consumer.pantown.com
Thai Iatrogenic Network รวมกระทู้เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ <<
กลับไปหน้าแรก
พรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
โดยเดลินิวส์
ตามที่ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 ส.ค. โดยมีเจตนา รมณ์ที่ดีในการให้การคุ้มครองแก่ประชาชนผู้บริโภคซึ่งได้รับผลกระทบจากการซื้อสินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัย และถูกเอาเปรียบจากเจ้าของกิจการที่มุ่งหวังกำไรในการขายทรัพย์สิน เช่น รถยนต์ บ้าน เครื่องมือ อุปกรณ์ อาหาร รวมถึงการขายบริการ เช่น ในรูปการซื้อบริการสมาชิกต่าง ๆ ของสถานที่ออกกำลังกาย แล้วถูกฉ้อโกง ซึ่งเป็นกิจการที่สามารถตั้งมาตรฐานและกำหนดการตรวจสอบได้ง่าย นับเป็นความมุ่งหวังที่ดีในการคุ้มครองประชาชนในส่วนช่องว่างที่ไม่มีกฎหมายดูแลนั้น
นอ.(พิเศษ)นพ.อิทธพร คณะเจริญ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า การบริการทางสาธารณสุขกว่า 180 ล้านครั้งต่อปี ซึ่งเป็นการบริการประชาชนเช่นกัน แต่มิได้อยู่บนความต้องการค้ากำไรและแสวงหาหลอกลวงลูกค้า หากแต่เกิดขึ้นเพื่อบำบัดความทุกข์ประชาชนจากโรคภัยไข้เจ็บ
ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจคือการรักษาพยาบาล มนุษย์นั้น ไม่สามารถตั้งมาตรฐานได้เช่นเดียวกับสินค้า ที่จะมีความเหมือนกัน เนื่องจากผลการรักษาพยาบาล มิได้ขึ้นกับตัวบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น ยังต้องขึ้นกับตัวบุคคล พฤติกรรม การดูแลสุขภาพ การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ยา และการปฏิบัติตามคำแนะนำต่าง ๆ ของผู้ป่วยแต่ละรายที่ไม่เท่าเทียมกัน ส่งผลต่อความสำเร็จในการรักษาพยาบาลทั้งสิ้น
พ.ร.บ.นี้จะส่งผลกระทบต่อทั้งรัฐ และประชาชนอย่างมาก โดยมิได้คาดคิดมาก่อน ที่น่าจับตามองมีดังนี้
1. กระบวนการตรวจ-รักษาเปลี่ยนไป เพื่อให้สอดคล้องที่จะเกิดความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ จากตรวจตามความจำเป็น เป็นการตรวจทุกอย่างที่อาจเป็นได้ตามวิชาการ เช่น อาจต้องตรวจคอมพิวเตอร์ 1,000 ครั้ง เพื่อหาผู้ปวดศีรษะจากเนื้องอกสมอง 1 คน ถ้าใช้เงิน 3,000 บาทต่อคน รัฐเสียเงิน 3,000,000 บาท จากการปวดศีรษะ เพื่อให้ตรวจพบเนื้องอกสมอง 1 ราย ทั้งที่งบประมาณนี้รักษาเนื้องอกสมองได้เป็นร้อยคน
2. ประชาชนเสียหายมากขึ้นจากการที่เสียช่วงเวลาดีที่สุดในการรักษาจากการรอขั้นตอนมากขึ้น ถูกตรวจมากขึ้นเพื่อป้องกันคดี แต่ผลการรักษาอาจกลับแย่ลง ทางเลือกของแพทย์คือการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคไม่ซับซ้อนและโรคที่มีปัญหาในการวินิจฉัยน้อยที่สุด กลุ่มผู้ป่วยซับซ้อนจึงจะต้องถูกส่งต่อเข้าโรงพยาบาลใหญ่ ที่เพียบพร้อมด้วยเครื่องมือและแพทย์มากกว่า โดยนัยเพื่อ ประโยชน์สูงสุดของคนไข้เอง
3. แพทย์ตัดสินใจออกจากระบบที่ไม่ปลอดภัยง่ายขึ้น เนื่องจากต้องการความปลอดภัยที่ในภาครัฐให้ไม่ได้
หากต้องการกฎหมายคุ้มครองประชาชน ด้านสุขภาพด้วยเกณฑ์ที่มากขึ้นในด้านใด เกี่ยวเนื่องระบบสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องความเป็นความตายของชีวิตมนุษย์ที่ละเอียดอ่อน ควรต้องยกร่างที่ชัดเจน ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมเสนอแนะวิจารณ์หาจุดสมดุลของประเทศ ทั้งรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ เพราะกฎหมายเหล่านี้ย่อมพัวพันถึงงบประมาณของประเทศจำนวนมหาศาล การออกกฎหมายโดยไม่มีความเห็นใด ๆ เลยจากวงการแพทย์ ทั้งปลัดกระทรวงสาธารณสุข คณบดีคณะแพทยศาสตร์ผู้ผลิตแพทย์ แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัช สภาทันตแพทย์ สภาเทคนิคการแพทย์ สภากายภาพบำบัดผู้ให้บริการทางการแพทย์ต่อสังคม และกระทรวงการคลังในฐานะผู้จ่ายเงินเพื่อหล่อเลี้ยงกระบวนการรักษาพยาบาลทั้งระบบนั้น ย่อมเป็นการยากที่จะคาดเดาและหลีกเลี่ยงผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ได้
การนำการรักษาพยาบาลช่วยชีวิตคน ไปใช้รวมกับ พ.ร.บ.ควบคุมสินค้าฉ้อฉลหลอกลวงนั้น เป็นการคิดได้ยากว่ามาจากเจตนารมณ์และวิธีการคิดรูปแบบใด และจากการติดตามพบว่ายังไม่มีการใช้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคมาฟ้องกับแพทย์ผู้ให้การรักษาพยาบาลในต่างประเทศมาก่อน ทุกที่ล้วนมีกฎหมายเฉพาะทั้งสิ้น เนื่องจากการรักษาพยาบาลมีความลึกซึ้งและละเอียดอ่อนมาก แต่ประเทศไทยอาจเป็นประเทศแรกในโลก
วงการแพทย์ยังมีกฎหมายที่ดีมากอีกฉบับที่จะออกมาทับซ้อนกัน คือ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการทางสาธารณสุข พ.ศ....โดยเน้นการไกล่เกลี่ยสมานฉันท์แบบสันติวิธี และช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบเหล่านี้ แทนการฟ้องร้อง ร้องเรียน และปะทะกันในวงการแพทย์ ซึ่งอยู่ในขั้นคณะกรรมการกฤษฎีกา
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค แม้จะมีผลที่เกิดประโยชน์ยอดเยี่ยม และใหญ่หลวงในการคุ้มครองประชาชน แต่เหมาะสมหรือไม่ กฎหมายฉบับใดที่ออกโดยไม่มีโอกาสฟังความเห็นผู้เกี่ยวข้องแท้จริง และออกในภาวะเร่งด่วน จำกัดด้วยเวลา และมีการลงคะแนนที่ไม่ครบองค์ประชุม และถูกประกาศใช้โดยไม่เข้าใจหรือถามไถ่ผู้อยู่ในระบบที่ให้รู้ถ่องแท้เสียก่อน ย่อมมีโอกาสส่งผลกระทบที่มองไม่เห็นให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติได้หลายมิติ.
โดย: กลัวอะไรไม่เข้าเรื่อง [7 ก.ย. 51] ( IP A:58.9.184.146 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
อะไรก็ตามตอนนี้
ต้องแก้ที่ตัวบุคคล
กฎหมายดีทุกข้อ
ถ้าว่ากันตามความจริง
ก็ตัดสินไม่ยาก
สำคัญ คนตีกฎหมายชอบ ใส่ไข่ ใส่นมในเรื่องราว
มันจึงแย่อยู่อย่างนี้ สังคมไทย
และเมื่อไรจะเลิก ระบบ เอื้ออาทรไปให้หมดในระบบราชการไทย มีเรื่องที ก็เจอแต่พวกเขาหมด พวกเรานั่งหน้าจ๋อหมดเลยนี่ซิสำคัญ
โดย: GN+ [8 ก.ย. 51 10:34] ( IP A:117.47.41.104 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน