เวชระเบียนเป็นของใครกันแน่
   อีกหนึ่งปัญหาที่ทะเลาะกันอยู่ทุกวันนี้ก็คือ ... ใครควรจะเป็นเจ้าของเวชระเบียน

ทางด้านผู้ป่วย .. เห็นว่าในเมื่อเป็นเรื่องความเจ็บป่วยของชั้น ชั้นก็ต้องมีสิทธิ์ .. แล้วหมอมาหวงไว้แบบนี้ .. แสดงว่าต้องมีอะไรๆ แน่เลยใช่มั้ยหล่ะ ..

ทางฝ่ายหมอ (ในที่นี้หมายถึงแค่โรงพยาบาลรัฐนะครับ) ก็ไม่อยากจะให้ผู้ป่วยไป อย่างที่เราทราบกันว่า work load หรืออัตราส่วนระหว่างหมอกับคนไข้มันต่างกันมาก .. ดังนั้น ความ complete ของเวชระเบียนจึงเป็นไปไม่ได้ อาทิเช่น หมอมาดูคนไข้ แต่ไม่ได้ note เอาไว้ หรือบางทีมีประวัติบางอย่างที่ซักมาได้ แต่ไม่ได้เขียนลงไป หรือในบางกรณีที่เกิดเหตุไม่พึงประสงค์ขึ้น หมอก็กลัวว่า ถ้ามานั่งไล่ดูทีหลังจากเวชระเบียน มันต้องมีช่องโหว่เกิดขึ้นแน่ๆ

ทำให้ทางด้านหมอ ไม่อยากจะให้ตัวเวชระเบียนจริงๆ แต่อยากเป็นว่าขอให้สรุปเอาไปให้ก็แล้วกัน (ส่วนเหตุผลเรื่องที่ว่าต่อให้เอาไปก็อ่านไม่ออกเนี่ย ผมคิดว่าน่าจะเป็นคำอธิบายแบบขอไปทีมากกว่า หมายความว่า ไม่ได้หมายความว่าแบบนั้น แต่ก็ไม่รู้จะหาเหตุผลอะไรมาอธิบาย)

ขออธิบายเรื่องเหตุไม่พึงประสงค์ซักหน่อยนะครับ .. อันเหตุไม่พึงประสงค์นี้ .. เกิดขึ้นได้แน่ๆ ... (ในโรงพยาบาลรัฐที่อัตราส่วนมันเหลื่อมล้ำกันอย่างมาก) สาเหตุมีได้มากมาย .. ตั้งแต่ หมออยู่เวรมาติดๆ กัน ไม่ได้หลับได้นอน ทำให้บางทีตัดสินใจโดยสติไม่เต็มร้อยเท่าไหร่ ... พูดง่ายๆ คือถ้าร่างกายเต็มร้อย คงไม่ทำอะไรแบบนั้นลงไป ... สาเหตุต่อมาที่เจอได้บ่อยๆ ตามรพ.ชุมชน ที่หมอคนเดียวต้องกลายร่างเป็นหมอสูติ ศัลย์ med เด็ก ก็คือ ... ความรู้ที่รู้มาอาจไม่ update หรืออาจจะจำไม่ได้แล้ว

บางคนอาจตั้งคำถามว่าแล้วทำไมเอ็งไม่ update หล่ะ ... ก็อยากจะบอกว่าโรคภัยไข้เจ็บมีเป็นร้อยเป็นพัน แล้วความรู้ใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นมามากมาย .. แล้วใครมันจะไปรักษาได้หมดทุกโรคหล่ะ.. จริงมั้ย ... ต้องยอมรับความจริงอันโหดร้ายข้อนึงว่า .. เมืองไทยยังไม่มีหมอเฉพาะทางพอนะครับ .. หมอธรรมดาก็ต้องดูไปก่อนอ่ะนะ

ทีนี้พอมันเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ขึ้นมา ... ถ้าทางผู้เสียหายได้เวชระเบียน แล้วมานั่งไล่เบี้ยทีหลังเนี่ย .... ย่อมหาข้อผิดพลาดได้อย่างแน่นอน ... หมอก็เลยไม่อยากให้เวชระเบียนตัวจริงไป ...


ดังนั้น ... ในโรงพยาบาลรัฐ .. เราคงต้องยอมรับกันอ่ะนะครับว่า เรื่องเวชระเบียนเนี่ย ขอเป็นสรุปเนื้อหาสำคัญไปจะได้มั้ย ....

ส่วนในโรงพยาบาลเอกชนเนี่ย ... ถ้าเราจ่ายตังค์แล้ว .. มันก็น่าจะเป็นของเราอ่ะนะ .... เครือข่ายเรียกร้องกันต่อไปละกัน ...


แต่สรุปสุดท้าย ... ก็ไม่มีอะไรดีขึ้นอีกนั่นแหล่ะ ...
โดย: นั่นดิ [24 ม.ค. 49 21:30] ( IP A:203.151.140.111 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   มองต่างมุมนะ ว่าจริงๆแล้วสิ่งที่ทำแล้วไม่มีบันทึกเวชระเบียนเป็นสิ่งที่พอฟังได้ แต่ในบันทึกเวชระเบียนก็ไม่มี ทำก็ไม่ได้ทำนี่ต่างหากล่ะ คนไข้ถึงฟ้องชนะ

.ถ้าหมอที่บริสุทธิ์ใจเขาไม่หวงหรอก อยากดูก็ดูไป สุจริต ไม่มีวันอับจน
โดย: ก็ว่ากันไป [24 ม.ค. 49 22:39] ( IP A:58.9.176.155 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
    ถ้าหมอที่บริสุทธิ์ใจเขาไม่หวงหรอก อยากดูก็ดูไป สุจริต ไม่มีวันอับจน


ผมว่ามันไม่เกี่ยวกะการบริสุทธิ์ใจหรือเปล่าหรอกครับ ... เรื่องที่ทำแล้วไม่ได้เขียน ถ้าหากพอยอมรับ พอฟังได้เนี่ยก็ไม่เป็นไร .. แต่เรื่องเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (อย่างที่อธิบายไปแล้วเนี่ย) .. แล้วถ้าหากผู้เสียหายได้เวชระเบียนไป แล้วก็ไปอ่านแซะ แงะ ทุกซอกทุกมุม มันย่อมมีอะไรบางอย่างที่จะทำความเดือดร้อนให้แพทย์หน่ะครับ .. เหมือนยื่นดาบให้แทงตัวเองทำนองนั้น ..


อยากให้ทำความเข้าใจอีกทีนะครับ ว่า ... ถ้าหมออยู่ในสภาพเต็มร้อย มีเวลาให้คนไข้เหมือนอย่างในโรงพยาบาลเอกชนเนี่ย อยากจะแคะจะแงะยังไงก็เป็นสิทธิ์ของผู้ที่เสียเงิน ... แต่ในโรงพยาบาลรัฐคงต้องเป็นอีกแบบนึง
โดย: นั่นดิ [24 ม.ค. 49 22:48] ( IP A:203.151.140.111 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   อีกอย่างนึงที่อยากจะบอกคือ .. การเอา paper จากอเมริกามาอ้างอิงกับสาธารณสุขไทยเนี่ยทำไม่ได้หรอกครับ อย่างเช่น การตายที่ป้องกันได้ .. ทำนองเนี้ย ..

เพราะว่าของเค้า ต้องมีระบบนัดก่อน แล้วหมอตรวจคนไข้ชั่วโมงนึงไม่กี่คน (ตัวเลขแน่นอนไม่รุ้เหมือนกัน เพราะไม่เคยไป) เอามาเทียบกับโรงพยาบาลรัฐของไทยไม่ได้หรอกครับ .. เพราะชั่วโมงนึงหมอต้องตรวจ 20-30 คน .. แล้วจะเอาเวลาที่ไหนไป complete หล่ะครับ ... มันต้องมีหลุดกันบ้างแหล่ะหน่า
โดย: นั่นดิ [24 ม.ค. 49 22:53] ( IP A:203.151.140.111 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   เอาไปอ่านเองแล้วกันนะ ว่าเราคาดหวังว่าจะเห็นอะไรบ้างในเวชระเบียนฉบับจริง
https://www.medleague.com/Services/medical_records/detecting_tamperingsub.htm
โดย: ตามนั้นแหละ (เจ้าบ้าน ) [24 ม.ค. 49 23:11] ( IP A:58.9.176.155 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   และเราก็มีตัวอย่างให้ดูกันแล้วที่นี่
https://www.pantown.com/board.php?id=12163&name=board10&topic=216&action=view
โดย: เภสัชเข้าใจแล้ว1 คน (เจ้าบ้าน ) [24 ม.ค. 49 23:14] ( IP A:58.9.176.155 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   อีกอย่างนึงที่อยากจะบอกคือ .. การเอา paper จากอเมริกามาอ้างอิงกับสาธารณสุขไทยเนี่ยทำไม่ได้หรอกครับ อย่างเช่น การตายที่ป้องกันได้ .. ทำนองเนี้ย ..

ทำไมจะอ้างไม่ได้ นายกแพทยสภาชอบอ้างของนอก
เราก็อ้างของนอกบ้าง เผื่อนายกแพทยสภาจะฟังบาง
แกชอบบิดเบือน และบิดได้เก่งมาก ๆ ขนาดเมืองนอก
หมอตรวจคนไข้น้อยยังมีความผิดพลาดเยอะนับเป็น
สาเหตุการตายอันดับ 4-8 เลยทีเดียวนะ บ้านเราล่ะ
แค่คิดก็สยองแล้ว วันไหนจะเป็นญาติใครระวังตัวกัน
ไว้ให้ดี ๆ เถอะ

บ้านเราปิดกันให้แซ่ด กลัวขายหน้าเขา ทั้งที่เขาบอก
ว่าเปิดได้ เป็นการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นอีก
ก็ไม่เชื่อเขา แล้วเป็นไงล่ะ ต้องตามเอาใบบัวปิดช้างตาย
กันทุกวัน ๆ ๆ ๆ จนใบบัวจะหมดบึงอยู่แล้ว
โดย: เบื่อพวกบิดเบือน [29 ม.ค. 49 23:40] ( IP A:61.90.15.7 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน