สีและน้ำมันวานิช
    สีและน้ำมันวานิช

สีและน้ำมันวานิชที่ใช้ทาคันชักจะไม่ค่อยซับซ้อนเท่าน้ำมันวานิชที่ใช้ทาไวโอลิน แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ต้องใช้เวลาหลายร้อยปีกว่าจะได้วิธีการทำสีคันชักที่ลงตัว การทำสีที่ไม่ดีจะทำให้ลายไม้เสียคุณค่าและความน่าสนใจลงไป การทำสีที่ดีจะช่วยทำให้คันชักสวยยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่ทำให้คันชักมีเสน่ห์ยิ่งขึ้นคืออายุการใช้งาน ไม้เนื้อเข้มและ ชแลคขัดมัน บางๆ ที่ลงเต็มทั้งคันชัก ไม้เก่าจะมีประกายในแบบที่หาไม่ได้ในไม้ใหม่ๆ ตัววานิชจะไม่มีซับซ้อนมากเท่ากับ ผิวของเนื้อไม้ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แน่นอนว่าสีจะเข้มขึ้น แต่เหนืออื่นใดคือ ความโปร่งใส จะเปลี่ยนไป ไม้ที่อายุมากขึ้นเนื้อไม้จะ ด้าน ขึ้นและสีเข้มขึ้น ถ้านำคันชักไปส่องกับแสงไฟ จะดูเหมือนกับว่าเนื้อไม้ เรืองแสง ออกมาจากข้างใน ยิ่งใช้ไปนานๆ คันชักจะยิ่งดูสวยขึ้น ลายไม้จะยิ่งจัดขึ้นเพราะเส้นใยไม้ที่สานกันไปมาบนด้าม ขึ้นอยู่กับมุมมองและองศาของด้ามคันชักที่ส่องกับไฟ

ช่างทำคันชักบางคนทดลองใช้มูลกระต่ายหรือรังสีแกมม่าเพื่อ เลียนแบบความเก่ าของคันชัก แต่ผลลัพธ์ที่ได้ถือว่ายังไม่ดีนัก สารเคมีที่นิมใช้คือกรดไนตริก (Nitric acid) ซึ่งเชื่อกันว่าใช้กันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แล้ว ข้อดีของกรดไนตริกคือมันจะทำปฏิกริยากับเนื้อสีที่ทาทับอยู่บนเนื้อไม้ และจะกัดพื้นผิวเนื้อไม้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในขั้นตอนการทำสารเคมีนั้น พื้นผิวของไม้จะไม่เรียบเล็กน้อย มีการสะท้อนความแวววาวอย่างนุ่มนวล แต่น่าเสียดายว่าการสะท้อนดังกล่าวเกิดจากความเก่าปลอมๆ ซึ่งจะแตกต่างจากความเก่าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การใช้กรดไนตริกจะเหลือร่องรอยการใช้ให้เห็นว่าเป็นการทำเลียนแบบ ในขณะที่สีชนิดอื่นๆ จะซึมเข้าไปในเนื้อไม้ไม่ลึกนัก

ถ้าวานิชค่อนข้างเก่าไปตามกาลเวลา การใช้กรดกัดไม่สามารถทำให้ไม้กลับมาเป็นสีส้มดังเดิมได้ การใช้กรดไนติกมีข้อเสียที่หลายคนอาจจะไม่ทราบ ถ้าไม่ทำให้กรดไนตริกมีสภาพเป็นกลางในระดับที่ใช้งานได้เสียก่อนจะทำให้เกิดจุดด่างดำใต้ชั้นวานิชที่ดูน่าเกลียดมาก ถ้าใช้กรดกับคันชัก รูพรุนบนเนื้อไม้จะเป็นสีดำเข้ม เป็นข้อเสียที่มองเห็นได้ชัดเจนมาก

โดย: - [19 เม.ย. 55 22:29] ( IP A:110.77.230.126 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   โดยปกติแล้ว นักดนตรีจะชอบ คันชักสีเข้มๆ มากกว่าสีอ่อนๆ ซึ่งเป็นเรื่องของความเชื่อล้วนๆ คนส่วนใหญ่เชื่อกันว่าคันชักเก่าที่ดีๆ จะมีสีเข้ม บ่อยครั้งที่ทำให้เกิดความสับสนระหว่างคันชักสีเข้มๆ กับคันชักที่ดี จริงๆ แล้วสีของคันชักมีผลน้อยมากในเรื่องคุณภาพ ไม้สีเข้มจะมีเนื้อสีในตัวมันมากกว่าไม้สีอ่อนๆ และเป็นไปได้ว่าไม้สีอ่อนๆ ค่อนข้างจะมีรูพรุนมากกว่า รวมทั้งมีความยืดหยุ่นมากกว่าเช่นกัน ในขณะที่ไม้เนื้อเข็มมีความหนาแน่นมากกว่าและคืนตัวได้น้อยกว่า แต่ก็ไม่เสมอไป

โดยปกติแล้วจะใช้ ชแลคบริสุทธิ์ แทนวานิช เพราะยางสนในวานิชจะให้ชั้นของสีที่หนาเกินไป ทำให้การสปริงตัวของคันชักลดลง แต่ชแลคมีคุณสมบัติที่แตกต่างออกไป สามารถทาเป็นชั้นบางๆ ได้ ไม่กระด้างจนเกินไปและมีคุณสมบัติในการขัดผิวที่ดี สามารถปิดรูพรุนในเนื้อไม้ได้

Roger Hargrave ผู้เชี่ยวชาญไวโอลินกล่าวว่า การปิดรูพรุนในเนื้อไม้สามารถทำได้โดยใช้น้ำยารองพื้น (Pore filler) ซึ่งการรองพื้นเพื่อปิดรูพรุนในเนื้อไม้ ซึ่งจะทำให้คันชักสวยงามขึ้น แต่เรากำลังกล่าวถึงเรื่องของ ความสวยงาม เท่านั้น สิ่งที่จะมีผลต่อเสียงคือ ควร ลงวานิชให้น้อยที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้

ในบางครั้งวานิชอาจจะให้พื้นผิวที่แวววาวเกินไป และให้การสะท้อนของผิวที่มันมากเกินไป ช่างบางคนจะใช้วิธีการลงน้ำมัน Linseed oil บางๆ บนคันชักใหม่ให้ชุ่ม หลังจากนั้นจึงลงมือขัด ด้วยวิธีการนี้จะทำให้ได้ผิววานิชที่ค่อนข้างด้าน การสะท้อนของผิวที่ดูนุ่มนวลขึ้น ตัววานิชเองไม่ควรทำออกมาแล้วเด่นเกินไป ควรจะมองเห็นลวดลายของ เนื้อไม้ มากกว่า

วานิชสังเคราะห์จะให้การสะท้อนของแสงที่ค่อนข้างกระด้าง และมักจะออกเป็นสีขาวชืดๆ ส่วนข้อดีก็คือทาได้ง่ายและรวดเร็ว การลงวานิชต้องอาศัยเวลาในการทำงานพอสมควร อย่างน้อยก็สองอาทิตย์ แต่มักจะนานกว่านั้น การลงวานิชแต่ละชั้นควรปล่อยให้มันแห้งสนิทที่สุดก่อน หลังจากนั้นจึงให้ความชุ่มชื้นอีกครั้งด้วยการขัดกับแอลกอฮอล์ และถ้าชั้นวานิชที่ลงก่อนหน้ายังไม่แห้งดีและหลุดออกมา คงจะทำให้ช่างทำคันชักเสียอารมณ์อยู่ไม่น้อย แม้ว่าการขัดมันจะไม่ใช่เรื่องที่สร้างสรรค์อะไร แต่ก็คุ้มค่าที่จะทำเพื่อแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

โดย: - [20 เม.ย. 55 10:17] ( IP A:110.77.230.126 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน