คำถามถึงคุณหมอ jjxyz
   มาดีนะครับ ... ไม่ได้มาก่อกวน ..

จากที่ติดตามอ่านมานานอยู่ ... พอจะสรุปได้ว่าคุณหมอ jjxyz เป็นหมออายุประมาณ 40 กว่าปี (เพราะทำโครงการฉีดวัคซีนแถมเงินเมื่อปี 2523 เมื่อตอนอยู่รพช.) น่าจะเป็นหมอศัลย์ (เพราะบอกว่าจะไม่ผ่าตัดถ้าท่อง op note ไม่ได้หมด) และน่าจะมีตำแหน่งใหญ่โต (เพราะมีกระทู้ที่ว่ามีคำกล่าวหาคุณหมอ jjxyz ในกระทรวง)

ไม่รู้เป็นแบบนี้หรือเปล่า .. ถ้าไม่ใช่ก็ขออภัย ..

ทีนี้ .. ถ้าเป็นจริง คุณหมอ jjxyz ก็จะเป็นศัลยแพทย์อายุประมาณ 40 กว่าปี ที่มีตำแหน่งใหญ่ในกระทรวง ...

จากที่ติดตามมา รู้สึกว่า คุณหมอ jjxyz ต้องการที่จะเห็นสาธารณสุขไทยพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น .. ให้ได้มาตราฐานให้ได้มากที่สุด ...

แต่ในฐานะ หมอ (หมาบางที .. ของเครือข่าย) บ้านนอก ประสบการณ์น้อย .. อยากจะบอกว่า .. สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ .. มันค่อนข้างทำลายขวัญกำลังใจของหมอบ้านนอก หมอโรงพยาบาลรัฐมากๆ เลยครับ ... ถ้าคุณหมอ jjxyz ยังจำได้ สมัยเป็นหมอจบใหม่ๆ ที่ยังไม่มีประสบการณ์ .. น่าจะเข้าใจความรู้สึกของหมอบ้านนอกได้เป็นอย่างดี ..

สรุปคำถามที่อยากรบกวนให้ตอบก็คือ
1. ตอนนี้คุณหมอ jjxyz ยังรักษาคนไข้อยู่หรือเปล่าครับ .. ตามความเห็น ผมว่าไม่น่าจะรักษาคนไข้แล้ว .. เพราะสิ่งที่คุณหมอ jjxyz ทำอยู่ตอนนี้ .. คงไม่มีหมอคนไหนที่ปฏิบัติงานอยู่ทำเป็นแน่ ... แต่ถ้าคุณหมอ jjxyz ทำการรักษาคนไข้อยู่ .. ก็ต้องของคาราวะในความกล้าหาญ และตรงไปตรงมา

ไม่ได้บอกว่า .. สิ่งที่ทำมันไม่ดี .. แต่ว่ามันไม่ถูกตามกฏเกณฑ์หรือเปล่า ?? เพราะกว่าที่แพทยสภาจะตัดสินว่าใครผิดหรือไม่ผิด ใช้หมอถึง 50-60คน (ดูทีวีมา เค้าว่าแบบนั้น) .. แต่ถ้าทางคุณหมอ jjxyz ดูเวชระเบียนแล้วเห็นว่าไม่ชอบมาพากล ก็ตัดสินแพทย์คนนั้นว่าอาจมีความผิด ให้ทางญาติดำเนินการต่อไป มันยุติธรรมแล้วหรือ ??

2. เป็นไปได้มั้ย ... ถ้าจะให้การตัดสินเป็นตามกระบวนการของมันของแพทยสภา ... ผมอาจจะมองโลกในแง่ดีเกินไป .. หรือเปล่า??

ขอแสดงความนับถือ
โดย: นั่นดิ [20 ม.ค. 49 15:49] ( IP A:203.113.61.103 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   PROFESSIONAL MISCONDUCT
The professional behaviour of a 'doctor, either in connection with his treatment of patients or in other areas of his behaviour, may lead to allegations of misconduct that are separate from the civil actions for negligence discussed in the previous section. Where the personal or professional conduct of a doctor is seriously criticized, his worthiness to continue as a recognized member of the medical profession may be at stake. This aspect is dealt with by various tribunals of the official authority responsible in that particular country for granting registration or a licence to practise medicine. These tribunals can examine the fitness of any doctor to remain an accredited physician and this mechanism of referral and review is designed primarily to protect the public from unsuitable or even dangerous doctors.
Because national systems of licensing and registration vary so widely, it is impossible to describe any universal rules. Nevertheless, there is a general level of ethical behaviour, morality and competence that should be subscribed to by doctors all over the world. These high standards are not born of snobbery or elitism but of practical necessity, for if patients are to derive the maximum benefit from diagnosis and treatment, they must be confident that their physician is responsible, diligent, honest and discreet. It is believed that patients are less likely to reveal intimate details of their medical history or to cooperate in treatment without the necessary ingredient of faith and confidence in the treating doctor. Thus doctors must actually possess, and be seen to possess, all the better qualities that will befit them to manage life-and-death issues.
Every country has a system for admitting new doctors to a regulated list of competent practitioners; this list is usually limited to those who have passed the final examinations of a university medical school or other accrediting institution. This initial registration or licensing will allow newly qualified doctors to commence their postgraduate training with the 'house year' or internship and this will be followed by a wide range of postgraduate training schemes and qualifications. The doctor's professional career is dependent upon remaining registered or licensed until retirement or death.
Each country may have widely different criteria that define professional misconduct; some states are very strict about the behaviour of their doctors, whereas others, unfortunately, have far too lenient an attitude. The regulatory system for professional conduct also varies greatly from place to place and, in general terms, it is most organized where the criteria for professional conduct are most strict and applied with most diligence. In many countries, the regulation and licensing of doctors are organized by the government, usually through its ministry of health or equivalent; in other countries, a more independent national medical association has a similar role.
It used to be thought that the most satisfactory system is one in which doctors themselves administer the system, preferably with statutory backing from the legislature, but which has with no direct control by government administrators or bureaucrats. Such a system existed in Britain, where the supervision of doctors' ethical behaviour is probably the strictest in the world, and for a century or so it managed the control of doctors with the support of both the profession and the public. Towards the end of the last century there was considerable public disquiet at what was seen to have become a mechanism to protect doctors from complaint rather than a mechanism to protect the public from failed and failing doctors. This disquiet triggered a major review of the structure and functions of the General Medical Council (CMC).

THE GENERAL MEDICAL COUNCIL
Established on the initiative of the British Medical Association in 1858, the CMC was set up primarily to allow the public to distinguish between properly qualified doctors and the thousands of'quacks' that existed in the nineteenth century. The GMC did this by publishing an annual list, the Medical Register. To be included in the register, a doctor had to prove that he had passed reputable medical examinations and so the GMC gained a prime interest in the standards of medical schools and their examination standards. The GMC was also given disciplinary powers by Parliament so that it could remove misbehaving doctors from the register.
At the start of this new millennium, the GMC has undergone a period of major review and it has been recommended to the government that legislation be laid before Parliament to reduce the membership of the council from 104 (a quarter of whom are lay members) to 35, of whom 19 will be elected medical members, 2 will be appointed medical members and 14 will be lay members. The GMC will continue to work through a group of committees that cover education, standards of practice, registration and professional conduct. The work of all of these committees is overseen by the GMC.
Conduct procedures
When a complaint is made to the GMC, it is initially reviewed by a medically qualified screener who will assess:
1 how serious the matter is;
2 if the GMC has any other information or complaints about the doctor involved;
3 what evidence is available about the events.
The medical screener may reach one of a number of decisions.
1 They may decide that no further action should be taken, in which case the complaint is reviewed by a lay member of the GMC and, if both agree that no further action is to be taken, the case is dropped, but if they disagree, the complaint will pass to the Preliminary Proceeding Committee (PPC).
2 They may consider that there is no evidence of serious professional misconduct but may still find that the professional performance of the doctor has been seriously deficient and refer the complaint to an Assessment Referral Committee (ARC). There are also health procedures that can be followed if the screener forms the opinion that the doctor is in need of medical assistance himself.
3 They may consider that the complaint does relate to the conduct of the doctor and may refer it to the PPC.
The PPC is also notified of all criminal convictions of doctors so that they can assess the significance of these convictions to the practice of the doctor.
The PPC may take one of four decisions:
1 to refer the case to the Professional Conduct Committee (PCC) for a public hearing;
2 to send the doctor a letter with advice or a warning about his future practice;
3 to refer the case for further investigation into the health of the doctor;
4 to take no further action.
The PCC is restricted by law to considering charges of serious professional misconduct against a doctor. The committee is chaired by a senior lawyer who can advise its members on the law. The committee holds its hearings and announces its decisions in public but its deliberations are held in private. Evidence is heard according to strict legal procedures and is presented to the committee by lawyers acting for the CMC and the doctor. Witnesses are summonsed to appear and evidence is given under oath and the witnesses are questioned by both the lawyers and the members of the committee.
After hearing the evidence, the committee must decide whether or not the doctor is guilty of 'serious professional misconduct'. The committee may reach one of five conclusions:
1 to admonish the doctor;
2 2 to postpone a decision in order to collect more evidence;
3 3 to place conditions on the registration of the doctor for up to 3 years;
4 4 to suspend the registration of the doctor for up to a year; or
5 5 to erase the registration of the doctor.
6 There is a right of appeal if the doctor considers the conclusion to be incorrect.
โดย: jjxyz [20 ม.ค. 49 16:57] ( IP A:61.90.96.41 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   เอามาจากตำรานิติเวช ของประเทศอังกฤษ ที่ถือว่าดีมากเล่มหนึ่ง
SIMPSON'S FORENSIC MEDICINE 12 edition
ผมนะอายุ 52 แล้ว ยังผ่าตัดทุกวัน ถูกฟ้องถูกร้องเรียนประจำ แต่ก็ไม่ได้ถือสา ก็สู้คดีกันไป คุยกันไป เคลียร์กันไป
ถ้าผมเลิก PRACTICE แล้วมาช่วยผู้ป่วยผมก็จะไม่แฟร์ ผมต้องช่วยในขณะที่ผมก็ถูกฟ้องถูกร้องเรียนได้ด้วย
เวลาผมไปขึ้นศาลช่วยเขา ผมแพ้คดีมา เขาก็ร้องเรียนว่าผมเบิกความเท็จ ผมก็มีหน้าที่ชี้แจงว่าไม่ใช่ แต่จะมีใครเชื่อผมหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง
การชี้ว่าอะไรถูกผิดคนเดียวก็พอ เวลาหมอรับCONSULT คนไข้รายอื่น หมอตรวจแล้วก็รู้ว่าที่เขารักษาไว้ก่อนถูกต้องหรือไม่อย่างไร ที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่ก็จะถูกนะ ที่ผิดก็ต้องมีบ้าง ดังนั้นเวลาผมตัดสินว่าหมอคนอื่นผิด ผมอาจจะผิดเองก็ได้ แต่พวกหมอเขาก็มีสิทธิ์ฟ้องผม และศาลก็มีสิทธิ์รับฟังอีกฝ่ายแล้วจะเชื่อใคร ผมก็ต้องรับผิดชอบสิ่งที่ผมทำ ผมพูด ไม่ใช่ผมจะสบายมากนะครับ เป็นหมอรักษาโรคสบายกว่า แต่ทำไงได้ เราควรให้คนไข้มีหมอปรึกษาไว้ใจได้ ตรงไปตรงมาบ้าง ผมและคนอื่นอาจมีจำนวนแค่ 10 คน ที่เข้าข้างคนไข้ (ตรงไปตรงมา แต่อีกฝ่ายจะถือว่าเข้าข้างคนไข้) ส่วนอีกฝ่ายมีทั้งคนที่มีความรู้อำนาจรัฐและพวกอีกเป็นหมื่น ก็ไม่น่าจะบ่นมาก ผมน่าจะบ่นมากกว่า เวลาต่อยตีกัน น้ำใจนักกีฬาก็ต้องให้สู้กันได้พอสมน้ำสมเนื้อ นี่ 10 แต่ 3-4 หมื่น ก็ไม่น่าจะว่ากัน
ของอังกฤษ เวลาเขาจะว่าถูกผิดก็ใช้หมอคนเดียวก่อน (ผมส่งมาให้อ่านข้างบน) แต่ถ้าบอกว่าหมอถูกคนไข้ไม่พอใจ ก็ไปต่อสู้กันต่อ
บ้านเราเวลาหมอถูก หมอใหญ่ๆโตๆ ออกข่าวยืนยันได้ภายใน 2-3 วัน ว่าหมอถูก สุดวิสัย แต่เวลาหมอผิดสอบกันนานมาก 3-5 ปี มันตลกนะ
ไม่ต้องใช้คนมากหรอกครับ เหตุผลดีดี คนเดียวก็พอ
แต่บอกตรงๆนะ ผมว่าพวกเราหมอต้องยอมรับว่ามันมีความผิดพลาดจริงๆ คนไข้ก็ควรไดรับการชดใช้ แต่หมอไม่ควรจ่ายเองนะ ต้องมีคนจ่ายแทน กองทุกหรือประกันก็ได้ หมอก็จ่ายเบี้ยประกัน ปีละ 2-5 หมื่นบาท ของหลวง หลวงจ่ายให้ ของเอกชน นายจ่ายให้ คลินิกส่วนตัวจ่ายเอง มีอะไรก็ไปเคลียร์กันเอง จะได้ไม่ทะเลาะกัน คุณสอนผมเป็นหมอให้ออกไปทำงานทำมาหากิน แล้วปล่อยเกาะให้ผมรับผิดชอบเอง ผมว่าคุณผลิตแบบไม่รับผิดชอบผม ต้องแก้ไข
โดย: jjxyz [20 ม.ค. 49 17:14] ( IP A:61.90.96.41 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   When a complaint is made to the GMC, it is initially reviewed by a medically qualified screener who will assess:
1 how serious the matter is;
2 if the GMC has any other information or complaints about the doctor involved;
3 what evidence is available about the events.
The medical screener may reach one of a number of decisions.
1 They may decide that no further action should be taken, in which case the complaint is reviewed by a lay member of the GMC and, if both agree that no further action is to be taken, the case is dropped, but if they disagree, the complaint will pass to the Preliminary Proceeding Committee (PPC).
2 They may consider that there is no evidence of serious professional misconduct but may still find that the professional performance of the doctor has been seriously deficient and refer the complaint to an Assessment Referral Committee (ARC). There are also health procedures that can be followed if the screener forms the opinion that the doctor is in need of medical assistance himself.
3 They may consider that the complaint does relate to the conduct of the doctor and may refer it to the PPC.
The PPC is also notified of all criminal convictions of doctors so that they can assess the significance of these convictions to the practice of the doctor.
โดย: คนเดียวและมีคนนอกตรวจสอบ [20 ม.ค. 49 17:40] ( IP A:61.90.96.41 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   หมอ 30000 คน คนละ 30000 ก็เป็นเงิน 900,000,000
เดือนหนึ่งก็จ่ายได้ 75 ล้าน น่าจะพอไหว
มีเงินประกันรถยนต์ได้ 2-3 หมื่นบาท น่าจะประกันอาชีพตัวเองได้นะ
โดย: jjxyz [20 ม.ค. 49 18:17] ( IP A:61.90.96.41 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   เสียน้อย เสียยากนะ เป็นธรรมดาโลกครับ
โดย: เจ้าบ้าน [20 ม.ค. 49 22:26] ( IP A:61.91.162.54 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   สงสัยหมอ jjxyz ไม่รู้ตัวเลขที่แท้จริงว่าขณะนี้มีหมอที่อยู่ในรพ.ของรัฐบาลทั้งรพ.จังหวัดและรพ.ชุมชนทั่วประเทศ(ไม่นับในรร.แพทย์) จำนวนเท่าไหร่

8,000 กว่านะไม่ใช่ 30,000 คน

ไม่เชื่อก็ลองโทรไปเช็คถามที่กระทรวงสธ.ดู

แล้วที่พูดมานั้นตกลงจะให้รัฐจ่ายหรือหมอ(ผู้ถูกใช้แรงงาน)จ่ายกันแน่..??

อ้อ...ไม่ต้องเอาหมอที่ทำงานในคลินิกส่วนตัวหรือรพ.เอกชนมาคิดหุ้นส่วนในเงิน 900,000,000 บาทหรอกนะ เพราะภาระงานกับโอกาสความผิดพลาดมันต่างกัน

อีกไม่นานบริษัทประกันการฟ้องร้องแพทย์คงผุดเป็นดอกเห็ด ผลกรรมก็คงตกอยู่กับประชาชนและพวกที่ดีแต่หลับหูหลับตาเรียกร้องสิทธิ์ที่คิดแต่จะเดินตามก้นฝรั่ง
โดย: ดูเจตนาดีแต่หวังร้าย... [21 ม.ค. 49 1:24] ( IP A:203.170.228.172 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ผมก็กะจากตัวเลขหมอที่แพทย์สภาว่ามีอยู่ ๓ หมื่นกว่าคนในคดีดอกรักนั่นแหละตอนจะเรี่ยไรเงินให้เขานะ
ไม่ได้เอาแต่พวกที่ทำงานให้หลวง
เวลาทำงาน หมอไม่ได้จ่ายอะไรนะครับ คนไข้(ผู้บริโภค)คือผู้จ่ายเสมอถ้าไล่ไปถึงปลายทาง แม้แต่ค่าประกันนี่ก็ชาวบ้านจ่าย
ถ้าหลวงจ่ายแทนหมอไป ก็ภาษีชาวบ้าน
ถ้าเอกชน จ่ายแทนลูกน้อง ก็เงินค่ายาบวกเพิ่ม
ถ้าคลินิกจ่ายให้ตัวเอง ก็เงินค่ายาบวกเพิ่ม
ก็ไม่เห็นจะต้องเดือดร้อนตรงไหนทั้งหมอทั้งคนไข้
เวลาแก้ปัญหาคงต้องหัดใช้สมองด้วยและเปิดใจให้กว้างๆ ทำใจให้นิ่งๆ หูตาคงช่วยอะไรมากไม่ได้
โดย: jjxyz [21 ม.ค. 49 1:38] ( IP A:61.90.96.41 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ไม่เห็นด้วยกับหมอ jjxyz ข้อหนึ่ง ก็คือ ที่ว่า"หมอตรวจแล้วก็รู้ว่าที่เขารักษาไว้ก่อนถูกต้องหรือไม่อย่างไร ที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร" หน่ะครับ ถ้าหากเป็น filed ของตัวเอง เช่น ในเคส surg ของหมอ jjxyz เนี่ย ก็เห็นด้วยอยู่ แต่ถ้าหากเป็น filed อื่น เช่น med หรือ เด็ก น่าจะให้ผู้เชี่ยวชาญสาขานั้นๆ เป็นคนบอกจะดีกว่า

ถึงแม้จะบอกว่า หาความรู้ และ update ข้อมูลเป็นประจำก็ตามที เพราะว่าไม่รู้ว่าข้อมูลที่หามานี่ มันใช้ได้จริงในเมืองไทยหรือเปล่า และในทางปฏิบัติจริงๆ มันเป็นอย่างไร
โดย: ไม่เห็นด้วย [21 ม.ค. 49 16:47] ( IP A:61.90.246.105 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   ความเห็น 29 ต้องอดใจรอหน่อยนะครับ คุณหมอ jjxyz บอกว่าพายเรือในอ่างมาหลายกระทู้แล้ว ขอพักไปทำงานที่ค้างอยู่สัก 7 วันแล้วจะกลับมาตอบใหม่

ขอบคุณ rose
โดย: เจ้าบ้าน [21 ม.ค. 49 21:10] ( IP A:58.9.176.243 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   ถ้าอยากฟ้องจริงๆคงต้องหาเงินกองทุนอะไรสักอย่างมาใช้น่ะ เพราะไม่มีเงินหรอกนะ........หนี้เยอะเงินเดือนน้อยอยู่รพ.รัฐน่ะ
โดย: stellmed@gmail.com [29 ม.ค. 49 11:47] ( IP A:203.151.76.2 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน