วิธีการทำคันชัก
    วิธีการทำคันชัก

โครงสร้างของคันชัก
นักไวโอลินต้องมีความรู้อยู่บ้างเรื่องโครงสร้างของแท่งไม้ที่ลึกลับอันนี้อยู่บ้าง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างแท้จริง โครงสร้างภายนอกของมันมีความเบาเป็นพิเศษและมีรูปทรงที่สวยงาม แต่ถึงกระนั้นก็ดีมันกลับเป็นสิ่งที่ใช้งานได้ยากที่สุด โครงสร้างส่วนใหญ่ของคันชักไวโอลินที่สมบูรณ์แบบดังเช่นที่เห็นในปัจจุบันมาจากอัจฉริยภาพของช่างทำคันชักชาวฝรั่งเศสในตระกูล Tourte โดยเฉพาะ Francois Tourte ซึ่งเขาเสียชีวิตลงในปี 1835

Vuillaume ได้กล่าวถึงคันชักของ Tourte ไว้ว่า Tourte เป็นผู้กำหนดความยาวของคันชักไวโอลินจากปลายข้างหนึ่งถึงอีกข้างหนึ่งอยู่ที่ 29.13 ถึง 26.52 นิ้ว ด้ามคันชักจะขึ้นเป็นรูปทรงกระบอก หรือหลายๆ เหลี่ยมที่มีขนาดที่แน่นอนของมันและมีความยาวที่ 110 มิลิเมตร (4 3/10”) ถ้าทำคันชักเป็นรูปทรงกระบอกจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 1 ส่วน 3 ของ 1 นิ้ว

ทั้งคันชักแบบทรงกระบอกหรือแบบเหลี่ยมก็ตาม เส้นผ่าศูนย์กลางของคันชักจะค่อยๆ ลดลงจนถึงปลายคันชัก ด้ามคันชักจะมี 10 จุดที่เส้นผ่าศูนย์กลางจำเป็นต้องลดลงทีละ 3/10 ม.ม. (2/27”) โดยเริ่มจากส่วนที่เป็นทรงกระบอก จากการทดสอบคันชักของช่างทำคันชักในตระกูล Tourte หลายๆ คัน พบว่าทั้ง 10 จุดนี้มักจะพบในจุดที่เล็กที่สุดของเส้นผ่าศูนย์กลางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง และไม่เพียงแต่ในคันชักอันเดียวกันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคันชักอื่นๆ ที่นำมาเปรียบเทียบด้วยเช่นกัน ซึ่งระยะห่างระหว่างจุดต่างๆ ล้วนเหมือนกันทั้งสิ้น

Vuillaume ได้ทำการค้นคว้าอย่างต่อเนื่องเพื่อค้นหาความจริงแม้ว่าในการพิสูจน์ความจริงอาจจะเป็นไปไม่ได้ในเรื่องการกำหนดตำแหน่งของจุดทั้ง 10 ออกมาเป็นแบบร่างได้ ซึ่งจะทำให้เขาสามารถกำหนดระยะของมันได้ในทุกๆ ครั้ง ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงมันก็เป็นไปได้ว่าโครงสร้างของคันชักที่ดีเยี่ยม แต่ Vuillaume ประสบความสำเร็จในสิ่งที่เขาต้องการด้วยวิธีการดังนี้
โดย: - [24 มิ.ย. 49] ( IP A:202.12.74.8 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 2
   ที่ปลายของเส้นตรง AB (รูป 36) ซึ่งมีความยาว 0 m, 700 (27 5/10”) หรืออาจจะเรียกว่าความยาวของคันชัก ให้ลากเส้นตั้งฉาก AC จะได้ความยาวของเส้นที่เป็นสัดส่วนทรงกระบอกของด้ามคันชักคือ 0 m, 110 (4 3/10”) และที่ปลายจุด B ของเส้นเดียวกัน ให้ลากเส้นตั้งฉากอีกเส้นคือ BD ที่มีความยาว 0m, 022 (17/20”) และลากเส้นตรง CD เพื่อรวมปลายเส้นของตั้งฉากทั้ง 2 เส้นหรือลากเส้นระหว่างเส้นทั้งเส้น 2 คือ AB และ CD เพื่อประกอบขึ้นเป็นมุม

ใช้วงเวียนกางที่มุมทั้ง 2 ของเส้นตั้งฉาก AC ที่มีความยาว 0 m, 110 (4 3/10”) หรือ หลังจากนั้นให้ลากส่วนโค้งตัดที่เส้น AB จะได้ปลายข้างหนึ่งของเส้นตั้งฉาก EF ให้ลากเส้นตรงไปจนตัดเส้น CD ก็จะได้เส้นตั้งฉาก EF เส้นใหม่ ซึ่งจะสั้นกว่าเส้นตั้งฉาก AC ระหว่างเส้นตั้งฉากของเส้น AC และ CF จะได้สัดส่วนทรงกระบอกของด้ามคันชักไวโอลิน ซึ่งเส้นผ่าศูนย์กลางได้ถูกกำหนดขึ้นแล้วนั่นคือ 0m, 008 6/10 (1/3”)

ในตอนนี้เราได้ความยาวของเส้นตั้งฉาก EF ที่เกิดจากการลากส่วนโค้งตัดผ่านเส้น AB หลังจากนั้นให้เริ่มทำจากจุด F อีกครั้งหนึ่งจะได้จุด G และเมื่อลากเส้นตั้งฉากเส้นที่ 3 ก็จะได้เส้น GH ความยาวของมันถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้จุด G เป็นจุดตัดบนเส้น AB และเพื่อกำหนดจุดใหม่คือจุด I จะได้เส้นตั้งฉากเส้นที่ 4 คือ IJ ความยาวของมันได้มาจากการลากส่วนโค้งตัดเส้น AB ในแบบเดียวกัน และจะได้จุดสำหรับลากเส้นตั้งฉากเส้นที่ 5 คือ KL และด้วยวิธีการเดียวกันก็จะได้เส้นตั้งฉากเส้นที่ 6 คือ MN เมื่อทำด้วยวิธีการเดิมไปเรื่อยๆ จนกระทั่งได้เส้นตั้งฉากเส้นสุดท้าย

จุด G, I, K, M, O, Q, R, S, V, W และ Y ที่ได้มาจากการเริ่มต้นด้วยจุด E เป็นจุดที่เส้นผ่าศูนย์กลางของด้ามคันชักค่อยๆ ลดลงทีละ 3 ส่วน 10 ของมิลลิเมตร (ประมาณ 2/27”) จุดต่างๆ เหล่านี้ถูกกำหนดโดยการค่อยๆ ลดความยาวของเส้นตั้งฉากตามจุดที่กล่าวมา และระยะห่างๆ จากแต่ละจุดก็ค่อยๆ ลดลงตามลำดับเช่นกันจากจุด E ไปจนถึงจุด B

โดย: - [24 มิ.ย. 49] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ถ้าผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปตามหลักการทางคณิตศาสตร์ จะพบว่ารูปทรงของคันชักสามารถแทนค่าด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ Logarithmic (เลขกำลังที่ใช้ในการคำนวณเพื่อช่วยให้การคูณกลายเป็นบวก การหารกลายเป็นลบ) ซึ่งเส้นตั้งฉากจะเพิ่มขึ้นตามหลักคณิตศาสตร์ ในขณะที่เส้นนอนจะเพิ่มขึ้นตามหลักของเรขาคณิต ทำให้สรุปได้ว่าความโค้งของรูปทรงคันชักอาจจะแทนค่าได้ด้วยสมการดังต่อไปนี้

โดย: - [24 มิ.ย. 49] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   และเนื่องจากค่าของ X จะอยู่ระหว่าง 175 ถึง 765 ส่วนของ 1 มิลลิเมตร ค่าที่ได้จะสอดคล้องกับเส้นแบบร่างที่ได้ เมื่อเราได้ทฤษฎีโครงสร้างของคันชักไวโอลินที่แน่นอนแล้ว ด้วยวิธีการขึ้นแบบร่างที่คล้ายคลึงกันทำให้ง่ายที่จะกำหนดสัดส่วนของคันชักวิโอล่าและคันชักของเชลโลได้เช่นกัน

สิ่งสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่ใช้อธิบายถึงคันชักที่ประกอบเข้ากับ Nut (หรือ Frog ) และเราได้ให้คำอธิบายการประดิษฐ์ตามคำพูดของ Vuillaume ไว้ดังนี้

“คันชักของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายนับแต่โครงสร้างของมันได้ถูกกำหนดขึ้นมานั้น ได้แสดงให้เห็นถึงข้อเสียที่สำคัญ 2 ประการซึ่งมาจากความคิดเห็นของนักดนตรีทั้งหลาย ประการแรกก็คือความยากในการเรียงหางม้าให้เรียบเสมอกันราวกับริบบิ้นที่ราบเรียบไปตลอดความยาวของหางม้า ในความเป็นจริงแล้วแทบจะหาคันชักที่เรียงหางม้าได้เรียบร้อยได้ยากมากทีเดียว ข้อเสียประการที่สองก็คือ Nut ซึ่งปลายหางม้าด้านหนึ่งยึดติดอยู่นั้นต้องเลื่อนไปมาอยู่เสมอ ทำให้ความยาวของหางม้าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และทำให้นิ้วโป้งของนักดนตรีที่ควรจะอยู่ใกล้กับ Nut ต้องวางอยู่ในระยะห่างที่แตกต่างกันจากปลายของตัวคันชักเอง ทำให้ความยาวเปลี่ยนไปและมีผลทำให้น้ำหนักในส่วนนี้ของด้ามคันชักมีผลเพียงพอที่จะรบกวนความรู้สึกของการสัมผัสที่ดีที่ถ่ายทอดจากมือของนักดนตรีไปยังปลายคันชัก

วิธีการแก้ไขข้อเสียทั้ง 2 ประการนั้นเป็นสิ่งจำเป็นมาก ประการแรกก็คือการหาวิธีที่ดีที่สุดในการขึ้นหางม้า ส่วนอีกประการก็คือการทำให้ Nut ไม่พลิกไปมา ผมเชื่อว่าผมประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาทั้ง 2 ประการนี้ โดยปกติแล้ว Nut จะทำจากไม้อีโบนี่ ข้างในกลวงและมักจะยึดติดอยู่กับตัวด้ามคันชักได้ดี หางม้าจะยึดติดอยู่กับกลไกข้างใน Nut ซึ่งทำมาจากทองแดงซึ่งออกแบบมาให้ถอดออกได้ แต่ในกรณีของไวโอลินทั่วๆ ไปจะใช้ Nut แบบสกรูยึดติดข้างในด้ามคันชัก

จะเห็นได้ว่าข้างใน Nut ในนั้นสามารถเลื่อนไปข้างหน้าหรือหลังได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น โดยที่หางห้าที่อยู่ระหว่างปลายคันชักและที่ด้านนอกของ Nut ไม่ไปมีผลต่อการทำงานของมัน แถบของหางม้าที่ใช้ทำคนชักไวโอลินประกอบด้วยหางม้าหลายเส้นที่ค่อยๆ เรียงขนานไปกับเส้นอื่นๆ ทั้ง 2 ด้าน ประกอบขึ้นเป็นแถบอย่างเป็นระเบียบและยึดอย่างแน่นหนากับปลายทั้ง 2 ด้านของคันชักด้วยลิ่มรูปทรงกระบอก โครงสร้างข้างใน Nut และปลายคันชักจะถูกคว้านออกเพื่อใส่ลิ่มตัวเล็กๆ วิธีนี้ทำให้ตัวนักดนตรีเองสามารถลงมือเปลี่ยนแถบหางม้าคันชักของตนเองได้อย่างง่ายดายมาก ดังนั้นพวกเขาจึงเปลี่ยนหางม้าได้ทุกเมื่อที่ต้องการ”
โดย: - [24 มิ.ย. 49] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
    John Dodd
นอกจาก Francois Tourte แล้ว John Dodd ช่างทำคันชักชาวอังกฤษผู้ได้รับฉายาว่าเป็น “Tourte แห่งอังกฤษ” ( The English Tourte ) ก็เป็นผู้ที่เราไม่อาจมองข้ามไป เขาเป็นช่างทำคันชักร่วมสมัยเดียวกันกับ Tourte เพียงคนเดียวที่มีชื่อเสียงไปทั่วยุโรป คันชักของเขาทำขึ้นอย่างยอดเยี่ยมเป็นพิเศษ แต่น่าเสียดายว่าค่อนข้างสั้นกว่าปกติเล็กน้อย Antoine Vidal ได้กล่าวถึงคันชักที่สวยงามของ John Dodd เอาไว้ในหนังสือ La Lutherie et les Luthiers ดังนี้

“ผมเป็นหนี้บุญคุณ ดร. Selle แห่ง Richmond ซึ่งรู้จัก John Dodd มานานกว่า 40 ปี ดร. Selle ได้บอกเล่าประวัติบางส่วนของช่างทำคันชักผู้นี้ ซึ่งผมรู้สึกเป็นเกียรติมากที่ได้สนทนากับท่าน ดร. Selle ได้เล่าให้ฟังว่า “ผมได้รู้จักกับ John Dodd ที่เมือง Kew ตั้งแต่ผมอายุยังไม่ถึง 12 ขวบ ด้วยซ้ำ John Dodd ทำคันชักไวโอลินให้กับผม จุดเด่นของมันคือความยาวและรูปทรงที่สง่างาม Mr. Richard Platt ครูที่มีชื่อเสียงของเมือง Kew เป็นผู้อุปถัมภ์เขา ต่อมาสุภาพบุรุษท่านนี้และผมได้ให้การสนับสนุนเขามากขึ้น ไม่เพียงแค่ซื้อคันชักของเขาเท่านั้นแต่ยังคอยช่วยเหลือเขาเป็นครั้งคราวในยามที่เขาขัดสนปัจจัยในการดำรงชีวิต พวกเราไปเยี่ยมเขาที่บ้านใน Richmond ซึ่งเขาเสียชีวิตลงในบ้านหลังนี้เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 1839 ด้วยโรคหลอดลมอักเสบในขณะที่มีอายุได้ 87 ปี ศพของเขาถูกฝังไว้ที่เมือง Kew ไม่ใช่เมือง Richmond ตามที่ Foster กล่าวเอาไว้ในหนังสือของเขา

John Dodd เป็นคนรูปร่างเล็กและชอบเดินสาวเท้ามากกว่าเดินตามปกติธรรมดาทั่วไป เขาไม่ค่อยสนใจการแต่งกายเท่าใดนัก สวมเสื้อผ้าทึมๆ เก่าๆ หลุดลุ่ย กางเกงขายาวแค่เข่า ใส่หมวกปีกกว้าง เขามักจะมีพฤติกรรมซ้ำๆ อยู่กับนิสัยที่ไม่เป็นระเบียบของเขา เช่น การไปเที่ยวบาร์และผับวันละ 4 ครั้ง เครื่องดื่มที่เขาชอบคือยินผสมและเบียร์ที่เรียกว่า ‘Purl’

เขาไม่เคยมีความคิดที่จะรับลูกศิษย์เลยโดยให้เหตุผลอย่างหนักแน่นว่าไม่ต้องการถ่ายทอดความรู้ให้ใครได้รู้ถึงวิธีการทำคันชักของเขา และบอกได้เลยว่าเขาเคยปฏิเสธเงิน 1,000 ปอนด์ที่มีคนเสนอให้เพื่อขอทราบความลับในการทำคันชักของเขา ในขณะที่เขาใกล้จะเสียชีวิตนั้นบาทหลวงถามว่าเขาเป็นคาธอลิคหรือโปรเตสแตนท์ เขาตอบว่า “เป็นทั้งสองอย่างแต่อย่างละนิดหน่อย”

Louis Panormo บุตรชายของช่างทำไวโอลินนาม Louis Panormo ได้สืบทอดฝีมือและความความรู้การทำคันชักต่อจาก Dodd คันชักของ Dodd ได้รับการยกย่องเป็นอย่างมากจากบรรดานักไวโอลินและเป็นที่ต้องการซื้อขายในราคาที่สูงมาก
โดย: - [24 มิ.ย. 49] ( IP A:202.12.74.5 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
    คันชักเชลโลฝีมือของ John Dodd

โดย: - [24 มิ.ย. 49] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
    คันชักไวโอลินฝีมือของ Francois Xavier Tourte

โดย: - [24 มิ.ย. 49] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
    คันชัก
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายแต่ละชนิดที่ได้กล่าวถึงตั้งแต่ในบทแรกๆ นั้น มีคันชักที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างหลากหลายชนิด คันชักไวโอลินมีความยาว 73 เซนติเมตร (29 ½”) คันชักวิโอล่ามีความแตกต่างจากคันชักไวโอลินเพียงประการเดียวก็คือ ตัวด้ามคันชักค่อนข้างจะหนักกว่าเพราะคันชักวิโอล่าจำเป็นต้องทำให้สายเกิดการสั่นสะเทือนได้ดีเนื่องจากมีขนาดของสายที่ใหญ่กว่าสายไวโอลิน ส่วนคันชักของดับเบิ้ลเบสหรือเชลโลมีความยาว 67 เซนติเมตร (25”) คันชักดับเบิ้ลเบสมีความหลากหลายในเรื่องของรูปทรงและขนาดที่ไม่ตายตัว และไม่มีส่วนไหนเลยที่สามารถกำหนดเป็นมาตรฐานที่แน่นอนได้เลย ทำให้สร้างได้ง่ายกว่า ช่างไม้ทำเฟอร์นิเจอร์อาจจะทำคันชักดับเบิ้ลเบสขึ้นมาได้เลยเพียงแค่ได้เห็นมันในครั้งแรก แต่วิธีการนี้ใช้ไม่ได้กับคันชักของเครื่องดนตรีอื่นๆ เช่น การทำคันชักไวโอลินที่ต้องอาศัยฝีมือขั้นสูงและประสบการณ์ที่ชำนาญ ช่างฝีมือที่สามารถทำและคันชักไวโอลินดีๆ นั้นหาได้ยากมาก

คันชักไวโอลิน วิโอล่า เชลโลทำจากหางม้าสีขาว แต่หางม้าสีทำจะใช้ทำคันชักดับเบิ้ลเบส ซึ่งหางม้าสีดำจะมีความแข็งแรงกว่า ส่วนความเชื่อที่ว่าหางม้าสีแดงเป็นที่นิยมหางม้าสีขาวนั้น ช่างทำคันชักบางส่วนเชื่อกันว่าจะ ‘เกาะ’ สายได้ดีกว่า เป็นผลทำให้มีการนำเทคนิคการย้อมสีมาใช้ แต่มันเป็นเพียงแค่การหลอกลวงเท่านั้น และเมื่อนำไปลองเล่นจริงจะพบว่าทำให้เสียงหยาบขึ้นจนสังเกตได้ คันชักที่มีราคาแพงจะทำจากไม้ที่ใช้ทำเครื่องเรือน เช่น ไม้ Campeachy wood, Iron wood, Brazil wood, Pernambuco wood ฯลฯ ส่วน Nut (หรือ Frog) ทำจากไม้อีโบนี่ (Ebony) แต่บางครั้งก็ทำมาจากงาช้างหรือกระดองเต่า

ส่วนไม้ที่กล่าวกันว่าดีที่สุดในบรรดาไม้ทั้งหลายคือ Pernambuco wood นับจากนั้นเป็นต้นมาคันชักไวโอลินที่ดีๆ ที่พบในปัจจุบันนี้ล้วนทำจากไม้ชนิดนี้ทั้งสิ้น ความแข็งและความยืดหยุ่นในตัวมันทำให้มันกลายเป็นไม้ที่ได้รับความนิยมเหนือกว่าไม้ชนิดอื่นที่นำมาใช้ทำด้ามคันชัก ส่วนไม้ Iron wood ก็ใช่ว่าคุณภาพของมันจะไม่ดีเลย โดยเฉพาะการนำมาทำคันชักเชลโล นอกจากความจริงที่ว่ามันมีน้ำหนักที่ค่อนข้างมากแล้วมันยังมีแนวโน้มที่จะบิดงออีกด้วย คันชักที่ทำจากไม้ชนิดนี้จะหาที่ตรงจริงๆ ได้ยาก นอกจากนั้นมีการทำคันชักจากไม้ในท้องถิ่นซึ่งมีหลากหลายชนิดอีกด้วย แต่คันชักที่ดีที่สุดในกลุ่มนี้ก็ยังมีค่าไม่มากนัก
โดย: - [24 มิ.ย. 49] ( IP A:202.12.74.5 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
    เครื่องมือที่ใช้ในการทำคันชัก
ช่างทำคันชักไม่ต้องการเครื่องไม้เครื่องมือที่มากนักเหมือนช่างทำไวโอลิน เครื่องมือที่พวกเขาใช้มีดังต่อไปนี้ โต๊ะทำงานที่คล้ายกับของช่างทำไวโอลิน, เหล็กหนีบ (Clamp) กบไสไม้โลหะ 2 ตัว, สว่านเจาะ, สิ่ว, มีดม เลื่อย, ตะไบ, ตัวหนีบแบบยึดติดกับโต๊ะ, ตัวหนีบขนาดเล็ก

1. กบไสไม้โลหะ (Steel Plane) กบไสไม้โลหะจะคล้ายคลึงกับกบไสไม้ธรรมดาตามรูปที่ 1 ( Figure 1) ความแตกต่างเพียงอย่างเดียวก็คือก็คือขนาด กบของช่างทำคันชักจะมีขนาดเล็กกว่า ที่ฐานตัวกบมีความยาว 14 ซ.ม. กว้าง 3 ซ.ม. (5 ½” x 1 1/5”)
ในรูปที่ 1 ( Figure 1 ) เป็นกบไสไม้โลหะขนาดเล็ก A คือกบไสไม้ที่ประกอบเรียบร้อยแล้ว B คือรูปของส่วนฐาน ซึ่งกบชนิดนี้ทำขึ้นคล้ายกับกบโลหะที่ช่างทำไวโอลินใช้

2. สว่าน (Drill) ในรูปที่ 2 ( Figure 2 ) แสดงให้เห็นเครื่องมือชนิดนี้ ซึ่งดูเหมือนว่าจะแตกต่างจากที่ช่างทำนาฬิกาใช้กัน และบางทีในเวิร์คช้อปของช่างทำคันชักรุ่นใหม่อาจจะเปลี่ยนไปใช้แบบที่ทันสมัยกว่านี้ การทำงานในขั้นตอนนี้จำเป็นต้องใช้สว่านสำหรับเจาะคันชัก ดอกสว่านเจาะคันชักคือใบมีดหรือดาบที่ปรับแต่งความโค้งที่ปลายเสียใหม่ให้เป็นรูปตะขอเพื่อยึดติดกับสายที่ทำจากหนังสัตว์หรือสายเชลโลสาย D หมุนสว่านเพียง 2-3 รอบ เกี่ยวสายหนังหรือสายเชลโลเข้ากับโคนดอกสว่านเจาะ ในขณะที่ดอกสว่านจะดันเข้าและถอยกลับสลับกันแบบเกลียวหมุนนั่นคือระบบการทำงานของสว่าน

ตัวยึด B ทำหน้าที่ยึดฐานของของสว่านและป้องกันไม่ให้โยกไปมาในขณะที่เจาะ ภายในของปลายของชิ้นส่วน C ซึ่งเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ทำขึ้นเพื่อให้พอดีกับดอกสว่าน สี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ว่ามีความลึก 2 ซ.ม. (ประมาณ 4/5”) และดอกสว่านจะรับพอดีกับช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสโดยการใช้ตัวหนีบตัวเล็ก ( ชิ้นส่วน D )

ช่างทำคันชักควรจะหาดอกสว่านไว้ใช้หลายๆ ขนาด และดอกสว่านเหล่านี้ควรจะทำออกมาให้เจาะรูได้ตามขนาดที่พอดีกับรูที่ต้องการเจาะ สำหรับคันชักไวโอลินแล้วต้องการเจาะเพียงแค่ 2 รูเท่านั้น รูแรกคือการเจาะรูที่โคนด้ามคันชักเพื่อยึดสกรูที่ทำให้ Nut เลื่อนขึ้นลงได้ เช่นเดียวกับการเจาะรูเพื่อคว้านช่องสำหรับใส่สกรูซึ่งใช้ตัวหนีบยึดด้านหนึ่งของ Nut เพื่อให้สกรูฝังลงไปในช่องดังกล่าว นอกจากนั้นสว่านอันเดิมยังอาจจะใช้เจาะรูเพื่อรับแผ่นโลหะ (Plate) ที่รับสกรูด้านใน Nut ส่วนอีกรูหนึ่งจะใหญ่กว่าแต่สั้นกว่า นั่นคือการเจาะรูที่ปลายคันชักและที่ Nut เพื่อใช้ยึดปลายหางม้า

ดอกสว่าน ในรูปที่ 3 ( Figure 3 ) ปลายดอกสว่านทำจากโลหะที่หลอมในอุณหภูมิสูง ปลายดอกสว่านด้านทั้ง 2 ด้านควรจะเจียรให้ปลายคมและบางเฉียบ และด้านที่คมควรจะอยู่คนละด้านของดอกสว่าน ทำให้ดอกสว่านเจาะเนื้อไม้และหมุนแบบเกลียวในทิศทางกลับกันเจาะเข้าไปในเนื้อไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปลายดอกสว่านเท่านั้นที่ควรเป็นโลหะหลอม เพราะถ้าดอกสว่านทั้งดอกเป็นโลหะหลอมอาจจะเปราะและหักได้ง่ายขึ้น และนี่คือเครื่องมือทั้งหมดที่ใช้ในการเจาะรูคันชัก

โดยทั่วไปแล้วจะเป็นการดีมากที่เครื่องมือโลหะทั้งหมดและเครื่องมือเหล็กทั้งหมดจะทำโดยช่างทำเครื่องมือ หรือโดยช่างฝีมือที่ชำนาญงานด้านหลอมโลหะ เพราะช่างพวกนี้จะทำงานออกมาได้ดีกว่าช่างแขนงอื่นๆ ที่ไม่มีความชำนาญเพียงพอ ซึ่งช่างพวกนี้อาจจะทำงานได้ดีเพียง 1 ชิ้นในร้อยชิ้นเท่านั้น ช่างทำคันชักควรจะมีดอกสว่านพิเศษสำหรับคันชักแต่ละชนิดแตกต่างกันไป
โดย: - [24 มิ.ย. 49] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
    เครื่องมือที่ใช้ในการทำคันชัก
ช่างทำคันชักไม่ต้องการเครื่องไม้เครื่องมือที่มากนักเหมือนช่างทำไวโอลิน เครื่องมือที่พวกเขาใช้มีดังต่อไปนี้ โต๊ะทำงานที่คล้ายกับของช่างทำไวโอลิน, เหล็กหนีบ (Clamp) กบไสไม้โลหะ 2 ตัว, สว่านเจาะ, สิ่ว, มีดม เลื่อย, ตะไบ, ตัวหนีบแบบยึดติดกับโต๊ะ, ตัวหนีบขนาดเล็ก

1. กบไสไม้โลหะ (Steel Plane) กบไสไม้โลหะจะคล้ายคลึงกับกบไสไม้ธรรมดาตามรูปที่ 1 ( Figure 1) ความแตกต่างเพียงอย่างเดียวก็คือก็คือขนาด กบของช่างทำคันชักจะมีขนาดเล็กกว่า ที่ฐานตัวกบมีความยาว 14 ซ.ม. กว้าง 3 ซ.ม. (5 ½” x 1 1/5”)
ในรูปที่ 1 ( Figure 1 ) เป็นกบไสไม้โลหะขนาดเล็ก A คือกบไสไม้ที่ประกอบเรียบร้อยแล้ว B คือรูปของส่วนฐาน ซึ่งกบชนิดนี้ทำขึ้นคล้ายกับกบโลหะที่ช่างทำไวโอลินใช้

2. สว่าน (Drill) ในรูปที่ 2 ( Figure 2 ) แสดงให้เห็นเครื่องมือชนิดนี้ ซึ่งดูเหมือนว่าจะแตกต่างจากที่ช่างทำนาฬิกาใช้กัน และบางทีในเวิร์คช้อปของช่างทำคันชักรุ่นใหม่อาจจะเปลี่ยนไปใช้แบบที่ทันสมัยกว่านี้ การทำงานในขั้นตอนนี้จำเป็นต้องใช้สว่านสำหรับเจาะคันชัก ดอกสว่านเจาะคันชักคือใบมีดหรือดาบที่ปรับแต่งความโค้งที่ปลายเสียใหม่ให้เป็นรูปตะขอเพื่อยึดติดกับสายที่ทำจากหนังสัตว์หรือสายเชลโลสาย D หมุนสว่านเพียง 2-3 รอบ เกี่ยวสายหนังหรือสายเชลโลเข้ากับโคนดอกสว่านเจาะ ในขณะที่ดอกสว่านจะดันเข้าและถอยกลับสลับกันแบบเกลียวหมุนนั่นคือระบบการทำงานของสว่าน

ตัวยึด B ทำหน้าที่ยึดฐานของของสว่านและป้องกันไม่ให้โยกไปมาในขณะที่เจาะ ภายในของปลายของชิ้นส่วน C ซึ่งเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ทำขึ้นเพื่อให้พอดีกับดอกสว่าน สี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ว่ามีความลึก 2 ซ.ม. (ประมาณ 4/5”) และดอกสว่านจะรับพอดีกับช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสโดยการใช้ตัวหนีบตัวเล็ก ( ชิ้นส่วน D )

ช่างทำคันชักควรจะหาดอกสว่านไว้ใช้หลายๆ ขนาด และดอกสว่านเหล่านี้ควรจะทำออกมาให้เจาะรูได้ตามขนาดที่พอดีกับรูที่ต้องการเจาะ สำหรับคันชักไวโอลินแล้วต้องการเจาะเพียงแค่ 2 รูเท่านั้น รูแรกคือการเจาะรูที่โคนด้ามคันชักเพื่อยึดสกรูที่ทำให้ Nut เลื่อนขึ้นลงได้ เช่นเดียวกับการเจาะรูเพื่อคว้านช่องสำหรับใส่สกรูซึ่งใช้ตัวหนีบยึดด้านหนึ่งของ Nut เพื่อให้สกรูฝังลงไปในช่องดังกล่าว นอกจากนั้นสว่านอันเดิมยังอาจจะใช้เจาะรูเพื่อรับแผ่นโลหะ (Plate) ที่รับสกรูด้านใน Nut ส่วนอีกรูหนึ่งจะใหญ่กว่าแต่สั้นกว่า นั่นคือการเจาะรูที่ปลายคันชักและที่ Nut เพื่อใช้ยึดปลายหางม้า

ดอกสว่าน ในรูปที่ 3 ( Figure 3 ) ปลายดอกสว่านทำจากโลหะที่หลอมในอุณหภูมิสูง ปลายดอกสว่านด้านทั้ง 2 ด้านควรจะเจียรให้ปลายคมและบางเฉียบ และด้านที่คมควรจะอยู่คนละด้านของดอกสว่าน ทำให้ดอกสว่านเจาะเนื้อไม้และหมุนแบบเกลียวในทิศทางกลับกันเจาะเข้าไปในเนื้อไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปลายดอกสว่านเท่านั้นที่ควรเป็นโลหะหลอม เพราะถ้าดอกสว่านทั้งดอกเป็นโลหะหลอมอาจจะเปราะและหักได้ง่ายขึ้น และนี่คือเครื่องมือทั้งหมดที่ใช้ในการเจาะรูคันชัก

โดยทั่วไปแล้วจะเป็นการดีมากที่เครื่องมือโลหะทั้งหมดและเครื่องมือเหล็กทั้งหมดจะทำโดยช่างทำเครื่องมือ หรือโดยช่างฝีมือที่ชำนาญงานด้านหลอมโลหะ เพราะช่างพวกนี้จะทำงานออกมาได้ดีกว่าช่างแขนงอื่นๆ ที่ไม่มีความชำนาญเพียงพอ ซึ่งช่างพวกนี้อาจจะทำงานได้ดีเพียง 1 ชิ้นในร้อยชิ้นเท่านั้น ช่างทำคันชักควรจะมีดอกสว่านพิเศษสำหรับคันชักแต่ละชนิดแตกต่างกันไป
โดย: - [24 มิ.ย. 49] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
    เครื่องมือและแบบที่ใช้ทำคันชัก

โดย: - [24 มิ.ย. 49] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
    3. สิ่ว (Chisel) สิ่วของช่างทำคันชักค่อนข้างสั้นกว่าและเหมาะมือกว่า ตัวสิ่วจะฝังเข้ากับด้ามไม้รูปทรงคล้ายเห็ด และดูคล้ายคลึงกับสิ่วที่ใช้แกะสลักเป็นอย่างมาก ใบสิ่วยาว 2 นิ้วและด้ามคันชักได้สัดส่วนที่ถูกต้องคือขนาดที่เครื่องมีชนิดนี้ควรจะมี ถ้าสิ่วมีขนาดใหญ่เกินไปอาจจะใช้งานไม่สะดวกนัก นอกจากนั้นผู้ใช้ยังอาจจะทำมีดบาดมือตัวเองได้ ตัวสิ่วไม่ควรจะยาวจนเกินไป มือที่จับสิ่วควรจะมีความแข็งแรงพอที่จะควบคุมการแกะเนื้อไม้ตัวด้ามคันชักได้อย่างมั่นคงเพราะเนื้อไม้มีความแข็งมาก สิ่วเหล่านี้ถูกปรับเปลี่ยนขนาดและรูปร่างให้ใช้ในงานแกะได้หลายแบบตามการใช้งานของพวกเขา ดังนั้นสิ่วที่ใช้ขุดร่องสำหรับใส่ลิ่มที่ปลายคันชักและเนื้อไม้บริเวณ Nut (หรือ Frog ) ควรจะใช้สิ่วที่มีขนาดใหญ่กว่าอันที่ขุดร่องตัวล่างของด้ามคันชัก เพียงแค่มองดูสิ่วที่ทำออกมาอย่างประณีต ไม่ว่าใครที่ได้เห็นก็สามารถทราบได้ทันทีถึงสัดส่วนที่เครื่องมือทำคันชักชนิดอื่นๆ ควรจะมี

4. มีด (Knife) มีดที่ใช้ทำคันชักมีความคล้ายคลึงกับที่ช่างทำไวโอลิน

5. เลื่อย (Saw) การทำคันชักต้องการใช้เลื่อยเพียงแค่ 2 อันเท่านั้น อันแรกเป็นเลื่อยที่ประกอบแบบเยอรมัน มีความยาว 16 ซ.ม. กว้าง 4 ซ.ม. (6 /3/10” กว้าง 1 3/5”) เลื่อยชนิดนี้ใช้ตัดไม้ที่ทำด้ามคันชัก ใบเลื่อยชนิดนี้ต้องเป็นโลหะที่หลอมในอุณหภูมิสูงมาก มิฉะนั้นในระยะยาวจะไม่อาจทนต่อความแข็งของไม้ได้ในขณะที่ใช้งาน เลื่อยอีกอันคือเลื่อยแบบ Spring-saw ซึ่งมีฟันเลื่อยที่ละเอียดมาก ใช้สำหรับตัดเหล็ก ทองเหลือง งาช้าง เปลือกหอยมุก โดยทั่วไปของการทำคันชักจะใช้ในการตัดวัตถุที่มีความแข็ง เป็นเครื่องมือที่หาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องมือช่างทั่วๆ ไป

6. ตะไบ (File) ตะไบมีหลายขนาดและหลายรูปทรง จัดเป็นเครื่องมือมีความจำเป็นมากสำหรับช่างทำคันชัก สำหรับการทำด้ามคันชักนั้นจะใช้ตะไบแบบเรียบและตะไบท้องปลิง ในขณะที่ตะไบกลมจะใช้สำหรับส่วน Nut โดยทั่วไปแล้วตะไบเหล่านี้ควรจะมีความละเอียดมากกว่าหยาบแต่ต้องไม่ละเอียดจนเกินไป การฝึกฝนและประสบการณ์จะสอนให้รู้เองในไม่ช้าว่าตะไบแบบไหนที่เหมาะกับงานแบบใด

7.แม่แบบ เป็นเครื่องมืออีกชนิดหนึ่งที่อาจจะซื้อสำเร็จรูปจากร้านขายอุปกรณ์ทำไวโอลิน และสิ่งที่จำเป็นต้องทำในตอนเลือกซื้อก็คือเลือกอันที่ร่องบากสำหรับขันสกรูให้ตรงกับแบบคันชักที่จะทำ และควรจะทราบถึงขนาดรูที่เล็กที่สุดของแม่แบบบนสกรูคันชักไวโอลิน และขนาดรูที่ใหญ่ที่สุดของรูสกรูบนคันชักดับเบิ้ลเบส

8.ตัวหนีบ (Vise) เครื่องมือชิ้นสุดท้ายที่ช่างทำคันชักจำเป็นต้องมี 2 ตัวก็คือ อันแรกต้องมีปากคีบหรือตัวยึดที่กว้าง 7 ซ.ม. (2 ¾”) และสกรูกับแป้นที่ปลายด้านหนึ่งเพราะว่าอีกด้านหนึ่งอาจจะยึดอยู่กับแผ่นไม้ นอกจากนั้นยังสามารถยึดติดกับโต๊ะทำงานได้โดยใช้แม่แรงเป็นตัวยึด นอกจากนั้นอาจจะใช้ตัวหนีบขนาดเล็กเพื่อยึดชิ้นส่วนที่ไม่สมารถจับด้วยมือให้มั่นคงได้ เช่น สกรูของ Nut หรือสกรูของคันชัก ฯลฯ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เครื่องมือทั้ง 2 ชิ้นนี้อาจจะซื้อได้จากร้ายขายเครื่องมือช่างทั่วไป นอกจากนั้นยังมีเหล็กปาด (Scraper) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่างทำคันชักจำเป็นต้องใช้
โดย: - [24 มิ.ย. 49] ( IP A:202.12.74.5 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
    วิธีการทำด้ามคันชัก
ช่างทำคันชักก็มีแม่แบบหลายๆ ตัวที่ใช้ทำคันชักเช่นเดียวกับช่างทำไวโอลิน แม่แบบทำจากแผ่นไม้หรือไม้กระดานที่ทำจากไม้เนื้อแข็งที่มีความหนาประมาณ 2 หรือ 3 มิลลิเมตร (ประมาณ 1/8”) ส่วนที่สำคัญในบรรดาแบบทั้งหมดก็คือตัวด้ามคันชัก วิธีทำก็คือในขั้นแรกต้องป้องกันคันชักโดยกันไม่ให้ หลังจากนั้นจึงนำแท่งไม้เรียบๆ ชิ้นเล็กๆ บากร่องจำนวน 3 ร่องตามรูป ( Figure 4 ) ไม้ชิ้นเล็กๆ ดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดความหนาต่างๆ ของด้ามคันชักตลอดความยาวของมัน ร่องบากที่ใหญ่ที่สุดควรมีขนาดพอดีความหนาของโคนด้ามคันชักซึ่งเป็นตำแหน่งที่ต่อเข้ากับหมุดโลหะ (Screw button) ร่องบากอันที่ 2 ควรจะพอดีกับความหนาของกึ่งกลางด้ามคันชัก ส่วนร่องบากอันที่ 3 ควรจะมีความหนาพอดีกับปลายด้ามคันชัก

สิ่งสำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งในการทำคันชักก็คือการเลือกไม้ที่จะนำมาทำอย่างเหมาะสม ไม่ควรเลือกไม้ที่เมื่อมองอย่างคร่าวๆ แล้วเต็มไปด้วยตาไม้ รอยแตก หรือตำหนิอื่นๆ ซึ่งเมื่อลงมือทำงานกับมันแล้วจะเป็นการเสียเวลาเปล่าๆ คันชักที่มีเนื้อไม้มีตำหนิดังกล่าวตั้งแต่ต้นจะไม่สามารถรักษาสภาพความตรงได้ตลอดการใช้งานของมัน และไม่สามารถรักษาความยืดหยุ่นที่ควรจะเป็นคุณสมบัติประการแรกของคันชักที่ดี เมื่อเลือกไม้คุณภาพดีได้แล้ว ลายไม้ที่ได้ควรจะตรงมากๆ ไม่บิดเบี้ยวไปมา และควรเริ่มใช้กบไสและตัดแต่งด้านที่เป็นปัญหาก่อน ซึ่งไม้ด้านที่จะเริ่มทำการปรับแต่งควรเลือกไม้ตามวิธีดังกล่าวเพื่อเอาเนื้อไม้ออกให้ได้มากที่สุด สำหรับไม้ที่ใช้ทำเครื่องเรือน เช่น ไม้ Pernambuco เป็นไม้ที่นิยมมากที่สุด (ในช่วงที่ Tourte ทำคันชักที่มีชื่อเสียงอยู่นั้น ในราวๆ ปี 1775-1780 สงครามระหว่างฝรั่งเศสและอังกฤษกำลังดำเนินอยู่ ผลที่ตามมาก็คือสภาวะทางการค้าที่หยุดชะงักลง ทำให้เกิดอุปสรรคในการนำเข้าไม้ Pernambuc หรือ Pernambuco ในยุโรป และราคาของไม้ที่มีค่านี้ถีบตัวสูงขึ้นไปถึง 1 ปอนด์กับ 5 ชิลลิ่ง สภาวะการขาดแคลนในไม้ยุคที่ Tourte ทำคันชักนั้นได้อธิบายให้เห็นถึงจำนวนเงินที่พวกเขาต้องการและได้รับ เขาขายคันชักที่ประดับด้วยกระดองเต่า ฝังเปลือกหอยมุก และ Nut กับ Screw button ที่ประดับด้วยทองในราคาเฉียดๆ 12 ปอนด์ คันชักประดับด้วยเงินและงาช้างที่ดีที่สุดของเขาขายไปในราคาประมาณ 3 ปอนด์ และคันชักธรรมดาที่ไม่ประดับประดามีราคาที่สูงถึงประมาณ 30 ชิลลิ่ง)

แท่งไม้ที่จะใช้ทำคันชักต้องตัดตามยาว ตีเสียว่าประมาณ 73 ซ.ม. (29”) และด้านหนึ่งควรจะกว้างพอที่จะทำคันชักได้ 2 คัน ในขณะที่อีกด้านหนึ่งควรจะกว้างพอแค่ทำคันชักได้ 1 คันครึ่ง ตัวไม้ควรจะตัดตามวิธีดังกล่าวซึ่งจะทำให้ด้านหลังของด้ามคันชักจะอยู่บนด้านหรือหน้าไม้ที่ไม่สามารถทำคันชัก 2 จากไม้ด้านเดียวกันได้

ในขั้นแรกให้วางแม่แบบลงบนหน้าไม้ด้านที่ปรับแต่งแล้วในขั้นตอนที่กล่าวมา และร่างเส้นรอบนอกของแบบด้วยแท่งชอล์ค วางแม่แบบโดยให้ลายไม้ไปในทางเดียวกับลายไม้ของแม่แบบให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ใช้วงเวียนเพื่อกำหนดความหนาของด้ามคันชักในด้านที่กำหนดองศาที่ต้องการไว้แล้วตามแม่แบบของด้ามคันชักที่ร่างไว้

หลังจากนั้นให้ยึดแท่งไม้ด้วยตัวยึดที่ติดแบบที่ติดกับโต๊ะทำงาน และตัดด้ามคันชักด้วยใช้เลื่อย (Circular saw) หลังจากนั้นจึงทำการตกแต่งไม้อีกครั้งด้วยกบไสไม้และทำซ้ำจนกระทั่งงานเสร็จเรียบร้อย เมื่อตัดด้ามคันชักจนได้รูปทรงคร่าวๆ แล้ว หลังจากนั้นควรจะตัดแต่งให้ได้รูปร่างตามแบบที่กำหนดไว้
โดย: - [24 มิ.ย. 49] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   หลังจากนั้นควรใช้กบไสไม้โลหะตัวใหญ่ และด้ามคันชักด้านที่มีรอยเลื่อย (Circular saw) ควรขัดไสให้เรียบร้อยเสียก่อน หลังจากนั้นควรเริ่มขัดไสด้ามไม้จากโคนด้ามจนจรดปลาย โดยให้จับปลายด้ามคันชักด้วยมือซ้ายและวางตัวด้ามคันชักบนโต๊ะทำงานเพื่อให้กบไสไม้ไสไปในทิศทางที่ต้องการ วิธีการนี้ไม้ 2 ด้านจะถูกขัดไสก่อน พยายามเอาใจใส่และตรวจดูอยู่บ่อยๆ และสังเกตดูว่าโคนด้ามคันชักบริเวณด้านหลังของมันนั้นตรงเป็นแนวเดียวกับส่วนปลายด้ามคันชักหรือไม่ เมื่อไม้ทั้ง 2 ด้านขัดแต่งเรียบร้อยดีและความหนาของมันถูกปรับลดลงไปจรดปลายจนได้สัดส่วนแล้ว ด้านหลังและด้านหน้าของด้ามคันชักควรจะทำการขัดแต่ง พยายามทำให้ทั้ง 4 ด้านได้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่สมบูรณ์ ซึ่งด้านหลังและหรือด้านล่างต้องได้แนวตรงกันอย่างพอดีกับปลายด้ามคันชัก เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมให้กับการทำงานขั้นต่อไป เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วในขั้นต่อไปให้วางโคนด้ามคันชักลงในอุปกรณ์วัดขนาดตามรูปที่ 4 ( Figure 4) เพื่อที่จะตรวจดูว่าได้ความหนาที่ถูกต้องหรือไม่ หลังจากนั้นให้ขัดไสทั้ง 4 ด้านจนได้ความหนาที่ถูกต้อง ควรจะใช้อุปกรณ์วัดอันเดียวกันวัดความหนาช่วงกลางและปลายของคันชักบริเวณที่ใกล้กับส่วนหัวคันชัก (Head) ด้วยเพื่อให้ได้ความหนาที่กำหนดไว้ การทำคันชักในขั้นตอนนี้ควรถือด้วยมือซ้ายตรงบริเวณโคนด้านล่างสุดของตัวด้าม และควรขัดไสโดยการไสกบในแนวค่อนข้างทแยงไปจรดปลายคันชัก ในขณะเดียวกันให้หมั่นตรวจดูว่ารูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสของด้ามคันชักยังคงอยู่ หลังจากนั้นให้ใช้มีด ค่อยๆ ตัดความหนาส่วนเกินของปลายด้ามคันชัก (Head) ทีละด้านๆ ออกไปอย่างระมัดระวัง โดยไม่ให้ตัดไม้ด้านหนึ่งด้านใดออกมากกว่าด้านอื่นๆ

ในขั้นต่อไปให้เตรียมชิ้นงาช้างเพื่อประดับปลายคันชักหรือที่เรียกกันว่า Plate ( Figure 5) การที่จะทำให้แผ่นงาช้างได้รูปตามที่ต้องการมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
โดย: - [24 มิ.ย. 49] ( IP A:202.12.74.6 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน