ช่างทำคันชักที่มีชื่อเสียง
|
ความคิดเห็นที่ 1 ที่เมือง Mannheim (เมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเยอรมัน) มีการใช้คันชักแบบ 'Transitional bow' สำหรับบรรเลงบทประพันธ์ของ Tartini, Haydn และ Mozart ซึ่งเป็นคันชักฝีมือของ F.Tourte และ The Dodds
ในปี 1772 Wilhelm Cramer (1745-99) นักไวโอลินแห่งมือง Mannheim ได้เดินทางไปยังลอนดอน คันชักแบบที่เขาใช้เรียกว่า 'Cramer bow' นักประพันธ์และนักไวโอลินชาวอิตาลี Tartini มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาคันชักเช่นกัน ในราวๆ ปี 1730 เขาได้ทดลองใช้ไม้ที่มีน้ำหนักเบาและด้ามคันชักที่ตรง ซึ่งตรงข้ามกับคันชักที่โค้งออก เขายังได้ริเริ่มทำโคนคันชักให้เป็นทรง 8 เหลี่ยมอีกด้วย คันชักแบบ 'Cramer bow' ค่อนข้างตรง แต่ Tourte Pere เป็นผู้ริเริ่มทำคันชักแบบเว้าเข้าดังเช่นที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอย่างไม่ต้องสงสัย จากภาพประกอบในหนังสือ Violinschule ของ Leopold Mozart จะเห็นได้ว่าหลังจากที่คันชักได้พัฒนารูปชักแล้วก็ตามแต่ในประเทศเยอรมันยังคงมีใช้แบบนี้กันอยู่บ้าง | โดย: - [16 พ.ค. 49 8:05] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 Classical bow หรือ Transitional bow แบบอังกฤษ 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 8:08] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 Classical bow หรือ Transitional bow แบบฝรั่งเศส 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 8:10] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 Francoise Xavier Tourte (1747-1835) ช่างทำคันชักที่มีชื่อเสียงที่สุดตลอดกาลที่ไม่เคยประทับชื่อลงบนงานของตนเองเลย เขาเริ่มทำงานเป็นช่างทำนาฬิกาก่อนที่จะหันไปทำคันชักสมัยใหม่ ต้องยกความดีให้กับประสบการณ์ที่ได้จากฝึกงานกับพ่อของเขา Louis Tourte Père (ราวๆ ปี 1720 - 1780) ซึ่งเป็นช่างทำคันชักเช่นกัน คันชักสมัยใหม่พัฒนาขึ้นในราวๆ ปี 1785 หรือ 1786 โดย Spohr ซึ่งบอกกับพวกเขาว่าต้องการ "ด้ามคันชักที่น้ำหนักไม่มากนักแต่มีความยืดหยุ่นที่ดี มีความสวยงามและดัดให้ได้รูปตามแบบ โดยให้จุดที่แคบและใกล้หางม้าที่สุดต้องอยู่กึ่งกลางพอดีระหว่างปลายคันชัก (Head) กับ Frog" ("trifling weight with sufficient elasticity of stick and the beautiful and uniform bending, by which the nearest approach to the hair is exactly in the middle between the head and the frog") และ "ฝีมือที่ละเอียดและปราณีตที่สุด" ("Extremely accurate and neat workmanship") เป็นข้อความจากหนังสือ "Violinschule" ของ Spohr ที่ตีพิมพ์ในปี 1832
ซึ่ง Tourte ได้ออกแบบตามคำแนะนำของ Viotti และเขาได้ยึดเอาแบบของ Fetis เป็นหลัก โดยกำหนดความยาวของคันชักไว้ที่ที่ 74 ถึง 75 ซ.ม.ความยาวของหางม้าอยู่ที่ 65 ซ.ม. และจุดสมดุลอยู่ที่ 19 ซ.ม. เหนือ Frog น้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 56 กรัม คันชักแต่ละคันจะขายอยู่ที่ราคา 15 เหรียญทอง (Louis d'Or) และคันชักที่ไม่สมบูรณ์แบบแม้เพียงนิดเดียวจะถูกทำลายทิ้งทั้งหมด เขาไม่เคยลงสีวานิชคันชักของเขา แต่จะขัดด้วยหินภูเขาไฟกับน้ำมันเท่านั้น
Tourte ประสบความสำเร็จในการดัดด้ามคันชัก (ซึ่งเป็นเทคนิคยังคงใช้กันอยู่ในปัจจุบัน) โดยการให้ความร้อนกับด้ามไม้อย่างทั่วถึงแล้วจึงลงมือดัด หลังจากนั้นจึงตัดไม้ทันทีเมื่อได้ความโค้งที่ต้องการ ช่างที่อาศัยแบบของ Tourte เช่น Dominique Peccatte, Nicolas Eury, Nicolas Maire, Francois Lupot, Joseph Henry และ Persois แม้ว่าช่างเหล่านี้จะดำเนินรอยตามเขา แต่ก็มักจะทำคันชักให้สั้นกว่าประมาณ 1ซ.ม. โดยเฉพาะ Peccatte และ Voirin
| โดย: - [16 พ.ค. 49 8:20] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 คันชักฝีมือของ Louis Tourte Père 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 8:26] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 Francois Tourte คันชักที่ทำขึ้นในราวๆ ปี 1795 น้ำหนัก 60 กรัม 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 8:28] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 เหรียญทองของฝรั่งเศส (Louis d'Or) ในสมัยโบราณ 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 8:34] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 25 Jaques Lafleur (1757-1832) Lafleur เป็นทั้งช่างทำไวโอลินและคันชัก เขาเริ่มฝึกงานที่เมือง Mirecourt และเป็นลูกศิษย์ของ Francois Tourte ต่อมาได้ย้ายไปยังปารีสในปี 1783 คันชักของเขาคล้ายคลึงกับสไตล์ของ Adam ในยุคแรกๆ และได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพดีเยี่ยม คันชักของเขามีจุดเด่นในเรื่องความยืดหยุ่นและความเบา บางครั้ง Maire และ Pajeot ก็ใช้ชื่อของเขาในผลงานของตนเอง Joseph Rene Lafleur บุตรชายและลูกศิษย์ของเขาเป็นผู้รับช่วงงานต่อ ซึ่ง Joseph เริ่มต้นจากการเป็นนักไวโอลินมาก่อน ผลงานของ Lafleur สามารถหาชมได้ที่พิพิธภัณฑ์ Museum of the Paris Conservatoire นอกจากนั้นเขายังทำคันชักแบบกลมด้วย
Nicolas Eury (เกิดที่ปารีสในราวๆ ปี 1785 เสียชีวิตในราวๆ ปี 1835) เขาเป็นช่างทำไวโอลินในสายของ Mirecourt คันชักของเขาหายากมาก และมีช่างหลายๆ คนที่ประทับตราผลงานตัวเองเป็นชื่อของเขา ข้อมูลส่วนตัวของ Eury มีน้อยมาก
Pajeot (1791-1849) บิดาของเขาคือ Louis Simon (เกิดในราวๆ ปี 1750 - 1792) ซึ่งเป็นช่างทำคันชักเช่นเดียวกัน Pajeot เคยเป็นลูกศิษย์ของ Maire แต่หลังจากนั้นได้ร่วมหุ้นกันทำธุรกิจ เขาสร้างคันชักที่ดีเยี่ยมแต่ปัจจุบันมีหลงเหลืออยู่น้อยมาก | โดย: - [16 พ.ค. 49 8:59] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 26 Jaques Lafleur คันชักที่ทำขึ้นในปี 1820 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:00] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 27 คันชักฝีมือของ Pajeot 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:01] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 28 Persois (สันนิษฐานว่าเกิดในราวๆ ทศวรรษที่ 1790) เขาทำงานกับ Vuillaume ยาวนานถึง 15 ปี คันชักของเขาจะประทับชื่อและคล้ายคลึงกับงานของ Tourte
Guillaume Maline (1793 เสียชีวิตในราวๆ ปี 1855) เขาทำงานกับ Vuillaume และช่างคนอื่นๆ แต่ทำด้ามคันชักที่ไม่ติดตราด้วย ปลายคันชักของเขาทำตามแบบของ Peccatte แต่ส่วนของ Frog ทำตามแบบของ Vuillaume | โดย: - [16 พ.ค. 49 9:01] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 29 Guillaume Maline คันชักที่ทำขึ้นในราวๆ ปี 1845 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:02] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 30 Jean Dominique Adam (1795-1864) เขาเป็นทั้งลูกศิษย์และผู้ที่รับช่วงงานต่อจาก Jean Adam บิดาของเขาเอง คันชักที่ดีที่สุดของเขาเท่านั้นที่จะประทับชื่อ คันชัก 8 เหลี่ยมของเขาเป็นที่ต้องการอย่างมาก
J.B. Vuillaume (1798-1875) เขาฝึกฝนการเป็นช่างทำไวโอลินที่เมือง Mirecourt ต่อมาได้กลายเป็นหนึ่งในช่างทำไวโอลินที่มีชื่อเสียงที่สุดของฝรั่งเศสในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เขาเริ่มเปิดร้านทำไวโอลินของตนเองในปี 1828
Vuillaume เป็นนักธุรกิจที่เก่งกาจและยังเป็นนักทดลองอีกด้วย เช่น การคิดค้นคันชักโลหะเเบบกลวง และคันชักที่เปลี่ยนหางม้าได้เอง เเม้ว่าสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้จะไม่เป็นที่ยอมรับในทุกวันนี้ก็ตาม เขาศึกษาคันชักของ Francoise Xavier Tourte อย่างจริงจัง และแม้ว่าตัวเขาเองจะไม่ใช่ช่างทำคันชักก็ตาม แต่จะคอยควบคุมและให้คำเเนะนำช่างในเวิร์คช้อปของเขา ช่างที่ผ่านการทำงานจากร้านของเขา เช่น Dominique, Francois กับCharles Peccatte, Joseph Fonclause, Pierre Simon, Persois, Guillaume Maline และ F.N. Voirin. | โดย: - [16 พ.ค. 49 9:02] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 31 คันชักไวโอลินฝีมือของ J.B. Vuillaume ทำขึ้นที่ปารีสในราวๆ ปี 1840 ประดับด้วยโละหะเเละเงิน น้ำหนัก 58.5 กรัม ด้ามคันชักทรงกลม Frog ทำจากไม้ Ebony ประดับด้วยเปลือกมุก สกรูประดับด้วยเเถบเงิน 2 เเถบ
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:03] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 32 Joseph Fonclauze (1800-1864) หนึ่งในช่างทำคันชักชาวฝรั่งเศสที่ดีที่สุด เขาเริ่มฝึกงานกับDominique Peccatte ที่ Mirecourt ต่อมาในปี 1820 ได้เดินทางไปยังปารีสเพื่อทำงานกับ Lupot, Tourte และ Vuillaume แต่ในปี 1840 เป็นต้นมาเขาได้ออกมาทำร้านเป็นกิจการของตนเอง คันชักส่วนใหญ่ของเขาจะประทับชื่อเอาไว้ รวมถึงชื่อ Henry Fonclauze (ราวๆ ปี 1812 )
Nicolas Maire (1800-1878) เขาเป็นช่างทำไวโอลินและคันชักในสายของช่างแห่งเมือง Mirecourt เริ่มฝึกงานในเวิร์คช้อปของ Lafleur ที่ปารีส ซึ่งเขาอาจจะเคยทำงานกับ Pajeot ด้วยเช่นกัน ในปี 1833 เขาได้รับช่วงกิจการของ Jacques Lafleur ต่อ งานของเขามีหลากหลายไสตล์แต่ยังคงเปี่ยมด้วยฝีมือที่ดี | โดย: - [16 พ.ค. 49 9:04] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 33 Nicolas Maire คันชักไวโอลินที่ทำขึ้นในปี 1840 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:05] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 34 Clement Eulry (ราวๆ ปี 1760 - ราวๆ ปี 1835) ช่างทำคันชักชาวฝรั่งเศสและเป็นอาจารย์ (หรือลูกศิษย์ของ) Nicolas Maire หรือ Pajeot Fils เขาเป็นช่างคนแรกที่ใช้ปลอกโลหะ (Ferrule) สวมลงบน Frog คันชักของเขาคล้ายคลึงกับ Maire แม้ว่าฝีมือจะหยาบกว่าก็ตาม
Francois Lupot (1774-1837) เขาเป็นผหนึ่งในบุตรชายของ Francois I และเป็นน้องชายของ Nicolas เขาอ้างตัวว่าเป็นลูกศิษย์ของ Stradivarius ซึ่งเป็นคำถามที่ยังถกเถียงกันอยู่ เขาเป็นค้นประดิษฐ์แผ่นโลหะ 'Under slide' (ติดอยู่ด้านบนของ Frog โลหะตัวนี้ช่วยลดการเสียดสีและการสึกที่เกิดจากการเสียดสีเวลาที่ขึ้นหรือผ่อนหางม้า) คันชักของเขาได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในผลงานที่ดีที่สุดของฝรั่งเศส | โดย: - [16 พ.ค. 49 9:10] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 35 Francois Lupot คันชักที่ทำขึ้นในปี 1820 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:11] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 36 Paul Simon (1808-1882) เขาเริ่มศึกษาการทำคันชักที่เมือง Mirecourt และกลายเป็นหนึ่งในช่างคนสำคัญที่สุดแห่งยุค เขาทำงานร่วมกับ Peccatte, Vuillaume และ Gand Freres ที่ปารีส ในปี 1847 เขาซื้อกิจการต่อจาก Peccatte คันชักของเขามี 2 แบบหลักๆ คือ แบบแรกเป็นสไตล์ของเขาเองและอีกแบบเป็นแบบของ Peccatte
Dom inique Peccatte (1810-1874) เขาเริ่มฝึกฝนการเป็นช่างทำไวโอลินที่เมือง Mirecourt หลังจากนั้นไม่นานเขาได้ทำงานในเวิร์คช้อปของ J.B.Vuillaume ในช่วงปี 1826-1837 ที่นี่เองที่เขาได้ศึกษากับ Persois และยังพบกับ Tourte ด้วย งานของเขาในช่วงแรกๆ บางครั้งจะประทับชื่อของ Vuillaume เช่นเดียวกับงานของ Voirin ในปี 1837เขาได้ซื้อกิจการของ Lupot
หลังจากนั้นในปี 1847 เขาได้เดินทางกลับไปยังเมือง Mirecourt เขาไม่ค่อยจะประทับชื่อลงบนผลงานของตนเองเท่าไหร่นัก ทำให้การระบุว่าเป็นคันชักฝีมือของเขาทำได้ยาก คันชักของเขาได้รับการยอมรับว่าจะเป็นรองก็เเต่เพียงงานของ Tourte เท่านั้น น้องชายของเขา Francois (1820 - 1855) เป็นช่างทำคันชักฝีมือดีเช่นกันโดยทำงานอยู่ที่เมือง Mirecourt | โดย: - [16 พ.ค. 49 9:13] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 38 คันชักไวโอลินฝีมือของ Dominique Peccatte 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:14] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 39 Francois Nicolas Voirin (1833-1885) เขาอาศัยอยู่ในปารีส และเป็นพี่ชายของ Joseph Voirin ฉายาของเขาคือ "Modern Tourte" เขาเริ่มฝึกฝนการทำคันชักที่เมือง Mirecourt หลังจากนั้นได้ทำงานครั้งแรกในเวิร์คช้อปของ Vuillaume ในช่วงปี 1855-70 คันชักของเขาในช่วงแรกๆ จะประทับชื่อของ Vuillaume เขาสร้างคันชักโดยอาศัยหลักการที่ค่อนข้างแตกต่างจากงานของ Tourte ปลายคันชักที่เพรียวบางกว่า ส่วนโค้งของด้ามที่ค่อนไปทางปลายคันชักมากขึ้น ทำให้ด้ามคันชักมีความแข็งแรงมากขึ้นและลดความหนาของด้ามคันชักลงโดยเฉพาะที่โคนคันชัก บ่อยครั้งที่คันชักของเขาอาจจะเบาเกินไป (ต่ำกว่า 52 กรัม) แต่มีความแข็งแรง Voirin มักจะได้รับข้อเสนอจากช่างทำคันชักชาวอังกฤษและร้านต่างๆ ให้ทำงานส่งให้ แต่เขามักจะปฏิเสธ โดยกล่าวว่างานของเขาเป็นของประเทศนี้(ฝรั่งเศส) เท่านั้น คันชักของเขาจะประทับชื่อ F.N.Voirin Voirin สอนการทำคันชักให้กับ Charles Peccatte (1850-1920) ซึ่งเป็นบุตรชายของ Francois Peccatte ช่างที่ดำเนินรอยตามสไตล์ของเขาคือ Alfred Lamy, Louis กับ Claude Thomassin และ Charles N Bazin ภายหลังจากที่เขาเสียชีวิตลง ภรรยาของเขาได้ดำเนินกิจการต่อไป และมักจะใช้ชื่อของเขาประทับลงบนผลงานลูกศิษย์ของเขา | โดย: - [16 พ.ค. 49 9:18] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 40 Francois Nicolas Voirin Paris คันชักที่ทำขึ้นในราวๆ ปี 1880 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:19] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 41 Alfred Joseph Lamy (1850-1919) เขาศึกษาการทำคันชักที่เมือง Mirecourt จาก Husson ในช่วงปี 1862-1868 และทำงานกับ Goutrot ที่เมือง Chateau-Thierry ก่อนที่จะมาทำงานกับ F.N.Voirin ที่ปารีสในช่วงปี 1877-1885 เขาเลียนแบบงานของ Voirin มาโดยตลอดแม้กระทั่งออกมาเปิดร้านของตนเองเเล้วก็ตาม ในปี 1889 เขาได้รับรางวัลเหรียญเงินและเหรียญทองจากงานแสดงสินค้าที่ปารีสในงาน Paris Exposition บุตรชายของเขา Alfred Lamy (1876 - 1944) เป็นผู้รับช่วงงานต่อจากเขา | โดย: - [16 พ.ค. 49 9:20] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 42 Alfred Joseph Lamy คันชักที่ทำขึ้นในราวๆ ปี 1900 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:23] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 43 รายละเอียดส่วนหัวคันชัก 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:24] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 44 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:24] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 45 Joseph Rene Lafleur (1812-1874) เขาเป็นบุตรชายของ Jacques Lafleur แต่เดิมเคยเป็นนักไวโอลินมาก่อน ผลงานของเขานั้นเหนือกว่าผู้เป็นบิดาเสียอีก เขาจะศึกษาจากคันชักของช่างคนอื่นๆ ที่มีอยู่ และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ Nicolas Maire
Joseph Henry (1823-1870) เขาศึกษาการทำคันชักจาก Peccatte ที่ปารีส และเปิดกิจการของตนเองปารีสเมื่อปี 1851 คันชักของเขาจะคล้ายคลึงกับงานของ Peccatte นอกจากนั้นยังเป็นที่ทราบกันดีว่าเขาเคยทำงานกับ Simon ในช่วงสั้นๆ
Joseph Arthur Vigneron (1851-1905) เขาศึกษาการทำคันชักกับ Husson ที่เมือง Mirecourt และทำงานกับ Gand & Freres ที่ปารีสก่อนที่จะออกมาเปิดกิจการของตนเอง คันชักของเขาค่อนข้างแข็งและทำตามแบบของตนเอง คันชักที่ดีที่สุดของเขาสามารถทัดเทียมกับคันชักที่ดีที่สุดในยุคนั้นได้เลยแม้ว่าว่าจะขาดความสวยงามตามสมัยนิยมไปบ้างก็ตาม ผู้ที่รับช่วงกิจการต่อจากเขาคือ Andre (1881-1924 ) บุตรชายของเขา ซึ่งเป็นช่างที่สร้างผลงานออกมาเป็นจำนวนมากโดยใช้แบบของผู้เป็นบิดา นอกจากนั้น Andre ยังได้ทำคันชักที่ไม่ได้ประทับตราให้กับช่างคนอื่นๆ ในปารีสอีกด้วย | โดย: - [16 พ.ค. 49 9:26] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 46 คันชักฝีมือของ Joseph Arthur Vigneron 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:27] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 47 André Vigneron Père คันชักที่ทำขึ้นในปี 1900 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:28] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 48 Louis Thomassin (1855 - ราวๆ ปี 1905) หลังจากที่ Thomassin ทำงานเขากับ Bazin ที่เมือง Mirecourt แล้ว เขาได้เดินทางไปยังปารีสในปี 1872 เพื่อทำงานกับ Voirin และ Lamy ตามลำดับ ในปี 1891 เขาได้เปิดเวิร์คช้อปของตนเองที่ปารีส บุตรชายและลูกศิษย์ของเขาคือ Claude (1870-1942) ทำคันชักชั้นดีอยู่ที่ปารีสเช่นกัน โดยทำตามแบบของ Voirin | โดย: - [16 พ.ค. 49 9:29] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 49 คันชักฝีมือของ Louis Thomassin 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:31] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 50 Eugene Sartory (1871-1946) ผู้ที่สอนการทำคันชักให้กับเขาก็คือบิดาของเขาเองที่เมือง Mirecourt ต่อมาเขาได้ทำงานที่ปารีสกับ Charles Peccatte และ Alfred Lamy ก่อนที่จะเปิดกิจการของตนเองในปี 1893 เขาได้พัฒนาแบบของ Voirin ให้แข็งแรงขึ้น สร้างคันชักที่แข็งแรงและมีด้ามที่มั่นคงขึ้น Emile Ouchard ก็ใช้แบบแบบของ Voirin ที่พัฒนาแล้วเช่นกัน คันชักของ Eugene จะประทับชื่อ "Sartory" | โดย: - [16 พ.ค. 49 9:31] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 51 คันชักฝีมือของ Eugene Sartory 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:32] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 52 Victor Fetique (1872-1933) Fetique มาจากครอบครัวช่างทำคันชัก เขาเริ่มฝึกฝนการทำคันชักที่เมือง Mirecourt โดยทำงานกับ C.N. Bazin ก่อนที่จะไปทำงานกับ Caressa & Francais ที่ปารีสในปี 1901 ต่อมาในปี 1913 เขาออกมาทำงานเป็นของตนเอง คันชักของเขาทำตามแบบผลงานของ Voirin | โดย: - [16 พ.ค. 49 9:33] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 53 Victor Fetique คันชักที่ทำขึ้นในราวๆ ปี 1920 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:34] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 54 รายละเอียดของปลายคันชัก 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:35] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 55 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:35] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 56 Emile Francois Ouchard (1872-1951) เขาศึกษาการทำคันชักกับ Eugene Cuniot-Hury ที่เมือง Mirecourt และสืบทอดกิจการของผู้เป็นอาจารย์ต่อมา
Jules Fetique (1875-1951) เขาเป็นน้องชายของ Victor และทำงานกับ Bazin เช่นกัน ก่อนที่จะมาเป็นผู้ช่วยของ Eugene Sartory และเข้าร่วมงานกับ Caessa & Francais เมื่อปี 1917 ผลงานที่ดีที่สุดของเขาคล้ายคลึงและมีคุณภาพทัดเทียมกับคันชักของ Sartory
Emile Auguste Ouchard (1900-1969) บุตรชายของ Emile Francois Ouchard เขาทำงานที่ปารีส, ชิคาโก และนิวยอร์ค ก่อนที่จะเดินทางกลับฝรั่งเศสในช่วงกลางทศวรรษที่ 1950 คันชักของเขาคล้ายคลึงกับสำนักของ Voirin-Lamy ลูกศิษย์ของเขาก็คือ Bernard (เกิดเมื่อปี 1925) บุตรชายของเขานั่นเอง ซึ่งเคยทำงานกับ Vidoudez ที่เจนีวาก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ด้านการทำคันชักที่โรงเรียน Mirecourt School ในปี 1971 | โดย: - [16 พ.ค. 49 9:36] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 57 คันชักฝีมือของ Emile Auguste Ouchard 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:37] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 58 Jean-Jaques Millant (1928-) เขาเป็นบุตรของช่างทำไวโอลิน Roger Millant ฝึกฝนการทำคันชักที่เมือง Mirecourt คันชักของเขาเป็นสไตล์สำนักของ Peccatte ญาติของเขา Bernard (1929-) ทำคันชักที่สไตล์คล้ายคลึงกัน
Andre Richaume (1905-1966) เขาฝึกฝนการทำคันชักจาก Emile Francois Ouchard ที่เมือง Mirecourt ก่อนที่จะมาทำงานที่ปารีสกับ Victor Fetique ลุงของเขา
Richaume เริ่มเปิดกิจการของตนเองในปี 1923 ถึง 1957 ในชื่อ "Meilleur Ouvrier de France" โดยทำคันชักคุณภาพดีส่งให้กับช่างทำคันชาวปารีสชักคนอื่นๆ ภายใต้ชื่อของเขาเอง | โดย: - [16 พ.ค. 49 9:39] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 59 คันชักดับเบิ้ลเบสฝีมือของ Andre Richaume 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:40] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 60 John Dodd (London 1752 - Surrey 1839) เขาเป็นบุตรชายของ Edward Dodd (Sheffield 1705- London 1810) ซึ่งเป็นช่างทำคันชักเช่นเดียวกัน โดยปกติแล้วคันชักของเขาจะไม่ค่อยประทับชื่อลงไป John Dodd ได้กลายเป็นช่างทำคันชักที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอังกฤษจนกระทั่งถึงยุคของ Tubbs แต่เดิมนั้นเขาเป็นช่างติดตั้งไกปืนและช่างทำตราชั่งมาก่อนที่จะหันมาเป็นช่างทำคันชัก
คันชักของเขาในยุคหลังๆ มีคุณภาพดีเยี่ยมแม้ว่าจะถูกมองว่ามีขนาดสั้นกว่าเล็กน้อย John Dodd อยู่ในสมัยเดียวกันกับ F.X.Tourte แต่ทำงานในลอนดอน เขาทำคันชักคุณภาพดีเยี่ยม แต่ขนาดความยาวและคุณภาพของคันชักชองเขาไม่เคยมีบรรทัดฐานแน่นอน เช่น คันชักบางอันมีขนาดสั้นกว่าปกติเล็กน้อย แม้ว่า Dodd จะขัดสนเงินทองอยู่เป็นประจำ แต่เขาเป็นคนที่ค่อนข้างหวงวิชา และเคยปฏิเสธข้อเสนอเงินจำนวน 1,000 ปอนด์สำหรับการขอเลียนแบบผลงานของเขา เขายังปฏิเสธที่จะสอนลูกศิษย์ด้วยเหตุผลเดียวกัน Dodd ทำปลายคันชักอยู่ 2 แบบคือ "Swan" ที่เพรียวบาง และแบบ " Hammer " ที่ค่อนข้างหนาซึ่งเป็นแบบที่ค่อนข้างที่นิยมทำในอิตาลีและฝรั่งเศส
Dodd เป็นคนที่พิถีพิถันในการเลือกไม้ Pernambuco ชั้นดีและส่วนใหญ่จะส่งมาถึงอังกฤษในถังใหญ่ๆ นั่นอธิบายถึงรอยตะปูจำนวนมากที่บางครั้งจะปรากฎอยู่ตลอดแนวด้ามคันชักของเขา ตามบันทึกของ Baillot นั้นดูเหมือนว่า Viotti อาจจะใช้คันชักของ Dodd ที่สั้นกว่าแบบของ Tourte ประมาณ 2½ ซ.ม. คันชักส่วนใหญ่ของ Dodd จะมีข้อผิดพลาดอันนี้ซึ่งก็คือขนาดความยาวที่ต่างจากมาตรฐาน เขาออกแบบคันชักที่คล้ายคลึงกับ Tourte แม้ว่าจะใช้วิธีที่เป็นอิสระตามแบบของตนเอง
W.E.Hill & Sons Hill สร้างสรรค์คันชักตามแบบของตนเอง มีลักษณะความเป็นอังกฤษของทั้ง Dodd และ Tubbs ช่างทำคันชักชาวอังกฤษหลายๆ คนล้วนผ่านการทำงานจากเวิร์คช้อปของ Hill | โดย: - [16 พ.ค. 49 9:42] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 61 คันชักของ W.E. Hill & Sons ที่ทำขึ้นในราวๆ ปี 1910 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:44] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 62 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:44] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 63 Thomas Tubbs (ราวๆ ปี 1770 - ราวๆ ปี 1830 ) ช่างทำคันชักสมัยใหม่ คุณภาพคันชักของเขามีหลากหลายและค่อนข้างหายาก William (ราวๆ ปี1805 - 1878?) บุตรชายของเขาเป็นช่างทำคันชักเช่นเดียวกัน
James Tubbs (1835-1919) บุตรชายของ William ในช่วงแรกๆ เขาทำงานในลอนดอนกับร้าน W.E Hill & Sons ซึ่งเป็นตระกูลช่างทำคันชักที่มีชื่อเสียงที่สุด เขาเป็นคนแปลกๆ และชอบทำคันชักที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไว้หลายอัน ให้การตอบสนองที่แปลกและความสมดุลที่ต้องอาศัยเวลาในการทำความคุ้นเคยกับมัน เขากับลูกชายคือ Alfred (เสียชีวิตในปี 1912 ) ได้ร่วมกันผลิตคันชักออกมามากกว่า 5,000 คัน ส่วนสมาชิกคนอื่นในครอบครัวคือ Edward ทำงานอยู่ในนิวยอร์คในช่วงเปลี่ยนศตวรรษ | โดย: - [16 พ.ค. 49 9:45] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 64 คันชักไวโอลินของ James Tubbs ที่ทำขึ้นในราวๆ ปี 1877 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:46] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 65 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:46] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 66 Malcom Morris Taylor (1933- ) เขาเริ่มฝึกงานกับร้าน Hills & Sons และทำงานอยู่จนกระทั่งถึงปี 1973 ต่อมาได้เปิดร้านของตนเองขึ้นที่ Barnstaple, Devon ลูกศิษย์ของเขาเช่น John Clutterbuck, Stephan Bristow และ Brian Alvey ซึ่งทั้งหมดเป็นลูกศิษย์ของเขาที่ร้านของ Hill
Michael JohnTaylor (1949- ) เขาฝึกฝนการทำคันชักที่ร้าน Ealing Strings ในลอนดอน คันชักที่ดีๆ ของเขาเป็นการผสมผสานระหว่างแบบของ Tourte กับความหนักแน่นและแข็งแกร่งตามแบบของอังกฤษ
Ludwig Christian August Bausch (1805-1871) เขาศึกษาการทำคันชักที่เมือง Dresden และได้เปิดเวิร์คช้อปของตนเองขึ้นที่เมือง Leipzig เขาผสมผสานส่วนที่ดีที่สุดของสไตล์ฝรั่งเศสเเละเยอรมันเข้าด้วยกัน และประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงจนถูกขนานนามว่า "German Tourte" บุตรชายของเขาทั้ง 2 คน คือ Otto และ Ludwig ทำคันชักจนถึงปี 1908
Nicholas Kittel ช่างทำคันชักชาวเยอรมันซึ่งไปทำงานอยู่ที่กรุง St. Petersburg ตั้งแต่ปี 1839 ถึง 1870 ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักในฉายา "Russian Tourte"
(Franz ) Albert II Nurnberger(1854-1931) เขาทำงานกับพ่อของเขาคือ Franz Albert I ซึ่งเป็นลูกของ Karl Gottlieb ที่เมือง Markneukirchen พ่อของเขาเป็นผู้วางรากฐานศิลปะการทำคันชักของเมืองนี้ Albert II ได้เปิดกิจการของตนเองในราวๆ ปี 1880 โดยใช้แบบของ Vuillaume, Tubbs และ Touerte เป็นต้นแบบ ยี่ห้อคันชักของเขาถูกใช้โดย Karl Albert ( 1906- ) ลูกชายของเขาเช่นกัน คันชักของตระกูลนี้ที่ทำในยุคแรกๆ จะเหนือกว่าผลงานที่ทำขึ้นในยุคหลังๆ ช่างทำคันชักคนอื่นๆ ในตระกูลเช่น Johann Christoph เคยทำงานกับ Vuillaume นานถึง 5 ปี ส่วน Philipp Paul บุตรชายของ Albert II ได้เปิดเวิร์คช้อปของตนเองในปี 1897
Hermann Richard Pfretzschner (เกิดเมื่อปี 1857- ) Hermann เป็นหนึ่งในชักทำคันชักที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในเยอรมัน เขาเริ่มเรียนการทำคันชักจาก Richard Pfretzschner บิดาของเขา และ Pfretzschne ถือเป็นลูกศิษย์คนสุดท้ายของ J.B. Vuillaume ในช่วงปี 1870-1872
เขาเปิดเวิร์คช้อปของตนเองในปี 1880 ที่เมือง Markneukirchen ในเยอรมัน กษัตริย์แห่ง Saxony ได้พระราชทานรางวัลให้กับ Pfretzschner ในคราวที่เขาเข้าเฝ้าในปี 1901 เวิร์คช้อปของเขายังได้ทำคันชักถวายให้กับราชสำนักเเห่งเดรสเดน (Royal Court of Dresden) อีกด้วย รวมถึงวงออร์เคสตร้าและสถาบันการดนตรีของเมืองนั้น เขาได้สร้างคันชักแบบ "Wilhelmj" ด้ามคันชักของเขาจะไม่เคลือบวานิช ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของคันชักเยอรมัน | โดย: - [16 พ.ค. 49 9:51] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 67 คันชักทรง 8 เหลี่ยมฝีมือของ Pfretzschner ที่สร้างขึ้นตามแบบของ Tourte ด้ามคันชักทำจากไม้ Pernambuco ลงสีส้มอมน้ำตาล คันชักมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นดีมาก เป็นคุณสมบัติ 2 ประการซึ่งเป็นที่ปรารถนามากที่สุดของคันชักทุกคัน แต่มักจะไม่พบด้วยกันบ่อยนัก ประดับด้วยไม้อีโบนี่และโลหะนิกเกิ้ล น้ำหนัก 62.2 กรัม
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:53] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 68 Siegfried Finkel (เกิดเมื่อปี 1927- ) เขามาจากครอบครัวช่างทำคันชักชาวสวิส และมาเรียนรู้การทำคันชักกับ Ewald Weidhaas ที่เมือง Markneukirchen เขาศึกษาการทำคันชักจาก Paul Weidhaas บุตรชายของ Ewald และยังได้เป็นลูกเขยของ Paul อีกด้วย เขาทำกิจการของตนเองที่เมือง Brienz ในปี 1952 คันชักของเขามีรูปลักษณ์แบบเยอรมันที่สร้างขึ้นตามแบบของ Peccatte เขายังสอนลูกชายให้ทำคันชักรวมถึงลูกศิษย์คือ Johannes (เกิดเมื่อปี 1947- ) | โดย: - [16 พ.ค. 49 9:54] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 70 คันชักเชลโลฝีมือของ Siegfried Finkel 
| โดย: - [16 พ.ค. 49 9:58] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
|