พัฒนาการของคันชักไวโอลิน
    พัฒนาการของคันชักไวโอลิน
พัฒนาการของคันชักจนถึงยุคของ Tourte และคันชักมีผลต่อเสียงอย่างไร บทความต่อไปนี้เป็นการกล่าวถึงพัฒนาการของคันชักในช่วงศตวรรษที่ 18 และกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของคันชักจากยุคบาโร้ค (Baroque) มาจนถึงคันชักในยุค ‘Transitional period’ และพัฒนาจนถึงขั้นสูงสุดในยุคของ Tourte

สิ่งสำคัญที่สุดที่สามารถบอกคุณได้ก็คือคันชักในยุคก่อนหน้า Tourte นั้นไม่ใช่สิ่งที่ทำขึ้นหยาบๆ หรือยังไม่เป็นรูปร่าง ผลงานบางชิ้นเป็นคันชักชั้นยอดในแบบของมัน และหลายๆ อันเป็นงานชั้นเยี่ยมที่สุด คุณลองคิดดูว่าไวโอลิน Amati, Strad และ Guarneri จะเล่นด้วยคันชักธรรมดาหรือ? จริงๆ แล้วมีหลักฐานบางอย่างที่บอกว่าช่างทำไวโอลินผู้ยิ่งใหญ่เหล่านี้ทำคันชักด้วย แต่น่าเสียดายว่าคันชักเหล่านั้นค่อนข้างเปราะบางมากทำให้มีคันชักเพียงไม่กี่คันที่สามารถผ่านกาลเวลา 250-300 ปีได้น้อยกว่าไวโอลินในยุคเดียวกัน นั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำไมจึงหาคันชักรุ่นเก่าๆ ได้ยาก

ความคิดสำคัญประการที่ 2 ก็คือ ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างนักดนตรีและช่างทำคันชัก โดยปกติแล้วคันชักในยุคก่อนหน้า Tourte มักจะถูกแบ่งระดับโดยนักดนตรีที่มีชื่อเสียงที่ใช้มันมากกว่าตัวช่างเอง ดังนั้นเราจึงมีคันชักแบบ Corelli bow, Tartini bow, Cramer bow และ Viotti bow แต่ในยุคนี้เรามีคันชักแบบ Tourte model ซึ่งถ้าจะเขียนให้เป็นบทภาพยนตร์แล้วละก็ เรื่องราวของคันชักคงดำเนินไปตามบทดังนี้

นักดนตรีจะเสาะหาช่างที่ดีที่สุดในละแวกที่เขาอาศัยอยู่ หรืออาจจะเดินทางไปยังที่ไกลๆ เพื่อเสาะหาช่างคนใหม่ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเมื่อนักดนตรีได้ลองเล่นคันชักของช่างคนนั้น ให้ความคิดเห็นและคำแนะนำ และขอให้ทำคันชักอันใหม่ให้ คุณจะเห็นได้ว่าการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างนักดนตรีและช่างทำคันชักมีความสำคัญแค่ไหน ดังนั้นไม่ว่าคันชักในยุคใดๆ ก็ตามคือกุญแจสำคัญที่ทำให้เราเข้าใจวิธีการเล่น คันชักให้เสียงได้อย่างไรและมีหลักการอย่างไร นี่คือการค้นหาความจริงที่นักดนตรีในยุคนี้จะต้องค้นหาความมหัศจรรย์ของดนตรีในศตวรรษที่ 18 นอกจากนั้นยังอาจจะศึกษาถึงวิโอล่าซึ่งมีความแตกต่างกันมากกับวิโอล่าในยุคนี้เช่นเดียวกัน สายที่มีแรงดึงที่น้อยกว่าอย่างสายเอ็น เบสบาร์ (Bass bar) ที่เล็กกว่าและคอที่สั้นกว่า สิ่งเหล่านี้ล้วนสร้างความแตกต่างเป็นอย่างมาก แต่ในบทนี้เราจะกล่าวถึงคันชักเท่านั้น และจะใช้วิโอล่าผลงานของ Otto-Karl Schenck ที่ทำขึ้นในปี l986 เพียงตัวเดียว

ส่วนคันชักเป็นงานที่ทำขึ้นในต้นศตวรรษที่ 18 เป็นคันชักแบบ Italian 'Sonata' bow ที่เรียกว่าแบบของ Corelli-Tartini คันชักยุค Baroque แบบนี้ถูกแทนที่ในราวๆ ปี 1725 ด้วยคันชักเต้นรำแบบฝรั่งเศสยุคแรกๆ ซึ่งค่อนข้างสั้นและมีปลายแหลม คันชักเต้นรำแบบฝรั่งเศสจะใช้นิ้วโป้งวางำไว้ข้างใต้หางม้าและเล่นด้วยการลากอย่างสั้นๆ และเร็วตามจังหวะเต้นรำ ในขณะที่คันชักแบบ Italian 'Sonata' จะยาวกว่า อยู่ระหว่าง 24-28 นิ้ว (61-71 ซ.ม.) มีด้ามคันชักที่ตรงหรือโค้งออกเล็กน้อย ปลายคันชักเป็นแบบที่เรียกว่าปลายแหลม และ Frog เป็นแบบติดตาย (Clip-in bow) หรือมีกลไกที่เป็นสกรู ซึ่งสกรูเป็นวิวัฒนาการในยุคแรกๆ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะตามมา

คันชักตามแบบ Corelli-Tartini จะสั้นกว่าและเบากว่าเมื่อเปรียบเทียบกับคันชักสมัยใหม่ตามแบบของ Tourte โดยเฉพาะส่วนปลายคันชัก จุดสมดุล (Balance point) บนด้ามคันชักจะต่ำกว่า หางม้าจะอ่อนกว่า และแถบหางม้าจะแคบกว่าโดยกว้างประมาณ 6 ม.ม. การลากคันชักไม่ได้เป็นแบบ Legato โดยทั่วไป ทำให้เกิดสิ่งที่ Leopold Mozart เรียกว่า "Small softness" ที่จุดเริ่มต้นและปลายสุดของการลากคันชัก และให้น้ำเสียงที่นุ่มนวลและชัดเจนกว่า ส่วนโน้ตสั้นๆ จะให้น้ำเสียงที่ใสสะอาดโดยที่หางม้าไม่ติดอยู่บนสาย ตัวอย่างของคันชักชั้นยอดอย่างแท้จริงคันหนึ่งของยุคนี้ต้องกล่าวถึงคันชักที่ David Boyden กล่าวไว้ในหนังสือ The History of Violin Playing ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในสมบัติสะสมชุด Ansley Salz Collection ที่มหาวิทยาลัย University of California ในเมือง Berkeley คันชักคันนี้ทำขึ้นในราวๆ ปี1700 และบางทีอาจจะเป็นฝีมือของ Stradivari มันไม่เพียงแต่เป็นคันชักที่สวยงามเท่านั้นแต่เป็นคันชักชั้นยอดที่น่าใช้ (ตัวด้ามทำจากไม้ Pernambuco และ Frog เป็นงาช้าง Pandurina) และนี่คือสิ่งที่ได้กล่าวไว้แล้วว่ามันเป็นคันชักชั้นยอดที่ทำขึ้นก่อนหน้ายุคของ Tourte
โดย: - [16 มิ.ย. 49 11:00] ( IP A:202.12.74.8 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
    Francoise Xavier Tourte (1747 - 1835)

โดย: - [16 มิ.ย. 49 11:01] ( IP A:202.12.74.5 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
    คันชักไวโอลินที่ทำขึ้นในราวๆ ปี 1780 ฝีมือของ Francoise Xavier Tourte

โดย: - [16 มิ.ย. 49 11:01] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   จวบจนก้าวเข้าสู่ยุคคันชักในยุค Transitional period การเพิ่มความห่างของหางม้าออกจากด้ามคันชักมีระยะที่มากขึ้น โดยเฉพาะส่วนปลายคันชัก การแยกส่วนเป็นสิ่งจำเป็นมากเพราะว่าด้ามคันชักยาวขึ้นและตรงขึ้น และมีรูปทรงที่เว้าเข้า การเพิ่มระยะหางม้าให้ห่างจากด้ามคันชักขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอีกส่วนนั่นคือด้ามคันชักที่ตรง และยากที่จะบอกได้ว่าสิ่งใดมาก่อนกัน ซึ่งคุณคงจะเข้าใจเรื่องนี้ได้ดี ถ้าด้ามคันชักตรงอาจจะขยับหางม้าให้เข้ามาอยู่ใกล้ขึ้น แต่เนื่องจากมันถูกทำให้เว้าเข้า ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเพิ่มระยะห่างของหางม้าจากปลายคันชักให้มากขึ้น มิฉะนั้นหางม้าอาจจะไปขูดกับสายได้ ผลที่ได้คือน้ำเสียงที่ดังขึ้นและอาจทำให้การลากคันชักตั้งแต่โคนคันชักทำได้ดียิ่งขึ้น แถบหางม้าจะกว้างกว่าคันชักแบบ Corelli แต่ยังแคบกว่าคันชักแบบของ Tourte กลไกของสกรูเริ่มมีมาตรฐาน และคันชักส่วนใหญ่เริ่มที่จะทำจากไม้ Pernambuco มากกว่าที่จะทำจากไม้ที่ใช้ในยุคแรกๆ เช่น Snakewood, Ironwood และ China wood ซึ่งมักจะทำเป็นร่องตามส่วนความยาวของด้ามคันชัก

ช่างทำคันชักเก่งๆ ในยุค Transitional bow เช่น Duchaine, La Fleur, Meauchand, Tourte Pere และ Edward Dodd แน่นอนว่าไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนใดๆ ในเรื่องหน้าตาของคันชักในยุค Transitional period และคันชักทุกๆ อันมีน้ำหนัก ความยาว และความสมดุลที่ต่างกัน ปลายคันชักจะมีรูปร่างที่หลากหลายมากมายแม้แต่ช่างที่มีชื่อเสียง

ขอกล่าวถึงของสะสมชั้นยอดของ Hans Weisshaar ที่ประกอบด้วยคันชัก 3 คันฝีมือของ Edward Dodd (1705-1810) คันชักไวโอลิน 2 คันที่หนัก 54 และ 55.5 กรัมตามลำดับ และคันชักวิโอล่าที่หนักเป็นพิเศษถึง 71 กรัม ปลายคันชักสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ประณีตสวยงาม สิ่งที่น่าสนใจก็คือปลายคันชักที่ David Boyden เรียกมันว่าปลายคันชักแบบ “ขวานศึก” (Battle-axe) ตัวไม้จะสอบปลายทั้ง 2 ด้านทั้งด้านหน้าและด้านหลังของปลายคันชัก เขาเรียกมันว่าคันชักแบบ 'Cramer bow' ตามชื่อของนักไวโอลิน Wilhelm Cramer (1745-99) ซึ่งอาศัยอยู่ที่เมือง Mannheim จนถึงปี 1772 ก่อนที่จะย้ายไปพำนักยังลอนดอน คุณจะเห็นร่องรอยของคันชักของ Duchaine ที่หนักเพียง 51.5 กรัม รวมถึงคันชักสะสมของ Hans Weisshaar แสดงให้เห็นถึงปลายคันชักแบบ Battle-axe ที่มีการดัดแปลง

ถ้าลองดูคันชักของ Duchaine คุณจะเห็นปลายคันชักทั้งด้านหน้าและด้านหลังทั้ง 2 ด้านที่สอบเข้า ถ้าลองมองตรงจากด้านบน คันชักของ Edward Dodd เป็นปลายคันชักแบบ Battle-axe ที่ดัดแปลงแล้ว จะมีความโค้งมากกว่าแต่มีหน้าตาแบบเดียวกัน คันชักของ Duchaine ยังประดับด้วยงาช้างที่ส่วนล่าง (Underslide) ของ Frog มันเป็นคันชักที่สวยงามมากอย่างแน่นอน และอาจจะกล่าวได้ว่าคันชักเหล่านี้คือสมบัติที่มีค่าทางประวัติศาสตร์

คันชักอีกอันที่อยากจะกล่าวถึงคือคันชักวิโอล่าของ John Dodd ปลายคันชักค่อนข้างเทอะทะและแข็งๆ จริงๆ แล้วคันชักแบบ Transitional bows คือการทดลองค้นคว้า ซึ่งนักเล่นและช่างทำคันชักต่างศึกษาค้นคว้าร่วมกันเพื่อพัฒนาเจ้าอุปกรณ์ในการสร้างเสียงเพลงตัวนี้ จริงๆ แล้วเราอาจจะกล่าวได้ว่าคันชักมีขนาดที่ยาวขึ้น หนักขึ้น ด้ามคันชักถูกออกแบบให้มีความเว้ามากขึ้น การเพิ่มระยะหางม้าให้ห่างจากด้ามคันชักมากขึ้นและทำให้ปลายคันชักหนักและแข็งแรงมากขึ้น ทำให้จุดสมดุลบนด้ามคันชักเลื่อนขึ้นไปสูงขึ้น ยุคของคันชัก Transitional period จะอยู่ในช่วงราวๆ ปี 1740-1790 แม้ว่าโครงสร้างบางอย่างของคันชักแบบ Transitional bow จะยังคงมีใช้อยู่จนถึงศตวรรษที่ 19 ก็ตาม หลักฐานภาพวาดต่างๆ เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ตัวอย่างภาพที่น่าสนใจที่แสดงถึงการใช้คันชักแบบ Transitional bow ในช่วงปลายๆ ก็คือภาพพิมพ์หินที่เป็นรูปของ Paganini โดย Karl Begas ในราวๆ ปี 1820 เห็นได้ชัดว่าปลายคันชักเป็นรูปขวานและด้ามคันชักตรง
โดย: - [16 มิ.ย. 49 11:03] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
    Transitional bow แบบฝรั่งเศส

โดย: - [16 มิ.ย. 49 11:05] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   คันชักแบบ Baroque sonata bow มีความเกี่ยวพันกับ Corelli และ Tartini และคันชักแบบ Transitional bow ที่เกี่ยวพันกับ Cramer ส่วนคันชักสมัยใหม่แบบของ Tourte จะมีความเกี่ยวข้องกับ Viotti ในปี 1782 นักไวโอลินชาวอิตาเลี่ยนนาม Giovanni Baptista Viotti เดินทางมาเปิดการแสดงครั้งแรกที่ปารีสในขณะที่มีอายุ 29 ปี ในการแสดงคราวหนึ่งเขาสถาปนาตัวเองว่าเป็นนักไวโอลินชั้นเยี่ยมของยุโรป เขาเป็นลูกศิษย์ของ Pugnani ซึ่งเป็นสายของนักไวโอลินที่ย้อนกลับไปถึงยุคของ Corelli แต่มีบางสิ่งในการเล่นของเขาที่พิเศษและแตกต่างออกไป ถ้าลองอ่านการตอบรับของผู้ชมในยุคนั้นที่มีต่อการแสดงของเขา เราจะประทับใจในความโดดเด่นในการแสดง ความกระตือรือร้นและโทนเสียงที่เขาแสดงออกมา และนี่คือข้อความบางส่วนที่หนังสือพิมพ์ในยุคนั้นได้กล่าวไว้ว่า

- น้ำเสียงที่หนักแน่นเต็มเปี่ยม ความไพเราะที่ยากจะอธิบาย ความหมดจด ความประณีต สดใส
- การเล่นของ Viotti ในท่อนที่ยากๆ ที่ดูเรียบง่ายและเล่นออกมาได้อย่างชัดเจน
- Viotti แสดงออกทั้งอารมณ์และเล่นในท่อนที่ยากได้อย่างสมบูรณ์แบบ
- การแสดงที่ถูกต้องแม่นยำ ประณีตสละสลวย คุณภาพของเสียงที่น่าชื่นชมในท่อน Adagio
- ช่างเป็นการผสมผสานที่ลงตัวของพลังและความสง่างาม ช่างเป็นท่อน Adagio และ Allegro ที่งดงาม
- ไม่มีสิ่งใดจะยอดเยี่ยมไปกว่าเสียงไวโอลินของเขาในกระบวนที่ 2 อีกแล้ว
- ดูเหมือนว่าพลังของเขาที่มีต่อไวโอลินนั้นจะไร้ขีดจำกัด เขาได้ปลุกเร้าความรู้สึก แต่งเติมวิญญาณให้กับเสียง และนำมาซึ่งความรู้สึกอันน่าหลงใหล

Viotti ต้องเป็นศิลปินนักไวโอลินที่ยิ่งใหญ่ที่สามารถสร้างความตื่นตาตื่นใจแบบนั้นให้กับผู้ฟังได้เช่นนี้ ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักในฐานะนักไวโอลินผู้ยิ่งใหญ่เช่นเดียวกับการได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ก่อตั้งเทคนิคการเล่นไวโอลินสายใหม่ซึ่งมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือ น้ำเสียงที่หนักแน่นเต็มอิ่ม เทคนิค Legato ที่เหมือนเสียงร้องเพลง เทคนิคการใช้คันชักที่หลากหลาย แม้ว่าชีวิตการเป็นนักดนตรีของเขาค่อนข้างจะสั้นก็ตาม แต่ชื่อเสียงของเขากลับยืนยงจนถึงศตวรรษที่ 19 เทคนิคการเล่นของเขามีอิทธิพลมากใน 2 ส่วนก็คือ ส่วนแรกก็คือในกลุ่มของลูกศิษย์และผู้ที่ติดตาม ส่วนที่สองจะผ่านทางผลงานการประพันธ์ของเขา โดยเฉพาะบทประพันธ์ไวโอลินคอนแชร์โตต่างๆ การสอนของเขาจะเป็นรูปแบบของคำแนะนำและแรงบันดาลใจมากกว่าการสอนตามปกติ และเขาจะไม่รับเงินทองใดๆ จากลูกศิษย์ และนี่คือรายชื่อลูกศิษย์ของเขา เช่น Paul Alday, Louis Labarre, Jean Baptiste Cartier, Auguste Durand, Philippe Libon, Nicholas Mori, Friedrich Pixis และ Andre Robberechts แต่ละคนแยกย้ายไปยังที่ต่างกันและได้กลายเป็นนักไวโอลินชั้นนำ ณ ที่แห่งนั้น ในแผนผังโครงสร้างสายของนักไวโอลิน (Family tree of violinists) ที่รวบรวมโดย Marc Pincherle ในหนังสือพจนานุกรม Encyclopedie de le Musique et Dictionnaire du Conservatoire แสดงถึงสัดส่วนของนักไวโอลินที่มีชื่อเสียงจำนวนมากของที่มาจากสายของ Viotti
โดย: - [16 มิ.ย. 49 11:06] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
    Giovanni Battista Viotti (1753-1824)

โดย: - [16 มิ.ย. 49 11:10] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   นักไวโอลินคนสำคัญ 3 คนที่ก่อตั้งเทคนิคการเล่นแบบ Viotti (Viotti method) ได้แก่ Pierre Baillot (1771-1842), Jaques Rode (1774 -1830) และ Rudolphe Kreutzer (1776 -1831) ความสัมพันธ์ของพวกเขาผูกพันกันโดยความสัมพันธ์ที่มีต่อ Viotti หน้าที่ๆ คล้ายกันของพวกเขา ณ สถาบันการดนตรี วัยวุฒิและช่วงอาชีพที่ใกล้เคียงกัน อิทธิพลของพวกเขาที่ปรากฏอยู่ในแบบฝึกหัดไวโอลินของนักเรียนนั้นไม่ใช่คำกล่าวที่มากเกินไปเลย และนี่คือบางส่วนของเทคนิคการสอนที่ยังคงใช้ได้ผลดี

“ก่อนหน้านั้นนักดนตรีเครื่องสายของวงออร์เคสตร้าล้วนเป็นนักดนตรีที่มีความสามารถในแนวทางของตนเอง แต่ทุกๆ คนมีเทคนิคการใช้คันชักที่แตกต่างกัน...ผลก็คือทำให้วิธีการเล่นบนสายไวโอลินแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ซึ่งทำให้ขาดการเล่นที่ดีและสมบูรณ์แบบไปอย่างน่าเสียดาย ปัจจุบันอุปสรรคเหล่านี้ได้ถูกขจัดไปแล้ว Rode, Kreutzer และ Baillot ซึ่งเป็นศาสตราจารย์คนสำคัญของสถาบันการดนตรีล้วนมีเทคนิคการใช้คันชักเฉพาะตัว แต่เทคนิคทั้งหมดของพวกเขาล้วนคล้ายคลึงกับ Viotti อาจารย์ของพวกเขาเป็นอย่างมาก...บรรดาลูกศิษย์ของอาจารย์ทั้ง 3 ท่านล้วนมีเทคนิคที่หลากหลายและเปี่ยมด้วยพลัง ทำให้การเล่นของวงออร์เคสตร้าเกิดเอกภาพ และที่ยิ่งกว่านั้นก็คือ แต่ละอาจจะคิดว่าเล่นได้ราวกับเป็นไวโอลินเพียงตัวเดียวของแต่ละส่วนเลยทีเดียว”

ปารีสเป็นศูนย์กลางของการแสดงไวโอลินชั้นดี มาตรฐานที่พัฒนาขึ้นมาจากการผลงานของสถาบันการดนตรีแห่งปารีส ซึ่งวิธีการสอนของสถาบันการดนตรีได้ถ่ายทอดออกมาเป็นตำรา 2 เล่มคือ The Methode de Violon โดย Baillot, Rode, Kreutzer ตีพิมพ์ในปี 1802 และรายละเอียดการเล่นในหนังสือ L'Art du Violon โดย Baillot เพียงคนเดียวในปี 1830 แต่น่าเสียดายว่าไม่มีตำราที่เขียนโดยตัว Viotti และบทต่อไปจะเป็นการกล่าวถึง Viotti และ Tourte
โดย: - [16 มิ.ย. 49 11:11] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
    The Methode de Violon เขียนโดย Baillot, Rode และ Kreutzer

โดย: - [16 มิ.ย. 49 11:16] ( IP A:202.12.74.6 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน