หลัก 10 ข้อสำหรับการเลือกคันชัก
    หลัก 10 ข้อสำหรับการเลือกคันชัก

มนุษย์เรามักจะเข้าใจผิดว่าเราได้ยินเสียงด้วยหูทั้งสองข้าง แต่ในความเป็นจริงแล้วเราได้ยินเสียงในสมองต่างหาก หูของคนเราทำหน้าที่คล้ายไมโครโฟนที่ถ่ายทอดคลื่นเสียงออกมาเป็นคลื่นแม่เหล็ก ซึ่งจะถูกส่งวิเคราะห์ข้อมูลที่สมอง ความรู้สึกทั้งหลายจะถูกส่งไปยังสมองอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลต่างๆ จะถูกผสมผสานเข้าด้วยกัน และเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันที่เราเก็บไว้ในสมอง หลังจากนั้นจะสร้างภาพเสมือนจริงขึ้นมา และจะตัดสินใจว่าควรจะทำอย่างไรกับสถานการณ์นั้นๆ สมองของเราถูกออกแบบมาให้รู้จักเอาตัวรอดบนโลกใบนี้ คำถามหลักก็คือ มันเป็นชีวิตที่อันตรายหรือไม่ ดังนั้นสิ่งที่เคลื่อนไหวจึงมักจะเป็นที่สนใจกว่าสิ่งที่อยู่นิ่งๆ หรือเกิดซ้ำๆ ในแบบเดิม มนุษย์มีสัญชาติญาณที่ดีเมื่ออยู่กับธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันมนุษย์จำต้องเดินทางไปมายังที่ต่างๆ ในป่าคอนกรีต ข้อมูลต่างๆ ไม่ได้ส่งเข้าไปเก็บไว้ในจิตสำนึกของเราทั้งหมด มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่กลายเป็นความทรงจำอันแสนสั้นให้เราได้ครุ่นคิดในภายหลัง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะถูกลบออกไป

ในตอนที่เกิดมานั้นสมองของเราไม่ได้ว่างเปล่า แต่ในช่วงที่เราเติบโตขึ้นนั้น สมองของคนเราจะปรับตัวให้เข้ากับชีวิตในแบบที่เราเป็น มีการสร้างพื้นที่ในการเก็บข้อมูลมากขึ้นตามที่มันจำเป็นต้องมี นั่นหมายถึงว่าสมองของเราทำหน้าที่อันหลากหลายเพราะเรามีประสบการณ์ที่แตกต่างกันออกไปนั่นเอง ภาพเสมือนจริงในสมองมักจะเป็นการผสมผสานกันระหว่างข้อมูลที่เข้ามาและข้อมูลที่มีอยู่แล้วในสมองของเรา นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมในชีวิตจริงเราถึงตีความไม่เคยเหมือนกันสักครั้ง ถ้าไปชมคอนเสิร์ท คุณจะได้ยินเสียงดนตรีที่ไม่เคยเหมือนเดิม ถ้าคอนเสิร์ทนั้นใช้ไมโครโฟน คุณจะได้รับการตีความอีกแบบในสมอง ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงก็อยู่ตรงหน้านั่นเอง แต่เราไม่สามารถจับต้องอะไรได้นอกจากการตีความส่วนตัว ถ้าพูดถึงแก้วน้ำสักใบ การตีความของเราอาจจะใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่า แต่ถ้าเราพูดถึงความงามของคันชัก เราก็อาจจะห่างไกลจากความเป็นจริงออกไปมากยิ่งขึ้น

สมองของเราทำงานร่วมกับความคาดหวัง ดนตรีคือการผสมผสานระหว่างคอร์ดต่างๆ ทำให้คุณคาดหวังถึงเรื่องราวบางอย่างขึ้นมาทันทีโดยไม่รู้ตัว อัจฉริยภาพของ Mozart คือสร้างความคาดหวังขึ้นมาแล้วมอบให้กับเรา แต่ในขณะเดียวกันก็ให้สิ่งที่เราไม่ได้คาดหวังเล็กๆ น้อยๆ ด้วยเช่นกัน เพียงพอที่จะทำให้เราจะหันไปให้ความสนใจกับมันได้ สำหรับในเรื่องคันชักนั้น มันเป็นโอกาสดีที่เราจะลองเลือกคันชักที่ดีและสวยงาม เติมเต็มสิ่งที่เราคาดหวังไว้ในภาพความคิด และในขณะเดียวกันก็ให้รายละเอียดที่ไม่ได้คาดหวังไว้

ถ้าฝีมือช่างสมบูรณ์แบบเกินไป เราจะพบว่ามันน่าเบื่อเกินไป นั่นเป็นเพราะสมองของเราจะคอยแก้ไขความเป็นจริงในขณะนั้นอยู่ตลอดเวลา หรือคอยเติมเต็มให้กับมัน โดยพิจารณากับภาพที่คล้ายคลึงกันที่เก็บไว้ในความทรงจำของเรา

เมื่อเราเห็นอักษรตัวแรกของคำ เราจะรู้ว่าคำนั้นคือคำว่าอะไรก่อนที่จะอ่านเสียอีก ในความเป็นจริงนั้นเราแทบจะไม่ทันได้อ่านเสียด้วยซ้ำถ้าคำนั้นๆ อยู่เรารู้จักอยู่แล้ว เราเดาได้ทันทีว่าคำนั้นคือคำว่าอะไร การเลือกคันชักก็เช่นเดียวกัน ในแว่บแรกที่ได้เห็น ความคาดหวังของเราจะมีอิทธิพลต่อสิ่งที่เราเห็นเป็นอย่างมาก ภาพคันชักที่เห็นในสมองจะค่อยๆ ปรับให้เข้ากับคันชักจริงที่วางอยู่ตรงหน้าอย่างช้าๆ ภาพเสมือนจริงในสมองของเรานั้น เราทำแม้กระทั่งแก้ไขให้มันดีขึ้น อย่างน้อยถ้าเราเข้าเจตนาของช่างคันชักที่ทำมันขึ้นมา เมื่อมองที่คันชักเก่าๆ สายตาและจิตใจของเราจะคอยซ่อมแซมรอยสึกหรอที่เกิดจากการใช้งานให้คันชักอันนั้น ดังนั้นเราต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวจริงๆ กับคันชักอันนั้นเสียก่อน

และนั่นคือขั้นตอนหลักๆ ในการเลือกคันชักที่สวยงาม แต่เราจะสามารถเชื่อใจประสบการณ์ส่วนตัวของเราได้มากแค่ไหน การเลือกคันชักไม่ควรมีอคิติเข้าไปปะปน การเลือกคันชักต้องมีกฎเกณฑ์ที่อธิบายได้

โดย: - [19 เม.ย. 55 18:04] ( IP A:202.12.73.193 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
    หลัก 10 ข้อสำหรับการเลือกคันชัก

จริงๆ แล้วมันมีวิธีการมากกว่านี้ แต่สำหรับในขั้นนี้เราจะใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาเพียงแค่ว่าคันชักอันนั้น “ดี” หรือ “ไม่ดี” เท่านั้น ข้อสำคัญก็คือคันชักอันนั้นเหมาะกับคุณหรือไม่ และสามารถช่วยให้คุณเล่นได้อย่างอิสระอย่างที่ต้องการได้หรือไม่ เพราะในที่สุดแล้วการสร้างสรรค์เสียงดนตรีย่อมเป็นหน้าที่ของนักดนตรี

เสียง (Sound) มีน้ำเสียงที่หนักแน่น ให้เสียงสูงๆ (Overtone) ที่ดีและหลากหลาย มีน้ำเสียงในช่วงกลางๆ ที่หนักแน่น

ความดัง (Volume) คันชักอันนั้นให้ทั้งเสียงที่ดังหรือเบา เสียงที่คมชัด-เสียงไม่คมชัด มีพลังเสียงที่ดี-เสียงไม่มีพลัง

น้ำหนัก (Weight) คันชักหนักหรือเบา

ความสมดุล (Balance) มีความสมดุลที่ดีหรือไม่ หนักปลายหรือหนักโคนคันชัก

หน้าหางม้าสัมผัสสายได้ดีหรือไม่ (String contact) หน้าหางม้าสัมผัสสายสม่ำเสมอทั้งคันชัก, ช่วงปลายคันชักไม่ดี, ช่วงกลางคันชักไม่ดี, ช่วงโคนคันชักไม่ดี

แรงสปริงตัวของด้ามคันชัก (Bounce) ดีสม่ำเสมอทั้งคันชัก, ปกติ, ช่วงปลายคันชักดี, ไม่ค่อยดี

ความสม่ำเสมอ (Stability) สม่ำเสมอทั้งคันชัก, ช่วงกลางคันชักไม่สม่ำเสมอ, ช่วงโคนคันชักไม่สม่ำเสมอ

ความแข็ง (Stiffness) ดีทั้งคันชัก, โคนคันชักแข็งเกินไป, กลางคันชักแข็งเกินไป, ปลายคันชักแข็งเกินไป, โคนคันชักอ่อนเกินไป, กลางคันชักอ่อนเกินเกินไป, ปลายคันชักอ่อนเกินไป

ความสวยงาม (Aesthetics) ปลายคันชักสวย, Frog สวย, ไม้สวย, เปลือกหอยมุกสวย, ประดับด้วยทอง เงิน หรือนิกเกิ้ล

ความรู้สึก (Feel) จับไม่ถนัดมือ, เล่นไม่ถนัด

โดย: - [19 เม.ย. 55 18:05] ( IP A:202.12.73.193 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน