แพทยสภาหวั่น พรบ.ผู้บริโภคใหม่จะถูกฟ้องอ่วม
    มติชน
วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11098

แพทยสภาจี้"วิชาญ"ถามกฤษฎีกา หวั่นพ.ร.บ.ผู้บริโภคใหม่ฟ้องอ่วม



เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา อนุกรรมการพัฒนากฎหมาย แพทยสภา กล่าวว่า ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรักษาการสภานายกพิเศษแพทยสภา เพื่อขอให้ส่งคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 สิงหาคมนี้ เป็นวันแรก ว่า หากการพิจารณาคดีผู้รับบริการทางการแพทย์ยึดถือตาม พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว จะก่อให้เกิดคดีฟ้องร้องทางการแพทย์มากขึ้น

"ในอนาคตจะส่งผลเสียต่อระบบการรักษาผู้ป่วย โดยเฉพาะปัญหาความลังเลในการตัดสินใจรักษาผู้ป่วยหนัก เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตทั้งที่แพทย์ได้รักษาอย่างสุดความสามารถแล้ว ทำให้แพทย์ไม่กล้าเสี่ยงที่จะรักษาผู้ป่วยเนื่องจากกลัวว่าผู้ป่วยจะตายในมือ" พญ.เชิดชูกล่าว

นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้ได้รับความเสียหายจากการบริการทางการแพทย์ กล่าวถึงกรณีที่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคว่า พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว เปิดช่องทางให้ฟ้องร้องได้สะดวก ง่ายและรวดเร็วขึ้น อาทิ ไม่ต้องกรอกแบบฟอร์มคำฟ้อง และผู้ฟ้องไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ว่า เครือข่ายผู้ได้รับความเสียหายฯและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจะหารือถึงการดำเนินการของ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวในวันที่ 17 สิงหาคมนี้ เพื่อพิจารณาฟ้องร้องคดีในวันที่ 23 สิงหาคม นี้ ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายบังคับใช้เป็นวันแรก เพื่อเป็นกรณีตัวอย่าง ซึ่งจะเป็นผู้บริโภคที่ถูกเอาเปรียบในทุกๆ ด้าน ไม่ใช่เฉพาะผู้เสียหายด้านสาธารณสุขเท่านั้น

นางปรียนันท์กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ร้องเรียนมาที่มูลนิธิหลายร้อยราย ซึ่งคงจะทยอยให้กรณีศึกษาเหล่านี้เข้าสู่ระบบกระบวนการยุติธรรม ขณะเดียวกัน ก็จะทำหน้าที่แบ่งเบาการทำงานของศาลในการจัดลำดับเหตุการณ์ ข้อมูลของผู้ป่วยทั้งหมดเท่าที่มี เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคดีของศาล

ซึ่งหากแพทยสภา กองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพที่ดูแลสถานพยาบาลเอกชน และ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ดูแลสถานพยาบาลภาครัฐในสังกัด ถ้าทั้ง 3 หน่วยงานนี้ทำตัวเป็นที่พึ่งของประชาชนผู้เสียหาย คงไม่ต้องมีกฎหมายใหม่ๆ ขึ้นมาเช่นนี้

พ.ร.บ.ดังกล่าวเปรียบเหมือนแสงสว่างปลายอุโมงค์ที่มืดมิดของผู้บริโภคโดยเฉพาะผู้ป่วยที่พิกลพิการมาโดยตลอด ซึ่งถือว่าเป็นการมาเติมเต็มสิทธิของผู้บริโภค

แพทย์ไม่ควรตื่นตระหนกกับเรื่องเหล่านี้ ควรพลิกวิกฤตเป็นโอกาสนำความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมาเป็นบทเรียน มาสร้างเป็นองค์ความรู้ เพื่อนำสู่การแก้ปัญหาที่ถูกจุด แทนการปิดบังซุกซ่อนอย่างที่เป็นอยู่

แพทยสภาควรทบทวนบทบาทว่าทำหน้าที่อะไรอยู่ ทำให้วงการแพทย์เสื่อมหรือไม่ กับการที่ลุกมาเต้นกับเรื่องนี้
โดย: ฝนยังไม่ตก..อย่าเพิ่งกางร่ม [31 ก.ค. 51 1:27] ( IP A:58.9.191.72 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
    เครือข่ายผู้ป่วยฯ ลั่นประเดิมใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค 23 ส.ค.นี้แน่

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 29 กรกฎาคม 2551 09:35 น.


เครือข่ายผู้ป่วยฯ ลั่นประเดิมใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค 23 ส.ค.นี้แน่ จวก แพทยสภา-กรมสนับสนุนฯ-กองประกอบโรคศิลปะ หากเป็นที่พึ่งของ ปชช.ไม่ต้องมีกฎหมายใหม่ ด้านแพทยสภาส่งจดหมายเปิดผนึกถึง รมช.สาธารณสุข ขอให้กฤษฎีกาตีความห่วงฟ้องร้องแพทย์สูงขึ้นอีก

นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้ได้รับความเสียหายจากการบริการทางการแพทย์ กล่าวว่า เครือข่ายผู้ได้รับความเสียหายฯ จะร่วมหารือกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในวันที่ 17 ส.ค.นี้ เพื่อพิจารณา ว่า มีผู้บริโภคด้านสาธารณสุข รวมถึงผู้บริโภคที่ถูกเอาเปรียบในด้านต่างๆ พร้อมที่จะไปฟ้องร้องเป็นกรณีตัวอย่างในวันที่ 23 ส.ค.ซึ่งเป็นวันแรกที่ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้

“ขณะนี้มีผู้ร้องเรียนมากมายหลายร้อยราย ที่มาขอความช่วยเหลือจากเครือข่าย ดังนั้น เมื่อกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ คงจะทยอยให้เคสเหล่านี้เข้าสู่ระบบกระบวนการยุติธรรม ขณะเดียวกัน ก็จะทำหน้าที่แบ่งเบาการทำงานของศาลในการจัดลำดับเหตุการณ์ ข้อมูลของผู้ป่วยทั้งหมดเท่าที่มี เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคดีของศาล แต่ยังบอกไม่ได้ว่าในวันที่ 23 ส.ค.จะมีผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายกี่รายที่จะไปร้องตามกฎหมายใหม่” นางปรียนันท์ กล่าว

นางปรียนันท์ กล่าวต่อว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวเปรียบเสมือนแสงสว่างปลายอุโมงค์ที่มืดมิดของผู้บริโภคอย่างแท้จริง เพราะที่ผ่านมา กลไกในการเรียกร้องสิทธิของผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้ป่วยที่พิกลพิการมาโดยตลอด จึงถือเป็นการมาเติมเต็มสิทธิของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นภาระการพิสูจน์ถูกผิดจะไม่ตกเป็นของผู้เสียหายอีกแล้ว ค่าธรรมเนียมศาลก็ไม่ต้องเสีย ทนายความก็ไม่ต้องหา ฯลฯ ทำให้การเข้าถึงสิทธิของผู้เสียหายเป็นไปได้ยาก

นางปรียนันท์ กล่าวอีกว่า การฟ้องร้องจะมีมากขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากการฟ้องร้องสามารถดำเนินการได้ง่ายขึ้นอีกทั้งความเป็นจริง คือ คดี ความเสียหายต่างๆ มีเกิดขึ้นอยู่แล้ว แต่การเข้าถึงสิทธิของผู้เสียหายทำได้ยาก มีการซุกซ่อนเรื่องราวเพื่อไม่ให้เกิดเป็นคดีความ นอกจากนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพทั้งหลายไม่ควรตื่นตระหนกกับเรื่องเหล่านี้ ควรพลิกวิกฤตเป็นโอกาสนำความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมาเป็นบทเรียน มาสร้างเป็นองค์ความรู้ เพื่อนำสู่การแก้ปัญหาที่ถูกจุด แทนการปิดบังซุกซ่อนอย่างที่เป็นอยู่

“แพทยสภา กองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพที่ดูแลสถานพยาบาลเอกชน และ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ดูแลสถานพยาบาลภาครัฐในสังกัด ถ้าทั้ง 3 หน่วยงานนี้ทำตัวเป็นที่พึ่งของประชาชนผู้เสียหาย คงไม่ต้องมีกฎหมายใหม่ๆ ขึ้นมาเช่นนี้ และจะให้ประชาชนอยู่อย่างไร อะไรไม่ดีก็โวย อะไรดีเป็นผลประโยชน์กับพวกก็ดีใจ ต้องถามกลับไปว่าแล้วชีวิตของคนไข้ที่ตายจะรับผิดชอบอย่างไร ส่วนที่แพทยสภาเรียกร้องให้ตีความว่าสถานพยาบาลเอกชนเข้าข่ายในกฎหมายนี้หรือไม่นั้น แพทยสภาควรทบทวนบทบาทว่าทำหน้าที่อะไรอยู่ ทำให้วงการแพทย์เสื่อมหรือไม่ กับการที่ลุกมาเต้นกับเรื่องนี้” นางปรียนันท์ กล่าว

ขณะที่ พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา อนุกรรมการพัฒนากฎหมายแพทยสภา กล่าวว่า ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รมช.สาธารณสุข ในฐานะรักษาการสภานายกพิเศษแพทยสภา เพื่อขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค 2551 เนื่องจาก ฝ่ายผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ เช่นแพทยสภา แพทยสมาคม สภาพยาบาล และกลุ่มโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนของกระทรวงสาธารณสุขได้แสดงความวิตกกังวลว่า หากการพิจารณาคดีผู้รับบริการทางการแพทย์ยึดถือตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 จะก่อให้เกิดคดีฟ้องร้องทางการแพทย์มากขึ้น

“ถ้าจะใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคมาพิจารณาคดีการบริการทางการแพทย์และโรงพยาบาลรับรองว่า จะเกิดปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะความลังเลในการตัดสินใจรักษาผู้ป่วยหนัก เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่ผู้ป่วยจะตายทั้งๆที่แพทย์ได้รักษาอย่างสุดความสามารถแล้ว เพราะแพทย์ไม่กล้าเสี่ยงที่จะรักษาผู้ป่วย เนื่องจากกลัวว่าผู้ป่วยจะตายในมืออันจะนำไปสู่ความเสียหายแก่ประชาชนและแพทย์ทั่วไป” พญ.เชิดชู กล่าว

พญ.เชิดชู กล่าวด้วยว่า รมช.สาธารณสุข ควรพิจารณาทำคำขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 เพื่อให้เกิดความชัดเจนในวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม ถ้า พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 รวมเอาคดีฟ้องร้องในการรับบริการทางการแพทย์ด้วย ก็ควรมีการแก้ไข พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคให้เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยแก่ประชาชนทั่วไปที่จะได้รับการรักษาโดยผู้ประกอบวิชาชีพที่มีความมั่นใจว่าจะไม่ถูกฟ้องร้องและได้รับการพิจารณาคดีโดยไม่เป็นธรรม
โดย: จากผู้จัดการออนไลน์ [31 ก.ค. 51 1:35] ( IP A:58.9.191.72 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   มีเครือข่ายฯ คอยป่วนระบบสาธารณสุขของชาติแบบนี้ ก็ถือเป็นกรรมของประชาชนไป....
โดย: PM [31 ก.ค. 51 23:48] ( IP A:124.120.71.208 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ดีแล้วที่มีคนคอยเปิดแผลของแพทยสภา เอาไส้เน่าๆออกมาให้คนเห็น
โดย: 124 [1 ส.ค. 51 8:41] ( IP A:210.86.181.20 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
    เรียนความคิดเห็นที่ 3


ถ้าระบบสาธารณะสุขได้มันมีประสิทธิภาพ เครือข่ายเขาคงไม่มาเหนื่อยกันทั้งวันทั้งคืน แหกปากร้องเรียนกันหรอก

มันต้องมีที่มา มันถึงจะดำเนินเรื่องได้ และเดี๋ยวมันก็จะมีจุดจบเช่นกัน

คอยดูซิ _________________เซ็งเป็ด
โดย: GN สมาชิกเครือข่ายฯ [1 ส.ค. 51 9:35] ( IP A:117.47.126.181 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน