การดูแลรักษาไวโอลินและคันชัก
|
ความคิดเห็นที่ 1 - ไม้เมเปิ้ล (Maple) ใช้ทำแผ่นหลัง (Back) โครงด้านข้าง (Rib) คอ (Neck) และหย่อง (Bridge) - ไม้ อีโบนี่ (Ebony) ใช้ทำฟิงเกอร์บอร์ด (Fingerboard) ลูกบิด (Pegbox) สะพานรับสายส่วนที่ติดกับฟิงเกอร์บอร์ด (Nut) ไม้รับเอ็นยึดหางปลา (Saddle) - ไม้โรสวู้ด (Rosewood) ใช้ทำลูกบิด (Peg) หมุด (Button)
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 10:56] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 โครงสร้างไวโอลิน 
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 10:57] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 10:57] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 10:58] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 10:58] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 10:59] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 เส้นขอบด้านใน (Lining) ไม้ยึดมุมหัวท้าย (Block) และไม้ยึดมุม (Corner) อาจจะทำจากไม้สน (Pine) ไม้วิลโลว์ (Willow) หรือไม้ป๊อปล่าร์ (Poplar) หรือไม้เนื้ออ่อนชนิดอื่ ๆ ก็ได้ ซึ่งต้องมีการคัดเลือกต้นไม้ที่จะนำมาทำไวโอลินอย่างพิถีพิถัน ก่อนที่จะตัดโค่นลงมา ซึ่งช่างทำไวโอลินหรือช่างตัดไม้ที่มีความเชี่ยวชาญสามารถระบุถึงคุณภาพเสียงของต้นไม้นั้นๆ โดยการเคาะที่ลำต้นด้วยขวานอันเล็กๆ เท่านั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นไม้ชนิดใดก็ตาม เพื่อให้ได้ไม้สำหรับทำไวโอลินที่มีคุณภาพดี มีความกังวานในตัวเองสูง
นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบการพิจารณาอีกเช่น สภาพทางภูมิศาสตร์ของต้นไม้นั้นๆ เช่น ความลาดเอียง สภาพลมที่พัดผ่าน ความสูงจากระดับน้ำ อากาศ และดิน เป็นต้น เมื่อต้นไม้ถูกตัดลง โดยปกติจะตัดในเดือนมกราคม หลังจากนั้นจะเก็บไว้อีกหลายปีเพื่อทิ้งไว้ให้แห้งสนิท (ประมาณ10 - 20 ปี) ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี เพื่อป้องกันสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอยู่เสมอ แน่นอนว่าไม้เก่าย่อมมีคุณภาพดีที่สุด แต่สำหรับไม้ที่เก็บไว้นานจนเกินไป ก็อาจจะสู้ไม้ที่ตัดใหม่ไม่ได้ | โดย: - [21 มิ.ย. 49 11:01] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 คันชัก (Bow) ความยาวของคันชักไวโอลินอยู่ที่ 73 ซม. ไม่รวมปุ่มปรับที่โคนคันชัก (Button) และ มีน้ำหนักอยู่ที่ 55 ถึง 65 กรัม ซึ่งน้ำหลักเฉลี่ยจะอยู่ที่ 60 กรัม
โครงสร้างของคันชักมี 2 ส่วนคือ ด้ามคันชัก ปกติจะทำจากไม้ Pernambuco (ชื่อของรัฐๆ หนึ่งในประเทศบราซิล ซึ่งมีไม้ชนิดนี้อยู่มาก) ส่วนปลายคันชักเรียกว่า - head ส่วนที่โคนเรียกว่า Nut
ไม้ Pernambuco เป็นไม้เนื้อออกแดงมีความแข็งแต่ยืดหยุ่นในตัวเอง ซึ่งเป็นคุณสมบติที่สำคัญของคันชักที่ดี เชื่อกันว่า Tourte (หรือฉายาที่รู้จักกันดีคือ "Tourte the Elder") ช่างทำคันชักที่มีชื่อเสียงชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรกที่นำไม้ชนิดนี้มาใช้เมื่อช่วงปลายศตวรรษที่ 18
หางม้า ประกอบด้วยหางม้าพันธ์ดี ประมาณ 150 เส้น ยึดติดกับร่องของส่วนปลาย (Head) และโคนคันชัก (Nut) ตรงบริเวณด้ามจับ (Frog) ที่สามารถปรับได้ เพื่อให้หางม้าตึงหรือหย่อนด้วยการหมุนปุ่มปรับ (Button) ซึ่งมีสกรูโลหะฝังอยู่ข้างในของโคนคันชัก (Nut)
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 11:07] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 ส่วนประกอบของคันชัก 
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 11:10] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 11:11] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 11:11] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 13 ยางสน (Rosin) อณุเล็ก ๆ ของยางสนจะไปเกาะหางม้าทำให้เกิดแรงฝืด เมื่อลากคันชักลงบนสายจะทำให้สายเกิดการสั่นสะเทือนเกิดเป็นเสียงขึ้น การใช้ยางสนควรใช้แต่พอดี เพื่อไม่ให้ผงยางสนสะสมบนไวโอลินมากเกินไป
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 11:14] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 14 โครงสร้างของไวโอลิน ไวโอลินสร้างจากไม้ 82 ถึง 84 ชิ้น ขึ้นอยู่กับจำนวนของไม้แผ่นหน้า (Belly) และไม้แผ่นหลัง (Back) ว่าทำจากไม้แผ่นเดียวหรือ 2 ชิ้น ไม้แผ่นหลัง (Back) ด้านข้าง (Rib) และหัวไวโอลิน (Scroll) ทำจากไม้เมเปิ้ล ลูกบิด (Peg) หางปลา (Tail-piece) หมุด (Tail-pin) ทำจากไม้บ็อกซ์วู้ด (Boxwood) ไม้โรสวู้ด (Rosewood) ไม้อีโบนี่ (Ebony)
น้ำเสียงที่กังวานของไวโอลินขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น การเลือกไม้และอายุของเนื้อไม้ การออกแบบรูปทรงของไวโอลิน ความโค้งของไม้แผ่นหน้าและหลัง ความหนาของไม้ ความยาวของเบสบาร์ที่รองรับไม้แผ่นหน้า น้ำมันวานิชที่ใช้ การปรับแต่งและตำแหน่งของซาวด์โพสท์ (แท่งไม้กลมขนาดเล็กที่ค้ำระหว่างไม้แผ่นหน้าและหลัง) ถ้ามีการขยับแม้เเต่เพียง 1 ส่วน 10 ของ 1 มิลลิเมตรเสียงก็จะเปลี่ยนทันที การตัดแต่งหย่อง องศาและตำแหน่งของสายที่อยู่บนหย่อง รวมถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของสาย
ด้วยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เมื่อผนวกเข้ากับรสนิยมหรือเเม้แต่บุคลิกของนักไวโอลินคนนั้นๆ ซึ่งไม่ได้มองเครื่องดนตรีของเขาในเเง่ของพลังเสียงและความกังวานเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงบุคลิกภาพของเขาลงไปด้วย
ช่างทำไวโอลินจึงไม่เพียงแต่ใส่ใจในเรื่องเงื่อนไขทางกายภาพของไวโอลินเท่านั้น ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพภูมิอากาศและความชื้นในอากาศ เเต่ยังเก็บรักษาเครื่องดนตรีในสภาพที่พร้อมสำหรับนักไวโอลินที่มีความรับผิดชอบและมีพรสวรรค์ที่จะใช้มัน
ส่วนคันชักทำจากไม้ Brazilian wood และไม้ Pernumbuco ซึ่งต้องมีทั้งความเเข็งแรงและความยืดหยุ่น ความเบาและสมดุล หางม้าด้านหนึ่งติดอยู่กับปลายคันชัก ส่วนอีกด้านหนึ่งอยู่ที่โคนคันชัก ที่ปลายโคนคันชักจะมีสกรูสำหรับปรับความตึงของหางม้า หางม้าควรจะมีทั้งความแข็งแรงและความยืดหยุ่น หางม้าส่วนใหญ่จะมาจากคานาดาหรือไซบีเรีย
คุณภาพของคันชักมีหลากหลายแตกต่างกันไป ช่างทำคันชักสามารถตกแต่ง Frog ด้วยวัสดุที่มีราคา เช่น งาช้าง กระดองเต่าและทองคำ แต่ไม่ว่าจะตกแต่งคันชักให้สวยงามอย่างไร มีเพียงนักไวโอลินเท่านั้นที่สามารถบ่งบอกคุณค่าที่แท้จริงของมันได้
โครงสร้างไวโอลิน (Violin Anatomy) 
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 11:15] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 15 Violin Scroll หัวไวโอลินคือส่วนตกแต่งของเครื่องดนตรีชนิดนี้ ไวโอลินเก่าๆ บางตัวจะแกะสลักเป็นรูปหัวสิงห์โตและลวดลายอื่นๆ อีกมาก หัวไวโอลินที่เห็นอยู่ในปัจจุบันถือเป็นเเบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 11:17] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 16 Violin Neck คอของไวโอลินควรจะโค้งมนได้ส่วน เพื่อให้การเปลี่ยนโพสิชั่นทำได้สะดวก ความยาวของคอไวโอลินรุ่นเก่า (สร้างขึ้นในยุคบาโร้คตั้งแต่ปี ค.ศ. 1750 เป็นต้นมา) จะสั้นกว่าไวโอลินในศตวรรษที่ 19 (เช่นไวโอลินของ Stradivari) ซึ่งเป็นมาตรฐานของไวโอลินที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
Violin Body โครงของไวโอลินสามารถทำสีได้หลายสี ไม้แผ่นหลังมนิยมจะทำจากไม้เมเปิ้ล (Maple) ไม้แผ่นหน้าทำจากไม้สปรู๊ซ (Spruce) ไวโอลินบางตัวทำจากไม้ 2 แผ่น บางตัวก็ทำจากไม้แผ่นเดียว ด้านหน้าจะเจาะช่องเสียง (F-hole) เพื่อช่วยให้เสียงดังขึ้นและไกลขึ้น
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 11:18] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 17 Violin Tailpiece หางปลาเป็นชิ้นส่วนที่สามารถถอดออกได้ มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้ หางปลาที่ทำจากไม้จะมีราคาสูงกว่า และสามารถตกแต่งให้สวยงามได้ เช่น ประดับด้วยทองหรือเครื่องประดับที่ไม่จำเป็น วัสดุที่ใช้ทำหางปลาไม่มีผลต่อเรื่องของเสียงมากนัก แต่ปุ่มปรับเสียง (Fine tuner) จะมีผลต่อเสียงบ้างแต่ไม่มากนัก
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 11:20] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 18 Violin Bridge หย่องเป็นชิ้นส่วนที่มีความสำคัญมาก ทำหน้าที่ถ่ายทอดเสียงจากสายลงไปที่ตัวหย่องผ่านทางตีนหย่อง หย่องที่ปรับแต่งอย่างถูกต้องจะช่วยทำให้เสียงไวโอลินดีขึ้นอย่างมาก ซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่ชำนาญงานด้านนี้โดยเฉพาะ
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 11:21] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 19 Violin Peg ลูกบิดเป็นอุปกรณ์การปรับเสียงที่อยู่ในช่องลูกบิด (Peg box) ใกล้กับหัวไวโอลิน ทำหน้าที่ปรับความตึงของสาย ลูกบิดอยู่ได้โดยอาศัยแรงฝืด สามารถดึงออกได้ง่ายเมื่อถอดสายออก
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 11:22] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 20 Violin Soundpost ซาวด์โพสท์เป็นชิ้นส่วนสำคัญในการสร้างเสียงของไวโอลิน ทำหน้าที่ถ่ายทอดเเรงสั่นสะเทือนจากไม้แผ่นหน้าไปยังไม้แผ่นหลัง (เกิดจากแรงสั่นสะเทือนของสายผ่านตีนหย่อง) หย่องเป็นปัจจัยสำคัญในเรื่องน้ำเสียงของไวโอลิน การวางซาวด์โพสท์ในตำแหน่งที่ผิดจะทำให้เสียงลอยๆ เสียงจะเบามากและไม่ชัดเจน เมื่อมองผ่านช่องเสียงจะสามารถเห็นตำเเน่งของซาวด์โพสท์ข้างในซึ่งอยู่หลังตีนหย่องใกล้กับสาย E
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 11:23] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 21 Head of the Bow ส่วนปลายคันชัก (Tip) เป็นส่วนที่มีความเปราะบางมาก และเป็นส่วนที่แตกหรือหักบ่อยที่สุด พยายามอย่าให้คันชักตีหรือกระเเทกกับของเเข็งหรือนำไปเล่นฟันดาบกัน
Hair of the Bow หางม้าที่ใช้คันชักทำมาจากหางม้าจริงๆ เมื่อใช้ไปนานๆ หางม้าจะขาดได้ ถือเป็นเรื่องปกติเพราะหางม้าถูกปรับให้ตึงอยู่เสมอ คุณสามารถให้ช่างเปลี่ยนหางม้าใหม่ได้ ซึ่งจะทำประสิทธิภาพของคันชักดีขึ้น เพราะหางม้าจะดึงน้ำเสียงออกมาจากสายไวโอลินๆ ได้ง่ายกว่า
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 11:25] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 22 Stick of the Bow ด้ามคันชักมีทั้งแบบกลมและเเปดเหลี่ยม ซึ่งไม่มีผลใดๆ ต่อคันชัก ปกติจะทำจากไม้ Pernumbuco นอกจากนั้นยังมีวัสดุอื่นๆ ที่นำมาใช้ทำคันชัก เช่น Carbon Fiber และ Fiber Glass
Grip of the Bow ปลอกหุ้มด้ามจับคันชักทำมาจากหนังสัตว์หรือปลอกยาง และเส้นโลหะที่พันรอบด้ามคันชัก
Frog of the Bow Frog หรือ Nut เป็นชิ้นส่วนกลไกลของคันชักที่ใช้ปรับความตึงของสาย
Screw of the Bow อยู่ที่ส่วนปลายของด้ามคันชัก ทำหน้าที่ปรับ Frog ให้เลื่อนไปตามความยาวของคันชัก ทำให้หางม้าตึงหรือหย่อน
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 11:26] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 23 การดูแลรักษาไวโอลิน ไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีที่มีความละเอียดอ่อนเพราะทำจากไม้ เเตกหักได้ง่ายและมีความอ่อนไหวมาก ทุกๆ ครั้งเวลาที่เปลี่ยนสายหรือทำความสะอาดไวโอลิน ควรจะใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ทุกๆ ครั้งหลังจากเล่นไวโอลินให้ใช้ผ้าสำลี (Cotton) แห้งๆ นุ่มๆ เช็ดยางสนออกจากสายและด้านหน้าไวโอลิน นอกจากว่าจะเป็นนักเล่นไวโอลินแนวโฟลค์ เซลติค คันทรี่ ที่ต้องการให้ยางสนทำให้เกิดเสียงกระด้างๆ แบบเสียงขึ้นจมูก ซึ่งนักไวโอลินบางคนจะปล่อยให้ยางสนเกาะไวโอลินเพื่อให้เกิดผลดังกล่าว
ถ้ามียางสนเกาะบนสายมากเกินไปให้ใช้ผ้าชุบเเอลกอฮอลเล็กน้อยเช็ดเบาๆ เช็ดออกให้หมด (แต่ต้องเป็นผ้าคนละผืนกับที่ใช้เช็ดไวโอลิน) ถ้าบนไม้ด้านหน้าไวโอลินมียางสนเกาะอยู่เป็นคราบหนาๆ ให้ใช้น้ำยาเช็ดไวโอลินซึ่งหาซื้อได้จากร้านขายเครื่องดนตรี ซึ่งจะช่วยขจัดคราบยางสนที่เกาะอยู่บนไวโอลินออกได้โดยไม่มีผลเสียต่อไวโอลิน (จริงๆ แล้วการเช็ดด้วยผ้านุ่มๆ ทุกครั้งหลังการเล่นก็เพียงพอเเล้ว การทำความสะอาดไวโอลินด้วยน้ำยาควรทำปีละ 1-2 ครั้งก็พอ) การเปลี่ยนสายไวโอลินควรเปลี่ยนทุกๆ 4-6 เดือน แต่ถ้าคุณเป็นนักดนตรีที่ต้องออกเเสดงบ่อยๆ ควรจะเปลี่ยนสายทุกๆ 3 เดือน เวลาเปลี่ยนสายไม่ควรผ่อนสายพร้อมๆ กันทั้ง 4 สายเพราะจะทำให้ซาวด์โพสท์ล้มได้ หลังจากเล่นเสร็จควรเก็บไวโอลินและคันชักไว้ในกล่องทุกๆ ครั้ง
ส่วนการดูแลรักษาคันชักไม่ต่างกับวิธีของไวโอลินมากนัก หลังการเล่นควรเช็ดยางสนออกจากด้ามคันชักทุกครั้ง และควรผ่อนหางมาทุกครั้งเมื่อไม่ใช้ ที่ปลายด้ามคันชักจะมีสกรูสำหรับปรับความตึงและหย่อนของหางม้า Frog จะเลื่อนเข้าและออกตามแนวด้ามคันชัก เมื่อปรับหางม้าให้ตึงระยะห่างของหางม้ากับด้ามคันชักตรงส่วนที่ใกล้ที่สุดควรจะอยู่ที่ประมาณครึ่งนิ้ว (1.2 ซ.ม.) เมื่อเลิกใช้ควรผ่อนหางม้าทุกครั้งโดยกะให้หางม้าไม่สัมผัสกับด้ามคันชักก็พอ ในระยะยาวจะช่วยป้องกันไม่ให้คักชักบิดหรืองอได้
คันชักไวโอลินทำจากไม้ Pernumbuco ซึ่งเป็นไม้ที่นิยมใช้ทำคันชัก แต่มักจะแตกตรงส่วนปลายคันชักได้ง่าย ถ้าเป็นคันชักคาร์บอนหรือไฟเบอร์กลาสจะทนทานกว่าไม้ แม้ว่าเวลาเล่นจะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันก็ตาม คันชักด้ามกลมหรือ 8 เหลี่ยมไม่แตกต่างกันเลยนอกจากในเเง่ของรูปลักษณ์เท่านั้น น้ำหนักเเละความสมดุลของคันชักรวมถึงการตอบสนองต่อการเล่นของสายแต่ละสายคือสิ่งสำคัญที่สุดของคันชักที่ดี
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 11:29] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 24 ถ้ามองจากด้ามคันชักจาก Frog ลงมาโดยให้ Frog หันลงพื้น คุณอาจจะพบว่าคันชักงอเล็กน้อย โดยเฉพาะใกล้ๆ ปลายคันชัก (Tip) หรือคันชักด้านบนซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่สามารถซ่อมได้โดยช่างผู้ชำนาญ และต้องใช้เวลานานพอสมควรและเงินจำนวนมาก วิธีซ่อมจะใช้ Clamp หนีบคันชักและปรับให้ตรงเข้าที่และทิ้งไว้จนกระทั่งคืนรูปตรงได้ที่ ส่วนใหญ่ Frog และสกรูมักจะทำจากไม้ Ebony, โลหะเงิน และเปลือกหอยมุก ซึ่งชิ้นส่วนต่างๆ เหล่านี้สามารถทำความสะอาดได้เช่นเดียวกัน
หางม้าและยางสน หางม้าที่ใช้ทำคันชักมาจากหางม้าจริงๆ น้ำมันที่อยู่ในมือคุณจะกลายเป็นคราบสกปรกสะสมบนหางม้า ดังนั้นพยายามอย่าสัมผัสกับหางม้าโดยไม่จำเป็น น้ำเสียงของไวโอลินขึ้นอยู่กับ ความฝืด ของหางม้าและยางสนที่ทำให้สายไวโอลินเกิดการสั่นสะเทือน น้ำมันจากมือคุณจะทำให้หางม้าลื่น
หางม้าเป็นชิ้นส่วนที่สามารถเปลี่ยนได้ ควรจะเปลี่ยนหางม้าประมาณปีละครั้งหรือมากกว่านั้นถ้าคุณออกแสดงบ่อยๆ คันชักที่ใช้มานานๆ จะสูญเสียความฝืดไปทำให้หางม้าของคันชักลื่น (และน้ำเสียงไม่มีพลัง) ไม่ว่าจะฝนยางสนมากเท่าไหร่ก็ตาม
ถ้าหางม้ามีน้ำมันมากเกินไปและคุณยังไม่ต้องการที่จะเสียเงินเปลี่ยนหางม้าใหม่ คุณสามารถทำความสะอาดได้โดยใช้ผ้าชุบน้ำสบู่ค่อยๆ เช็ดออก วิธีนี้จะช่วยทำให้ยางสนและน้ำมันหลุดออกได้ เมื่อหางม้าแห้งสนิทดีเเล้วคุณสามารถฝนหางม้าใหม่ได้
ยางสนที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีหลากหลายยี่ห้อ ความแตกต่างที่สำคัญคือเรื่องของสีสัน ยางสนที่มีสีสันเข้มกว่าจะมีความเหนียวมากกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ กับนักไวโอลินก็คือ การฝนยางสนที่มากเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้เสียงไวโอลินกระด้างและรบกวนการเล่นของคุณได้
ก่อนเล่นทุกครั้งให้ฝนยางสนขึ้น-ลงประมาณ 3 ครั้งก็เพียงพอแล้ว คุณสามารถทดลองเองได้เพื่อดูว่าควรจะฝนยางสนแค่ไหนถึงจะเหมาะกับคุณ ถ้าเวลาที่เล่นแล้วมีผงยางสนกระจายออกมาจากคันชักเเละสาย นั่นแสดงว่าคุณฝนยางสนมากเกินไป วิธีแก้ก็คือให้ใช้ผ้าแห้งๆ เช็ดยางสนออกจากคันชัก หลังจากนั้นให้ฝนยางสนอีกครั้งหนึ่งให้พอดีๆ
ถ้าหางม้าเปราะหรือขาดง่ายอาจจะเกิดจากสาเหตุหนึ่งในสองข้อต่อไปนี้ ข้อแรก หางม้าจะเปราะเเละอ่อนเเอ หรือมีแมลงขนาดเล็กที่คอยกัดกินสาย ถ้าหางม้าขาดทุกครั้งที่เล่นอาจจะมีสาเหตุมาจากเหตุผลข้อใดข้อหนึ่งข้างบนก็เป็นได้ ปัญหาในข้อแรกคงเเก้ไขอะไรไม่ได้มากนักนอกจากเปลี่ยนสายใหม่ ส่วนปัญหาเรื่องแมลงสามารถแก้ไขได้ โดยปกติแมลงชนิดนี้จะมาจากยางสนและจะตายเมื่อนำไปผึ่งแดดสักพัก คุณสามารถนำก้อนยางสนไปวางใกล้ๆ หน้าต่างเพื่อรับแสงแดดสัก 2-3 ชั่วโมง เพื่อช่วยกำจัดเเมลงเล็กๆ เหล่านี้ให้หมดไป หลังจากนั้นให้ล้างหางม้าโดยการใช้ผ้าชุบน้ำสบู่เช็ดเบาๆ ถ้าหางม้ายังขาดง่ายอยู่ คุณอาจจะต้องเปลี่ยนหางม้าใหม่
หย่อง ปัญหาหลักๆ 2 ประการของหย่องที่อาจจะเกิดขึ้นได้ก็คือ สายไวโอลินกัดลงไปในหย่องลึกเกินไปและหย่องเกิดการโค้งงอหรืออยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง ถ้าสายกัดลงไปในหย่องลึกเกินไป โดยเฉพาะในสาย E ซึ่งบางและคมกว่า วิธีแก้อย่างง่ายๆ ก็คือ ใช้พลากติกชิ้นเล็กๆ วางไว้เหนือร่องที่วางสาย จะช่วยป้องกันไม่ให้สายกินลงไปในหย่องมากเกินไป
ในกรณีที่หย่องโค้งหรืองอ วิธีแก้คือให้เปลี่ยนหย่องใหม่ ไม่ควรให้หย่องเอนไปทางฟิงเกอร์บอร์ดหรือโน้มไปข้างหลังด้านหางปลามากเกินไป คุณสามารถปรับหย่องเองได้โดยจับที่ด้านบนหย่องบริเวณระหว่างสาย และค่อยๆ ดันหย่องไปในทิศทางที่ต้องการ แต่หย่องอาจจะหักได้ถ้าคุณไม่ระวัง (หรืออาจจะเคลื่อนอกจากตำแหน่งเดิม) ถ้าคุณไม่มั่นใจว่าสามารถทำเองได้จงอย่าทำ ให้เรียกครูมาช่วยทำให้จะดีกว่า การปรับแต่งหย่องที่ถูกต้องสามารถทำให้เสียงไวโอลินของคุณดีขึ้นได้
รอยแตกเเละรอยปริบนไวโอลิน รอยแตกเเละรอยเเยกบริเวณลำตัวไวโอลินอาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของอากาศหรือความชื้นสัมพัทธ์อย่างรุนแรง ไวโอลินที่ตากแดดทิ้งไว้นานๆ หรือเหตุผลอื่นๆ อีกนานับประการ ห้ามลงมือซ่อมแซมเองหรือใช้กาวติดโดยเด็ดขาด ปัญหานี้ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่า กาวที่ใช้ติดแผ่นไม้และชิ้นส่วนต่างๆ ของไวโอลินเข้าด้วยกันเป็นกาวชนิดพิเศษที่ได้จากยางไม้ตามธรรมชาติ โดยปกติรอยแตกมักจะเกิดขึ้นบริเวณตีนหย่องข้างใดข้างหนึ่งตามแนวยาวของแผ่นไม้ รอยแตกชนิดนี้มักจะวิ่งยาวตามแนวเบสบาร์หรือบริเวณตำแหน่งของซาวด์โพสท์ ถ้ารอยเเตกไม่ใหญ่นักและไม่ลามออกไปก็ไม่จำเป็นต้องตกใจอะไร แต่ให้คอยดูว่าจะลามต่อไปอีกหรือไม่ ไวโอลินหลายๆ ตัวโดยเฉพาะไวโอลินเก่าๆ จะมีรอยเเตกเล็กๆ บนผิวไม้ที่ไม่เป็นอันตรายต่อตัวไวโอลิน
| โดย: - [21 มิ.ย. 49 11:34] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
|