consumer.pantown.com
Thai Iatrogenic Network รวมกระทู้เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ <<
กลับไปหน้าแรก
วิกฤตศรัทธาวงการแพทย์ ถึงเวลา "หมอฟ้องกลับคนไข้" จากมติชน
วิกฤตศรัทธาวงการแพทย์ ถึงเวลา "หมอฟ้องกลับคนไข้"
เมื่อไม่กี่ปีมานี้กระแสการฟ้องร้องแพทย์มีมากขึ้น ซึ่งไม่ว่าสาเหตุจะมาจากความไม่เข้าใจในกระบวนการรักษาพยาบาล ความประมาทเลินเล่อ ความไม่พร้อมของเครื่องมือเครื่องไม้ที่ใช้ในการรักษา หรือประชาชนตระหนักถึงสิทธิของตนเองมากขึ้น และเป็นสาเหตุให้กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลเอกชน และแม้แต่ตัวแพทย์เองก็ออกมาตั้งรับด้วยการศึกษาวิชากฎหมายกันมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวและตระหนักถึงวิกฤตที่เกิดขึ้น
"หากไม่ชัวร์เราไม่กล้าเสี่ยงที่จะฟ้องร้อง เพราะตอนนี้คุณหมอที่เป็นเครือข่ายให้เรากำลังถูกฟ้องกลับ เช่น กรณีของพี่ดอกรัก เพ็ชรประเสริฐ หลังจากศาลตัดสินคุณหมอที่มาเป็นพยานให้กับเราอาจจะถูกฟ้องกลับฐานเบิกความเ ท็จ หรือกรณี น้องเก๋ ศิริลักษณ์ ดวงเดช ที่ปราจีณบุรี" ดลพร ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ระบุ แต่แม้จะมีปัญหาแต่ก็ยังมีแพทย์เข้ามาเป็นพันธมิตรให้ความช่วยเหลือมากขึ้น
กรณีน้องเก๋นั้น ได้ยื่นฟ้องแพทย์ว่าทำให้แท้งลูกและตัวเองต้องพิการ แต่เมื่อแพ้คดีชั้นต้น ก็ถูก นพ.ปัญญา วงศ์จินดาพรรณ แพทย์ผู้รักษาฟ้องกลับเรียกเงิน 209 ล้านบาท และได้ฟ้อง นพ.เทพ เวชวิสิฐ เจ้าของคลีนิคเสริมความงามย่านประตูน้ำที่ให้การช่วยเหลือในคดีหมิ่นประมาท
"ดลพร" ที่วันนี้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "ปรียนันท์" ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2546-2549 มีผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์เข้ามาปรึกษาเยอะ พอรับเข้ามาก็จะคัดกรองไว้ว่ามีเหตุที่ฟ้องร้องได้หรือไม่ โดยให้คุณหมอที่เป็นเครือข่ายดูให้เป็นรายกรณี ตอนนี้ที่คัดมาแล้วก็มีประมาณ 300 คน และว่า ในจำนวนนี้ บางกรณีก็สามารถตกลงกันได้ โดยไม่ต้องฟ้องร้อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลเอกชน
นพ.เทพหนึ่งในพันธมิตรของเครือข่ายที่เป็นพยานให้กับผู้เสียหายหลายรายระบุว ่า การฟ้องกลับของ นพ.ปัญญา ในกรณีน้องเก๋ กล่าวว่า แม้จะถูกฟ้องกลับคดีหมิ่นประมาท แต่ก็ไม่ได้กลัวอะไร เพราะทำในสิ่งที่ถูกต้อง และเชื่อว่าที่แพทย์ฟ้องกลับก็เพื่อไม่ให้ไปเป็นพยานให้กับผู้เสียหายรายอื่ น เพราะต้องไปเบิกความในคดีลักษณะนี้อีกหลายคดี
นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องการฟ้องร้องแพทย์ กล่าวว่า ทางกระทรวงได้จ้างพนักงานราชการที่มีความรู้เรื่องนิติศาสตร์ ให้มาเป็นพี่เลี้ยงในกรณีที่แพทย์ถูกฟ้องร้อง ครบทั้ง 13 เขตแล้ว หน้าที่หลักของนักนิติศาสตร์ที่ถูกจ้างขึ้นมาใหม่นั้นจะคอยไกล่เกลี่ย หาทางช่วยเหลือแพทย์ที่ถูกฟ้องร้อง และยังมีการจัดตั้ง "ศูนย์สันติวิธี" ที่จัดทีมผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายออกให้ความรู้ และอบรม เกี่ยวกับประเด็นการฟ้องร้อง และยังจัดทำ "คู่มือวิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดความไม่เข้าใจระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย" ซึ่งจะแนะนำวิธีการดำเนินการเมื่อมีเรื่องราวไม่เข้าใจกันระหว่างแพทย์และผู ้ป่วย ไปจนถึงหากมีการแจ้งความ หรือฟ้องร้อง
แถมยังมีคณะกรรมการกลางเพื่อหาทางแก้ไขเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งคณะกรรมการประกอบด้วยตัวแทนจากแพทยสภา กระทรวงสาธารณสุข ตัวแทนจากผู้เสียหาย องค์กรพัฒนาเอกชนมาช่วยกันคิด โดยมี นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการ สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นประธาน
สุดท้ายมีการตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าจำเป็นจะต้องปรับ ปรุงกฎหมายใดบ้าง โดยเฉพาะการแก้ไขกฎหมายเพื่อไม่ให้ฟ้องร้องคดีอาญากับแพทย์ที่ทำการรักษา ยกเว้นในกรณีประมาท เลินเล่อ อย่างร้ายแรง เนื่องจากในการรักษาพยาบาลคงไม่มีแพทย์คนใดต้องการให้คนไข้ได้รับความเสียหา ย แต่อาจจะเกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้
"ส่วนการฟ้องร้องทางแพ่งหากผู้เสียหายจะฟ้องร้องก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ เรายินดีที่จะชดใช้ให้หากเสียหายจริง" นพ.มานิตระบุ และว่า การตั้งรับทั้งหมดทั้งปวงก็เพื่อไม่ให้บุคลากรทางการแพทย์เสียกำลังใจในการท ำงาน เพราะระหว่างที่ฟ้องร้องแพทย์จะเครียดและหมดกำลังใจ แต่เมื่อมีกลไกที่จะให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเมื่อเกิดการฟ้องร้องแพทย์จะได้ มีที่พึ่ง เพราะมีคนมาช่วยทั้งการรวบรวมข้อเท็จจริง และยังเป็นทนายให้ด้วย แพทย์จะได้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวจนเกินไป
ทั้งหมดเป็นเพียงมาตรการเบื้องต้น เพื่อแก้ปัญหาระยะสั้นของการฟ้องร้องแพทย์เท่านั้น หากต้นตอของปัญหาคือ "คุณภาพการให้บริการของระบบสาธารณสุขของไทย" ยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็ยากที่จะแก้ปัญหานี้ได้ และปัญหา "ผู้ป่วยฟ้องแพทย์-แพทย์ฟ้องกลับ" ก็ไม่ใช่ปัญหาที่จะถูกละเลย เพราะนี่หมายถึงความหวาดระแวงของทั้งผู้ให้ และผู้รับการรักษา นับเป็นวิกฤตศรัทธาครั้งใหญ่ของระบบสาธารณสุขไทย
อย่างไรก็ตาม แม้ทางกระทรวงสาธารณสุขจะไม่อุทธรณ์หลังจากศาลชั้นต้นตัดสินให้ต้องจ่ายค่าเ สียหายให้กับผู้เสียหายทางการแพทย์ แต่ในกรณีที่ผู้เสียหายแพ้คดีก็เป็นไปได้ว่าแพทย์ที่ถูกฟ้องร้องจะฟ้องกลับ เพราะถือว่าเป็นการกู้ศักดิ์ศรี และชื่อเสียงที่เสียหายจากการถูกฟ้องร้อง ซึ่งนั่นจะทำให้ช่องว่างความหวาดระแวงของผู้ป่วยและแพทย์จะยิ่งถ่างออกไปเรื ่อยๆ นำไปสู่ความหายนะของระบบสาธารณสุขไทยในอนาคต
ข้อมูลจาก
หนังสือพิมพ์มติชน
โดย: จากมติชน [15 ก.พ. 49 11:02] ( IP A:61.91.110.58 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
เมื่อความยุติธรรม คือ การไม่เลือกปฏิบัติ ก็เห็นด้วยที่แพทย์ จะต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของตนบ้าง มิใช่เพื่อการเอาชนะกัน แต่เพื่อให้โอกาสเขาได้ เรียกร้องบ้าง อย่างน้อยก็ถือว่า แพทย์ ก็เป็นมนุษย์เหมือนคนอื่นๆ กฎหมายจึงไม่ควรเลือกปฏิบัติคะ
โดย: tippydent@yahoo.com [8 เม.ย. 49 17:54] ( IP A:58.147.120.150 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
แมร่ง ทีกระทู้แบบนี้ ไม่เห็นหมาไหนออกมาหอนซักตัว
โดย: คนดู [13 เม.ย. 49 2:23] ( IP A:203.156.45.169 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
าสส
โดย: สวส [6 ม.ค. 50 3:11] ( IP A:161.200.255.162 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน