เมื่อวันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมาไปประชุมกันที่ มารวย
   มีคุณหมอปราช รักษาการปลัดกระทรวงสาธารณสุขไปเปิดงาน ท่านบอกว่า " ผมไม่รู้ว่าคนที่ฟ้องอาญาหมอรู้สึกอย่างไร คิดยังไง ใจทำด้วยอะไร ถึงทำได้ลงไม่รู้ว่าเป็นทุกข์หรือเปล่า แต่ผมรู้แต่เพียงว่าหมอสองคนที่โดนฟ้องเป็นทุกข์ กินไม่ได้นอนไม่หลับแน่นอน
โดย: สุดทนแล้วที่ฟ้องอาญา [4 พ.ค. 49 15:07] ( IP A:58.8.5.27 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ไม่สนใจหรอก หมอไม่ใช่คน เหนื่อยไม่เป็น หิวไม่เป็น
จะไปมีความรู้สึกอะไร ดูสิ จะฟ้องซะอย่าง
เอาให้ไม่มีหมอในประเทศกล้ารักษาคนไทยอีกเลย
โดย: เครือข่าย [6 พ.ค. 49 7:18] ( IP A:203.188.50.20 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ใช่เหมือนกัน คนไข้มันไม่ใช่คน เจ็บปวดไม่เป็น
ยอมรับความชิบ...ยไม่เป็น บังอาจมาฟ้องหมอ
ไม่รู้จักเจียมตัว มันคนละชั้น ไม่รู้เสียแล้ว
เดี๋ยวเจอฟ้องกลับ เอาให้โงหัวไม่ขึ้น
พวกเอ็งจะล่มจมยังไง พวกไข้ไม่สนใจ
อย่ามาโอดครวญให้ได้ยิน รำคาญ
ชีวิตพวกมรึงจะมีค่าอะไร เทียบไม่ได้เลย
กับเทวดาอย่างพวกข้า วันนี้หมาที่บ้านข้า
ยังกินข้าวดีกว่าที่พวกมรึงกันเสียอีก
ตายก็ตายไป ทำใจซะ เดี๋ยวก็ลืม
พวกมรึงไม่มีหัวใจหรอก ประเทศไทยมีไว้ให้
พวกข้าครอบครอง ไชโย
โดย: คนไร้หัวใจ [6 พ.ค. 49 13:42] ( IP A:58.9.186.42 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ทำไมด่ากันแรงจังค่อยๆพูกันก็ได้
โดย: อยู่ลำพูนครับ [6 พ.ค. 49 21:38] ( IP A:203.156.38.190 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   สังคมไทยกับการแพทย์
โดย ศ. นพ. สมศักดิ์ โล่ห์เลขา



ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาสังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
ในอดีตผู้ป่วยฟ้องร้องแพทย์ต่อแพทยสภาว่า แพทย์ไม่คำนึงถึงความสิ้นเปลืองของผู้ป่วย
โดยกล่าวหาว่าแพทย์ให้ยาแพงโดยไม่จำเป็น หรือแพทย์ส่งตรวจมากไปทำให้ต้องเสียเงินมาก
หรือกล่าวหาแพทย์เอกชนว่ารับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น

ปัจจุบันการฟ้องร้องกลับเป็นเรื่องตรงข้าม

ผู้ป่วยฟ้องร้องว่า แพทย์ทำไมไม่ให้ยาปฏิชีวนะจนทำให้การติดเชื้อรุนแรงจนพิการ ทำไมแพทย์ไม่ส่งตรวจอัลตราซาวนด์ หรือ CT scan ทำให้วินิจฉัยโรคไม่ได้ หรือกล่าวหาว่ามาโรงพยาบาลแล้วทำไมจึงไม่รับไว้ในโรงพยาบาลในครั้งแรกทำให้อ าการหนักขึ้น ความหวังดีของแพทย์ที่จะพยายามประหยัดเงินให้ผู้ป่วยกลายเป็นผลเสียแก่ตนเอง เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะแต่ก่อนผู้ป่วยต้องจ่ายเงินเอง ผู้ป่วยต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ปัจจุบันผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ต้องจ่ายเพราะมีประกันสังคม หรือใช้หลักประกันสุขภาพสามสิบบาท หรือมีบริษัทประกันสุขภาพเอกชนเป็นคนจ่าย นอกจากนี้ผู้ป่วยมีความคาดหวังสูง ถ้าผลการรักษาไม่เป็นไปตามที่ผู้ป่วยต้องการ ผู้ป่วยก็พยายามจับผิดเพื่อหวังจะเอาเงินจากแพทย์หรือโรงพยาบาล

แต่เดิมผู้ป่วยจะขอให้แพทย์เป็นผู้ตัดสินใจในวิธีการรักษาที่แพทย์คิดว่าเหม าะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วย แต่ปัจจุบันแพทย์จะให้ได้แต่เพียงข้อมูลและคำแนะนำ ผู้ป่วยและญาติจะต้องเป็นคนตัดสินใจเอง โดยอาจไปขอความเห็นจากแพทย์ท่านอื่นหรือญาติพี่น้องก่อนก็ได้ถ้าไม่ใช่เรื่อ งเร่งด่วน แต่ก่อนไม่มีการเรียกร้องค่าเสียหาย ปัจจุบันผู้ป่วยรู้ว่ามีการเรียกร้องได้ บางคนคิดว่าถูกรางวัลหวังได้เงินจากแพทย์

แพทย์จะต้องปรับตัวอย่างไรกับสังคมที่เปลี่ยนไป

แพทย์จะต้องบอกถึงทางเลือกต่างๆ ให้แก่ผู้ป่วยหรือญาติทราบทั้งข้อดีและข้อเสีย ไม่ต้องคำนึงว่าเขาจะมีเงินจ่ายหรือไม่ หรือว่าจะเบิกได้หรือไม่ แพทย์ไม่ต้องไปคิดแทนผู้ป่วย จะต้องให้ผู้ป่วยคิดเองว่าเขาจะเลือกเอาวิธีใด แพทย์จะต้องบันทึกไว้เป็นหลักฐานว่าแพทย์ได้อธิบายแล้วแต่ผู้ป่วยปฏิเสธ ถ้าไม่บันทึกไว้ ผู้ป่วยอาจจะหาว่าแพทย์ไม่เคยบอก ปัญหาปัจจุบันคือ ผู้ป่วยจะเอาอย่างดีที่สุดและแพงที่สุด เพราะผู้ป่วยมีประกันสังคมหรือใช้หลักประกันสุขภาพโดยไม่ต้องจ่ายเงิน ถ้าใช้ของแพงโรงพยาบาลต้องจ่ายเอง โรงพยาบาลก็จะขาดทุนจนโรงพยาบาลอยู่ไม่ได้ โรงพยาบาลส่วนใหญ่ก็จะแก้ไขโดยมีเครื่องมือและยาจำกัด ถ้ามีแล้วไม่ให้ก็จะถูกฟ้อง มาตรฐานของโรงพยาบาลที่รับประกันสังคมและโครงการสามสิบบาทจะลดลงไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นโรงพยาบาลอนาถา ส่วนโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่เข้าโครงการก็จะปรับมาตรฐานให้สูงขึ้น มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากขึ้นเพื่อสร้างความแตกต่าง การแก้ไขทำได้โดยต้องให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วย หรือรัฐบาลให้ค่ารายหัวเพิ่มขึ้น หรือจ่ายตามความเป็นจริง หรือกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำไว้ให้โรงพยาบาลปฏิบัติ

ในอดีตคนไทยพุทธทราบว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสัจธรรมของมนุษย์ ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ ในศาสนาอิสลามเขาเชื่อว่าการตายนั้นได้ไปหาพระเจ้า แต่ปัจจุบันสังคมไทยส่วนหนึ่งคิดว่าเราต้องไม่ตาย ถ้าตายจะต้องเป็นความผิดของแพทย์ที่วินิจฉัยไม่ได้ หรือรักษาไม่หาย แต่เดิมโรคบางอย่างชาวบ้านกลัวมากเพราะถ้าเป็นแล้วอัตราตายสูง ถ้าไปหาแพทย์รักษาแล้วรอดชีวิตถือว่าโชคดี เช่น โรคไข้เลือดออก ปัจจุบันผู้ป่วยคิดกลับกันโดยผู้ป่วยคิดว่าโรคนี้ต้องไม่ตาย ถ้าตายต้องเป็นความผิดของแพทย์ ทั้งที่ความจริงผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนแรงมาก แม้วินิจฉัยและรักษาถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้นก็ยังตายได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อและพันธุกรรมของผู้ป่วยที่ทำให้ความรุนแรงของ โรคไม่เท่ากัน

แต่เดิมถ้าแพทย์ไม่คิดค่ารักษาพยาบาล โดยให้เงินสังคมสงเคราะห์ช่วย ผู้ป่วยจะรู้สึกขอบคุณแพทย์อย่างมาก ปัจจุบันผู้ป่วยไม่ได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลแต่ผู้ป่วยไม่คิดว่าแพทย์มีบุญคุณ

แต่ผู้ป่วยจะคิดว่าเป็นสิทธิของเขา บุคลากรทางการแพทย์มีหน้าที่รับใช้

บางคนมากล่าวหาแพทย์ของรัฐว่ากินเงินเดือนจากเงินภาษีของเขาทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เคยจ่ายภาษีรายได้เลย ขณะที่แพทย์จ่ายภาษีรายได้มากกว่าเขาหลายเท่า ความจริงแล้วเขาเอาเงินภาษีรายได้ของคนอื่นและบุคลากรทางการแพทย์มาใช้มากกว ่า

สังคมที่เปลี่ยนไปนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากประชานิยม รัฐพยายามทำให้ประชาชนพอใจโดยการให้แต่ไม่ได้สอนให้รู้จักหน้าที่และความรับ ผิดชอบต่อตนเองและสังคม อาจจะเห็นผลดีในระยะสั้นแต่จะสร้างปัญหาในระยะยาว การให้โดยไม่มีเหตุผลเหมือนเราให้ขอทานวันละสิบบาททุกวัน วันใดเราไม่ให้หรือให้น้อยลงขอทานก็จะโกรธ ด่าและขว้างของใส่เรา เพราะว่าเราให้เขาจนเคยชินกลายเป็นหน้าที่ ผลร้ายจะกลับมาสู่ผู้ให้ในที่สุด.
โดย: . [6 พ.ค. 49 23:33] ( IP A:203.156.42.123 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ไม่ต้องปรับตัวมากหรอก อาจารย์สมศักดิ์
แค่ยืดอกยอมรับความผิดพลาดแบบลูกผู้ชายอก 3 ศอก
ละเว้นการเอาสีข้างเข้าสี
เบี่ยงเบนประเด็น

ปัญหานี้มันอยู่ที่กลัวเสียหน้า...มันก็เท่านั้น
โดย: อยากอาเจียน [7 พ.ค. 49 13:15] ( IP A:58.9.196.58 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน