เรื่องเก่านำมาเล่าใหม่
   แนวโน้มคนไข้"ฟ้องหมอ"เพิ่มขึ้น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ๒๕ ก.ค.-ผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายอาชีพชี้ การฟ้องหมอ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สาเหตุมาจากการคาดหวังบริการจากหมอไว้สูงแล้วไม่เป็นดังคาด หรือความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับคนไข้ไม่ดี ไม่สามารถยอมรับเหตุผลจากหมอได้ ขณะที่หมอขอความเป็นธรรม จากสื่อมวลชน อย่าพิพากษา และให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนเสนอข่าว อย่างไรก็ตามหากยึดมั่นในจริยธรรมแห่งวิชาชีพ เรื่องฟ้องร้องจะน้อยลง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดประชุมวิชาการเรื่อง"ฟ้องหมอ" เพื่อฉลองในโอกาสก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ ครบ ๕๐ ปี มีผู้ทรงคุณวุฒิร่วมอภิปรายคือ น.พ.ศุภชัย ถนอมสัตย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี หัวหน้าศูนย์ข้อมูลหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ผศ.น.พ.แมน อิงคตานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการสอบสวนแพทยสภา นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ดำเนินรายการโดย รศ.พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร รองเลขาธิการแพทยสภา รศ.พญ.ประสบศรี กล่าวว่า จากสถิติการทำความผิดของแพทย์จนมีการฟ้องร้อง สามารถแบ่งเป็นประเด็นความผิดดังนี้ โฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ๑๗๘ คดี ไม่รักษา มาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ๑๐๕ คดี ออกใบรับรองแพทย์เท็จ ๗๐ คดี สนับสนุน ผู้ที่ไม่ใช่แพทย์ทำการแทน ๖๒ คดี ไม่คำนึงความปลอดภัยและความสิ้นเปลืองของผู้ป่วย ๕๑ คดี ละทิ้งผู้ป่วย ปฎิเสธการรักษา ๔๖ คดี และกรณีที่เกิดขึ้นไม่ถึง ๓๐ คดี คือ ดำรงตนไม่เหมาะสมกับวิชาชีพ เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ทำแท้ง ปฎิบัติต่อ ผู้ร่วมวิชาชีพไม่เหมาะสม เปิดเผยความลับผู้ป่วย ชักจูงผู้ป่วยมารักษากับตนและ อื่น ๆ สำหรับสถิติการฟ้องร้องแพทย์นั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี โดยในสหรัฐ หมอ ๑ ใน ๖ คนจะถูกฟ้องร้อง แต่ละปีมีหมอไม่น้อยกว่า ๑๘,๐๐๐ คนถุกฟ้อง แต่คดีขึ้นสู่ศาล ไม่ถึงร้อยละ ๕๐ เพราะสามารถรอมชอมกันได้ ดังนั้น ค่ารักษาพยาบาลในสหรัฐ จึงแพงมาก เพราะบวกความเสี่ยงที่หมออาจถูกฟ้อง ไว้ด้วย ด้าน น.พ.ศุภชัย กล่าวว่า ตนเองมีประสบการณ์ตรง เป็นข่าวหน้า ๑ ทางหน้าหนังสือพิมพ์ติดต่อกันหลายวัน และถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย เนื่องจาก ทำคลอดแล้วทารกเสียชีวิต "ผมเป็นคนชลบุรี ใฝ่ฝันอยากเป็นหมอกลับมารับใช้บ้านเกิด เมื่อเรียนจบ จึงกลับมาทำงานที่โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา ซึ่งขณะนั้นเป็นโรงพยาบาลเล็ก ๆ มีคนไข้มาคลอดประมาณ ๑๐๐ คนต่อเดือน ต่อมาเพิ่มเป็น ๕๐๐-๕๖๐ คนต่อเดือน เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๓๗ มีคนไข้จะคลอดท้องที่ ๔ ซึ่งก่อนหน้านี้ คนไข้รายนี้ คลอดที่โรงพยาบาลเอกชนมาตลอด แต่ต้องการคลอดบุตรคนที่ ๔ กับผม จึงมาฝากท้อง ที่โรงพยาบาลรัฐ ผมดูแลคนไข้ตามปกติ จนถึงเวลา ๑๙.๐๐ น. อาการของคนไข้ ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าจะคลอดก่อน ๒๔.๐๐ น.จึงออกไปกินข้าวเย็น โดยสั่งพยาบาลไว้ว่า หากมีอะไรผิดปกติให้แจ้งทันที เพราะมีเครื่องมือสื่อสารพร้อม" น.พ.ศุภชัย กล่าวว่า เมื่อทำคลอดคนไข้รายนี้ปรากฎว่า ทารกคลอดออกมา ตัวซีดและรกลอกตัวก่อนกำหนด ได้พยายามช่วยเหลือทั้งแม่และเด็กไว้จนสุดความสามารถ แต่เด็กก็เสียชีวิตใน ๒ วันต่อมา และญาติคนไข้ต่อว่าเจ้าหน้าที่อย่างรุนแรง และได้ย้ายคนไข้ไปรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน ต่อมาวันรุ่งขึ้นก็ตกเป็นข่าวหน้า ๑ ของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ถูกพิพากษาว่าเป็นมาตกรในเสื้อกาว หมอทมิฬ หมออัปยศ โดยข้อเท็จจริงต่าง ๆ สื่อมวลชนที่เสนอข่าวไม่เคยข้อข้อมูลจากตนเลย และตนถูกฟ้อง ในข้อหาทำการโดยประมาท ทำให้บุตรถึงแก่ความตาย ทำหนังสือถึงแพทยสภา รัฐมนตรีว่า การกระทรวงสาธารณสุข จากการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจและแพทยสภา พบว่า น.พ.ศุภชัย ไม่มีความผิดตามที่ถูกกล่าวหา อัยการไม่สั่งฟ้อง และแพทยสภามีมติให้ยกเลิกข้อ กล่าวหา ซึ่งจากเหตุการณ์ที่ประสบมากับตัวเอง สร้างความเสื่อมเสียให้กับชื่อเสียง วงศ์ตระกูล ครอบครัวได้รับความเดือดร้อน จึงขอให้สื่อมวลชนตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนที่จะนำเสนอข่าว ทั้งนี้ กฎหมายอาญา มาตรา ๕๙ กำหนดไว้ว่า"การกระทำ โดยประมาท ได้แก่การกระทำความผิดมิใช่เจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัด ระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่" ส่วนนายชวรงค์ ในฐานะตัวแทนสื่อมวลชน ได้ยกตัวอย่างกรณีที่คนไข้ฟ้องร้อง หมอ และตกเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ เช่น "เข็มหลุดเข้าคอ ด.ญ.๕ ขวบ หมอฟันรักษา ชุ่ย ใช้เขี่ยสะกิดจุดที่เด็กปวด เจ็บดิ้นทุรนทุราย-หลุดมือ ต้องส่ง ร.พ.ผ่าตัด ช่วยชีวิต" "โวยโรงพยาบาลชุ่ยฉีดยาชาเด็กตาย" "ปัญหาที่เกิดขึ้น ผมมองว่า เกิดจากการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ แพทย์บางส่วนทำงานให้ภาคเอกชน ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานไม่เต็มที่ การแข่งขัน กันสูงของสถานพยาบาลเอกชน โอกาสที่หมอจะถูกฟ้องจึงมีมาก นอกจากนั้น หากความ สัมพันธ์ระหว่างหมอกับคนไข้ไม่ดี การบริการไม่ประทับใจหรือไม่เป็นไปตามที่คนไข้ คาดหวัง การฟ้องร้องกันก็เกิดขึ้นได้ง่าย" นายชวรงค์ กล่าวว่า หากความสัมพันธ์ระหว่างคนไข้กับหมอเป็นไปด้วยดีแล้ว การพูดคุยกัน จะทำให้คนไข้ยอมรับเหตุผลของหมอได้ อย่างไรก็ตาม ในแง่การเสนอข่าว ของสื่อมวลชนในปัจจุบัน ซึ่งมีการแข่งขันกันสูงและมีหลากหลายสื่อ สื่อมวลชนจะต้อง มีความรอบคอบในนำเสนอข่าว อย่างน้อยต้องเปิดโอกาสให้คนที่ตกเป็นข่าวได้ชี้แจง ข้อเท็จจริง ทางด้าน ผศ.น.พ.แมน กล่าวว่า ลักษณะสำคัญที่แพทย์จะถูกฟ้อง มี ๓ ประการ คือ ๑.ความเสียหายหรืออันตรายที่เกิดขึ้นนั้น ตามปกติธรรมดาจะไม่เกิดขึ้น ถ้าไม่ได้ เกิดจามความประมาทเลินเล่อของแพทย์ ๒.การเกิดอันตรายนั้น เกิดจากเครื่องมือหรือ การกระทำซึ่งอยู่ในระหว่างการควบคุมรับผิดชอบของแพทย์ ๓.การเกิดอันตรายนั้น ไม่ได้ เกิดจากการจงใจของคนไข้หรือคนไข้มีส่วนทำให้เกิดขึ้น ในส่วนของแพทยสภานั้นมีขั้นตอน ในการตรวจสอบด้านวินัยและจริยธรรม ซึ่งบางครั้งต้องใช้เวลาในการดำเนินการ อย่างไร ก็ตาม สิ่งที่ตนเป็นห่วงในขณะนี้คือ มาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรม และความ สัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ทั้งนี้ข้อบังคับแพทย์ว่าด้วยการรักษาจริยธรรม แห่งวิชาชีพ กำหนดไว้ว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมพึงยกย่องให้เกียรติ เคารพ และให้ศักดิ์ศรีวึ่งกันและกัน ไม่ทับถมให้ร้ายหรือกลั่นแกล้งกัน
โดย: คนฟ้องหมอ [14 มิ.ย. 49 14:24] ( IP A:58.9.194.152 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ทำหนังสือถึงแพทยสภา รัฐมนตรีว่า การกระทรวงสาธารณสุข จากการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจและแพทยสภา พบว่า น.พ.ศุภชัย ไม่มีความผิดตามที่ถูกกล่าวหา อัยการไม่สั่งฟ้อง และแพทยสภามีมติให้ยกเลิกข้อ กล่าวหา
โดย: แบบเดิมๆ [15 มิ.ย. 49 1:00] ( IP A:58.8.3.74 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   เหตุผลอยู่ทีไหน อธิบายให้ฟังได้ไหม หรือเล่าไม่ได้ เล่าได้แต่ว่าไม่มีมูล อัยการยกฟ้อง
โดย: ตรรก หน่อย [15 มิ.ย. 49 1:02] ( IP A:58.8.3.74 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน