คนไข้มะเร็งตายไปแล้ว
   เมื่อโลกตะวันตก...เรียนรู้ความตายแบบพุทธ

ความตายนั้นเป็นเรื่องใหญ่โตในสังคมวัตถุนิยมของ โลกตะวันตกอย่าง ที่คนไทยนึกไม่ถึง แม้กระทั่งการเอ่ยถึงคำว่า ตาย (death และ dead) นั้นเป็นสิ่งที่ฝรั่งทั้งหลายเห็นว่าเป็นเรื่องเสียมารยาทอย่างมาก แม้ในงานศพ บาทหลวงที่ประกอบพิธีมักจะเลี่ยงไม่พูดคำๆ นี้ และจะหาคำหรือสำนวนอื่นมาใช้แทน

ทั้งนี้เนื่องจากทัศนะทางวัตถุนิยมที่เห็นว่า ความตายนั้นเป็นศัตรูที่ตรงกันข้ามกับการมีชีวิต ถือได้ว่าเป็นปราการด่านสุดท้ายที่มนุษย์จะต้องเอาชนะให้ได้ ระบบการดูแลผู้ป่วยแบบ ฮอสพีซนั้นเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ จากการริเริ่มของแพทย์หญิงผู้หนึ่ง ซึ่งให้ความสนใจกับการเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วยอย่างมาก

นับตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ เป็นต้นมา อาตมาได้รับนิมนต์ให้เป็นที่ปรึกษาโครงการกาญจนบารมี ในสังกัดสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายอย่างองค์รวม ซึ่งต่อมาโครงการนี้ได้พัฒนาขึ้นเป็นมูลนิธิกาญจนบารมี ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชมาร ซึ่งต่อมาได้พัฒนาระบบ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายขึ้น ณ ศูนย์มหาวชิราลงกรณ์ คลองสิบ ปทุมธานี โดยการพัฒนาระบบฮอสพิซ (hospice) ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในสหรัฐ และประเทศในทวีปยุโรป ในระยะแรกนั้น เจ้าหน้าที่ของเรายังไม่เข้าใจในระบบการดูแลในรูปแบบ ฮอสพิซดีเพียงพอ และแยกแยะไม่ได้ว่าระบบฮอสพีซ มีความแตกต่างจากการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลอย่างไร แม้ในภาษาไทยในวิชาการแพทย์หรือพยาบาลศาสตร์ ยังไม่มีคำแปลที่เหมาะสม ปัญหาที่ขบคิดกันคือ ทำอย่างไรการพยาบาลในระบบนี้จึงจะเรียกว่าเป็นการดูแลผู้ป่วยอย่างองค์รวม เนื่องจากเป็นแนวคิดในระบบการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่ค่อนข้างใหม่

ดังนั้นอาตมาจึงทำหน้าที่ประสานงานให้ ทางมูลนิธิกาญจนบารมี ได้ส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูง ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ไปดูงานที่ฮอสพีซ ที่มีชื่อเสียงสองแห่งในสหรัฐ คือที่เฮอร์นานโด-พาซโกฮอสพีซ ในมลรัฐฟลอริดาแห่งหนึ่ง และที่ซานดิเอโกฮอสพีซ ในเมืองซานดิเอโก มลรัฐแคลิฟอร์เนียอีกแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะ

สถาบันแรกนี้ได้สร้างความคุ้นเคยกับ เจ้าหน้าที่ทางฝ่ายไทยเป็นอย่างดี และได้รับการประสานงาน อย่างต่อเนื่องเรื่อยมา กระนั้นเองการพัฒนาระบบ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของประเทศไทยในครั้งนี้ ยังผลให้ฝ่ายสหรัฐได้เรียนรู้เทคนิคการดูแลผู้ป่วย ระยะสุดท้ายของคนไทย จากวัฒนธรรมไทยเช่นเดียวกัน เป็นการเอื้อประโยชน์ทางวัฒนธรรม และความรู้ของเทคนิคทางการพยาบาล ที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลทางสาธารณสุขด้วยกันทั้งสองประเทศ

ประวัติที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของแพทย์หญิงท่านนี้คือ เธอเป็นนางพยาบาลมาก่อน และมีความกระตือรือร้นในการดูแลผู้ป่วยด้วยความกรุณา และมีความเห็นว่าผู้ป่วย ที่กำลังอยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต แทนที่จะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด กลับถูกปล่อยให้นอนตายอยู่ตามลำพังห่างไกล จากญาติพี่น้องและครอบครัว

เมื่อเสียชีวิตแล้วแพทย์ก็มิได้ให้ญาติเข้าไปเห็น แต่จะให้เจ้าหน้าที่สัปเหร่อจัดการ แต่งศพแล้วนำไปประกอบพิธีฝังหรือเผาต่อไป ไม่มีใครอยากเห็นภาพคนตาย หรือได้ยินเรื่องการเสียชีวิตของใคร หรือหากจะพูดอย่างตรงไปตรงมาที่สุดคือพยายามลืมกันไปเสียว่า ความตายนั้นมีอยู่ ทัศนะต่อความตายในสังคมพุทธเป็นสิ่งที่ฝรั่งให้ความสนใจกันมาก ชาวพุทธและชาวตะวันออกยอมรับว่า ความตายเป็นส่วนหนึ่งของการมีชีวิต มิใช่เป็นศัตรูกับชีวิต โดยเฉพาะในพระพุทธศาสนานั้นมีคำสอนให้ชาวพุทธเจริญมรณานุสติเป็นประจำ เพื่อเตือนใจมิให้หลงติดอยู่กับโลกหรืองมงายไปในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่างๆ

คำสอนในลักษณะเช่นนี้ จึงเป็นการทวนกระแสจิตสำนึก ทางวัตถุนิยมอยู่มาก สิ่งที่ฝรั่งทึ่งกับพระพุทธศาสนาอย่างมาก คือการปฏิบัติต่อผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งมีหลักฐานในพระไตรปิฎก ที่พระพุทธเจ้าทรงเยี่ยมไข้พระที่อาพาธหนักด้วยพระองค์เอง และทรงพยายามเทศนาโปรดพระภิกษุที่ป่วยหนัก และมีอกุศลจิต ที่จะฆ่าตัวตายให้พ้นจาก ความทุกข์ทรมาน หรือการที่ทรงมอบให้อัครสาวกเบื้องขวาคือพระสารีบุตรไปโปรดอุบาสกที่ป่วยหนัก และสอนให้เขาบำเพ็ญเพียรในวาระสุดท้ายจนได้ไปเกิดในพรหมโลก เป็นต้น

การศึกษาดูงานของเจ้าหน้าที่ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ จึงเป็นการเอื้อประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย ของสถาบันฮอสพีซของสหรัฐไปด้วยในเวลาเดียวกัน ทำให้เจ้าหน้าที่ของเขาทั้งแพทย์ พยาบาลและอนุศาสนาจารย์ ที่ดูแลผู้ป่วยเกิดความสนใจในปรัชญา และวิธีการฝึกจิตในพระพุทธศาสนา จนในภายหลังที่เสร็จสิ้นจากการดูงานแล้ว เขาจึงได้นิมนต์ให้อาตมาเดินทางไปสอนสมาธิภาวนาและ อบรมเจ้าหน้าที่ของสถาบันฮอสพีซในสหรัฐอีกหลายครั้ง อีกทั้งในตะวันตก ขณะนี้ได้มีการตีพิมพ์หนังสือที่เกี่ยวกับธรรมะในพระพุทธศาสนาแบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกาหรือประเทศต่างๆ ในยุโรป หนังสือเหล่านี้มีจำนวนไม่น้อยได้รับความนิยม อ่านกันมากจนถึงกับ มีคนผลิตออกมาเป็นภาพยนตร์ก็มี สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสนับสนุน ทำให้เกิดการปฏิบัติธรรมนั้นเป็นกิจวัตรของคนหนุ่มสาว สังคมสมัยใหม่ในประเทศที่พัฒนาแล้วในขณะนี้

หากเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้ว ยังไม่เคยไปปฏิบัติภาวนาในสำนักใดสำนักหนึ่ง หรือเคยคุยกับพระลามะ หรือฟังพระเซนบรรยายธรรม ก็ถือว่าเป็นคนที่เชยมาก ทำให้เป็นเรื่องที่ง่ายแก่การอธิบาย ทำให้ชาวตะวันตก ยอมรับเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดมากขึ้น และเชื่อว่าคนเราตายแล้วไม่สูญ สิ่งที่น่าประทับใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมตะวันตกประการหนึ่งคือ ความพยายามที่จะเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ ของชาวตะวันออกอย่างจริงจัง เมื่อเขาเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ก็จะทำการเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ หรือทำเป็นหลักสูตรที่สามารถนำไปปฏิบัติอย่างมี มาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากลได้มาก

แม้ว่าวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ ได้เจริญก้าวหน้าไปแล้วมากมาย แต่กระนั้นความตายและอะไรเกิดขึ้นกับจิตเมื่อชีวิตถึงที่สุดแล้ว ยังไม่มีวิทยาศาสตร์สาขาใดให้ความกระจ่างได้ ลำพังวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียวคงไม่อาจแก้ไขทุกข์ของมนุษย์ในระยะตรีทูตนี้ได้ ศาสนาจากโลกตะวันออกอาจเป็นคำตอบของฝรั่งในตะวันตกอีกหลายล้านคน
โดย: แต่ญาติกำลังจะตายตาม [5 พ.ย. 51 23:24] ( IP A:58.8.16.166 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   โดนฟ้องเรียกหนี้ ค่ารักษาอีก 4 แสน
จ่ายไปแล้ว 5 ล้าน
โดย: ฟฟ [5 พ.ย. 51 23:25] ( IP A:58.8.16.166 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   เมื่อคืนได้ดูรายการๆหนึ่ง
มีพยาบาลคนหนึ่งตัวเองเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่ยังอุทิศตัวออกเยี่ยมคนไข้ยากจนตามบ้าน ไปทำแผลให้คนไข้ฟรีๆ ถึงบ้าน นอกจากพยาบาลจะคอยให้กำลังใจคนไข้แล้ว กลับกันคนไข้ก็มาให้กำลังใจพยาบาลด้วย เป็นภาพที่ดูแล้วบรรยายไม่ถูกจริงๆ

ขอเป็นกำลังใจให้พี่พยาบาลคนนั้นหายป่วยจากโรคร้าย จะได้อยู่กับครอบครัวที่น่ารักไปนานๆ
โดย: 666 [6 พ.ย. 51 12:20] ( IP A:124.120.83.159 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน