วิกฤตแพทย์+พยาบาลขาด 4 หมื่นคน
   โรงพยาบาลรับมือวิกฤติบุคลากร + แพทย์/พยาบาลขาดถึง 4 หมื่นคน 'จุฬา' หาพันธมิตร 'สมิติเวช' ใช้เทคโนฯช่วย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 2362 02 ต.ค. - 04 ต.ค. 2551


https://www.thannews.th.com/detialnews.php?id=M1723621&issue=2362

โรงพยาบาลเร่งปรับตัว รับวิกฤติบุคลากรทั้งแพทย์และพยาบาลขาดแคลนอย่างหนักสูงถึง 4 หมื่นคน ด้านรามคำแหง ประกาศรุกพัฒนาคน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ให้ทุนเรียนต่อแบบไม่อั้น ขณะที่สมิติเวช เสริมทัพ เน้นเทคโนโลยี รักษาคุณภาพและบริการทุ่มทุนกว่า 500 ล้านใน 5 ปี ด้านจุฬาฯ เร่งแลกเปลี่ยนความรู้กับพันธมิตร เน้นจุดแข็งสร้างความพอใจให้กับคนไข้

จากข้อมูลล่าสุดขององค์การอนามัยโลกที่เผยว่า ทั่วโลกยังมีความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพอย่างน้อยอีก 4 ล้านคน จากที่มีอยู่เดิมประมาณ 24 ล้านคน ขณะที่ประเทศไทยแม้ว่าจะมีการเร่งขยายกำลังการผลิตพยาบาลทั้งในระดับวิชาชีพและพยาบาลเทคนิค ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4-7 (พ.ศ.2520-2539) โดยการขยายสถาบันการศึกษาพยาบาลทั่วประเทศ แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ รวมทั้งแนวโน้มการขาดแคลนดังกล่าวเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น

นอกจากนี้ ปัจจัยที่ส่งผลให้การขาดแคลนบุคลากรดังกล่าวมีเพิ่มขึ้นนั้น มาจากการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งกว่า 50 % ของผู้สูงอายุมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย โรคและความเจ็บป่วยซับซ้อนรุนแรงขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่สำคัญเพิ่มความต้องการพยาบาลมากขึ้น เช่น นโยบายหลักประกันสุขภาพ และนโยบายส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์ในภูมิภาคเอเชีย ส่งผลให้ปริมาณชาวต่างชาติมาใช้บริการสุขภาพในไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว ขณะที่ไม่ได้มีการวางแผนรองรับ โดยเฉพาะการขยายตัวของโรงพยาบาลเอกชน ปัจจุบันมีการขาดแคลนบุคลากรทั้งระบบมีจำนวนสูงถึง 4 หมื่นคน ขณะที่ภาครัฐมีนโยบายการผลิตบุคลากรเพียง 1.2 หมื่นคนในปี 2559

ที่สำคัญผลกระทบจาก พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ที่มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา ผู้ให้บริการสุขภาพต่างมองว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบกับการผลิตบุคลากรใหม่ในอนาคตอย่างมาก เนื่องจากผู้บริโภคสามารถที่จะฟ้องร้องเอาผิดกับแพทย์และพยาบาลได้ง่ายขึ้น ไม่นับรวมกับการมี พ.ร.บ.วิชาชีพของตนเองอีกอย่างน้อย 6 ฉบับ และพระราชบัญญัติทางสาธารณสุข ซึ่งครอบคลุมยา เวชภัณฑ์ อาหาร และสินค้าไม่ปลอดภัยอีกกว่า 11 ฉบับ และร่างพระราชบัญญัติอีก 4 ฉบับ รวมกว่า 20 ฉบับ

ทั้งนี้เรื่องดังกล่าว แหล่งข่าวระดับสูงของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เหตุผลต่างๆ มีผลต่อการตัดสินใจและทัศนคติของผู้ปกครองรุ่นใหม่ที่ไม่สนับสนุนหรือส่งเสริมให้บุตรหลานเล่าเรียนต่อทางด้านนี้มากยิ่งขึ้น เพราะไม่อยากเสี่ยงกับการถูกฟ้องร้องและเสียชื่อเสียง ประกอบกับเป็นสายวิชาชีพที่ใช้เวลาการเรียนนานถึง 6 ปี ซึ่งมากกว่าวิชาชีพอื่น อีกทั้งยังมีอาชีพทางเลือกอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าอาชีพแพทย์และพยาบาล

ด้านน.พ.ศิริพงศ์ เหลืองวารินกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้เตรียมแผนรองรับการขาดแคลนบุคลากร ด้วย มาตรการ คือ การรับคนใหม่ และเน้นรักษาคนเก่าไว้กับองค์กรโดยเฉพาะ กลุ่มของพยาบาล ซึ่งจากสถิติพบว่า ผู้ที่มีอายุงาน 3 ปีแรกจะเปลี่ยนงานมากที่สุด ขณะที่บางแห่งมีอัตราเฉลี่ยสูงถึง 50-60 % ด้วยการสร้างบรรยากาศการทำงานให้เกิดความภาคภูมิใจในวิชาชีพ มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์แก้ไขปัญหาร่วมกับแพทย์ ทั้งยังมีนโยบายสร้างการเติบโตในสายอาชีพ โดยสนับสนุนให้ทุนกับพยาบาลแบบไม่อั้น เฉลี่ยรายละประมาณ 100,000 บาทต่อคนต่อปี จากมาตรการดังกล่าว ทำให้โรงพยาบาลสามารถลดอัตราการออกของพยาบาลได้ถึง 1-1.5 เท่า ทั้งนี้ จะไม่เน้นเรื่องของการให้ค่าตอบแทนที่สูงกว่าตลาด เฉลี่ยรายได้17,500 บาทต่อเดือน ขณะที่รายได้ของแพทย์จะมีอัตราเฉลี่ยระหว่าง 120,000-180,000 บาทต่อคนขึ้นอยู่กับสาขาวิชาชีพ

ด้านนายเรมอนด์ ฌอง กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สมิติเวช จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ความต้องการบุคลากรมีมากขึ้นทำให้เกิดการแข่งขันรุนแรงและต้นทุนสูงขึ้น จึงนำระบบไอทีเข้ามาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกและบริการที่รวดเร็วให้กับคนไข้ โดยจัดสรรงบลงทุนด้านเทคโนโลยีไว้กว่า 500 ล้านบาทในระยะเวลา 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2550-2554

ขณะที่ทางแก้ของโรงพยาบาลภาครัฐนั้น นอกจากจะใช้วิธีเปิดคลินิกให้บริการรักษาคนไข้นอกเวลาเพื่อให้แพทย์และพยาบาลได้มีรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว การจับมือกับพันธมิตรในภาคเอกชนเป็นหนทางช่วยแก้ปัญหาได้ทางหนึ่ง ซึ่งน.พ.กฤษณ์ จาฏามระ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า ทางโรงพยาบาลได้จับมือกับ ร.พ.บีเอ็นเอช เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ เครื่องมือและเทคโนโลยีร่วมกัน ทำงานเป็นเครือข่ายให้กันและกันโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่คนไข้จะได้รับมากที่สุด
โดย: จริงหรือเปล่า เชื่อได้แค่ไหน [2 ต.ค. 51 23:14] ( IP A:58.9.219.236 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   คิดแต่จะหนีไปทำงานสบาย แพทย์จึงไปกระจุกตัวกันที่โรงพยาบาลเอกชน
ปล่อยให้มีแต่แพทย์ธรรมดาๆ อยู่ในโรงพยาบาลรัฐ
ให้ประชาชนฝากชีวิตไว้ทุกวันนี้
โดย: 000 [2 ต.ค. 51 23:21] ( IP A:61.90.5.115 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
    เพิ่มสวัสดิการให้หมอ รพ.รัฐเท่าเทียมกับเอกชนซิ

ทำได้ ไม่ทำ แล้วมาโทษหมอลาออก เวลามีเรื่องฟ้องร้องก็ช่วยกันรับผิดชอบซิ ปัญหาพวกนี้ไม่มีมากหรอก ถ้าผู้บริหารใจกว้างกันหน่อย
ไม่มีอะไรยากเลย ....

ทีคิดเรื่องโกงกิน คิดเก่งอิบหาย ให้ตายเหอะ !!!!

โดย: GN+ [3 ต.ค. 51 8:53] ( IP A:222.123.86.157 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   เพิ่มเงินให้หมอ(เงินน้อย+งานหนัก เทียบกับเอกชนงานเบา เงินดี)


หาตำแหน่งบรรจุให้พยาบาล(ไม่มีตำแหน่งบรรจุราชการ+งานหนัก รายได้ก็น้อยกว่าเอกชน)


เลิกฟ้องร้องไร้สาระ(เว้นแต่มีสาระ)

..............................................



แค่นี้คนก็ไม่ขาด
โดย: 1111 [3 ต.ค. 51 11:59] ( IP A:61.7.136.153 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
    เลิกฟ้องร้องไร้สาระ
เรื่องแบบนี้ มีวิจัยแล้ว พบว่าไม่ใช่เรื่องจริง ส่วนใหญ่ กว่า 70 เปอร์เซ็นต์เสียหายจริง เสียหายมากด้วย
แต่พวกที่ถูกฟ้องแล้วโวยวายไร้สาระ นะ มีมาก
โดย: เลิกโวยวายไร้สาระเสียที [3 ต.ค. 51 14:00] ( IP A:58.8.5.47 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ก็ไม่ได้บอกว่าไม่เสียหายนะ
เพียงแต่ยังยึดติดกันว่าความเสียหายต้องเกิดจากความผิดพลาดเสมอๆ
โดย: 3333 [3 ต.ค. 51 14:36] ( IP A:202.28.183.9 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   เห็นด้วยกับ คห.3
โดย: หมอก้อนหิน [3 ต.ค. 51 18:58] ( IP A:117.47.234.97 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   3+5+7
โดย: เจ้าบ้าน [3 ต.ค. 51 19:30] ( IP A:124.121.77.45 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
    พวกหมอ ๆ นี่ อ่านเรื่องราวเขาทีไร
ไม่เห็นเขาตระเตรียมมาตรการว่าจะรองรับ
เวลามีความผิดพลาดกับชีวิตคนไข้อย่างไร

เห็นแต่จับมือกัน ร่วมมือกัน เรื่องผลประโยชน์
กันแทบทั้งสิ้น แต่ก็เอาพวกเราเป็นโล่กำบังอยู่ตลอด

เชิญตื่นตระหนกกันให้พอเถอะ พวกองุ่นเปรี้ยว
โดย: ที่ไหน ๆ ในโลกก็ขาดแคลนหมอทังนั้น [4 ต.ค. 51 6:40] ( IP A:58.9.203.216 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
    หมอก้อนหิน เป็นปรากฎการณ์ใหม่ที่หมอก้อนหินเห็นด้วยกับ GN+

เมื่อก่อนจ้องด่าอย่างเดียว แสดงว่าหมอใจเย็นและใจดีขึ้นเยอะ

และก็รู้จักเห็นใจผู้เสียหายเยอะเลยนะเนี่ย GN+ ดีใจโคด ๆ เลยหมอก้อนหิน น่าจะเป็นอย่างนี้นานแล้วนะ จะได้รักตายเลย แหม๋ !!!

ท่านเจ้าบ้าน บอกเลขเด็ด 3 + 5 + 7 = 15 ค่ะ

โดย: GN+ [4 ต.ค. 51 8:54] ( IP A:222.123.81.29 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   ความคิดเห็นที่ 2
คิดแต่จะหนีไปทำงานสบาย แพทย์จึงไปกระจุกตัวกันที่โรงพยาบาลเอกชน
ปล่อยให้มีแต่แพทย์ธรรมดาๆ อยู่ในโรงพยาบาลรัฐ
ให้ประชาชนฝากชีวิตไว้ทุกวันนี้

.
.....
แล้วแพทย์โรงพยาบาลเอกชนนี่เป็นแพทย์เทวดาเหรอครับถึงไม่ใช่แพทย์ธรรมดา งง
โดย: คนเก่า [4 ต.ค. 51 20:52] ( IP A:125.26.72.230 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   อยู่ รพ.รัฐ งานหนัก เงินน้อย จะส่ง x-ray ที ส่งเลือดที อันนี้ก็ไม่มี อันโน้นก็ไม่มี พอส่งปรึกษาแพทย์เฉพาะทางก็บ่นอุบ บ่นว่า "แค่นี้ดูไม่ได้เหรอ"
อยู่ รพ.เอกชน งานน้อย แต่เงินหนัก ส่ง x-ray ได้ ส่งเลือดได้เต็มที่ มีอันไหนสงสัยก็ส่งปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เค้าก็ยินดีรับ เพราะได้ตังค์

ส่วนปัญหา แพทย์เค้ารวมตัวกันอยู่แล้วครับ เสนอ รมว. ไปไม่รู้กี่ครั้ง
แต่ระดับ รมว. ไม่เอาด้วย มันก็เหลวเป๋ว
โดย: หมอก้อนหิน [5 ต.ค. 51 12:50] ( IP A:222.123.11.197 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   ทำงานเยอะ ตรวจเยอะ ก็เสี่ยงเยอะ
ทำงานน้อย ตรวจน้อย ก็เสี่ยงน้อยลง

แต่ถ้าจะเอาความคิดว่าให้เร่งผลิต แพทย์นั้น ทางมหาวิทยาลัยก็เร่งสุดตัวครับ ไม่งั้นมันจะเป็นแบบฟิลิปปินส์ จบมาความรู้กระท่อนกระแท่น
วิธีที่จะให้มีหมอทำงานในระบบมากๆ ก็คือ มีมาตรการจูงใจให้กลับมาทำงาน รพ.รัฐ
แต่นี่อะไร ...
อยู่เวร รพ.รัฐ ได้ 900 บาท/8 ชั่วโมง ไม่คิด DF
อยู่เวร รพ.เอกชน ได้ 3000 บาท/8 ชั่วโมง DF ต่างหาก
โดย: หมอก้อนหิน [5 ต.ค. 51 12:55] ( IP A:222.123.11.197 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   เคลื่อนไหว ต้องอาศัยความอดทน
ต้องอดทนต่อแรงเสียดทาน
ต่อเนื่องยาวนาน

ทนได้ไหม หากทนได้
วันหนึ่งหมอจะยิ้มออก

เหมือนเครือข่ายฯ ทุกวันนี้เรายิ้มออก
เพราะเรามีความหวังจะเห็นความขัดแย้งหมดสิ้นไป
เพราะ ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ กำลังจะเป็นจริง
คงจะเร็ว ๆ นี้ จะนานแค่ไหนเราก็ไม่เคยหมดหวัง
หวังบนความตั้งใจที่ดี แม้จะมีใครหัวเราะเยาะเราก็ไม่เคยท้อ

ขอให้กำลังใจหมอ อดทนทำในสิ่งที่ถูกต้อง
โดย: เครือข่ายฯ [5 ต.ค. 51 19:31] ( IP A:58.9.199.135 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   อ่าน คหที่14 จากเครือข่ายแล้วรู้สึกดีจังค่ะ ขอบคุณที่ให้กำลังใจ
เราก็หวังว่าระบบของพวกเราเองจะดีกว่านี้ ไม่ต้องหนีไปอยู่เอกชนอยุ่เรื่อย สามารถทำงานรัฐดูแลประชาชนที่ต้องการเรามากกว่าเป็นผุ้ให้บริการที่เอกชน แล้วครอบครัวก็ไม่เดือดร้อนด้วย เริ่มรู้สึกอยากกลับไปทำงานมากขึ้น หวังว่าเราทั้งสองฝ่ายจะพูดคุยกันได้อย่างเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันมากขึ้นแล้วช่วยให้ระบบการบริการสุขภาพของเราดีขึ้นเรื่อยๆ ต่อให้ไม่ดีที่สุดในโลกแต่ก้มีความสุขตามอัตภาพก็คงดีนะคะ
โดย: Ex-doctor [6 ต.ค. 51 7:11] ( IP A:75.137.110.141 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   คนในอาชีพ "หมอ" ที่อยากไปอยู่ภาคเอกชน หรือ เปิดคลีนิคเอง

ไม่ใช่ คนคิดผิด หรือ ทำผิด แต่อย่างใดเลย

สำคัญอยู่ที่ เวลาทำงานตามวิชาชีพแล้ว มีสำนึกในหน้าที่ ความรับผิดชอบและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพอยู่โดยตลอด หรือเปล่าต่างหาก

หมอก็เป็นมนุษย์ อยากรวย อยากสบาย อยากหรู ได้เหมือนๆกับอาชีพอื่นๆ สำคัญที่ว่า รวย หรือ สบาย หรือ หรู ด้วยความ ชอบธรรม หรือเปล่า?

เวลาโรงพยาบาล/หมอเอกชน "รวย" ขึ้นมาไม่มีใครว่าหรอก แต่ที่ "ได้" มานั้น ชอบธรรม หรือเปล่า?? ทำพลาดแล้วไม่ยอมรับ ไม่รับผิดชอบ โกหก หรือเปล่า? แล้วก็ "รักษาเกินโรค" หรือเปล่า??

นั่นหล่ะ ที่สำคัญ และคนไข้ "กลัวที่สุด"
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [8 ต.ค. 51 9:13] ( IP A:58.8.104.112 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   พยาบาลขาดแคลนที่ไหนกัน ตลกมาก พยายามสร้างภาพว่าขาดจะได้ขอเพิ่มค่าตัว ถ้ารัฐบาลหลงเดินตามเกมส์ของกลุ่มพยาบาลก็โง่เต็มที
โดย: แมวพง [9 ต.ค. 51 15:55] ( IP A:58.147.4.190 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   เห็นด้วยกับคห 16ค่ะ ขอเสริมว่าเรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องของบุคคล ไม่เกี่ยวกับทำงานเอกชนหรือทำงานรัฐบาลหรอก
โดย: Ex-doctor [9 ต.ค. 51 23:03] ( IP A:75.137.110.141 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   มีคนว่าเอกชนงานเบาเงินดี ลองกลับไปคิดใหม่ เคยเห็นหมอหยิบเทอร์โมมิเตอร์ใส่ปากคนไข้ วัดความดันเองไหม๊ ไหนจะต้องอดทนฟังคนไข้โดยไม่แสดงอาการหงุดหงิด มีฝีมือและมี service mind ค่าตอบแทนต้องต่างจากที่มีฝีมือ ( หรือเปล่าไม่รู้ ) service my (ตามใจฉัน) ลองคิดดูว่าอะไรที่ทำให้เกิด การเอาใจเขามาใส่ใจเรา นอกจากเรื่องเงิน
โดย: ผ่านมาอ่าน [3 พ.ย. 51 6:26] ( IP A:58.147.37.163 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
   ขอให้ความคิดเห็นต่อความเห็นที่ 17 คงจะไม่ใช่ที่พยาบาลสร้างภาพ และถ้าคิดว่ารัฐบาลโง่ถ้าเชื่อคงไม่ใช่ ถ้าผู้มีการศึกษาต้องดูที่ข้อมูล ไม่ใช้ความรู้ศึก งานวิจัยพบว่าขาดจริง และที่หน้างานก็ขาดจริง ถ้าพูดถึงพยาบาลเป็นค่าตัว วิชาชขีพอื่นยิ่งกว่า เวลาแพทย์พูดพูดค่าตอบแทนเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ แต่วิชาชีพอื่นดูน่าหัวเราะ ระวังถ้าขาดแคลนมากๆ ผู้ที่ทำงานอยู่หลังพยาบาลจะลำบาก
โดย: ดร. พยาบาลหมู [20 ม.ค. 52 13:30] ( IP A:202.28.181.220 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
   มีลูก 2 คน จะไม่ให้มาทางสายสาธารณสุขหรอก รู้ซึ่งดีว่า หนัก เหนื่อย คุณภาพชีวิต แย่ ไม่ได้หลับได้นอนเหมือนชาวบ้าน ทั้งยังต้องอดทนกับอารมณ์คนไข้ อารมณ์แพทย์ เป็นพยาบาล แต่ต้องรู้ศาสตร์ของแพทย์ ศาสตร์ของเภสัช ศาสตร์ของเทคนิคการแพทย์(Lab) ทั้งศาสตร์ของพยาบาลอีกบาน ได้แต่คิดว่า.. เมือไรจะมีหุ่นยนต์มาทำงานแทนพยาบาลบ้าง เนาะ ..จะได้ให้บริการให้ถูกใจทั้งหมอ เภสัช ..และคนไข้(รวมญาติที่เรื่องมากด้วย)
โดย: พยาบาลคนนึง... [22 ม.ค. 52 13:02] ( IP A:125.26.242.162 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน