บทความหมอประเวศ: เรื่องรัฐธรรมนูญ
    แก้รัฐธรรมนูญมาตรา237 แก้ที่ตัวเองตัดกรรมแก้หลักการก่อเวร


พรรคร่วมรัฐบาลได้มีมติจะแก้รัฐธรรมนูญมีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย และเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ ถ้าการถกเถียงใช้เหตุใช้ผลใช้ประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นที่ตั้งก็เป็นเรื่องที่ดี มีความเป็นอาริยะดีกว่าการใช้อำนาจ การเอาสีข้างเข้าถูหรือการข่มขู่แบบอันธพาล ซึ่งเป็นอนาริยะ คนไทยต้องร่วมกันขับเคลื่อนประเทศด้วยวิถีอาริยะ จึงจะพ้นวิกฤติได้ วิถีอนาริยะจะนำประเทศเข้าไปสู่ความรุนแรง สังคมไทยควรจะร่วมกันวิเคราะห์การแก้หรือไม่แก้รัฐธรรมนูญ ในที่นี้จะจำกัดอยู่จำเพาะมาตรา 237

1.การใช้เงินซื้อเสียงคือต้นเหตุวิกฤติทางการเมือง

การเมืองจะเป็นไปด้วยดีมีประโยชน์ต่อประเทศต่อเมื่อนักการเมืองมีความสุจริต มีความรู้ความสามารถ ตั้งใจอุทิศตัวเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ไม่ใช่เข้ามาโดยหวังตักตวงผลประโยชน์เข้าตัวเอง

การเมืองไทยในช่วงที่ผ่านมามีการใช้เงินจำนวนมากไปซื้อเสียงเพื่อเข้าสู่อำนาจทางการเมืองจนเรียกกันว่าMoney Politics หรือระบบเงินเป็นใหญ่หรือธนาธิปไตย ธนาธิปไตยทำให้การเมืองบิดเบี้ยวไปจากนิยามของนักการเมืองที่ดีข้างต้นในเรื่องความสุจริต ความรู้ความสามารถ การอุทิศตัวเพื่อส่วนรวม ความไม่ตักตวงผลประโยชน์เข้าตนเอง

เมื่อขาดนักการเมืองคุณภาพคุณธรรมก็บริหารบ้านเมืองไม่ได้ผล สังคมรังเกียจ แล้วก็เกิดปฏิวัติรัฐประหารซึ่งก็แก้ปัญหาไม่ได้เกิด เป็นวงจรน้ำเน่าทางการเมืองวนเวียนอยู่อย่างนั้น ทำให้ประเทศไม่สามารถพัฒนาไปสู่ความเจริญอย่างแท้จริงได้

ในเมื่อการใช้เงินซื้อเสียงคืออุปสรรคของประเทศจึงมีความพยายามที่จะสกัดกั้นการใช้เงินซื้อเสียงด้วยประการต่างๆ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ธนาธิปไตยยังครองพื้นที่ทางการเมืองไทยเรื่อยมา ในร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ผู้ร่างจึงพยายามหากลไกที่จะสกัดกั้นธนาธิปไตยโดยวางยาให้แรง รัฐธรรมนูญมาตรา 237 คือยาแรงขนานนั้น แต่ก็ต้องมาดูกันว่าจะได้ผลหรือไม่

2.รัฐธรรมนูญมาตรา 237 วรรคสอง ของมาตรา 237 มีความดังต่อไปนี้

ถ้าการกระทำของบุคคลตามวรรคหนึ่งปรากฏหลักฐานอันเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารของพรรคการเมืองผู้ใด มีส่วนรู้เห็นหรือปล่อยปละละเลยหรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ตามมาตรา 68 และในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าวมีกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง

เจตนารมณ์ของมาตรานี้คือให้พรรคการเมืองมีความรับผิดชอบร่วมกันดูแลซึ่งกันและกันอย่าให้ทำผิด ถ้าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรครู้เห็นหรือปล่อยปละละเลยให้ทำผิด ต้องถูกยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง การบัญญัติโทษให้แรงโดยหวังว่าจะเกิดความกลัวเกรงไม่กล้าทำผิด แต่ก็ปรากฏว่ามีกรณีการทำผิดตามมาตรานี้ และถูกส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาซึ่งอาจถูกตัดสินให้ยุบพรรคชาติไทย มัชฌิมาธิปไตย และพลังประชาชน

ประเด็นของการจะแก้รัฐธรรมนูญมาตรา237 คือ ถ้ามีการทำผิดให้ลงโทษเฉพาะตัวบุคคลไม่ให้ยุบพรรค

3.ประเด็นที่เกิดตามมาจากการแก้มาตรา 237

การแก้มาตรา237 ดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดประเด็นตามมามากมาย เช่น (1) ขนาดมีบทลงโทษที่หนักยังไม่เกรงกลัว ถ้าแก้ไขให้เบาก็จะยิ่งไม่เกรงกลัวในการทำผิดยิ่งกว่านี้ การเมืองก็จะไม่พ้นวิกฤติ บ้านเมืองก็จะติดขัดต่อไป

(2) การมีบทลงโทษที่หนัก ถ้าเราไม่ทำผิดเสียอย่าง บทลงโทษที่ว่าหนักก็ไม่มีปัญหาอะไรแก่เรา ที่ว่ารัฐธรรมนูญไม่ดีๆ นั้น ที่จริงรัฐธรรมนูญไม่ดี หรือผู้ปฏิบัติผิดรัฐธรรมนูญไม่ดี

(3) ถ้าเราทำผิดกฎหมายแล้ว แทนที่จะแก้ที่ตัวเองกลับไปแก้กฎหมาย ตรรกะนี้ถ้านำไปใช้กันได้ก็จะเกิดเรื่องน่าเกลียดน่ากลัวที่พิลึกพิลั่นต่อไปได้มาก หวังว่าโจรคงจะไม่ขอแก้กฎหมายให้การเป็นโจรไม่มีความผิด หรือนักเรียนขอแก้ไขวินัยโรงเรียน หรือขอแก้การสอบให้ง่ายเข้า

(4) จริงอยู่พรรคร่วมรัฐบาลมีเสียงข้างมากในสภา อาจใช้อำนาจของเสียงข้างมากแก้รัฐธรรมนูญได้ แต่ประเด็นที่สำคัญกว่าคือการใช้อำนาจนั้นทำเพื่อตัวเองหรือเพื่อความถูกต้องดีงามของบ้านเมือง

(5) ถ้ามีข้อสงสัยในเรื่องทำเพื่อตัวเองหรือเพื่อความถูกต้องดีงามในบ้านเมือง แม้จะแก้รัฐธรรมนูญได้ แต่จะมีต้นทุน (Cost) ที่สูงมาก คือขาดความเชื่อถือไว้วางใจ (Trust) เช่นว่าถ้าใช้อำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อตัวเองได้ ต่อไปรัฐบาลจะทำอะไรๆ อย่างอื่นเพื่อตัวเองอีกหรือไม่

(6) รัฐบาลที่ขาดความเชื่อถือไว้วางใจจากสังคมอยู่ได้ยาก ทำอะไรๆ จะลำบากไปหมด หรืออาจเกิดการต่อต้านขึ้นมาได้ ถ้าเราดูในประวัติศาสตร์ของจีน ซึ่งมีการบันทึกที่ยาวนานที่สุดจะเห็นได้ว่าเมื่อรัฐบาลขาดความชอบธรรม จะเกิดความกระด้างกระเดื่อง เกิดกบฏ หรือเกิดการลุกฮือของราษฎร จนเป็นเหตุให้เปลี่ยนราชวงศ์อยู่บ่อยๆ

(7) รัฐบาลจะมั่นคงต่อเมื่อตั้งอยู่ในความถูกต้อง พยายามรักษาน้ำใจของคนในชาติ มีเสน่ห์ดึงดูดผู้คนเข้ามารวมพลังสร้างชาติบ้านเมือง มีวจีสุจริต มิใช่โฮกฮากขากถุยทะเลาะกับผู้คน หาความสัตย์มิได้เป็นประจำวัน

(8) การแก้ไขตัวเองเป็นการตัดกรรม แต่การแก้ไขหลักการจะก่อเวรต่อๆ ไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด จนอาจถึงเกิดจลาจลในบ้านเมือง

(9) คนไทยพึงรู้เท่าทันว่า คนที่ฉลาดๆ บางคนที่ออกแบบวางตัวองค์ประกอบของรัฐบาล อาจจงใจให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายในบ้านเมือง ต้องระวังอารมณ์ ใช้การต่อสู้ที่เป็นวิถีอาริยะให้มากที่สุด เพื่อป้องกันการจลาจล

4.การต่อสู้ตามวิถีอาริยะ

เมื่ออำนาจจักรภพอังกฤษอันเกรียงไกรที่สุดในโลกเข้าครอบครองกดขี่อินเดียอินเดียไม่มีอำนาจทางพละกำลังที่จะไปต่อสู้กับอังกฤษได้เลย อังกฤษเป็นฝ่ายขาดความชอบธรรม หรือเป็นอธรรม คนอินเดียที่ต่อสู้เพื่ออิสรภาพของตนเองเป็นฝ่ายธรรมะ ในธรรมาธรรมะสงครามคราวนั้น มหาตมะ คานธี ได้นำการต่อสู้ด้วยอหิงสธรรม ฝ่ายธรรมะมีชัยในที่สุด อังกฤษยอมปล่อยอินเดียเป็นอิสระ

คนขาวได้ใช้อำนาจเข้าปกครองประเทศแอฟริกาใต้และใช้สิทธิเหยียดผิว(Apartheid) อย่างรุนแรง คนแอฟริกาใต้ที่พยายามต่อสู้เพื่ออิสรภาพของตนเองถูกสังหารและถูกจองจำไปเป็นอันมากท่ามกลางความกดดันจากประชาคมโลก คนขาวที่ปกครองแอฟริกาใต้อยู่ก็ไม่กล้าลงจากอำนาจเพราะกลัวคนดำจะแก้แค้น เนลสัน แมนดาลา ผู้นำต่อสู้เพื่ออิสรภาพได้รับความเชื่อถือจากทุกฝ่ายสัญญาว่าจะใช้อหิงสธรรม คนขาวจึงกล้าลงจากอำนาจปล่อยให้แอฟริกาใต้มีอิสรภาพ

การใช้อำนาจครอบงำเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเป็นอธรรม จะก่อให้เกิดการต่อสู้เพื่ออิสรภาพเสมอ การใช้อำนาจครอบงำอินเดียของคนอังกฤษและครอบงำแอฟริกาใต้ของคนขาวเป็นสิ่งที่ตรงไปตรงมาเห็นได้ง่าย แต่อำนาจครอบงำโดยเงินขนาดมหึมาที่เข้ามายึดอำนาจทางการเมืองนั้นซับซ้อนมากกว่า การต่อสู้เพื่อปลดแอกจากการครอบงำต้องใช้ความจริง ความมีเหตุมีผล สันติวิธี อยู่ภายในกรอบของกฎหมาย มีความสุภาพ และอหิงสธรรม

นี้คือหนทางธรรมอันเป็นอาริยวิถี

ใครใช้หนทางอธรรมอันเป็นอนาริยวิถีจะพ่ายแพ้ในที่สุดเพราะธรรมย่อมชนะอธรรมเสมอ

อาริยวิถีย่อมชนะใจสาธารณะ

เราคนไทยด้วยกันอย่าไปแบ่งเป็นพวกรักทักษิณกับพวกเกลียดทักษิณเลย แต่เป็นพวกที่รักความถูกต้องดีงามในบ้านเมืองด้วยกัน หนีห่างจากอนาริยวิถี ใช้อาริยวิถี ไม่ใช้อำนาจครอบงำด้วยประการใดๆ แต่เคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ทำให้ประชาธิปไตยเป็นธรรมาธิปไตย และประเทศไทยสามารถก้าวหน้าไปสู่ความเจริญอย่างแท้จริงได้ในที่สุด และเราคนไทยมีความภูมิใจร่วมกันในความถูกต้อง

โดย: เป็นเฉกเช่นไรในความเป็นจริง [5 ส.ค. 51 13:09] ( IP A:222.123.208.180 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   หมอรุมค้าน พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค หวั่นฟ้องร้องพุ่งกระฉูด


หมอรุมค้าน พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ที่มีผลบังคับใช้ 23 ส.ค.นี้ ชี้ เพิ่มอายุความจาก 1 ปี เป็น 3-10 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย หวั่นฟ้องร้องสูงขึ้นอีก ขณะที่ “วิชาญ” ลั่นทำอะไรไม่ได้ ต้องเตรียมพร้อมหารือทุกฝ่ายรับมือ ด้านศาลยันไม่กระทบ เพราะใช้ตามกฎหมายที่มีอยู่

วันที่ 25 ก.ค.นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้ประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภค อาทิ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม สภาวิชาชีพต่างๆ ประธานชมรมแพทย์ชนบท และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเตรียมความพร้อมและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากพ.ร.บ.วิธีพิจารณคดีผู้บริโภคที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 ส.ค.เนื่องจากในพ.ร.บ.ดังกล่าวอาจทำให้เกิดการฟ้องร้องที่ง่ายขึ้น และจะทำให้ฟ้องร้องบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มมากขึ้นด้วย

นายวิชาญ กล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ความเสียหาย จากการบริโภคสินค้าต่างๆ รวมถึงบริการทางด้านการแพทย์ด้วย อาทิ มาตรา13 ระบุว่า ถ้าผู้ประกอบการดำเนินการไปแล้ว ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัยแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยผลสะสมอยู่ในร่างกาย แต่ยังแสดงอาการ รู้ตัวผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องรับผิดชอบ ขยายอายุความจากกฎหมายละเมิดเดิมที่ใช้ขณะนี้ คือ 1 ปี เป็น 3 ปีและไม่เกิน 10 ปี นับตั้งแต่วันรู้ถึงความเสียหายและมาตรา 40 ให้ศาลที่พิพากษาให้ผู้บริโภคชนะคดี โดยได้รับชดเชยค่าเสียหาย ให้สามารถสงวนสิทธิ์ที่จะแก้ไขคำพิพากษา เพิ่มค่าเสียหายในภายหลังได้ ถ้าปรากฏว่าเสียหายเพิ่มขึ้นหรือเดือดร้อนมากขึ้น ให้ศาลแก้ไขคำพิพากษาเดิมได้ไม่เกิน 10 ปี นายวิชาญ กล่าว

“ในส่วนที่ภาคเอกชนกังวลว่า ไม่เกิดความชัดเจน ว่าจะเข้าข่ายกฎหมายนี้ด้วยหรือไม่ คงต้องรอให้กฎหมายมีผลบังคับใช้และให้ประธานศาลอุทธรณ์พิจารณาคดีเป็นกรณีตัวอย่างเสียก่อน ส่วนตัวเห็นว่า ไม่เพียงภาคเอกชนเท่านั้นที่เป็นการเข้าข่ายเป็นผู้ให้บริการโดยมีการรับจ้าง สธ.ก็เข้าข่ายทั้งหมดด้วย เพราะมีการทำสัญญางบประมาณรายหัวจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วย และแม้ว่ายังไม่มีบทพิสูจน์อะไรว่าจะเกิดปัญหาขึ้นหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว ดังนั้น ภายหลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้ และเกิดผลกระทบหรือไม่ อย่างไรคงต้องปรับแก้ต่อไป” นายวิชาญ กล่าว

นายวิชาญ กล่าวว่า ขณะนี้แพทย์ทั้งหลายต่างไม่กล้าที่จะรักษาเหมือนเดิม จึงเกิดความกังวลหากกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ซึ่งแพทย์จะกลัวเรื่องการฟ้องร้องที่จะเพิ่มมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาแนวโน้มการฟ้องร้องก็เพิ่มมากขึ้น เฉลี่ยปีละประมาณ 150 เรื่อง สาเหตุการร้องเรียนมากที่สุดคือ ไม่รักษามาตรฐาน ส่วนคดีฟ้องร้องแพทย์เข้าสู่ศาลยุติธรรม สาเหตุอันดับ 1 ได้แก่ ผลแทรกซ้อนร้ายแรงจากการรักษา รองลงมาเป็น ความคาดหวังต่อผลสำเร็จสูง การได้รับข้อมูลไม่พอไม่ตรงกัน รวมทั้งเพื่อเรียกร้องค่าชดเชย ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ในอนาคตโรงพยาบาลเอกชนคงจะซื้อประกันความเสี่ยงเพื่อป้องกันการฟ้องร้องเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ ได้สั่งการให้ทุกจังหวัด เปิดสายด่วน 1669 รับเรื่องร้องทุกข์จากประชาชนในด้านบริการ การรักษาพยาบาล อาหารและยาที่ไม่ปลอดภัย ตลอด 24 ชั่วโมง เริ่มดำเนินงานพร้อมกัน 76 จังหวัด เพื่อขจัดปัญหาที่มีต่อสุขภาพอนามัยให้รวดเร็วที่สุด

ด้าน นายดล บุนนาค ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา กล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวให้ความสำคัญในการเป็นเครื่องมือกับผู้บริโภค เพราะช่องทางการฟ้องร้อง รวดเร็ว และไม่ต้องเสียค่าธรราเนียมศาล แต่ถ้าฟ้องร้องเพราะกลั่นแกล้ง ก็ต้องจ่ายในภายหลัง และการพิจารณาคดีก็เป็นไปตามกฎหมายหลักที่มีอยู่ ได้แก่ กฎหมายแพ่ง และอาญา อย่างไรก็ตามไม่คิดว่าจะส่งผลให้เกิดการฟ้องร้องแพทย์เพิ่มมากขึ้น เพราะมีระบบการกลั่นกรองเรื่องฟ้องร้อง โดยมีประธานศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยเรื่องการฟ้องร้องทั้งหมด ว่า คดีใดมีมูลนำเรื่องเข้าพิจารณาคดี ส่วนแพทย์จะรับโทษทางแพ่งหรืออาญามากขึ้นหรือไม่นั้น ก็ไม่เกี่ยวข้องกัน เพราะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการกระทำผิด ซึ่งศาลมีกระบวนการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมอยู่แล้ว

ขณะที่ นพ.อำนาจ กุสลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า หากสธ.ไม่ดำเนินการถามความชัดเจนไปยังประธานศาลอุทธรณ์ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อตีความว่า โรงพยาบาลเอกชนเข้าข่ายตาม พ.ร.บ.นี้หรือไม่ แพทยสภาจะดำเนินการถามเอง เนื่องจากหากไม่เกิดความชัดเจนจะกระทบกระเทือนต่อการรักษาพยาบาลคนไข้ เพราะถ้าแพทย์เกิดความกังวลว่าจะถูกฟ้องร้องมากขึ้น จากข้อมูลของเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ อ้างอิงว่า แพทย์ส่วนของสธ.ถูกฟ้องร้องแพ่งจำนวน 70 ราย ส่วนภาคเอกชน มีประมาณ 400-500 ราย แต่เชื่อว่าภาคเอกชนน่าจะมีเพียง 200-300 รายเท่านั้น ซึ่งมีแนวโน้มจะสูงขึ้นหากกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้

“หากกฎหมายดังกล่าวจะทำให้การฟ้องร้องแพทย์ผู้ให้บริการโดยเฉพาะคดี แพ่งเพิ่มมากขึ้น แพทยสภาเป็นห่วงว่าจะกระทบต่อการรักษาพยาบาล เพราะมีโอกาสค่ารักษาพยาบาลจะแพงขึ้น เพราะโรงพยาบาลเอกชนอาจขึ้นค่ารักษาพยาบาลเพื่อเตรียมการหากถูกฟ้องร้องแพ่ง รวมถึงไม่อยากให้เกิดการทำประกันภัยการฟ้องร้องด้วย ทั้งนี้ หากโรงพยาบาลเอกชนไม่เข้าข่ายกฎหมายดังกล่าว ผู้ให้บริการทางด้านสาธารณสุขก็ยังมีกฎหมายพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการสาธารณสุขที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายอีกฉบับที่ดูแลด้านการคุ้มครองผู้บริโภคโดยตรงมาดูแลเรื่องดังกล่าวเช่นกัน” นพ.อำนาจ กล่าว

นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวว่า ถ้ามีปัญหาการฟ้องร้องเพิ่มมากขึ้นในฐานะที่สมาคมอยู่ภายใต้การดูแลของกองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ดังนั้น หากจะดำเนินการอะไรก็ขอเป็นผู้ตาม ให้ สธ.นำไปก่อน
โดย: ทำดีกลัวอะไร คุงหมอ ๆ [5 ส.ค. 51 13:50] ( IP A:222.123.208.180 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   เผยตัวตนทางความคิดออกมาในที่สุดนะ

ทั่นเรขาทิการแพด สะ พา

ประโยครวบยอดของคำให้การของท่านที่เท่ากับการสารภาพก็คือ

เงินอยากได้เยอะๆ แต่เวลาพลาดแล้วชิบหาย และ/หรือตาย ห้ามฟ้อง

ฉะนั้น ไอ้ที่ขี้โกง ขี้ฉ้อ โกหก ตอแหล ในคดี "ไม่มีมูล" ทั้งหมดทั้งสิ้นในแพทยสภานับร้อยคดีนั้นย่ะ ก็เพื่อประเด็นใจกลางนี้เท่านั้น ใช่ไหมเอ่ย???

ที่อุตส่าห์ปลุกปั่นให้บรรดาหมอ ร.พ. ของรัฐเกิดระแวง กลัวการฟ้องร้องจนเกินเลย ก็เพื่อยกอัตตาทางวิชาชีพของวงการขึ้นเป็นเกราะกำบัง ให้หมอรุ่นหลังๆที่ด้อยอาวุโสกว่า ลุกขึ้นมาฟาดฟัน มาทะเลาะกับคนไข้ ทั้งหมด ทั้งหลายก็เพื่อ เงินอยากได้ ตายห้ามฟ้องในภาคการแพทย์เอกชนนี้เท่านั้น ใช่ไหมเอ่ย?
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [5 ส.ค. 51 16:51] ( IP A:58.8.104.211 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
    อะจ๊ากกกกกก หางโผล่แดงแจ๋เลบ
โดย: เจ้าบ้าน [5 ส.ค. 51 22:12] ( IP A:124.121.78.96 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
    อ๋อ เป็นเฉกเช่นนี้นี่เอง

อะจึ๋ย !!!!!!!!!
โดย: GN .... [6 ส.ค. 51 8:34] ( IP A:222.123.18.184 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน