ความเคลื่อนไหว
   พี่เอหรือใครที่ไปงานเสวนาเป็นไงบ้างครับ
โดย: อนาคตมีทางเลือกเสมอ [17 ส.ค. 51 22:19] ( IP A:222.123.30.125 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   มีผู้ไปร่วมงานเต็มห้อง คาดว่าใกล้ ๆ พันคน
ผู้จัดงานบอกว่าประสบความสำเร็จ ในแง่ดึงผู้คนให้เข้ามาร่วมงาน
ทำให้สังคมได้รับรู้ว่า ผู้คนมีปัญหามากแค่ไหน
ก็ขอปรบมือให้กับองค์กรผู้ร่วมจัด

แต่ในแง่ของการแก้ไขปัญหา เราก็ยังคงหวังพึ่งกระบวนการต่าง ๆ
อย่างที่เคย แต่วันนี้พิเศษตรงที่มีกฎหมายใหม่
พรบ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551

ใคร ๆ ก็หวังพึ่ง

เครือข่ายผู้เสียหายก็หวังพึ่งเช่นกัน

แต่.....

ก็อยากให้สติทุกคนว่า..........

เราต้องพึ่งตนเองก่อนเป็นอันดับแรก
เราจะเอาทุกอย่างของชีวิตไปโยนให้คนอื่นจัดการไม่ได้

เราต้องรู้จักการลำดัยเหตุการณ์ให้ละเอียด
เพราะจะไม่มีใครมาใส่ใจรายละเอียดของเราเท่าตัวเราเอง
โดยเฉพาะคดีทางการแพทย์ รายละเอียดเป็นเรื่องสำคัญ
เวลาจำไม่ได้ให้ประมาน พูดคุยอะไรบ้าง ยาทานกี่ชนิด
อาการต่าง ๆ ต้องลำดับให้ละเอียด เพราะเป็นประโยชน์ต่อคดีทั้งสิ้น

เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้พร้อม ไม่ใช่วันนี้ให้ 10 แผ่น
อีก 3-4 วันให้อีกหนึ่งแผ่น มันจะทำให้คนทำงานยากขึ้น
ศึกษาเอกสารของเราให้ดี เขียนเลขที่หน้ากำกับไว้ด้วย
จะได้รู้ว่ามอบให้เขาไปกี่แผ่น (ควรเป็นสำเนาเท่านั้น)

ด้วยความเป็นห่วง

กฎหมายฉบับนี้จะเป็นที่พึ่งของพวกเราได้อย่างแน่นอน
ถ้า....ไม่มีปัจจัยอื่นแทรกแซง

ขอให้ทุกท่านโชคดี
ได้แต่หวังว่า เครือข่ายฯ จะได้เบางานเสียที
แบกแต่เรื่องชาวบ้านมามากแล้ว

ก็ขอให้คนใช้กฎหมายพึงระวังอย่าให้อะไรมาทำให้
การบังคับใช้กฎหมายมีปัญหา ไม่เช่นนั้นปัญหาก็จะเด้งกลับ
มาที่เครือข่ายฯ มากกว่าเดิมอีก......

โอววววว.............ไม่อาววววววววว............
โดย: เครือข่ายฯ [18 ส.ค. 51 6:52] ( IP A:58.9.191.33 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   เท่าที่ไปฟังจับประเด็นได้ รางๆ ว่าเคสฟ้องสถานพยาบาลเอกชนน่าจะใช้พรบ.พิจารณาคดีผู้บริโภคได้ แต่สถานพยาบาลของรัฐยังไม่แน่ว่าศาลจะรับคดีหรือไม่ เพราะอาจไม่เข้าข่ายเป็น"ผู้ประกอบการ"ตามกฎหมายนี้
โดย: เจ้าบ้าน [18 ส.ค. 51 9:08] ( IP A:210.86.181.20 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   วิธีเรียนกฎหมายอย่างหนึ่ง คือเรียนด้วยตนเอง
อ่าน พรบ แล้วลองตีความ และฟันธง ว่าใช่หรือไม่ใช่
ให้เหตุผลว่าทำไมใช่ ทำไมไม่ใช่
แล้วรอศาลฏีกา วินิจฉัยคดีจริงๆ
คดีนี้ ผมฟันธงว่า ถ้าเป็นสถานพยาบาลของรัฐ ใช้กฎหมายนี้ไม่ได้แน่นอน เพราะโรงพยาบาลของรัฐไม่ใช่ธุรกิจค้ากำไร
คนอื่นจะลองฟันธง บ้างก็ได้นะครับ ต้องหัด เป็นการฝึกสมอง และหัดแสดงออก
โดย: ฟฟ [18 ส.ค. 51 19:43] ( IP A:58.8.16.24 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับท่าน จขคห ที่ ๓

และขอเสริมด้วยส่วนของบทความเกี่ยวกับ "การตีตามกฎหมาย" ในบรรทัดข้างล่างนี้

**********************************************************************

ในการศึกษากฎหมายนั้น อุปสรรคที่เป็นปัญหาสำคัญสำหรับนักศึกษากฎหมายเบื้องต้นก็คือ “หลักในการตีความกฎหมาย” ซึ่งโดยแท้แล้วการตีความกฎหมายมีหลากหลายระบบด้วยกัน แต่เพื่อประโยชน์ในการศึกษาประกอบหลักการตีความกฎหมายไทยโดยเฉพาะ สมควรที่จะพิจารณาหลักการตีความกฎหมายของนานาอารยประเทศโดยสรุป ดังนี้

๑. หลักการตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรของอังกฤษ อำนาจหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของศาลยุติธรรมอังกฤษ ก็คือ การค้นหาเจตนารมณ์ของรัฐสภาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ หลักแห่งการหาเจตนารมณ์ของรัฐสภามี ๓ ประการ คือ
๑.๑หลักการตีความตามตัวอักษร (the literal rule) หน้าที่ตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรของศาลได้แก่การเสาะหาเจตนารมณ์อันแท้จริงของรัฐสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติ ตามหลักการตีความตามตัวอักษรนี้หมายความว่า ศาลจะต้องหาเจตนารมณ์จากความหมายธรรมดาแห่งถ้อยคำที่ใช้ในตัวบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นเอง หากปรากฏว่าความหมายธรรมดาแห่งถ้อยคำที่ใช้ในตัวบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นมีมากกว่าหนึ่งความหมาย หลักการตีความประการนี้ย่อมไม่ใช้บังคับ .........................

๑.๒ หลักการตีความโดยเล็งผลเลิศ (the golden rule) มีหลักว่า ถ้อยคำในกฎหมายลายลักษณ์อักษรจะต้องตีความไปในทางที่จะละเว้นไม่ให้เกิดผลอันไม่พึงปรารถนาในกรณีที่กฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นอาจแปลความไปได้เป็น ๒ นัย หรือมากกว่านั้น ศาลย่อมจะตีความไปในทางที่มีความหมายอันสมควร และมิใช่ไปในทางที่ไม่ควรจะเป็นหรือบังเกิดผลประหลาด

๑.๓ หลักการตีความโดยอาศัยเหตุที่มีการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ก่อนออกกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับนั้นเป็นเครื่องมือช่วยตีความ (the mischief rule) ในกรณีที่มีข้อบกพร่องอยู่ก่อนแล้วในกฎหมาย ต่อมามีกฎหมายลายลักษณ์อักษรมาแก้ไข ศาลย่อมจะตีความกฎหมายใหม่ไปในทางที่จะแก้ไข ข้อบกพร่องที่มีอยู่ก่อนออกกฎหมายใหม่นั้น ซึ่งหลักนี้เป็นเพียงข้อยกเว้นของหลักการตีความตามตัวอักษรเท่านั้น ในการที่ศาลจะใช้หลักการตีความหลักที่ ๓ นี้......................

***********************************************************************

ฉบับเต็มของบทความนี้ หาอ่านได้ที่

https://www.ralclegal.com/bookralc/c2.php?id=40

ซึ่งผมขอเสริมว่า การตีความกฎหมายนั้น จะต้องไม่ขัดกับสามัญสำนึกของมวลชนในสังคมที่กฎหมายนั้นใช้บังคับอยู่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ การตีความที่ทั้งขัดกับสามัญสำนึกและมีผลให้เกิดการเสียประโยชน์อันชอบธรรมของมวลชน แล้วไปเอื้อประโยชน์ทางฉ้อฉลหรือประโยชน์อันมิชอบของกลุ่มคนส่วนน้อยที่ได้เปรียบหรือมีอภิสิทธิ์ในการถือประโยชน์เฉพาะกลุ่มของตน

การตีความลักษณะดังที่ผมกล่าวมานี้ พบได้หลายต่อหลายตัวอย่างมาก โดยเฉพาะกับคดีความทางการแพทย์ระหว่าง หมอ กับ คนไข้ เท่าที่ผ่านๆมา และที่พบเป็นประจำตอนนี้ ก็คือ การตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญของรัฐบาล "ไอ้หอกหักขายชาติ" ชุดนี้
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [19 ส.ค. 51 8:10] ( IP A:58.8.101.245 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
    เท่าที่ไปร่วมงานมา รู้ว่ากฎมันเขียนขึ้นมาทุกกฎก็จะดีหมดในแง่ของทฎษฎี แต่การปฎิบัติไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือเปล่า
อย่างที่ทราบกัน กฎหมายเขียนมาดี คนดูแลกฎหมายเป็นคนดีให้ความเป็นธรรมหรือเปล่าเท่านั้นเอง ที่สำคัญ ไม่มีอะไรยากเลยในประเทศไทยตอนนี้ รู้สึกว่าจะถนัดเรื่อง พูดจาวกวน กำกวม ตอบแบบแบ่งรับ แบ่งสู้ หน่วยงานของรัฐมีประสิทธิภาพกันกี่เปอร์เซ็นต์ในการช่วยเหลือดูแลความทุกข์สุขของประชาชน ถ้าพูดกันจริงๆแล้ว ต่างหน่าวยงานใหญ่ๆให้ความสำคัญต่อประชาชนที่เดือดร้อนมากกว่าปัจจุบันนี้ คิดว่าไม่น่าจะมีอะไรยุ่งยาก และซับซ้อน เว้นแต่ว่า กฎตั้งมาสวยหรู คนเดินตามกฎไม่ทำตามก็มีกฎไว้ก็เท่านั้น เหมือนเดิม คือ เลวเหมือนเดิม
ประชาชนพึ่งไม่ได้ เช่นหน่วยงาน สคบ ทำหน้าที่อะไรบ้างให้ประชาชน เมื่อมีการร้องเรียน ไม่เห็นจะแก้ปัญหาแบบฟันธงได้ มีแต่โยนไปหน่วยงานนู้นที นี้ที แล้วจะมาเป็นให้เสียงบประมาณหลวงทำไม ลาออกไปเลี้ยงวัว เลี้ยง *** กันดีกว่าไหม จะได้มี ค ว า ย ไถนาให้คนไทยซื้อข้าวถูกๆกิน

ดูแล้วเหมือนภายเรือในอ่างเหมือนเดิม เมื่อคนตอบปัญหายังพูดจากำกวม คำตอบไม่ชัดเจน และอย่างหวังเลยว่าอะไรมันจะดีขึ้น ช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด ดำเนินชีวิตอย่างระมัดระวัง ไม่ว่าจะขึ้นรถ ลงเรือ หรือว่า ไปกดเงินจากตู้ ไม่ว่าจะซื้อบ้าน ซื้อรถป้ายแดง ป้ายขาวอะไรก็ตาม ฯลฯ ดูๆแล้วเราต้องช่วยเหลือตัวเองให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด อย่าหวังพึ่งหน่วยงานรัฐมากจะดีที่สุด

หมายเหตุ ปัญหาในชาติเราจะหมดไป มันต้องล้างบางพวกห่า พวกสันดานออกไปก่อน มันถึงจะดีขึ้น ไม่งั้นก็จะเลวเหมือนเดิม ไม่งั้นก็แย่กว่าเดิม
โดย: GN + [19 ส.ค. 51 10:16] ( IP A:117.47.231.134 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   ๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙

"กฎหมายไม่ใช่ตัวความยุติธรรม หากเป็นแต่เพียงบทบัญญัติ หรือปัจจัยที่ตราไว้ เพื่อรักษาความยุติธรรม ผู้ใดก็ตาม แม้ไม่รู้กฎหมาย แต่ถ้าประพฤติด้วยความสุจริตแล้ว ควรจะได้รับความคุ้มครอง จากกฎหมายเต็มที่ ตรงกันข้าม คนที่รู้กฎหมาย แต่ใช้กฎหมาย ไปในทางทุจริตแล้ว ควรต้องถือว่าทุจริต และกฎหมายไม่ควรคุ้มครอง จนเกินเลยไป เพราะฉะนั้น จึงไม่สมควรที่จะถือว่าการรักษาความยุติธรรมในแผ่นดิน มีวงกว้าง อยู่เพียงแค่ ขอบเขตของกฎหมาย จำเป็นต้องขยายออกไป ให้ถึงศีลธรรมจรรยา ตลอดจนเหตุผล และ ตามเป็นจริงด้วย "

พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา เมื่อ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2519

๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [19 ส.ค. 51 11:00] ( IP A:58.8.101.245 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   พวกเราก็ถูกกฎหมายเล่นงาน
ทำร้ายกันมามากต่อมากแล้ว

ไม่จำเป็นไม่อยากแตะต้องเลย
คำว่า "กฎหมาย"

เพราะพอพวกเราจะชนะ
มันก็ฆ่าพวกเราซะฉิบ
โดย: bullet law [19 ส.ค. 51 11:11] ( IP A:58.9.201.42 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
    รูปในงานสัมมนา 17 สิงหาคม 2551

โดย: GN+ [19 ส.ค. 51 12:21] ( IP A:117.47.231.134 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
    จะทำความดีทั้งที แต่โยนไปโยนมา
โดย: เป็นลมแทน [19 ส.ค. 51 19:55] ( IP A:202.91.18.206 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   ขอขอบพระคุณทุกๆท่านที่ช่วยรายงานความเคลื่อนใหว ดีแล้วหละที่ผมไม่ไป เพราะไม่น่าจะมีอะไรดีขึ้นมากนักเหมือนกับที่เครือข่ายฯ และพี่เอ บอก ทุกจุดจบจะมีทางเลือกแต่ในทางเลือกไร้ซึ่งจุดจบ
โดย: อนาคตย่อมมีทางเลือกเสมอ [19 ส.ค. 51 20:42] ( IP A:114.128.13.108 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   ที่ได้ประโยชน์มากๆจากการไปร่วมงานสัมนาทางวิชาการพวกนี้คือได้คุ้นเคยกับสำนวนโวหารของพวกนักกฎหมาย แพทย์ เอ็นจีโอ ผู้เสียหาย ฯลฯ ทำให้รู้เท่าทันพวกเหล่านี้ นี่ก็ถือเป็นสิ่งที่เราได้ เรื่องอื่นๆไม่ต้องหวังมากมายหรอก
โดย: เจ้าบ้าน [19 ส.ค. 51 23:41] ( IP A:124.121.78.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
    ความคิดเห็นที่ 10
งานนี้ได้ประโยชน์มากค่ะ พูดถึงเรื่องของผู้บริโภคที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม เขาจะมีตัวอย่างออกไปพูดและซักถามนักกฎหมายที่อยู่ตอบบนเวที เช่น ไปกดเงินจากตู้ 5 หมื่น แต่เงินออกมาแค่ 3 หมื่น แต่ทำอะไรกับธนาคารไม่ได้ เช่นเอาเงินไปฝากแล้วไม่มีเงินตัวเองเข้าไปในบัญชี จากตู้ธนาคาร แม้กระทั่งไปผ่อนซื้อบ้านราคา 8 ล้าน จ่ายเงินไปแล้ว 5.2 ล้านแต่ปัจจุบันบ้านก็ยังไม่เสร็จและไม่มีการก่อสร้างต่อ ใครก็ทำอะไรบริษัทรับเหมานั้นไม่ได้แบบฟันธง เช่นคนที่สุพรรณบุรี ไปซื้อบ้านแถมติดคุกและสามีโดนศาลสั่งให้ออกจากบ้านไป กรณีไปซื้อรถโตโยต้า ฟอจูนเนอร์แล้วทุบกระจกคราวก่อนที่เป็นข่าวดังเรื่องระบบเบรคของรถไม่ดีแต่ก็ไม่มีหน่วยงานไหนกล้าฟันธงให้บริษัทโตโยต้ารับผิดได้ และมีเช่นไปซื้อนมเปรี้ยวมากินเจอจิ๊กจกไปแจ้งความ แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นจำเลยว่า เอาจิ้งจกมาใส่กล่องนมสร้างสถานการณ์เอง ทั้งที่ๆไปเปิดกล่องนมที่สถานีตำรวจ นี่แค่ตัวอย่างในวันนั้นและยังมีอีกมากที่กล่าวไม่หมด มันก็เป็นประโยชน์มากเช่นกัน ในการดำเนินชีวิตของเราปัจจุบัน

แต่เราก็ต้องยึดหลัก ความไม่ประมาท จะดีที่สุด นอกจากมันสุวิสัยจริงๆ เพราะหน่วยงานเดี๋ยวนี้หาความเป็นธรรมยากมาก
โดย: GN+ [20 ส.ค. 51 8:54] ( IP A:117.47.216.211 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   การได้ออกงานบ่อย ๆ
ทำให้ได้รู้ว่า
สังคมมีคนหลายประเภท ที่ไม่มีวันเหมือนกัน
ปัญหาก็มีหลายประเภท ที่แก้อย่างไรก็ยากยิ่ง

ดังนั้นทำอะไรเท่าที่เราทำได้ ผลจะออกมาเป็นอย่างไร
ก็ช่างหัวมัน
โดย: เครือข่ายฯ [23 ก.ย. 51 7:09] ( IP A:58.9.190.4 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน