เวชระเบียนเป็นสิทธิของแพทย์ !!!?
    นายกแพทยสภายันเวชระเบียนเป็นสิทธิของแพทย์


นายกแพทยสภา ยัน เวชระเบียนต้องเป็นสิทธิของแพทย์ แจงไม่มีเจตนาปกปิดข้อมูล ผู้ป่วยมีสิทธิขอดูและแพทย์มีสิทธิสกรีนข้อมูลที่ไม่เกี่ยวกับบุคคลที่ 3 ก่อนให้ หากให้ทั้งหมดแพทย์เสี่ยงถูกฟ้องร้อง ชี้วงการแพทย์มีปัญหาเชิงระบบ แต่ตอนนี้กดดันแพทย์จนไม่กล้าทำงาน ส่งผลเสียต่อประชาชน เผย เตรียมยื่นเรื่องให้กฤษฎีกาตีความ ย้ำ นี่เป็นเรื่องวิชาการไม่ใช่การหาเสียง ด้านผู้ป่วยยืนยันเวชระเบียนต้องเป็นของผู้ป่วย ถ้าไม่ทำผิดทำไมต้องปกปิด ชี้ “พินิจ” ทำถูกต้องแล้ว


สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.ที่ผ่านมา นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รับปากกับเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ว่าจะดำเนินการให้เวชระเบียนเป็นสิทธิของผู้ป่วยนั้น เนื่องจากเห็นว่า ข้อมูลการรักษาไม่ควรมีการปกปิด และต้องมีการเปิดเผยแก่ผู้ป่วยนั้น

นางดลพร ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า ตามกฎหมายแล้ว ข้อมูลในเวชระเบียนเป็นสิทธิของผู้ป่วยโดยสมบูรณ์ ถึงแม้ตัวเอกสารจะเป็นของโรงพยาบาลก็ตาม แพทย์ไม่มีสิทธิที่จะมาคัดกรองข้อมูลก่อนให้ ตอนนี้ถึงขั้นที่ว่าผู้ป่วยไม่สามารถขอดูเวชระเบียนได้เลย จึงเป็นที่สงสัยว่าถ้าไม่มีอะไรผิดปกติทำไมต้องปกปิด แทนที่จะให้ตรวจสอบโดยดี ในเมื่อข้อมูลเป็นของผู้ป่วย เมื่อขอดูก็ต้องให้ การที่รัฐมนตรี สธ.รับปากว่าจะดูแลเรื่องนี้ทำให้มีความหวังขึ้นมา เพราะไม่เคยมีรัฐมนตรี สธ.คนไหนที่จะกล้าชนกับหมอ จึงน่าจะมีความหวัง และอยากฝากให้ทำเรื่องเวชระเบียนไปพร้อมกันกับการดำเนินการให้แพทยสภามีคนนอก และการตั้งกองทุนชดเชยผู้เสียหายไปพร้อมกันด้วย

ด้าน นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ผู้ป่วยมีสิทธิในการขอข้อมูลในเวชระเบียนได้ และแพทย์มีสิทธิที่จะคัดกรองข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่ 3 ก่อนให้ผู้ป่วย โดยไม่สามารถให้ไปทั้งหมดได้ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้อง เพราะการเขียนเวชระเบียนบางครั้งมีการเขียนพาดพิงบุคคลที่ 3 เวชระเบียนจึงยังต้องเป็นสิทธิของโรงพยาบาล ไม่สามารถเป็นสิทธิของผู้ป่วยได้ และที่ผ่านมา ยืนยันได้ว่า ข้อมูลในเวชระเบียนที่เกี่ยวข้องกับการตรวจร่างกาย ผลเลือดผู้ป่วย และวิธีการรักษาอย่างไร เป็นข้อมูลของผู้ป่วยที่แพทย์ให้ได้ และก็ปฏิบัติมาตลอด แต่การเรียกร้องของเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ที่จะให้เวชระเบียนเป็นสิทธิของผู้ป่วยนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

“ต้องถามกลับว่า เวลาเขียนหนังสือเรื่องชีวประวัติประธานาธิบดีท่านหนึ่ง ใครเป็นเจ้าของหนังสือเล่มนั้น ก็เป็นคนเขียนใช่หรือไม่ เวชระเบียนก็เช่นกัน แพทย์เป็นคนเขียนที่เกี่ยวกับการรักษาแพทย์ก็เป็นเจ้าของ ไม่ใช่ผู้ป่วย ที่ผ่านมา เมื่อผู้ป่วยร้องขอดูเวชระเบียน แพทย์ก็ให้ดู เราไม่รู้จะเก็บไว้ทำไม แต่บางอันที่ให้ไม่ได้ เพราะการเขียนเวชระเบียนเกี่ยวข้องกับบุคคลที่ 3 ถ้าให้ไปก็เกิดการฟ้องร้องขึ้นมา ทั้งที่แพทย์เขียนไว้เพื่อการทำงาน ไม่ได้ต้องการให้เปิดเผยแล้วมาจ้องจับผิดฟ้องร้องแพทย์ ตอนเขียนเวชระเบียนใช้เวลาไม่นาน คนเดียวตัดสินใจ แต่พอคนเอาไปดู ก็หาช่องทางจะฟ้องแพทย์ ความเป็นธรรมสำหรับแพทย์มีหรือไม่ ”

นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า การที่นายพินิจรับปากว่าจะให้เวชระเบียนเป็นสิทธิผู้ป่วยนั้น สะท้อนว่านายพินิจยังไม่เข้าใจความหมายของคำว่าสิทธิผู้ป่วยกับการทำการรักษาของแพทย์ นี่เป็นเรื่องวิชาการ ไม่ใช่การหาคะแนนเสียง ยืนยันว่า แพทย์ไม่มีเจตนาทำร้ายผู้ป่วยแน่นอน ขณะนี้ทางแพทยสภากำลังยื่นเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความหมายเกี่ยวกับเรื่องเวชระเบียน สิทธิผู้ป่วย และสิทธิในการรักษา

“ปัจจุบันแพทย์มีความกดดันในการทำงานมาก รักษาอย่างดีที่สุด พอตายแพทย์ก็ถูกฟ้องร้อง กำลังใจในการทำงานไม่มีเลย ค่าตอบแทนน้อย นี่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง แพทย์กับประชากรไม่สมดุลกัน เราทำดีที่สุด ตอนนี้แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนหยุดการผ่าตัดทั้งหมด เพราะกลัวถูกฟ้องเมื่อมีปัญหา แล้วใครเดือดร้อนถ้าไม่ใช่ประชาชน นี่เป็นปัญหาทั้งระบบการแพทย์ การแก้ปัญหาก็ต้องแก้ทั้งระบบด้วย ไม่ใช่แค่หาเสียง”นพ.สมศักดิ์ กล่าวในที่สุด
โดย: เก็บมาฝาก [4 ม.ค. 49 16:55] ( IP A:202.142.217.24 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ลักษณะสามัญอันเป็นข้อจริง(ไม่ใช่เท็จ)ของเวชระเบียน
ซึ่ง
คนธรรมดาชาวบ้านๆที่แค่อ่านออกเขียนได้และมีวุฒิภาวะเป็นผู้ใหญ่พอสมควร
สามารถที่จะนึกเข้าใจได้ก็คือ

- เวชระเบียนจะเป็นแค่กระดาษฟอร์มว่างเปล่า หากไม่มีคนไข้เข้าไปหาหมอ และหมอไม่บันทึกลงไป
- ในกรณีหลายต่อหลายกรณี การได้สำเนาเวชระเบียนทั้งหมดโดยครบถ้วน และทันเวลาทันท่วงที ขอย้ำอีกครั้งว่า ทันเวลาและทันท่วงที หมายถึงความเป็นความตายของคนไข้ และ ก็ในเมื่อหมอส่วนใหญ่ในระบบสาธารณสุขของไทยก็งานหนักอยู่แล้ว จะมาผูกตัวเองกับการตั้งแง่ว่ากลัวถูกคนไข้ฟ้องทำไม หน่วงเวชระเบียนไว้ทำไม? มาเสียเวลาสรุปเวชระเบียนเมื่อคนไข้เรียกร้องทำไม ในเมื่อเวลาพักก็แทบจะไมมีอยู่แล้ว หากไม่มีอะไรในกอไผ่ และเจตนาบริสุทธิ์
- แล้วหากยอมให้คนไข้รับสรุปเวชระเบียนผ่านหมอ แล้วข้อมูลส่วนที่หมอกันไว้โดยข้ออ้าง แต่ไปปิดทางรอดชีวิตของคนไข้เจ้าของข้อมูล ถามว่า ใครที่ไหนจะยอม
- ข้อมูลของบุคคลที่สามตามที่นายกแพทยสภาอ้างที่อาจเสียหายถึงบุคคลที่สาม จะมีซักเท่าไหร่กัน เมื่อเทียบกับ การถูกปิดหรือบิดเบือนทางรอดชีวิตของคนไข้เจ้าของเวชระเบียน อย่างที่กรณีคดีของโรงพยาบาลเอกชนมีกับคนไข้ และแพทยสภาดึงเรื่องเข้าข้างกันอยู่ให้เห็นตลอดมาเป็นปีๆ
- กระแสการสร้างภาพให้หมอโรงพยาบาลชุมชนกลัวคนไข้ฟ้องร้องนั้น ต้องขอให้พิจารณาว่า เริ่มมาจากกรณีของโรงพยาบาลชุมชน หรือ โรงพยาบาลเอกชนที่บรรดากรรมการทั้งหลายของแพทยสภามีหุ้น หรือ มีผลประโยชน์เอื้อกันอยู่แน่????????????

- ความเข้าใจของการพยายามอ้างไม่ยอมเปิดเผยเวชระเบียนของคนไข้ ในกรณีตัวอย่างที่เครือข่ายฯพบทั้งหมด ก็คือ มึการรักษาผิดพลาดจริง หรือ มีการรักษาเกินโรค ซึ่งส่วนใหญ่กว่าครึ่งเป็นกรณีที่เกิดในโรงพยาบาลเอกชน ซึ่ง หมอมีรายได้ดีกว่าเป็นหลายๆเท่า ขณะที่คนไข้คู่กรณีในโรงพยาบาลเอกชนต้องจ่ายเพิ่มจาก ร.พ. ชุมชนเป็นสิบๆเท่า

ทั้งหมดที่ว่ามานี้ ขอทุกท่านที่อ่าน ได้โปรดไตร่ตรองว่าเป็นข้อเท็จตรงไหน เป็นข้อจริงตรงไหน? แล้วเลือกที่จะเชื่อหรือไม่ตามแต่จะเห็นสมควรเถิด
โดย: เครือข่ายฯ [4 ม.ค. 49 21:32] ( IP A:61.91.79.27 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   https://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9490000000640
โดย: 555 [4 ม.ค. 49 22:21] ( IP A:61.91.79.27 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   เรื่องบันทึกเวชระเบียนนั้นขอยืนยันครับ ว่าหมอที่เกิดปัญหาทุกราย ย้ำเลยว่าทุกรายจริงๆ อาการที่เป็น significant (ขออภัยถ้าพูดไม่เป็นภาษาแพทย์) หรือ ประเด็นการรักษาที่สำคัญล้วนแล้วแต่ไม่ได้มีอยู่ในบันทึกหรือไม่ก็เป็นการสร้างขึ้นมาใหม่ภายหลัง และไม่ตรงกับเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นก็มี แต่ตอนใบสรุปกลับกลายเป็นว่าทำการรักษาตามตำราเป๊ะแทบทุกรายเหมือนกัน ซึ่งเราถือว่าผู้เสียหายถูกรังแกและไม่ได้รับความเป็นธรรมแล้วตั้งแต่จุดนี้ เริ่มจากการถ่วงเวลาเพื่อปิดหรือกำจัดจุดอ่อนในเวชระเบียน
ตัวอย่างที่เราเจอกันเป็นอาจิณ

อาการสำคัญในบันทึกเวชระเบียนไม่สอดคล้องกับ สรุปรายงานการรักษา

เกณฑ์วินิจฉัย Diagnostic criteria ในบันทึกเวชระเบียนไม่ครบ แต่ตอนสรุปผลการตรวจรักษามีครบ

เวชระเบียนทำขึ้นมาใหม่ทั้งหมด

เวชระเบียนถูกแต่งเติม

เวชระเบียนหายไปทั้งหมด

ฯลฯ

ขอเรียนว่าเครือข่ายฯเองไม่อยากให้ต้องฟ้องร้องกันหรอกถ้าแพทย์ไม่มีการตุกติกหรือเล่นนอกเกม เพราะเราเหนื่อยในการพิสูจน์หาความจริง และเหนื่อยที่ต้องไปช่วยกันเชียร์

โดยทุกวันนี้เราไม่เคยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเลย ทนายก็ให้กันตามมีตามเกิด เพราะทนายความเหล่านั้นก็ไม่ได้เป็นพนักงานหรือสมาชิกของเครือข่าย โดยมากเราแนะนำให้ผู้เสียหายไปขอจากสภาทนายความ หรือไม่ก็เป็นทนายเดิมของผู้เสียหายเองอยู่แล้ว

ผมเองเชื่อว่าท่านที่ตำหนิเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ท่านคงไม่เคยแพ้คดีทางการแพทย์ เพราะท่าน ไม่ได้ เป็นแพทย์ที่จริยธรรมบกพร่อง ท่านเองอาจจะไม่เคยเห็นในสิ่งที่เราเจอกัน ผมเองเดี๋ยวนี้ก็ไม่ตำหนิท่านหรอกครับ

ของผมที่เจอกับตัวเองในโรงพยาบาลเอกชน สมาชิกหลายๆคนก็มีปัญหากับเอกชนเหมือนกัน เรื่องนี้ไม่จำกัดเฉพาะ รพ.ของรัฐ เพียงแต่อยู่ที่การเสนอข่าวเท่านั้น

ทำให้ดีที่สุด แล้ว สิ่งที่ท่านทำจะคุ้มกันตัวท่านเอง ผมแนะนำได้เท่านี้
โดย: เจ้าบ้าน [5 ม.ค. 49 8:09] ( IP A:210.86.181.20 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   นายกแพทย์สภาก็เป็นหมอ ไม่ปกป้องหมอแล้วจะปกป้องผีที่ไหนครับ
แปลกไหมที่ให้คนที่มีผลประโยชน์ร่วม มาเป็นผู้ตัดสินในเรื่องผลประโยชน์ของกลุ่มตน ควรมีหน่วยงานที่ไม่ได้มีผลประโยชน์ร่วม มาควบคุมด้วย
หมอหลายคนที่เจอมาจ่ายยาผิดขนาด หมอทั้งหลายไม่ต้องมาเถียง เรื่องการจ่ายยา หมอไม่มีทางรู้มากกว่าเภสัชกรหรอก ตอนนี้ลูกไปหาหมอมาต้องเอายามาดูก่อนทุกครั้ง
แต่ก็มีหมอดีๆหลายท่านที่ตรงไปตรงมา ถูกผิดก็ว่าไปตรงๆ แต่ท่านคงไม่ได้มีโอกาสมาเป็นนายกแพทย์สภาหรอกครับ
หมอเมื่อก่อนอุทิศตน ไม่ได้ตักตวงเงินทองจึงได้รับความเคารพนับถือจากผู้คน แต่หมอสมัยนี้มีไม่มากที่ยังเป็นอย่างนั้น ที่เจอก็ทำเงินอย่างเดียว เดินสายทำงานหลายที่ บางทีทิ้งคนไข้ให้พยาบาลดู เพื่อไปหาคนไข้อีกที่ จนคนไข้ตายก็มี แต่ฟ้องร้องกัน ไม่ผิดครับ เพราะแพทย์สภาบอกว่าไม่ผิด มีการสร้างหลักฐานว่าเป็นโรคอื่นซ้อนอยู่ถึงตาย
เมื่อขอดู ต้องให้ดูในทันที ไม่งั้นสร้างหลักฐานเท็จได้ หมอก็คนเหมือนกันครับ
คนไข้

COPIED FROM Manager online
โดย: เจ้าบ้าน [5 ม.ค. 49 8:14] ( IP A:210.86.181.20 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   Who is the third party in medical record ?? ... Could you show us an example ?
โดย: เจ้าบ้าน [5 ม.ค. 49 8:17] ( IP A:210.86.181.20 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   ผมว่าเรื่องเวชระเบียนก็ยกให้คนไข้ไปเถอะ และควรจะให้คนไข้ในกามาตรวจแต่ละครั้งด้วย
แต่ต้องกำหนดกฏขึ้นมาใหม่ว่า ห้ามแพทย์ตรวจคนไข้มากกว่า 10 คน ต่อชั่วโมง เพราะจะทำให้เขียนเวชระเบียนไม่ละเอียด แต่ถ้ามีคนไข้ฉุกเฉินมา คนไข้ก่อนหน้านี้ที่ตรวจเสร็จก็ห้ามกลับบ้านจนกว่าแพทย์จะเขียนเวชระเบียนให้เสร็จ
และห้ามคนไข้บ่นว่ารอนาน เพราะเป็นนโนบายของ รมต.
และถ้าข้อความในเวชระเบียนมีผลต่อบุคคลที่ 3 (เช่นคนไข้เพิ่งแต่งงานเมื่อวาน แต่ในเวชระเบียนมีประวัติว่าเป็นเอดส์ ทำให้ครอบครัวต้องหย่าร้างกัน)
แพทย์จะไม่รับผิดชอบใดๆทั้งสิ้นเพราะเวชระเบียนให้ผู้ป่วยเก็บรักษา ถ้าข้อมูลบางอย่างรั่วไหลผู้ป่วยต้องรับผิดชอบเอง
แบบนี้ดีไหมครับ ผู้ป่วยจะได้ไม่บ่นเรื่องเวชระเบียน และแพทย์ไม่ต้องบ่นเรื่องงานหนัก
ย้ำนะครับว่า ชม ละ 10 คน เช่นแพทย์ 1 คน ต้องตรวจวันละ 80 คน ถ้าเกินกว่านี้ต้องโอนไปวันหลัง และรมต ต้องออกกฏมารองรับด้วย ไม่งั้นก็จะฟ้องว่ารพไม่ยอมตรวจแต่นัดมาตรวจวันหลังอีก
โดย: 111 [5 ม.ค. 49 18:27] ( IP A:58.147.20.209 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ผมเองยังยืนยันว่า เวชระเบียน คือส่วนที่แพทย์และคนที่ทำงานเขียน เพื่อประโยชน์ในการรักษาคนไข้ และโดยตัวมันไม่ใช่สมบัติของคนไข้
แต่หากต่อไปมีกฎหมายมาบังคับให้เป็นสมบัติคนไข้ ก็ว่าไปอย่าง ไม่ได้ว่าอะไร

ปัญหาเรื่องบุคคลที่สามที่เจ้าบ้านถาม ผมจะตอบคร่าวๆ
บุคคลที่หนึ่ง คือหมอที่บันทึกในครั้งนั้นๆ
บุคคลที่สองคือคนไข้

บุคคลที่สามคือ หมอคนก่อนที่เขียนในนั้น และคนอื่นๆที่ไม่ใช่คนไข้

ถามว่าปัญหาที่มีคืออะไร
ในเมืองไทย มีปัญหาเรื่องสิทธิส่วนตัวมากพอๆกับเมืองนอกนะครับ เพียงแต่ว่าเป็นเรื่องที่ไม่อยู่ในเหตุผลมากนักในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลของบุคคลที่สามในเวชระเบียนด้วยซ้ำ เพียงแต่ไม่เป็นข่าว หรือถึงหมอๆด้วยกันจะรู้ก็ไม่อยากให้เป็นข่าวเพราะไม่ได้มีผลดีกับรพ.ที่โดน(ขนาดเปิดเผยเล็กๆ ยังโดน ถ้าเอามาเล่าต่อยิ่งเป็นเรื่อง)

ตัวอย่างเช่น
เรื่องเอดส์ คนไข้มาด้วยถ่ายเหลวสามสัปดาห์ work up หาสาเหตุ ตรวจหาเชื้อแล้วไม่พบ ภรรยาแอบมาบอกว่าเคยไปตรวจเลือดพบว่าติดHIV หมอก็เขียนไว้ วันนึงคนไข้มาขอxeroxเวชระเบียนไป และติดที่หมอคนนึงเขียนว่า ภรรยาให้ประวัติ......
คนไข้35ปีมาด้วยเรื่องแท้งบุตร ให้ประวัติว่าหกล้มแล้วแท้ง มีไข้ต่ำๆก็เลยต้องถามว่าเคยไปทำแท้งมารึเปล่า ก็บอกวาเปล่าอีก แต่สามีบอกว่าไปทำแท้งมา ... กรณีนี้ สามีเป็นบุคคลที่สาม ซึ่งข้อมูลตรงนี้ ภรรยาไม่มีสิทธิที่จะรู้ (ณ ปัจจุบันนะครับ)
หรือล่าสุดที่เจอเอง เป็นโรคแกล้งทำ (แกล้งชัก เพื่อต้องการผลทางกฎหมายบางอย่าง แต่ตรวจแล้วปกติ และรู้ว่าแกล้งทำ)โดยที่มีญาติบางคนรับรู้และร่วมมือและมาสารภาพ.... หมอก็ไม่สามารถให้ประวัติไปแบบหมดเปลือก ก็ต้องมานั่งเขียนประวัติ ทั้งที่อยากxeroxออกมาแทบแย่

บางรพ.บางหมอถูกร้องเรียนเนื่องจากการที่ข้อมูลบุคคลที่สามหลุดออกไป
โดย: หมอจริงๆนะ [6 ม.ค. 49 14:20] ( IP A:125.25.8.191 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ความคิดเห็นที่ 3
เรื่องบันทึกเวชระเบียนนั้นขอยืนยันครับ ว่าหมอที่เกิดปัญหาทุกราย ย้ำเลยว่าทุกรายจริงๆ อาการที่เป็น significant (ขออภัยถ้าพูดไม่เป็นภาษาแพทย์) หรือ ประเด็นการรักษาที่สำคัญล้วนแล้วแต่ไม่ได้มีอยู่ในบันทึกหรือไม่ก็เป็นการสร้างขึ้นมาใหม่ภายหลัง และไม่ตรงกับเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นก็มี แต่ตอนใบสรุปกลับกลายเป็นว่าทำการรักษาตามตำราเป๊ะแทบทุกรายเหมือนกัน ซึ่งเราถือว่าผู้เสียหายถูกรังแกและไม่ได้รับความเป็นธรรมแล้วตั้งแต่จุดนี้ เริ่มจากการถ่วงเวลาเพื่อปิดหรือกำจัดจุดอ่อนในเวชระเบียน
ตัวอย่างที่เราเจอกันเป็นอาจิณ

อาการสำคัญในบันทึกเวชระเบียนไม่สอดคล้องกับ สรุปรายงานการรักษา

เกณฑ์วินิจฉัย Diagnostic criteria ในบันทึกเวชระเบียนไม่ครบ แต่ตอนสรุปผลการตรวจรักษามีครบ

เวชระเบียนทำขึ้นมาใหม่ทั้งหมด

เวชระเบียนถูกแต่งเติม

เวชระเบียนหายไปทั้งหมด

ฯลฯ
********************************************
ที่อ้างมา คุณเคยคิดบ้างไหมครับว่า
หลายๆเรื่อง ไม่ได้เขียนไว้ในเวชระเบียน แต่มีในadmission note
หลายๆเรื่อง ไม่มีในเวชระเบียนขณะนั้น เพราะยุ่งยาก หรือไม่อยู่ในสถานะที่จะเอามือว่างๆไปเขียนได้

ผมเอง ก็โดนมาไม่นานนี้
คนไข้ขับรถชนกะอะไรไม่รู้ กระโหลกยุบ ไม่รู้ตัว เสียเลือดมาก
ระหว่างที่ช่วยกันและใส่ท่อ ผมก็ไปไหนไม่ได้
พอช่วยเสร็จกำลังรอส่งต่อไปอีกรพ. ออกมาตรวจคนไข้อีกหลายคน แล้วก็มานั่งเขียนเวชระเบียนอยู่
ญาติที่ท่าทางเอาเรื่อง เดินมาถามว่าผมนั่งเขียนอะไร เพราะเห็นว่าผมตรวจและรักษาเสร็จแล้ว และก็เขียนใบส่งตัวไปแล้ว แต่ไปเอาเวชระเบียนของญาติเขามาเขียน
ผมบอกว่า ตอนกำลังยุ่งๆไม่ได้เขียน ตอนนี้ก็เลยเอามาเขียน

สิ่งที่ได้มาก็คือ ญาติคนไข้ พูดทีเล่นทีจริงเสียงดังว่า อย่างนี้หมอทำอะไรผิดไปก็มาแต่งเติมได้ใช่ไหม

(หลังจากนั้นผมด่ากลับ แบบเอาให้ได้ยินทั้งห้องฉุกเฉินไปเลย)
โดย: หมอจริงๆนะ [6 ม.ค. 49 14:30] ( IP A:125.25.8.191 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   คุณหมอจริงๆนะ คุณอาจเข้าใจอะไรผิดไปนะครับ สิ่งที่คุณเล่ามาผมว่าคุณทำถูก

ที่ผมพูดถึงการทำเวชระเบียนย้อนหลังคือเวลาผ่านไปหลายวันหรือหลายเดือนแล้ว พอเกิดการร้องเรียน มีการไปเขีบยเวชระเบียนใหม่ เพิ่มเติม นั่นคือความเลวครับ

ไปดูตัวอย่างของจริงดีกว่า ดูซิว่าคนที่เป็นแพทย์จะมีความละเอียดพอจะจับพิรุธได้ไหม

https://www.pantown.com/board.php?id=12163&name=board10&topic=216&action=view
โดย: เจ้าบ้าน [8 ม.ค. 49 19:18] ( IP A:58.9.176.43 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   เวชระเบียนเขียนโดยหมอ เขียนด้วยความเร่งรีบเพราะบันทึกละเอียดจะต้องใช้เวลามาก เหมือนนักศึกษาแพทย์บันทึกประวัติผู้ป่วยทีละครึ่งวัน แบบนั้นละเอียดแน่ตั้งแต่หัวจรดเท้า
ส่วนใหญ่แล้วก็มีแค่ อาการสำคัญ การตรวจพบที่สำคัญ วินิจฉัย และการรักษา นัดกี่เดือน เวลาเกิดปัญหา ไอ้นั่นได้ตรวจหรือไม่ ไอ้นี่ได้ตรวจหรือไม่ อ้าวทำไมไม่มีบันทึกไว้ แบบนี้ เห็นชัดเจนว่าหาเรื่องกันชัดๆ เวลาบันทึกทำโดยหมอคนเดียว ด้วยความเร่งรีบ เพราะมีผู้ป่วยรอตรวจมาก เวลาเกิดเรื่องมาศึกษาเวชระเบียน ศึกษาย้อนหลังโดยคนหลายคน ล้วนแล้วแต่หาช่องทางฟ้องร้องหมอ ความยุติธรรมของหมออยู่ที่ไหน และเป็นคนละกรณีกับผู้ป่วยต้องการประวัติเพื่อไปรักษาต่อยัง รพ.อื่น
หมอจะมองว่าแบบนี้ เป็นการจ้องหาเรื่อง ไม่ไว้วางใจ ไม่ยุติธรรม ไม่มีที่ไหนยอมหรอกจ๊ะ หรือ เช่นให้เอากล้องวงจรปิดไปติดไว้ในห้องน้ำห้องนอนบ้านเครือข่ายคงจะอนุญาติโดยดีสินะ
ผมแนะนำว่าไม่ต้องใช้เวชระเบียนหรอก ที่ดีกว่าคือกล้องแอบถ่ายนะครับ มีบันทึกเหตุการณ์จริงไว้เลย หลักฐานแน่นหนากว่าเวชระเบียนเยอะ
โดย: jj [8 ม.ค. 49 21:25] ( IP A:125.25.10.112 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   อ้าว แบบนี้ใจตรงกันเลย ผู้เสียหายของเรารายหนึ่งตอนที่มีเรื่องหากล้องวิดิทัศน์ไม่ทัน เลยอาศัย IC voice recorder บันทึกเสียงแพทย์ไว้ได้เกือบชั่วโมงแน่ะ

สนุกมากเลย ตอนนี้ให้ทางแพทยสภาไปฟังวิเคราะห์ปีหนึ่งแล้ว ยังเงียบหายไม่มีวี่แวว

ในต่างประเทศรู้สึกว่าบางแห่งเขามีบันทึก conversation ของแพทย์ + ผู้ป่วย เป็นเรื่องสมควรทำมากที่สุด ไม่ต้องมาทะเลาะกันให้วุ่นวาย

กล้องวงจรปิดในห้องตรวจผมว่าจำเป็นต้องมีจริงๆ แต่กลัวปัญหารูปคนไข้เปลือยกายไม่รู้จะป้องกันอย่างไร คนที่ไม่อยากมีคงเป็นแพทย์มากกว่ามัง

.
โดย: เจ้าบ้าน [9 ม.ค. 49 9:47] ( IP A:210.86.181.20 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   อ่านไปอานมาชักงง
ตกลงเห็นตรงกันหรอกหรือนี่
1. เวชระเบียนเท็จ เรื่องไม่จริงไปเขียนให้จริง ยาตัวนี้ให้ ไปแก้ว่าไม่ให้ อันนี้สมควรโดน
2. คนไข้โกหก จับได้ตอนหลังหรือไปxeroxเวชระเบียนแล้วแต่งเติมแก้ไข กลับมากล่าวหาว่า"แพทย์แก้ไขเวชระเบียน" เจ้านี่ก็น่าโดนเช่นกัน และสมควรวฟ้องเป็นร้อยล้านด้วย จะได้เท่าเทียมกัน
3. กล้องวงจรปิดก็สมควรมีนะ เคยมีกรณีที่อัดเสียงไว้ ตอนแรกก็ขึงขังดีหรอก จะฟ้องผู้ว่าฟ้องสสจ.ให้ได้ จะให้ชดใช้ค่าทำขวัญ แต่พอเปิดเสียงออกมาให้ฟังก็หน้าซีดตัวสั่น
แต่ก็มีเหมือนกันที่พออัดเสียงไว้ ก็แก้เก้อด้วยการหาว่าเราทำเกินกว่าเหตุ
โดย: หมอจริงๆนะ [9 ม.ค. 49 13:20] ( IP A:125.25.8.191 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   ในความเห็นส่วนตัว เวชระเบียนทั้งผู้รับการรักษาและผู้ให้การรักษา มีสิทธิ์เท่าเทียมกันในการเข้าถึง และในขณะเดียวกัน ต้องห้ามในการเขียนเติมในเวชระเบียนจริงย้อนหลัง หลังจากที่มีเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งจะนำไปสู่การหวาดระแวงใหญ่โตและยากที่จะอธิบาย

ตัวผมเองและแกนนำของเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เป็นผู้ที่ยึดถือความจริงและความถูกต้องเช่นเดียวกัน

เครือข่ายฯเองจึงต้องพึ่งแพทย์เป็นที่ปรึกษาเคสต่างๆ ถึงกระนั้นก็ยังถูกผู้เสียหายปลอมๆมาหลอกเอาได้บ้างเป็นครั้งคราว และคุณหมอของเราถ้าท่านไม่สันทัดเรื่องไหนท่านก็จะบอกตรงๆว่าให้ความเห็นไม่ได้ อันนี้ผมทราบดีเพราะเจอมากับตัวเอง

.พวกเราคอยอยู่นะครับ ว่าเมื่อไหร่คุณหมอๆทั้งหลายจะลุกขึ้นมาเอง กวาดเอาของเสียซึ่งเราทราบว่ามีอยู่น้อยมาก ออกไปจากบ้านของท่าน แล้วศรัทธาจะกลับคืนไปสู่ท่านเอง

.
โดย: เจ้าบ้าน [9 ม.ค. 49 20:43] ( IP A:58.9.177.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   ของเสียบางอย่างเราไม่ต้องเอาไปทิ้งนะครับ เอาไปล้างตกแต่งใหม่มารีไซเคิลก็ยังมีประโยชน์
โดย: เจ้าบ้าน [9 ม.ค. 49 20:48] ( IP A:58.9.177.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   เอาเลยครับ ติดตั้งวงจรปิดกันเลย บันทึกเสียงไว้ด้วย สมัยนี้อุปกรณ์ดีมาก สามารถบันทึกได้เป็นเดือนๆเลย
จะได้ไม่ต้องมานั่งเถียงกัน หมออธิบายให้ฟังแล้ว ก็บอกว่าหมอไม่พูดว่าอะไร ได้แต่บอกให้กลับบ้านเป็นต้น หรือหมอไม่ได้บอก แต่หมอแก้ตัวว่าบอกแล้ว จะได้มีหลักฐาน ผมว่าเป็นกลางที่สุดแล้ว ดีกว่าเวชระเบียนมากมาย อีกทั้งเห็นสีหน้า แววตา ท่าทาง คำพูด ทุกอย่างเหมือนมีชีวิต ย้อนดูใหม่ได้หมด
จะได้เลิกเถียงกันเสียที
เขียนซ้ำๆ ว่าหมอแก้เวชระเบียน มีหลักฐาน แทนที่จะไปฟ้องศาล ก็ไม่ฟ้อง อย่างนี้เขาเรียกสักแต่พูด หรือหมาเห่าใบตองแห้ง
จะได้หมดเรื่องหมดราวเสียที ใครผิดใครถูก มีหลักฐานชัด ใครแก้ตัว ใครพูดเท็จ ประเด็นเหล่านี้จะได้จบเสียที รำคาญ
โดย: jj [9 ม.ค. 49 21:28] ( IP A:203.188.60.72 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   อดทน ๆ ๆ ๆ ท่องไว้ ทำอะไรต้องรอบคอบ

รำคาญก็กลับไปเห่าที่อื่นนะ jj
โดย: g0hk[hko [9 ม.ค. 49 22:23] ( IP A:58.9.177.64 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน