ความคิดเห็นที่ 1 เรื่องนี้ทำใจให้เป็นกลาง แล้วมองออกเป็นสองด้าน 1.ด้านบวก คนจนได้เข้าถึงการรักษาพยาบาล ถึงแม้จะด้อยคุณภาพ แต่ก็ยังดี กว่าไม่เคยเข้าถึงเลยในอดีต
2.ด้านลบ บัตร 30 บาทนั้นคุณภาพมาตรฐานการรักษา เทียบไม่ได้กับของ รพ.เอกชน ผู้บริหารของสปสช.และผู้ที่เกี่ยวข้องในการร่างพรบ. ฉบับนี้ไปถามเป็นรายตัวได้เลยว่ามีใครไปใช้บริการบ้าง ผู้คนยัง เกิดความสับสนกับมาตรฐานการรักษาว่าเป็นอย่างไรกันแน่ ใน เมื่อความเป็นจริง ต่างจากการโฆษณาของสปสช.ที่สร้างภาพมาก
สปสช.รู้ดีถึงเรื่องมาตรฐานการรักษา ถึงได้พยายามมีกองทุนชดเชย ความเสียหายโดยไม่มีการพิสูจน์ถูก-ผิด เพราะต้องการปกปิดความ ผิดพลาดนั้นไว้ ไม่ให้สาธารณชนรับรู้ว่ามีมากแค่ไหน
อเมริกาหมอเขาตรวจคนไข้น้อยกว่า ใช้เวลานานกว่ายังมีคนตายปี หนึ่งสูงถึง 44,000-89,000 ต่อปีนับเป็นอันดับ 5-9 ของสาเหตุการ ตายจากโรคอื่น ๆ (ข้อมูลอ้างอิงจากสถาบัน IOM - Institue of Medicine) แล้วเมืองไทยเราจะมากมายแค่ไหนไม่อยากคิด
WHO องค์การอนามัยโลกเขาถึงบอกว่า การปกปิดความผิดพลาด ไว้นั้นไม่ใช่ทางออกที่ดี ต้องนำมาเปิดเผย แล้วเรียนรู้จากความผิด พลาดนั้น ห้ามมองผู้เสียหายเป็นศัตรู เขาทดลองมาหลายปีแล้วตั้ง แต่ปี 2545 ปรากฎว่าได้ผลดี ทำให้รัฐบาลหลายประเทศที่นำนโยบาย นี้ไปทดลองใช้ประหยัดงบประมานในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินที่จะ ต้องชดเชย ยาและอุปกรณ์การแพทย์ บุคลลากร ฯลฯ แต่ไทยเรา กลับไม่นำเรื่องนี้มาใช้ ไม่เข้าใจว่าเพราะอะไร ทำไมไม่คำนึงถึง ชีวิตของคนไข้ ให้มากกว่าการรักษาภาพพจน์กันอยู่อย่างทุกวันนี้
การแก้ปัญหาเรื่องนี้ 1. ต้องยกระดับมาตรฐานการรักษา ยกอย่างไร...ก็ต้องนำโครงการ patient for patient safety ของ WHO มาใช้ นำความผิดพลาดที่ได้ รับการพิสูจน์ถูก-ผิดแล้วจากองค์กรที่เป็นกลางเชื่อถือได้จากทุกฝ่าย ไปเป็นบทเรียนสอนทั้งหมอและคนไข้ เพื่อต่างฝ่ายต่างจะได้ระมัด ระวังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำ ๆ ขึ้นอีก หรือเกิดขึ้น ให้น้อยลง
ขณะเดียวกันฝ่ายรัฐบาลต้องจัดให้ทุกโรงพยาบาลรวมไปถึงรพ.ชุมชน มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นให้ครบถ้วน มีรถพยาบาลสำหรับการ ส่งต่อที่ทันสมัย มีอุปกรณ์ช่วยชีวิตในรถ มีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการอบรม ให้เชี่ยวชาญในการช่วยชีวิตประจำรถครบถ้วน
2.พยายามรักษาหมอเก่งให้อยู่ในระบบ ทุกวันนี้หมอเก่งหมอดีหนีไป อยู่เอกชนแทบไม่เหลือ กลายเป็นหมอใช้ทุนแทบทั้งสิ้นที่อยู่ในระบบ แล้วชะตาชีวิตของคนใช้บัตร 30 บาทจะเป็นอย่างไร
รัฐต้องดูแลรายได้และสวัสดิการของหมอในระบบให้สอดคล้องกับ งานที่รับผิดชอบ เพราะหากต่อไปถ้าข้อ 1 ได้ผล หมอทำงานมีความ สุขและมีรายได้ดีขึ้น ความผิดพลาดน้อยลง คนไข้ฟ้องร้องน้อยลง หมอก็ไม่ต้องย้ายหนีไปอยู่เอกชน มีเวลาไปเรียนต่อเฉพาะทางเพิ่มพูนความรู้ความชำนาญให้ตัวเองได้
พูดง่ายอาจจะทำยาก แต่การผ่าตัดอะไรบ้างที่ไม่เจ็บปวด หากทุก ฝ่ายขานรับ มีหรือจะไม่สำเร็จ
ฟังเราบ้างเถอะ ความคิดที่ท่านมองว่าไม่เข้าท่านั้น อาจจะเป็นความ คิดที่ดีก็ได้ หากนำไปปรับใช้
ด้วยความจริงใจ | โดย: เครือข่ายฯ [26 ก.พ. 49 7:18] ( IP A:61.90.9.156 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 วิธีแก้ปัญหา คิดได้ แต่ทำไม่ได้ เพราะไม่มีคนทำงาน ไม่มีเงิน ประเทศไทยยังจนอยู่ ทำได้อย่างเดียวคือเรียนรู้เอาไว้ก่อน แล้วก็ทำใจซะ | โดย: Dante [26 ก.พ. 49 11:44] ( IP A:203.156.43.174 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 `The long journey started from a first step. | โดย: T.I.N. [27 ก.พ. 49 9:34] ( IP A:210.86.181.20 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 จะพูดไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีผล เรื่องดี ๆ ทำไมไม่ค่อยมีใครทำ ก็เพราะมันไม่ได้ตังค์มั้ง... | โดย: จริงหรือไม่ [1 มี.ค. 49 7:47] ( IP A:61.90.21.128 X: ) |  |
|