ศาลชั้นต้นตัดสินสธ.จ่าย 3.9 ล้าน ให้เหยื่อทางการแพทย์ “ไชยา” รับปากไม่อุทธรณ์
   ศาลชั้นต้นตัดสินสธ.จ่าย 3.9 ล้าน ให้เหยื่อทางการแพทย์ “ไชยา” รับปากไม่อุทธรณ์

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 1 พฤษภาคม 2551 16:24 น.


ศาลชั้นต้นตัดสิน สธ.จ่าย 3.9 ล้าน ให้เหยื่อทางการแพทย์ ฐานละเมิด ประมาทเลินเล่อ ทำให้พิการสมองทุพพลภาพตลอดชีวิต แม่เหยื่อวอนเห็นใจอย่าอุทธรณ์ ขณะที่ “ไชยา” รับปากไม่อุทธรณ์ พร้อมมอบเงินส่วนตัวช่วย 5 พันบาท เร่งผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ลดฟ้องร้องแพทย์

วันนี้ (1 พ.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า วันนี้ ศาลจังหวัดนนทบุรี มีคำพิพากษาในคดีที่นายยงยุทธ ปันนินา หรือน้องโจ้ โดยนางดวงนภา ปันนินา ผู้อนุบาล เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกระทรวงสาธารณสุข ฐานละเมิดและเรียกค่าเสียหาย 10,187,000 บาท โดยศาลสั่งให้กระทรวงสาธารณสุข ชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เป็นจำนวนเงินรวม 3.9 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าอาหาร 4 แสนบาท ค่าทำให้ทุพพลภาพถาวร 2 ล้านบาท ค่าเสียโอกาสในการประกอบอาชีพในอนาคต 1.5 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5%

นางดวงนภา มารดาของนายยงยุทธ อยู่บ้านเลขที่ 317/1 หมู่ที่ 3 ต.แม่ยางฮ่อ อ.ร้องกวาง จ.แพร่ กล่าวว่า ตนยื่นฟ้องต่อ สธ. เนื่องจากเห็นว่าแพทย์และพยาบาลรักษาลูกชายด้วยความประมาทเลินเล่อ ไม่ระมัดระวัง โดยเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2547 ขณะที่ลูกชายอายุ 19 ปี ได้ประสบอุบัติเหตุขับรถจักรยานยนต์เสียหลักล้มลง และหมดสติ และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลร้องกวาง จนส่งตัวต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลแพร่ ซึ่งแพทย์ได้รักษาโดยการให้ยาและเครื่องช่วยหายใจ เนื่องจากมีสมองบวมและมีเลือดออกในสมอง

นางดวงนภา กล่าวต่อว่า จากนั้น 1 สัปดาห์ต่อมาแพทย์ได้เจาะคอ ให้อาหารทางสายยางและให้ออกซิเจนทางท่อเจาะคอ ประมาณ 2 สัปดาห์ ลูกชายมีอาการดีขึ้น สมองเริ่มตอบสนอง ยกแขนขาและสื่อสารกับแม่และแพทย์ได้บ้าง แม้ยังพูดไม่ได้ และรักษาตัวอยู่ในห้องไอซียูเป็นเวลา 27 วัน เริ่มหายใจเองได้ จึงนำตัวมารักษาต่อที่ตึกผู้ป่วยธรรมดา ลูกชายเริ่มเดินได้ ทานอาหารทางปาก พูดคำสั้นๆ ได้ เขียนหนังสือได้ นับเลขได้ และแยกสีลูกบอลได้

นางดวงนภา กล่าวอีกว่า ต่อมาวันที่ 13 ก.พ.2548 แพทย์ได้แจ้งให้พยาบาลเวรถอดท่อเหล็กที่คอออก แต่พยาบาลเวรบอกว่าคนไข้หายใจเองไม่ได้ จึงเอาท่อเหล็กใส่กลับคืนเข้าไปที่เดิม วันที่ 14 ก.พ.2548 แพทย์มาตรวจลูกชายและสั่งให้เอาท่อเหล็กที่คอออกอีก จากนั้นแพทย์และพยาบาลก็ออกไป หลังจากเอาท่อที่คอออก แต่เพราะความประมาท และไม่ระมัดระวัง แพทย์และพยาบาลไม่ได้อยู่ดูว่าลูกชายตนหายใจเองได้หรือไม่ ซึ่งลูกชายตนหายใจไม่ออกดิ้นรนกระเสือกกระสนอยู่นาน ตนจึงวิ่งไปตามพยาบาลแต่พยาบาลยืนดูโดยไม่ได้ให้ความช่วยเหลือ ด้วยการให้เหตุผลว่า ปล่อยไว้สักพักเดี๋ยวก็ดีเอง จนลูกชายหัวใจหยุดเต้น ต้องปั๊มหัวใจ แต่สมองขาดออกซิเจนเสียหายใช้การไม่ได้ ไม่ได้สติและหายใจเองไม่ได้ จึงได้รับการรักษาโดยใช้เครื่องช่วยหายใจและเจาะคอเช่นเดิม กระทั่งวันที่ 13 พ.ค.2548 ได้ออกจากโรงพยาบาล ในสภาพที่กลายเป็นคนพิการถาวร ไม่รู้ตัวแขนขาเกร็ง นอนอยู่กับที่ เดินไม่ได้ ทานอาหารเองไม่ได้ ถ่ายอุจจาระปัสสาวะไม่รู้สึกตัว จนทุกวันนี้กลายเป็นผู้สมองพิการทุพพลภาพตลอดชีวิต

“ค่าเสียหายที่ศาลสั่งให้ สธ.ชดใช้ให้ คงไม่คุ้มเพราะทุกวันนี้เหมือนตายทั้งเป็น ลูกชายที่เป็นความหวังของครอบครัว ซึ่งสอบเข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร จ.พะเยาได้ แต่กลับต้องมาอยู่ในสภาพคนพิการช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ฉันต้องคอยดูแล ไม่มีอาชีพ ส่วนสามีทำงานก่อสร้างมีรายได้วันละ 200 บาท แต่ต้องเสียค่าอุปกรณ์การรักษาลูก เช่น ที่ดูดเสมหะและอื่นเดือนละเป็นหมื่น จึงอยากให้สธ.เมตตาและเห็นใจ โดยไม่ยื่นอุทธรณ์ จะขอบคุณมาก” นางดวงนภากล่าว

จากนั้น เวลา 12.20 น. นางปรียานันท์ พร้อมด้วยนางดวงนภา และนายยงยุทธ ได้เดินทางมาเข้าพบนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สธ. เพื่อเรียกร้องให้ สธ.ไม่อุทรณ์คำสั่งศาล โดยนายไชยา ได้ออกมารับเรื่องด้วยตนเอง และได้มอบเงินสดช่วยเหลือให้กับนายดวงนภา จำนวน 5,000 บาท และให้นายนฤพนธ์ ประคุณวงศ์ ผู้เสียหายทางการแพทย์อีกราย ที่มีปัญหาฟ้องร้องกับโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ สุขาภิบาล 3 และสำนักงานหนักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สปสช.) กรณีประมาทในการทำคลอด ทำให้บุตรสาวขาดอากาศหายใจเพราะติดอยู่ระหว่างช่องคลอดนาน 10 นาที ซึ่งศาลอนาถา นัดไกล่เกลี่ยในวันที่ 12 พฤษภาคมนี้ อีกจำนวน 10,000 บาท

นายไชยา กล่าวว่า จะสั่งการให้ สธ.ไม่อุทรณ์คำสั่งศาล และจะชดใช้ค่าเสียหายโดยเร็ว เพราะวงเงิน 3.9 ล้านบาท อยู่ในอำนาจของ สธ. โดยจะหารือกับอัยการเพื่อดำเนินการตามที่ศาลสั่งทันที โดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ซึ่ง สธ. ซึ่งขณะนี้ สธ.ได้เร่งผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... เพื่อให้ลดปัญหาการฟ้องร้องแพทย์ ทั้งนี้ ตนเห็นใจทั้งฝ่ายแพทย์ ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่หนัก และคนไข้ที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาของแพทย์

ด้านนางปรียนันท์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา ตนได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี โดยได้เสนอ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... ซึ่งหากนายกรัฐมนตรี เห็นชอบจะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหลักจากนั้นตนจะเข้าชื่อ 10,000 ชื่อ เพื่อเสนอเป็นกฎหมายอีกทางหนึ่งด้วย เพื่อให้ได้มีสิทธิ์เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการวิสามัญร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองฯ ร่วมพิจารณา พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วย เนื่องจากยังมีข้อถกเถียง 2 ประเด็นที่ยังถกเถียงกันอยู่ คือ กรณีที่รับเงินชดเชยแล้วจะต้องไม่ฟ้องร้องแพทย์อีก และให้ยกเลิกการฟ้องร้องคดีอาญากับแพทย์

โดย: เครือข่ายฯ [1 พ.ค. 51 18:22] ( IP A:58.9.222.27 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   https://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1209650014

จากกระทู้ใน TCC ของหมอ ๆ เขา


การต่อสู้คดี สิ่งถูกต้องคือ ต้องสู้กันให้ถึงที่สุด
แต่สำหรับกรณีนี้ และอีกหลาย ๆ กรณี เครือข่ายฯ
เห็นว่าหากรอให้ถึง 3 ศาล บางทีผู้เสียหายจะมีชีวิตอยู่ถึงหรือเปล่า
จากสภาพความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น อด ๆ อยาก ๆ กับภาระที่ต้องมีค่า
ดูแลลูกเดือนละเกือบ 1 หมื่นบาท (แม้จะใช้บัตรทอง) กับรายได้ที่พ่อที่เป็นกรรมกรวันละ 200 บาท บางวันเขาไม่จ้างก็ไม่มี ลูกชายคนเล็กเรียนเก่งเหมือนพี่ต้องออกจากโรงเรียนมารับจ้างเหมือนพ่อเพื่อหาเงินมาดูแลรักษาพี่

เครือข่ายฯ เคยหาคนบริจาคเงินซื้ออุปกรณ์เสริมสวยให้แม่เขา เพื่อจะได้มีรายได้อีกทาง แต่ความที่ลูกอึฉี่ไม่เป็นเวลา แพมเพิสก็ไม่มี กลิ่นเหม็นคลุ้ง ลูกค้าก็หายไปหมด ทำอาหารขายคนก็คงไม่ซื้อกิน
คนเป็นแม่มีแต่ความเครียด ใกล้จะบ้าแล้วไปไหนก็ไม่ได้ เหมือนตายทั้งเป็น สภาพจิตใจเสื่อมโทรม

วันก่อนมีพายุลูกเห็บ ลมหอบหลังคาหายไป ทั้งครอบครัวนอนหนาวสั่นท่ามกลางลูกเห็บเป็นกอง ๆ เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้คือเหตุผลที่เครือข่ายฯ จะเป็นต้องเข้าอกเข้าใจเนื่องจากเราเป็นผู้เสียหายด้วยกัน ลำบากแบบไหน อย่างไร เท่าใด เรากันเองเท่านั้นที่จะรู้ คนนอกเขาไม่เข้าใจหรอกว่าทำไมต้องขอร้องกระทรวงไม่ให้อุทธรณ์คดี

บางครั้งคำว่า "มนุษยธรรม" มันก็ไม่มีเหตุผลหรอก
ต้องคนเคยโดนแบบพวกเราถึงจะเข้าใจ
โดย: เครือข่ายฯ [1 พ.ค. 51 22:47] ( IP A:58.9.198.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   อืม...ถ้ามีการเยียวยาไปก่อนในระดับนึง..

ส่วนเรื่องคดีก็ว่ากันไปอีกเรื่อง...ปัญหาทำนองนี้คงจะหมดไป

เมื่อผลคดีสิ้นสุดอย่างไร...ค่อยมาว่ากันอีกที..

ก็จริงอย่างที่คุณว่า...ความเสียหาย..ความทุกข์ทรมาน..ใครไม่โดนก็คงไม่รู้..

สำหรับคดีนี้...หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่กล่าว..

มันควรจะเยียวยากันตั้งนานแล้ว..

ไม่ใช่ให้เรื่องมันถึงโรงถึงศาล..

คงต้องรอดูกันต่อไป
โดย: Dr.Tum [1 พ.ค. 51 22:55] ( IP A:124.121.234.39 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ไม่เคยมีรอยยิ้ม
หลายคนเคยถามว่าทำไมมีแต่ความทุกข์
ของแบบนี้ไม่เกิดกับใครไม่รู้หรอก
ต้องอยู่กับคนป่วยที่เป็นแบบนี้ตลอดเวลา
อด ๆ อยาก ๆ ด้วย ถามว่าเครียดมั้ย

โดย: สงสารพ่อแม่และน้องเขามาก [1 พ.ค. 51 22:57] ( IP A:58.9.198.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   เอาเถอะ เพื่อเห็นแก่มนุษยธรรม
ในเครือข่ายฯ มีคนทุกข์แบบนี้อีกมากมาย
เราไม่สามารถทำอะไรให้ถูกใจใครทุกคนได้
แต่เรายึดมนุษยธรรมเป็นหลัก

โดย: เครือข่ายฯ [1 พ.ค. 51 22:59] ( IP A:58.9.198.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   เครือข่ายฯ ขอแก้ข่าวนี้

ด้านนางปรียนันท์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา ตนได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี โดยได้เสนอ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... ซึ่งหากนายกรัฐมนตรี เห็นชอบจะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหลักจากนั้นตนจะเข้าชื่อ 10,000 ชื่อ เพื่อเสนอเป็นกฎหมายอีกทางหนึ่งด้วย เพื่อให้ได้มีสิทธิ์เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการวิสามัญร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองฯ ร่วมพิจารณา พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วย เนื่องจากยังมีข้อถกเถียง 2 ประเด็นที่ยังถกเถียงกันอยู่ คือ กรณีที่รับเงินชดเชยแล้วจะต้องไม่ฟ้องร้องแพทย์อีก และให้ยกเลิกการฟ้องร้องคดีอาญากับแพทย์

ที่ถูกต้องคือเครือข่ายฯ ให้ข่าวว่า ขณะนี้ สส.พรรคพลังประชาชน จากภาคอีสาน นำโดยสส.ชัยภูมิ และอีก 20 กว่าท่าน เข้าชื่อกันเสนอ พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ แต่เนื่องจากเป็นกฎหมายการเงิน จึงต้องเสนอต่อนายกรัฐมนตรีให้ลงนามเห็นชอบเสียก่อน เขายื่นไปแล้วเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2551 หากนายกรัฐมนตรีลงนามแล้ว กฎหมายจะเข้าสู่สภาในเดือนสิงหาคม 2551

แต่เนื่องจาก สส.เสนอกฎหมาย พวกเราก็เข้าไปเป็นกรรมาธิการวิสามัญลำบาก เพราะต้องวิ่งไปขอโควต้าจาก สส.พรรคโน้นพรรคนี้ พวกเราก็ไม่ค่อยรู้จักนักการเมืองเท่าไหร่ ก็ได้รับคำแนะนำจากผู้รู้ว่าให้เข้าชื่อกัน 10000 ชื่อเสนอกฎหมายเข้าไปได้ แล้วจะได้รับความชอบธรรมได้โควต้าเข้าไปเป็นกรรมาธิการวิสามัญได้ถึง 1 ในสาม เพื่อจะมีโอกาสได้ชี้แจงมีปากมีเสียงแทนผู้เสียหายได้

สงสัยน้อง ๆ นักข่าวจดได้ไม่ครบ หรือเป็นเพราะเราให้สัมภาษณ์ไม่รู้เรื่องก็เป็นได้

จึงขอแก้ข่าว เพราะเราไม่เคยได้พบนายกรัฐมนตรีแม้แต่ครั้งเดียว
โดย: เครือข่ายฯ [1 พ.ค. 51 23:14] ( IP A:58.9.198.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   คดีนี้ ทางรพ.เขาพยายามยื่นข้อเสนอให้จบเรื่องตั้งแต่แรก 5 หมื่นบาท ต่อมาผู้เสียหายมาขอความช่วยเหลือจากเครือข่ายฯ ก็แนะนำเขาให้ไปขอเวชระเบียน (ขอยากไม่ได้ให้ง่าย ๆ ) ก็มีการต่อรองจ่ายเพิ่มเป็น 1.5 แสน เครือข่ายฯ พาไปหา รมต.พินิจให้ช่วยเหลือ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องฟ้องร้องกัน แต่ทุกสิ่งทุกอย่างก็เงียบ ไม่มีใครช่วยแม้แต่คนเดียว เรื่องจึงบานปลายมาจนทุกวันนี้
โดย: เครือข่ายฯ [1 พ.ค. 51 23:29] ( IP A:58.9.198.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
    ขอบคุณทุกๆข้อมูลครับ วันนี้บริษัทประชุมด่วนเลยอดไปฟังคำพิพากษาด้วยครับ
โดย: เจ้าบ้าน [2 พ.ค. 51 1:26] ( IP A:124.121.136.14 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   จากข้อความของ Dr.Tum

ผมไม่เข้าใจว่าสังคมมองอะไรผิดไปหรือเปล่า..

อุทธรณ์ไม่อุทธรณ์....หรือฎีกา...มันไม่ใช่เรื่องของความเห็นใจ..


เรื่องนี้เครือข่ายฯ เห็นว่า แพทย์ของรพ.จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็น รพ.รัฐบาล มีพรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539 คุ้มครองอยู่ และในมาตรา 11 ก็มีอยู่ 2 แนวทาง คือ (ขออธิบายเป็นภาษาชาวบ้าน)

1. ร้องเรียนไปที่ สำนักงานปลัดฯ สป.ตั้งกก.สอบ และกำหนดค่าชดเชยได้ โดยไม่ต้องให้ผู้เสียหายไปฟ้องศาล

2.ฟ้องศาล และมีการไล่เบี้ยหมอด้วย

เราก็เห็นว่า หลาย ๆ คดีที่ผ่านมาหากผู้เสียหายอยู่ในสภาพที่น่าเวทนา สภาพความเป็นอยู่ลำบากแสนสาหัส สธ.ก็ไม่มีการอุทธรณ์
ดังนั้นกรณีน้องโจ้ก็ทำได้ ทุกคดีก็น่าจะทำได้ เพราะผู้เสียหายเกือบทุกรายมีสภาพไม่ต่างกันมากนัก เนื่องจากมาตรา 11 แนวทางที่ 1 เขาก็กำหนดไว้ แต่ปกติ สป.ไม่ทำตามเจตนารมย์ของกฎหมาย ผลักให้เราไปฟ้อง ทีนี้พอฟ้องแล้วคนไข้ชนะเขาก็ไม่อยากสู้ต่อเพราะมันนาน คนไข้ช้ำ หมอก็ช้ำ

เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก กฎหมายบางครั้งก็ไม่ใช่คำตอบของทุกโจทย์ในสังคม มองความเป็นจริง และปรับข้อกฎหมายให้เข้ากับข้อเท็จจริง และบางครั้งกฎหมายไม่เป็นปัญหา แต่เป็นปัญหาที่ตัวบุคคล
โดย: เครือข่ายฯ [2 พ.ค. 51 7:34] ( IP A:58.9.190.112 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   มุมมองของผม
เครือข่ายทำหน้าที่ได้ดีในส่วนหนึ่ง
แต่ผมมองว่าปัญหายังมีอีกมากและเราไม่สามารถแก้ไขโดยไม่แก้ที่กรอบใหญ่
การชดชเยเป็นสิ่งจำเป็นแต่กลไกมันบิดเบี้ยวเพราะทุกอย่างไม่สะท้อนความจริง จนวันหนึ่งระบบจะอยู่ไม่ได้
เพราะการชดเชยเป็นกลไกในตลาดเสรี แต่ในขณะที่รัฐดำเนินการแบบรัฐสวัสดิการ ทุกอย่างค่อนข้างrigidไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ทันการเปลี่ยนแปลง อย่างเหตุการณ์นี้ผมเห็นด้วยที่จะให้ชดเชย แต่ระยะยาวล่ะ พรบ.คุ้มครองหรือ? ก็ได้ค่าชดชเยแต่คนไข้ปลอดภัยขึ้นหรือเปล่า ฟ้องอาญาหรือ? หมอเข้าคุกแต่คนไข้ปลอดภัยขึ้นหรือเปล่า
ถ้ากรอบใหญ่ของความคิดว่าระบบตลาดเสรี(ทั้งข้อมูล การบริการการตัดสินใจฯลฯ) เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพทุกคนตัดสินในสิ่งที่ดีที่สุด เราต้องให้ระบบรัฐสวัสดิการกลายเป็นแบบเสรีโดยรัฐสนับสนุน
สปสช.ต้องเป็นที่เผยแพร่ข้อมูลสำหรับให้ประชาชนตัดสินใจ รพ.มีกี่แห่ง ตั้งที่ไหน ให้บริการอะไร ผลการรักษาที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ ค่าใช้จ่ายในการรักษาเท่าใด แสะปสชง สนับสนุนเท่าใด เช่น ถ้าคนเป็นไส้ติ่งอักเสบ ติดต่อสปสช. รู้ว่ามีกี่รพ.ในละแวกบ้านที่ผ่าไส้ติ่งได้มาตรฐาน รพ.ไหนสปสช.ตามจ่ายให้ทั้งหมดหรือบางส่วน เตียงว่างอยู่หรือไม่ คนตัดสินใจเลือกรพ. ดำเนินการรักษาจนเสร็จ รพ.รัฐแต่ละรพ.ต้องบริหารแบบกึ่งเอกชนได้มีการบริหารบุคคลแบบมีประสิทธิภาพดึงหมอเก่งๆดีๆให้อยู่กับรพ. แบบนี้คนไข้ถึงจะปลอดภัย
โดย: ปลอดภัยไว้ก่อน [2 พ.ค. 51 8:13] ( IP A:202.149.122.21 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   เรียน ความเห็น 10

เราต่างทำหน้าที่ของตนเอง และปัญหาในภาพรวมนั้นเราเองก็ตระหนัก วันนี้ปัญหามันบานปลาย ทุกฝ่ายต้องลุกขึ้นมาช่วยกันแก้ไขปัญหา มากกว่านั่งแก้ในมุมของตนเอง สิ่งไหนมีความเป็นไปได้และเป็นทางออกของปัญหาร่วมกัน ต้องมาช่วยกันแก้

สำคัญคือเราได้รับบทเรียนกันมามากพอแล้ว วันนี้เราเอาความจริงใจมาพูดกัน เอาความจริงมาวางบนโต๊ะ ต้องไม่มีผลประโยชน์อื่นใดแอบแฝง และตั้งแง่ใส่กัน

ความยากมันอยู่ตรงเรื่องผลประโยชน์อื่นใดแอบแฝงนี่แหละ เพราะทุกวันนี้ปัญหามันเกิดจากตรงนี้ หากมองผลประโยชน์ของสังคมล้วน ๆ ปัญหามันแก้จบได้ง่าย ๆ และนานไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องสร้างเครื่องมือใหม่ ๆ

ถึงเวลาแล้ว แต่ใครจะเป็นเจ้าภาพ ให้รัฐบาลทำก็ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน อย่าดีแต่ออกความเห็นและวิจารณ์อย่างเดียว เพราะบางทีคนที่ทำหน้าที่แก้ปัญหาก็ไม่ได้ตรัสรู้ไปหมดทุกเรื่อง หรือบางทีคนที่ทำหน้าทีแก้ปัญหาก็ดันไม่เป็นกลาง และกีดกันผู้มีส่วนได้เสียไม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อผลักดันนโยบายให้ตนเองได้ประโยชน์ฝ่ายเดียวก็มี

เครือข่ายฯ ได้รับการปฏิบัติหลายรูปแบบที่ผ่านมา เลยทำให้มองว่าการแก้ไขปัญหานั้น หลายภาคส่วนพร้อมหรือยังที่จะมองข้ามผลประโยชน์ส่วนตน แล้วมองผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

ถ้าท่านพร้อม เครือข่ายฯ ก็พร้อม (พร้อมมานานแล้ว)
โดย: เครือข่ายฯ [2 พ.ค. 51 8:30] ( IP A:58.9.190.112 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   เห็นแล้วสงสารน้องโจ้และครอบครัวจัง!! ให้กำลังใจนะคะขอให้ๆด้รับเงินเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนไวๆๆและขอให้หมอและบุคคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับชีวิตของคนจงมีความระมัดระวังและรับผิดชอบให้มากกว่านี้ อย่าเห็นความเจ็บปวดของคนไข้เป็นสิ่งที่คุ้นเคย เพราะหากเกิดเหตุการแบบน้องโจ้แล้วหลายๆคนในครอบครัวเขาต้องอยู่กับความทุกข์ไปตอลดชีวิต
โดย: เห็นใจมากค่ะ [2 พ.ค. 51 12:05] ( IP A:125.25.150.255 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   วันที่ 1 พฤษภาคม 2551 เวลา 14:34 น.

“ไชยา”ยันมีเจตนาไม่อุทธรณ์คดี “น้องโจ้”


ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.30 น. ภายหลังจากนางดวงนภา ปันนินา มารดาของ “น้องโจ้” นายยงยุทธ ปันนินา อายุ 23 ปี ได้ซึ่งพิการทางสมอง ได้เข้าพบสื่อมวลชนประจำ สธ. หลังจากนั้นได้เดินทางเข้าพบนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข เพื่อขอร้องไม่ให้อุทธรณ์คดี

โดย นายไชยา กล่าวว่า เท่าที่เห็นสภาพผู้ป่วยทาง สธ.มีเจตนาไม่อุทธรณ์ เพราะรับทราบถึงความจำเป็นของครอบครัวที่ต้องลำบากในการดูแลหลังจากที่น้องโจ้สมองพิการ ซึ่งหาก สธ.ยังยื่นเรื่องอุทธรณ์อีกก็จะเป็นการซ้ำเติมครอบครัวน้องโจ้ ซึ่งตนเองก็อยากให้เรื่องนี้จบโดยเร็ว

นายไชยา ยังได้กล่าวถึง ปัญหาเรื่องการฟ้องร้องระหว่างแพทย์และผู้ป่วยว่า ในส่วนของเสนอกฎหมายกองทุนชดเชยผู้ได้รับความเสียหายทางการแพทย์นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของทางกฤษฎีกา ตนคิดว่ากฎหมายนี้จำเป็นต้องมี เพราะนอกจากช่วยผู้ป่วยแล้ว ยังช่วยลดความขัดแย้งระหว่างแพทย์และผู้ป่วยด้วย ส่วนกรณีที่ทางแพทย์สภาเสนอให้มีการตัดมาตรา 31 ไม่ให้มีการฟ้องร้องแพทย์ต่อหลังรับชดเชยนั้น โดยส่วนตัวเห็นว่า ยังต้องคงไว้ เพราะว่าหากเกิดจากความประมาทเลินเล่อก็จำเป็นต้องดำเนินการ แต่หากเป็นความผิดพลาดทางการแพทย์แบบสุดวิสัยถือเป็นเรื่องที่ต้องเห็นใจกัน

ทั้งนี้นายไชยายังได้มอบเงินจำนวน 5,000 บาท ให้กับครอบครัวน้องโจ้ และมอบเงิน 1 หมื่นบาทให้กับนายนฤพนธ์ ประคุณวงศ์ บิดาของ ด.ญ.ณ.พรสรวง ประคุณวงศ์ อายุ 2 ปี ซึ่งขาดออกซิเจนขณะคลอดที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง และอยู่ระหว่างดำเนินคดีฟ้องร้อง ซึ่งร่วมเดินทางมาร้องเรียนด้วย

ด้าน นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ภายหลังจากกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้กระทรวงสาธารณสุขจ่ายค่าชดเชยให้นางดอกรัก เพ็ชรประเสริฐ ซึ่งตามองไม่เห็นจากการแพ้ยา ทางกระทรวงการคลังได้มีการขยายเพดานการจ่ายเงินค่าชดเชยตามคำสั่งศาลกรณีเกิดความเสียหายทางการแพทย์ให้กับกระทรวงสาธารณสุข จากเดิมที่เคยกำหนดไว้เพียงแค่ 2 ล้านบาท ซึ่งหากเกินกว่านั้นต้องนำเรื่องเข้าคณะกรรมการของกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณา ซึ่งกรณีของน้องโจ้ ทาง สธ.สามารถพิจารณาร่วมกับสำนักอัยการได้เลย โดยไม่ต้องผ่านกระทรวงการคลัง โดยจะทราบผลว่าจะมีการอุทธรณ์หรือไม่ภายในเดือน พ.ค.นี้ โดยต้องรอผลคำตัดสินจากศาลส่งมายังกระทรวงก่อน

ขณะที่ นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า กรณีน้องโจ้ต้องทนทุกข์ทรมานมากว่า 3 ปี โดยขณะนี้น้องโจ้อายุ 23 ปีแล้ว ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมา ครอบครัวไม่สามารถทำมาหากินได้ เพราะต้องคอยดูแล แม่ทำอาหารขายก็ไม่มีคนซื้อ เพราะถูกรังเกียจสภาพน้องโจ้ แถมน้องชายยังไม่ได้เรียนต่อที่มีผลการเรียนดีต้องออกมาทำงานก่อสร้างเพื่อช่วยเหลือครอบครัว ดังนั้นจึงอยากให้ สธ.เห็นใจแด้วย

นางปรียนันท์ ยังได้กล่าวถึงความคืบหน้าร่าง พ.ร.บ. กองทุนชดเชยผู้ได้รับความเสียหายทางการแพทย์ ว่า ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 เม.ย. ที่ผ่านมา ได้มี ส.ส.พรรคพลังประชาชน รวมตัวกันนำเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ต่อนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ซึ่งตนอยากขอให้นายกรัฐมนตรีเร่งรัดนำกฎหมายนี้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภาโดยเร็ว โดยพิจารณาควบคู่กับร่างกฎหมายที่นำเสนอโดยกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ตนพยายามผลักดันกฎหมายนี้มา 6 ปีแล้ว และมีความหวังถึง 90% ว่าจะสามารถออกมาใช้ได้.
โดย: ข่าวจากเดลินิวส์ [2 พ.ค. 51 23:39] ( IP A:58.9.197.195 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
    เห่อ ๆ

มาสายตามเคยค่ะ

หาทางเข้าเวปไม่เจอ

กว่าจะเจอ 555

โดย: Gross Negligence [3 พ.ค. 51 11:59] ( IP A:61.19.65.234 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
    ชีวิตหนึ่งชีวิต ทำราคาได้ไม่เท่ากัน
คุณเป็นใคร? จะได้กี่บาท
กระโผมเป็นใคร? จะได้สักกี่บาท
แต่บางคน เป็นแสน ๆ ล้านอย่าไปทำพลาดกับอดีตลูกรัฐมนเอกนะครับ
ไอ้กระโผมกลัวกระทรวงสาธารณะสุขจะเจ้งไปทั้งชาติ
โดย: คนหลังเขา [4 พ.ค. 51 13:26] ( IP A:118.174.170.52 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   Court Orders Bt3.9million Compensation To A Patient
Posted by george - 2008-05-01 16:48 - 9 comments
Court orders Bt3.9million compensation to a patient

NONTHABURI: -- The Nonthaburi Provincial Court Thursday ordered the Public Health Ministry to pay Bt3.9million compensation for causing brain damages to a young man.

Yongyuth Pannina, now 23, becomes permanently disabled as a result of medical malpractice while he was seeking treatment at a state hospital in early 2005. His mother, Duangnapa, has since sued the Public Health Ministry.

-- The Nation 2008-05-01
โดย: เครือข่ายฯ [6 พ.ค. 51 13:41] ( IP A:58.9.186.126 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
    ดูกี่ข่าวก็เหมือนวนไป วนมา

ก่อนจะมีการฟ้องร้อง หามาตรการที่ลดการฟ้องร้อง ดีกว่า

เริ่มต้นที่ รพ เกิดเรื่องเลยดีกว่า

ให้ชดเชยความเสียหายให้คุ้มค่ากับสิ่งที่มันเสียหายไป

เพราะท่านเองรู้อยู่แก่ใจว่ามันเสียหายระดับไหน

เพราะท่านเป็นคนทำ

ถ้าไม่อยากมาต่อรองกันที่ศาล 2-3 รอบ

นึกถึงบ้านคนจน ไปศาลที ต้องยืมเงินร้อยละ 10 เป็นค่าใช้จ่าย กลับมาก็มาหาเงินใช้หนี้ ใช้หนี้ยังไม่ทันหมด ศาลเรียกไปอีกแล้ว ไปยืมใครได้อีก หนี้เก่ายังจ่ายไม่หมด

เฮ้ย ...... เห็นใจครอบครัวน้องโจ้ ดีใจด้วยที่ชนะดดีนี้ แต่เงิน 3.9 ก็คงอยู่กับครอบครัวนี้ได้ไม่กี่ปี ตรงนี้ต้องอยู่ที่การบริหารเงินการจัดการสถาณการณ์ของครอบครัวนี้อีกที แต่ว่าอนาคตถ้าพ่อแม่ไม่มีแล้วน้องโจ้ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ นึกไม่ออกเลยค่ะสภาพพวกนี้ ?

เอาใจช่วยครอบครัวน้องโจ้ ค่ะ
โดย: Gross Negligence [8 พ.ค. 51 7:33] ( IP A:61.19.65.237 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน