consumer.pantown.com
Thai Iatrogenic Network รวมกระทู้เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ <<
กลับไปหน้าแรก
เพศที่ 3 ยังถูกละเมิด
https://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=31902&catid=
ผู้อ่าน 16 คน วันที่ 20 พฤษภาคม 2551 เวลา 22:18:06 น. ส่งข่าว พิมพ์ข่าว - ขนาดข้อความ +
นายวิทิต มันตาภรณ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้รายงานพิเศษสหประชาชาติว่าด้วยสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเกาหลีเหนือ กล่าวเสวนาเรื่องการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศด้านความหลากหลายทางเพศ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ว่า ประเทศไทยยังโชคดีที่ไม่มีกฎหมายลงโทษคนที่มีความหลากหลายทางเพศ แต่ยังมีปัญหาตรงหลักปฏิบัติที่หละหลวมและละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ อย่างกรณีล่าสุดที่สภากาชาดไทยไม่รับบริจาคเลือดของเกย์ อ้างว่ามีความเสี่ยงที่เลือดจะติดเชื้อเอดส์ รวมทั้งยังไม่มีกฎหมายรองรับคนที่แปลงเพศ
นายจาตุรนต์ วรรณนวล อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กล่าวว่า ขณะนี้มีมหาวิทยาลัยรัฐบางแห่งละเมิดสิทธิกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะนักศึกษาสาวประเภทสองที่สวมกระโปรง แต่งหน้า จะถูกห้ามเข้าห้องสอบ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะกรรมการสอบคัดเลือก ประกาศกับคณะกรรมการทุกคนว่า จะไม่รับนักศึกษาที่มีพฤติกรรมตุ้งติ้งคล้ายผู้หญิงเข้าสอบในคณะแพทย์ เป็นต้น
โดย: ฟฟ [20 พ.ค. 51 23:12] ( IP A:58.8.4.218 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
แล้วคนประเภทนี้เขาเป็นคนหรือไม่?
แล้วคนประเภทนี้เขาอยากเกิดมาได้ฮอร์โมนที่ผิดปกติหรือ?
หรือว่าธรรมชาติสร้างเขามาผิดๆ?
ทุกคนเป็นคน ค่าความเป็นคนเท่ากัน ผิด/ถูกดีชั่วมีเหมือนกัน ทำไมต้องแบ่งแยกความเป็นคนให้เขาด้วย?
ข่าวเรื่องเป็นเอดส์แล้วจะตาย ลบทิ้งไปได้แล้ว เมืองไทย ทำไมไม่ทำ?
สังคมยอมรับคนประเภทไหน?? ขี้ฉ่อ หลอกลวง ขี้โกง หวังผลประโยชน์เพื่อตัวเอง ให้ข่าวเท็จมั่วนิ่ม หรือสื่อไม่เป็นกลางที่น่ากลัวกว่ากระเทยหรือคนเพศที่ 3 นี้เยอะ.......กว่าอีก
ท่านว่าจริงไหม?
แค่เขาเป็นคนดีได้ในสังคม เรื่องอื่นจะไปตามแก้ทำไม เรื่องเลวร้ายกว่านี้น่าแก้ไขกว่าอีกทำไม ไม่ทำกัน อันนี้สมองขี้เลื่อยก็ไม่ค่อยเข้าใจ
บอกได้คำเดียว ว่า เบื่อค่ะ ประเทศไทย จะอดข้าวตายอยู่แล้ว????
โดย: - Gross Negligence. [21 พ.ค. 51 9:01] ( IP A:61.19.65.244 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
เอ ผมว่านะ เรื่องละเมิดสิทธมนุษยชน ต้องแยกประเด็นพิจารณาเป็นเรื่องๆนะ เพราะค่อนข้างซับซ้อนเหมือนกัน
ผมเห็นว่าที่สภากาชาดระงับการรับบริจาคเลือดจากกลุ่มเพศที่สาม ก็สมควรแล้ว เพราะถ้าเถียงแทนในแง่เดียวกัน เค้าก็ต้องรักษาสวัสดิภาพและความปลอดภัยในการรับเลือดบริจาคของสาธารณชนทั่วไปที่ต้องมารับไปใช้ต่ออีกทอดด้วย เป็นสิทธิขั้นมูลฐานของคนไข้ที่จะต้องรับเลือดบริจาคจากหน่วยงานนี้ไปใช้ ผ่านการรักษากฎระเบียบและมาตรฐานทางวิชาการภาคปฏิบัติที่หน่วยงานนี้ต้องยืนกรานรักษาไว้ ผมขอสนับสนุน
ส่วนสิทธิในการเรียนวิชาชีพเฉพาะหลายๆอาชีพของบุคคลในเพศที่สาม ก็ต้องให้แก่คนเหล่านี้ไปด้วย เพราะเป็น "คน" เหมือนกัน
แต่ก็ต้องจำกัดด้วยในบางกรณี เช่น ผมเห็นว่าวิชาชีพครูระดับอนุบาล รวมตลอดถึงผู้ที่เป็นฝ่ายบริหารของการศึกษาระดับนี้ "ต้องห้าม" สำหรับบุคคลในเพศที่สามไม่ว่าท่านจะแสดงตัวหรือไม่
และอาจต้องคลุมไปถึงครูระดับประถมต้นด้วย ทั้งนี้เพื่อรักษาสิทธิของนักเรียนระดับนั้นในการใช้เวลาในชีวิตวัยขนาดนั้นตามการศึกษาในระบบปรกติ จากครูซึ่งถือเป็นพ่อ/แม่พิมพ์ที่มีสถานะและพฤติกรรมในการแสดงออกของเพศที่เป็นปรกติธรรมชาติ ตรงนี้เป็นสิทธิของมวลชนเด็กในวัยขนาดนั้นด้วยที่ต้องไม่ไปละเมิดเขา ที่เป็นคนและเป็นพี่น้องลูกหลานเรากันเองเช่นกัน
ขณะที่เด็กในวัยที่ว่านั้น และอาจคลุมไปถึงวัยรุ่นระดับมัธยม ที่แสดงพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ ก็ต้องมีสิทธิได้รับการคัดเลือกและเข้าเรียนในโรงเรียนโดยไม่เลือกปฏิบัติแยกจากเด็กอื่นเช่นกัน ต้องถือว่ายังให้โอกาสเขาได้ปรับตัวหรือเลือกสถานะตัวเองไปจนกว่าวุฒิภาวะจะแข็งแรงพัฒนามากกว่านั้น
แล้วถ้าว่าเลยไปถึงนักศึกษาอย่าง ม.ราชภัฏฯ หากเป็นคณะวิชาที่จบมาแล้วไม่ได้มีอาชีพที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการศึกษาหรือต่อวัยเรียนของมวลชนกลุ่มที่เป็นเยาวชน ก็ไม่ควรไปจำกัดสิทธิในการแสดงออกของสถานะทางเพศของเขา เพราะถือว่าโตขึ้นแล้วระดับหนึ่งที่ควรสำนึกได้เองว่า เรื่องอะไร ควรหรือไม่ ในวัฒนธรรมแบบสังคมไทย
แต่หากเป็นคณะวิชาด้านครู หรือ ด้านจิตวิทยาทางการศึกษา ถ้าขืนปล่อยให้คนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงทางเพศได้ทำอะไรตามอำเภอใจ แล้วเวลาที่เขาออกไปฝึกไปสอนนี่ ใครรับประกันได้บ้างว่าเขาหรือเค้ากลุ่มนี้จะสอนลูกศิษย์ทำตัวได้ตามธรรมชาติของเพศที่เป็นมาแต่เกิด????
ที่สุดนะ สิทธิมนุษยชนด้านไหนๆก็แล้วแต่ ก็ต้องมีสำนึกถึงประโยชน์สุขขั้นพื้นฐานของผู้คนโดยรอบทั้งหมดด้วย ไม่งั้นสังคมก็คงไม่สงบเอาซะเลย
โดย: คนเหมือนกัน แค่เหมาะหรือไม่? [21 พ.ค. 51 9:23] ( IP A:58.8.104.126 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
แต่หากเป็นคณะวิชาด้านครู หรือ ด้านจิตวิทยาทางการศึกษา ถ้าขืนปล่อยให้คนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงทางเพศได้ทำอะไรตามอำเภอใจ แล้วเวลาที่เขาออกไปฝึกไปสอนนี่ ใครรับประกันได้บ้างว่าเขาหรือเค้ากลุ่มนี้จะสอนลูกศิษย์ทำตัวได้ตามธรรมชาติของเพศที่เป็นมาแต่เกิด????
จากความเห็นข้างต้น ที่เราเจอมาเองคือครูแพทย์ เป็นแบบนี้ สันดานเป็นอีแอบ ชอบตัดแต่ง ต่อเติม เขียนเวชระเบียนเท็จ ปกปิดความไม่ชอบมาพากลของตัวเอง น่าสนใจว่าเขาจะเป็นใหญ่เป็นโตได้ถึงคณะบดีรามาไหม เคสนี้คงเดาได้ว่าแพทยสภาไม่เคยตอบว่า มีมูล ทั้งที่หลักฐานเยอะแยะเป็นกะตั้ก
คงต้องรอกฎแห่งกรรมตามทันอย่างเดียว
โดย: วิชัยยุ [21 พ.ค. 51 21:22] ( IP A:124.121.142.108 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
จะดี จะชั่วขึ้นอยู่กับเจตนาที่ บริสุทธิ์ เพศไหน ก็ ดี ได้ ชั่วได้ อยู่ที่ตัว บุคคลมากกว่า กลุ่ม ................. จากเพศ ที่ 4
โดย: KEN [26 พ.ค. 51 12:03] ( IP A:203.130.131.194 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
นักศึกษาเพศที่สาม เบ่งบานในรั้วมหา"ลัย
ข่าวสด - ประเทศไทยเป็นประเทศอันดับต้นๆ ของโลกที่ชาวต่างประเทศ นิยมเดินทางมารักษาตัวและผ่าตัดแปลงเพศ โดยเฉพาะแปลงเป็นหญิง
ขณะเดียวกัน ไทยเป็นสังคมที่มีสาวประเภทสองเพิ่มจำนวนมากขึ้น และเปิดโอกาสให้กลุ่มเพศที่ 3 มีบทบาททางสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ
อย่างไรก็ตาม จากกรณีคณะอนุกรรมการด้านส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาค ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกับเครือข่ายความหลากหลายทางเพศ จัดสัมมนาเรื่อง การส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ด้านความหลากหลายทางเพศตามหลักการยอกยาการ์ตา (The Yogyakatra Principles)
นักวิชาการได้ออกมาเปิดเผยว่า ในประเทศไทย คณบดีคณะแพทย์บางมหาวิทยาลัย ประกาศไม่รับกะเทยเข้าเรียนต่อ เน้นรับเฉพาะชายจริง-หญิงแท้เท่านั้น
หรือมหาวิทยาลัยบางแห่งห้ามนักศึกษากะเทยที่แต่งหน้าหรือใส่กระโปรงเข้าสอบ
และตั้งคำถามว่า เหตุใดประเทศไทยซึ่งให้ความสำคัญเรื่องสิทธิมนุษยชน ยังมีความพยายามกีดกันและต่อต้านกลุ่มคนเพศที่ 3
สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) ถือว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เปิดกว้างสำหรับกลุ่มคนเหล่านี้ ถึงขนาดจัดเวทีประกวดความงามให้กับนักศึกษากลุ่มนี้จนเป็นข่าวฮือฮามาแล้ว
รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ รองอธิการบดี มสด. อธิบายว่า มหาวิทยาลัยมีนโยบายไม่กีดกันเรื่องการแต่งกายของนักศึกษา เพราะเข้าใจว่านักศึกษากลุ่มเพศที่ 3 ได้รับความกดดันจากสังคมอยู่แล้ว
จึงอยากให้นักศึกษากลุ่มนี้รู้สึกว่ามีที่พึ่ง เข้าใจสภาวะของนักศึกษา ทั้งนี้มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับเสรีภาพขั้นพื้นฐานของนักศึกษาทุกเพศ
โดยเราต้องมองว่า สังคมไทยยังมีทัศนคติที่มองว่าคนที่เป็นกะเทย เกย์ ทอม เป็นอาการป่วยและมองว่าเป็นปัญหา
รศ.ดร.สุขุม กล่าวต่อไปว่า การที่สังคมไทยยังไม่ยอมรับการดำรงชีวิตของคนกลุ่มนี้ เข้าใจว่า หากยอมรับแล้วจะเป็นการให้ท้ายหรือส่งเสริมให้เด็กเป็นแบบนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ เพราะเด็กมีสภาพจิตใจที่เบี่ยงเบนไปเป็นเพศหญิงอยู่แล้ว
เราเป็นครูอาจารย์ ต้องเข้าใจนักศึกษาว่า มีหลากหลาย เมื่อมีการจัดประกวดดาวและเดือนของมหาวิทยาลัย สำหรับนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง
จึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่เป็นสาวประเภทสองได้มีเวทีประกวดมิสเลดี้..เลดี้ เพื่อให้มีเวทีแสดงออก และดูแลให้นักศึกษาอยู่ในกรอบที่เหมาะสม เช่น การแต่งกายชุดนักศึกษาที่ไม่สั้นจนเกินไป แต่งให้เหมือนผู้หญิง เป็นต้น
ปัจจุบันสวนดุสิตมีนักศึกษาเพศที่ 3 เรียนอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเด็กไปบอกต่อว่า สวนดุสิตเปิดกว้างและให้อิสระ
"จากการคลุกคลีกับนักศึกษาที่เป็นกะเทย ส่วนใหญ่มีความตั้งใจสูงสุดว่าจะมุ่งไปผ่าตัดแปลงเพศ มีจิตใจที่ต้องการเป็นผู้หญิงตามความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่ต้องการความรักจากเพศชาย ก็พยายามสอนเรื่องการดำรงชีวิตในสังคม เรื่องนี้ครู อาจารย์ต้องเปิดใจยอมรับและให้คำปรึกษากับเด็กอย่างแท้จริง การแต่งตัวเป็นแค่เปลือกนอกของนักศึกษา แต่สิ่งสำคัญต้องเข้าใจให้ถึงจิตใจส่วนลึก สุขภาพจิตของเด็กที่ขาดความมั่นใจในตัวเอง"
"ผมยืนยันว่า เราไม่ได้ส่งเสริมให้เด็กเป็นกะเทยและมุ่งจะไปผ่าตัดแปลงเพศ เพียงแต่ยอมรับในตัวตนและสอนให้เด็กค้นหาตัวตนของตนเอง หากมีจิตใจเป็นกะเทยจริงๆ เราก็ไม่ต่อต้าน" รองอธิการบดี มสด. กล่าว
สำหรับกรณีบางวิชาชีพอย่าง แพทยศาสตร์ หรือ ทหาร ที่ไม่ยินยอมให้เพศที่ 3 เข้าเรียนได้นั้น รศ.ดร.สุขุม มองว่า ต้องเคารพในแต่ละวิชาชีพ โดยต้องแยกประเด็นให้ออก จะเป็นทหารคงไม่ได้ หรือไม่ควรเป็นแพทย์ อาจมองได้ว่า สภาพจิตใจของกะเทยเป็นคนอารมณ์รุนแรงมาก ขณะที่แพทย์เป็นวิชาชีพหนึ่งที่รักษาคน โดยไม่ได้รักษาด้วยวิชาชีพหรือความรู้ความสามารถเท่านั้น ยังต้องรักษาด้วยจิตใจที่มั่นคงด้วยอยู่บนความเป็นความตายของคน แตกต่างจากวิชาชีพครู ซึ่งครูบางคนที่เป็นกะเทยสอนดีกว่าครูคนอื่น เพราะมีจิตวิทยาในการเข้าถึงเด็ก
ด้านน้องนิว ไอรลดา ธรรมชอบ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มสด. ในฐานะมิสเลดี้..เลดี้ ปี 2006 กล่าวว่า การที่มหาวิทยาลัยบางแห่งห้ามนักศึกษากะเทยแต่งกายชุดนักศึกษาหญิง เป็นการปิดกั้น ปิดโอกาส
ถ้ามหาวิทยาลัยบังคับให้เราแต่งชุดนักศึกษาชาย ทั้งๆ ที่มีสรีระเป็นผู้หญิง ต้องใส่เสื้อเชิ้ตผูกเนกไท อาจถูกมองว่าเป็นตัวตลกในสายตาของเพื่อนๆ จะรู้สึกอายมาก เหมือนเป็นปมด้อยของตนเอง
นิวรู้สึกว่าเราอยากเป็นตัวของตัวเอง เพราะเราแปลงเพศแล้ว การที่ได้ใส่ชุดนักศึกษาหญิง เรียนกับเพื่อนๆ ในห้องเรียนรู้สึกมีความสุข มหาวิทยาลัยที่นี่เปิดกว้าง เพื่อนๆ ทั้งชายหญิงต่างยอมรับความสามารถของเรา ให้สิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน เข้าใจในสิ่งที่เราเป็น
"ส่วนตัวอยากเป็นผู้หญิงมาตั้งแต่เด็กๆ ช่วงแรกครอบครัวไม่ยอมรับ ก็เคยกลับไปทำตัวเป็นผู้ชายแล้วไม่มีความสุข สุดท้ายพยายามเป็นตัวเอง ประพฤติตัวเป็นคนดี ตั้งใจเรียนหนังสือ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทำให้ครอบครัวยอมรับ สามารถทำอะไรได้เทียบเท่ากับเพศชายหรือเพศหญิง อยากให้เปิดโอกาสให้แสดงศักยภาพของตนเอง" น้องนิวกล่าว
ขณะที่มหาวิทยาลัยของรัฐเก่าแก่อย่าง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ที่มีนักศึกษาที่เป็นเพศที่ 3 ศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก และมีจำนวนหนึ่งแต่งกายชุดนักศึกษาหญิง
ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษามธ. กล่าวว่า มหาวิทยาลัยไม่ได้กีดกันการปฏิบัติด้านสิทธิ เสรีภาพของนักศึกษาเพศที่ 3 ทุกคนมีสิทธิแต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเหมาะสม
มหาวิทยาลัยอนุญาตให้นักศึกษาที่มีสรีระเป็นผู้หญิง ผ่าตัดแปลงเพศแล้ว สามารถเข้าห้องน้ำหญิงและเข้าพักในหอพักหญิงของมหาวิทยาลัยได้
อย่างไรก็ตาม มีข้อบังคับเกี่ยวกับการเข้าพิธีพระราชทานปริญญาบัตร บัณฑิตจะต้องสวมใส่เครื่องแต่งกายให้ตรงกับคำนำหน้าเพศ หมายความว่า นักศึกษาสาวประเภทสองก็ต้องสวมใส่ชุดผู้ชาย เพราะต้องมีการเบิกตัวออกมารับพระราชทานปริญญาบัตร
"การเปิดเสรีเรื่องเพศนั้นต้องมีขอบเขต ถ้าไม่เข้าใจก็จะเป็นการกีดกัน แต่ถ้าควบคุมไม่ดีก็จะเป็นการส่งเสริม โดยเฉพาะการแปลงเพศจากผู้ชายเป็นผู้หญิง ผมมองว่าประเทศไทยปล่อยให้มีการผ่าตัดง่ายเกินไป เด็กบางคนยังไม่มีวุฒิภาวะเป็นผู้ใหญ่ ที่สามารถตัดสินใจเลือกอนาคตของตนเองอย่างรอบคอบ แต่ก็สามารถผ่าตัดแปลงเพศได้ง่าย ดังนั้นควรมีการกำหนดให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่เสียก่อน" รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มธ. กล่าว
ด้าน น.พ.อาวุธ ศรีศุกรี เลขาธิการกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย อธิบายถึงการเลือกรับน.ศ.แพทย์ว่า โดยปกติโรงเรียนแพทย์ไม่มีปัญหาเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว หากพฤติกรรมดังกล่าวไม่เกินขอบเขตและส่งผลกระทบต่อบุคคล สังคม หรือวิชาชีพ ตนเห็นแพทย์ที่มีลักษณะเช่นนี้ปฏิบัติหน้าที่ได้ดี
ที่กำหนดห้ามชัดเจนอาจเป็นนักเรียนแพทย์ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า(วพม.) เพราะผลิตนักเรียนแพทย์ทหารที่ต้องมีระเบียบกฎเกณฑ์ความเป็นทหารคุมเข้มมากขึ้น แม้แต่น้ำหนัก ส่วนสูง โรคทั่วไปบางโรคก็กำหนดห้ามชัดเจน
"ปัจจุบันเป็นช่วงรอยต่อ จากเดิมที่สังคมไม่ยอมรับเพศที่สามก็ยอมรับมากขึ้น แต่ในทางปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ ก็ยังมีความลักลั่น การนำเรื่องสิทธิมนุษยชนมาปนกับทุกเรื่องจนบางครั้งตีความหมายไปในทางที่ผิดๆ เพราะบางเรื่องเป็นกฎเกณฑ์เฉพาะขององค์กรหรือสถาบัน หากนำหลักสิทธิมนุษยชนไปเกี่ยวข้องทุกเรื่อง ก็คงบอกยากว่าสมควรหรือไม่สมควร เพราะต้องพิจารณาถึงประเพณีวัฒนธรรมที่ปฏิบัติกันมานานด้วย" น.พ.อาวุธกล่าว
เพศที่สามที่นับวันเบ่งบานเพิ่มมากขึ้น เป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันคิดแก้ไขดูแล ด้วยเหตุผล และปราศจากอคติ
โดย: ก็อปเขามา.....ข่าวเพศที่ 3 [29 พ.ค. 51 10:40] ( IP A:61.19.65.18 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
สำหรับกรณีบางวิชาชีพอย่าง แพทยศาสตร์ หรือ ทหาร ที่ไม่ยินยอมให้เพศที่ 3 เข้าเรียนได้นั้น รศ.ดร.สุขุม มองว่า ต้องเคารพในแต่ละวิชาชีพ โดยต้องแยกประเด็นให้ออก จะเป็นทหารคงไม่ได้ หรือไม่ควรเป็นแพทย์ อาจมองได้ว่า สภาพจิตใจของกะเทยเป็นคนอารมณ์รุนแรงมาก ขณะที่แพทย์เป็นวิชาชีพหนึ่งที่รักษาคน โดยไม่ได้รักษาด้วยวิชาชีพหรือความรู้ความสามารถเท่านั้น ยังต้องรักษาด้วยจิตใจที่มั่นคงด้วยอยู่บนความเป็นความตายของคน แตกต่างจากวิชาชีพครู ซึ่งครูบางคนที่เป็นกะเทยสอนดีกว่าครูคนอื่น เพราะมีจิตวิทยาในการเข้าถึงเด็ก
.....เอาอะไรมาวัด ขนาดหญิงแท้เป็นแพทย์อารมณ์พี่แก ยังร้ายกว่า เพศ 3 ด้วยซ้ำไป เพศ 3 ส่วนมากจะนุ่มนิ่มอ่อนไหวจะตาย เพราะเขาอยากจะเป็นหญิงกัน ส่วนเรื่องอารมณ์ เพศไหน ๆ ก็รุนแรงได้พอกัน โดยฉพาะเพศที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม มันจะพุ่งปรี๊ดเชียวแหล่ะท่าน
โดย: เพศไหน ๆ มันก็เลวได้ อยู่ที่จิตสำนึกคน [29 พ.ค. 51 10:45] ( IP A:61.19.65.18 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
โดย: ใจเขา ใจเรา [29 พ.ค. 51 14:24] ( IP A:58.8.99.160 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ รองอธิการบดี มสด. อธิบายว่า มหาวิทยาลัยมีนโยบายไม่กีดกันเรื่องการแต่งกายของนักศึกษา เพราะเข้าใจว่านักศึกษากลุ่มเพศที่ 3 ได้รับความกดดันจากสังคมอยู่แล้ว
จึงอยากให้นักศึกษากลุ่มนี้รู้สึกว่ามีที่พึ่ง เข้าใจสภาวะของนักศึกษา ทั้งนี้มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับเสรีภาพขั้นพื้นฐานของนักศึกษาทุกเพศ
โดยเราต้องมองว่า สังคมไทยยังมีทัศนคติที่มองว่าคนที่เป็นกะเทย เกย์ ทอม เป็นอาการป่วยและมองว่าเป็นปัญหา
รศ.ดร.สุขุม กล่าวต่อไปว่า การที่สังคมไทยยังไม่ยอมรับการดำรงชีวิตของคนกลุ่มนี้ เข้าใจว่า หากยอมรับแล้วจะเป็นการให้ท้ายหรือส่งเสริมให้เด็กเป็นแบบนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ เพราะเด็กมีสภาพจิตใจที่เบี่ยงเบนไปเป็นเพศหญิงอยู่แล้ว
ความเห็นแย้ง+เสริม
กะเทย หรือเกย์ หรือทอม จะเป็นอาการป่วยหากเจ้าตัวยังแอบจิต ไม่กล้าแสดงออกอย่างถูกต้องเหมาะสม และ/หรือ แสดงอาการลังเลหรือไม่แน่ใจในสถานะของตัวเอง
ที่ว่าแสดงออกอย่างถูกต้องเหมาะสม ก็ขอยกตัวอย่างว่า อย่างท่านอาจารย์นักพูดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่านได้แสดงตัวอย่างเปิดเผยว่าเป็นเพศที่สาม แต่ก็ยังดำรงสถานะความเป็นอาจารย์ได้อย่างเหมาะสม ท่านได้ยอมรับว่าสถานะของตัวเองที่เป็นนั้น ขัดธรรมชาติและแสดงเจตนาไม่สนับสนุนการอยู่ในสถานะเพศที่สามนี้
ท่านได้แสดงตัวเป็นครูบาอาจารย์แบบไทยอย่างถูกต้องแล้ว ขณะที่ก็ยอมรับสภาพของท่านเองอย่างเปิดเผย
ทั้งนี้ ผมขอออกความเห็นว่า การเรียกร้องสิทธิของเพศที่สาม สี่ หรือของคนที่หลากหลายทางเพศนั้น หากว่าด้วยหลักสิทธิมนุษย์ชนนั้น
ถูกต้องแน่นอน ไม่สมควรมีการต่อต้าน แต่
เมื่อทุกคนมีสิทธิ ก็ต้องมีหน้าที่ และเคารพสิทธิของเพศอื่นๆที่แตกต่างจากตัวเองด้วย
เช่น การเรียกร้องสิทธิเสมอภาคในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยนั้น ถูกต้องและสมควร แต่ก็ต้องถูกจำกัดบ้าง ไม่สมควรได้รับสิทธิในทุกสาขาวิชา เช่น สาขาครูระดับอนุบาลหรือชั้นประถม สาขาจิตเวช หรือจิตแพทย์ ทั้งนี้ หากมีบางท่านจะเถียงว่า ในบางประเทศอย่างอเมริกาหรือยุโรปบางประเทศเขาก็ยอมรับกัน ผมก็ขอเถียงว่า นั่นมันประเทศเขาซึ่งมีจิตแพทย์เกือบครึ่งเป็นกลุ่มเบี่ยงเบนทางเพศ วัฒนธรรมเสรีแบบของเขาซึ่งเราไม่จำเป็นต้องทำตามทั้งหมดเพื่อสนองความยอมรับให้แก่คนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด ทั้งนี้ก็เพราะเราต้องเคารพสิทธิของคนกลุ่มส่วนใหญ่ในสังคมที่มีสถาะทางเพศปรกติในขอตของการเป็นอยู่ตามปรกติด้วย ขณะที่บุคคลในเพศที่สามมีสิทธิโดยสมบูรณ์ของความเป็นมนุษย์ ท่านก็ต้องเคารพสิทธิของเด็ก เยาวชน และคนป่วยโรคจิต ซึ่งโดยสามัญสำนึกของผู้ที่อยู่ในสองเพศแรกและมีวุฒิภาวะสมแก่วัยก็ย่อมต้องการให้ทั้งเด็ก เยาวชน และผู้ป่วยโรคจิตได้รับการดูแล รักษาโดยครูหรือจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยาที่มีสถานะทางเพศปรกติ ผมยอมรับว่าเพศที่สามที่มีเสถียรภาพทางวุฒิภาวะอย่างเช่นท่านอาจารย์ที่ธรรมศาสตร์นั้นเป็นคนปรกติทุกอย่าง ยกเว้นสภาะทางจิตใจและอารมณ์ที่แน่นอนแล้วว่าเป็นเพศที่สาม ซึ่งผิดธรรมชาติ
ทำนองเดียวกัน หากอ้างถึงกรณีสภากาชาดงดรับบริจาคเลือดจากบุคคลที่หลากเพศ ผมก็เห็นด้วยว่าสมควรแล้ว ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่าเป็นการละเมิดสิทธิของกลุ่มหลากหลายทางเพศ การละเมิดสิทธิตรงนี้ยังไม่มีน้ำหนักมากพอที่จะทำให้มองข้ามความปลอดภัยในการับบริจาค คัดกรองเลือดเพื่อส่งให้ผู้ใช้คนอื่นๆซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มที่ "ปรกติ" ทางเพศและสภากาชาดมีความรับผิดชอบโดยเต็ม และควรมีอิสระโดยเต็มที่ในการกำหนดกฎและวิธีปฏิบัติของตนเองในการทำงานเพื่อประโยชน์สุขของผู้รับเลือดบริจาคส่วนรวมที่มีสถานะทางเพศปรกติ
ยังไงเสีย ผมก็ยังสนับสนุนการเรียกร้องสิทธิของเพศที่สามอย่างเต็มที่ แต่ก็ยังอยากติงว่า พวกท่านควร "ยึดในสิ่งที่สมควรยึด และวางลงในสิ่งที่สมควรวางลงด้วย" ซึ่งผมขออ้างว่า เป็นแนวความคิดแบบไทยไทยที่เน้นเรื่องการเอื้ออาทร ใจเขาใจเรา และความสงบสุขในสังคมด้วย
โดย: ใจเขา ใจเรา [29 พ.ค. 51 15:06] ( IP A:58.8.99.160 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน