คันชักไวโอลิน Charles Peccatte
    คันชักไวโอลิน Charles Peccatte ประทับข้อความ “Peccatte” ทั้งสองด้าน ประดับเงิน น้ำหนัก 59 กรัม

Charles Peccatte (1850-1918) ช่างทำคันชักชาวฝรั่งเศส เขาเกิดที่เมือง Mirecourt งานส่วนใหญ่ของ Charles Peccatte จะประทับข้อความบนคันชักด้วยชื่อเต็ม ซึ่งในงานของทั้งบิดา (François Peccatte, 1821-1855) และ (Dominique Peccatte, 1810-1874) ลุงของเขาที่เป็นช่างทำคันชักก็ทำแบบเดียวกัน แต่ Charles ต่างออกไป โดยเขาจะประทับชื่อที่ด้ามคันชักทั้ง 2 ด้าน มองเห็นได้อย่างชัดเจนในคันชักคันนี้ ซึ่งเป็นไปได้ว่าการที่เขาทำเช่นนั้นเพราะต้องการสร้างความแตกต่างจากงานของบิดาและลุงของเขา

หัวคันชักกับงาช้างที่เป็นของเดิม Charles มีเทคนิคการแกะหัวคันชักในสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งมักจะให้ความประทับใจที่น่าทึ่งในเรื่องความแข็งแรงเมื่อเทียบกับขนาดที่เล็กของมัน

สกรูสีน้ำเงินและสกรูตัวเมียทองเหลือง เป็นเทคนิคที่เขาได้มาจากการทำนาฬิกา งานของช่างนาฬิกามักทำอะไรออกมาเป็น “สีน้ำเงิน” ซึ่งไม่ได้ทำเพื่อความสวยงาม แต่เพื่ออายุการใช้งานที่คงทนกว่า สีของโลหะมักจะเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น โดยเกิดจากการหลอมโลหะให้ได้อุณหภูมิประมาณ 200°C และที่อุณหภูมิขนาดนี้จะทำให้โครงสร้างโลหะเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้คุณสมบัติของโลหะเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือสีน้ำเงินที่ได้ และอีกประการคือช่วยป้องกันการทำปฏิกริยากับอากาศและการเป็นสนิมได้ดีขึ้น สกรูของคันชักคันนี้ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์มาก แม้ว่าจะผ่านมากว่า 120 ปีแล้วก็ตามแต่ยังดูเหมือนใหม่

งานของ Charles เป็นการผสมผสานระหว่างสไตล์ของตัวเขากับ François และ Dominique เข้าด้วยกัน บิดาของ Charles เสียหลังจากวันครบรอบวันเกิดของเขาเพียงไม่กี่วันเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายที่เขาไม่มีโอกาสได้ทำงานร่วมกับบิดา และเช่นเดียวกัน ไม่พบหลักฐานยืนยันว่าเขาเคยทำงานร่วมกับ Dominique ผู้เป็นลุง

โดย: - [23 เม.ย. 55 9:13] ( IP A:202.12.73.193 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   Charles เริ่มฝึกฝนการทำไวโอลินกับ Auguste Lenoble ซึ่งเป็นพ่อเลี้ยงของเขาตั้งแต่เขาอายุ 12 ขวบ และเมื่อเขาอายุ 20 ปี สงคราม Franco–Prussian War ได้อุบัติขึ้น นับเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากอย่างแท้จริงสำหรับธุรกิจการทำเครื่องดนตรีในปารีส สงครามทำลายโอกาสในอาชีพของเขา Charles จึงต้องพักงานของตนเอาไว้ก่อนและทำงานเป็นลูกจ้างชั่วคราวของรัฐ

ในราวๆ ปี 1880 เขาเริ่มกลับมาทำงานเป็นช่างทำคันชักอย่างเต็มตัวอีกครั้งหนึ่ง สงครามไม่มีผลกระทบต่อความสำเร็จของเขามากนัก ต่อมาเขาได้ Eugène Sartory ที่ต่อมาเป็นช่างทำคันชักที่มีชื่อเสียงมาเป็นช่างฝึกหัดในร้าน นอกจากนั้นเขายังชนะรางวัลหลายรางวัลจากการประกวดคันชักในงาน World Exhibitions: Anvers ในปี 1885 ที่ประเทศเบลเยี่ยม และในปี 1889 ที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเขาครองรางวัลร่วมกับ Alfred Lamy père

โดย: - [23 เม.ย. 55 9:30] ( IP A:202.12.73.193 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
    ปัจจัยที่ทำให้คันชักของ Charles Peccatte ประสบความสำเร็จ

สิ่งที่ทำให้คันชักของตระกูล Peccatte ประสบความสำเร็จคือ ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ช่างทำคันชักในตระกูล Peccatte ทุกคนล้วนถ่ายทอดความเข็มแข็งหนักแน่นและพลังลงไปในงานของพวกเขา ซึ่ง Charles ก็เป็นแบบเดียวกัน เขาสามารถรักษาศิลปะการทำคันชักของตระกูลเอาไว้ได้ เช่น หัวคันชักที่กว้าง

ในปี 1885 Voirin ไม่มีช่างทำคันชักที่เป็นคู่แข่งในยุคนั้น งานของเขาถูกเลียนแบบมากที่สุด เขาสร้างคันชักที่สวยและสง่างาม มีคนกล่าวว่าหัวคันชักของเขามีความเป็นผู้หญิง ส่วน Lamy ที่ทำงานใกล้ชิดกับ Voirin ก็ทำคันชักที่สวยงามในแบบที่คล้ายคลึงกัน

Charles พยายามสร้างความแตกต่างจากเพื่อร่วมอาชีพด้วยสไตล์ที่เป็นของตนเอง หัวคันชักของเขามีความแข็งแรงและทรงพลัง แต่ยังมีน้ำหนักที่เบาและมีความสง่างามตามสไตล์ของยุคนั้น การทำด้ามคันชักของเขาจะเน้นความหนักแน่น ทำให้คันชักของเขามีพลังมาก ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวทำให้คันชักของเขาเป็นที่ต้องการของนักดนตรีในยุคปัจจุบัน และด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้งานของเขามีความน่าสนใจ

คุณภาพของไม้ที่ใช้ทำคันชักคันนี้มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน Charles สร้างงานของเขาโดยเน้นที่ความงาม แต่ไม่ยอมให้ประสิทธิภาพในการเล่นลดลงไป เขาพิถิพิถันในการเลือกไม้เป็นอย่างมาก ซึ่งคันชักคันนี้สร้างจากไม้ที่มีความพิเศษและหายากมาก เป็นไม้ Pernambuco ที่มีลวดลายไม้สีทองอำพัน มีความงดงามแต่ยังคงโครงสร้างของคันชักที่ดีที่สุด

โดย: - [23 เม.ย. 55 9:58] ( IP A:202.12.73.193 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
    คันชักไวโอลินของ Charles Peccatte

โดย: - [23 เม.ย. 55 9:58] ( IP A:202.12.73.193 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน