consumer.pantown.com
Thai Iatrogenic Network รวมกระทู้เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ <<
กลับไปหน้าแรก
เก็บตกจ้า ! พวกเรา
ฟื้นความสัมพันธ์ แก้วิกฤติความขัดแย้งแพทย์-คนไข้
ที่ผ่านมาข่าวการร้องเรียนเกี่ยวกับแพทย์และผู้ป่วยเกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคม นับวันยิ่งรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดช่องว่างในการรักษาได้ หากปล่อยไว้โดยไม่แก้ไข แน่นอนว่าจะส่งผลต่อเสียต่อหลายๆ ฝ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ทันทีที่ศาลแพ่ง จ.นนทบุรี พิพากษาคดีให้กระทรวงสาธารณสุขจ่ายค่าชดเชยแก่ ด.ช.ชนายุทธ ปะตังถาเน น้องเต๋า อายุ 6 ปี เป็นจำนวนเงิน 3,400,000 บาท และจ่ายค่าชดเชยแก่ น.ส.ทิวากาล อ่อนใย มารดาของ ด.ช.ชนายุทธ เป็นจำนวนเงิน 1,070,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 นับตั้งแต่การฟ้องร้อง หลังต้องกลายเป็นเจ้าชายนิทรา จากการรักษาฟันนั้น ทำให้ความขัดแย้งระหว่างแพทย์กับคนไข้กลายเป็นประเด็นขึ้นมาอีกครั้ง
โดยที่ผ่านมา การร้องเรียนแพทย์ที่ปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์รายวันถูกนำเสนออย่างต่อเนื่อง คงเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ดีถึงวิกฤติความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ นับวันจะเริ่มรุนแรงมากขึ้น ก่อให้เกิดช่องว่างต่อความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันในการรักษาที่มีอยู่เดิม นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ส่งผลให้มีจำนวนการฟ้องร้องแพทย์และระบบการรักษาพยาบาลเพิ่มตามมา และหากยังปล่อยให้สถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ แน่นอนว่าจะส่งผลต่อวิชาชีพแพทย์และระบบบริการสาธารณสุขอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะขวัญกำลังใจของแพทย์ ที่ย้อนศรกลับมากระทบต่อประชาชนในฐานะผู้รับบริการรักษาเอง
อย่างไรก็ตาม ท่าที นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในปัญหาการรักษาพยาบาล ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้กับแพทย์จำนวนมาก ตั้งแต่กรณีของคลินิกที่ฉีดวัคซีนให้เด็ก แล้วต่อมาเด็กเสียชีวิต นายพินิจได้สั่งการให้ปิดคลินิกทันที โดยไม่ได้สอบหาข้อเท็จจริง หรือกรณีการเสียชีวิตของน้องเซน ด.ช.พีรชัช ชนะราวี ที่ จ.สมุทรปราการ ที่นายพินิจออกมาบอกว่าเป็นความผิดของแพทย์ โดยไม่ได้สอบสวนก่อน รวมถึงกรณีล่าสุดที่นายพินิจรับปากว่าจะให้เวชระเบียนเป็นสิทธิของผู้ป่วย โดยส่วนใหญ่เป็นมุมมองของประชาชนที่ทำลายขวัญการทำงานของแพทย์ ทั้งยังเป็นการก้าวก่ายอำนาจหน้าที่ของทางแพทยสภา
ปัญหาที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้ จึงเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างแสดงความกังวล และเห็นว่า จำเป็นต้องหาทางออกโดย มี ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสเป็นประธานงานประชุม "ฝ่าวิกฤติความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและแพทย์" เพื่อยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ด้วยการรับฟังทุกข์ที่เกิดขึ้นของแต่ละฝ่าย เพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน ทั้งด้านผู้ป่วย แพทย์ แพทยสภาและกระทรวงสาธารณสุข
กลุ่มเครือข่ายผู้ได้รับความเสียหายจากการบริการสุขภาพ ต่างระบายความในใจ โดย น.ส.สิริมาศ แก้วคงจันทร์ หนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสุขภาพ เล่าว่า
สิ่งที่ทำให้ตนต้องฟ้องแพทย์กรณีที่แม่ช็อกเสียชีวิตจากการผ่าตัดไส้ติ่ง เนื่องจากถูกแพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ท้าให้ฟ้อง ซึ่งในตอนนั้นยังเด็กมากทำอะไรไม่ได้ ต่อมาจึงได้เข้าร้องเรียนต่อแพทยสภา แต่ผลการพิจารณาออกมาว่าไม่มีมูล ทำให้ต้องยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อตัดสิน ซึ่งปรากฏว่าในศาลแพ่งรับฟ้องและตัดสินให้ตนชนะ
ทางกลุ่มผู้เสียหายยังเสนอให้ทำสถิติข้อมูลการเจ็บป่วยและเสียชีวิต ที่สามารถป้องกันได้ในแต่ละปีว่ามีจำนวนเท่าใด และบรรจุเรื่องนี้ในหลักสูตรการเรียนของนักศึกษาแพทย์ จะได้ช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก และมีการตั้งกองทุนเพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องมีการพิสูจน์ความผิดถูก ด้วยการใช้เวชระเบียนเป็นหลักฐานในการฟ้องร้อง และต้องให้มีคนนอกเข้าไปเป็นกรรมการแพทยสภาด้วย เนื่องจากที่ผ่านมา แพทยสภาขาดความเชื่อถือ ถูกมองว่าเข้าข้างแพทย์ด้วยกัน จากผลการพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่มักชี้ว่าไม่มีมูล แถมยังล่าช้าอีกด้วย
ขณะที่ พ.ญ.ประสบศรี อึ้งถาวร รองเลขาธิการแพทยสภา ชี้ให้เห็นถึงการบีบรัดของระบบที่จำกัด โดยเฉพาะแพทย์ ซึ่งทั่วประเทศมีเพียง 30,000 คน แต่ต้องรับผิดชอบผู้ป่วยจำนวนมาก โดยมีเวลาการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยเพียงแค่ 3 นาทีต่อราย ขณะที่ประเทศสหรัฐใช้เวลาตรวจรักษาผู้ป่วยถึง 20 นาทีต่อราย และในโรงพยาบาลบางแห่ง แพทย์ต้องดูผู้ป่วย 150-200 รายต่อวัน ส่งผลทำให้แพทย์รีบตรวจรักษา ไม่อยากให้คนไข้รอนาน ซึ่งปัจจุบันพบว่า แพทย์เองเริ่มป่วยเป็นโรคหัวใจมากขึ้น จากการทำงานหนักต่อเนื่องไม่มีวันหยุด ขาดการพักผ่อน
นอกจากนี้ ประชาชนต้องเข้าใจว่าการรักษาไม่ใช่เรื่องง่ายๆ จะวินิจฉัยโรคได้ทุกราย แม้จะเป็นโรคทั่วไป อย่างโรคไข้เลือดออก ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส หากผู้ป่วยได้รับเชื้อในวันแรกๆ แพทย์จะยังแยกอาการไม่ออก แต่เมื่อผ่านไป 2-3 วัน จึงจะทราบได้ อีกทั้งเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเพียงตัวเดียวยังสามารถแยกได้อีก 20 โรค เช่นเดียวกับโรคไส้ติ่งอักเสบ มองว่าเป็นโรคง่ายๆ แต่ก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด จึงอยากฝากว่า ไม่มีแพทย์คนไหนไม่อยากเป็นแพทย์ที่มีคุณภาพ
"ตอนนี้แพทย์ที่โรงพยาบาลชุมชนซึ่งส่วนมากเป็นแพทย์จบใหม่ ไม่กล้าผ่าตัด เลือกส่งผู้ป่วยรักษาต่อยังโรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ เพราะนอกจากความไม่พร้อมของเครื่องมือแล้ว ยังเกรงถูกฟ้องร้อง หากถูกชดใช้ค่าเสียหาย เงินเดือนเพียง 8,000 บาท จะหาจากที่ ไหน แม้ว่าแพทย์เองอยากรักษาแต่ก็กลัวผลกระทบ"
ด้าน น.พ.พินิจ หิรัญโชติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครปฐม กล่าวว่า ในสันดานแพทย์จะฆ่าใครคงไม่มี แต่ความผิดพลาดอาจเกิดขึ้นจากการวินิจฉัยผิด หรือประมาท เนื่องจากต้องดูแลผู้ป่วยจำนวนมาก ทำให้ถูกฟ้องโดยผู้ป่วยเอง ใครคิดบ้างว่า เรียนเป็นแพทย์มาจะต้องถูกจับใส่กุญแจมือ เข้าคุก แถมไม่มีความรู้ทางกฎหมาย กระทรวงสาธารณสุขเองก็รับรู้แต่คดีทางแพ่ง แต่ทางอาญาก็ไม่รับรู้ ไม่ดูแล แม้ว่าแพทย์ที่ถูกจับขังจะมีไม่มาก แต่ก็เขย่าขวัญกำลังใจแพทย์ทั้งหมด หากฟ้องร้องขอให้เป็นคดีแพ่งอย่าถึงขึ้นอาญา เพราะแพทย์เองมีเจตนาที่ดีในการรักษา
อย่างไรก็ตาม ทางออกที่เห็นร่วมกันในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง เบื้องต้นคงจะต้องใช้ความเห็นอกเห็นใจกันพร้อมทั้งการพยายามสื่อสารกันอย่างเข้าใจให้มากที่สุด อีกทั้งควรจะต้องมีองค์กรกลางที่มีความโปร่งใสและเป็นธรรม โดยในเรื่องนี้กระทรวงสาธารณสุขต้องรับไปดำเนินการเช่นกัน
ที่มาและภาพประกอบจาก
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
โดย: ดูกันตรึม [17 ก.พ. 49 23:44] ( IP A:61.90.96.56 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
"ด้าน น.พ.พินิจ หิรัญโชติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครปฐม กล่าวว่า ในสันดานแพทย์จะฆ่าใครคงไม่มี แต่ความผิดพลาดอาจเกิดขึ้นจากการวินิจฉัยผิด หรือประมาท เนื่องจากต้องดูแลผู้ป่วยจำนวนมาก ทำให้ถูกฟ้องโดยผู้ป่วยเอง ใครคิดบ้างว่า เรียนเป็นแพทย์มาจะต้องถูกจับใส่กุญแจมือ เข้าคุก แถมไม่มีความรู้ทางกฎหมาย กระทรวงสาธารณสุขเองก็รับรู้แต่คดีทางแพ่ง แต่ทางอาญาก็ไม่รับรู้ ไม่ดูแล แม้ว่าแพทย์ที่ถูกจับขังจะมีไม่มาก แต่ก็เขย่าขวัญกำลังใจแพทย์ทั้งหมด หากฟ้องร้องขอให้เป็นคดีแพ่งอย่าถึงขึ้นอาญา เพราะแพทย์เองมีเจตนาที่ดีในการรักษา"
เอ่อ...อ่า...หมอเป็นอภิสิทธิ์ชนหรือไง
เอ่อ...อ่า...อัยการเขาฟ้อง ไม่ใช่ผู้ป่วยฟ้อง
เอ่อ..อ่า...แล้วคุณหมอพินิจก็ช่วยไปบอก หมอ ๆ ลูกน้องคุณว่า
อย่าท้าคนไข้ ผิดแล้วช่วยขอโทษเขาสักคำ คนไข้เขาไม่ได้อยาก
ได้เงินหมอหรอก เขาต้องการให้จัดงานทำบุญให้แม่เขาสักวัน ก็
เผอิญคิดว่ากูเป็นหมอ กูใหญ่ไง ท้ามันเสียเลย มันก็เลยฟ้องเอาไง
สะใจมั้ยล่ะ
ถ้าจะโทษ ก็ให้ไปโทษพวกหมอเองนั่นแหละ ไปท้าเขาไง เขาก็
ฟ้องตามคำท้าไง แล้วไง แล้วไง สะใจหรือเปล่า ติดคุก 3-4
ชั่วโมง ทำมาเป็นโอดครวญเหมือนติดเป็นปี ทีหมอของเครือข่าย
ติดคุณนานกว่าเกือบวันเต็ม ๆ ยังไม่โอดครวญเลย ถูกแกล้งนะนั่น
น่ะ แพทยสภาไม่เห็นออกมาโวยให้เลย เลือกปฏิบัติกันจริงนะ
ไม่เอียงเลยนะ ทำอะไรอายหน้ากันบ้าง แก่แล้ว ความรู้ก็มีเต็ม
สมอง คิดเป็นกันบ้างหรือเปล่า
โดย: ยั๊วะจัด [1 มี.ค. 49 8:19] ( IP A:61.90.21.128 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน