ผุ้ป่วยล้นโรงพยาบาล
   ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแห่งประเทศไทย

สำหรับผู้ที่ทำงานเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลของราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข คำว่า “ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล” ดูเหมือนจะเป็นเหตุการณ์ที่พบเห็นเป็นประจำทุกเมื่อเชื่อวัน จนดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องปกติที่มองเห็นฝูงชนแออัดยัดเยียดเข้าคิวยาวเหยีย ดเพื่อจะยื่นบัตร รอตรวจจากแพทย์ รอเจาะเลือด เอ็กซเรย์ รับยา ฯลฯ หรือถ้าเดินไปในตึกผู้ป่วยใน ก็จะเห็นผู้ป่วยนอนเต็มทุกเตียง รวมทั้งเตียงเสริมนอนตามระเบียง หรือปูเสื่อนอน (เพราะไม่มีเตียง) ฯลฯ ประชาชนผู้มาคอยรับการตรวจรักษา ก็ต้องเรียนรู้ว่าจะต้องรีบมาแต่เช้ามืด เพื่อที่จะได้เข้าไปพบหมอเวลาสายๆ และกว่าจะได้รับยากลับบ้านก็อาจจะต้องใช้เวลาถึงบ่ายแก่ๆ หรือเวลาเย็นค่ำจึงจะได้กลับบ้าน
ส่วนแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ต่างก็มอง “คลื่น” ประชาชน หรือฝูงชนกลุ่มใหญ่เหล่านี้ อย่าง “ชินชา” ว่าจะต้อง “รีบเร่ง” ตรวจรักษาให้ได้หมดทุกคน เพื่อว่าประชาชนจะได้ไม่ผิดหวังที่มาโรงพยาบาลแล้วจะต้องได้รับการตรวจรักษา และได้ยากลับบ้าน
แต่สถานการณ์ที่มีคนไข้มากมายมหาศาลจนล้นโรงพยาบาลนี้ ดูเหมือนว่ากระทรวงสาธารณสุขคงจะมีความ “ล้มเหลว” ในด้านการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของประชาชน จนทำให้จำนวนผู้ป่วย “ล้น” โรงพยาบาลอยู่เสมอมา ไม่เคยลดลงเลย จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขเองพบว่า ประชาชนที่มีสิทธิ์ในหลักประกันสุขภาพ 47 ล้านคน (1)ไปโรงพยาบาลเฉลี่ยปีละ 1. 5ครั้ง/คน (1) ทำให้จำนวนผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล จนมีอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนหนึ่งคือนายพินิจ จารุสมบัติ ในขณะดำรงตำแหน่งรมว.ได้สั่งให้กระทรวงสาธารณสุขแก้ปัญหาผู้ป่วยล้นโรงพยาบา ล (2)
เนื่องจากว่าอดีตรมว.สธ.คนนี้ท่านไม่ได้เป็นแพทย์ เมื่อท่านไปตรวจโรงพยาบาลต่างๆ ท่านจึงประหลาดใจเป็นล้นพ้น (ถ้ามีรัฐมนตรีที่เป็นแพทย์ ก็จะสังเกตไม่เห็น เพราะชินชากับเอกลักษณ์ของโรงพยาบาลราชการในประเทศไทยว่ามันก็แออัดเช่นนี้เ อง)ว่าทำไมทุกโรงพยาบาลจึงมีผู้ป่วยแน่นจนล้นโรงพยาบาลเช่นนี้ คือท่านได้พบว่าแต่ละโรงพยาบาลที่ท่านไปเยี่ยมมาทุกแห่งนั้น มีผู้ป่วยมาตรวจรักษาเป็นจำนวนมาก มีผู้ป่วยนอกวันละ 1,300-2,000 คน (2) ทำให้เกิดความคับคั่ง แออัด ผู้ป่วยต้องรอรับการบริการเป็นเวลานาน และแพทย์ผู้ให้บริการต้องรับภาระงานหนักมาก (บุคลากรอื่นๆก็เช่นเดียวกัน) และเมื่อท่านไปตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลโรคทรวงอก ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคหัวใจและทรวงอก กำลังขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางทั้งแพทย์ศัลยกรรมทรวงอก ศัลยกรรมทั่วไป แพทย์โรคหัวใจ วิสัญญีแพทย์ รังสีแพทย์
ซึ่งตอนที่คุณพินิจไปค้นพบปัญหานี้คือ เมื่อพ.ศ. 2549 แต่บัดนี้ เวลาล่วงเลยมาถึงพ.ศ. 2551 แล้ว ปัญหาผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้เกิดผลเป็นรูปธรรมแต่อย่ างใดทั้งสิ้น และนับวันจะยิ่งล้นมากขึ้น
ถ้าใครเคยเจ็บป่วยแล้วต้องไปตรวจรักษาโรงพยาบาลของราชการแล้ว ก็จะได้ประจักษ์ด้วยสายตาตนเองถึงปัญหาผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล และก็คงได้เรียนรู้จักความอดทน อดทน และอดทน รอคอยอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง ก่อนจะได้ไปพบแพทย์ประมาณ 2-4 นาที (3) เพื่อจะต้องมานั่งรอรับยาอีกอย่างน้อย1-2 ชั่วโมงก่อนจะได้รับยากลับไปกินที่บ้าน หรือถ้าจำเป็นต้องไปตรวจพิเศษอย่างอื่น เช่น เจาะเลือด เอ็กซเรย์ หรืออื่นๆ ก็คงจะต้องใช้เวลาทั้งวันอยู่ในโรงพยาบาล ใครที่พอมีเงินก็คงจะเลือกไปโรงพยาบาลเอกชนเพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาทั้งวั น เพื่อจะได้พบหมอเพียง 2-4 นาทีเท่านั้น
การที่แพทย์มีเวลาพบผู้ป่วยนอก(ไม่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล) เพียง 2-4 นาทีนี้เอง อาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อประชาชนดังนี้
1. ประชาชนมีเวลาน้อยไม่สามารถเล่าเรื่องราวของความเจ็บป่วยและอาการต่างๆได้คร บถ้วน
2. แพทย์ไม่มีเวลาซักประวัติการเจ็บป่วยหรืออาการเล็กน้อยแต่อาจมีความสำคัญที่ จะเป็นความเชื่อมโยงที่ทำให้วินิจฉัยได้ถูกต้อง แพทย์ไม่มีเวลาตรวจร่างกายครบทุกระบบ อาจหลงลืมหรือละเลยไม่ได้ตรวจบางสิ่งบางอย่างไป ทำให้วินิจฉัยผิดพลาด
3. เมื่อวินิจฉัยผิดพลาด ก็เป็นผลให้การรักษาไม่ตรงเป้า เกิดผลเสียหายต่อผู้ป่วย อาการหนัก หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน
4. เมื่อแพทย์มีเวลาน้อย ทำให้ไม่มีเวลาพูดคุยทำความเข้าใจกับผู้ป่วย ผู้ป่วยไม่เข้าใจสาเหตุของการเจ็บป่วย หรือเข้าใจผิดจากการรีบเร่งอธิบายของแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตนไม่ถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ ทำให้การรักษาไม่บรรลุผลตามเป้าหมาย หรือผู้ป่วยเกิดความคาดหวังสูงว่าผลการรักษาจะดีเกินจริง เมื่อผลการรักษาไม่ดี ก็จะเกิดการร้องเรียนและฟ้องร้อง
ซึ่งปัจจุบันนี้ จำนวนผู้ป่วยที่ฟ้องร้องและร้องเรียนแพทย์มีเพิ่มขึ้นมาก ทำให้แพทย์เกิดความเครียดจากความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้อง และถูกศาลตัดสินให้จำคุก หรือชดใช้ค่าเสียหายเป็นหลายสิบล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนนี้แพทย์ไม่สามารถหามาได้จากการประกอบวิชาชีพแพทย์โดยสุจริต(ต ลอดชีวิต) จึงเป็นการซ้ำเติมให้แพทย์คิดที่จะลาออกจากราชการมากขึ้น และไปทำงานโรงพยาบาลเอกชน ที่มีภาระตรวจผู้ป่วยน้อยลง ความเสี่ยงต่อความผิดพลาดและการถูกฟ้องร้องก็จะน้อยลงไปด้วย



« แก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ เวลา 11:53:40 by cmu06 »

ส่งโดย: cmu06
สถานะ: Executive Member
จำนวนความเห็น: 881

58.8.145.*





« ความเห็นที่ #1 เมื่อ: วันนี้ เวลา 11:51:36 »

การแก้ปัญหาผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล สามารถทำได้ ถ้าผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการประจำระดับสูงที่มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารจัดการ ใน
โรงพยาบาล (เช่น ปลัดกระทรวง และอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ) จะหันมาแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง โดยมีวิธีแก้ดังนี้คือ
1.ลดจำนวนผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาล
2.เพิ่มจำนวนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์

1.การลดจำนวนผู้ป่วยมาโรงพยาบาลสามารถทำได้ ตามวิธีดังต่อไปนี้

1.1 ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคและการบาดเจ็บ(อุบัติเหตุ) โดยประชาชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นพฤติกรรมที่ส่งเสริมให้ตนเองมีส ุขภาพดีขึ้น เช่น เลิกดื่มเหล้า เลิกสูบบุหรี่ เลิกใช้สิ่งเสพติด กินอาหารที่ครบ 5 หมู่และถูกสุขลักษณะ ออกกำลังกายเพื่อความแข็งแรงและคลายเครียด คำนึงถึงความปลอดภัยจากการมีเพศสัมพันธ์ ลดละพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน ไม่ขับรถเร็วเพราะจะเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ฯลฯ ส่งเสริมการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค ตรวจสุขภาพประจำปี

1.2 ให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องอาการของโรคที่สามารถดูแลรักษาได้เองในครอบครั ว เช่นการบาดเจ็บเล็กน้อย เป็นไข้ เป็นหวัด ท้องเสีย ท้องผูก

1.3 ให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบจ่ายเงินในการเจ็บป่วยบ้าง เหมือนกับการประกันสุขภาพเอกชน เช่น ถ้าเจ็บป่วยเล็กน้อย มาตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก ก็ควรจะต้องจ่ายเงินเอง หรือใช้สิทธ์ได้ไม่เกินเดือนละครั้ง ถ้าเกินกว่านั้นก็ควรจะต้องจ่ายเงินเอง หรืออาจจะตรวจฟรี แต่ต้องจ่ายเงินค่ายา ทั้งนี้ ยกเว้นผู้มีรายได้ต่ำกว่าขีดความยากจน (ซึ่งกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีตัวเลขอยู่แล้ว หรือกระทรวงสาธารณสุขก็มีตัวเลขและรายชื่อของผู้ที่มีบัตรทองที่ไม่ต้องจ่าย เงินเวลามาโรงพยาบาล) ทั้งนี้เท่ากับว่า ใครดูแลสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยดี ก็จะไม่เจ็บป่วย ใครไม่สร้างสุขภาพ ก็ควรจ่ายเงินซ่อมสุขภาพบ้าง การที่ประชาชนต้องจ่ายเงินร่วมด้วยในการรักษาสุขภาพตนเอง ก็จะมีพฤติกรรมที่รับผิดชอบมากขึ้น ช่วยลดจำนวนการไปโรงพยาบาลให้น้อยลง

1.4 การมาโรงพยาบาลควรจะต้องมีใบนัด เพื่อที่โรงพยาบาลจะได้กำหนดจำนวนผู้ป่วยได้ ยกเว้นผู้ป่วยฉุกเฉินและรุนแรงฉับพลันเท่านั้น จึงจะมาพบแพทย์ได้โดยไม่ต้องมีนัด
ในระยะแรก ผู้ที่ไม่มีใบนัดจะได้รับการตรวจและให้ยาไปก่อน และมีใบนัดตรวจในครั้งต่อไป
และโรคทั่วไปควรไปตรวจที่โรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลทั่วไป (general hospital) ละแพทย์เท่านั้นที่จะเป็นผู้ส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลระดับสูง(โรงพยาบาล ศูนย์การแพทย์)

2.วิธีแก้ปัญหาอีกวิธีหนึ่งก็คือการเพิ่มจำนวนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ใน โรงพยาบาลของราชการ ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้คือ

2.1 การเพิ่มจำนวนแพทย์ใหม่เข้าไปทำงานในราชการ เป็นวิธีแก้ที่กระทรวงพยายามทำคือ การเพิ่มจำนวนการ “ผลิต”แพทย์เพิ่ม โดยสนับสนุนให้เปิดคณะแพทยศาสตร์ใหม่ๆหลายแห่ง และเพิ่มจำนวนนักศึกษาในคณะแพทยศาสตร์เดิมให้มีจำนวนมากขึ้น
และเมื่อนักศึกษาเหล่านี้เรียนจบแล้ว กระทรวงสาธารณสุขก็ใช้อำนาจของรัฐ บังคับให้แพทย์จบใหม่ต้องไปทำงานใช้ทุนการศึกษา (ทั้งๆที่ไม่ได้ทุนจริงๆตามความหมายของกพ.)ในโรงพยาบาลประจำอำเภอที่เรียกว่ าโรงพยาบาลชุมชน คนละ 3 ปี โดยแพทย์จบใหม่นี้ อาจมีความรู้ในทางทฤษฎีอย่างดีแต่ยังขาดประสบการณ์และความชำนาญในการทำงานใน ฐานะผู้รับผิดชอบอย่างเต็มตัว โดยขาดแคลนแพทย์รุ่นพี่ผู้มีประสบการณ์คอยดูแลแนะนำ (supervise) ทำให้เกิดความเครียด และเสี่ยงต่อผลเสียหายของประชาชน และเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง
นอกจากความเครียดเรื่องการขาดที่ปรึกษาแล้ว แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนยังถูกบังคับให้ทำงานทั้งกลางวันและกลางคืนไม่ว่าวันร าชการหรือวันหยุด เพื่อดูแลรักษาผู้เจ็บป่วยที่มาโรงพยาบาลได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมงทุกๆวัน และโรงพยาบาลชุมชนหลายแห่งที่มีแพทย์เพียง 2-4 คน ฉะนั้นเมื่อเสร็จงานในเวลาราชการแล้ว แพทย์เหล่านี้ยังต้องผลัดเปลี่ยนกันอยู่เวรอีกทุกวันทุกคืนนอกเวลาราชการ ทำให้แพทย์ส่วนมากในโรงพยาบาลชุมชนต้องทำงานถึงสัปดาห์ละ 90-120 ชั่วโมง (3) และเป็นงานที่มีความเครียดเนื่องจากการเป็นมือใหม่และเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้ อง

และมีหมอใหม่ถูกตัดสินลงโทษจำคุกโดยศาลชั้นต้นในข้อหาว่าไม่เป็นผู้เชี่ยวชา ญแล้วไปฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง ถือว่าทำให้คนตายโดยประมาท เรื่องนี้ทำให้หมอในโรงพยาบาลชุมชนเลิกทำผ่าตัดเพราะไม่มีความเชี่ยวชาญทั้ง ด้านดมยาและผ่าตัด

นอกจากภาระงานที่มากเกินกำลังนี้ ความเหนื่อยล้าและอดนอนก็อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการตัดสินใจในการรักษา การทำผ่าตัด หรือการใช้ชีวิตส่วนตัว เช่นการขับรถในขณะที่ขาดการพักผ่อน ก็ทำให้เสี่ยงต่ออุบัติเหตุที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและคู่กรณี
(ยังมีต่อ)

« แก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ เวลา 11:55:10 by cmu06 »

ส่งโดย: cmu06
สถานะ: Executive Member
จำนวนความเห็น: 881

58.8.145.*





« ความเห็นที่ #2 เมื่อ: วันนี้ เวลา 11:52:46 »


นอกจากนั้นเงินเดือนหมอจบใหม่ก็เริ่มต้นเพียง 10,190 บาท เงินค่าทำงานล่วงเวลาก็เพียงชั่วโมงละไม่ถึง 100 บาท (ไม่สามารถเลือกว่าจะไม่ทำงานล่วงเวลา เพราะถือเป็นความรับผิดชอบที่
จะต้องทำ ) ในขณะที่ลาออกไปทำงานโรงพยาบาลเอกชนจะมีรายได้เริ่มต้นเดือนละ 60,000บาท หรือมากกว่านั้น
การได้รับ ค่าตอบแทนต่ำ แต่มีชั่วโมงการทำงานมากรวมทั้ง ความเครียดและความเสี่ยงต่างๆที่กล่าวมานี้คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้แพทย์จบให ม่ลาออกจากการเป็นแพทย์ของทางราชการเป็นจำนวนประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของแพทย์ จบใหม่หลายปีมาแล้ว(4) และแนวโน้มการลาออกก็มิได้ลดลง เนื่องจากแพทย์ที่ลาออกจากราชการสมารถหางานทำในโรงพยาบาลเอกชนได้ไม่ยาก โดยได้รับค่าจ้างเงินเดือนสูงกว่าเป็นข้าราชการแพทย์ประมาณ 6 เท่าหรือมากกว่า
การเพิ่มจำนวนแพทย์จบใหม่โดยการเพิ่มจำนวนนักศึกษาแพทย์ จึงทำให้มีแพทย์เพิ่มในระบบราชการไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น เพราะมีรูรั่วให้แพทย์ไหลออกจากระบบราชการตลอดเวลา
2.2 การแก้ปัญหาแพทย์ลาออกจากราชการ ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นว่าแพทย์ที่จบใหม่และได้รับการจัดสรรโดยการบังคับ ไปทำงานในโรงพยาบาลอำเภอได้ลาออกเป็นจำนวนมากทุกปี แต่ก็ยังมีแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มีประสบการณ์มากและมีชื่อเสีย ง ได้ลาออกจากราชการเป็นจำนวนมาก เพื่อไปทำงานในโรงพยาบาลเอกชน โดยมีภาระงานน้อยแต่ค่าตอบแทนสูง เป็นแรงจูงใจอันสำคัญ และแพทย์ในกลุ่มนี้ เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ราชการต้องสูญเสียจากคณะแพทยศาสตร์ต่างๆและโรงพยาบาลศูน ย์การแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข

ฉะนั้น ถ้ากระทรวงสาธารณสุขอยากจะป้องกันไม่ให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ลาออกจาก ราชการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และทำให้มีปัญหาผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลจนตรวจไม่ทันแล้วกระทรวงสาธารณสุขก็ควรจ ะต้องรีบเร่งดำเนินการดังกล่าวข้างต้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2551 ที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(กพ.) จะใช้ระบบการกำหนดตำแหน่งโดยไม่ยึดติดกับซี และกำหนดอัตราเงินเดือนของตำแหน่งแต่ละประเภทและแต่ละระดับให้ต่างกันได้ตาม ค่างานและอัตราตลาด

จึงน่าจะเป็นโอกาสดีที่ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราช การประจำ ควรต้องรีบเร่งดำเนินการแก้ปัญหา “ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล”โดยด่วน เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับบริการทางการแพทย์อย่างมีมาตรฐาน รวดเร็ว ปลอดภัย ไม่ต้องเสียเวลารอคอยนานจนล้นโรงพยาบาลทุกๆแห่งเหมือนที่เป็นมานานแล้วและก็ จะเป็นอยู่มากขึ้นทุกๆปี รีบดำเนินการแก้ไขให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมดังกล่าว

เอกสารอ้างอิง

1..หนังสือรายงานสรุปผลการสัมมนา เรื่อง สิทธิปัญหา และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการและผู้รับบริการทางการแพทย์ หน้า 39 วันที่ 18 กรกฎาคม 2550) : การสำรวจเกี่ยวกับอนามัยและสวัสดิการ สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2549
2.วงการแพทย์ : 2549: 8(252) : 4
3. ฉันทนา ผดุงทศ และคณะ : ชั่วโมงการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข วารสารวิชาการสาธารณสุข 2550; 16(4) :493-502

4.ข้อมูลจากกลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข



« แก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ เวลา 11:58:04 by cmu06 »

ส่งโดย: cmu06
สถานะ: Executive Member
จำนวนความเห็น: 881

58.8.145.*





« ความเห็นที่ #3 เมื่อ: วันนี้ เวลา 12:05:47 »

ถ้าอย่างนั้น ก้อต้องประกาศ ห้ามขายเหล้า ห้ามขายบุหรี่ ด้วยก็ดีนะคะ



--------------------------------------------------------------------------------
รักเด็กค่ะ ;p
ส่งโดย: oishi
สถานะ: Senior Member
จำนวนความเห็น: 432

118.173.153.163 fwd for 192.168.10.*





« ความเห็นที่ #4 เมื่อ: วันนี้ เวลา 12:57:55 »

การแก้ปัญหาผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล สามารถทำได้

ผมมองปัญหาจากที่ท่านเสนอที่ดูจะแก้ได้

1.3 ให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบจ่ายเงินในการเจ็บป่วยบ้าง เหมือนกับการประกันสุขภาพเอกชน
2.1 การเพิ่มจำนวนแพทย์ใหม่เข้าไปทำงานในราชการ

อื่นๆที่เสนอแนะคือ ระงับเงินหมื่นและเงินไม่ประกอบเวชกรรมทั้งหมดทั้งแพทย์ พยายาบาล อื่นๆ นำเงินหมวดนี้มาจ้างการตรวจนอกเวลาที่ราคาสมน้ำสมเนื้อ ซึ่งเงินส่วนนี้ถูกกินเปล่าซ้ำซ้อนกับผู้บริหารที่หวังเงินส่วนนี้กินเปล่าโ ดยไม่ได้มีส่วน SERVICE เลย ซึ่งอาจจะทำยากที่จะกระชากเงินกินเปล่าจากท่านผู้บริหารที่เรียกว่าอยากจะแก ้ปัญหาส่วนนี้ เพราะมีผลประโยชน์ทับซ้อน
สังเกตุได้ว่ารพ.ที่มีโอพีดีนอกเวลาที่มีค่าตอบแทนที่เหมาะสมก็จะแย่งเวรกัน ตรวจ

ถึงแม้ผู้เปิดคลินิกเองก็อย่ามองว่าเป็นแง่ร้ายต่อระบบ เพราะราคามักถูกมากกว่ารพ.เอกชน เป็นที่พึ่งคนระดับล่างและระดับกลาง

เปิดให้มีช่องทาง CONSULT SPECIALIST โดยระบบ IT ระหว่างสอ.รพช. รพช สู่รพ.จังหวัด รพ.จังหวัดสู่รพ.ศูนย์

จัดระบบคิวให้แก่คนไข้ที่นัดล่วงหน้าให้ลงในเวลาที่ไม่หนาแน่นเช่นช่วงบ่ายโ ดยล้อคช่วงเวลาและรับประกันช่วงเวลาการตรวจเช่นนัดบ่าย 2 จะได้ตรวจภายใน 15- 30 นาที ทำเป็นระบบให้คนไข้ทราบ อาจจะมีการจองเวลาตรวจไม่ว่าทางโทรศัพท์หรือทาง INTERNET เหมือนเวลาเราจองตั๋วหนัง

กระทรวงควรเป็นผู้พัฒนา IT แม่แบบมาแจกรพ.ทั่วประเทศ ซึ่งต่อไปอาจมีการพัฒนาแผนการรักษามาตราฐาน การนัด การเรียกต่อไป (ข้อนี้ ต้องเคดิต คุณหญิงหน่อยที่เคยที่จะคิดโครงการนี้)

เราชาวบ้านเห็นด้วยมากๆ
อยากให้แก้เร็วๆ ผลิตหมอมามากๆ ขี้เกียจคอยว้อย
แต่ที่ฟ้องหมอแล้วกระทรวงจ่ายนี่ไม่เห็นพูดเลย
ใครไปเอาเงินหมอในกระเป๋าหมอ
เงินคนไข้เขาเองทั้งนั้นที่ช่วยกัน
เรื่องนี้ห้ามโวย
โดย: เห็นด้วย เมื่อไหร่แม่งจะแก้ [19 พ.ค. 51 13:59] ( IP A:58.8.9.249 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ไม่ต้องโวย โวยทำไม
พวกคุณเองนั่นแหละที่ก่อปัญหา
หมอเชิดชูคุณเป็นกรรมการแพทยสภาประสาอะไร
ไม่ด่าหมอสมศักดิ์ ไม่ด่าหมออำนาจ ไม่ด่ากรรมการแพทยสภา
ด้วยกัน ที่แก้ปัญหาไม่ถูกจุด ดันมาตั้งหน้าตั้งตาสู้กับคนไข้
และมัวแต่ห่วงผลประโยชน์ทับซ้อน

หมอเชิดชูเองก็เป็นที่ปรึกษา รพ.เอกชน เงินดีทำให้พวกคุณ
หุบปากไม่โวย รพ.เอกชน ที่สร้างตึกใหม่ทำกำไรปีละเป็นแสนล้าน
ดูดเอาหมอรพ.รัฐไปอยู่เอกชนให้เงินเดือนแพง ๆ เพราะกำไรดี
ทำความเสียหาย ก็ไม่ต้องชดใช้เพราะตูพวกเยอะ เหลือกำไร
งาม ๆ ไปเที่ยวเมืองนอก ส่งลูก ส่งหลานได้เข้า โรงเรียนดี ๆ

ส่วนหมอรพ.รัฐก็งานหนัก ทำคนไข้เสียหาย คนไข้ไม่ได้ฟ้องหมอ
ฟ้องกระทรวง แต่ก็เอาเป็นข้ออ้างเพื่อลาออกไปเพื่อมีรายได้ที่ดี
คนไข้เราไม่ได้ตำหนิพวกคุณมากเท่าไหร่ที่ลาออกไปเพื่อความเป็น
อยู่ที่ดี แต่อย่าเอาข้ออ้างเรื่องคนไข้ฟ้องมาบังหน้า มันน่าอาย

พวกคุณต้องลุกขึ้นมาประท้วงนายคุณที่หน้าหนากันบ้างว่า
ทุกวันนี้ไม่พอกิน งานหนัก รายได้น้อย คนไข้มาก หมอไม่พอ
เพราะหมอจ่อคิวไปอยู่เอกชนกันหมด เพราะกระทรวงฯ สำนักปลัดฯ
มัวแต่สู้กับคนไข้ ไม่แก้ปัญหาหมอไม่พอ รายได้หมอและบุคคลากรต่ำไม่พอกิน

ขอร้องเลิกโวยและโยนความผิดให้คนไข้ที่เสียหายได้แล้ว
พวกตู เสียชีวิต พิการ ยังไม่พอ ยังต้องมาถูกพวกเอ็งโวย
ว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หมอไม่พอ

เพราะพวกเอ็งดีแต่โวย เหม็นปาก
ไม่เคยนึกถึงหัวอกที่ทำเขาเจ็บเขาตาย

หุบปากแล้วมาช่วยกันแก้ปัญหา
โดย: หุบปากได้แล้ว [19 พ.ค. 51 16:42] ( IP A:58.9.224.50 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
    นั่นโดนอีกแล้ว...

เราเป็นนาโยกจะแก้ให้เอง

ไปละ....


ขอร้องเลิกโวยและโยนความผิดให้คนไข้ที่เสียหายได้แล้ว
พวกตู เสียชีวิต พิการ ยังไม่พอ ยังต้องมาถูกพวกเอ็งโวย
ว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หมอไม่พอ


ก็โดนด้วย......ค่ะ
อาราย อารายก็ไอ้ปี๊ด!!!!
แต่ศรีทนได้ค่ะ .....
โดย: ล้างบางให้หมด ไม่ต้องมาบ่นกัน [19 พ.ค. 51 18:22] ( IP A:61.19.65.141 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   พูดไปเหอะ หมอเชิดชูพูดให้ปากฉีก
เครือข่ายฯ ช่วยตะโกนเข้ารูหูออกรูตูด
มานก็ไม่มีใครจริงใจจะแก้ปัญหา
เพราะมันแก้แล้ว รพ.เอกชนพวกมานจะเจ๊ง
โดย: มานคิดถึงกระเป๋ามานก่อน [19 พ.ค. 51 21:22] ( IP A:58.9.189.136 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   งานที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของหมอกับคนไข้นี้
มีคนสนใจจะให้ปัญหาได้รับการแก้ไขอย่างมากมาย
แต่พอเอาเข้าจริง ๆ ทุกคนล้วนไม่อยากเปลืองตัว
ทุกคนกลัวแพทย์ด้วยกันจะมองว่าเป็นพวกเดียวกับเครือข่ายฯ
จะเป็นพวกเดียวกับเราได้อย่างไร ในเมื่อพวกท่านไม่ได้เป็นผู้เสียหาย

จัดสัมมนา เสวนา ประชุม เวทีต่าง ๆ ผลาญงบประมาน
ทำหนังสือ โบรชัวร์กันสวย ๆ งาม ๆ ดูงานต่างประเทศ ฯลฯ
แต่สุดท้าย มันก็ยังฟ้องกันเหมือนเดิม

ไอ้ที่คุยนักคุยหนาว่า เจรจาไกล่เกลี่ยแล้วได้ผล
ผู้เสียหายตัวจริงมีความสุขกับการเจรจา
ไหนหมอบรรพตอยู่ไหน ไปจ่ายตังค์เขาหรือยัง
ทำไมไปบอกเขาว่า ผมเจรจาจบแล้วหมดหน้าที่
อ้าว...เงินยังไม่จ่าย แล้วมาคุยโวว่าเจรจาสำเร็จได้อย่างไร

ผู้หลัก ผู้ใหญ่วงการแพทย์ก็เหมือนกัน ใน สช.
เหมือนกันหมด ไม่เห็นมีใครจะกล้าหาญสักคนที่จะลงมือจัดการ
ปัญหา ได้แต่วิจารณ์ แล้วก็หลบหน้ากันหมด พูดเอางามใครก็พูดได้ คนจริงมันต้องพูดด้วย แก้ปัญหาให้เห็นเป็นรูปธรรมด้วย

อย่าเก่งแต่ทฤษฎี อย่าเก่งแต่ปาก
ผู้เสียหายเขาเอือมพวกท่านกันจะแย่แล้ว
เอือมพอ ๆ กับพวกแพทยสภานั่นแหละ
ไม่ได้ดีไปกว่ากันเท่าไหร่เลย
โดย: เอือมพวกเล่นแบบปลอดภัย [20 พ.ค. 51 13:47] ( IP A:58.9.194.112 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   .....
โดย: แก้ยังไง แม่งก็เสนอมาสิวะ [21 พ.ค. 51 23:02] ( IP A:203.144.140.251 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
    เขาแก้กันทุกวัน

"แก้ผ้า...เอาหน้ารอด"....


เสนออะไรก็ไม่ทำ ทำแล้วก็ทำไม่ตลอด
ทำไม่จริงจัง แค่แตะ ๆ แล้วก็ผ่านเลยไป
หลอกล่อให้ดีใจ แต่ก็เหมือนไม่ได้ทำอะไรเหมือนเดิม
โดย: เสนอจนตูเบื่อแล้วฟะ [22 พ.ค. 51 8:58] ( IP A:58.9.194.253 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
    ^
^^
พูดไม่เพราะน๊า เดี๋ยวกระทู้นี้โดนเจ้าบ้านลบทิ้งอีกน๊า....

เดี๋ยวจะหาว่าสีไม่บอก......

อาราย อารายก็ไอ้ปื๊ดดดดดดดดดดดดดดด
โดย: เปลืองงบประมาณชาติเสียเปล่า ไม่ทำงาน. [22 พ.ค. 51 16:58] ( IP A:61.19.65.150 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน