"แพทยสภา" คือใคร...?
   คำว่า "แพทยสภา" ในสายตาชาวบ้าน
ช่วยกันให้คำนิยามที ว่าเป็นอย่างไร...?
โดย: เช้าชาม เย็น 3 ชาม ดึกอีกชาม [21 พ.ค. 51 12:19] ( IP A:58.9.189.19 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   สำหรับเราแล้ว "แพทยสภา" คือ
สถานที่ ที่ชีวิตนี้เข้าไปแล้วมารู้ตัวทีหลังว่า
"คิดผิด" และไม่อยากให้อภัยตัวเองมาจนถึงทุกวันนี้
โดย: คนคิดผิด [21 พ.ค. 51 12:23] ( IP A:58.9.189.19 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
    "แพทยสภา" คือหัวหน้าหมอไง ดูแลหมอ ให้ท้ายหมอทำผิด ปกบิดความผิดให้หมอที่ทำผิดไง
รู้แค่นี้ค่ะ สมองขี้เลื่อย.....
โดย: น่าจะเรียกว่าหัวหน้าโจรรรรรร [21 พ.ค. 51 18:42] ( IP A:61.19.65.61 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   สำหรับผมนะครับ "แพทยสภา" คือเครื่องยืดเวลาให้ "จุดจบ" ยาวนานขึ้นไปอีกทั้งๆที่จุดจบพร้อมหมดแล้ว
โดย: อนาคตมีทางเลือกเสมอ [21 พ.ค. 51 22:20] ( IP A:222.123.67.163 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   อธิบายคำว่า "จุดจบ" ของคุณให้กระจ่าง
ว่าจบแบบไหน...?
แบบที่แพทยสภากำหนด
แบบที่หมอกำหนดเอง
หรือแบบที่ผู้เสียหายช่วยกันกำหนด
โดย: อยู่ที่จะจบแบบไหน...? [21 พ.ค. 51 22:36] ( IP A:58.9.207.74 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ไม่ขอตอบครับต้องวิเคราะห์เอาเอง ความรู้สิกถูกฝังรากลิกเกินหยั่งรู้บางครั้งชะตาก็ต้องการผู้กล้าและผู้เสียสละ
โดย: อนาคตมีทางเลือกเสมอ [21 พ.ค. 51 23:50] ( IP A:222.123.67.163 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   เห็นเหมือนกับ คห ที่ 3 ครับ

ตัวหน่วยงานไม่เหลือสถานะในการยอมรับและความเชื่อถือได้จากสาธารณชนในทางปฏิบัติแล้ว โดยรวมคือถูกปิดล้อมโดยสนิท

แค่รอเวลาให้ถูกกระบวนการทางกฎหมายมหาชนและการลุกขึ้นเรียกร้องทางมวลชนในการดำเนินการลงโทษเท่านั้น

น่าเสียดายที่ทั้งหมดในนั้นก็ล้วนรับพระราชทานปริญญาจากองค์ในหลวงทั้งนั้น
โดย: คนเหมือนกัน แค่ดีหรือชั่วเท่านั้น [22 พ.ค. 51 8:07] ( IP A:58.8.99.207 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   แพทยสภา คือแหล่งกอบโกยผลประโยชน์ของเหล่า
แพทย์แก่ ๆ บางคน (หลายคน) ที่แพทย์แก่ ๆ บางคนก็
ไม่เห็นด้วย แต่ก็ไม่กล้าปริปากจะคัดค้านอะไร เพื่อความอยู่รอด
นิ่งเสียตำลึงทอง ได้แต่มาขอร้องเครือข่ายฯ ว่า
คราวหน้าถ้าจะด่าแพทยสภา ให้ใช้คำว่า "บางคน" หรือ
กำหนดชื่อไปเลย

ฟังดูดีนะ แต่เหมือนกำลังหลอกล่อให้พวกเราหลงกล
เพื่อจะฟ้องกลับยังไงยังงั้นเลย
โดย: นี่หรือคือแพทยสภาของไทย [22 พ.ค. 51 8:55] ( IP A:58.9.194.253 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   แพทยสภาคือมูล (ข-..) เขาก็เลยไม่อยากให้มูลกับใคร
5555
โดย: เด็กไร้เดียงสา [22 พ.ค. 51 9:32] ( IP A:124.157.177.193 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   ความคิดเห็นที่ 5
ไม่ขอตอบครับต้องวิเคราะห์เอาเอง ความรู้สิกถูกฝังรากลิกเกินหยั่งรู้บางครั้งชะตาก็ต้องการผู้กล้าและผู้เสียสละ
แล้วใครควรเป็นผู้กล้าและเสียสละ ถ้าไม่ทำกันเอง จะให้ตายโชว์อีกกี่ราย พิการอีกกี่ราย มันถึงจะเรียกว่าเป็นผู้กล้าและเสียสละ????
โดย: ดีไม่ตายฟรี..... [22 พ.ค. 51 11:52] ( IP A:61.19.65.150 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   ขอยกข้อเขียนของอาจารย์หมอวิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ ที่ปรากฏอยู่ที่

https://www.medlawstory.com/medlawtalk.php?act=show&nr=228

ซึ่งบอกเจตนาของแพทยสภายุคของกรรมการกลุ่มนี้ได้ชัดเจนดี เป็นผลงานด้านหาเสียงเพื่อจรรโลงอคติของแนวร่วมในวิชาชีพ ที่ผมขอกล่าวหาว่า เป็นการทุจริตเชิงนโยบาย ไม่แตกต่างจากที่พรรค พ.ป.ช. กำลังเร่งแก้รัฐธรรมนูญเพื่อฟอกผิดตัวเองและพวกพ้องจ้าวนายตัวจริง คิดกันดูทีว่า เงินภาษีของประเทศที่นำมาจ่ายค่าตัวคนเหล่านี้ พวกเขาได้ทำตามหน้าที่ ทำในสิ่งที่สมควรทำด้วยสำนึกผิดชอบ ชั่วดีกันหรือไม่???


ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดและวิธีพิจารณาความสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ พ.ศ............... อันตรายสุดสุดสำหรับแพทย์
---------------------------------
ศ.น.พ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ (อดีตเลขาธิการแพทยสภา)


ผมได้ติดตามร่าง พ.ร.บ.ความรับผิดและวิธีพิจารณาความสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ที่ตีพิมพ์ในวารสารคลินิก ฉบับที่ 3 มี.ค.2551 ที่เสนอโดยเลขาธิการแพทยสภาแล้ว เกิดความรู้สึกว่า กรรมการแพทยสภาชุดนี้พยายามจะผลักดันนโยบายที่เคยหาเสียงไว้กับสมาชิก ที่ว่า “แพทย์ต้องไม่ถูกฟ้องเป็นจำเลยคดีอาญา ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยสุจริต” นโยบายแบบนี้ผมเคยวิจารณ์ว่าเป็น การโฆษณาชวนเชื่อ และนอกเหนือหน้าที่ของแพทยสภาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ (ดูมติชน 25 ธค.2549 หน้า 7) แต่เมื่อได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว กลับเห็นว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อเกียรติภูมิของผู้ประกอบวิชาชีพในกระบวนการยุติธรรม อย่างร้ายแรง อันจะก่อให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ทั้งมวล ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. การใช้ถ้อยคำว่า สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพนั้น ทำให้เชื่อว่า ร่างกฎหมายนี้ จะทำให้เกิดประโยชน์กับผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลและวิชาชีพใกล้เคียงอื่น ๆ ด้วย แต่ในบทความนั้นเองก็ยอมรับว่า ร่างกฎหมายนี้ มาจากเลขาและทีมเลขาธิการแพทยสภา จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายนี้ประสงค์จะปกป้องแพทย์เป็นหลักเพราะไม่ปรากฏว่าผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ๆ มีส่วนเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด
2. เนื้อหาของร่างกฎหมายนี้เท่าที่ปรากฏในหมวด 2 ว่าด้วยวิธีพิจารณาความสำหรับการประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ซึ่งมีทั้งหมด 7 มาตรานั้น มีผลกระทบที่มีลักษณะเป็นการก้าวล่วงในความเป็นอิสระในวิชาชีพที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมทั้งสิ้น ดังนี้
ร่าง มาตรา 12 เมื่อได้แจ้งความร้องทุกข์ หรือกล่าวโทษ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ก่อนที่พนักงานสอบสวนจะดำเนินการต่อไป ให้ขอความเห็นทางวิชาการไปยังสภาวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อนำไปประกอบการพิจารณา
ร่างมาตรานี้ อยากจะถามว่า ถ้าผู้อ่านเป็นพนักงานสอบสวน ถ้ามีกฎหมายเช่นนี้ จะมีความรู้สึกอย่างไร
ร่างมาตรา 13 เมื่อพนักงานอัยการได้รับจำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวนแล้ว ก่อนการดำเนินการพิจารณาเพื่อสั่งฟ้องคดี อันเกี่ยวเนื่องมาจากผลแห่งการประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ให้พิจารณาความเห็นทางวิชาการ จากสภาวิชาชีพด้านสุขภาพก่อน
ร่างมาตรา 14 ในกรณีที่ผู้ได้รับผลกระทบอันไม่พึงประสงค์ ทายาท ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาล ของผู้ได้รับผลกระทบแล้วแต่กรณี ฟ้องต่อศาลโดยตรง ให้ศาลดำเนินการไกลเกลี่ย คู่กรณีที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยมีผู้แทนจากสภาวิชาชีพด้านสุขภาพ และที่ปรึกษาด้านกฎหมาย หรือทนายความของผู้ถูกกล่าวหาอยู่ด้วยทุกครั้ง
ร่างมาตรา 15 ในการไต่สวนมูลฟ้อง และในการพิจารณาคดีให้ศาลรับฟังความเห็นจากพยานผู้เชี่ยวชาญ ที่เป็นกลางจากสภาวิชาชีพ เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
ทั้งสามมาตราข้างต้น ควรจะลองสอบถามพนักงานอัยการ และผู้พิพากษา ว่าจะเป็นการก้าวล่วงเข้าไปในความเป็นอิสระของ 2 วิชาชีพดังกล่าวหรือไม่เพียงใด และสภาวิชาชีพด้านสุขภาพ มีความสำคัญขนาดไหน ในกระบวนการยุติธรรม
ส่วนร่างมาตรา 16, 17, 18 นั้น ก็อยู่ในกรอบที่บทบัญญัติของกฎหมายปัจจุบัน จะปฏิบัติได้อยู่แล้ว

3. บทกำหนดโทษตามร่าง มาตรา 20, 21 และ 22 นั้น ก็เท่ากับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300 และมาตรา 390 ตามลำดับ นั่นเอง เพียงแต่ใช้คำว่าประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แทนคำว่า “โดยประมาท” ในประมวลกฎหมายอาญา เท่านั้น แต่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 ที่จะต้องนำไปใช้กับบทกฎหมายที่มีความผิดอาญาทุกชนิด ไม่มีคำว่า “ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” อยู่เลย ความผิดตามร่าง มาตรา 20, 21 และ 22 จะเกิดขึ้นได้อย่างไร ? และจะเอามาตรฐานอะไรไปแยกกันระหว่าง “โดยประมาท” กับ “ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” ใน พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มีคำว่าประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในมาตรา 8 แต่ก็มิได้มีนิยามศัพท์กำกับไว้ เป็นเรื่องที่ศาลจะพิจารณาเป็นแต่ละกรณี และก็เป็นกฎหมายแพ่งที่ศาลจะวินิจฉัยได้กว้างกว่า บทบัญญัติที่กำหนดโทษอาญา ดังนั้นในร่างมาตรา 20, 21 และ 22 การกำหนดโทษอาญาแบบนี้ จะมีผลให้กฎหมายใช้บังคับไม่ได้ จึงกลายเป็นว่าแพทย์หรือผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ ไม่ต้องรับผิดอาญาในมาตรา 291, 300 และ 390 ไปโดยสิ้นเชิง
เพราะฉะนั้นในเรื่องโทษนี้ ประชาชนทั่วไปและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ๆ จะมีความรู้สึกต่อผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ อย่างไร โดยเฉพาะร่างกฎหมายนี้มาจากแพทยสภาเอง
ความจริงถ้าเราจะเข้าใจความเป็นมาของประมวลกฎหมายอาญา มาตราที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดโดยประมาท ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดเพียง 7 มาตราเท่านั้น คือ มาตรา 205, 239, 291, 300, 311 และ 390 ความผิดเหล่านี้ เป็นความผิดที่มีองค์ประกอบว่าเป็นการกระทำโดยประมาทนั้น ที่มาของความผิดเหล่านี้ มีรากฐานมาจากกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายสมัยใหม่ฉบับแรกของไทย และได้รับแนวคิดมาจากประมวลกฎหมายของประเทศที่ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil law) (ดูใน แสวง บุญเฉลิมวิภาส ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย วิญญูชน กรุงเทพฯ 2543 : 209-234) ดังนั้นประมวลกฎหมายอาญาของฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมัน จึงมีความผิดคล้าย ๆ กับมาตรา 291, 300 และ 390 สำหรับประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ความประมาทเลินเล่อในทางอาญา เขาใช้คำว่า Recklessness หรือ Criminal negligence ซึ่งเราพยายามจะแปลว่า ประมาทเลินเล่ออย่างร้าย แต่ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ปัญหานี้วินิจฉัยโดยคณะลูกขุน (ระบบของเราไม่มีลูกขุน ก็ต้องวินิจฉัย โดยศาล ไม่ใช่หน้าที่สภาวิชาชีพแต่อย่างใด)
ถ้าลองย้อนไปศึกษากฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 จะพบว่า มาตรา 43 วรรค 3 บัญญัติไว้ดังนี้
“ที่ว่าการกระทำโดยประมาทนั้น ท่านอธิบายว่าบุคคลกระทำโดยมิได้ตั้งใจ แต่กระทำโดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้คือ
(1)กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง อันควรวิไสยปรกติชนก็ดี
(2)ถ้าเป็นผู้หาเลี้ยงชีพด้วยศิลปะศาสตร์ ในกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น เป็นหมอหรือเป็นช่าง เป็นต้น ละเลยการอันควรต้องทำให้ดีในทางศิลปะศาสตร์นั้นเสียก็ดี
(3)ทำฝ่าฝืนกฎหมาย ข้อบังคับ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี
เหล่านี้ถ้ากระทำโดยมิได้ตั้งใจท่านว่ามันกระทำโดยฐานประมาท

ดังนั้นประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300 และ ม.390 ถ้าพิจารณาจากกฎหมายลักษณะอาญาข้างต้นและก็ต้องรวมการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพ (ทุกประเภท) เข้าไว้ด้วยทั้งสิ้น

จากเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมด ผมเกรงว่าถ้าบุคคลในวิชาชีพอื่น หรือประชาชนทั่วไป อ่านพบร่างกฎหมายที่เสนอโดยแพทยสภาแล้วจะเกิดทัศนะคติทางลบกับผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์โดยทั่วไป เพราะเขาจะนึกว่า แพทยสภาเป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทยทุกคน แพทย์ในประเทศไทยจึงมีความคิดที่จะมีอภิสิทธิ์ เหนือประชาชน และผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ดังที่แสดงออกโดยเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว ผมจึงจำเป็นต้องเขียนบทความนี้ เพื่อแสดงว่าผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วย กับร่างกฎหมายดังกล่าว เพราะจะเกิดความรู้สึกไม่ดีต่อผู้ประกอบอาชีพแพทย์ในประชาชนทั่วไป และผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อเกียรติศักดิ์และแห่งวิชาชีพของแพทย์แต่ละคนเลย นับว่าอันตรายอย่างยิ่ง

ศ.น.พ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [23 พ.ค. 51 9:39] ( IP A:58.8.99.207 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
    แพทย์ในประเทศไทยจึงมีความคิดที่จะมีอภิสิทธิ์ เหนือประชาชน และผู้ประกอบวิชาชีพอื่น
โดย: แล้วทำไมไม่อยู่ภายใต้กฎหมายเล่มเดียวกัน? [23 พ.ค. 51 10:32] ( IP A:61.19.65.246 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   แพทยสภา ณ วันนี้
คือองค์กรที่ยังหลงตัวเองว่าสามารถให้ความเป็นธรรมกับสังคมได้
ทั้งที่หมดสภาพไปนานแล้ว
โดย: เครือข่ายฯ [23 พ.ค. 51 20:23] ( IP A:58.9.201.33 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   แพทยสภา คือ หน่วยงานที่คนดี ๆ ตรงไป ตรงมา...อยู่ไม่ได้
อย่าพูดว่าอยู่ลำบากเลย อยู่ไม่ได้เลยจะดีกว่า
หากไม่ตามน้ำ ก็จะอยูไม่ได้

ประเทศนี้ ทำให้พวกเราอยู่ลำบาก พึ่งใครไม่ได้
คนดีไม่มีให้พึ่ง คนดีไม่กล้าหาญ คนดีที่กล้าหาญ
ก็ถูกคนชั่วที่มีมากกว่ากำจัด

นี่หรือประเทศของเรา ทำไมเราถึงปล่อยให้คนไม่ดี
ได้ครองอำนาจ ได้ครองบ้าน ครองเมือง
โดย: เก็บกด [24 พ.ค. 51 9:27] ( IP A:58.9.193.251 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
    แล้วใครเลือกคนไม่ดีกลุ่มนั้นไปทำงาน

ไม่มีใครปรับเปลี่ยนคนกลุ่มนั้นได้เลยรึ ประเทศไทย?

ประชาชนจะพึ่งใคร ถ้าพึ่งไม่ได้ก็ไม่ต้องตั้งมาให้สวยหรู มันเปลืองงบ

ประมาณชาติเปล่า ๆ
โดย: สมองขี้เลื่อยก็เซ็งมั๊กๆๆ ค่ะ [24 พ.ค. 51 17:00] ( IP A:61.19.65.137 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน