ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้องคดีจำคุก “หมอสุทธิพร” แล้ว
   ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้องคดีจำคุก “หมอสุทธิพร” แล้ว

https://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1221114491
โดย: ... [11 ก.ย. 51 13:41] ( IP A:61.19.199.142 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   จริงหรือเปล่า ยินดีด้วย ให้มันรู้ไป ว่าโลกนี้จะไม่มีความยุติธรรม
โดย: ดีใจด้วย [11 ก.ย. 51 14:28] ( IP A:125.26.108.23 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ไม่ได้ผ่าตัดมาเป็น 10ปีแล้ว
ส่งต่อลูกเดียว สบายดี เงินเดือนเท่ากันไม่ถูกฟ้อง ไม่เป็นโรคประสาท

รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดคน
ฟ้องหมอเอาตัวรอดอย่างข้าไม่ได้หรอก
โดย: ข้าเอง [11 ก.ย. 51 14:45] ( IP A:125.24.38.68 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   คดีนี้
หลังจากนพ.มงคล ณ สงขลา
อดีตรมว.สธ.ไปเยี่ยมน้องศิริมาศที่อ.ร่อนพิบูลย์
และมอบเงิน 8 แสนบาท ให้เพื่อเยียวยา ตามที่
ศาลชั้นต้นในคดีแพ่งพิพากษาให้ชนะคดี

หลังจากได้รับเงินแล้ว น้องศิริมาศได้ทำหนังสือ
ประนีประนอมยอมความ มอบให้กระทรวงสาธารณสุข
เพื่อนำไปยื่นประกอบการอุทธรณ์ในคดีอาญา เพื่อผ่อน
หนักให้เป็นเบา

ก็ดีใจด้วย เพราะน้องศิริมาศและเครือข่ายฯ ไม่เคย
คิดเอาหมอติดคุก
โดย: ขอบคุณศาลอุทธรณ์ [11 ก.ย. 51 14:50] ( IP A:58.9.222.83 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   นี่บ้านร้างไปแล้วตั้งแต่แม่ตาย
บ้านแตกสาแหรกขาด เงิน 8 แสนที่รมว.สธ.ให้
หากแลกได้น้องขอชีวิตแม่กลับคืนมาดีกว่า

โดย: แลกไม่ได้หรอกเพราะมันเทียบกันไม่ได้ [11 ก.ย. 51 16:18] ( IP A:58.9.223.244 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   แต่ขอร้องหมอปากเสียทั้งหลาย
อย่ามากวนน้ำให้ขุ่นอีก
ดีไม่ดีน้องเขาอาฎีกา
แล้วมันจะยุ่ง หุ หุ
อย่าแกว่งปากหาเสี้ยน....
โดย: ไม่รู้อะไร อย่าปากเสีย [11 ก.ย. 51 16:47] ( IP A:58.9.223.244 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้องคดีจำคุก “หมอสุทธิพร” แล้ว



ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยวันนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำพิพากษายกฟ้องแพทย์หญิงสุทธิพร ไกรมาก คดีฉีดยาชาเข้าไขสันหลังผู้ป่วยระหว่างผ่าตัดไส้ติ่งแล้วเสียชีวิตที่โรงพยา บาลร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อพ.ศ. 2545 และขอให้แพทย์ พยาบาลเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตั้งใจทำงานเพื่อบริการผู้ป่วยต่อไป

จากกรณีที่ศาลจังหวัดทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีคำพิพากษาให้จำคุก แพทย์หญิงสุทธิพร ไกรมาก แพทย์ประจำโรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเวลา 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2550 ในข้อหากระทำการโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ในคดียื่นฟ้องของนางสาว ศิริมาศ แก้วคงจันทร์ บุตรสาวนางสมควร แก้วคงจันทร์ ซึ่งเสียชีวิตจากการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง ระหว่างผ่าตัดไส้ติ่ง เมื่อ พ.ศ. 2545 โดยระบุว่าแพทย์หญิงสุทธิพร อาจใช้ความระมัดระวังไม่เพียงพอ ฉีดยาชาเข้าไขสันหลังของผู้ป่วย โดยมิได้ควบคุมปริมาณของยาให้เหมาะสม ทำให้ยาชาออกฤทธิ์ลุกลามไปทั้งตัว จนเกิดอาการช็อค หัวใจหยุดเต้นทันที ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ขาดอากาศหายใจ เป็นเหตุให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตายในเวลาต่อมานั้น

ความคืบหน้าในเรื่องนี้ นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากที่ศาลจังหวัดทุ่งสงได้ตัดสินคดีแล้ว แพทย์หญิงสุทธิพรได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 เนื่องจากแพทย์หญิงสุทธิพร เป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลชุมชน ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุข ให้ทำหน้าที่ดูแลรักษาพยาบาลประชาชน และทุกคนต่างตั้งใจปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้ป่วยหาย ไม่มีใครต้องการให้ผู้ป่วยเสียชีวิต โดยเฉพาะในโรงพยาบาลชุมชนที่อยู่ห่างไกล ซึ่งตามกฎหมายของแพทยสภา แพทย์ทุกคนสามารถดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทุกประเภท แม้ว่าจะไม่ใช่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางก็ตาม เนื่องจากผู้ป่วยมีจำนวนมาก ผลการพิพากษาในเช้าวันนี้ (11 กันยายน 2551) ศาลอุทธรณ์ได้ยกฟ้องคดีดังกล่าวแล้ว ทำให้แพทย์หญิงสุทธิพรไม่มีความผิด นับเป็นขวัญกำลังใจแก่บุคลากรสาธารณสุขทั่วประเทศที่ให้การรักษาพยาบาลประชา ชน และขอให้เจ้าหน้าที่ทุกคนตั้งใจทำงานเพื่อให้บริการผู้ป่วยต่อไป

นายแพทย์ปราชญ์ กล่าวต่อว่า การขออุทธรณ์ครั้งนี้ เพื่อนำมาสร้างเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติงานของแพทย์ในชนบทต่อไป เพราะถ้าแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนปฏิเสธการผ่าตัด เนื่องจากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ป่วยอีกจำนวนมากก็จะประสบอันตราย เพราะระบบสาธารณสุขของไทย ยังขาดแคลนแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ โดยเฉพาะแพทย์ดมยา แพทย์ผ่าตัดอยู่อีกมาก

ทั้งนี้ ในทางแพ่ง กระทรวงสาธารณสุขได้เยียวยาช่วยเหลือครอบครัวนางสมควร แก้วคงจันทร์ ผู้เสียชีวิต ในเบื้องต้นแล้ว นายแพทย์ปราชญ์กล่าว

************************ 11 กันยายน 2551



แหล่งข่าวโดย.... สำนักสารนิเทศ
ผู้จัดทำ.... ฝ่ายข่าวและสื่อมวลชนสัมพันธ์ กลุ่มสารนิเทศ
โดย: ... [11 ก.ย. 51 17:00] ( IP A:124.157.239.116 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ขอแสดงความยินดีด้วยครับพี่

หากมีโอกาสลองฟ้องกลับสิครับ เช่นศาล หรือ กระทรวง ครับ ที่ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและทำให้เสียสุขภาพจิต เราอาจได้บรรทัดฐานในการตัดสินคดีที่เกี่ยวกับการแพทย์ใหม่ก็ได้นะครับ

ส่งโดย: enicidem
สถานะ: Junior Member **
จำนวนความเห็น: 61 Instant Message



https://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1221114491
โดย: .. [11 ก.ย. 51 17:17] ( IP A:124.157.239.116 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
    ยกฟ้อง “หมอสุทธิพร” ฉีดยาชาไขสันหลังดับคนไข้ไส้ติ่ง สธ.เยียวยาครอบครัว

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 11 กันยายน 2551 16:21 น.

https://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9510000107901


ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้องคดีจำคุก “หมอสุทธิพร” กรณีฉีดยาชาเข้าไขสันหลังผู้ป่วยระหว่างผ่าตัดไส้ติ่งแล้วเสียชีวิตที่ รพ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช ชี้ ถือเป็นการสร้างบรรทัดฐานในการปฏิบัติงานของแพทย์ในชนบท สร้างกำลังใจให้กับบุคลากรทั่วประเทศ ด้าน "ลูกสาวผู้ตาย" เผย ไม่ฟ้องศาลฎีกา ชี้คดีอาญาจบแล้ว ไม่อยากให้หมอติดคุก พอใจศาลตัดสินชัดแม่ตายเพราะยาชาฉีดที่ไขสันหลัง ส่วนคดีทางแพ่งเดินหน้าฟ้องศาลฎีกาเรียกค่าเสียหายต่อไป ระบุหากชนะคดีจะนำเงินบริจาคให้รพ.ร่อนพิบูลย์พัฒนาปรับปรุงระบบบริการสุขภาพ

จากกรณีที่ศาลจังหวัดทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีคำพิพากษาให้จำคุก พญ.สุทธิพร ไกรมาก แพทย์ประจำโรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเวลา 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2550 ในข้อหากระทำการโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ในคดียื่นฟ้องของ น.ส.ศิริมาศ แก้วคงจันทร์ บุตรสาวนางสมควร แก้วคงจันทร์ ซึ่งเสียชีวิตจากการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง ระหว่างผ่าตัดไส้ติ่ง เมื่อ พ.ศ.2545 โดยระบุว่า พญ.สุทธิพร อาจใช้ความระมัดระวังไม่เพียงพอ ฉีดยาชาเข้าไขสันหลังของผู้ป่วย โดยมิได้ควบคุมปริมาณของยาให้เหมาะสม ทำให้ยาชาออกฤทธิ์ลุกลามไปทั้งตัว จนเกิดอาการช็อก หัวใจหยุดเต้นทันที ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ขาดอากาศหายใจ เป็นเหตุให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตายในเวลาต่อมานั้น

นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีดังกล่าวว่า เมื่อเช้าวันนี้ 11 ก.ย.ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำพิพากษายกฟ้องคดีนี้ ทำให้ พญ.สุทธิพร ไม่มีความผิด ทั้งนี้ พญ.สุทธิพร เป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลชุมชน ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุข ให้ทำหน้าที่ดูแลรักษาพยาบาลประชาชน และทุกคนต่างตั้งใจปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้ป่วยหาย ไม่มีใครต้องการให้ผู้ป่วยเสียชีวิต โดยเฉพาะในโรงพยาบาลชุมชนที่อยู่ห่างไกล ซึ่งตามกฎหมายของแพทยสภา แพทย์ทุกคนสามารถดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทุกประเภท แม้ว่าจะไม่ใช่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เนื่องจากผู้ป่วยมีจำนวนมาก

“การขออุทธรณ์ครั้งนี้ เพื่อนำมาสร้างเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติงานของแพทย์ในชนบท เพราะถ้าแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนปฏิเสธการผ่าตัด เนื่องจากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ประสบอันตราย เพราะระบบสาธารณสุขของไทย ยังขาดแคลนแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ โดยเฉพาะแพทย์ดมยา แพทย์ผ่าตัดอยู่อีกมาก จึงนับเป็นขวัญกำลังใจแก่บุคลากรสาธารณสุขทั่วประเทศ ที่ให้การรักษาพยาบาลประชาชนและขอให้เจ้าหน้าที่ทุกคนตั้งใจทำงานเพื่อให้บริการผู้ป่วยต่อไป ทั้งนี้ ในทางแพ่ง สธ.ได้เยียวยาช่วยเหลือครอบครัว นางสมควร แก้วคงจันทร์ ผู้เสียชีวิต ในเบื้องต้นแล้ว” นพ.ปราชญ์ กล่าว

ทางด้าน น.ส. ศิริมาศ แก้วคงจันทร์ ลูกสาวผู้เสียชีวิตกล่าวว่า ตนยอมรับในผลการตัดสินของศาลอุทธรณ์ และจะไม่มีการยื่นฟ้องศาลฎีกาอีก เพราะถือว่าคดีทางอาญาจบแล้ว ทั้งนี้ ผลการตัดสินของศาลทำให้ตนได้ทราบแล้วว่า มารดาเสียชีวิตจากยาชาที่ฉีดเข้าไขสันหลัง ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนอยากรู้มาตลอด อย่างไรก็ตาม ยังมีกระบวนการทางแพ่ง ที่อยู่ในชั้นศาลฎีกา ซึ่งตนจะไม่ถอนฟ้องเพราะถือว่าไม่เกี่ยวกับ พญ.สุทธิพรแล้ว แต่เป็นเรื่องของสธ. ที่ต้องรับผิดชอบ โดยตนได้เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 2,080,000 บาท ซึ่งศาลชั้นตนได้ตัดสินให้ตนชนะคดีได้เงิน 6 แสนบาทพร้อมดอกเบี้ย แต่ในชั้นศาลอุทธรณ์ ศาลได้ยกฟ้อง จึงต้องรอฟังคำสั่งศาลฎีกาอีกครั้งหนึ่ง

“แม้ว่าในในสมัยนพ.มงคล ณ สงขลา เป็นรมว.สธ. ได้มอบเงินช่วยเหลือให้ครอบครัวมาแล้ว 8 แสนบาท แต่ก็ไม่ถือว่าเกี่ยวกับกับทางคดี เพราะที่ผ่านมาไม่ได้รับการเหลียวแลจากสธ. เลย จนกระทั่งนพ.มงคล ลงมารับผิดชอบด้วยตนเอง ซึ่งการฟ้องร้องไม่ต้องการให้หมอติดคุก หรืออยากได้เงิน ซึ่งหากชนะคดีทางแพ่ง จะมอบเงินส่วนหนึ่งบริจาคให้กับรพ.ร่อนพิบูลย์อย่างแน่นอน เพื่อให้รพ.นำไปพัฒนาปรับปรุงระบบบริการสุขภาพ และเพื่อลบคำสบประมาทว่าอยากได้เงิน แต่จะเป็นเงินเท่าไร ขอพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง”น.ส. ศิริมาสกล่าว
โดย: ผู้จัดการ [11 ก.ย. 51 21:14] ( IP A:58.9.205.161 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
    น้องศิริมาศบอกว่าในคำพิพากษาที่เธอจำได้เพียงบางส่วน
บอกว่าแม่ตายเพราะการฉีดยาชาเกินขนาดจริง
อุทธรณ์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

แต่ในประเด็นที่หมอไม่ได้มีเจตนานั้น
ทำให้ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง


หมอปราชญ์น่าจะพูดให้หมด
โดย: ประมานนี้ [11 ก.ย. 51 21:27] ( IP A:58.9.205.161 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   ด้วยสปิริต หมอเปรต ควรขอบคุณ
นพ.มงคล ณ สงขลา ที่เข้าอกเข้าใจผู้เสียหาย
ยอมรับฟังผู้เสียหายนานเกือบ 3 ชั่วโมง ไม่เหมือนตนเอง
ที่ไม่เคยฟังใครเลย เอาแต่ยืนมือกุมไข่ชะเลียร์ รมต.

หมอเปรต ควรขอโทษผู้เสียหาย และหมอสุทธิพร
ที่ชักจูงหมอให้สู้คดีในทางที่ผิด และควรด่าแพทยสภา
ที่ไปเที่ยวปลุกปั่นหมอทั่วประเทศจนสถานการณ์เป็นแบบนี้

คนคนนี้ เปิดเสื้อดูแล้วจะเห็นเนื้อตัวเป็นริ้ว ๆ เหมือนเราบิดผ้าขี้ริ้ว
เพราะบิดเบือนเก่งเป็นอาชีพ ลิ้นก็ยาวผิดปกติเพราะชอบชะเลียร์
หน้าขาว ๆ ตี๋ ๆ แต่ใจดำมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
ไม่รู้เป็นปลัดกระทรวงได้อย่างไร ควรมีเมตตาธรรมมากกว่านี้

รู้มั้ยพวกผู้เสียหายเขาเรียกคุณว่า หมอเปรต กันทั้งนั้น



เข้าใจถึง

น้องศิริมาศ
โดย: หมอเปรต [12 ก.ย. 51 6:21] ( IP A:58.9.189.250 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   อีกอย่าง ควรขอบคุณน้องศิริมาศเขาด้วย
ที่ใจนักเลง รับเงินเยียวยาจากรมต.แล้ว
ก็ยินดีเขียนใบประนีประนอมยอมความให้

เขียนโดยไม่มีใครรู้ด้วย เครือข่ายฯ และ
หมอที่ไปเป็นพยานก็มารู้ภายหลังว่าน้องไปเขียนใบนั้นให้เขา
ทุกคนต่างหนาว ๆ ร้อน ๆ ไปตาม ๆ กัน
โชคดีที่ศาลท่านยังมีคำพิพากษายืนเรื่องแม่ตาย
เพราะการฉีดยาชาเข้าไขสันหลังเกินขนาดตามคำเบิกความ
ของพยานโจทก์จริง ไม่เช่นนั้นสธ.คงตามเช็คบิลหมอที่อุตส่าห์
เสียสละไปเป็นพยานให้น้องเขา

แต่มาถึงวันนี้ น้องเขารู้สึกเหมือนถูกแบล็คเมล
แทนที่จะให้เรื่องนี้เงียบกันไป เพราะรู้ ๆ กันอยู่ว่าเพราะอะไร
ก็ยังมาประโคมข่าว แถมพูดไม่หมดว่าศาลพิพากษาว่าอย่างไรด้วย

คุณคิดทำอะไร หมอเปรต
โดย: ไอ้หมอเปรต [12 ก.ย. 51 6:28] ( IP A:58.9.189.250 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   ใครอยากรู้บ้างว่าน้องเขาเขียนใบประนีประนอมยอมความว่าอยางไร
เนื้อหาเป็นอย่างไร เขียนโดยนิติกรของสธ.ด้วย และให้น้องเขา
ลอกตาม

หมอคนไหนอยากรู้ ให้อีเมลถามได้เป็นการส่วนตัว
และคุณต้องแสดงตัวด้วยว่าเป็นใคร ไม่เข้าถ้ำเสือ
จะไม่ได้ลูกเสือ
ouidolla@yahoo.com
โดย: โมโหไอ้หมอเปรต [12 ก.ย. 51 6:32] ( IP A:58.9.189.250 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   แพทยสภา...อยู่ไหน เงียบเลยนะ
แต่อย่าเป็นอีแอบ และแทงข้างหลังนะ
พวกคุณก็ถนัดแต่เรื่องแบบนี้แหละ
อย่าลืมนะ เป็นลูกผู้ชาย กล้าทำก็ต้องกล้ารับ
อย่ามาบิดเบือนนะ เครือข่ายไม่ยอมแน่
โดย: ทำไมเงียบ [12 ก.ย. 51 6:35] ( IP A:58.9.189.250 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   จากข้อความนี้ใน TCC
https://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1221130708


ความเห็นที่ #18 เมื่อ: วันนี้ เวลา 09:48:55 » on วันนี้ เวลา 09:09:08, Dr.R wrote:

ช่วยตอบหน่อยครับว่า
ถ้าไม่อยากให้หมอติดคุกแล้วฟ้องอาญาทำไม
เห็นด้วย ว่าไม่อยากให้หมอ ติดคุก แล้วฟ้อง อาญา ทำไม
ส่วนหมอสุทธิพร และ ครอบครัว มีใคร ลงไปดูแล แก้ไข บ้าง
แล้วสุดท้าย เครือข่าย ช่วยพูดอะไรหน่อย ว่า มีความเห็นอย่างไร
--------------------------------------------------------------------------------
ตะวันลับฟ้า เมื่อตอนเย็น เย็น
ช่างเป็นเวลาที่ใจหาย
ปลายท้องฟ้า กับแดด รำไร
ฉันเหมือนใจจะขาด
ส่งโดย: Dr K: รักนะเด็กแรด
สถานะ: Executive Member
จำนวนความเห็น: 1098


เครือข่ายฯ คงไม่ต้องพูดอะไร น้องศิริมาศเขาไปพูดในรายการสยามเช้านี้ทางช่อง 5 ไปหมดแล้ว ได้ดูหรือไม่
และทำไมฟ้องอาญาหมอ ว่าจะให้เรื่องเงียบเพราะสงสารหมอ
แต่ถ้าไม่อยากจบ และอยากรู้กันอีก ก็ตามนี้แล้วกัน
เชื่อว่าพวกคุณก็เข้ามาอ่าน



13 ธันวาคม 2550
แถลงการณ์

กรณีศาลจังหวัดทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช พิพากษาจำคุกแพทย์หญิงสุทธิพร ไกรมาก เป็นเวลา 3 ปีโดยไม่รอลงอาญา เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุด แต่ก็ทำให้วงการแพทย์ออกอาการไม่พอใจที่แพทย์ด้วยกันต้องรับโทษทั้งที่ยังไม่รู้ข้อเท็จจริง พร้อมขู่ยุติการทำผ่าตัดที่รพ.ชุมชนและจะมีการส่งต่อผู้ป่วยกันมากขึ้น ต่างวิพากษ์วิจารณ์และโยนความผิดทั้งหมดให้กับผู้เสียหายและเครือข่ายฯ ทั้งที่คดีอาญานั้นดำเนินขึ้นก่อนที่ผู้เสียหายรายนี้จะมาพบกับเครือข่ายฯ

หน่วยงานที่รู้รายละเอียดดีอย่างแพทยสภาและสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ก็ออกมาโต้ตอบและบิดเบือนข้อเท็จจริง อาศัยเหตุการณ์นี้เล่นละครตบตาวงการแพทย์และสังคม เรียกร้องความชอบธรรมให้กับตนเองและเรียกร้องให้แพทย์ไม่ต้องถูกฟ้องเป็นคดีอาญา ทั้งที่รู้ดีว่าเหตุการณ์ที่บานปลายจนพญ.สุทธิพรฯต้องได้รับโทษนั้นแพทยสภาและสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นต้นเหตุใหญ่ และแม้กระทั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขที่เครือข่ายฯ หวังว่าท่านจะเป็นหนึ่งเดียวที่พึ่งได้ ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับชีวิตคนไข้ที่เสียหาย พร้อมควักเงินส่วนตัวเริ่มตั้งกองทุนช่วยเหลือแพทย์สู้คดี เครือข่ายฯ ขอถามว่าแล้วชีวิตคนไข้ไทยที่ต้องล้มตาย เจ็บ พิการ เป็นใบไม้ร่วงทุกวันจากความผิดพลาดทางการแพทย์ที่ป้องกันได้ จะพึ่งใครได้ หรือต้องปล่อยให้เป็นเวรเป็นกรรม เพราะขืนหากลุกขึ้นต่อสู้เรียกร้องหาความเป็นธรรม ก็จะกลายเป็นคนผิด และมีแต่เสียงก่นด่าสาปแช่งจากวงการแพทย์ไทยเป็นรางวัล

เครือข่ายฯ เห็นใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับพญ.สุทธิพรฯ แต่อยากให้ท่านทั้งหลายได้ใช้สติ ดูเหตุ ดูผล และดูข้อเท็จจริงเสียก่อน แล้วค่อยวิจารณ์หรือตัดสินว่าใครถูกใครผิด หรือใครเป็นต้นเหตุ

ดังที่เครือข่ายฯ จะชี้แจงดังต่อไปนี้

1. พญ.สุทธิพรฯ ไม่ได้เข้าไปอยู่ในคุกแม้แต่นาทีเดียว กุญแจมือก็ไม่ถูกใส่ เพราะศาลท่านให้เกียรติแพทย์ อีกทั้งนส.ศิริมาศลูกสาวนางสมควร แก้วคงจันทร์ (ผู้ตาย) ได้ขอร้องศาลผ่านเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ว่า ขอไม่ให้ใส่กุญแจมือ และไม่ให้เอาพญ.สุทธิพรไปคุมขังในระหว่างรอประกันตัว เนื่องจากเธอเห็นว่าในคดีอื่นที่พิพากษาก่อนหน้าคดีของเธอบัลลังก์เดียวกันนั้น ถ้าเป็นชาวบ้านธรรมดาเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำศาลได้เอากุญแจมือไปใส่ไว้กับตัวจำเลยก่อนมีคำพิพากษา และเธอไม่เคยคิดที่จะเอาหมอติดคุก เธอเพียงแต่ต้องการให้ใครสักคนตอบว่าแม่เธอเป็นอะไรตาย แต่ก็ไม่คิดว่าเหตุการณ์จะบานปลายมาจนเป็นแบบนี้

2. 5 มิถุนายน 2545 เมื่อแม่ของศิริมาศเสียชีวิตหลังการผ่าตัดไส้ติ่ง ไม่มีใครอธิบายว่าแม่ตายเพราะอะไร แพทย์ผู้อยู่ในเหตุการณ์ก็บอกว่าหัวใจล้มเหลว ไปถามรพ.มหาราชก็ตอบว่าเพราะสมองบวม ทางรพ.ไม่เคยมีน้ำใจไปร่วมงานศพ เธอนำศพแม่เข้ากรุงเทพผ่าพิสูจน์ที่สถาบันนิติเวช ผลก็ออกมาแบบคลุมเครือ

3. สสจ.จังหวัดนครศรีธรรมราชสอบสวนแล้วบอกว่าหมอไม่ผิด แต่จะจ่ายเงินให้ แต่หมอไม่รับว่าเป็นความผิดพลาด ศิริมาศ บอกว่าถ้าจะให้รับเงินต้องอธิบายก่อนว่าแม่ตายเพราะอะไร ถ้าหมอไม่ผิดเธอก็เหมือนไปขู่กรรโชกทรัพย์มันไม่ถูกต้อง คนในสสจ.บอกว่าถ้าเป็นอย่างนั้นก็ให้ไปฟ้องเอาเอง

4. ศิริมาศจึงไปแจ้งความ (จุดเริ่มต้นคดีอาญา) เมื่อไปแจ้งความ ศิริมาศรู้ว่ามีการใช้อิทธิพลท้องถิ่น ทำให้ตำรวจไม่รับแจ้งความ ไม่ยอมทำสำนวนส่งอัยการ

5. เธอร้องเรียนแพทยสภาก็บอกสั้น ๆ ว่า ”คดีไม่มีมูล” ร้องรัฐมนตรีฯ สธ.ยุคนางสุดารัตน์ฯ ก็ไม่มีใครช่วย ศิริมาศร้องเรียนต่อ 16 หน่วยงาน หน่วยงานสอบสวนแล้วพบว่าตำรวจมีความผิดจนถูกย้าย และอัยการสูงสุดมีคำสั่งให้ฟ้องคดีนี้ในที่สุด

6. ปลายปี 2545 ศิริมาศเข้ารวมตัวกับเครือข่ายฯ เครือข่ายฯ จึงช่วยเธอยื่นฟ้องสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดของรพ.ร่อนพิบูลย์ เป็นคดีแพ่ง ตามพรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ปี 2539 จนกระทั่งปลายปี 2548 ศาลชั้นต้นตัดสินให้ศิริมาศชนะคดี ว่าคดีไม่หมดอายุความ และรพ.ประมาทเลินเล่อ สธ.ต้องชดใช้ค่าเสียหาย 6 แสนบาท

ศิริมาศเหนื่อยมาหลายปี หนังสือก็ไม่ได้เรียน ทั้งที่เธอเอนทร้านซ์ติดคณะชีวะเคมี เธออยากเรียนหนังสือ จึงขอร้องสำนักงานปลัดกระทรวงฯ ว่าอย่าอุทธรณ์เลย เธอพอใจและได้คำตอบแล้วว่าแม่เป็นอะไรตาย และเงินจำนวน 6 แสนบาทนั้นแม้จะไม่มากหากเทียบกับชีวิตแม่ แต่ก็คงพอทำให้เธอกับน้อง ๆ ได้เรียนหนังสือ หลังจากแม่ตายก็บ้านแตก พี่น้อง 5 คนแตกแยกกันไปคนละทิศละทาง เธอกับน้อง ๆ ไม่มีใครส่งเสียให้ได้เรียน ความเป็นอยู่ลำบาก แต่ทางสำนักงานปลัดกระทรวงฯ กับทางแพทยสภากลับร่วมกันตั้งทีมทนายสู้กับคนไข้ ทำทุกวิถีทางที่จะเอาชนะคนไข้ แม้จะไม่ถูกต้องก็ทำ และยื่นอุทธรณ์ในประเด็นอายุความ จนทำให้ศิริมาศต้องได้รับความพ่ายแพ้เนื่องจากคดีหมดอายุความ เมื่อ 12กรกฎาคม 2550

เจตนารมณ์ของ พรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่นั้น เขามีไว้ช่วยแพทย์เวลาถูกร้องเรียน ไม่ต้องให้แพทย์ถูกฟ้อง และมีไว้เพื่อเยียวยาผู้เสียหาย แต่สำนักงานปลัดกระทรวง กลับไม่ยอมทำตามเจตนารมย์ของกฎหมาย ปล่อยให้คนผู้เสียหายที่มีความทุกข์และต้องการความช่วยเหลืออย่างมาก ไปฟ้องกันเอาเอง แล้วก็จัดตั้งทีมกฎหมายสู้แบบเอาเป็นเอาตาย เหตุการณ์เปลี่ยนไปน้องศิริมาศต้องต่อสู้กับหน่วยงานที่ควรให้ความเป็นธรรมกับเธอ และแพทย์ของรพ.ร่อนพิบูลย์ก็ถูกนำไปเป็นเครื่องมือในการเอาชนะผู้เสียหายของหน่วยงาน

7. ในคดีอาญาที่อัยการสั่งฟ้อง ชมรมแพทย์ชนบทได้ประสานกับเครือข่ายฯ ว่าจะหาทางออกอย่างไรดี เครือข่ายฯ อาสาคุยกับน้องให้ ศิริมาศบอกว่ามาพูดตอนนี้มันสายไปแล้ว อัยการสั่งฟ้องไปแล้ว ทำไมก่อนหน้านี้ไม่มาคุย และคดีอาญานั้นยอมความกันไม่ได้ ถือเป็นอาญาแผ่นดิน แต่ก็มีทางออก โดยให้แพทย์ขอโทษอย่างเป็นทางการ และทำบุญให้แม่เธอ และเธอจะไปแถลงต่อศาลเองว่าไม่ติดใจเอาความ และให้หมอไปรับสารภาพกับศาลท่านพร้อม ๆ กัน โทษหนักจะได้เป็นเบา อย่างมากศาลก็รอลงอาญา ครั้งแรกทางรพ.ตอบตกลง แต่แพทยสภาและสำนักงานปลัดกระทรวงฯ ไม่ให้หมอขอโทษและให้สู้คดี โดยบอกหมอว่ามีทางชนะ โดยจัดทีมนักกฎหมาย ทีมแพทย์ที่จบกฏหมายช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ มีกรรมการแพทยสภาคอยประกบพยานฝ่ายของศิริมาศในศาลอย่างน่าเกลียดอีกด้วย

ในการสู้คดีศิริมาศเห็นว่าแพทย์หญิงสุทธิพร หลงเชื่อหน่วยงานเบิกความไม่ตรงกับข้อเท็จจริง แพทย์พยานผู้เชี่ยวชาญจากราชวิทยาลัยก็เบิกความขัดกับตำราที่ตนเองเขียน

ดังนั้นการที่พญ.สุทธิพร ต้องคดีอาญาในครั้งนี้ เป็นเพราะหลงเชื่อแพทยสภาและสำนักงานปลัดกระทรวงฯ ที่ยุให้แพทย์สู้คดีในทางที่ผิด ๆ จึงทำให้ตนเองต้องเป็นเช่นนี้ ทั้งที่น้องศิริมาศและเครือข่ายฯ ได้พยายามช่วยแล้วแต่แพทย์ไม่รับเอง มิหนำซ้ำทุกครั้งที่ศิริมาศพบกับพญ.สุทธิพร เธอยกมือไหว้แต่พญ.สุทธิพรไม่เคยรับไหว้ และแสดงกิริยาอาการที่ไม่เป็นมิตรอีกด้วย

เวลาคนไข้ถูกหน่วยงานรังแก ยัดเยียดความอยุติธรรมให้ เครือข่ายฯ ไม่เคยเห็นวงการแพทย์ส่วนใหญ่จะเห็นใจ และออกมาเรียกร้องเพื่อคนไข้ทั้ง ๆ ที่รู้ดีกันอยู่ว่าแพทย์ทำผิดและหน่วยงานไม่มีความเป็นธรรม แต่ก็ปล่อยให้คนไข้ถูกกระทำ วงการแพทย์ไม่ควรเห็นแก่พวกพ้องอย่างน่าเกลียด และออกมาตอบโต้เหมือนจับคนไข้เป็นตัวประกัน จะไม่รักษา จะลาออก การเอาชีวิตคนไข้มาต่อรองในทางที่ผิดนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง สังคมแพทย์ควรมีความเห็นอกเห็นใจผู้เสียหาย และหาทางช่วยเหลือกันอย่างมีมนุษยธรรม เพราะที่ใดไม่มีความเป็นธรรม สันติย่อมไม่เกิด แพทย์อยากให้คนไข้เข้าใจแพทย์ เห็นใจในความเหนื่อยยากของแพทย์แพทย์ก็ต้องเห็นใจคนไข้ด้วยถึงจะมีความสงบสุขด้วยกันทุกฝ่าย

ทุกวันนี้ทั้ง คนไข้ และหมอ คือเหยื่อของระบบ เหยื่อของหน่วยงาน ที่ผู้บริหารเหลิงและลุแก่อำนาจ ไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา มัวแต่ห่วงภาพพจน์และศักดิ์ศรีของตนเอง จนลืมความมีมนุษยธรรม ทำให้เหตุการณ์เล็ก ๆ บานปลายมาจนถึงกับทำให้แพทย์หญิงสุทธิพรต้องโทษถูกจำคุก 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา อย่างวันนี้ เครือข่ายฯ ก็ได้แต่ภาวนาว่าศาลชั้นอุทธรณ์ และศาลฎีกาท่านจะให้ความเมตตาต่อแพทย์ ให้ได้รับโทษสถานเบาที่สุดเพียงแค่รอลงอาญา

เครือข่ายฯ ขอวิงวอนให้สื่อมวลชนได้โปรดให้ความเป็นธรรมกับเครือข่ายฯ ช่วยเผยแพร่แถลงการณ์นี้ให้แพทย์และสังคมได้รับทราบ เนื่องจากเครือข่ายฯ ไม่เคยสนับสนุนให้คนไข้ฟ้องอาญาแพทย์ และไม่เคยต้องการเห็นแพทย์ติดคุก และการฟ้องคดีอาญาต่อแพทย์นั้นส่วนใหญ่คือหนทางสุดท้าย เป็นเพราะระบบไม่ให้ความเป็นธรรมต่อผู้เสียหาย หากเครือข่ายฯ คิดทำลายวงการแพทย์ก็คงไม่อดทนเรียกร้องให้มีการตั้งกองทุนชดเชยความเสียหายมายาวนานต่อเนื่องถึง 5 ปี เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับคนไข้และคุ้มครองแพทย์ ไม่ให้มีการฟ้องร้องกันอีกต่อไป และข้อเรียกร้องของผู้เสียหายที่เป็นผู้บริโภคไม่ใช่หรือ ที่ได้รับการบรรจุลงในร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ที่ได้ผ่านมติครม.ไปแล้วและกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา

เครือข่ายฯ ขอถามว่าแพทย์ทุกคนไม่ได้ประโยชน์หรือ กับการลุกขึ้นเรียกร้องของเครือข่ายฯ ขณะที่พวกท่านส่วนใหญ่เพิกเฉยไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายของคนไข้ที่ไม่มีทางสู้

ขอไว้อาลัยให้กับหน่วยงานสาธารณสุขของไทย
เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์

เรื่องนี้นพ.มงคล ณ สงขลา รับรู้ถึงได้เป็นที่มาของการมอบเงินเยียวยา 8 แสนบาท และยกเลิกการแถลงข่าวร่วมกับแพทยสภาในบ่ายวันเดียวกัน และลงไปใต้ทำบุญให้กับแม่ของน้องศิริมาศ พร้อมทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อทำคดีอาญาจากหนักให้เป็นเบา
โดย: อ่านดู [12 ก.ย. 51 10:25] ( IP A:58.9.197.35 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
    ปราชญ์ - เปรต ? ใช่ไม่ใช่
โดย: เจ้าบ้าน [12 ก.ย. 51 10:26] ( IP A:210.86.181.20 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   A lack of anaesthetists, specialists and essential equipment in remote hospitals gives rural doctors too heavy a workload, which can lead to errors and legal disputes, Dr Prat said.
โดย: บางกอกโพสต์ [12 ก.ย. 51 10:50] ( IP A:58.8.1.35 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   https://www.bangkokpost.com/120908_News/12Sep2008_news07.php
โดย: ลิ้งค์ อ่านเองเด้อ ภาษาปะกิต [12 ก.ย. 51 10:54] ( IP A:58.8.1.35 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   เครือข่ายฯ ขอถามว่าแพทย์ทุกคนไม่ได้ประโยชน์หรือ กับการลุกขึ้นเรียกร้องของเครือข่ายฯ ขณะที่พวกท่านส่วนใหญ่เพิกเฉยไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายของคนไข้ที่ไม่มี ทางสู้


...............................




เห็นเพื่อนร่วมวิชาชีพโดนฟ้องแล้วยินดีหรือ
ถึงเวลาตัวเองโดนฟ้องมั่ง แล้วมีเพื่อนๆยินดีคงพิลึก
โดย: 1111 [12 ก.ย. 51 11:40] ( IP A:118.172.216.192 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
   ^
^
^
I don't know what else to do, I give up.
แปลว่า หมดปัญญา ยอมแล้ว

แล้วมันมีผู้เสียหายคนไหน เลี้ยงฉลองการฟ้องหมอบ้างไหม
มีแต่ยากจนลงเพราะต้องเดินไปศาล ปวดกระบาลอีกกับเรื่องทำมาหากิน
คงพิลึกดีเหมือนกัน ถ้ามีความยินดีเกิดขึ้นเช่นกันในหมู่คนไข้เสียหาย
โดย: ไปละ ละเหี่ยใจ [12 ก.ย. 51 18:16] ( IP A:222.123.31.251 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
   คห.21
ผู้เสียหายไม่ดีใจ แต่มีเครือข่ายบางเครือข่ายดีใจ
โดย: จริงไหม?? [12 ก.ย. 51 18:56] ( IP A:89.149.244.184 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
   ดีใจกะผีอะไรฟะ...?
การช่วยคนที่มีความทุกข์เช่นที่เราทำ
เนื้อไม่เคยกิน หนังไม่เคยเอามารองนั่ง แถมเอากระดูกแขวนคอ
ด้วยซ้ำไป จะเอาใจที่ไหนมาฉลองฟะ....
โดย: เอาหัวแม่ทีนคิดหรือไง [12 ก.ย. 51 19:36] ( IP A:58.9.202.13 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
    มันเอาหัวแม่ทีนคิดเป็นคำตอบสุดท้าย

โดย: 555 [3 ต.ค. 51 14:05] ( IP A:222.123.86.157 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
   อาชีพที่เห็นแก่ตัวที่สุดคือหมอ
เบียดบังเวลาราชการไปหากินส่วนตัว
ดูแลคนไข้มาคลีนิคอย่างผู้มีพระคุณ
ดูแลคนไข้ที่โรงพยาบาลเหมือนอะไรดี
เห็นแก่เงินจนลืมจรรยาบรรณ
และเหมือนกันเกือบทุกคน
โดย: nuy [1 พ.ค. 52 11:17] ( IP A:125.24.75.127 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน