“หมอประเวศ” แนะทางออก 5 ข้อ แก้ปัญหา แพทย์-ผู้ป่วย ขัดแย้ง
   “หมอประเวศ” แนะทางออก 5 ข้อ แก้ปัญหา แพทย์-ผู้ป่วย ขัดแย้ง

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 14 มกราคม 2549 15:30 น.


“หมอประเวศ” แนะทางออก 5 ข้อ แก้ปัญหา แพทย์-ผู้ป่วย ขัดแย้ง เน้นการสื่อสาร สร้างความเข้าใจ พร้อมตั้งองค์กรกลางดูแลโดยเฉพาะ หลังปัญหาร้องเรียนคั่งค้าง ขณะที่ สธ.เตรียมตั้งตำแหน่งนิติกรเพิ่มประจำ 12 เขต ดูแลแพทย์ที่ถูกฟ้องร้องโดยเฉพาะ

นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดการเสวนาวิชาการเรื่อง “วิกฤตความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและแพทย์” โดยมีศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นประธาน ผู้เข้าร่วมสัมมนา ประกอบด้วย กรรมการแพทยสภา ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข และเครือข่ายผู้ได้รับความเสียหายจากการรักษา และตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม กว่า 100 คน ซึ่งบรรยากาศในการสัมมนาเป็นการเปิดอกรับฟังปัญหาของแต่ละฝ่ายเพื่อร่วมหาทางแก้ไขลดความขัดแย้ง

โดยในส่วนกลุ่มผู้เสียหายทุกคนยืนยันว่าไม่ได้อยากฟ้องร้องแพทย์ทั้งทางแพ่ง และอาญา แต่ที่ต้องฟ้องร้องเกิดจากการได้รับฟังคำพูดที่ไม่ดีจากแพทย์ ทั้งนี้ผู้เสียหายเสนอว่าจะไม่เกิดปัญหาหากแพทย์พูดจากันให้เข้าใจ และขอโทษเมื่อเกิดความผิดพลาด พร้อมเสนอให้ทำสถิติข้อมูลการเจ็บป่วย และเสียชีวิตที่สามารถป้องกันได้ในแต่ละปีว่ามีจำนวนเท่าใด และบรรจุเรื่องนี้ในหลักสูตรการเรียนของนักศึกษาแพทย์จะได้ช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก และมีการตั้งกองทุนเพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องมีการพิสูจน์ความผิดถูกด้วยการใช้เวชระเบียนเป็นหลักฐานในการฟ้องร้อง และต้องการให้มีคนนอกเข้าไปเป็นกรรมการแพทยสภาด้วย

ขณะที่ทางฝ่ายแพทยสภาได้ ชี้ให้เห็นถึงระบบการบริการรักษาที่จำกัด โดยเฉพาะแพทย์ ซึ่งทั่วประเทศมีเพียง 30,000 คนแต่ต้องรับผิดชอบผู้ป่วยจำนวนมาก โดยมีเวลาการตรวจวินิจฉัยเพียงแค่ 3 นาทีต่อผู้ป่วย 1 ราย ขณะที่ประเทศสหรัฐฯ ใช้เวลาตรวจรักษาถึง 20 นาทีต่อผู้ป่วย 1 ราย ยังจำกัดในเรื่องเครื่องมือ พร้อมยืนยันว่า แพทย์ต่างมีเจตนาในการรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มที่ ไม่ได้ประสงค์ร้าย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่สุดวิสัย เพราะโรคบางโรคยากต่อการวินิจฉัย แม้จะเป็นโรคทั่วไป อย่างโรคไข้เลือดออก หรือไส้ติ่ง และหากมีการฟ้องร้องขอให้จำกัดเพียงทางแพ่งเพื่อชดเชยความเสียหาย อย่างถึงขึ้นฟ้องทางอาญา เพราะขณะนี้แพทย์โดยเฉพาะที่เพิ่มจบใหม่ต่างตื่นตระหนกและเสียขวัญ ซึ่งต่อไปในโรงพยาบาลชุมชนจะไม่มีการผ่าตัด แต่จะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลศูนย์ทั้งหมด ซึ่งจะเกิดปัญหาได้

ด้าน ศ.นพ.ประเวศ กล่าวว่า การสัมมนาวันนี้เป็นการเปิดให้ทุกฝ่ายรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นของแต่ละฝ่าย เพื่อให้เกิดความเห็นใจซึ่งกันและกัน และลดปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ตนได้ฝากการบ้าน 5 ข้อให้แต่ละหน่วยงานรับไปดำเนินการดังนี้ คือ 1. ให้มีความเห็นอกเห็นใจกันทั้งผู้ป่วย และผู้ให้บริกรทางการแพทย์ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า ปัญหาเกิดจากการขาดการสื่อสารที่ดี ทำให้ไม่เข้าใจกัน ตนจึงมอบให้แพทยสภา และ สปสช.ไปดำเนินการ เรื่องการสร้างความสัมพันธ์ในลักษณะเพื่อนให้เพื่อน 2. การปฏิบรูประบบการบริการและกำลังพล ขณะนี้ระบบการให้บริการด้านการแพทย์มีข้อจำกัดทั้งด้านจำนวนแพทย์และเครื่องมือ ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้แก้ปัญหาแบบวันต่อวัน จึงได้มอบให้สำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)ได้ดำเนินการ 3. ให้มีระบบการเยียวยาสมานฉันท์ ซึ่งกระทรวงมีศูนย์สันติวิธีและสมานฉันท์อยู่แล้ว จึงขอให้ดำเนินการให้เกิดรูปธรรม โดยเน้นที่การไกล่เกลี่ยไม่ใช่การต่อสู้ 4.ให้มีองค์กรกลางที่มีความโปร่งใสและเป็นธรรม โดยในเรื่องนี้กระทรวงสาธารณสุขต้องรับไปดำเนินการเช่นกัน และ 5. ให้มีกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ขณะนี้กระบวนการยุติธรรมไปไม่ไหวแล้ว ถึงทางตันและงานคั่งค้างมาก กระทรวงสาธารณสุขจึงควรไปหารือกระทรวงยุติธรรมที่ดำเนินโครงการนี้อยู่แล้ว มาปรับใช้

ด้าน นพ.ศิวัฒน์ ทิพย์ธราดล ผู้อำนวยการ สวรส. กล่าวว่า การดำเนินการต่อจากนี้รูปแบบจะไม่ใช่การพูดคุยเพื่อรับฟังปัญหาอีกแล้ว แต่จะเป็นการตั้งคณะกรรมการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อดูกลไกล่การทำงานในแต่ละด้าน โดยต้องมีโรงเรียนแพทย์ แพทยสภา กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สวรส. รับผิดชอบร่วมกัน

ขณะที่ นายพินิจ กล่าวว่า ความต้องการรับบริการทางการแพทย์ที่สูงขึ้น ความคาดหวังจากการบริการทางการแพทย์ รวมทั้งความตื่นตัวในเรื่องสิทธิของผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ระบบบริการทางการแพทย์ โดยเฉพาะของภาครัฐ ยังมีข้อจำกัดและมีปัญหาต่อเนื่องมายาวนาน ทั้งเรื่องกำลังคน งบประมาณ และการบริหารจัดการ เป็นผลให้ปัญหาการร้องเรียน ฟ้องร้องทางแพ่งและอาญา ทั้งต่อแพทย์และสถานพยาบาล มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ที่มีมาแต่เดิม จึงต้องรีบแก้ไขโดยเร็ว หากลไกไกล่เกลี่ย จัดตั้งกองทุนชดเชยความเสียหาย เพื่อเยียวยาผู้ป่วยและญาติให้ยุติธรรมและทันการ สำหรับปัญหาของการฟ้องร้องแพทย์ที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจแพทย์นั้น ขณะนี้ได้สั่งให้มีการเพิ่มตำแหน่งนิติกรใน 12 เขตเพื่อดูแลแพทย์ที่ถูกฟ้องร้องโดยเฉพาะ

“ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้เตรียมตำแหน่งราชการไว้ 12 ตำแหน่ง โดยจะมีการจ้างแพทย์ที่มีความรู้ด้านกฎหมาย หรือนิติกร เขตละ 1 คน เพื่อมารับผิดชอบดูแลเรื่องการฟ้องร้องของแพทย์โดยเฉพาะ ทำให้แพทย์มั่นใจว่า เมื่อเกิดปัญหาการฟ้องร้องจากผู้ป่วย หรือญาติผู้ป่วยขึ้น จะมีคนคอยดูแล พร้อมกันนี้ยังจะตั้งทีมไกล่เกลี่ยระหว่างแพทย์กับคนไข้ขึ้น เพื่อลดการฟ้องร้องนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาล ซึ่งน่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนนี้” นายพินิจ กล่าว และว่า พร้อมกันนี้ทางกระทรวงยังจะจัดให้มีการอบรมแพทย์ให้มีความรู้ในเรื่องกฎหมาย เพื่อจะได้ดำเนินการได้อย่างถูกต้องหากเกิดปัญหาขึ้น
โดย: jjxyz [14 ม.ค. 49 18:57] ( IP A:61.90.101.107 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
    ขอบคุณครับคุณหมอ

ขอสรุปตามที่ผมจดมาจากที่ประชุมอีกสักรอบหนึ่งนะครับ

ข้อ 1. สร้างมิตรภาพบำบัด ระหว่างแพทย์และผู้เสียหาย

ข้อ 2. ปฏิรูประบบ โดยให้ลดการพึ่งพาแพทย์และโรงพยาบาลลง โดย อ.ประเวศฯ กำลังดำเนินโครงการ พยาบาลประจำ อบต. เพื่อคัดกรองผู้ป่วยในชุมชน ไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์ในหลายๆโรค

ข้อ 3. การเยียวยาและสมานฉันท์ต้องรวดเร็ว และเหมาะสม

ข้อ 4 . จะต้องมีองค์กรกลางที่วินิจฉัยตัดสินปัญหาขัดแย้งทางการแพทย์ ที่ประกอบด้วยคณะกรรมการจากคนนอกด้วย ไม่ใช่แพทย์อย่างเดียวแบบที่แพทยสภาทำอยู่ในปัจจุบัน

ข้อ 5. สร้างกระบวนการยุติธรรม "เชิงสมานฉันท์"

ผมว่านักข่าวไม่สามารถจับประเด็นได้ทั้งหมดนะครับ
โดย: เจ้าบ้าน [14 ม.ค. 49 21:16] ( IP A:58.9.177.3 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   4.ให้มีองค์กรกลางที่มีความโปร่งใสและเป็นธรรม โดยในเรื่องนี้กระทรวงสาธารณสุขต้องรับไปดำเนินการเช่นกัน และ
โดย: องค์กรเก่าต้องพิจารณาตัวเอง [14 ม.ค. 49 22:29] ( IP A:61.90.101.107 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ที่อเมริกาสาเหตุการตายอันดับ 4 ของประเทศ คือตายจากความผิด
พลาดทางการแพทย์

เครือข่ายฯ เรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุขของไทย เปิดเผยยอด
ตัวเลขการตายโดยความผิดพลาดทางการแพทย์ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตายโดยป้องกันได้ เปิดเผยตัวเลขไม่ปกปิดไว้อย่างทุกวัน
นี้ เมื่อรู้ตัวเลขว่ามียอดการตายสูงมากแค่ไหน จะได้ระมัดระวังนำไปเป็นบทเรียนสอนหมอ ถึงจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง เกาถูกที่คัน

รมต.อย่าไปตามใจแพทยสภาให้มากเกินไป พวกนี้ยังตอบคำถามที่
ทุจริตช่วยเหลือกันในคดีของคุณดลพร 10 ข้อไม่ได้สักข้อเลย แล้วยังจะนำคนเหล่านี้มาเสนอแนวทางแก้ปัญหาให้สังคมได้อย่างไร
โดย: ได้อย่างไร [15 ม.ค. 49 8:43] ( IP A:61.90.71.72 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   https://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9490000005403
โดย: เอามาฝาก [15 ม.ค. 49 9:26] ( IP A:61.90.71.72 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   บทเรียนของหมอคือ ความผิดพลาดป้องกันได้โดย
1.ทำให้น้อยที่สุด
2. ส่งต่อให้มากที่สุด หรือ
3.ถ้าไม่ทำอะไรเลย ก็ไม่ผิดพลาด
โดย: หมอไม่เปิดคลีนิค [15 ม.ค. 49 11:56] ( IP A:203.156.41.111 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   เรียนความเห็นที่ 6
ตามกฎหมาย คนที่ละเว้นไม่ทำอะไรเลยก็ถือว่าเป็นการกระทำ
เพราะนิยามของคำว่า การกระทำ ตามกฎหมายรวมถึง การละเว้นการที่ควรจะกระทำด้วย
ไปไม่รอดหรอก ศรีธนญชัยมีแต่ในนิยายการ์ตูน บนศาล ไปไม่รอดหรอกครับ
โดย: jjxyz [15 ม.ค. 49 13:42] ( IP A:61.90.101.107 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   https://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1137296719

https://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1137293979

https://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1137240493
โดย: ฝากให้ดูกัน [15 ม.ค. 49 15:54] ( IP A:61.90.9.153 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   เรื่อง "ตายโดยป้องกันได้" ในอเมริกาเนี่ย คงเอามาใช้ในเมืองไทยไม่ได้หรอกครับ มาตรฐานมันผิดกันหน่ะ ....

เรื่องนี้ต้องใจเย็นๆ ถ้ารีบร้อนมันจะพังกันทั้งระบบ .. เหมือนอย่างตอนนี้ที่กำลังเป็นอยู่ ...

ของที่นู่น เค้ามีเวลาให้คนไข้มากๆ ดังนั้น ถ้าเกิดอะไรผิดพลาดขึ้นมาก็ว่ากันไป ... แต่ของเรามีเวลาให้คนไข้แต่ละคนไม่มากขนาดนั้น ...


เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ย่อมเกิดขึ้นได้อยู่แล้ว ..


ดังนั้น ข้อมูลเรื่อง "ความผิดพลาดที่ป้องกันได้" จึงไม่เป็นประโยชน์ใดๆ ที่จะเอาออกมาเลย ... แทนที่จะทำให้เรื่องมันดี กลับทำให้อะไรๆๆ มันแย่ขึ้นทุกทีๆ


คงต้องทำใจยอมรับเรื่องสาธารณสุขไทยไปก่อนแหล่ะครับ ...



มันคงต้องใช้เวลาในการพัฒนาอ่ะนะ ... ใจร้อนเดี๋ยวก็แย่กันหมดพอดี
โดย: เราเอง [15 ม.ค. 49 21:19] ( IP A:203.113.61.103 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   เรียน ความเห็น 9

แสดงว่ามันเยอะมากจนน่าตกใจใช่หรือไม่
แล้วจะยังมาเกรงใจปกปิดกันไว้ทำไม
ตายโดยป้องกันได้วันละ 30 นี่ยังน้อย
แล้ววันพรุ่งนี้ถ้ามันวนมาเป็นญาติพี่น้องท่านจะว่าอย่างไร

เราเศร้ามากเลยที่การแก้ปัญหาในบ้านเมืองเรา
ยังเจอปัญหาลูบหน้าปะจมูก เกรงอกเกรงใจคนที่มีบารมี
คนพูดเก่งเป็นอาชีพกันอยู่
โดย: ยิ่งรู้มากยิ่งเศร้า [16 ม.ค. 49] ( IP A:61.91.84.69 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   คหที่10
ที่เยอะนั่นคือคนไข้ต่างหากล่ะ ว่างๆลองไปที่รพ.ชุมชนดู แล้วนับว่ามีหมอกี่คน มีคนไข้กี่คน (ทั้งคนไข้ในตึกและคนไข้นอกนะ)แล้วหารกันดู ว่าวันหนึ่งๆหมอคนนึงตรวจคนไข้วันละกี่คน แล้วเอาไปหารจาก 8 ชม ว่าคนไข้ 1 คนได้รับการตรวจกี่นาที ถ้า 1 คนได้รับการตรวจไม่ถึง 10 นาทีก็อย่าหวังว่าจะได้รับคุณภาพที่ดีเยี่ยม แต่ถ้าหมอตรวจคนไข้ 10 นาทีต่อคนก็คำนวณกลับว่า 8 ชม.รพ.จะสามารถ
ตรวจคนไข้ได้กี่คน ตัวเลขที่คำนวณได้ครั้งหลังนี่แหละที่ทุกคนต้องการเพระเป็นตัวเลขที่สามารถให้คุณภาพการรักษาที่ดีได้
แต่อย่าลืมดูความเป็นจริงด้วยว่าตัวเลขที่คำนวณได้กับความเป็นจริงมันต่างกันแค่ไหน นั่นล่ะคำตอบ ซึ่งมันไม่เกี่ยวกับพวกที่มีบารมีทั้งหลายแหล่เลย พวกนั้นจะมาทำงานลำบากลำบนอดหลับอดนอนทำไม มีแต่หมอตาดำๆนี่แหละที่ต้องก้มหน้าก้มตาทำงานตามนโยบายของคนพวกนั้น(เราไม่มีโอกาสได้ออกกฏหมายนี่หว่า ) ไม่ใช่เฉพาะพวกคุณหรอกนะที่เบื่อ ผมเป็นหมอผมก็เบื่อเหมือนกันพวกที่มีบารมีเนี่ย
โดย: 111 [16 ม.ค. 49 2:47] ( IP A:58.147.125.234 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน