ความคิดเห็นที่ 1 การเลือกคันชัก (Bow)
วิธีที่ง่ายที่สุดในการเลือกคันชักคือการเปรียบคันชักแต่ละอันและใช้วิธีการคัดคันชักที่ไม่ต้องการออก
เสียง (Sound)
ปัจจัย 2 ประการที่มีผลต่อคุณภาพเสียงของคันชักคือ
- ชนิดของยางสนที่ใช้
- การเลือกใช้หางม้า
คันชักที่ใช้หางม้าใหม่อาจจะทำให้เกิดเสียงแปลก ๆ ได้ (เสียงเอี๊ยดๆ หรือเสียงครืดคราด) มากกว่าคันชักที่มีการใช้อยู่เป็นประจำ
การตอบสนองของคันชัก (Responsiveness)
พยายามใช้เทคนิคของคันชักที่แตกต่างกัน เช่น Spiccato, Deatche, Staccato ฯลฯ เพื่อทดสอบการตอบสนองของคันชัก
น้ำหนักของคันชักก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะน้ำหนักรวมอาจจะทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้ เช่น คันชักที่พันด้วยเส้นโลหะหรือกระดูกปลาวาฬจะเบากว่าคันชักที่พันด้วยโลหะเงิน ซึ่งคันชักที่พันด้วยเส้นโลหะหรือกระดูกปลาวาฬจะให้ความรู้สึกว่าปลายของคันชัก (Tip) หนักกว่าคันชักที่พันด้วยโลหะเงิน แม้ว่าคันชักทั้ง 2 แบบจะมีน้ำหนักเท่ากันก็ตาม ส่วนรสนิยมเรื่องความงามนั้นขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน
| โดย: - [1 มี.ค. 49 9:14] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 การเลือกกล่อง (Case) ปัจจุบันกล่องใส่ไวโอลินมีแบบต่างๆ ให้เลือกมากมาย โดยทั่วไปจะนิยมกล่องที่ทำให้ไวโอลินแขวนอยู่ในอากาศ (Suspension) ซึ่งกล่องชนิดนี้จะสัมผัสกับไวโอลินบริเวณคอและที่รองคางเท่านั้น ทำให้ส่วนอื่น ๆ ของไวโอลินรวมถึงส่วนหัวของไวโอลินลอยอยู่โดยไม่สัมผัสกับส่วนอื่นๆ ของกล่อง แรงกระแทกที่มาจากภายนอกจะส่งผ่านไปยังส่วนที่แข็งแรงที่สุดของไวโอลิน สำหรับกล่องแบบธรรมดานั้น ส่วนที่สัมผัสกับกล่องมากที่สุดคือบริเวณกึ่งกลางหลังของไวโอลิน ตรงตำแหน่งหลักเสียงพอดี (Soundpost) แรงกระแทกรุนแรงจากด้านหลังของกล่องไวโอลินจะส่งผ่านมายังหลักเสียง และอาจทำให้เกิดรอยร้าวบริเวณไม้แผ่นหน้าและแผ่นหลังของไวโอลินได้
เพื่อป้องกันไม่ให้หย่องกระแทกกับกล่องด้านใน ควรเลือกกล่องไวโอลินชนิดที่มีสายรัดบริเวณคอเพื่อยึดคอไวโอลินให้อยู่กับที่ การป้องกันไม่ให้ไวโอลินได้รับความเสียหายจากการกระแทกกับคันชักในระหว่างที่ถือกล่องไปมา ควรเลือกกล่องชนิดที่มีระบบการเก็บคันชักที่ดี และมีเบาะเล็กๆ บุเหนือบริเวณที่รองคาง
กล่องเชลโลแบ่งออกได้ 3 ประเภทคือ
- กล่องแบบ Soft Case มีผ้าบุด้านใน แต่ไม่มีวัสดุแข็งหุ้มด้านนอก ป้องกันการกระแทกได้น้อยมาก
- กล่องแบบเบา (Lightweight) มีราคาไม่แพงมากและไม่แข็งแรง ป้องกันการกระแทกได้น้อย
- กล่องแบบแข็ง (Heavy) มีราคาไม่แพงมากแต่แข็งแรง ป้องกันการกระแทกได้ดี
- กล่องแบบ Lightweight มีราคาแพงถึงแพงมากแต่แข็งแรง (ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงซึ่งสัมพันธ์กับน้ำหนักของกล่อง) ป้องกันการกระแทกได้ดี
สำหรับกล่องในข้อที่ 2 มีความปลอดภัยกว่ากล่องในข้อแรกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สำหรับในประเทศในเขตร้อนแบบเมืองไทยควรเลือกกล่องที่มีสีอ่อนๆ ซึ่งสามารถสะท้อนแสงและความร้อนได้ดีกว่า
| โดย: - [1 มี.ค. 49 9:22] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 การเลือกสาย (String) การเลือกสายไวโอลินเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน สายบางยี่ห้อให้เสียงที่กังวานสดใส บางชนิดให้เสียงที่ทุ้มลึก สายแต่ละยี่ห้อไม่ได้ให้เสียงแบบเดียวกันเสมอไป แม้ว่าจะใช้เครื่องดนตรีตัวเดียวกันก็ตาม รายชื่อของสายข้างล่างนี้จะช่วยบอกให้คุณทราบถึงคุณสมบัติของเสียงที่สดใสและทุ้มลึกของสายแต่ละยี่ห้อ (เรียงตามลำดับสายที่ให้เสียงสดใสไปหาสายที่ให้เสียงทุ้มลึก)
ไวโอลิน Infeld Blue Evah Pirazzi Dominant Tonica Infeld Red Pro Arte Zyex
วิโอล่า Spirocore (silver และ steel) สำหรับสาย C Dominant Tonica Prim (steel) Pro Arte Helicore (steel) Jargar (steel) Larsen (steel) สำหรับสาย A
เชลโล Spirocore (tungsten) Permanent Spirocore (chromesteel) Belcanto Gold Spirocore (silver) Chromcor Larsen Solo Jargar Larsen
ไวโอลินขนาดเล็ก Spirocore Dominant Pro Arte Piranito Jargar
ในบางครั้งสายไวโอลินประเภทสายโลหะ (Steel) จะให้เสียงเพี้ยนสูงถ้าเล่นแบบอัดหนักๆ ซึ่งไวโอลินขนาด 4/4 โดยเฉพาะในสาย G จะไม่นิยมใช้สายประเภทนี้เท่าไหร่นัก แต่สำหรับไวโอลินขนาดเล็กจะไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหร่ เพราะว่าบทเพลงสำหรับเด็กๆ มักจะเป็นเพลงสั้นๆ ที่ไม่โลดโผนนัก การใช้สายไวโอลินยี่ห้อเดียวกันทั้งชุดมักจะให้น้ำเสียงที่ดี แต่ในบางครั้งก็จำเป็นต้องใช้สายที่ต่างยี่ห้อ เพื่อให้ได้น้ำเสียงที่กลมกลืนกัน
วิโอล่า วิโอล่าสามารถใช้สายประเภท Steelได้ และอาจจะต้องใช้สายต่างยี่ห้อเพื่อให้ได้เสียงที่ดีที่สุด ขึ้นอยู่กับวิโอล่าตัวนั้นๆ สายยี่ห้อ Larsen และ Jargar ให้เสียงของสาย A ที่ค่อนข้างดี ส่วนสาย D นั้น อาจจะเลือกใช้ Dominant, Tonica, Pro Arte, Prim, Helicore และ Jargar เพราะให้เสียงที่ดี ส่วนสาย G ควรจะเป็น Dominant, Tonica, Pro Arte, Prim (steel) และ Helicore ส่วนสาย C อาจจะใช้ Spirocore (Tungsten, Silver หรือ Chrome) และ Dominant ก็ใช้ได้ดี ส่วนสาย C ชนิดที่มีแกนเป็นเอ็นหรือวัสดุสังเคราะห์ อาจจะใช้ Spirocore Silver จะให้น้ำเสียงที่มีพลังมาก
เชลโล การเลือกสายสำหรับเชลโลนั้น ควรจะเลือกสายที่ต่างยี่ห้อกัน เพราะสาย A มักจะให้เสียงที่สดใสกว่าสาย C เพื่อแก้ปัญหานี้ ควรจะใช้สาย A ที่มีโทนเสียงที่ทุ้มขึ้น เช่น Larsen หรือ Jargar และเลือกใช้สาย C ที่ให้เสียงที่สดใสขึ้น C เช่น Spirocore, Permanent หรือBelcanto ส่วนสาย D อาจจะใช้ Larsen solo, Chromcor และ Permanent ก็ให้น้ำเสียงที่ดี สำหรับสาย G อาจจะใช้ Chromcor, Permanent, Spirocore และ Belcanto Gold ซึ่งให้น้ำเสียงที่ดีเช่นกัน
| โดย: - [1 มี.ค. 49 9:39] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 การดูแลรักษาเครื่องดนตรี
หลักเสียง (Soundpost) หลักเสียงของไวโอลิน เป็นแท่งไม้กลมที่ทำจากไม้สน ทำหน้าที่ถ่ายทอดแรงสั่นสะเทือนจากไม้แผ่นหน้า (Belly) ไปยังไม้แผ่นหลัง (Back) ของไวโอลิน Soundpost จะตั้งอยู่ในไวโอลินบริเวณใต้ขาหย่องฝั่งสายเสียงสูง E และ A ผู้เล่นไม่ควรตั้งหรือปรับ Soundpost ด้วยตัวเอง ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของช่างผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่า มีไวโอลินจำนวนมากที่ช่องเสียง (F-hole) และไม้แผ่นหน้าต้องเสียหายโดยนักดนตรีที่คิดว่าตัวเองหูดีแต่ขาดความรู้เรื่องการตั้ง Soundpost อย่างแท้จริง
ไม้แผ่นหน้าและไม้แผ่นหลังของไวโอลินมีการยืดและหดตัวตามการเปลี่ยนแปลงของอากาศ เนื่องจากชิ้นส่วนต่างๆ ทำจากไม้ที่ติดกาวเข้าด้วยกันประกอบกันขึ้นเป็นรูปทรง จึงทำให้ความสูงของไม้แผ่นหน้าและแผ่นหลังของไวโอลินมีการเปลี่ยนแปลงได้ และอาจทำให้ Soundpost เกิดอาการหลวมหรือแน่นขึ้น ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของเสียง ถ้าสังเกตเห็นว่าไวโอลินของคุณมีการเปลี่ยนแปลงเสียงอย่างกระทันหัน โดยเฉพาะหลังจากการเปลี่ยนแปลงอากาศอย่างรุนแรง อย่าพึ่งด่วนตกใจ เพราะว่ามันอาจกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ แต่บางทีก็อาจต้องมีการปรับตำแหน่ง Soundpost บ้าง เพื่อให้เสียงกลับสู่สภาพเดิม
ในสภาพที่อากาศแห้ง Soundpost อาจจะแน่นขึ้นซึ่งเกิดจากไม้แผ่นหน้าและไม้แผ่นที่มีความแข็งขึ้นเนื่องจากไม้แห้งขึ้น และถ้า Soundpost ในไวโอลินเคลื่อนตัวเข้ามาข้างในเพื่อลดความตึงที่เกิดขึ้น เสียงไวโอลินของคุณก็จะเปลี่ยนไปต่างจากในสภาพอากาศที่ชื้น เครื่องดนตรีบางชิ้นจะให้เสียงที่ดีกว่าในสภาพอากาศที่ชื้น บางชนิดเสียงจะดีขึ้นในอากาศที่แห้ง ขึ้นอยู่กับไม้ที่ใช้ทำไวโอลินตัวนั้นๆ ด้วย
ในกรณที่อากาศแห้งมากๆ Soundpost อาจจะดันให้ไม้แผ่นหน้าและไม้แผ่นหลังเกิดรอยแตกหรือร้าวขึ้นได้ในบริเวณตำแหน่งที่ไม้ที่สัมผัสกับ Soundpost เมื่อมีแรงมากดหรือกระแทกบริเวณนั้นแรงๆ ถือเป็นปัญหาที่ใหญ่มากต่อการซ่อมแซมและค่าซ่อมค่อนข้างแพง ความเสียหายเช่นนี้จะทำให้เครื่องดนตรีของคุณเสียราคาได้
| โดย: - [1 มี.ค. 49 9:43] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 ถ้ามองจากช่องเสียง (F-hole) ด้านสาย E และ A จะเห็นตำแหน่งของ Soundpost อยู่ใต้ขาหย่อง
| โดย: - [1 มี.ค. 49 9:44] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 ความสูงของหย่องและสายไวโอลิน ตำแหน่งของหย่อง (Bridge) มีความสำคัญมาก ต้องตั้งอยู่ในมุมที่ถูกต้องกับไม้แผ่นหน้าของไวโอลิน ปัญหาส่วนใหญ่ของหย่องที่เกิดขึ้นคือเมื่อสายเกิดการหย่อนและต้องตั้งสายใหม่ ในขณะตั้งสายแรงดึงของสายจะดึงให้หย่องโน้มไปทางฟิงเกอร์บอร์ด ถ้าปล่อยไว้โดยไม่มีการแก้ไข แรงกดจะทำให้หย่องโค้งงอได้ และถ้ายังมีการตั้งเสียงต่อไปโดยไม่ปรับหย่องให้ตรงเสียก่อน อาจจะทำให้หย่องล้มหรือแตกได้
ตำแหน่งของหย่องที่ถูกต้อง 
| โดย: - [1 มี.ค. 49 9:45] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 การตั้งหย่องให้ตรงนั้นมีอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับวิธีการของช่างซ่อมไวโอลินแต่ละคน เช่น เทคนิคการปรับหย่องโดยการใช้นิ้วโป้งช่วยดัน ขั้นแรกให้วางไวโอลินวางไว้บนตัก ให้หัวไวโอลินอยู่ทางซ้ายและหางปลาอยู่ทางขวามือ ขั้นต่อมาให้วางมือไว้บนไวโอลินโดยให้นิ้วโป้งทั้งสองอยู่ระหว่างสาย A และ D โดยให้นิ้วทั้งสองหันเข้าหากัน ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางเอื้อมมาจับสายไวโอลินบริเวณใต้หย่อง ใช้นิ้วกลางข้างซ้ายดันที่ปลายฟิงเกอร์บอร์ดไว้ ซึ่งจะทำให้มีแรงพอที่จะใช้นิ้วโป้งดันหย่องให้ตรงได้ ถ้าออกแรงดันหย่องมากเกินไปจนโน้มมาอีกข้างหนึ่ง ก็ให้ใช้นิ้วกลางของมือขวาดันที่ปลายหางปลาและใช้นิ้วโป้งของมือขวาดันจนกว่าหย่องจะอยู่ในระดับที่ต้องการ พยายามอย่าให้นิ้วต่างๆ ไปออกแรงกดลงบนสาย E และ A เพราะแรงกดอาจจะทำให้สายขาดได้ | โดย: - [1 มี.ค. 49 9:46] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 หย่องที่โค้งงอซึ่งจากการตั้งหย่องที่ไม่ถูกต้อง
| โดย: - [1 มี.ค. 49 9:47] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 การปรับหย่องไวโอลินให้ตรงโดยการใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสอง
| โดย: - [1 มี.ค. 49 9:47] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 การปรับหย่องเชลโล
| โดย: - [1 มี.ค. 49 9:47] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 ถ้าหย่องขยับได้ยาก ให้คลายสายทีละสาย ใช้ผงดินสอไส้อ่อนๆ (ประมาณไส้ดินสอ EE ที่นักเรียนศิลปนิยมใช้เขียนรูป) โรยบริเวณร่องสายบนหย่อง หลังจากนั้นให้ตั้งสายอีกครั้ง โดยให้ต่ำกว่าระดับเสียงจริงประมาณ 1 โน้ต จะช่วยให้หย่องขยับได้ง่ายขึ้น
ตรวจสอบสายในตำแหน่งที่สัมผัสกับหย่องดูว่าเรียบร้อยดีหรือไม่ ถ้าสายที่พันรอบไวโอลินหลุดหรือลุ่ย สายไวโอลินอาจจะกัดเข้าไปในเนื้อหย่องได้ ในกรณีคงต้องเปลี่ยนสายใหม่
ความสูงและองศาของฟิงเกอร์บอร์ดมีความสำคัญมากต่อการหาความสูงและสัดส่วนของหย่อง ถ้าหย่องต่ำหรือเอียงไปทางสายเสียงสูงจนเกินไป เวลาเล่นจะทำให้ใช้คันชักไปโดนกับสายอื่นๆ หรือขอบไวโอลินบริเวณกลางลำตัว (C-bout) ได้ | โดย: - [1 มี.ค. 49 9:48] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 ภาพแสดงระดับความสูงของสาย G เมือเทียบกับสายอื่นๆ
| โดย: - [1 มี.ค. 49 9:49] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 13 ภาพจากด้านหน้า
| โดย: - [1 มี.ค. 49 9:50] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อมองจากด้านสาย G ไปทางสาย A จะเห็นระดับความสูงของสาย D ซึ่งสูงกว่าสายอื่นๆ ได้อย่างชัดเจน
| โดย: - [1 มี.ค. 49 9:50] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 15 ถ้าเล่นสาย A หรือ D แล้วคันชักไปโดนสายอื่นๆ แสดงว่าองศาความโค้งของหย่องไม่ถูกต้อง หรือถ้าสายไวโอลินกินลงไปในหย่องซึ่งทั้ง 2 กรณีนี้จำเป็นต้องเปลี่ยนหย่องใหม่ ถ้าลองถือไวโอลินโดยให้ด้านสาย A อยู่หลังสาย G จะสังเกตเห็นระดับความสูงของสาย D ได้ ซึ่งสาย A และ D ควรจะอยู่ในระดับเดียวกัน (ในภาพตัวอย่างจะใช้รูปของของเชลโล เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น)
ถ้ารู้สึกว่าความสูงของสายต่างๆ สูงขึ้นผิดปกติ ให้รีบตรวจสอบทันทีว่าบริเวณคอไวโอลินเริ่มปริหรือไม่ โดยสังเกตดูเส้นสีขาวที่อยู่ตามแนวรอยต่อของคอที่ติดกับไม้ยึดคอไวโอลิน
| โดย: - [1 มี.ค. 49 9:51] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 16 ถ้าสังเกตเห็นเส้นสีขาวที่คอไวโอลินที่แสดงว่าคอไวโอลินเริ่มมีปัญหา
| โดย: - [1 มี.ค. 49 9:51] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 18 หรือถ้าสังเกตเห็นว่าเส้นขอบสีดำที่ฝังอยู่รอบไวโอลินตรงบริวณคอด้านหลังเริ่มถ่างออก แสดงว่าคอไวโอลินเริ่มปริเนื่องจากแรงดึงของสาย
ในทั้ง 2 กรณีให้รีบคลายสายลงโดยทันที ถ้าปล่อยไว้อาจจะทำให้ฟิงเกอร์บอร์ดไปกระแทกกับไม้แผ่นหน้าซึ่งอาจทำให้ทั้งไม้แผ่นหน้า Soundpost หรือ Bass bar แตกเสียหายได้
| โดย: - [1 มี.ค. 49 9:52] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 19 การทำความสะอาด พยายามรักษาให้เครื่องดนตรีและคันชักของคุณสะอาดและปราศจากฝุ่นอยู่เสมอ วิธีที่ดีที่สุดคือการใช้ผ้าสำหรับทำความสะอาดไวโอลินโดยเฉพาะ หรือผ้าที่ปราศจากใยสำลีหรือสิ่งที่จะอาจทำให้เครื่องดนตรีเกิดรอยขีดข่วนได้ การทำความสะอาดผ้าอย่างสม่ำเสมอก็เพียงพอแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นและยางสนเกาะบนผ้าซึ่งอาจจะทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนน้ำมันวานิช ถ้าจำเป็นต้องใช้น้ำยาทำความสะอาดจริงๆ อาจจะใช้น้ำยาทำความสะอาดชนิดพิเศษที่มีขายตามร้านไวโอลินดีๆ ไม่ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดทั่วๆ ไป เนื่องจากมีสารทำละลายซึ่งอาจทำให้ผิวของวานิชเสียหายได้ ควรจะนำไวโอลินไปพบช่างผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อยปีละครั้งเพื่อตรวจสภาพและทำความสะอาดอย่างถูกต้อง
| โดย: - [1 มี.ค. 49 9:54] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 20 การเปลี่ยนสาย การเปลี่ยนสายควรจะทำอย่างน้อยปีละครั้ง แม้ว่าจะเป็นสายโลหะที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าสายชนิดอื่นๆ ก็ตาม ถ้าคุณเป็นนักดนตรีที่เล่นหรือออกแสดงบ่อยๆ สายก็จะเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ซึ่งก็ควรจะเปลี่ยนสายทุกๆ 6 เดือน
สัญญาณหลายๆ ประการที่บอกให้เราทราบว่าได้เวลาของการเปลี่ยนสายแล้วก็คือ สภาพของสายผิดปกติไป เช่น หมดอายุการใช้งานหรือยุ่ย เสียงทึบหรือบอดหรือเพี้ยนไปจากคู่ 5 เมื่อกดนิ้วลงบนสายทั้ง 2 สาย ถ้าลองถอดสายที่เสื่อมแล้วออกมาดุ จะพบว่าด้านล่างของสายจะค่อนข้างแบน (ด้านที่อยู่ติดกับ Fingerboard) คุณอาจจะทดลองตรวจดูว่าสายหมดอายุการใช้งานหรือไม่ โดยการจับสายด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ หลังจากนั้นค่อยๆ หมุนช้าๆ ส่องภายใต้แสงไฟ ถ้าสายหมดอายุแล้ว พื้นผิวของสายที่แบนราบจะสะท้อนให้เห็นเงาที่เป็นเหลี่ยมเป็นมุม หลังจากนั้นค่อยๆ เช็คตลอดความยาวของสายอย่างช้าๆ ถ้าสายเริ่มไม่กลมก็แสดงว่าถึงเวลาที่ควรจะเปลี่ยนได้แล้ว
ข้อควรจำในการเปลี่ยนสายไวโอลิน: ควรจะเปลี่ยนทีละสายไล่ไปจนครบทั้ง 4 สาย ไม่ควรเปลี่ยนพร้อมๆ กันทั้ง 4 สาย เพราะอาจทำให้ Soundpost ล้มได้
วิธีการเปลี่ยนสาย ในขั้นแรก ให้ร้อยสายผ่านช่องหางปลาหรือตัวปรับเสียง (Fine Tunner) ตรวจดูให้แน่ใจว่าหมุดกลมๆ บริเวณปลายสาย อยู่ในช่องหางปลาหรือร่องของตัวปรับเสียงเรียบร้อยแล้ว ดันปลายสายให้ผ่านช่องใส่ลูกบิด (Peg hole) ทะลุปลายอีกข้างหนึ่งออกมาประมาณครึ่งนิ้ว ดึงสายให้ตึงพอประมาณ หมุนลูกบิดให้สายพันรอบลูกบิดประมาณ 1 รอบ (ให้สายพันไปทางปลายลูกบิด) หลังจากนั้นให้หมุนลูกบิดพันสายทับสายที่พันไว้แล้วอีกรอบและค่อยๆ หมุนลูกบิดเพื่อพันสายที่เหลือให้ตึง โดยให้สายพันไปทางโคนลูกบิด ถ้ารูของลูกบิดอยู่ใกล้ขอบของช่องใส่ลูกบิด (Peg Box) มากเกินไป ให้พันสายไปทางปลายลูกบิดมากขึ้นก่อนที่จะพันสายทับอีกครั้งตามขั้นตอนที่กล่าวมา เพื่อให้สายที่พันไว้ตรง สายที่พันไว้รอบสุดท้ายควรจะใกล้กับขอบช่องใส่ลูกบิด แต่ห้ามติดกันโดยเด็ดขาดมีนักดนตรีบางคนต้องการให้สายติดกับขอบช่องใส่ลูกบิด ซึ่งอาจทำให้ช่องใส่ลูกบิดแตกหรือเสียหายได้ จึงควรหลีกเลี่ยง
ทุกๆ ครั้งที่เปลี่ยนสาย ให้ใช้ผงดินสอชนิดเบอร์อ่อนๆ โรยบริเวณช่องใส่สายของส่วน Nut ที่ปลาย Fingerboard และหย่อง (Bridge) เพราะว่าผงกราไฟท์ (Graphite) จากดินสอจะช่วยหล่อลื่นบริเวณร่องต่างๆ ช่วยให้สายเลื่อนผ่านได้ง่ายขึ้นและช่วยยืดอายุการใช้งานของสายให้นานขึ้นอีก วิธีนี้ยังช่วยให้หย่องไม่เอียงไปข้างหน้าเวลาที่ตั้งสายอีกด้วย เพราะสายจะเลื่อนไปมาบนหย่องแทนที่จะดึงหย่องให้ล้มไปทาง Fingerboard
สาเหตุที่ทำให้สายขาดบ่อยๆ ถ้าร่องใส่สายบนหย่องไวโอลินหรือ Nut ที่ด้านบน Fingerboard แคบจนเกินไป จะทำให้สายเลื่อนไปมาได้ไม่สะดวกนักในขณะที่ตั้งสาย และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้สายขาดได้ง่าย ให้ใช้ผงดินสอจำนวนเล็กน้อยโรยบนร่อง Nut ที่ด้านบน Fingerboard และหย่อง จะช่วยให้สายเลื่อนไปมาได้สะดวกขึ้น และช่วยยืดอายุการใช้งานของสายอีกด้วย
ถ้าช่องร้อยสายที่หางปลาแคบจนเกินไป ทำให้ไม่สามารถดึงสายได้ตลอดและทำให้หมุดบริเวณปลายสายไม่สามารถล็อคเข้าที่ได้ ถือเป็นสาเหตุที่ทำให้สายขาดได้เช่นกัน
| โดย: - [1 มี.ค. 49 9:58] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 21 ร่องสายไวโอลินบนหย่องที่แคบจนเกินไป
| โดย: - [1 มี.ค. 49 9:59] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 22 ภาพแสดงขนาดร่องสายไวโอลินบนหย่องที่ถูกต้อง
| โดย: - [1 มี.ค. 49 9:59] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 23 ในภาพจะเห็นร่องสายบนหย่องที่เข้มขึ้น เนื่องจากการใช้ผงไส้ดินสอเบอร์อ่อนๆ จำนวนเล็กน้อย โรยลงบนร่องสายไวโอลินที่หย่องและ Nut บนฟิงเกอร์บอร์ด เพื่อช่วยสายไวโอลินเลื่อนไปมาได้สะดวกและทำให้สายมีอายุการใช้งานที่ยาวขึ้น
| โดย: - [1 มี.ค. 49 10:00] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อสายไวโอลินไปชิดกับด้านข้างของโพรงลูกบิด (Pegbox) การเสียดสีอาจทำให้สายขาดได้ หรือถ้าแย่กว่านั้นอาจทำให้โพรงลูกบิดแตกได้ สายไวโอลินไม่ควรจะชิดกับด้านข้างของโพรงลูกบิด (จากรูปจะเห็นว่าสายอยู่ห่างจากด้านข้างของโพรงลูกบิด โดยเฉพาะสาย D
| โดย: - [1 มี.ค. 49 10:09] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 26 สายไวโอลินอาจจะถูกบีบได้ตรงบริเวณลูกบิดและด้านล่างของโพรงลูกบิด (Pegbox) โดยเฉพาะเมื่อมีการพันสายรอบลูกบิดในรอบที่ 2 ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้สายขาดเท่านั้น แต่ยังทำให้ลูกบิดและภายในของโพรงลูกบิดเสียหายด้วย ในภาพจะเห็นว่าไม่มีพื้นที่พอสำหรับสาย ระหว่างลูกบิดและด้านล่างของโพรงลูกบิด
| โดย: - [1 มี.ค. 49 10:09] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 27 ถ้าองศาความโค้งของหมอนรองสาย (Top nut) ไม่ถูกต้อง ซึ่งจะดันให้สายอยู่ในมุมที่มีความคมและอาจทำให้สายขาดได้ไม่ว่าจะเป็นด้านใดของหมอนรองสายก็ตาม แรงกดที่เกิดขึ้นจะทำให้สายขาดได้
| โดย: - [1 มี.ค. 49 10:10] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 28 หมอนรองสายที่แบนจนเกินไป
| โดย: - [1 มี.ค. 49 10:11] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 29 รูปร่างของหมอนรองสาย ที่ถูกต้อง
| โดย: - [1 มี.ค. 49 10:11] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 31 ตัวปรับเสียงบางชนิด (Fine tuner) มีขอบที่คม ซึ่งเป็นสาเหตุให้สาย E ขาดได้ ควรจะเปลี่ยนมาใช้ปุ่มปรับเสียงแบบที่มีความโค้งมน หรือส่งให้ช่างซ่อมไวโอลินทำการลบมุม
ภาพทางซ้าย: ปุ่มปรับเสียงที่มีขอบคมจนเกินไป ภาพทางขวา: ปุ่มปรับเสียงที่มีขอบโค้งมน
เมื่อตั้งสายทุกครั้ง พยายามอย่าตั้งให้สูงกว่าระดับเสียงจริงของสายนั้นๆ เพราะแรงกดจะทำให้สายขาดได้
| โดย: - [1 มี.ค. 49 10:12] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 32 ลูกบิด ถ้ารู้สึกว่าลูกบิดเครื่องดนตรี (Peg) เกิดอาการคลายตัวอยู่บ่อยครั้ง แสดงว่าลูกบิหลวม ลูกบิดจะหดตัวเมื่อความชื้นในอากาศลดลง ถ้าความชื้นลดลงจนถึงระดับ จะทำให้ลูกบิดคลายตัวและทำให้สายหย่อนลงได้ ยิ่งลูกบิดที่มีขนาดใหญ่ก็ยิ่งมีโอกาสหดตัวได้มากขึ้น ดังนั้นเชลโลจึงมีโอกาสเกิดปัญหานี้มากที่สุด
เมื่อหมุนลูกบิดด้วยแรงปกติ ถ้าลูกบิดคลายตัวอย่าออกแรงหมุนลูกบิดมากจนเกินไปเพราะอาจทำให้กล่องลูกบิด (Peg box) แตกหรือร้าวได้ ขณะตั้งสายให้ตรวจดูให้แน่ใจว่าหย่องอยู่ในสภาพที่ตรง ถ้าลูกบิดยังคงเลื่อนอยู่ อาจจะเกิดจากลูกบิดลื่นจนเกินไป ในกรณีนี้ให้นำลูกบิดออกมา เช็ดด้วยกระดาษทิชชูชุบแอลกอฮอล์ และควรจะทำให้ห่างๆ จากเครื่องดนตรีของคุณ เพราะว่าแอลกอฮอล์มีคุณสมบัติในการทำละลายวานิชเคลือบไวโอลินได้ หลังจากนั้นให้เสียบลูกบิดเข้าในช่องตามเดิมแล้วลองตั้งสายอีกครั้ง สังเกตดูว่าฝืดขึ้นหรือเปล่า ถ้ายังไม่ดีขึ้นก็ให้ทำซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
ถ้าเช็ดทำความสะอาดด้วยกระดาษชูชุบแอลกอฮอล์ออกหมดแล้วแต่ลูกบิดยังเลื่อนอยู่ อาจจะใช้ผงชอล์คเล็กน้อยโรยบนลูกบิดและช่องใส่ลูกบิด ไม่ควรใช้ชอล์คเขียนกระดานดำเพราะว่าชอล์คชนิดนี้มักจะมีน้ำมันผสมอยู่ ให้ใช้ผงปูนโรยสนามฟุตบอลแทน เพราะไม่มีส่วนผสมของน้ำมัน ในกรณีฉุกเฉินสามารถใช้คัทเตอร์ขูดผิวยางสนให้เป็นผงใช้โรยแทนได้ ผงยางสนจะช่วยหยุดอาการลื่นของลูกบิดได้ หลังจากนั้นให้รีบนำไปให้ช่างซ่อมไวโอลินทำการแก้ไขโดยด่วน
ในทางกลับกัน ถ้าลูกบิดติดแน่นจนเกินไป อาจใช้น้ำยาเช็ดเพื่อทำให้ลูกบิดหมุนได้สะดวกขึ้น ควรใช้แต่พอเหมาะ ไม่เช่นนั้นลูกบิดอาจจะลื่นจนเกินไป ถ้าลูกบิดแน่นจนเกินไปเนื่องจากการขยายตัวเพราะความชื้นในอากาศที่เพิ่มขึ้น พยายามอย่าตั้งสายใหม่เพราะลูกบิดอาจจะหมุนอย่างแรงจนอาจทำให้สายขาดได้ ถ้าออกแรงหมุนลูกบิดมากกว่าปกติแล้วแต่ยังไม่ขยับเท่าที่ควร ให้คลายลูกบิดไปในทิศทางตรงกันข้าม หลังจากนั้นให้ดึงลูกบิดออกมาเล็กน้อย เมื่อลูกบิดเริ่มคลายตัวให้ลองตั้งสายดูอีกครั้งด้วยแรงขนาดปกติ ถ้าลูกบิดยังติดแน่นอยู่อย่าพยายามฝืนเพราะลูกบิดหรือช่องใส่ลูกบิดอาจแตกได้
| โดย: - [1 มี.ค. 49 10:19] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
|