แพทย์หวั่นถูกฟ้อง วอน กมธ.แก้กฎหมายตัดบริการทางการแพทย์ออก
    แพทย์หวั่นถูกฟ้อง วอน กมธ.แก้กฎหมายตัดบริการทางการแพทย์ออก

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 22 สิงหาคม 2551 08:34 น.

https://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9510000099061


แพทยสภายกองค์กรวิชาชีพค้าน พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค แพทย์ระส่ำเสี่ยงถูกฟ้องร้อง เสนอ กมธ.สาธารณสุข แก้กฎหมายตัดบริการทางการแพทย์ออก ลั่นไม่แก้ไม่ได้เสียหายมหาศาล เหน็บองค์กรหรือสมาคมฟ้องแทนได้ ไม่รู้เอาเงินแบ่งกันหรือเปล่า ด้านเครือข่ายผู้ป่วยฯ ย้ำ หาก กม.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขคลอด ไม่บ้าฟ้องมั่ว เหนื่อยขึ้นโรงขึ้นศาล

นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนแพทยสภาได้ให้ข้อมูลกับคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฏร เมื่อวันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับความคิดเห็นต่อ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 พร้อมกับตัวแทนภาคประชาชน ได้แก่ นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข และ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยได้เสนอแนะให้ตัดในส่วนของคำจำกัดความของคำว่าบริการ ไม่ให้ครอบคลุมถึงการบริการทางสาธารณสุขในกฎหมายฉบับนี้ออกไป และให้เพิ่มว่ากฎหมายนี้ไม่รวมถึงการบริการทางด้านสาธารณสุข

“แพทยสภา โรงเรียนแพทย์ หน่วยงานวิชาชีพด้านสาธารณสุข และฝ่ายที่เกี่ยวข้องในวงการนี้ต่างล้วนไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้ทั้งสิ้น เนื่องจากในช่วงที่ออกกฎหมายไม่มีผู้ใดทราบมาก่อน ทั้งที่สร้างผลกระทบใหญ่หลวงกับจิตใจคนทำงาน เพราะเกรงว่าจะเกิดการฟ้องร้องในสาขาวิชาชีพเพิ่มมากขึ้น ทุกวันนี้บุคลากรทางการแพทย์ก็มีกฎหมายที่ควบคุมดูแลมาตรฐานวิชาชีพมากถึง 21 ฉบับอยู่แล้ว จะเพิ่มให้เป็นฉบับที่ 22 ให้เกิดความซ้ำซ้อนให้ปวดหัวทำไม”

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า แม้ว่า พ.ร.บ.นี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 ส.ค.นี้ แต่เมื่อส่งผลกระทบเสียหายมหาศาลกับคนที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น จึงมั่นใจว่า ในอนาคตจะต้องแก้ไขอย่างแน่นอน เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่แก้ไข หรือก็จะต้องมีข้อยกเว้นสำหรับการบริการด้านสาธารณสุขจนกว่าจะได้รับการแก้ไขและได้ข้อสรุป เพราะกฎหมายนี้ทำด้วยความหวังดี แต่มองด้านเดียว ไม่ดูถึงผลกระทบที่ตามมา นำไปสู่การฟ้องร้อง เพราะทั้งฟ้องง่าย ฟ้องปากเปล่าก็ได้ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม แถมอายุความยังยาวถึง 10 ปี อย่างนี้แพทย์ก็ไม่ต้องทำอะไรกันแล้ว ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยย่ำแย่ขึ้น ที่สำคัญ เปิดช่องให้สมาคมหรือองค์กรฟ้องได้แทน ไม่ทราบว่าจะนำเงินที่ได้ไปแบ่งกันหรือไม่

“กฎหมายนี้อาจดีสำหรับผู้บริโภคที่ใช้บริการสิ่งไม่มีชีวิต แต่สำหรับสิ่งมีชีวิต การอยากได้ลูกให้หล่อสวย หรือเปลี่ยนอะไหล่ในร่างกายดั่งใจก็ทำไม่ได้ ซึ่งในต่างประเทศที่มีกฎหมายเหมือนกันนี้ก็ล้วนแยกบริการทางการแพทย์ออกไปเป็นกฎหมายต่างหาก ไม่แน่ใจว่าหลังมีผลบังคับใช้โดยไม่แยกการบริการทางสาธารณสุขออกมาจะเป็นอย่างไร เพราะการให้บริการทุกวันนี้ 1.2 ล้านครั้งต่อปี ไม่ใช่ว่าผู้ป่วยจะพอใจทุกราย และถ้าไม่พอใจนิดหน่อยก็ฟ้องร้องกัน”

นพ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า หากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ซึ่งขณะนี้อยู่ในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีผลบังคับใช้ เครือข่ายผู้ป่วยก็เห็นด้วยหากจะแก้ไข พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดี เนื่องจากไม่มีผล เพราะต้องใช้กฎหมายเฉพาะทางด้านสาธารณสุขอยู่แล้ว แต่ในขณะนี้กฎหมายดังกล่าวยังไม่ใช้ จึงจำเป็นต้องแก้ไข

นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข กล่าวว่า ได้ให้เหตุผลกับคณะกรรมาธิการ ว่า ในแต่ละปีมีผู้พิการที่ได้รับผลกระทบจากความผิดพลาดในการรักษาพยาบาลมีจำนวนมาก แต่คดีที่เข้าสู่การพิจารณาคดีมีเพียง 200 คดีเท่านั้น และมีแพทย์ถูกตัดสินจำคุกเพียง 2 คดี ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนคนเจ็บ พิการ และตายไป

“ท่าทีของแพทยสภาเช่นนี้ ต้องถามกลับว่า มีจุดประสงค์อะไร เพราะที่ผ่านมาแพทยสภา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กองประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ก็ไม่เคยเป็นที่พึ่งให้กับผู้เสียทางการแพทย์ พร้อมทั้งยังพยายามปิดกั้นไม่หาทางออกของปัญหา และยังมาขัดขวางที่พึ่งแห่งใหม่ของผู้ป่วยอีก ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะชีวิตคนไข้ หากเกิดความผิดพลาดต้องมีผู้รับผิดชอบ ซึ่งความจริงแล้วผู้ป่วยไม่ต้องการฟ้องร้องเรื่องใดๆ เพราะหากพ.ร.บ.คุ้มครองฯมีผลบังคับใช้ ผู้ป่วยก็จะได้รับการเยียวยา คงไม่มีใครอยากมาขึ้นศาลฟ้องร้องไม่รู้จักจบสิ้น” นางปรียนันท์ กล่าว
โดย: เครือข่ายฯ [22 ส.ค. 51 10:19] ( IP A:58.9.197.20 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   พวกคุณไม่เคยเห็นด้วยกับอะไรทั้งสิ้นที่จะทำให้คนไข้ที่เสียหาย
ได้รับความเป็นธรรม หัวใจทำด้วยอะไร จำคำพูดของอ.สมศักดิ์
คำหนึ่งที่พูดว่า "คนไทยชอบเสี่ยงโชค ฟ้องไว้ก่อน เผื่อชนะ"

ก็ขอแนะนำในฐานะที่อาจารย์เป็นคนไทยเช่นกันว่า ลองให้ญาติ
พี่น้องของอาจารย์เป็นผู้เสียหาย แล้วเสี่ยงโชคดูสิ เผื่ออาจารย์
อาจจะได้เงินไปตั้งโรงพยาบาลลาดพร้าวแห่งที่ 2 อีกก็เป็นได้..!

อาจารย์สมศักดิ์ เป็นคนเก่ง แต่ขาดคุณธรรมประจำใจ ใจดำ
อำมหิต ใจร้ายกับผู้เสียหาย คุณไม่เคยมีเมตตาต่อผู้เสียหาย
ทุกคำพูดของคุณ เหมือนไม่ใช่คนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ
โดย: รวยแล้วยังใจดำอำมหิต [22 ส.ค. 51 10:24] ( IP A:58.9.197.20 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   

โดย: เครือข่ายฯ [22 ส.ค. 51 10:30] ( IP A:58.9.197.20 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
    นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา (เปลี่ยนคนนี้ก่อน)
แล้วค่อยเปลี่ยนอย่างอื่น จะง่ายกว่าค่ะ

โดย: GN+ [22 ส.ค. 51 14:05] ( IP A:222.123.209.119 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
    ทุกวันนี้บุคลากรทางการแพทย์ก็มีกฎหมายที่ควบคุมดูแลมาตรฐานวิชาชีพมากถึง 21 ฉบับอยู่แล้ว จะเพิ่มให้เป็นฉบับที่ 22 ให้เกิดความซ้ำซ้อนให้ปวดหัวทำไม”

อาจารย์สมศํกดิ์ต้องพูดใหม่ว่า
"หมอมีกฎหมายคุ้มครองหมอมากถึง 21 ฉบับอยู่แล้ว จะเพิ่มให้เป็นฉบับที่ 22 เพื่อให้ผู้เสียหายได้รับการคุ้มครองอีกทำไม เพราะแพทยสภาได้ปิดทางพวกมันไว้หมดแล้ว พวกนี้มันต้องเจ็บฟรี ตายฟรี
ให้มันมีปากมีเสียงไม่ได้ ต้องกดหัวพวกมันไว้ เพราะพวกเรา
เคยชินกับการทำผิดแล้วต้องไม่ผิด"
โดย: เหอ ๆ ๆ ๆ [22 ส.ค. 51 18:37] ( IP A:58.9.196.147 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   .....

โดย: เฮ้อ [22 ส.ค. 51 20:32] ( IP A:222.123.225.23 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา (เปลี่ยนคนนี้ก่อน)
แล้วค่อยเปลี่ยนอย่างอื่น จะง่ายกว่าค่ะ


โดย: GN+ [22 ส.ค. 51 14:05> ( IP A:222.123.209.119 X: )

คุณ GN เรียนรู้ได้เร็วกว่าผมอีกนะครับ เพิ่งเข้ามาแป๊บเดียวก็จับตัวหัวหน้าได้ ผมต้องใช้เวลาหลายปีทีเดียวถึงได้รู้ว่าหลงไปเชื่อแพทยสภาว่าสุจริตอยู่ตั้ง 2-3ปี
โดย: เจ้าบ้าน [22 ส.ค. 51 23:13] ( IP A:124.121.138.15 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ความเห็น 6 นี่ฝีมือแก้ไขตกแต่งใช้ได้เลย
สงสัย แก้ไขเวชระเบียนจนเคยชิน
โดย: หุ หุ [22 ส.ค. 51 23:36] ( IP A:58.9.200.121 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
    ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยย่ำแย่ขึ้น ที่สำคัญ เปิดช่องให้สมาคมหรือองค์กรฟ้องได้แทน ไม่ทราบว่าจะนำเงินที่ได้ไปแบ่งกันหรือไม่

ถ้าฟ้องแพทย์ไม่ได้ ความสัมพันธ์ ก็จะ**ดี***สิ...ว่างั้น ต๊าย ช่างคิดได้หนอยะหล่อน....เห็นแก่ตัว จริงๆ ทำให้มันดี ตั้งใจทำดีดี บอกข้อดีข้อเสียแก่ผู้ป่วย ไม่โกหก บิดเบือน และปล่อยปละ หรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวจนเกินไป .....ก็ไม่เห็นน่าจะมีปัญหาอะไรเลย

ผลิตนักศึกษาแพทย์ ออกมาเยอะๆ เลย รับรองว่า จะมีแพทย์ที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ มากขึ้นดีขึ้น เหมือนมีการพัฒนาแข่งขันด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ เด็กยากจนอยากเรียนหมอ เยอะแยะ แผ่นดินยังไม่สิ้นอนาคตของชาติ ที่กล้าหาญ เก่งกาจ คือเด็กไทยส่วนหนึ่ง ในหลายส่วน
โดย: จริยธรรม [23 ส.ค. 51 13:22] ( IP A:202.91.18.205 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   คนพวกนี้ฉลาดเสียเปล่า แต่โง่ในเรื่องแก้ไขปัญหา
แถมขี้ขลาดตาขาว กลัวคนไข้ฟ้อง ปิดกั้นหนทาง
หาความเป็นธรรมเขา นี่ละเมิดสิทธิมนุษยชนกันเลยนะ
ช่างกล้าทำได้ น่าไม่อาย
โดย: ฉลาดเสียเปล่า แต่โง่ [17 ก.ย. 51] ( IP A:61.90.86.168 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน