว่าแพทย์ผิดแน่นอน หมายถึงให้มีการดำเนินการต่อไป ก็จะมีการส่งเรื่องให้กรรมการสอบสวนต่อ โดยเชิญพยานที่เกี่ยวข้อง ผู้ถูกร้อง และผู้ร้องมาสอบ
น.พ.สมศักดิ์ระบุอีกว่า... ที่ผ่านมาทางแพทยสภาพบว่าสาเหตุที่มีการฟ้องร้องกันส่วนใหญ่มักเกิดจาก คนไข้และญาติไม่เข้าใจปัญหา หรือมีความคาดหวังมากเกินไป รวมถึง การสื่อสารไม่ชัดเจน ไม่เข้าใจกันระหว่างการพูดการสื่อสารระหว่างแพทย์กับคนไข้ ซึ่งประเด็นหลังก็ได้มีมาตรการที่จะช่วยลดปัญหา
ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในจุดที่ไม่ควรจะเกิดนี้ ทางแพทยสภาได้มีมาตรการในการดำเนินการแก้ไขตั้งแต่เป็น นักศึกษาแพทย์ โดยให้มีการ อบรมเรื่องการพูด-การสื่อสาร ว่าควรเป็นแนวทางอย่างไร มีช่องโหว่ตรงขั้นตอนไหน ควรป้องกันอย่างไร สื่อสารอย่างไรถึงจะไม่เกิดการเข้าใจผิด
จากประสบการณ์ ปัญหาที่เกิดจากการพูดระหว่างแพทย์กับคนไข้ หรือญาติคนไข้ หรือพยาบาลกับคนไข้หรือญาติคนไข้ ก็มีมาก ซึ่งแพทย์ นั้นเก่งด้านวิชาการ แต่อาจไม่เก่งด้านมนุษยสัมพันธ์ และการพูด-การสื่อสาร จึงอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดทางการสื่อสาร นำมาซึ่งปัญหาไม่เข้าใจระหว่างกัน
ปัจจุบันประเด็นนี้สำคัญมาก และบางครั้งคนไข้ก็คาดหวังมาก คิดว่าถึงมือแพทย์แล้วจะรอดทุกกรณี ซึ่งมันไม่ใช่ ดังนั้นก็ต้องอธิบายให้รู้ว่าทำไม ทำไมถึงตาย เกิดจากสาเหตุอะไร
กับกรณีการ วินิจฉัยโรคผิดพลาด ที่ก็มีการร้องเรียนอยู่บ่อย ๆ นายกแพทยสภาบอกว่า... โดยพื้นฐานแพทย์ตรวจโรคเป็น แต่โรคก็มีเป็น หมื่น ๆ โรค แพทย์เองก็คงไม่สามารถรู้ทุกโรค
แพทย์เองคงไม่สามารถจะรักษาเก่งได้ทุกโรค ยาบางตัวถ้าไม่เคยใช้ก็ไม่รู้จัก ก็จะต้องมีการศึกษา หาอ่านจากตำรา บางโรคก็ไม่เคยพบ ซึ่งส่วนใหญ่ถ้าแพทย์ไม่มั่นใจว่าเป็นโรคนั้น ๆ หรือไม่...ก็จะส่งต่อแพทย์เฉพาะด้าน โดยสังเกตจากเบสิกบางอย่าง
นายกแพทยสภาแจงต่อไปอีกว่า... โรคบางโรคแพทย์ก็ไม่สามารถวินิจฉัยได้ในตอนเริ่มแรกของอาการ ต้องให้มีอาการตรวจพบบางอย่าง หรือแสดงออกมาเด่นชัด จึงจะสามารถวินิจฉัยโรคได้ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ไข้เลือดออก ระยะแรกตอนมาตรวจแค่มีไข้สูง เหมือนเป็นไข้หวัดธรรมดา จะรู้ว่าเป็นไข้เลือดออกก็ประมาณ 5-6 วัน เพราะเลือดจะมีความเข้มข้น เกล็ดเลือดเริ่มต่ำ อย่างนี้เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ในส่วนของการลงโทษแพทย์นั้น ถ้าพิจารณาแล้วพบว่าผิดตามที่ถูกร้อง ก็จะมีคณะกรรมการกลั่นกรองลงโทษ ซึ่งมีบทลงโทษแพทย์อยู่ 4 ขั้นตอนคือ... ว่ากล่าวตักเตือน, ภาคทัณฑ์, พักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม และเพิกถอนใบอนุญาตฯ ...น.พ.สมศักดิ์กล่าว
ก็เป็นการบอกกล่าวต่อสังคมจากทาง แพทยสภา
ท่ามกลางกรณีปัญหา...ร้องเรียน หมอชุ่ย.
-------------------------------------------------------------------------------- | โดย: สอดเห็น [13 ธ.ค. 48 13:12] ( IP A:61.91.95.135 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 น.พ.สมศักดิ์ โลห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวอภิปรายในการสัมมนารวมพลังสร้างสรรค์ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ยั่งยืน ที่เมืองทองธานี ว่า ในฐานะตัวแทนของผู้ให้บริการได้ รับเสียงสะท้อนจากแพทย์หลังจากมีโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคว่า พวกเขาทำงานหนัก มากขึ้นภายใต้ความคาดหวังที่สูงของประชาชน เนื่องจากมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ว่า สามารถให้การรักษาได้ทุกโรค โดยใช้บัตรทองเพียงใบเดียว ซึ่งทำให้ประชาชนรู้สึกว่าบัตรทอง คือบัตรวีไอพีที่ต้องได้ทุกอย่างดีที่สุด โดยไม่รู้เลยว่าข้อจำกัดมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เงิน เรื่องยา และเวลาให้บริการ
น.พ.สมศักดิ์ กล่าวถึงกรณีแพทย์ลาออกจากระบบมากขึ้นหลังมีโครงการ 30 บาท ว่า ความ จริงแล้วโครงการไม่ใช่สาเหตุหลักแต่เป็นหนึ่งปัจจัยเท่านั้น แต่ยังมีประเด็นเรื่องค่าตอบแทน ปัจจุบันหมอจบใหม่ได้เงินเดือน 8,000 บาท ทำงานล่วงเวลาได้ชั่วโมงละ 20 บาท หมอนวดเท้ายังรายได้ดีกว่าเสียอีก ส่วนพยาบาลที่ว่าทำงานหนัก อย่างน้อยก็มีการผลัดเวรทุก 8 ชั่วโมง ขณะที่หมอต้องมีเวลา 24 ชั่วโมงเรียกเมื่อไรต้องมา ไม่มาก็อาจถูกฟ้องร้องได้ ในต่างประเทศมีงานวิจัยว่าหมอประสบอุบัติเหตุสูง เพราะพักผ่อนไม่เพียงพอ นอกจากนี้จากภาระงานที่เพิ่มขึ้นทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง ทำให้หมอหมดกำลังใจเพราะไม่มีหมอ คนไหนอยากจะฆ่าคนไข้ | โดย: เสือกไปเห็นมา [13 ธ.ค. 48 13:16] ( IP A:61.91.95.135 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 "ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในจุดที่ไม่ควรจะเกิดนี้ ทางแพทยสภาได้มีมาตรการในการดำเนินการแก้ไขตั้งแต่เป็น นักศึกษาแพทย์ โดยให้มีการ อบรมเรื่องการพูด-การสื่อสาร ว่าควรเป็นแนวทางอย่างไร มีช่องโหว่ตรงขั้นตอนไหน ควรป้องกันอย่างไร สื่อสารอย่างไรถึงจะไม่เกิดการเข้าใจผิด"
คนเป็นอาจารย์เป็นถึงนายกแพทยสภา ยังสื่อสารไม่เข้าใจพูดเอาแต่ ได้ แล้วจะไปสอนลูกศิษย์ให้ดีได้อย่างไร อันดับแรกต้องโละอาจารย์เสียก่อน ทัศนคติยอดแย่ | โดย: โละอาจารย์ก่อน [13 ธ.ค. 48 16:16] ( IP A:61.91.178.82 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 เจ้าของกระทู้น่าจะพูดจาให้สุภาพกว่านี้หน่อยนะคะ เพราะยังไงนายกแพทยสภาเค้าก็น่าจะอาวุโสกว่าคุณ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับฝ่ายไหนทั้งสิ้นนะคะ แต่อ่านแล้วมันขัดใจจริงๆ | โดย: บังเอิญเข้ามาอ่าน [13 ธ.ค. 48 18:16] ( IP A:202.3.69.60 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 เห็นด้วย "คนเป็นอาจารย์เป็นถึงนายกแพทยสภา ยังสื่อสารไม่เข้าใจพูดเอาแต่ได้ แล้วจะไปสอนลูกศิษย์ให้ดีได้อย่างไร อันดับแรกต้องโละอาจารย์เสียก่อน ทัศนคติยอดแย่" ถูกใจ ถูกใจ ฮา ฮาๆๆๆๆๆๆๆ เดี้ยนว่า อย่าไปว่าอะไรเขามากเลยนะคะ เดี๋ยวจะยิ่งได้คะแนนสงสารจากแพทย์ที่ไม่รู้ความจริงของคุณหมอท่านนี้ เป็นนายกแพทยสภายาวนานพร้อมกับสถานการณ์อันแย่ๆ แค่ 2 สมัยก็เน่าจนแร้งยังเมิน ได้เป็นอีกสมัยแย่เลยค่ะ | โดย: ทองม้วน [13 ธ.ค. 48 18:43] ( IP A:203.114.118.47 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 เท่าที่ผมรู้จักอาจารย์ก็ดีมากๆคนหนึ่งในสายตาของลูกศิษย์ไม่ค่อยดีอย่างผม ถ้าผมเจอตำราอาจารย์เขียน ผมมักจะซื้อมาอ่าน หรือถ้าอาจารย์เขียนไว้ในเล่มไหน ก็มักจะเปิดอ่านก่อนคนอื่น รวมทั้งของอาจารย์อรรถสิทธิ์ ด้วย เพราะตำราที่อาจารย์เขียนนั้น เขียนจากความรู้ที่ทันสมัย และประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน นับว่าเป็นปรมจารย์จริงๆ ตำราจะอ่านง่าย ใช้งานได้ทันที อ่านแล้วทำงานได้ ไม่ใช่พวกเจ้าทฤษฎี อ่านแล้วมีแต่ทฤษฏีเป็นสิบๆแบบ แต่หาข้อสรุปทำงานรักษาคนไข้ไม่ได้ แต่ความรักลูกน้อง ลูกศิษย์ หรือแพทย์ร่วมวิชาชีพจะทำให้อาจารย์เสียคนถูกชาวบ้านด่าก็ตรงนี้แหละ แต่ถ้าขืนอาจารย์ตรงไปตรงมา เหล่าแพทย์ก็จะด่าอาจารย์อีก คนที่อยู่ตรงนี้จะโดนทั้งขึ้นทั้งล่อง อาจารย์จะทำอย่างไร???????????????????????? | โดย: jjxyz [13 ธ.ค. 48 22:50] ( IP A:61.90.100.221 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 การสื่อสารเป็นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์สังคม หากหมอซึ่งผ่านการขัดเกลามามากยังไม่สามารถพูดจารู้เรื่อง พยายามทำตัวแบบนักการเมืองเหลวไหล มันก็คงหมดความหวังที่จะพัฒนาแพทย์ไทย ความผิดพลาดเกิดได้เสมอทุกโอกาส แต่เกิดแล้วจะทำกันอย่างไร น่าจะอยู่ที่การสานต่อจนเกิดความพอใจกันทั้งสองฝ่าย ในทุกปัญหาถ้ามองให้ถึงเนื้อในจะเห็นว่ามีการใช้การเมืองทุกรูปแบบ ใครที่ไม่เจอกับตัวเองควรหาโอกาสศึกษาดูสักหนึ่งกรณี แค่กรณีเดียวคงไม่เสียเวลามากนัก แล้วค่อยมาแสดงความคิด | โดย: ok13 [14 ธ.ค. 48] ( IP A:221.128.101.123 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 มิทราบว่าหนังสือเล่มนี้หรือไม่ จะได้ซื้อไปอ่านบ้าง เพราะว่าท่าทางหนังสือก็เนื้อหาดีน่ะ แต้ทำไมการปฎิบัติมันถึงกลับกันล่ะ ช่วยบอกหน่อย บทนำคลินิก Introduction to Medicine บรรณาธิการ สมศักดิ์ โล่เลขา ปี 2540 ราคา 140.
หนังสือ บทนำคลินิก Introduction to Medicine เป็นหนังสือที่ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับอาการวิทยา และอาการแสดงในระบบต่างๆ ของร่างกาย
เนื้อหาโดยย่อ... บทนำคลินิก Introduction to Medicine โดย สมศักดิ์ โล่เลขา ราคา 140 บาท หนังสือ บทนำคลินิก Introduction to Medicine เป็นหนังสือที่ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับอาการวิทยา และอาการแสดงในระบบต่างๆ ของร่างกาย และใช้เป็นแนวทางในการฝึกซักประวัติตรวจร่างกายผู้ป่วย สำหรับนักศึกษาแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ | โดย: อยากรู้จัง [14 ธ.ค. 48] ( IP A:61.90.99.115 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 คนเราพูดให้ดีเลิศอย่างไรก็ได้
แต่ทำได้อย่างที่พูดหรือเปล่า | โดย: ไม่คิดบ้างหรือว่าคนเสื่อมศรัทธาเพราะอะไร [14 ธ.ค. 48 13:29] ( IP A:61.91.160.70 X: ) |  |
|